ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ความปรารถนา
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44930
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 มี.ค. 2013, 06:26 ]
หัวข้อกระทู้:  ความปรารถนา

คำอธิษฐานบารมี

ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ข้าพเจ้าฯ ได้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหาปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระมหาบริสุทธิคุณ
ซึ่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในโลก ณ แท่นวัชรอาสน์
ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้ และพุทธสถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ

ณ กาลครั้งนี้ จงอานุภาพ มีพลานุภาพ มีบุญฤทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ จงอำนวยพรบันดาลส่งผลให้ข้าพเจ้า
จงตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิตลอดชีวิต และกาลในที่ข้าพเจ้ายังต้องเกิดอยู่ขอให้ได้เป็นสัมมาทิฏฐิตลอดไป
และขอให้ได้พบพระพุทธเจ้า ในชาติที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ทรงอุบัติขึ้น และได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์โดยตรง เมื่อบุญบารมีส่งผลมาพร้อมขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงพระนิพพานในชาตินั้นด้วยเถิด

บุญที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้วในครั้งนี้ ขอให้ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติมิตร สหายทั้งหลาย
เพื่อนร่วมเว็บลานธรรมจักรแห่งนี้ เพื่อนที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตายทั้งสิ้น ตลอดจนผู้ที่กำลังอ่าน และกำลังจะมาอ่าน
และยังไม่มาอ่านทั้งหลาย และผู้ที่ได้อ่านแล้ว ตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิ
ขอให้พบกับกัลยานิมิตรที่ดีงามปราศจากซึ่งคนพาลทั้งหลาย ตลอดทั้งชีวิตและครอบครัว

ธุระกิจการงานจงชนะ ปลอดภัย ร่ำรวย โชคดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิต ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง มีพลานามัยที่สมบูรณ์ยิ่ง

ได้ดวงตาเห็นธรรม รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ประการ ขอปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔
จงบังเกิดขึ้นในดวงจิตของข้าพเจ้า คือ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา
ปฏิภาณสัมภิทา บังเกิดขึ้นในดวงจิตของข้าพเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสธรรมไว้อย่างไร ขอให้ข้าพเจ้า จงรู้แจ้งตามธรรมอย่างนั้นด้วยเทอญ

ลุงหมาน

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 มี.ค. 2013, 07:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

การตั้งความปรารถนานั้น
จะทำให้เราดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ย่อมถึงประโยชน์ทั้ง ๓ อย่าง คือ
ประโยชน์ในอัตตภาพนี้ ประโยชน์ในภาคหน้า และประโยชน์ถึงที่สุด
ดังที่พระองค์ตั้งความปรารถนาได้กระทำมาแล้ว

นับตั้งแต่การตั้งมโนปณิธานเป็นครั้งแรกด้วยหวังว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
ในขณะที่แบกมารดาว่ายข้ามมหาสมุทรนานนับ ๗ อสงไขย

กาลต่อมา ได้พบพระพุทธเจ้า ชื่อว่าปุราณศักยมุนีได้เปล่งวาจา
ต่อหน้าพระพักต์ปรารถนาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
แต่ก็มิได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้านานถึง ๙ อสงไขย หรือเรียกว่าวจีปณิธาน

และกาลต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้าชื่อทีปังกร
ได้ตั้งความปรารถาทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นานถึง ๔ อสงไขย์แสนกัป
รวมความว่าการตั้งความปรารถนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านานถึง ๒๐ อสงไขยแสนกัป

ซึ่งก็นับว่านานเป็นอย่างมาก จึงเชื่อได้ว่าความปรารถนาที่เราตั้งความปรารถนาไว้ย่อมมีผลแน่นอน ฯ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 12 มี.ค. 2013, 19:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

:b8: :b8: :b8:

หากพิจารณาถึง..ความยากลำบาก....หัวจิตหัวใจ..ของพระโพธิสัตว์.. บ่อย ๆ...จะเห็นถึงคุณของพระพุทธเจ้า

เมื่อเข้าใจลึกซึ้ง....จะละวิจิกิจฉาสังโยชน์ได้ง่าย

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 13 มี.ค. 2013, 05:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

กบนอกกะลา เขียน:

หากพิจารณาถึง..ความยากลำบาก....หัวจิตหัวใจ..ของพระโพธิสัตว์.. บ่อย ๆ...จะเห็นถึงคุณของพระพุทธเจ้า

เมื่อเข้าใจลึกซึ้ง....จะละวิจิกิจฉาสังโยชน์ได้ง่าย


ในครั้งที่เกิดเป็นพระสุเมธดาบส ได้พบกับพระพุทธเจ้าชื่อว่าพระทีปังกร
พระองค์ปรารถนาจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพื่อเข้านิพพานก็ไม่ยากเลย

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 13 มี.ค. 2013, 11:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

ใช่เลยครับ...เพียงพระพุทธเจ้าทีปังกรตรัสพระคาถาแค่ครึ่งบท...เท่านั้น...สุเมธดาบสจะพ้นจากทุกข์ทันที่

แต่เพราะน้ำใจที่คิดจะช่วยเหลือสัตว์อื่น ๆ ให้ได้พ้นจากทุกข์ด้วยกัน...จึงทำให้ท่านสุเมธดาบส..ต้องทุกข์ต่อไปอีกถึงความนับไม่ได้ของกัลป์ตั้ง 4ครั้ง...กับเศษอีก แสนกัลป์...

จริงอยู่ว่า...ประกอบกับ..มโน และวจีปณิธาน..สมบูรณ์แล้ว

แต่ก็ผ่านมาด้วยความทุกข์ทั้งนั้น..ไม่ใช่ได้มาโดยง่ายเลย

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 13 มี.ค. 2013, 13:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

กบนอกกะลา เขียน:
ใช่เลยครับ...เพียงพระพุทธเจ้าทีปังกรตรัสพระคาถาแค่ครึ่งบท...เท่านั้น...สุเมธดาบสจะพ้นจากทุกข์ทันที่

แต่เพราะน้ำใจที่คิดจะช่วยเหลือสัตว์อื่น ๆ ให้ได้พ้นจากทุกข์ด้วยกัน...จึงทำให้ท่านสุเมธดาบส..ต้องทุกข์ต่อไปอีกถึงความนับไม่ได้ของกัลป์ตั้ง 4ครั้ง...กับเศษอีก แสนกัลป์...

จริงอยู่ว่า...ประกอบกับ..มโน และวจีปณิธาน..สมบูรณ์แล้ว

แต่ก็ผ่านมาด้วยความทุกข์ทั้งนั้น..ไม่ใช่ได้มาโดยง่ายเลย

:b8: :b8: :b8:

ครั้งมโนปณิธาน ได้ดำริอย่างนี้ว่า
เมื่อเราตรัสรู้แล้ว เราจะให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามด้วย
เมื่อเราข้ามพ้นจากกิเลสแล้ว จะให้ผู้อื่นข้ามพ้นจากกิเลสได้ด้วย
เมื่อเราข้ามโอฆะได้แล้ว จะให้ผู้อื่นข้ามโอฆะได้ด้วย
มหาสมุทรคือวัฏสงสารมีภัยมาก
เราจะทราบซึ้งพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสัตว์โลก
โดยที่มิเห็นแก่ความสุขส่วนตนเป็นที่ตั้ง

เรื่องนี้ย่อมให้ข้อคิดว่า ถ้าหากไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
โลกนี้ก็จะไม่มีพระสัทธรรม ถ้าหากโลกนี้ไม่มีพระสัทธรรม
มนุษย์ย่อมดำรงชีพอยู่ด้วยการก่อบาปก่อเวรเป็นอาจิณ
ถ้าเป็นเช่นนั้น สวรรค์ก็จะร้างจากเทวดา โลกนี้ก็จะร้างจากมนุษย์
แต่เนืองแน่น ด้วยดิรัจฉาน ส่วนนรกภูมิก็จะแออัดไปด้วยสัตว์นรก
สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมตกอยู่ใน วัฏสงสารไปตลอดกาลนาน

เจ้าของ:  Rotala [ 13 มี.ค. 2013, 15:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรบุญกุศลบารมีมาอย่างยิ่งยวด
เพียงนึกถึงพระมหาบุญกุศลในพระชาติต่างๆในสมัยพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรมา
แล้วอนุโมทนา

อนุโมทนาครับ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 16 มี.ค. 2013, 12:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

อธิษฐานบารมีเป็น ๑ ในบารมี ๑๐ ที่พระองค์ทรงแสดงไว้

อธิษฐานบารมี หมายถึง อธิษฐานใจให้ชีวิตมีเป้าหมาย มุ่งมั่นเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ
หรือเพื่อบรรลุผลในสิ่งที่พึงประสงค์ การอธิษฐานที่จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลที่พึงประสงค์นั้น
ต้องมีวิริยะ คือ ความเพียรพยายามอยู่ร่ำไปไม่ท้อถอย มีขันติ คือ ความอดทน มีสัจจะ คือ ความจริงใจ
และรักษาความตั้งใจไว้อย่างมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว ผู้ที่ต้องการก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิตต้องอาศัยแรงอธิษฐาน
คือ กำหนดเป้าหมายไว้แล้วก้าวเดินไปอย่างมุ่งมั่น

ลักษณะแห่งการอธิษฐานธรรมนั้น ต้องประกอบด้วยปัญญา
สิ่งนั้นต้องเป็นจริงและมีความจริงใจซื่อตรงต่อสิ่งที่อธิษฐาน
สละได้แม้กระทั่งทรัพย์สิน คนรัก อวัยวะร่างกาย
หรือแม้กระทั่งชีวิตที่จะทำให้เป้าหมายที่อธิษฐานไว้เปลี่ยนไป
ตลอดจนแสวงหาความสงบส่งเสริมให้จิตมีความมั่นคงต่อสิ่งที่อธิษฐาน

สิ่งที่จะต้องอธิษฐานไว้สูงสุด คือ อธิษฐานให้สามารถดับทุกข์ได้เป็นเป้าหมายสูงสุด
พระพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิบัติในอธิษฐานบารมีอย่างแรงกล้า
โดยมีพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย ๓ ขั้น ดังนี้

(๑) อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาโดยลำดับ
ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่ารักษาคนที่รักและทรัพย์สิน
แม้จะสูญเสียคนรักและทรัพย์สินไปก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

(๒) อธิษฐานอุปบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมียิ่งขึ้นโดยลำดับ
ทรงรักษาอธิษฐานยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย คือ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณ
ยิ่งกว่าอวัยวะร่างกาย แม้จะสูญเสียอวัยวะร่างกายไปก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

(๓) อธิษฐานปรมัตถบารมี พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีอย่างสูงสุด
ด้วยการรักษาอธิษฐานยิ่งกว่าชีวิต คือ ทรงรักษาอธิษฐานเพื่อพระโพธิญาณยิ่งกว่าชีวิต
แม้จะสูญเสียชีวิตก็จะไม่ละทิ้งเป้าหมายที่อธิษฐานไว้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 18 มี.ค. 2013, 07:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

หากเราไม่ปรารถนากันไว้บ้างหนทางที่จะดำเนินไปอย่างถูกต้อง
ก็จะไม่มีหนทางที่จะดำเนินไป อาจถูกซัดไปด้วยอำนาจของแรงลมของตัณหาผิดบ้างถูกบ้าง

อาจจะมีผู้คัดค้านว่าการอธิษฐานนั้น คือเป็นตัวตัณหานั่นเอง

ก็ในเมื่อเรายังมีตัณหาเป็นเครื่องดำเนินทางอยู่ เราก็ควรใช้ตัณหาดำเนินที่ถูกต้อง
แท้จริงแล้วตัณหาเป็นตัวพาไป ทั้งทางดีและทางไม่ดี แม้แต่จะทำกุศลก็ยังมีตัวตัณหาพาไป
เช่น เพราะอยากได้กุศลจึงทำกุศล อยากพ้นทุกข์จึงทำกุศล เป็นต้น
เรียกว่าเอาของที่มีอยู่ เอามาใช้ให้ถูกต้องเสียบ้าง อย่าปล่อยเอาไว้ให้เป็นของเน่าเสียหาค่ามิได้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 เม.ย. 2013, 07:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

การตั้งความปรารถนาของพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ

ในอดีดกาล ในที่สุดแห่งอสงไขยแสนกัป แต่กัปนี้ไป ท่านสารีบุตรบังเกิดแล้ว
ในตระกูลพราหมมหาศาล โดยมีชื่อว่า สรทมาณพ ท่านมหาโมคคัลลานะ
บังเกิดขึ้นแล้วในตระกูลคฤหบดีมหาศาล โดยมีชื่อว่า สิริวัฑฒกุมฎุพี คนทั้งสองนั้น
เป็นสหายร่วมเล่นฝุ่นด้วยกัน

ในบรรดาคนทั้ง ๒ คนนั้น สรทมาณพ พอบิดาล่วงลับไปแล้ว
ก็ครอบครองทรัพย์สมบัติของวงศ์ตระกูล วันหนึ่งไปในที่ลับคนคิดว่า
ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านี้ ย่อมมีความตายเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น
เราควรเข้าไปแสวงหาโมกขธรรมเถิด ดังนี้แล้วจึงเข้าไปหาสหาย กล่าวว่า
เพื่อนเอ๋ยเรามีความประสงค์จะบวช ท่านเล่า! จักสามารถเพื่อจะบวชได้ไหม,
เมื่อเพื่นตอบว่า เราไม่สามารถบวชได้ จึงกล่าวว่า ก็ตามใจเถอะเราจักบวชคนเดียวก็ได้
ดังนี้แล้ว จึงให้คนใช้เปิดประตูเรือนคลังสำหรับเก็บรัตนะออกมา
ให้มหาทานแก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น แล้วไปยังเชิงบรรพต
บวชเป็นฤษีบรรดาบุตรพราหมประมาณ ๗๔.๐๐๐ คนได้พากันออกบวชตาม
สรทมาณพนั้นแล้ว. สรทมาณพนั้นทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้นแล้ว
ก็บอกการบริกรรมกสิณแก่พวกชฎิลแม้เหล่านั้น. พวกชฎิล
แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็พากันทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้นแล้ว.

สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ทรง
อุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงยังพระธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว
ทรงยังหมู่สัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร วันหนึ่ง จึงคิดว่า
เราจักทำการสงเคราะห์สรทดาบส และพวกอันเตวาสิก ดังนี้ พระองค์
เดียวไม่มีใครเป็นที่สอง ทรงถือเอาบาตรและจีวรเสด็จไปโดยอากาศ
ตรัสว่า ดาบสจงรู้เราว่าเป็นพระพุทธเจ้าเถิด ดังนี้ เมื่อดาบสกำลังเห็นอยู่
นั่นแหละ จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนเหนือปฐพี.

สรทดาบส จึงใคร่ครวญถึงมหาปุริสลักษณะในสรีระของพระศาสดา
ถึงความตกลงใจว่า บุคคลนี้ คือพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แท้ จึงทำ
การต้อนรับปูลาดอาสนะถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดถวายแล้ว สรทดาบสนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ใกล้พระศาสดา.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 เม.ย. 2013, 07:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

สมัยนั้น พวกอันเตวาสิกของสรทดาบสนั้น เป็นชฎิลมีประมาณ
๗๔,๐๐๐ คน พากันถือเอาผลไม้น้อยใหญ่ที่ประณีตอย่างยิ่ง มีโอชารส
ดีมาแล้ว เห็นพระศาสดา เกิดมีความเลื่อมใส และแลดูอาการที่อาจารย์
และพระศาสดานั่ง จึงกล่าวว่า อาจารย์ เมื่อก่อนพวกเราเข้าใจว่า ไม่
มีใครยิ่งใหญ่เกินกว่าท่าน แต่บุรุษนี้ เห็นจะยิ่งใหญ่กว่าท่านเป็นแน่.
สรทดาบสตอบว่า พ่อทั้งหลาย นี่พวกพ่อพูดอะไรกัน พวกพ่อปรารถนา
จะทำภูเขาสิเนรุ ซึ่งสูงตั้ง ๖,๘๐๐,๐๐๐ โยชน์ ให้เสมอกับเมล็ดพันธุ์
ผักกาดได้อย่างไร พวกท่านอย่าเอาเราไปเปรียบกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย.

ครั้งนั้น พวกดาบสนั้นฟังคำของอาจารย์แล้ว พากันคิดว่า บุรุษ
นี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่หนอ ทั้งหมดจึงพากันหมอบลงที่แทบเท้า ถวายบังคม
พระศาสดา.

ครั้งนั้น อาจารย์กล่าวกะพวกอันเตวาสิกนั้นว่า แน่ะพวกพ่อ ไทย-
ธรรมของพวกเรา ที่จะสมควรแด่พระศาสดา ไม่มีเลย, และพระศาสดา
เสด็จมาในที่นี้ ในเวลาภิกขาจาร, เอาเถอะ พวกเราจักถวายไทยธรรม
ตามกำลัง, พวกท่านจงนำผลไม้น้อยใหญ่ที่ประณีตนั้นมาเถิด ครั้นให้นำ
มาแล้ว ล้างมือให้สะอาดแล้ว ตนเองจึงวางไว้ในบาตรของพระตถาคต
และพอพระศาสดารับผลไม้น้อยใหญ่ พวกเทวดาก็เดิมทิพยโอชาลง.

ดาบสทำการกรองน้ำถวายเอง. ต่อแต่นั้น เมื่อพระศาสดา
ประทับนั่งทำโภชนกิจให้เสร็จสิ้นแล้ว ดาบสก็เรียกอันเตวาสิกทั้งหมดมา
นั่ง กล่าวสารณียกถาในสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงดำริว่า
อัครสาวกทั้งสอง จงมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์เถิด. อัครสาวกทั้งสองนั้น

ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้ว ในขณะนั้น จึงมีพระขีณาสพ
๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร พากันมาไหว้พระศาสดาแล้ว ยืน ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น สรทดาบสจึงเรียกพวกอันเตวาสิกมาว่า พวกพ่อ พึง
เอาอาสนะดอกไม้ทำการบูชาพระศาสดาและภิกษุสงฆ์เถิด เพราะฉะนั้น
จงเอาดอกไม้มาเถิด. ในขณะนั้นนั่นเอง พวกอันเตวาสิกนั้น นำเอา
ดอกไม้ที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น ด้วยฤทธิ์แล้ว ปูลาดเป็นอาสนะดอกไม้
ประมาณโยชน์หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า, ประมาณ ๓ คาวุต แก่พระอัครสาวกทั้ง
สอง ประมาณกึ่งโยชน์แก่พวกพระภิกษุที่เหลือ ปูลาดประมาณ ๑ อุสภะ แก่
ภิกษุสงฆ์นวกะ. เมื่อพวกอันเตวาสิกนั้นพากันปูลาดอาสนะเรียบร้อยแล้ว
อย่างนั้น สรทดาบสจึงยืนประคองอัญชลีข้างหน้าพระตถาคต กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จขึ้นบนอาสนะดอกไม้นี้
เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้แล้ว. เมื่อพระ-
ศาสดาประทับนั่งแล้ว อัครสาวกทั้งสองและพวกภิกษุที่เหลือ ต่างก็พากัน
นั่งบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตนๆ. พระศาสดาตรัสว่า ขอผลเป็นอันมาก
จงสำเร็จแก่ดาบสเหล่านั้นเถิด แล้วทรงเข้านิโรธสมาบัติ. พระอัครสาวก
ทั้งสองก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี ทราบว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติแล้ว จึงพากัน
เข้านิโรธสมาบัติบ้าง. ดาบสได้ยืนกั้นฉัตรดอกไม้ตลอด ๗ วัน อันหา
ระหว่างมิได้. ฝ่ายอันเตวาสิกนอกนี้ พากันบริโภคมูลผลาผลในป่าแล้ว
ในกาลที่เหลือก็พากันยืนประคองอัญชลี.

พอล่วง ๗ วัน พระศาสดาก็เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ตรัส

เรียกนิสภเถระอัครสาวกมาว่า เธอจงอนุโมทนาอาสนะดอกไม้ของ
ดาบสทั้งหลายเถิด. พระเถระดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณ ได้กระทำการ
อนุโมทนาอาสนะดอกไม้แก่ดาบสเหล่านั้นแล้ว. ในที่สุดแห่งเทศนาของ
พระเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกอโนมเถระอัครสาวกที่สอง (ฝ่ายซ้าย)
มาว่า แม้เธอก็จงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านี้บ้างเถิด.

แม้พระอโนมเถระนั้น ก็พิจารณาถึงพระพุทธวจนะ คือพระไตร-
ปิฎกแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น การบรรลุธรรมด้วยการแสดง
ธรรม แม้ของพระอัครสาวกทั้งสองไม่ได้มีแล้วแก่คน แม้สักคนเดียว.
ในที่สุดเทศนา เว้นสรทดาบสเสีย พวกชฎิลที่เหลือทั้งหมดประมาณ
๗๔,๐๐๐ คน ก็บรรลุพระอรหัต. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัส
ว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในบัดดลนั้นเอง พวกชฎิลนั้นเป็นผู้มีเพศแห่ง
ดาบสอันตรธานไปแล้ว เป็นผู้ทรงบริขาร ๘ อันประเสริฐ ได้เป็นราวกะ
พระเถระอายุ ๖๐ ปี.

ฝ่ายสรทดาบส ตั้งความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ตัวเรา พึงได้
เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือนพระนิสภ-
เถระนี้เถิด ดังนี้ ในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม เป็นผู้ส่งใจไปใน
ที่อื่นเสีย เพราะค่าที่ตนเกิดความปริวิตกขึ้น จึงไม่สามารถจะบรรลุแจ้ง
มรรคและผลได้. ลำดับนั้น สรทดาบสจึงถวายบังคมพระตถาคตแล้ว
ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนอย่างนั้น. แม้พระศาสดาทรงเห็นว่าสรท-
ดาบสนั้น จะสำเร็จความปรารถนาโดยหาอันตรายมิได้ จึงตรัสพยากรณ์
ว่า ตั้งแต่นี้ไปล่วงอสงไขยกำไรแสนกัป เธอจักชื่อว่า สารีบุตร เป็น
อัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม ดังนี้แล้ว จึง
ตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปทางอากาศ.

ฝ่ายสรทดาบส ไปหาสิริวัฑฒะผู้เป็นสหายแล้วกล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย
เราปรารถนาตำแหน่งอัครสาวก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
โคดม ผู้จะอุบัติในอนาคตกาล ณ บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า อโนมทัสสี, แม้ท่าน ก็จงปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกที่
สอง (ฝ่ายซ้าย) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นบ้างเถอะ. สิริวัฑฒะ
ได้ฟังคำแนะนำนั้นแล้ว จึงให้ปรับพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส ใกล้ประตู
ที่อยู่ของตนให้สม่ำเสมอแล้ว เกลี่ยดอกไม้ทั้งหลายมีดอกบวบขมเป็นที่ ๕
แล้วให้สร้างมณฑปมุงด้วยดอกอุบลเขียวแล้ว ปูลาดอาสนะสำหรับพระ-
พุทธเจ้า และปูลาดอาสนะสำหรับพวกภิกษุ ตระเตรียมสักการะและ
สัมมานะเป็นอันมากแล้ว ให้สรทดาบสนิมนต์พระศาสดา ยังมหาทานให้
เป็นไปตลอด ๗ วันแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นุ่งห่ม
ผ้าอันควรแก่ค่ามากมายแล้ว ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อเป็นอัครสาวกที่ ๒.

ถึงพระศาสดาก็ทรงเล็งเห็นว่า เขาจะสำเร็จความปรารถนาโดยหา
อันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา
ภัตแล้วเสด็จหลีกไป. สิริวัฑฒะร่าเริงดีใจมาก บำเพ็ญกุศลกรรมจน
ตลอดชีวิต ในวาระจิตที่ ๒ บังเกิดในกามาวจรเทวโลก. สรทดาบส
เจริญพรหมวิหาร ๔ บังเกิดในพรหมโลก.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 22 พ.ค. 2018, 13:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความปรารถนา

จำเดิมแต่นั้น ท่านก็มิได้กล่าวถึงกรรมในระหว่างแม้เเห่งบุคคล
ทั้งสองนั้นเลย. ก็ก่อนหน้าการอุบัติของพระผู้มีภาคเจ้าของพวกเรา สรทดาบส
ดาบสถือปฏิสนธิในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า รูปสารี ในอุปติสสคาม
ไม่ไกลกรุงราชคฤห์. ในวันนั้นนั่นเอง แม้สหายของเขา ก็ถือปฏิสนธิ
ในท้องของนางพราหมณี ชื่อว่า โมคคัลลี ในโกลิตคาม ไม่ไกลกรุง
ราชคฤห์นักเลย.

ได้ยินว่า สกุลทั้งสองนั้นเป็นสหายสืบเนื่องกันมา นับได้ ๗ ชั่ว-
สกุลนั่นเทียว. ชนทั้งหลายได้ให้คัพภบริหารเริ่มตั้งแต่วันที่หนึ่งนั่นแล
แก่ตระกูลทั้งสองนั้น. โดยล่วงไป ๑๐ เดือน แม่นม ๖๖ คนได้พากัน
บำรุงคนทั้งสองที่เกิดแล้ว, ในวันตั้งชื่อ พวกญาติได้ทำการตั้งชื่อ
บุตรของนางพราหมณีรูปสารีว่า อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรแห่งสกุลอัน
ประเสริฐสุด ในอุปติสสคาม, ตั้งชื่อบุตรนอกนี้ว่า โกลิตะ เพราะเป็น
บุตรแห่งสกุลอันประเสริฐสุดในโกลิตคาม. เด็กทั้งสองคนนั้นมีบริวาร
มากมาย เจริญวัยแล้ว ได้สำเร็จการศึกษาทุกอย่างแล้ว.

ครั้นวันหนึ่ง เมื่อคนทั้งสองนั้น ดูการเล่นมหรสพบนยอดภูเขา ณ
กรุงราชคฤห์ เห็นมหาชนประชุมกันแล้ว มีโยนิโสมนสิการเกิดผุดขึ้น
เพราะค่าที่คนมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงพากันคิดว่า คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
ไม่ถึงร้อยปีก็จักตั้งอยู่ในปากแห่งความตาย ดังนี้แล้ว ได้ความสังเวช
ทำความตกลงใจว่า พวกเราควรจะแสวงหาโมกขธรรม, และการ
จะแสวงหาโมกขธรรมนั้น ควรเพื่อจะได้การบรรพชาสักอย่างหนึ่ง
จึงพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน พากันบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก.
จำเดิมแต่กาลที่คนเหล่านั้นบวชแล้ว สัญชัยได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ
และเลิศด้วยยศ.

โดยล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น คนทั้งสองนั้นพากันยึดถือลัทธิของ
สัญชัยทั้งหมดแล้ว มองไม่เห็นสาระในลัทธินั้น จึงพากันออกจากลัทธิ
นั้น ถามปัญหากะสมณพราหมณ์ ที่สมมติกันว่าเป็นบัณฑิตเหล่านั้น
ในที่นั้นๆ, สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกคนทั้งสองนั้นถามปัญหาแล้ว
แก้ปัญหาไม่ได้ โดยที่แท้คนทั้งสองต้องแก้ปัญหาแก่สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น. คนทั้งสองนั้น ขณะแสวงหาโมกขธรรม ได้ทำกติกากันไว้แล้ว
อย่างนี้ว่า ในพวกเรา ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อนกว่า ผู้นั้นจงบอกแก่
คนนอกนี้ให้ทราบบ้าง.

ก็สมัยนั้น เมื่อพระศาสดาของพวกเราบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
ครั้งแรก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว ทรงทรมาน
พวกชฎิล ๑,๐๐๐ คน มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น โดยลำดับแล้ว ประทับ
อยู่ในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง อุปติสสปริพาชกไปยังอารามของปริ-
พาชก มองเห็นท่านพระอัสสชิเถระ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ จึงคิดว่า บรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาเห็นปานนี้
เราไม่เคยเห็นเลย, ชื่อว่า ธรรมอันสงบพึงมีในที่นี้ ดังนี้ จึงเกิดความ
เลื่อมใส รอท่าติดตามไปข้างหลังท่าน เพื่อจะถามปัญหา.

แม้พระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ก็ไปยังโอกาสอันสมควร เพื่อจะ
ทำการบริโภค, ปริพาชกจึงปูลาดตั่งสำหรับปริพาชกของตนถวายท่าน.
ก็ในที่สุดภัตกิจ เขาได้ถวายน้ำจากคนโทน้ำของตนแก่ท่าน.

ปริพาชกนั้น กระทำอาจริยวัตรอย่างนั้นแล้ว การทำปฏิสันถาร
กับพระเถระผู้มีภัตกิจอันกระทำแล้ว จึงถามว่า ใครเป็นศาสดาของ
ท่าน, หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร. พระเถระแสดงอ้างถึงพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระนั้น ถูกปริพาชกนั้นถามอีกว่า ก็พระศาสดา
ของท่านมีปกติกล่าวอะไร ดังนี้แล้วจึงตอบว่า เราจักแสดงความลึกซึ้ง
ของพระศาสนานี้ จึงแสดงชี้แจงความที่ตนเป็นผู้ใหม่แล้ว และเมื่อ
จะกล่าวศาสนธรรมแก่ปริพาชกนั้นโดยสังเขป จึงกล่าวคาถาว่า ธรรม
เหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้เป็นต้น. ปริพาชกได้ฟังสองบทแรก
เท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันสมบูรณ์ด้วยพันนัย, สองบทนอก
นี้ จบลงในเวลาที่เป็นพระโสดาบันแล้ว.

ก็ในเวลาจบคาถา อุปติสสปริพาชกเป็นพระโสดาบัน กำหนด
ความวิเศษที่เหนือขึ้นไป ที่พระเถระยังมิให้เป็นไปว่า เหตุในข้อนี้ จักมี
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกับพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อย่าแสดงพระธรรม-
เทศนาให้สูงขึ้นไปเลย, เท่านี้ก็พอแล้ว, พระศาสดาของพวกเรา ประทับ
อยู่ในที่ไหน ? พระเถระตอบว่า ที่พระเวฬุวัน. อุปติสสะเรียนว่า ข้า-
แต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงล่วงหน้าไปก่อนเถอะ กระผมจักเปลื้อง
ปฏิญญาที่ให้ไว้กับสหายของกระผมก่อนแล้ว จักพาเขาไปดังนี้แล้ว ไหว้
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทำประทักษิณ ๓ ครั้งแล้ว ส่งพระเถระไปแล้ว
จึงได้ไปยังอาศรมของปริพาชก.

โกลิตปริพาชก มองเห็นอุปติสสปริพาชกกำลังเดินมาแต่ที่ไกล
เทียว คิดว่า วันนี้เขามีหน้าตาแจ่มใส ไม่เหมือนในวันอื่น ๆ เลย,
เห็นทีจักบรรลุอมตธรรมเป็นแน่แท้ ดังนี้แล้ว ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ
จึงยกย่องการบรรลุคุณวิเศษของเขาแล้ว ถามถึงการบรรลุอมตธรรม.
แม้อุปติสสะนั้นก็แสดงให้รู้ว่า ใช่ ! อาวุโส เราบรรลุอมตธรรมแล้ว
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานั้นนั่นแหละแก่เขา. ในเวลาจบคาถา โกลิตะ
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วกล่าวว่า พระศาสดาของพวกเราประทับ
อยู่ที่ไหน ? อุปติสสะตอบว่า ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน. โกลิตะกล่าวว่า
ถ้าอย่างนั้น พวกเราไปกันเถอะ อาวุโส, จักได้เข้าเฝ้าพระศาสดา.
อุปติสสะเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ตลอดกาลทั้งปวง, เพราะฉะนั้น ไปหา
สัญชัยแล้ว ประกาศคุณของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นผู้ประสงค์จะนำแม้
สัญชัยนั้นไปยังสำนักพระศาสดาบ้าง.

สัญชัยปริพาชกนั้น เป็นผู้ถูกความหวังในลาภเข้าครอบงำ จึง
ไม่ต้องการเป็นอันเตวาสิก ห้ามว่า เราไม่อาจจะเป็นตุ่มใส่น้ำอาบได้
อุปติสสะและโกลิตะนั้น ไม่สามารถจะให้สัญชัยนั้นกลับใจได้ จึงพร้อม
กับพวกอันเตวาสิก ๒๕๐ คน ผู้พระพฤติตามโอวาทของตน ได้ไปยัง
เวฬุวัน. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอันเตวาสิกเหล่านั้น กำลัง
เดินทางมาแต่ไกล จึงตรัสว่า นั่นจักเป็นคู่สาวกของเรา เป็นคู่อัน
เลิศ เป็นคู่อันเจริญ ดังนี้ ทรงแสดงธรรมด้วยอำนาจความประพฤติ
ของบริษัทของอัครสาวกทั้งสองนั้น แก่บริษัทแล้ว ให้ตั้งอยู่ในความเป็น
พระอรหัต ได้ประทานอุปสมบท โดยเอหิภิกษุ. บาตรและจีวรอัน
สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้มาแล้วแม้แก่อัครสาวกทั้งสอง เหมือนอย่างบริษัท
ของอัครสาวกทั้งสองนั้นนั่นแล แต่กิจแห่งอริยมรรค ๓ เบื้องบน ยังไม่
สำเร็จ. เพราะเหตุไร ? เพราะสาวกบารมีญาณนั้นยิ่งใหญ่.

ในบรรดาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ตั้งแต่วันบวชมา ในวันที่ ๗ บำเพ็ญสมณธรรม ที่บ้านกัลลวาลคาม
ที่มคธรัฐก้าวลงสู่ความง่วง เป็นผู้อันพระศาสดาให้เกิดความสลดใจแล้ว
บรรเทาความง่วงเสียได้ ฟังธาตุกัมมัฏฐานนั่นแล บรรลุอริยมรรค ๓
เบื้องบนแล้ว บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ.

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/