วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 12:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 141 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 11:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามว่า...รู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...แบบนี้มีไหมคะ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 13:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 13:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b14: .... :b10:

มันคืออะไร แบบไหน อย่างไรคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียนหยด เขียน:
:b14: .... :b10:

มันคืออะไร แบบไหน อย่างไรคะ :b8:


ทุกข์เพราะมีเหตุเกิด แล้วเข้าไปเห็นเหตุเกิดของทุกข์เรียกว่ารู้ทุกข์

ความทนตั้งอยู่ไม่ได้เรียกว่าทุกข์ ความบังคับไม่ได้เรียกว่าทุกข์ ความแปลสภาพเรียกว่าทุกข์

ความไม่รู้ตามความเป็นจริงเป็นต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด

เมื่อความไม่รู้ถูกทำลายลงด้วย มรรค8 เจริญขึ้นเป็นปัญญา ปัญญาจึงดับทุกข์ลง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เทียนหยด เขียน:
อยากถามว่า...รู้ทุกข์แต่ไม่ทุกข์...แบบนี้มีไหมคะ :b10:


แม้แต่สุขก็ยังชื่อว่าทุกข์
สุขเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง (สุขก็ไม่เที่ยง) สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์
เพราะมีสภาพแปรปรวนเปลี่ยนไปทนสภาพเดิมไม่ได้ จึงชื่อสุขนั้นก็เป็นทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 15:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ้อ..สมมุติ ที่ว่าอาการนี้เรียกว่าทุกข์...อาการแน่นๆที่หน้าอกเรียกว่าทุกข์จริงๆหรือ...ทำไมมันแน่นๆแต่ไม่ทุกข์...แล้วมันคืออะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)

1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)
-----------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=112


ร่างกายอึกอัดเพราะลมก็ตาม เพราะธาตุกำเริบต่างๆ ก็ตาม
เรียกว่าเกิด ทุกข์เวทนา ทรมานกายแต่ไม่ทรมานใจ คือไม่เกิด
ความรู้สึกไม่ชอบไม่พอใจขึ้นมา ไม่เกิดโทมนัสเวทนา ก็มี

แต่โดยปรกติ เมื่อหมายถึงในการกำหนดพิจารณาอารมณ์ พิจารณา
เวทนาที่เกิดขึ้นในการเจริญสติ ผู้รู้เขากำหนดกันว่า ถ้าเฉยๆ
ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ท่านเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา

ซึ่งผู้รู้ท่านกำหนดกันว่า เป็นสุขเกิดแต่ ญาณ (เพราะได้กำหนดรู้)
เป็นทุกข์เกิดขึ้น(เพราะไม่รู้) ไม่ได้กำหนด เป็น อญาณ


เรียกว่า ญาณะ รู้ และ อญาณะ ไม่รู้ รู้เป็นสุขเกิดเพราะญาณเกิดเพราะรู้
เป็นทุกข์เพราะอญาณะ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้

หรือกรณี พอกำหนดเห็นอาการที่มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วมันก็คลายลงไป
ค่อยๆ หายแน่นลงไปไม่ปรากฏความแน่นความจุกอก แบบนี้ก็เรียกว่า
เป็น วิปริณามทุกข์ (เปลี่ยนจากทุกข์แล้วกลายเป็นสุข) ไอ้ที่ทุกข์ มันทุกข์
เพราะมันอึดอัดแน่นตั้งอยู่ รู้สึกอยู่ วิปริณามะ คือ แปรปรวน เปลี่ยนแปลง
จากทุกข์ที่ตั้งอยู่ คลายลง หายใจสะดวกขึ้น จากทุกข์เปลี่ยนเป็นสุข
ท่านเรียกว่า วิปริณามทุกข์ (ข้อสังเกตุมันตรงกันข้ามกัน)


ส่วนถ้าสุขตั้งอยู่ สบายๆ โล่งใจ ปลอดโปร่ง แล้วจู่ๆ เกิดคิดขึ้นได้
เกิดได้ยินเสียง เกิดอารมณ์ที่ไม่ชอบไม่พอใจขึ้นมา ส่งผลให้เกิด
ความรู้สึก จุกอก แน่นปรี๊ดขึ้นมา ก็เรียกกันว่า วิปริณามสุข
คือเปลี่ยนจากสุขกลายเป็นทุกข์เวทนา ทางกายขึ้นมา ถ้ามีสติ
ถ้ากำหนดรู้ ก็เกิดทุกข์เวทนาทางกาย (แน่นอก) แต่ไม่มี โทมนัสเวทนา
เกิดร่วมด้วย ไ่ม่เกิดความทรมานไม่ชอบไม่พอใจขึ้น อย่างนี้ก็คือ
ที่กล่าวไปข้างต้น ทุกข์กายแต่ไม่ทุกข์ใจนั่นเอง.

ที่แท้สุขเรียกว่าสุข ตอนตั้งอยู่
เรียกว่าเป็น วิปริณามทุกข์ เมื่อสุขคลายไป เปลี่ยนไป

ที่แท้ทุกข์เรียกว่าทุกข์ ตอนตั้งอยู่
เรียกว่าเป็น วิปริณามสุข เมื่อทุกข์คลายไป เปลี่ยนไป




เจริญพร.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 16:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)

1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)
-----------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=112


ร่างกายอึกอัดเพราะลมก็ตาม เพราะธาตุกำเริบต่างๆ ก็ตาม
เรียกว่าเกิด ทุกข์เวทนา ทรมานกายแต่ไม่ทรมานใจ คือไม่เกิด
ความรู้สึกไม่ชอบไม่พอใจขึ้นมา ไม่เกิดโทมนัสเวทนา ก็มี

แต่โดยปรกติ เมื่อหมายถึงในการกำหนดพิจารณาอารมณ์ พิจารณา
เวทนาที่เกิดขึ้นในการเจริญสติ ผู้รู้เขากำหนดกันว่า ถ้าเฉยๆ
ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ท่านเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา

ซึ่งผู้รู้ท่านกำหนดกันว่า เป็นสุขเกิดแต่ ญาณ (เพราะได้กำหนดรู้)
เป็นทุกข์เกิดขึ้น(เพราะไม่รู้) ไม่ได้กำหนด เป็น อญาณ


เรียกว่า ญาณะ รู้ และ อญาณะ ไม่รู้ รู้เป็นสุขเกิดเพราะญาณเกิดเพราะรู้
เป็นทุกข์เพราะอญาณะ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้

หรือกรณี พอกำหนดเห็นอาการที่มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วมันก็คลายลงไป
ค่อยๆ หายแน่นลงไปไม่ปรากฏความแน่นความจุกอก แบบนี้ก็เรียกว่า
เป็น วิปริณามทุกข์ (เปลี่ยนจากทุกข์แล้วกลายเป็นสุข) ไอ้ที่ทุกข์ มันทุกข์
เพราะมันอึดอัดแน่นตั้งอยู่ รู้สึกอยู่ วิปริณามะ คือ แปรปรวน เปลี่ยนแปลง
จากทุกข์ที่ตั้งอยู่ คลายลง หายใจสะดวกขึ้น จากทุกข์เปลี่ยนเป็นสุข
ท่านเรียกว่า วิปริณามทุกข์ (ข้อสังเกตุมันตรงกันข้ามกัน)


ส่วนถ้าสุขตั้งอยู่ สบายๆ โล่งใจ ปลอดโปร่ง แล้วจู่ๆ เกิดคิดขึ้นได้
เกิดได้ยินเสียง เกิดอารมณ์ที่ไม่ชอบไม่พอใจขึ้นมา ส่งผลให้เกิด
ความรู้สึก จุกอก แน่นปรี๊ดขึ้นมา ก็เรียกกันว่า วิปริณามสุข
คือเปลี่ยนจากสุขกลายเป็นทุกข์เวทนา ทางกายขึ้นมา ถ้ามีสติ
ถ้ากำหนดรู้ ก็เกิดทุกข์เวทนาทางกาย (แน่นอก) แต่ไม่มี โทมนัสเวทนา
เกิดร่วมด้วย ไ่ม่เกิดความทรมานไม่ชอบไม่พอใจขึ้น อย่างนี้ก็คือ
ที่กล่าวไปข้างต้น ทุกข์กายแต่ไม่ทุกข์ใจนั่นเอง.

ที่แท้สุขเรียกว่าสุข ตอนตั้งอยู่
เรียกว่าเป็น วิปริณามทุกข์ เมื่อสุขคลายไป เปลี่ยนไป

ที่แท้ทุกข์เรียกว่าทุกข์ ตอนตั้งอยู่
เรียกว่าเป็น วิปริณามสุข เมื่อทุกข์คลายไป เปลี่ยนไป




เจริญพร.



:b8: :b8: :b8: กราบขอบพระคุณคะ

อ้างคำพูด:
ถ้ามีสติ
ถ้ากำหนดรู้ ก็เกิดทุกข์เวทนาทางกาย (แน่นอก) แต่ไม่มี โทมนัสเวทนา
เกิดร่วมด้วย ไ่ม่เกิดความทรมานไม่ชอบไม่พอใจขึ้น อย่างนี้ก็คือ
ที่กล่าวไปข้างต้น ทุกข์กายแต่ไม่ทุกข์ใจนั่นเอง.



ถ้าเป็นอาการแบบนี้ ควรทำตัวอย่างไรเจ้าคะ วางอารมณ์อย่างไร

พิจารณาอย่างไรในการวางอารมณ์วิปัสสนาญาน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เจริญพร

เจริญสติบ่อยๆ ถ้าถามว่าทำตัวอย่างไร ให้ทุกข์กายแต่ไม่ทุกข์ใจ
อันนี้ต้องรู้ว่า อยากแล้ว ต้องรู้ว่าจิตมีราคะแล้ว^^

ความจริงก็อธิบายได้ สำหรับผู้ที่เห็นความจริงของกายของใจ
ก็จะค่อยๆ ละความยึดถือเห็นผิด ในกาย เวทนา จิต ธรรมลงไปเอง
ส่วนที่ไม่ค่อยได้เจริญสติ ไม่รู้ทันปัจจุบัน ก็จะไล่ไปตามความคิด
ความนึกเสียมากกว่า กลายเป็นวิปัสสนึกไปเสียส่วนใหญ่

แล้วแต่ว่าสติ(ปัฏฐาน)จะไประลึกรู้เอาตอนไหน ของคุณโยม
เกิดตอนที่ ไปรู้ชัดทีกายก่อน แล้วค่อยทวนพิจารณาทีใจ
มันก็เลยยิ่งวางยิ่งคลาย อาการแน่นๆ ให้หายไปเพราะสติ
ไปรู้ไประลึก ใคร่ควรถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแทน (สงสัย) ^^

ดังนั้น วิปัสสนาญาณ จะเกิดขึ้น ต้องอาศัยการหมั่นระลึกรู้
เจริญสติบ่อยๆ หลีกคนฟุ้งซ่าน คนขาดโยนิโสมนสิการ
เพราะทุกๆ ขณะ ที่สติเกิด การมีสติจดจ่อเป็นเพียงสมาธิ
ตรงที่เห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ และเสื่อมไปดับไป นั่นแหละ
ถึงจะเริ่มเป็นวิปัสสนาหรือเป็นปัญญา ซึ่งต้องเกิดเองจาก
การภาวนา มีสติระลึกรู้บ่อยๆ


กำลังจะเดินทางต่อแล้วครับ ไม่ค่อยได้เข้ามา ยังไงรอฟังกัลยาณมิตร
ผู้รู้ท่านอื่นๆ ให้คำแนะนำเพิ่มเติมนะครับโยม


เริ่มต้นดีแล้ว ขออนุโมทนาสาธุ ^^



เจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 17:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: กราบขอบพระคุณคะ

ช่วงนี้มีอาการอย่างนี้คือ แน่นๆหรือหนักๆที่หน้าอก มากน้อยต่างกันไป

แต่ไม่ได้ทุกข์ใจอะไร ได้แต่มอง ก็มองว่า ขันธ์นี้นำพาให้เราทุกข์

การเกิดทำให้มีขันธ์ทำให้มันทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่ใดในสามภพก็ทุกข์อยุ่ดี

ที่เดียวที่ไม่ทุกข์คือการเดินให้ถึงพระนิพพาน :b8:

มองย้อนไปย้อนมาในทุกข์ที่เกิด จาการมีขันธ์ พอมองมันแบบก็คลายหน่อย สักพักก็เป็นขี้นอีก

(ที่ถามอย่างนั้น เพียงต้องการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสให้ตัวเองนะคะ :b8: )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีโรคประจำตัวอะไรไหม?

กรัชกายก็เพิ่งมอง เล่นเอาเกือบตาย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 17:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2013, 21:54
โพสต์: 63

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่คะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ขันธ์นี้นำพาให้เราทุกข์


ไม่มีเรา มีแต่ขันธ์5 เท่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 18:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินมาว่า ถ้าทำวิปัสสนา มันจะไม่แน่นๆ จุกๆ

แต่ถ้าไปทางสมถะ มันจะแน่นๆ จุกๆ ครับผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2013, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียนหยด เขียน:
ไม่คะ :b1:



ลองเล่ารายละเอียดตั้งแต่ต้น....สิครับ ใช้กรรมฐานอะไร ทำยังไง ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 141 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 224 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร