ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44556 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 |
เจ้าของ: | asoka [ 08 ก.พ. 2013, 10:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
![]() ![]() เมื่อสังเกตพิจารณาให้ดี สติปัฏฐานทั้ง 4 ไม่ว่าจะเป็นที่ กาย...เวทนา....จิต...หรือ...ธรรม ล้วนมารวมลงสู่ปฏิบัติการหรืองานที่จะต้องทำที่ ....."วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"ซึ่งแปลความได้ว่า ...."เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์" ![]() ![]() ประเด็นสำคัญที่จะต้องลงมือทำเพื่อให้เกิดผลจากสติปัฏฐาน 4 ก็คือ ....เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกย์ ![]() เราจะเอาความยินดียินร้ายในโลกย์ ออกได้อย่างไร?... ![]() ![]() จึงเป็นคำถามที่นักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาทั้งหลายต้องถามตัวเอง และตอบคำถามนี้ให้ได้อย่างถูกต้องโดยภาคทฤษฎีก่อน.....แล้วหลังจากนั้นจึงลงมือปฏิบัติจริงเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีแห่งการเอาความยินดียินร้ายออก ![]() ![]() ทำอย่างไรจึงจะเอาความยินดียินร้ายออกได้?.........ใคร่ขอเรียนเชิญท่านผู้รู้ กัลยาณมิตรทั้งหลายในลานธรรม มาช่วยกันวิตก วิจารณ์ วิจัย สู่กันฟัง...เพื่อให้ผู้ที่กำลังเดินทางสู่พระนิพพานด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 ได้ทฤษฎีหรือความรู้ที่ถูกต้องในการ เอาความยินดียินร้ายออกจากใจ ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 08 ก.พ. 2013, 11:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
555.... ยินดี...ยินร้าย...นะหรอ ดี...ก็เพราะคิดว่า..มันดีกับตัว.... ร้าย...ก็เพราะคิดว่า...มันร้ายกับตัว... มีดีมีร้าย...ก็เพราะเรามีความปราถณาอยู่ดีมีสุข อวิชชา..คือความไม่รู้....ไม่รู้ว่าตัวตนรูปนี่ไม่ใช่เรา...หลงว่าเป็นเรา....ความปราถณาอยู่ดีมีสุขจึงฝากใว้กับรูปนี้ เมื่อ...หลงครั้งแรก....ความหลงทั้งหลายก็ตามมา... หลง...ว่ารูปนี้ตั้งอยู่....สุขจึงตั้งได้ จึงหลงปกป้องรูป....บำรุงรูป สิ่งใดเป็นคุณกับรูป....ก็แสวงหา...ได้มาก็ยินดี...ไม่ได้ก็เศร้า สิ่งใดไม่เป็นคุณกับรูป....ก็ผลักไส....ผลักได้ก็ยินดี...ผลักไม่ได้ก็เศร้าเสียใจ เมื่อผัสสะ....สัญญาจำได้ว่าสิ่งนี้เป็นคุณ....ก็ยินดี...สร้างสุขเวทนา...เพื่อให้ตัณหาเร่งเร้าเอามา จิตเห็น.....ไม่ว่าจะเป็นรูปนั้น....เวทนานั้น....จิตนั้น....ธรรมารมณ์นั้น...แล้ว...ให้ระลึกว่า...มันเป็นไปเพื่อสุขจริงหรอ? สิ่งนั้น...รูปนั้น...อยู่กับเราแล้ว....ร่างกายนี้รูปเรานี้มันไม่ตายจริงหรอ...รูปนั้นสิ่งนั้นเป็นสาระพึงยึดมันหรือไม่? แม้รูปนั้น...สิ่งนั้น....มันเองก็ไม่ยืนยง....แล้วมันจะทำให้สุขเรายืนยงได้อย่างไร...การอยู่กับสุขที่ไม่ยืนยงนั้นมันดีแล้วหรือ? เมื่อรูปนั้นสิ่งนั้นไม่เป็นสาระ...ไม่เป็นไปเพื่อความสุขจริง....เราจะยังมีจิตดำริถึงมันหรือไม่? เมื่อเห็นว่ารูปนั้นไม่เป็นสาระ...ไม่เป็นไปเพื่อสุข...ไม่ควรดำริถึง....ความยินดียินร้ายเนื่องจากรูปนั้นย่อมสงบลงได้ ความยินดียินร้าย....สงบได้...เพราะการเห็นความจริง |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 08 ก.พ. 2013, 11:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
เห็นความจริงใน...กาย...เวทนา....จิต.....ธรรม |
เจ้าของ: | firstini [ 08 ก.พ. 2013, 11:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
ให้พิจารณาถึงความเป็นไปตามธรรมดาของมัน โดยใช้ขันธบรรพ สัจจบรรพช่วยเพื่อให้เห็นแนวทางในการพิจารณาได้ง่ายขึ้น อนึ่ง... ถ้าเราพิจารณาด้วยกรรมฐานกองเดียวแล้วไม่รู้เรื่อง ก็ต้องใช้กรรมฐานหลายกองช่วย |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 08 ก.พ. 2013, 23:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
ผู้ทรงคุณวุฒิ... ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 08 ก.พ. 2013, 23:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
![]() ![]() ผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 08 ก.พ. 2013, 23:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 09 ก.พ. 2013, 00:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
สั้นๆง่ายๆ แต่ ทำยากก็ต้องชัดเจนว่า บรรลุปฐมฌาน ให้มันได้ก่อน ส่วนไอ้ดีใจเสียใจ นั้น ต้อง ว่ากันที่ ฌาน4 ถ้าปฏิเสธ ฌาน (สัมมาสมาธิ) คือ จบ ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 09 ก.พ. 2013, 06:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
eragon_joe เขียน: ผู้ทรงคุณวุฒิ... ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เช่นนั้น เขียน: rolleyes ![]() ผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() ช่วยหนูด้วย... ![]() ![]() ![]() หนูไม่อยาก....แก่... หนูยังติ่งต๊องอยู่เลย.....แง่.....แง่.... ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ด.ช. ฉันทะ [ 09 ก.พ. 2013, 13:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
ครับผม ![]() เพียงแต่พอดีว่าได้ผ่านเข้าไปพบ ไปประสบมาเล็กน้อยเท่านั้นเองครับ ในสติปัฏฐานทั้งสี่นั้น ในความยินดี ยินร้ายนั้นไม่ใช่การเอายินดี ยินร้ายออกดอกครับผม เราต้องรู้ตามความเป็นจริงก่อนครับ ว่านัั่นคือความจริง อันนี้อธิบายเป็นคำพูดได้ไม่ค่อย ตรงสักเท่าใดนัก คงได้เพียงใกล้เคียง ความจริงอะไร ? ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระพุทธองค์ตรัสไว้ในหลายพระสูตร แต่ในที่นี้เกล้ากระผมขอกล่าวย่อๆนะครับ ในเรื่องของขันธ์ห้านั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนว่า รูปรูปนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงรูปนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข สิ่งใดเป็นทุกข์้ สิ่งนั้นเป็นอัตตาของเรา หรือไม่ใช่อัตตาของเรา สิ่งนั้นไม่ใช่อัตตาของเรา ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นเธอก็หลุดพ้น ในส่วนของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกันครับพิจารณาให้ได้ตามความเป็นจริงตามนั้น ครับที่ว่า ไม่ใช่การเอาออกก็ด้วยประการฉะนี้ครับ อีกกรณีหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้บ่อยในพระไตรปิฎกเรื่องความหลุดพ้นคือ เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดเธอก็หลุดพ้น ที่นำมานี้เป็นเม็ดข้าวเปลือกจำนวนน้อยนิดจากข้าวเปลือกกองใหญ่เท่านั้นครับ หากผิดพลาดประการใด ใคร่ต่อท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับผม ![]() |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 09 ก.พ. 2013, 14:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
ด.ช. ฉันทะ เขียน: ครับผม ![]() เพียงแต่พอดีว่าได้ผ่านเข้าไปพบ ไปประสบมาเล็กน้อยเท่านั้นเองครับ ในสติปัฏฐานทั้งสี่นั้น ในความยินดี ยินร้ายนั้นไม่ใช่การเอายินดี ยินร้ายออกดอกครับผม เราต้องรู้ตามความเป็นจริงก่อนครับ ว่านัั่นคือความจริง อันนี้อธิบายเป็นคำพูดได้ไม่ค่อย ตรงสักเท่าใดนัก คงได้เพียงใกล้เคียง ความจริงอะไร ? ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระพุทธองค์ตรัสไว้ในหลายพระสูตร แต่ในที่นี้เกล้ากระผมขอกล่าวย่อๆนะครับ ในเรื่องของขันธ์ห้านั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนว่า รูปรูปนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงรูปนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข สิ่งใดเป็นทุกข์้ สิ่งนั้นเป็นอัตตาของเรา หรือไม่ใช่อัตตาของเรา สิ่งนั้นไม่ใช่อัตตาของเรา ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นเธอก็หลุดพ้น ในส่วนของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกันครับพิจารณาให้ได้ตามความเป็นจริงตามนั้น ครับที่ว่า ไม่ใช่การเอาออกก็ด้วยประการฉะนี้ครับ อีกกรณีหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้บ่อยในพระไตรปิฎกเรื่องความหลุดพ้นคือ เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดเธอก็หลุดพ้น ที่นำมานี้เป็นเม็ดข้าวเปลือกจำนวนน้อยนิดจากข้าวเปลือกกองใหญ่เท่านั้นครับ หากผิดพลาดประการใด ใคร่ต่อท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับผม ![]() ช่าย! ![]() ขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เราต้องเห็นขันธ์ห้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเสียก่อน เพราะมันเป็นเหตุแห่งความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ![]() |
เจ้าของ: | ขณะจิต [ 09 ก.พ. 2013, 21:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
เห็นโทษของความจมเมื่อยินดี เห็นโทษของความพล่านร้อนเมื่อยินร้าย มีสติวางใจไว้ตรงกลาง ชักเชื้อไฟคือความคิดปรุงแต่งออกเสีย ดูอารมณ์ดับไป สติปัญญาตั้งใว้เมื่อผัสสะอาัรมณ์เกิด ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 12 ก.พ. 2013, 21:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
![]() สาธุ อนุโมทนากับคำตอบที่ดีๆจากกัลยาณมิตรทุกท่าน........คาดว่าน่าจะมีคำตอบที่ดี ลัดสั้น น่าสนใจยิ่งกว่านี้ขึ้นไปอีก เชิญชวนมาช่วยชี้แนะกันให้มากๆนะครับ ![]() อนุโมทนา ![]() |
เจ้าของ: | ฝึกจิต [ 12 ก.พ. 2013, 21:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
ทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ ล้วนเกิดขึ้นจากการปรุ่งแต่ง แล้วเพิ่มความเป็นตัวตนเข้าไปยึดมั่นถือมั่น นี้คือ สาเหตุแห่งทุกข์ ไม่ว่า กาย เวทนา จิต หรือธรรมทั้งหลาย ล้วนหาความมีอยู่ไม่ได้เลย ธรรมชาติเดิมแท้ เคลื่อนออกจากความเป็นดั่งเดิม หลงปรุงแต่งสิ่งๆหนึ่ง(ขันธ์) ที่แปรปรวนอยู่ตลอด แล้วสิ่งๆหนึ่งนั้น ปรุ่งแต่งตัวตนเพื่อ รองรับสภาพแปรปรวนนั้น เมื่อหมดความหลง สภาพปรุ่งแต่งตัวตน ย่อมดับไป แล้วสภาพปรุงแต่งสิ่งๆหนึ่ง ย่อมดับไป กลับสู่ธรรมชาติเดิมแท้ นั้น ![]() |
เจ้าของ: | ยังไม่พ้น [ 12 ก.พ. 2013, 21:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 |
ความเห็นส่วนตัว ความไม่ยินดียินร้าย จะว่าไป เหมือนลงจากปลายต้นไม้ เพราะผู้ไม่ยินดี ยินร้ายในโลก ก็มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ที่ถอนทั้งโลกภายใน คือ ร่างกายและจิต โลกภายนอก คือ ทรัพย์สินเงินทอง ลูก เมีย พี่ น้อง ไม่ยึดติดทั้งภายในและภายนอก การจะไปถึงตรงนั้น เป็น ปัจจัตตังโดยแท้ ธรรมนี้ลึกซึ้งนัก |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |