วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 11:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2013, 15:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสแบบละเอียด น่าจะเป็นกิเลสที่เราสังเกตเห็นได้ยาก

มันคืออะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2013, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุสัย หรือเปล่า

อ้างคำพูด:
อนุสัย ๗ เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น คือ 1.ราคานุสัย 2.ปฏิฆานุสัย 3.อวิชชานุสัย 4.วิจิกิจฉานุสัย 5.มานานุสัย 6.ภวานุสัย 7.ทิฏฐานุสัย

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2013, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุสัย ๗
ตามที่คุณโกวิทย์ตอบครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2013, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเคยชินครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ความเคยชินครับ


ความเคยชิน ... ท่านเรียกว่า "วาสนา" นะครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
คนธรรมดาๆ เขียน:
ความเคยชินครับ


ความเคยชิน ... ท่านเรียกว่า "วาสนา" นะครับ


เมื่อใดขาดสติ เมื่อนั้นเราทุกคนก็อยู่ในบงการของความเคยชิน เป็นลักษณะเฉพาะตามแต่การสั่งสมมาของแต่ละคน

ความเคยชินบางอย่าง ทำให้บุคคลพัฒนาตัวเองขึ้นไป ก็คงเรียกว่าเป็นวาสนาได้

แต่ความเคยชินบางอย่าง ก็ดึงบุคคลให้ต่ำลง ให้จมอยู่กับทุกข์

แต่ไม่ว่าจะเป็นความเคยชินแบบไหน ถ้าเราไม่รู้จัก ไม่รู้ตัวแล้ว ก็เป็นเครื่องมืออันแรกๆของกิเลสทั้งนั้นครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ความเคยชินบางอย่าง ทำให้บุคคลพัฒนาตัวเองขึ้นไป ก็คงเรียกว่าเป็นวาสนาได้


ลุงหมาน ว่าไง วาสนาแบบนี้มีมั๊ย

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 08:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อนุสัย ๗
ตามที่คุณโกวิทย์ตอบครับ


มีสังโยชน์เบื้องต่ำ..ตั้งหลายตัวเลย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
ความเคยชินบางอย่าง ทำให้บุคคลพัฒนาตัวเองขึ้นไป ก็คงเรียกว่าเป็นวาสนาได้


ลุงหมาน ว่าไง วาสนาแบบนี้มีมั๊ย


กิเลสเป็นนามธรรมที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตใจ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด ที่ยังมิได้แสดงอาการมาทางกายและวาจา เรียกว่า อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้ กิเลสชนิดนี้รู้ได้โดยพระพุทธเจ้าเท่านนั้น

อาการที่แสดงออกทางกายหรือวาจาที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งเกิดจากการสั่งสมมาเป็นเวลานานจนเคยชินจนติดเป็นลักษณะประจำตัวจนละได้ยากฝืนได้ยาก เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินเร็ว อาการเดินช้า เป็นต้น ตรงนี้ท่านเรียกว่าวาสนา ไม่ใช่กิเลส

แต่ว่าวาสนานี้เป็นความเคยชินที่ละยากมาก แม้เป็นพระอรหันต์แล้วยังละไม่ได้ ตัวอย่างเช่น
พระอรหันต์องค์หนึ่งมีคำพูดติดปากว่า ไอ้ถ่อย มีอะไรหรือไอ้ถ่อย ทำอย่างนี้สิไอ้ถ่อย ฯลฯ
อาการอย่างนี้เป็นวาสนาของท่าน

พระสารีบุตรมีอาการติดเป็นนิสัยว่าเมื่อเดินผ่านร่องน้ำ แม้จะเป็นร่องน้ำแคบๆ พอก้าวข้ามได้ แต่ท่านต้องกระโดดข้ามทุกครั้ง เพราะท่านติดมาจากสมัยที่ท่านเกิดเป็นลิง นี่ก็เป็นวาสนาของท่าน เป็นต้น

ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้

จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา

ก็ในเมื่อพระอรหันต์ท่านละกิเลสได้หมดแล้ว ก็ไม่น่าจะมีกิเลสชนิดไหนอีกที่จะมาพัฒนาตัวขึ้นได้อีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 08:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:

แต่ความเคยชินบางอย่าง ก็ดึงบุคคลให้ต่ำลง ให้จมอยู่กับทุกข์

แต่ไม่ว่าจะเป็นความเคยชินแบบไหน ถ้าเราไม่รู้จัก ไม่รู้ตัวแล้ว ก็เป็นเครื่องมืออันแรกๆของกิเลสทั้งนั้นครับ


มันเป็นรากเหง้าของกิเลสทุกๆ ตัว...เป็น Master Program ...เป็น Primary Program...เป็น...จุดแรกของการมี..การเกิด...

วาสนา...ยังมาทีหลังมัน....แต่มันก็อยู่ปน ๆ กันไป...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2013, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกว่าผมกับลุงหมานจะพูดถึงวาสนาคนละแบบกัน :b1:

ความเคยชิน ผมหมายถึงตามที่หลวงพ่อชาท่านได้แสดงไว้ ตามนี้ครับ

"เธอจงระวังความคิดของเธอ เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต"

หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
กิเลสแบบละเอียด น่าจะเป็นกิเลสที่เราสังเกตเห็นได้ยาก
มันคืออะไรบ้างครับ ขอบคุณครับ :b8:

govit2552 เขียน:
อนุสัย หรือเปล่า
อ้างคำพูด:
อนุสัย ๗ เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น คือ 1.ราคานุสัย 2.ปฏิฆานุสัย 3.อวิชชานุสัย 4.วิจิกิจฉานุสัย 5.มานานุสัย 6.ภวานุสัย 7.ทิฏฐานุสัย

ตอบแบบคุณโกวิท เหมือนไม่ได้ใช้ความรู้ความเข้าใจมาตอบ
ตอบแบบนี้เขาเรียกกำปั้นทุบดิน ถ้าตอบแบบนี้ผมว่า จขกทแกรู้ลึกกว่าคุณโกวิทอีกนะครับ
แต่จะลึกจะตื้นทั้งสองก็ไม่เข้าใจอยู่ดี คนหนึ่งไปอ่านเจอมาแล้วก็มาถาม
อีกคนไปอ่านมาตอบ ซึ่งทั้งคนถามและคนตอบมันก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน :b32:

อนุสัย๗มันก็คือกิเลสสังโยชน์นั้นแหละ ที่เรียกสังโยชน์ว่าอนุสัยก็เป็นเพราะ
มันยังไม่เกิดผลต่อกายใจ ความหมายก็คือ มันยังไม่เป็นเหตุให้เกิดการปรุงแต่ง
เราจึงเรียกกิเลสยังโยชน์นั้นว่า อนุสัย๗

เนื่องด้วยอนุสัยเป็นจิตเราไม่สามารถไปรู้ได้ในตัวของมัน ไม่ว่ามันจะแสดงผลหรือไม่แสดงผล
แต่ที่เราจะรู้ได้ถึงอนุสัยหรือสังโยชน์ เราต้องอาศัยการไปดูอาการของจิต (ดูโดยปัญญา)
อาการของจิตที่ว่าก็ อกุศลอันได้แก่...โลภะ โทสะและโมหะ

เราสามารถรู้ผลของกิเลสในสถานะของอกุศลธรรม เราจึงเรียก โลภะ โทสะและโมหะว่า
เป็นกิเลสอย่างหยาบ และเรียกอนุสัยหรือสังโยชน์ที่ยังไม่แสดงผลว่า กิเลสอย่างละเอียด
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กิเลสเป็นนามธรรมที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตใจ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด ที่ยังมิได้แสดงอาการมาทางกายและวาจา เรียกว่า อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้ กิเลสชนิดนี้รู้ได้โดยพระพุทธเจ้าเท่านนั้น

ถ้าไม่นับพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้องค์แรกหรือเป็นผู้ตรัสรู้ อริยบุคคลก็สามารถรู้ถึงเหตุแห่งอาการได้ครับ
และที่เขาดูกันไม่ใช่ดูอาการทางกายหรือวาจา เขาดูอาการของจิตครับ

อนุสัยและสังโยชน์ อริยะบุคคลก็สามารถรู้ได้ แต่เป็นการรู้ในระดับของอริยะ
โสดาปฏิมรรคก็สามารถรู้ได้ในระดับหนึ่ง เป็นการรู้เพื่อดับ อย่างเช่นรู้ว่า มิจฉาทิฐิ
เป็นอย่างไร สัมมาทิฐิเป็นอย่างไร ขั้นของโสดาปฏิมรรคเป็นขั้นของการรู้เพื่อดับ
เมื่อดับมิจฉาทิฐิได้ ก็จะเรียกว่า โสดาปฎิผล

โสดาปฏิผล ก็คือโสดาบันนั้นเอง โสดาบันคือผู้ที่ดับสังโยชน์สามแล้ว
การดับสังโยชน์สามก็คือการดับกิเลสที่เป็นเป็นเหตุปัจจัย
เมื่อเรารู้เหตุที่ทำให้เกิดอาการของจิต หมายความว่า รู้ว่ากิเลสที่ทำให้ให้เกิดผล
แสดงอาการเป็นอย่างไร เราย่อมต้องรู้ถึงกิเลสตอนที่มันยังไม่ทำให้เกิดผล
นั้นก็คือโสดาบันย่อมรู้ถึงอนุสัยในส่วนของ.....ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยฯลฯ

ในส่วนของสกิทาคา อนาคาและอรหันต์ก็เช่นกัน
ลุงหมาน เขียน:
อาการที่แสดงออกทางกายหรือวาจาที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลซึ่งเกิดจากการสั่งสมมาเป็นเวลานานจนเคยชินจนติดเป็นลักษณะประจำตัวจนละได้ยากฝืนได้ยาก เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินเร็ว อาการเดินช้า เป็นต้น ตรงนี้ท่านเรียกว่าวาสนา ไม่ใช่กิเลส

อาการที่แสดงออกทางกายหรือวาจา ไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะ แต่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
อาการของกายและวาจา มันเป็นการปรุงแต่งของจิต จิตไปปรุงแต่งกายและวาจาให้เป็นไปตามจิต
หรือจิตสังขาร ซึ่งอาการเหล่านี้ มันไม่เกี่ยวกับวาสนา มันเป็นเหตุปัจจัยมาจากกิเลส

ยกตัวอย่าง คนที่แสดงอาการเดินเร็ว เดินช้า มันก็เป็นกิเลส อย่างคนเดินเร็ว
เป็นเพราะเขามีโลภะหรือชอบในสิ่งที่เดินเร็ว คนเดินเร็วถ้าจะต้องมาเดินช้าจิตของเขา
ก็จะเกิดโทสะ ไม่ชอบที่จะเดินช้าๆ ...ลักษณะแบบนี้เรียกว่า ความเคยชิน

แต่ถ้าคนที่มีลักษณะเดินเร็ว แต่ต่อเมื่อต้องเดินช้า จิตของเขาไม่เกิดอกุศล
แต่เป็น กุศลจิตที่เป็นสติ เขาเรียกลักษณะแบบนี้ว่า.....วาสนา

การเปลี่ยนแปลงความเคยชิน โดยไม่เกิดอกุศลแต่เป็นกุศลเขาเรียกว่า...วาสนา

การพิจารณาธรรมมันต้องพิจารณาหาเหตุปัจจัยไปแต่ละอย่าง
ไม่ใช่เอาคำศัพท์มาเปรียบเทียบกันแบบที่ลุงหมานและใครๆกำลังทำกันอยู่นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
รู้สึกว่าผมกับลุงหมานจะพูดถึงวาสนาคนละแบบกัน :b1:

ความเคยชิน ผมหมายถึงตามที่หลวงพ่อชาท่านได้แสดงไว้ ตามนี้ครับ

"เธอจงระวังความคิดของเธอ เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต"

หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง


คำว่าวาสนาในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวไว้เหมือนกันว่าพระพุทธเจ้าท่านละกิเลสพร้อมทั้งวาสนา

วาสนาในที่ใช้พูดในปัจจุบันกันนั้น หมายเอาว่าเป็นกุศลมาแต่ในอดีตที่มาส่งผลในชาตินี้ เช่น คนที่เกิดมายากจนได้แต่งงานกับคนที่ร่ำรวย หรือบุคคลที่ได้ตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

ในทางธรรมหมายเอาว่า เป็นความเคยชินมาจากอดีตที่ติดตามมาจนถึงปัจจุบันทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลและที่เป็นอัพยากตะ

จริง...เราพูด "วาสนา" ตัวเดียวกัน แต่ว่าวาสนานี้ใช้ได้ทั้ง ทางโลก ทางธรรม ฉะนั้นที่ท่านกล่าวมานั้นก็คงไม่ผิดอะไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2013, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วาสนาในที่ใช้พูดในปัจจุบันกันนั้น หมายเอาว่าเป็นกุศลมาแต่ในอดีตที่มาส่งผลในชาตินี้ เช่น คนที่เกิดมายากจนได้แต่งงานกับคนที่ร่ำรวย หรือบุคคลที่ได้ตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี เป็นต้น


แต่สิ่งเหล่านี้ทางธรรมท่านเรียกว่าวิบากส่งผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร