ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เราเกิดมาทำไม ? http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44498 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | จัทร์เพ็ญ [ 03 ก.พ. 2013, 08:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | เราเกิดมาทำไม ? |
เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตน ใช่หรือไม่ค่ะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | nongkong [ 03 ก.พ. 2013, 10:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
คุณน้องก็เคยถามตัวเองนะว่า เราเป็นใคร เราเกิดมาทำไม แล้วทำไมถึงมีเรา เราถ้าเราตายเราจะหายไปจากโลกนี้รึเปล่า(ตอนนั้นเป็นวัยรุ่นนอนคิดนัานคิดนี่อยู่ๆคำถามนี้ก็ผุดขึ้นมาเอง)แล้วคำถามแบบนี้มันเกิดกับทุกคนรึเปล่า ![]() ![]() |
เจ้าของ: | พุทธคุณ [ 03 ก.พ. 2013, 10:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
คำถามที่ถูกต้องคือ เราเกิดมาแล้วเราควรจะทำอะไรให้ชีวิตของตนเองมีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ก.พ. 2013, 10:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
จัทร์เพ็ญ เขียน: เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตน ใช่หรือไม่ค่ะ ![]() ![]() ตามคำถามนะครับ เราเกิดมาก็เพื่อสร้าง "กรรมใหม่" และก็ต้องใช้ "กรรมเก่า" |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 03 ก.พ. 2013, 11:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
Re: เราเกิดมาทำไม ? เป็นคำถามแรก ๆ ที่อาจารย์ถาม..อิอิ ผมก็นึกในใจว่า....จะไปรู้ได้งั้ยหนอ!!! อาจารย์ก็ถามอยู่นั้นแหละ... เราจึงต้องท่องว่า...เราเกิดมาเพื่อ..จุด...จุด... ผ่านมาหลายปี....จึงรู้ว่า..อาจารย์ถาม...อย่างนั้นทำไม? ถามเพื่อ...ตรวจดูว่า....ใครมันจะจำ...สัญญาเก่าได้บ้าง... สัญญา....ก่อนจะมาเกิด บางคน..เขาก็ระลึกได้ของเขา ใช่ครับ....หลายคนมีเจตจำนงที่มาเกิด...ไม่ได้เกิดเพราะถูกทีบลงมา...หรือ..จับพลัดจับพลู จัทร์เพ็ญ เขียน: เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตน ใช่หรือไม่ค่ะ ![]() ![]() หากจะแปลว่า..เจตจำนงคือตัณหา....ก็ต้องบอกว่า...ใช่ครับ แต่...จะบอกว่าเพื่อรับบาปกรรมของตน..ละก้อ...ผมว่า...ไม่มีใครชอบหรอก...มีแต่เพื่อจะทำให้พ้นจากกรรมทั้งนั้น บาปกรรม....มีผลเป็นทุกข์ ไม่มีใครอยากทุกข์สักดวงจิตเลย... อิอิ |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 03 ก.พ. 2013, 15:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
จัทร์เพ็ญ เขียน: เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตน ใช่หรือไม่ค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() เช่น บางคู่แอบนัดกันไปสาบานใต้ต้นไทร มีศาลเพียงตาตั้งอยู่ว่า ขอให้เราพบกันทุกภพทุกชาติ เป็นต้น ฯลฯ แน่ะ ..อย่างนี้ คือสนองตัณหา .. หรือ ทำบุญทำทาน ก็อธิษฐาน ชาติหน้าขอให้สวย รวย หล่อ เป็นเจ้าคน นายคน มีปัญญาดี ฯลฯ อย่างนี้ก็มี .. ![]() สนองกรรมของตนก็คือ ท่านว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นแดนเกิด .. กรรมดีก็เกิดมาดีครบ ๓๒ มีฐานะ เป็นพระราชา มหากษัตริย์ รูปงาม เป็นต้น ฯลฯ .. กรรมไม่ดี เกิดมาไม่ครบ ๓๒ มีฐานะยากจน หาเช้ากินค่ำ มีแต่ความลำบากในการดำรงชีวิต .. จึงพอจะเรียกว่า เรามาเกิดเพราะตัณหาและชดใช้กรรมก็ได้ .. ฮิ พระโพธิสัตว์ท่านก็มาเกิด เพื่อสนองตัณหา เหมือนกันนะ .. ![]() กบนอกกะลา เขียน: หลายคนมีเจตจำนงที่มาเกิด...ไม่ได้เกิดเพราะถูกถีบลงมา...หรือ..จับพลัดจับพลู ![]() ![]() |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 03 ก.พ. 2013, 21:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
กบนอกกะลา เขียน: Re: เราเกิดมาทำไม ? ใช่ครับ....หลายคนมีเจตจำนงที่มาเกิด...ไม่ได้เกิดเพราะถูกทีบลงมา...หรือ..จับพลัดจับพลู ![]() ![]() ชอบมั่กๆ ![]() |
เจ้าของ: | Rotala [ 03 ก.พ. 2013, 21:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
ตอนที่ ๑ : เกิดมาเพื่อเดินทาง ข้อแรกสุด จะต้องระลึกให้กว้างกันไปสักหน่อยว่าคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป มีปัญหาอยู่ในใจว่า เกิดมาทำไม จริงหรือเปล่า เกิดมาทำไม ? ปัญหาข้อนี้ถือกันว่าทุกคนสนใจและสงสัย แม้กระนั้นก็อาจจะมีบางคนมีเล่ห์เหลี่ยมที่จะเยาะเย้ยว่า ก็พระพุทธศาสนาสอนถึงความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา คือไม่มีใครเกิดดังนี้ แล้วเหตุใดจึงมีปัญหาว่าเกิดมาทำไมด้วยเล่า ถ้าผู้ใดถามซักไปในทำนองนั้น เราจะต้องถือว่าเขาอาศัยหลักของพระพุทธศาสนาชั้นสูงสุด คือ ขั้นที่ว่าด้วยความหลุดพ้น มาพูดกับคนธรรมดาสามัญที่ยังไม่มีความหลุดพ้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูก ไม่ตรง คือ ไม่ถูกฝาถูกตัว เพราะว่าตามธรรมดาของคนที่ยังไม่รู้ธรรมะ ถึงที่สุดแล้วจะต้องมีความรู้สึกว่าตนกำลังเกิดอยู่ และตนมีปัญหามากมายที่จะต้องทำ กระทั่งไม่รู้ว่าเกิดมานี้เพื่ออะไรกัน โดยทั่ว ๆ ไป ผู้ที่เป็นอรหันต์ ถึงที่สุดแห่งธรรมในพระพุทธศาสนาแล้วเท่านั้น ที่จะรู้สึกว่ามิได้มีการเกิดอยู่ในบัดนี้ ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนของใครที่เกิดอยู่ในบัดนี้ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าเกิดมาทำไม จึงไม่มีแก่พระอรหันต์ แต่สำหรับบุคคลที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ แม้ที่ยังเป็นพระอริยเจ้าในขั้นต้น ๆ เช่น พระโสดาบันก็ดี ก็ยังมีความรู้สึกว่ามีตัวตนของตนและตนกำลังเกิดอยู่ทั้งนั้น จึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่ล้วนแต่มีปัญหาอยู่ในใจว่า เกิดมาทำไม ด้วยกันทุกคน โดยเหตุนี้ขอให้สรุปใจความของปัญหานี้สั้น ๆ ว่า เกิดมาทำไม และเป็นปัญหาของคนทั่วไปที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ เราจะพิจารณากันดูถึงความรู้สึกที่เกิดอยู่เองในใจของคนซึ่งต่างคนก็มักจะมีความคิดเป็นของเขาด้วยกันทั้งนั้นว่า เขาเกิดมาทำไม ............... ............... ............... ทีนี้จะกล่าวถึงพระพุทธภาษิตที่เห็นว่าจะช่วยให้เราเข้าใจคำตอบของปัญหาว่า คนเราเกิดมาทำไมนี้ได้ กล่าวคือพระพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปบทข้างต้นทีแรกว่า “สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา” สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง “เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ สนฺติ มคฺคํ ว พฺรูหเย” เมื่อรู้ความจริงข้อนี้อย่างถูกต้องแล้วบุคคลควรพอกพูนหนทางแห่งสันติ ดังนี้ ข้อแรกที่ว่า สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่งนั้นจะต้องเข้าใจคำว่าสังขารกันให้ดี ๆ เพราะสิ่งที่เรียกว่าสังขารนั้นมีอยู่หลายความหมาย สังขารหมายถึงรูปและนาม คือ ร่างกายกับจิตใจนี้ก็มี สังขารอย่างนี้เป็นทุกข์ต่อเมื่อมีอุปาทานเข้าไปยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นของตน ลำพังสังขารล้วน ๆ ไม่ถือว่าเป็นทุกข์ชนิดที่เป็นเครื่องทรมานใจหรือทำความทนยากให้แก่บุคคล สังขารโดยศัพท์แล้วแปลว่า “ปรุง” คือ กระทำครบถ้วนอย่างที่เราเรียกกันว่าปรุง ถือเอาตามรูปศัพท์ตรง ๆ อย่างนี้จะดีกว่า โดยจำกัดความลงไปว่า การที่ “ปรุง” นี้ หมายถึงกิเลสเป็นผู้ปรุง ต่อเมื่อมีอวิชชา ความโง่ ความหลง (ซึ่งเป็นต้นเหตุของกิเลสเหล่าอื่น เช่น โลภะ โทสะ โมหะ) เกิดขึ้นแล้วก็มี การปรุง คือปรุงจิตใจให้ยึดมั่นเป็นนั่นเป็นนี่ มีนั่นมีนี่เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่า “ปรุง” ในที่นี้หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานรวมอยู่ด้วยเสร็จ จึงเรียกว่าเป็นการปรุง ถ้าไม่มีอุปาทาน ไม่มีกิเลสตัณหาอุปาทานเข้าไปรวมอยู่ด้วยแล้ว การเกิดขึ้นเหล่านั้นไม่เรียกว่าการปรุงในที่นี้ คือ ไม่เรียกว่า “ปรุง” ในประโยคที่ว่า “สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา” ของปรุงหรือเครื่องปรุงทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง หมายความว่า มันปรุงจนเป็นกิเลสตัณหาจนเป็นอุปาทานมีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว อะไร ๆ ก็เป็นทุกข์ไปหมด ถ้าไม่ปรุงในทำนองนี้แล้วก็ไม่มีความทุกข์ การปรุงในทำนองนี้มีความทุกข์ และเป็นความทุกข์อยู่ในตัวการปรุงนั่นเอง การปรุงทำนองนี้แหละที่เรียกว่า “สังสารวัฏฏ์” คือ วนเวียนอยู่ในลักษณะ ๓ อย่าง กล่าวคือ กิเลสเป็นเหตุให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป เมื่อกระทำแล้วเกิดผลขึ้นมา ก็มีกิเลสที่จะยินดียินร้าย เพื่อทำซ้ำหรือทำอย่างอื่นต่อไปอีก วนเวียนอยู่ในเรื่องกิเลส เรื่องกรรมและเรื่องผลของกรรมเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุดนี้คืออาการที่เรียกว่าเป็นการปรุงโดยแท้จริง ในประโยคที่ว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง คือ ความปรุงไม่หยุดนั้นเองเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ข้อ ๒ ที่ว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนั้น นี้เป็นคำกล่าวอย่างโวหารชาวบ้าน เพื่อให้รู้สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสังขาร นิพพาน ก็คือ ไม่ปรุง ไม่ปรุงเมื่อไรก็เป็นนิพพานเมื่อนั้น ไม่ปรุงเด็ดขาดก็เป็นนิพพานจริง ไม่ปรุงชั่วคราวก็เป็นนิพพานชั่วคราว หรือนิพพานชิมลอง เมื่อผู้ใดรู้เรื่องการปรุงว่าเป็นอย่างไรถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมจะเข้าใจสภาพที่ตรงกันข้าม คือ ไม่ปรุงได้โดยไม่ยากนัก โดยเทียบเคียงกันในฐานะเป็นสิ่งตรงกันข้าม นิพพานแปลว่าดับก็ได้ แปลว่าหยุดก็ได้ แปลว่าเย็นคือไม่ร้อนก็ได้ แปลว่าไม่ขบกัดเสียบแทงก็ได้ ความหมายก็เหมือนกันหมดตรงที่ว่ามันหยุดคือไม่ปรุง ปรุงก็คือไม่หยุด จะต้องเป็นไปในลักษณะที่เร่าร้อน เป็นทุกข์เสียบแทงทนทรมานเสมอไป คำว่านิพพานให้ถือเอาความหมายตรงกันข้ามจากสังขาร คือ ไม่ปรุงในลักษณะดังกล่าว คำกล่าวต่อไปที่ว่า “เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ สนฺติมคฺคํ ว พฺรูหเย” บุคคลรู้ความจริงข้อนี้อย่างถูกต้องแล้ว พึงพอกพูนหนทางแห่งสันติ หมายความว่า เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้วให้พอกพูนหนทางแห่งสันติคือนิพพานนั่นเอง คำว่านิพพานนั้นบางทีก็เรียกว่าสันติซึ่งแปลว่าความสงบเย็น ใช้แทนกันได้กับคำว่านิพพาน หมายความว่าให้ทำทุกอย่างทุกประการ ที่จะให้เคนเราใกล้ชิดกับสิ่งที่เรียกว่าสันติหรือนิพพานนั้นยิ่งขึ้นไปทุกที เพียงเท่านี้ ท่านทั้งหลายก็คงจะได้เค้าเงื่อนบ้างว่า พระพุทธเจ้าท่านทรงมุ่งหมายให้คนรู้ความจริงเกี่ยวกับความทุกข์และไม่ทุกข์ แล้วให้เริ่มพอกพูนหนทางที่จะดำเนินไปสู่ความไม่มีทุกข์โดยประการทั้งปวง คือ นิพพาน ................ ................ ................ เมื่อถือว่านิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของเรา ก็ต้องหมายเอานิพพานในพระพุทธศาสนา นิพพานในพุทธศาสนา เมื่อกล่าวสำหรับคนทั่วไปแล้วเราพึงเข้าใจเถิดว่าตรงกันข้ามจากคำว่าสังขาร โดยบาลีว่า “สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา” สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ ดังนั้น จึงได้ความว่าสิ่งที่เรียกว่านิพพานนั้นก็คือไม่ปรุงนั่นเอง เกิดมาเพื่อไม่ปรุงฟังดูก็ขันดี ขันดีตรงที่บางคนอาจจะหัวเราะเยาะก็ได้ว่า เกิดมาเพื่อหาให้พบ “ความไม่ปรุง” ความปรุง คือ เวียนว่ายไปในสังสารวัฏฏ์เป็นความทุกข์ ความไม่ปรุงคือมีสติปัญญาสูงมีขนาดที่ตัดผ่าวงกลมนี้ให้ขาดกระจายออกไป ไม่ให้หมุนได้อีกต่อไป คือไม่เป็นสังสารวัฏฏ์ อย่างนี้เรียกว่าไม่ปรุงคือ เกิดมาเพื่อหยุดเสียซึ่งสังสารวัฏฏ์ ให้ถึงที่สุดของความทุกข์คือ ไม่มีทุกข์เลย นี้เรียกว่านิพพาน อย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ลึกลับมหัศจรรย์เหลือวิสัยของคน หรือว่าเป็นสิ่งที่จะได้ต่อตายแล้ว ขอให้เข้าใจกันเสียใหม่ให้ถูกต้องว่า สิ่งที่เรียกว่านิพพานนั้น ต้องได้ในขณะที่มีความรู้สึกเป็น ๆ อยู่อย่างนี้ ในขณะใดไม่มีการปรุงแท้จริงในขณะนั้นเป็นนิพพาน ถ้าเด็ดขาดก็เป็นนิพพานแท้ ถ้าไม่เด็ดขาดก็เป็นนิพพานชั่วคราวดังที่กล่าวแล้ว เมื่อรู้จักนิพพานชั่วคราวแล้ว ก็เห็นลู่ทางสว่างไสวที่จะดำเนินต่อไป จนถึงนิพพานถาวรคือนิพพานแท้จริงที่ทำบุคคลผู้ลุถึงให้เป็นอรหันต์นั่นเอง นี้ก็เพราะมารู้ว่า สังขาร คือ ปรุง เป็น “ทุกข์” นิพพาน คือ ไม่ปรุง เป็น “สุข” คนทุกคนควรจะเกิดมาเพื่อพอกพูนหนทางของพระนิพพานโดยแท้ http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... bdd-31.htm ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ขณะจิต [ 04 ก.พ. 2013, 00:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
เกิดมาเพื่อทำปัญหาต่างๆให้หมดไป ![]() |
เจ้าของ: | เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 04 ก.พ. 2013, 09:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
มองเห็นแต่ความว่าง |
เจ้าของ: | McArowana [ 04 ก.พ. 2013, 12:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
ผู้ที่ชอบเกิดก็จะเกิดอยู่ร่ำไป |
เจ้าของ: | kitti1234 [ 04 ก.พ. 2013, 23:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
สมมติเวลาของจักรวาลเป็นเส้นตรง การปรากฎแห่งตัวเรา ก็แค่จุดที่เล็กบนเส้นเวลานั้น หากมองในมุมนี้.เรื่องของ.การเกิด..ก็เป็นแค่สิ่ง ๆ หนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปบนจุดหนึ่งเท่านั้น คำถามว่าเราเกิดมาทำไม จึงแทบจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 05 ก.พ. 2013, 10:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
![]() เพราะยังมี กิเลส กรรม วิบาก จึงยังต้องเกิดอยู่ร่ำไป... เมื่อถือกำเนิดเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ดูใจตัวเองว่ามีความยินดีพอใจในอัตภาพนี้หรือไม่ ยังอยากจะ เกิดอีกหรือไม่ ถ้ายังพอใจอยากเกิดอีกในอัตภาพนี้อีก ก็ต้องสร้างเหตุคือกุศลกรรม...นำไปสู่ผลหรือวิบากที่จะทำให้เกิดความสุขในชีวิตนี้และชีวิตหน้า... แต่ถ้าเห็นว่าการเกิดแต่ละครั้งมันเป็นทุกข์...ไม่อยากเกิดอีกก็ต้องเร่งความเพียรเจริญวิปัสสนาเพื่อเข้าถึงความจริงของธรรมชาตินำพาตัวเองออกจากวัฏฏะทุกข์นี้เสีย...วันนี้คุณสามารถเลือกที่จะสร้างเหตุปัจจัยได้... ![]() |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 05 ก.พ. 2013, 10:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
จัทร์เพ็ญ เขียน: เพื่อสนองตัณหาและกรรมของตน ใช่หรือไม่ค่ะ ![]() ![]() "เรา" ... หมายถึงเห็นภาวะว่า "ตน" ท่านพุทธทาส มักใช้คำว่า "กู" เอาเป็นว่า กูเกิดมาทำไม กับ เราเกิดมาทำไม และ ตนตั้งอยู่ในภพ ทำไม โดยพยัญชนะ ต่างกัน แต่โดยอรรถเหมือนกัน เมื่อตน ตั้งอยู่ในภพ ก็เพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ คือชาติ อันนำไปสู่ ชรา มรณะ ดังนั้น ตนเกิดมา เพื่อตั้งในภพ คือความมีความเป็น เกิดเป็นตน เต็มที่ และไปสู่ ชรามรณะ จ้ะ ^ ^ เจริญธรรม |
เจ้าของ: | จัทร์เพ็ญ [ 05 ก.พ. 2013, 17:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เราเกิดมาทำไม ? |
กราบขอบพระคุณทุกท่านเจ้าคะ ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |