ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
คุณของ "ปัญญา" http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44574 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 10 ก.พ. 2013, 08:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | คุณของ "ปัญญา" |
"ปัญญา" คือ ความรอบรู้ รู้ทั่วรู้ถึง คือ ทั้งรู้ทั้งเห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง เกิดความรู้ความเข้าใจหายสงสัยในสิ่งนั้นเรื่องนั้น รู้แล้วละได้ ปล่อยวางได้ .. "ปัญญา" คือ ยอดมงกุฎของพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วย ศีล สมาธิ เป็นพื้นฐาน .. ผู้มี "ปัญญา" อันมี ศีล สมาธิ เป็นฐานแล้ว ย่อมยังตนให้ เป็นพระอริยะบุคคล คือ บุคคลอันเยี่ยมในพระพุทธศาสนา .. "ศีล สมาธิ ปัญญา" เป็นเหตุ "วิมุตติความหลุดพ้น" เป็นผล "ปัญญา" เป็นสิ่งสูงสุดและผู้มี "ปัญญา" ย่อมเป็นผู้สูงสุด .. "ปัญญา" มีประโยชน์และคุณอนันต์ สมควรเจริญ ควรบำเพ็ญให้มาก .. ![]() |
เจ้าของ: | nongkong [ 10 ก.พ. 2013, 10:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
ปัญญาที่รู้แล้วไม่ยอมวางจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้างค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | คนธรรมดาๆ [ 10 ก.พ. 2013, 10:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
nongkong เขียน: ปัญญาที่รู้แล้วไม่ยอมวางจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้างค่ะ ![]() รู้สิ่งใดแล้วยังวางไม่ได้ก็เพราะยังรู้ในสิ่งนั้นไม่สุด ยังรู้ไม่รอบทั่วทุกแง่มุมของสิ่งนั้น ปัญญาอันนั้น ก็เลยโดนกิเลสเอาไปใช้งาน กลายเป็นปัญญาของกิเลสที่ครูบาอาจารย์ท่านคอยเตือน ตรงไหนที่ยังไม่รู้ ตรงนั้นกิเลสสามารถฉวยเอาไปใช้งานได้เสมอ จะเกิดผลอะไรต่อเรา ก็ขึ้นกับว่ากิเลสตอนนั้นจะพาไปทางไหน ทางไหนที่ยังกันคลื่นไม่ได้ พอมีคลื่นซัดเข้ามา ก็จะโดนพัดไปตามกระแสความเคยชิน |
เจ้าของ: | nongkong [ 10 ก.พ. 2013, 11:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
คนธรรมดาๆ เขียน: nongkong เขียน: ปัญญาที่รู้แล้วไม่ยอมวางจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้างค่ะ ![]() รู้สิ่งใดแล้วยังวางไม่ได้ก็เพราะยังรู้ในสิ่งนั้นไม่สุด ยังรู้ไม่รอบทั่วทุกแง่มุมของสิ่งนั้น ปัญญาอันนั้น ก็เลยโดนกิเลสเอาไปใช้งาน กลายเป็นปัญญาของกิเลสที่ครูบาอาจารย์ท่านคอยเตือน ตรงไหนที่ยังไม่รู้ ตรงนั้นกิเลสสามารถฉวยเอาไปใช้งานได้เสมอ จะเกิดผลอะไรต่อเรา ก็ขึ้นกับว่ากิเลสตอนนั้นจะพาไปทางไหน ทางไหนที่ยังกันคลื่นไม่ได้ พอมีคลื่นซัดเข้ามา ก็จะโดนพัดไปตามกระแสความเคยชิน ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | student [ 10 ก.พ. 2013, 11:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
ปัญญานั้น สามารถเทียบกับ มรรคมีองค์8 ตั้งแต่ มีความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สติ มีสมาธิ |
เจ้าของ: | nongkong [ 10 ก.พ. 2013, 13:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
จากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณน้องทำให้คุนน้องรู้ว่า อริยสัจสี่ คือธรรมมะที่ทำให้เราเห็นแสงสว่าง ทำให้เราเห็นหนทางดับทุกข์ ทุกข์ คือ สิ่งที่กำหนดรู้ เราทุกข์เพราะอะไรทำไมเราถึงทุกข์ ก็กำหนดรู้ ทุกข์นั้น สิ่งที่เกิดกับเราทำให้ติดในทุกข์ สิ่งนั้นคืออะไร อะไรที่เราเข้าไปยึดไปถือไม่วาง(บอกตัวเองแต่ไม่ยอมจำ ![]() สมุทัย ต้นตอของทุกข์คืออะไร อะไรทำให้เรายึดติดในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ถ้าเรากำหนดรู้เข้าถึงความจริงแล้วจะรู้ว่าเหตุแห่งทุกข์ก็คือ อุปทานขันธ์5ล้วนคือตัวทุกข์ สิ่งใดที่เราเข้าไปยึดสิ่งนั้นเรามักจะเป็นทุกข์กับมัน (คือคุนน้องสังเกตุจากตนเอง)ทำให้คุนน้องรู้ว่า เหตุแห่งทุกข์ก็คือ วงจรอุบาทตัวนี้ นั่นก็คือ ผัสสะ(สิ่งที่เข้ามากระทบกายใจเรา)ทำให้เกิดเป็นตัณหา ตามด้วย เวทนา จนเกิดอุปทานขึ้น(ปฏิจสมุปปาท)เมื่อเราเห็นวงจรนี้เกิดขึ้นเราก็เริ่มจะเห้นแสงสว่างระยิบระยังอยู่ตรงหน้านั้นแล้ว ไม่ว่าสิ่งใดก็ตามที่เราเข้าไปยึดถ้าเรากำหนดรู้ไปตามความเป็นจริงเราก็จะเห็นสภาวะที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นย่อมดับเป็นธรรมดา ไม่ว่า เวทนา สัญญา อุปทานขันธ์ทั้งหลายที่เราเข้าไปยึด เมื่อสภาวะนั้นคลายลงเราก็จะเห็นความไม่มีสิ่งนั้น มันเกิดและมันก็ดับ มันเป็นอยู่เช่นนั้น แต่การที่เราจะเห็นมันไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากหรอก ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 10 ก.พ. 2013, 13:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
nongkong เขียน: ปัญญาที่รู้แล้วไม่ยอมวางจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้างค่ะ ![]() "ปัญญา" ที่แท้จริงต้อง ละได้วางได้ ถ้ายังละวางไม่ได้ นั่นคือ "สัญญา" เป็นความจำได้ หมายรู้เท่านั้น ไม่ใช่ตัว "ปัญญา" จริง ๆ .. แต่ "สัญญา" นั่นแหละคือเหตุให้เกิด "ปัญญา" .. . ![]() ![]() |
เจ้าของ: | nongkong [ 10 ก.พ. 2013, 16:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
วิริยะ เขียน: nongkong เขียน: ปัญญาที่รู้แล้วไม่ยอมวางจะทำให้เกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้างค่ะ ![]() "ปัญญา" ที่แท้จริงต้อง ละได้วางได้ ถ้ายังละวางไม่ได้ นั่นคือ "สัญญา" เป็นความจำได้ หมายรู้เท่านั้น ไม่ใช่ตัว "ปัญญา" จริง ๆ .. แต่ "สัญญา" นั่นแหละคือเหตุให้เกิด "ปัญญา" .. . ![]() ![]() แล้วธรรมที่คุนน้องพูดถึงอริยสัจสี่จากประสบการณ์ของตนเอง เกิดจากสัญญาแต่ยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริงของพุทธศาสนา ใช่รึเปล่าค่ะ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | พุทธคุณ [ 10 ก.พ. 2013, 16:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
วิริยะ เขียน: "ปัญญา" คือ ความรอบรู้ รู้ทั่วรู้ถึง คือ ทั้งรู้ทั้งเห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง เกิดความรู้ความเข้าใจหายสงสัยในสิ่งนั้นเรื่องนั้น รู้แล้วละได้ ปล่อยวางได้ .. "ปัญญา" คือ ยอดมงกุฎของพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วย ศีล สมาธิ เป็นพื้นฐาน .. ผู้มี "ปัญญา" อันมี ศีล สมาธิ เป็นฐานแล้ว ย่อมยังตนให้ เป็นพระอริยะบุคคล คือ บุคคลอันเยี่ยมในพระพุทธศาสนา .. "ศีล สมาธิ ปัญญา" เป็นเหตุ "วิมุตติความหลุดพ้น" เป็นผล "ปัญญา" เป็นสิ่งสูงสุดและผู้มี "ปัญญา" ย่อมเป็นผู้สูงสุด .. "ปัญญา" มีประโยชน์และคุณอนันต์ สมควรเจริญ ควรบำเพ็ญให้มาก .. ![]() ทุกสิ่งในโลกนี้ย่อมมีของที่มาคู่กัน ปัญญาก็เช่นกันต้องมาพร้อมกับสติ กล่าวคือ ปัญญาต้องใช้พร้อมกับสติ ขาดกันไม่ได้ หากมีสติย่อมเกิดปัญญา หากมีปัญญาเพียงอย่างเดียวยังไม่เรียกว่าปัญญา เพราะอาจเกิดความ ผิดพลาดได้ ต้องมีสติในการใช้ปัญญา ปัญญานั้นจึงจะเกิดความถูกต้อง รอบคอบ เรียกโดยรวมว่าสติปัญญา สติปัญญานั้น ควรมาพร้อมกับคุณธรรม จึงจะเรียกว่าผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา และก่อประโยชน์ให้ปรากฏต่อตนเองและผู้อื่น เพราะถ้าหากปัญญานั้นอยู่ กับผู้ไม่ชอบธรรม ปัญญานั้นจะนำภัยมาให้คนผู้นั้นและผู้อื่น อย่างนี้ยัง ไม่เรียกว่าเป็นผู้เจริญด้วยปัญญา สติปัญญานั้นควรใช้คู่กับคุณธรรม จึงจะนำมาซึ่งความสงบสุขและความเจริญ จริงมั๊ยล่ะ |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 10 ก.พ. 2013, 16:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
พุทธคุณ เขียน: ทุกสิ่งในโลกนี้ย่อมมีของที่มาคู่กัน ปัญญาก็เช่นกันต้องมาพร้อมกับสติ กล่าวคือ ปัญญาต้องใช้พร้อมกับสติ ขาดกันไม่ได้ หากมีสติย่อมเกิดปัญญา หากมีปัญญาเพียงอย่างเดียวยังไม่เรียกว่าปัญญา เพราะอาจเกิดความ ผิดพลาดได้ ต้องมีสติในการใช้ปัญญา ปัญญานั้นจึงจะเกิดความถูกต้อง รอบคอบ เรียกโดยรวมว่าสติปัญญา ![]() ![]() "สติ สมาธิ ปัญญา" ทั้งสามตัวนี้แยกกันไม่ออกหรอกครับ เพราะต้องอยู่ร่วมกัน เสริมกันไปเสมอ .. เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึง "ปัญญา" ต้องเข้าใจว่าจะต้องมี "สติและสมาธิ" ประกอบอยู่ด้วยกัน หรือถ้าพูดถึง "สติ" ก็ต้องรู้ว่ามี "สัมปชัญญะ" ผสมอยู่ด้วย .. เพียงแต่ว่า เราจะเน้นอธิบายตัวไหนเท่านั้นเอง .. ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 10 ก.พ. 2013, 17:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
nongkong เขียน: แล้วธรรมที่คุนน้องพูดถึงอริยสัจสี่จากประสบการณ์ของตนเอง เกิดจากสัญญาแต่ยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริงของพุทธศาสนา ใช่รึเปล่าค่ะ ![]() ![]() ![]() ที่คุณน้องคิดนะ ถูกต้องแล้วครับ เพียงแต่การคิดพิจารณา(ฝึกปัญญา)นั้น ยังไม่เฉียบคม เหมือนมีมีดแต่ยังไม่คมพอที่จะตัดอะไร ๆ หรือยังละวางสิ่งใด ๆ ได้ จึงต้องมีหินลับมีด คือ "สติกับสมาธิ" เข้ามาหนุน จึงจะ ทำให้มีดนั้นคม .. จึงเห็นว่า คุณน้องควรฝึกสติสมาธิให้มากขึ้น แล้วคิดพิจารณาแบบเดิมอีก ก็จะค่อย ๆ เห็นผลของการเปลี่ยนแปลง ที่ละเล็กละน้อย .. มีดคมมากก็ตัดได้มาก คมน้อยก็ตัดได้น้อย เพียรพยายามไปเรื่อย ๆ สักวันก็ตัดได้หมด .. สำหรับ ข้าน้อยมีดทื่อไม่มีคมสักกะติ๊ดเลยอ่ะ .. ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | nongkong [ 10 ก.พ. 2013, 19:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
พุทธคุณ เขียน: วิริยะ เขียน: "ปัญญา" คือ ความรอบรู้ รู้ทั่วรู้ถึง คือ ทั้งรู้ทั้งเห็นตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง เกิดความรู้ความเข้าใจหายสงสัยในสิ่งนั้นเรื่องนั้น รู้แล้วละได้ ปล่อยวางได้ .. "ปัญญา" คือ ยอดมงกุฎของพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วย ศีล สมาธิ เป็นพื้นฐาน .. ผู้มี "ปัญญา" อันมี ศีล สมาธิ เป็นฐานแล้ว ย่อมยังตนให้ เป็นพระอริยะบุคคล คือ บุคคลอันเยี่ยมในพระพุทธศาสนา .. "ศีล สมาธิ ปัญญา" เป็นเหตุ "วิมุตติความหลุดพ้น" เป็นผล "ปัญญา" เป็นสิ่งสูงสุดและผู้มี "ปัญญา" ย่อมเป็นผู้สูงสุด .. "ปัญญา" มีประโยชน์และคุณอนันต์ สมควรเจริญ ควรบำเพ็ญให้มาก .. ![]() ทุกสิ่งในโลกนี้ย่อมมีของที่มาคู่กัน ปัญญาก็เช่นกันต้องมาพร้อมกับสติ กล่าวคือ ปัญญาต้องใช้พร้อมกับสติ ขาดกันไม่ได้ หากมีสติย่อมเกิดปัญญา หากมีปัญญาเพียงอย่างเดียวยังไม่เรียกว่าปัญญา เพราะอาจเกิดความ ผิดพลาดได้ ต้องมีสติในการใช้ปัญญา ปัญญานั้นจึงจะเกิดความถูกต้อง รอบคอบ เรียกโดยรวมว่าสติปัญญา สติปัญญานั้น ควรมาพร้อมกับคุณธรรม จึงจะเรียกว่าผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา และก่อประโยชน์ให้ปรากฏต่อตนเองและผู้อื่น เพราะถ้าหากปัญญานั้นอยู่ กับผู้ไม่ชอบธรรม ปัญญานั้นจะนำภัยมาให้คนผู้นั้นและผู้อื่น อย่างนี้ยัง ไม่เรียกว่าเป็นผู้เจริญด้วยปัญญา สติปัญญานั้นควรใช้คู่กับคุณธรรม จึงจะนำมาซึ่งความสงบสุขและความเจริญ จริงมั๊ยล่ะ จริงค่ะคุนน้องเห็นด้วย เพราะพระอาจารย์เคยสอนว่า สตินำปัญญาตาม ถ้ามีแต่ปัญญาแต่ขาดสติก็อาจจะทำอะไรผิดพลาดแล้วมาคิดได้ทีหลัง ![]() |
เจ้าของ: | nongkong [ 10 ก.พ. 2013, 19:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
วิริยะ เขียน: nongkong เขียน: แล้วธรรมที่คุนน้องพูดถึงอริยสัจสี่จากประสบการณ์ของตนเอง เกิดจากสัญญาแต่ยังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริงของพุทธศาสนา ใช่รึเปล่าค่ะ ![]() ![]() ![]() ที่คุณน้องคิดนะ ถูกต้องแล้วครับ เพียงแต่การคิดพิจารณา(ฝึกปัญญา)นั้น ยังไม่เฉียบคม เหมือนมีมีดแต่ยังไม่คมพอที่จะตัดอะไร ๆ หรือยังละวางสิ่งใด ๆ ได้ จึงต้องมีหินลับมีด คือ "สติกับสมาธิ" เข้ามาหนุน จึงจะ ทำให้มีดนั้นคม .. จึงเห็นว่า คุณน้องควรฝึกสติสมาธิให้มากขึ้น แล้วคิดพิจารณาแบบเดิมอีก ก็จะค่อย ๆ เห็นผลของการเปลี่ยนแปลง ที่ละเล็กละน้อย .. มีดคมมากก็ตัดได้มาก คมน้อยก็ตัดได้น้อย เพียรพยายามไปเรื่อย ๆ สักวันก็ตัดได้หมด .. สำหรับ ข้าน้อยมีดทื่อไม่มีคมสักกะติ๊ดเลยอ่ะ .. ![]() ![]() ![]() อ่อมิน่าท่านวิ ถึงได้เปรียบสติปัญญาเป็นเหมือนโล่และอาวุธ ![]() ![]() ![]() ปล.คุนน้องล้อเล่น ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 10 ก.พ. 2013, 20:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
nongkong เขียน: อ่อมิน่าท่านวิ ถึงได้เปรียบสติปัญญาเป็นเหมือนโล่และอาวุธ ![]() ![]() ![]() ปล.คุนน้องล้อเล่น ![]() ![]() ฮ่า ๆ ๆ หนุ่ม ๆ ทั้งหลายระวังตัวไว้ให้ดี อาจขาดสองท่อนได้ทุกเมื่อ .. ![]() ปุ๊กลุ๊ก. ท่านวิ .. แก่แล้วไม่เกี่ยว ขอบาย ..คิกคิก .. ![]() |
เจ้าของ: | จัทร์เพ็ญ [ 10 ก.พ. 2013, 21:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: คุณของ "ปัญญา" |
ถ้าเป็นผู้เริ่มต้นใหม่ การฝึกปัญญาควรทำอย่างไรคะ ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |