วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 13:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เละแล้วครับ! ที่พูดมาไม่ใช่พุทธพจน์และไม่ใช่คำอธิบายความในพุทธพจน์
นี่เป็นสิ่งที่ทางโลกกำหนดขึ้น เป็นเรื่องที่คนต่างชาติต่างศาสนาก็กำหนดได้
ไม่ได้เกี่ยวกับธรรมะ ของพระพุทธเจ้า เขาเรียกว่าข้อกำหนดของภาษา
เช่นนั้น รู้จักโลกียธรรมมั้ย :b13:

มั่วมาแต่ไกล โฮฮับ
หัวข้อกระทู้ตรงไหน ถามหา พุทธพจน์

หัวข้อกระทู้เป็นเรื่องของธรรมะ เว็บนี้เป็นเว็บธรรมะ เว็บนี้โดยเฉพาะห้องสนทนาธรรมนี้
มีกฎเกณท์ตั้งเอาไว้ว่า จะต้องสนทนาแต่ในเรื่อง พระธรรมที่เป็นเรื่องของศาสนาพุทธ

พระธรรมทั้งหมด เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เราเรียกว่าพุทธพจน์
เหตุผลแค่นี้พอหรือยัง :b32:

อ่านให้ออก โฮฮับ
หัวข้อกระทู้ตรงไหน ถามหาพุทธพจน์
ระบุมา

พูดตั้งนานไม่ยอมเข้าใจ ง่ายๆความเห็นของเช่นนั้น มันเป็นเรื่องของหลักการใช้ภาษาธรรมดา
มันไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่เรื่องของศาสนาพุทธ เข้าใจมั้ย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มุติ ในสมมุติ (เขียน มติ เป็นสมมติ ก็ได้) แปลว่า ความรู้ เมื่อใส่ "สํ => สม" เข้าข้างหน้า เป็นสมมุติ หรือสมมติ ก็แปลว่า รู้ร่วมกัน ยอมรัีบ หรือตกลงกันว่า อันนั้นอันนี้ คนนั้นคนนี้ เรียกชื่อว่า อย่างนั้นอย่างนี้ จนกระทั่งว่าสภาวะนี้เรียกว่า จิต ธรรมนี้เรียกว่า ฌาน ตลอดจนในเิชิงสังคม หรือในการอยู่ร่วมกัน เราจะทำเรื่องนี้กันอย่างนี้ๆ ให้ของ ให้คน ให้หมู่ชนนั้นๆ ได้ชื่อ ได้สถานะเป็นอย่่่างนี้ๆ เป็นต้น

ก่อนอื่นต้องขออภัยท่านผู้เป็นเจ้าของบทความนี้ ซึ่งแน่นอนมันไม่ใช่กรัชกายเป็นผู้เขียน
เป็นดังนี้ผมจึงต้องกล่าวขอโทษ เพราะผมกำลังจะวิจารณ์ข้อเขียนนี้
ที่ผมวิจารณ์ไม่ใช่เป็นการวิจารณ์ท่านผู้เขียน
แต่เป็นการวิจารณ์ผู้ที่เอาข้อเขียนนี้มาแสดงในลักษณะผิดที่ผิดทาง ผิดกาลเทศะ
สรุปผมกำลังวิจารณ์ความเห็นพูดง่ายๆก็คือ กรัชกายนั้นเอง

กรัชกาย เขียน:
เมื่อสมมุติ คือรู้่กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น ไปๆ มาๆ สองคำนี้ คือ สมมุติ และ บัญญัติ เลยบางทีกลายเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ใช้คู่เคียงกันไป หรือปนๆกันไป (แต่ที่จริง สมมุติเน้นด้านความหมายเชิงสังคม)

สมมุติ ไม่ใช่ข้อตกลง อย่างที่กรัชกายเอามากล่าวอ้าง
ความหมายหรือที่มาของสมมุติ สมมุติเกิดจาก การเปรียบเทียบของสิ่งสองสิ่ง
มันขึ้นอยู่ที่จะให้สิ่งไหนเป็นหลัก
ถ้าเราให้สิ่งหนึ่งเป็นหลัก อีกสิ่งย่อมต้องเป็นสมมุติ
มันไม่ใช่ว่า สิ่งหนึ่งมีอยู่ อีกสิ่งไม่มีอยู่ มันมีอยู่ทั้งคู่
ความจริงมันเกิดมาจาก การเอาของสองสิ่งมาเปรียบเทียบกัน

ยกตัวอย่าง ถ้าพูดถึงฝาแฝดพี่น้อง คนหนึ่งเป็นหญิง อีกคนเป็นชาย
ถ้าเราเอาความเป็นฝาแฝดเป็นหลัก ทั้งสองย่อมต้องฝาแฝด

แต่ถ้าเราเอาความเป็นเพศมาเป็นหลัก ในความเป็นแฝดจะเกิดสมมุติขึ้นทันที
คือเราอธิบายคนแฝดที่เป็นหญิงว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งแฝดชายไม่มี
ในกรณีเราเรียกแฝดชาย เป็นสมมุติของแฝดหญิง

สรุปก็คือทั้งสองเป็นจริงทั้งคู่ในความเป็นแฝด แต่ถ้ากล่าวถึงเพศ
จะเรียกอีกคนที่เป็นเพศตรงข้าม ว่าสมมุติของความเป็นแฝด
ดังนั้นสมมุติหรือสมมติ เกิดจากการเปรียบเทียบกันของสิ่งสองสิ่ง
แล้วอะไรจะเป็นสมมุติ ก็ขึ้นอยู่ว่าจะเอาอะไรในสิ่งสองสิ่งนั้นเป็นหลัก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธบ้านเราบางกลุ่มบางคน ศึกษาธรรมแล้วเนี่ย ดูเหมือนยิ่งไกลโลกไกลสังคมของมนุษยเข้าไปทุกทีๆ ดูๆเหมือนคนเพี้ยนๆไป :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การที่คนเราสือสารกันได้ และพูดกันรู้เรื่อง มีเครื่องกำหนดหมายในการคิด พูด
และทำการต่างๆ ก็เพราะสมมุตินี่แหละ

ไม่ใช่! คนเราจะสื่อสารกันได้ พูดหรือทำการต่างๆ จะต้องอาศัย....
บัญญัติ ไม่ใช่สมมุติ

บัญญัติก็คือสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นหรือธรรมชาติกำหนดก็ได้......

บัญญัติที่มนุษย์กำหนด อาจเกิดจากคนๆเดียวหรือสังคมก็ได้
บัญญัติที่ธรรมชาติกำหนด ก็คืออาการต่างๆของสัตว์โลก ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น
สัตว์โลกสามารถรู้ถึงอาการนั้นได้ เช่นหัวเราะ ร้องไห้ คำรามฯลฯ
กรัชกาย เขียน:
สมมุตินั้น มันไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว คือคนตกลงกันเรียกขาน หรือให้เป็นอย่างนั้นขึ้นมา คนส่วนใหญ่กไปติดอยู่ทีี่่สมมุตินั้นเสีย หลงเอาสมมุติเป็นตัวจริงของจริงไป เลยอยู่กันแค่สมมุติ แล้วก็คิดปรุงแต่งไปบนฐานแห่งสมมุตินั้น เลยวิจิตรพิสดารไปกันใหญ่ ลืมมองของจริงที่เหมือนกับว่าอยู่ข้างหลังสมมตินั้น

สมมุติก็เป็นของจริง สมมุติไม่ได้เกี่ยวกับของจริงหรือปลอม
แต่มันเป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในของสองสิ่ง เช่นเข้าใจในรูปร่าง
เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ที่ว่าเข้าใจผิดมันจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีการเปรียบเทียบในสิ่งที่ว่า
การเปรียบเทียบจะเกิดได้ จะต้องมีลักษณะในสิ่งที่ว่านั้น ตั้งแต่สองขึ้นไป

อย่างเช่น มีคนอยู่สองคน ต่างเพศกัน คนหนึ่งเป็นหญิง คนหนึ่งเป็นชาย
ถ้ากล่าวถามว่า สองคนนี้ใครเป็นมนุษย์ สิ่งที่เรียกว่าสมมุติก็จะไม่มีไม่เกิด
แต่ถ้าถามว่า ในสองคนนี้ใครเป็นผู้หญิง ในความเป็นคนจะเกิดสมมุติขึ้นทันที
ในที่นี้เอาผู้หญิงเป็นหลัก ผู้ชายจึงเป็น สมมุติ
กรัชกาย เขียน:
พูดสำนวนอุปมาว่า เอาสมมุติมาบังตาตัวเอง หรือหลงสมมุติไป ทั้งที่ของจริงมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น

มันไม่ได้เอาสมมุติมาบังตา การที่บุคคลไปยึดเอาสมมุติก็เพราะ ความเข้าใจผิดหรือความไม่รู้นั้นเอง
และความเข้าใจผิดหรือไม่รู้ ก็หมายถึง ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่ได้บัญญัติไว้ เช่น
เข้าใจว่ากระเทยเป็นผู้หญิง ผู้หญิงเป็นคน กระเทยก็เป็นคน แต่กระเทยเป็นสมมุติของผู้หญิง

ความจริงคือคน สมมุติคือการเปรียบเทียบหญิงชายและกระเทย
คนคือความจริงคือธรรมชาติเป็นบัญญัติของธรรมชาติ ผู้หญิง ผู้ชาย กระเทยก็เป็นคน
ฉะนั้นผู้หญิง ผู้ชาย กระเทย เป็นบัญญัติของธรรมชาติ
ส่วนการความไม่รู้นั้นคือการเข้าใจผิด ในการมองกระเทยเป็นผู้หญิง
ที่แท้กระเทยเป็นสมมุติของผู้หญิง นั้นคือต้องรู้ว่า กระเทยเป็นสมมุติบัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:



ก่อนราตรีสวัสดิ์ ไปหลับไปนอน เปิดศึกไว้พรุ่งนี้หน่อย ตัดให้คุณจันทร์เพ็ญ สังเกตดูตรงนี้เลย :b1:

ไม่ร้องอ๋อ ก็ร้องโอ้ย


มุติ ในสมมุติ (เขียน มติ เป็นสมมติ ก็ได้) แปลว่า ความรู้ เมื่อใส่ "สํ => สม" เข้าข้างหน้า เป็นสมมุติ หรือสมมติ ก็แปลว่า รู้ร่วมกัน ยอมรัีบ หรือตกลงกันว่า อันนั้นอันนี้ คนนั้นคนนี้ เรียกชื่อว่า อย่างนั้นอย่างนี้ จนกระทั่งว่าสภาวะนี้เรียกว่า จิต ธรรมนี้เรียกว่า ฌาน ตลอดจนในเิชิงสังคม หรือในการอยู่ร่วมกัน เราจะทำเรื่องนี้กันอย่างนี้ๆ ให้ของ ให้คน ให้หมู่ชนนั้นๆ ได้ชื่อ ได้สถานะเป็นอย่่่างนี้ๆ เป็นต้น

เมื่อสมมุติ คือรู้่กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น ไปๆ มาๆ สองคำนี้ คือ สมมุติ และ บัญญัติ เลยบางทีกลายเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ใช้คู่เคียงกันไป หรือปนๆกันไป (แต่ที่จริง สมมุติเน้นด้านความหมายเชิงสังคม)

การที่คนเราสือสารกันได้ และพูดกันรู้เรื่อง มีเครื่องกำหนดหมายในการคิด พูด และทำการต่างๆ ก็เพราะสมมุตินี่แหละ

สมมุตินั้น มันไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว คือคนตกลงกันเรียกขาน หรือให้เป็นอย่างนั้นขึ้นมา คนส่วนใหญ่กไปติดอยู่ทีี่่สมมุตินั้นเสีย หลงเอาสมมุติเป็นตัวจริงของจริงไป เลยอยู่กันแค่สมมุติ แล้วก็คิดปรุงแต่งไปบนฐานแห่งสมมุตินั้น เลยวิจิตรพิสดารไปกันใหญ่ ลืมมองของจริงที่เหมือนกับว่าอยู่ข้างหลังสมมตินั้น

พูดสำนวนอุปมาว่า เอาสมมุติมาบังตาตัวเอง หรือหลงสมมุติไป ทั้งที่ของจริงมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น
พูดใ้ห้ง่ายๆ สะดวกๆ ว่า สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่แค่รูปธรรมและนามธรรม แล้วบนรูปธรรมและนามธรรมนั้นๆ เช่นที่ประกอบกันเข้าเป็นสัดส่วนในลักษณาการที่มีความเป็นไปอย่างนี้ๆ เราก็สมมุติเรียกว่า เป็น "สัตว์" เป็น "คน" เป็น "บุคคล" เป็น "ตัว" "ตน" หรือ "ตัวตน" (อัตตา อาตุมา อาตมา) เป็น "เรา" เป็น "เขา" เป็น "ท่าน" ฯลฯ

"สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" "เรา" เขา" เป็นต้น ที่สมมุติขึ้นมานี้ ไม่มีจริง เมื่อเอาชือหรือคำเรียกออกไป หรือมองผ่านทะลุคำเรียกชื่อนั้นไป ก็มีเพียงรูปธรรมและนามธรรม (ที่จัดแยกเป็นประเภทหรือเป็นพวกๆ เรียกว่าขันธ์ ๕ หรือจะแยกแยะละเอียดลงไปกว่านั้้นก็ได้)

"รูปธรรม-นามธรรม" แม้จะเป็นคำเรียกที่บัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นคำที่สื่อถึงสิ่งที่มีอยู่จริง (ใช้คำอย่างบาลีว่า "สภาวะ" หรือ "สภาวธรรม" คือ สิ่งที่มีภาวะของมันเอง หรือสิ่งที่มีความเป็นจริงของมัน) ดังเช่น "เตโชธาตุ" "ชีวิตินทรีย์" "จักขุวิญญาณ" "ผัสสะ" "สุข" "ทุกข์" "โทสะ" "เมตตา" "สมาธิ" "ปัญญา" ฯลฯ จนถึง "วิมุตติ" "สันติ" "นิพพาน" เป็นต้น


โฮฮับ อ่านคห.นี้อีกรอบนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

พูดใ้ห้ง่ายๆ สะดวกๆ ว่า สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่แค่รูปธรรมและนามธรรม แล้วบนรูปธรรมและนามธรรมนั้นๆ เช่นที่ประกอบกันเข้าเป็นสัดส่วนในลักษณาการที่มีความเป็นไปอย่างนี้ๆ เราก็สมมุติเรียกว่า เป็น "สัตว์" เป็น "คน" เป็น "บุคคล" เป็น "ตัว" "ตน" หรือ "ตัวตน" (อัตตา อาตุมา อาตมา) เป็น "เรา" เป็น "เขา" เป็น "ท่าน" ฯลฯ

"สัตว์" "บุคคล" "ตัวตน" "เรา" เขา" เป็นต้น ที่สมมุติขึ้นมานี้ ไม่มีจริง เมื่อเอาชือหรือคำเรียกออกไป หรือมองผ่านทะลุคำเรียกชื่อนั้นไป ก็มีเพียงรูปธรรมและนามธรรม (ที่จัดแยกเป็นประเภทหรือเป็นพวกๆ เรียกว่าขันธ์๕ หรือจะแยกแยะละเอียดลงไปกว่านั้้นก็ได้)

สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ฯลฯ เรียกว่า...บัญญัติ
บัญญัติจะเกิดขึ้นได้จะต้องแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่ในสิ่งที่บัญญัติ
บัญญัติไม่สามารถ กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่หรือไม่มีจริงในธรรมชาติได้

คนหรือสัตว์ก็เป็นบัญญัติ ขันธ์ห้าก็เป็นบัญญัติ มันมีอยู่จริงทั้งนั้น
คนหรือสัตว์ก็เป็นธรรมชาติ ส่วนหนึ่ง ขันธ์ห้าก็เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่ง
ความจริงหรือไม่จริง แท้แล้วมันคือความไม่รู้ คิดว่าคนหรือสัตว์มันเกิดในใจเรา
คนหรือสัตว์มันเป็นจริงที่อยู่นอกกายใจ ขันธ์ห้าอยู่ในกายใจ
เห็นการเปรียบเทียบธรรมชาติภายนอกกับธรรมชาติภายในหรือยัง
เมื่อเกิดการเปรียบเทียบแล้ว เราต้องเอากายใจเราเป็นหลัก
เมื่อใช้การใจเราเป็นหลัก เราก็ต้องเอาขันธ์ห้าเป็นหลัก ขันธ์จึงเป็นบัญญัติ
คนหรือสัตว์ธรรมชาตินอกกายใจ เป็นสิ่งที่เอามาเปรียบเทียบจึงเป็นสมมุติของขันธ์ห้า
เราเรียกมันว่า สมมุติบัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเชิญไปตั้งกระทู้แบบลุงหมานครับ ไปตั้งรอไว้เลยนะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ อ่านคห.นี้อีกรอบนึ่ง

"เมื่อสมมุติ คือรู้่กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น"

"สมมุติ" มันไม่ใช่รู้กัน เพราะเราไม่รู้มันจึงเกิด สมมุติขึ้น
คนไม่รู้ความเป็นสมมุติ เขาเรียกอวิชา ความเข้าใจผิดว่าสมมุติไม่มีอยู่จริง
ก็เป็นอวิชาเช่นกัน เพราะไม่เห็นสมมุติ

และที่ว่ารู้ความเป็นสมมุติ คือตัวเราเท่านั้นที่รู้ไม่ใช่ไปรู้ร่วมกับคนอื่น

ส่วนบัญญัติก็คือความมีอยู่ของธรรมชาติ ไม่ใช่หมายถึงข้อตกลง
ข้อตกลงคือ การเอาบัญญัติใดมาใช้ร่วมกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ อ่านคห.นี้อีกรอบนึ่ง

"เมื่อสมมุติ คือรู้่กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น"

"สมมุติ" มันไม่ใช่รู้กัน เพราะเราไม่รู้มันจึงเกิด สมมุติขึ้น
คนไม่รู้ความเป็นสมมุติ เขาเรียกอวิชา ความเข้าใจผิดว่าสมมุติไม่มีอยู่จริง
ก็เป็นอวิชาเช่นกัน เพราะไม่เห็นสมมุติ

และที่ว่ารู้ความเป็นสมมุติ คือตัวเราเท่านั้นที่รู้ไม่ใช่ไปรู้ร่วมกับคนอื่น

ส่วนบัญญัติก็คือความมีอยู่ของธรรมชาติ ไม่ใช่หมายถึงข้อตกลง
ข้อตกลงคือ การเอาบัญญัติใดมาใช้ร่วมกัน


โฮฮับเชิญไปตั้งกระทู้ใหม่ แล้วเอาประเด็นปัญหานี้ไปถกกันที่นั่น เชิญๆๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เหมือนอย่างเมื่อองค์ย่อยหรือชิ้นส่วนหลากหลายที่เขาสร้าง หรือจัดรูปแต่งร่างขึ้น ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันให้ปรากฏในรูปลักษณ์ที่จะใช้ทำการสนองความมุ่งหมายแห่งเจตจำนงในการขนส่งเดินทาง ก็เกิดเป็นสิ่งที่มีชื่อเรียกว่า "รถ"

ในตัวอย่างนี้ "รถ" เป็นสมมติ ที่เป็นเพียงการประกอบกันเข้าของชิ้นส่วนทั้งหลาย ไม่มีรถทีี่่เป็นตัวของมันต่างหากจากชิ้นส่วนเหล่านั้น ที่เรียกว่าเป็นส่วนประกอบของมัน
ไม่มีตัว "รถ" ที่เป็นเจ้าของส่วนประกอบเหล่านั้นจริง พอล่วนที่ประกอบกันนั้นสลายแยกกระจายออกไป สมมติที่เรียกว่า "รถ" ก็หายไปเอง
ที่ว่าไม่มีอัตตา ไม่เป็นอัตตา ก็มองได้จากอุปมาอย่างนี้

เรื่อง"รถ"ที่กรัชกายเอามาพูด มันไม่ใช่และไม่เกี่ยวกับสภาพธรรม มันเป็นเรื่องของภาษา
ถ้าพูดกันโดยสภาพธรรม รูปหรือภาพรถมันก็เป็นของมัน ถ้าไม่มีคนไม่ยุุ่งกับมัน มันก็ยังเป็น
สภาพแบบนั้น

คำว่า "รถ"ที่บอกว่าไม่เกี่ยวกับสภาพธรรมเพราะ "รถ"มันเป็นชื่อเป็นภาษาที่ใช้เรียก
สิ่งที่มีรูปร่างตามนั้น

แต่ถ้าเป็นสภาพธรรม เขาไม่ได้ดูจากชื่อที่เป็นภาษาหรือพยัญชนะ
แต่เขาดูที่ความเป็นรูปภาพที่เป็นรถกับสิ่งที่เกิดหลังจากตาไปกระทบกับรูปภาพนั้น

สภาพที่ตายังไม่กระทบ ภาพรถมันก็ยังเป็นภาพรถ แต่หลังจากตาไปกระทบแล้ว
สิ่งที่เกิดหลังจากนั้นเป็นเพียง แสงหรือสี
นี่เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่าง ภาพที่เป็นภาพภายนอกกายใจกับภาพที่เกิดภายในกายใจ
เขาเรียกภาพภายนอกว่า...สมมุติสัจจะ และเรียกสิ่งที่เกิดภายในใจว่า ปรมัตถ์สัจจะ
ซึ่งทั้งสองล้วนเป็นจริงตามสภาพ เพียงแต่บุคคลมักจะมีอวิชา มองไม่เห็นรูปที่เป็นปรมัตถ์
ไปปรุงแต่ง ภาพรถที่เป็นสภาพภายนอกเข้ามาในกายใจ ซึ่งอันที่จริงมันเป็นเพียแสงและสี


กรัชกาย มันไม่ใช่อะไรมาประกอบเป็นรถ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาษาพูด
ถ้าไม่เป็นรถมันก็เป็นเหล็ก เราเรียกมันตามสภาพที่มันเป็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นอกจากสมมติที่ไม่มีจริงซ้อนขึ้นมาบนสภาวะที่เป็นของจริงแล้ว มนุษย์ยังสมมุติชนิดไม่มีจริงซ้อนสมมติที่ไม่มีจริงนั้นต่อขึ้นไปอีกๆ บางทีมากมายหลายชั้น เช่น จากสมมติว่า "คน" ก็สมมติว่า คนนั้นเป็น "นายมี" "นายหมด" "รถของนายมี" "รถยี่ห้อบิลเลียนของคนไทยที่เป็นเศรษฐีใหญ่ชื่อว่านายมี" ฯลฯ

กรัชกายเอาภาษาพูดไปปนกับสภาพธรรมให้มั่วไปหมด เคยเตือนว่าไปหัดเจริญสติ
จิตจะได้มีสมาธิ นี่พูดจาหาสมาธิไม่ได้เลย เอาภาษาพูดมาปรุงแต่งสภาพธรรมซะเละ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 11:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:

:b12: :b12: :b12: :b12:
สมมุติ = การตั้งชื่อให้กับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงตามสัจจธรรม(ปรมัตถ์)

บัญญัติ = ชื่อของสิ่งที่ถูกสมมุติ และ สิ่งที่มีอยู่จริงตามสัจจธรรม(ปรมัตถ์)


บัญญัติแบ่งออกเป็น 2 อย่างใหญ่ๆ คือ

1.สมมุติบัญญัติ.....อย่างเช่น....คน....นก...รถยนต์....พัดลม....ทีวี...ตู้เย็น

2.ปรมัตถบัญญัติ......ชื่อของสภาวธรรม สัจจธรรมต่างๆ เช่น จิต...เจตสิก...รูป...นิพพาน...เจ็บ ...ปวด...เต้น...ตอด....เหน็บ...ซ่าน...หนัก...เบา...แข็ง....อ่อน...เย็น...ร้อน..เปรี้ยว..หวาน
...มัน...เค็ม........
ปรมัตถ์บัญญั้ติทั้งหลายมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ มีแต่ชื่อ.อธิบายสภาวะนั้นให้คนที่ไม่เคยสัมผัส รู้ และ เข้าใจด้วยคำพูด การเขียน บอกกล่าวด้วยบัญญัติ ภาษาไม่ได้ ต้องสัมผัสรู้ที่ใจเจ้าของอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะรู้จริง

:b8: :b27: :b11: :b4: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2013, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ยืน ๒ ขาโด่เด่ อยู่ตรงหน้า เราสมมุติกันว่า คน
ยืน ๒ ขาโด่เด่ อยู่ตรงหน้า เราบัญญัติชื่อขึ้นว่า มันคือ นายแดง

สมมติกับบัญญัติมันจะซับซ้อนกัน
ถ้าว่าถึงองค์ธรรมของสภาวปรมัตถ์แล้ว คน ไม่มี นายแดง ก็ไม่มี มีแต่สมมุติบัญญัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2013, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2297

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
สมมุติกับบัญญัติหมายถึงอะไร ต่างกันอย่างไร ขอบคุณคะ :b20: :b8:

"สมมุติ" คือ ไม่จริง เป็นเพียงตั้งขึ้นเพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น ..
คน ช้าง ม้า วัวควาย นายแดง นายดำ นายเขียว นางสาวแตงโม นางสาวแตงร้าน
นางสาวพิ้งกี๊ นางสาวตุ๊กกี๊ ฯลฯ เป็นต้น

คนเราส่วนใหญ่ "หลงสมมุติ" อย่างเช่น นายแดงหลงนางสาวแตงโม หลงว่าสวยงาม
หรือเห็นว่าเป็นคนขี้หริ้ว ขี้เหร่ เห็นว่าหนุ่ม ว่าสาว ว่าเอาะ ๆ แล้วก็หลงรัก หลงชม
บางครั้งหลงกลียด หลงชัง ก็มี ..

ท่านจึงบัญญัติ เรื่องต่าง ๆ เช่น ขันธ์บัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ
อินทรีย์บัญญัติ สัจจบัญญัติ บุคคลบัญญัติ เรียกว่า ฉบัญญัติ หรือบัญญัติ ๖

เช่น ธาตุบัญญัติ คนเรา ประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
หรือ ขันธ์บัญญัติ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ เป็นต้น

"บัญญัติ" จึงมีความหมายว่า ให้แปรสภาพจากสมมุติ อย่าให้ไปหลงสมมุติ
ให้เห็นเป็นบัญญัติไปเสีย เพื่อไม่ให้งมงายในสมมุติ ไม่ให้หลงสมมุติ ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2013, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกความเห็นนะค่ะ :b8: :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร