วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2013, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความคุ้นเคย มีสองอย่าง คือ ..

๑. ความคุ้นเคยทางใจ เรียกว่า "อนุสัย"
๒. ความคุ้นเคยทางกาย วาจา เรียกว่า "วาสนา" "แต่เนื่องด้วยอนุสัย"

การส่องเสพหรือทำความคุ้นเคยบ่อย ๆ กับ โลภะ โทสะ โมหะ
หรือรู้สึกยินดีเมื่อพบอิฏฐารมณ์ ไม่พอใจไม่ยินดีกับอนิฏฐารมณ์ .. เรียกว่า "อนุสัย"

ความคุ้นเคยทางกาย วาจา เช่น ผู้มีราคะจริต จะมีกริยามรรยาทเรียร้อย เป็นระเบียบ
พิถีพิถันกับการแต่งกาย หรือผู้ที่มีโทสะจริตกริยามรรยาทไม่ค่อยเรียบร้อย เอะอะ
โผงผาง เสียงดัง เป็นต้น .. เรียกว่า "วาสนา"

การจะละ "อนุสัย" ได้ก็ต้องมาฝึกหัดให้คุ้นเคยใน "ศีลและสมถวิปัสสนา" ขึ้นใหม่
จนสามารถละถอนความคุ้นเคยเก่าเสียสิ้น ..

โลภะ โทสะ โมหะ เป็นลักษณะของ "กิเลส"
กริยามรรยาท เรียบร้อย ไม่เรียบร้อย
เป็นลักษณะของ "วาสนา" ..

พระพุทธเจ้าละได้ทั้ง "กิเลสและวาสนา"
ส่วนพระอริยะสาวกละได้แต่ "กิเลส"..

ความเห็นเฉพาะตัว มีผิดมีถูก ฟังหูไว้หู .. :b13: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2013, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ความคุ้นเคย มีสองอย่าง คือ ..

๑. ความคุ้นเคยทางใจ เรียกว่า "อนุสัย"
๒. ความคุ้นเคยทางกาย วาจา เรียกว่า "วาสนา" "แต่เนื่องด้วยอนุสัย"

การส่องเสพหรือทำความคุ้นเคยบ่อย ๆ กับ โลภะ โทสะ โมหะ
หรือรู้สึกยินดีเมื่อพบอิฏฐารมณ์ ไม่พอใจไม่ยินดีกับอนิฏฐารมณ์ .. เรียกว่า "อนุสัย"

ความคุ้นเคยทางกาย วาจา เช่น ผู้มีราคะจริต จะมีกริยามรรยาทเรียร้อย เป็นระเบียบ
พิถีพิถันกับการแต่งกาย หรือผู้ที่มีโทสะจริตกริยามรรยาทไม่ค่อยเรียบร้อย เอะอะ
โผงผาง เสียงดัง เป็นต้น .. เรียกว่า "วาสนา"

การจะละ "อนุสัย" ได้ก็ต้องมาฝึกหัดให้คุ้นเคยใน "ศีลและสมถวิปัสสนา" ขึ้นใหม่
จนสามารถละถอนความคุ้นเคยเก่าเสียสิ้น ..

โลภะ โทสะ โมหะ เป็นลักษณะของ "กิเลส"
กริยามรรยาท เรียบร้อย ไม่เรียบร้อย
เป็นลักษณะของ "วาสนา" ..

พระพุทธเจ้าละได้ทั้ง "กิเลสและวาสนา"
ส่วนพระอริยะสาวกละได้แต่ "กิเลส"..

ความเห็นเฉพาะตัว มีผิดมีถูก ฟังหูไว้หู .. :b13: :b1:


อธิบายได้ชัดเจนครับ
สาธุครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2013, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อนุสัย หรือเปล่า

อ้างคำพูด:
อนุสัย ๗ เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น คือ 1.ราคานุสัย 2.ปฏิฆานุสัย 3.อวิชชานุสัย 4.วิจิกิจฉานุสัย 5.มานานุสัย 6.ภวานุสัย 7.ทิฏฐานุสัย


แปลให้หน่อยสิครับ ผมไม่ถนัดบาลีเลยครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2013, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:


แปลให้หน่อยสิครับ ผมไม่ถนัดบาลีเลยครับ :b8:[/quote]

อนุสัย ก็ คือ กิเลส เป็นสภาพที่เศร้าหมองแห่งจิต ที่ตามนอนเนื่องทุกภพที่เกิดอยู่ ท่านจึงแบ่งกิเลสไว้เป็น ๓ ระดับ อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด คือ
๑. วีติกกมกิเลส กิเลสอย่างหยาบเป็นเหตุให้กระทำผิดทาง กาย วาจา กิเลสชนิดนี้กำจัดได้ด้วย ศีล
๒. ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสอย่างกลางที่คอยเผาลนจิตใจให้ร้อนรุ่ม กระวนกระวาย กิเลสชนิดเกิดขึ้นทางใจ แต่ยังมิได้แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา กิเลสชนิดนี้กำจัดได้ด้วย สมาธิ
๓. อนุสัย กิเลสอย่างละเอียดที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานมิได้แสดงออกมาให้ใครรู้ แม้แต่ตัวเองก็ไม่รู้ เมื่อมีสื่งมายั่วยวนถึงจะแสดงอาการให้เห็น กิเลสชนิดนี้ กำจัดได้ด้วยปัญญา
มีอยู่ ๗ อย่าง คือ
๑. กามราคานุสัย ๒. ปฎิฆานุสัย ๓. ทิฏฐานุสัย ๔. วิจิกิจฉานุสัย ๕. มานานุสัย ๖. ภวราคานุสัย ๗. อวิชชานุสัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2013, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
กิเลสแบบละเอียด น่าจะเป็นกิเลสที่เราสังเกตเห็นได้ยาก

มันคืออะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ :b8:


กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้าจะแยกแยะรายละเอียดลงไปอีก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ย่อมเกิดจากการได้สัมผัส แล้วเกิด อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด

ดังนั้น กิเลส อย่างละเอียด ก็คือ เมื่อบุคคลได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย แล้วเกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ทุกรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคล ได้พบเห็นสิ่งใดก็ตาม แล้วรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร นั่นคือ กิเลสอย่างละเอียด(ความหลง) และเมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แล้วเกิดอารมณ์ ต่างๆเช่นชอบ รัก หรือคิดว่าดี คิดว่างาม ฯลฯ (ความโลภ) นั่นคือกิเลสอย่างละเอียด เมื่อเกิด อารมณ์ต่างๆแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึก อยากได้ ไม่อยากได้ อยากเป็นไม่อยากเป็น หรือจะเรียกว่า เกิดความคิดว่าทำไมตัวเองไม่ได้ ทำไมตัวเองไม่มี ฯลฯ ซึ่งในทางภาษาอาจจะเรียกว่า อิจฉา นั่นคือ ความโกรธ ชนิดหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้นขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2013, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณ sriariya

ในช่วงการให้ความหมาย ว่าสิ่งที่กระทบเป็นอะไร แค่นั้นยังไม่มีใครเป็นทุกข์

แต่ถ้าไปยึดสิ่งที่เกิดจากการกระทบนั้นเข้า ก็จะมีผู้เป็นทุกข์

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร