วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 07:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2013, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




15.jpg
15.jpg [ 40.05 KiB | เปิดดู 5698 ครั้ง ]
การพิจารณาธรรม เราพิจารณาโดยจิตอยู่ในอรูปฌานได้ไหม ??

asoka เขียน:

บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน


น่าสังเกตตรงนี้นะครับ ว่า ท่านถอนออกจากฌาณมาพิจารณา หรือยู่ในฌาณนั้น พิจารณาธรรม

อีกตัวอย่างเช่น ตอนอยู่ในฌาณ 4 คือเป็นเอกัคตารมณ์ จิตเป็น 1 เดียวอยู่ จะมีการพิจารณาได้อย่างไร

ต้องถอยลงมาพิจารณาในฌาณ 1 ซึ่งมีวิตกวิจารณ์ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า .....กรุณาาช่วยอธิบายด้วยครั
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2013, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ามันเกิดความรู้สึกว่า.....อ้อ....มันเป็นอย่างนี้เอง.....ในอรูปฌานนั้น....จะเรียกว่า..ได้พิจารณาแล้ว...ได้รึเปล่าละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกติหากมีจิตกำหนดรู้ธรรมอยู่ ก็จะสงบลงจากวิตกวิจารณ์อยู่แล้วครับ จิตเป็นตัวรู้ แล่นไปทั่ว ตัวพิจารณาเป็นเจตสิก ขันธ์5เป็นธรรม เมื่อไม่เกิดความชัดเจนของธรรม แล้วจิตจะไปกำหนดรู้อะไรครับ ก็ต้องทำความชัดเจนให้เกิดก่อน ธรรมที่ลึกลงไปยังมีอยู่ จิตต้องมีกำลัง ตามรู้ทั่ว ทีนี้รู้แล้วก็
อ้างคำพูด:
โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน


ลอกลงมาต่อเลยครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
การพิจารณาธรรม เราพิจารณาโดยจิตอยู่ในอรูปฌานได้ไหม ??


asoka เขียน:
น่าสังเกตตรงนี้นะครับ ว่า ท่านถอนออกจากฌาณมาพิจารณา หรือยู่ในฌาณนั้น พิจารณาธรรม

อีกตัวอย่างเช่น ตอนอยู่ในฌาณ 4 คือเป็นเอกัคตารมณ์ จิตเป็น 1 เดียวอยู่ จะมีการพิจารณาได้อย่างไร

ต้องถอยลงมาพิจารณาในฌาณ 1 ซึ่งมีวิตกวิจารณ์ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า .....กรุณาาช่วยอธิบายด้วยครับ


ตอบว่า..
ได้ครับ
เพราะการคิดนึกเป็นหน้าที่ขององค์ธรรมที่ชื่อ เจตนา ไม่ใช่หน้าที่ของ วิตกวิจาร
ไม่มีวิตก วิจารในจิต ก็พิจารณาธรรมได้ครับ
[๒๐๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.
[๒๐๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจาร มีในสมัยนั้น.

การพิจารณาธรรมมีองค์ธรรมต่าง ๆ มาทำหน้าที่ในการพิจารณาธรรมดังนี้
๑.เจตนา ทำหน้าที่ คิด
๒.สัมมาทิฏฐิ ทำหน้าที่ รู้แจ้งแทงตลอดอริสัจ ๔ โดยปริวัฎฎญาณ ๑๒
๓.ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ทำหน้าที่ รู้แจ้งแทงตลอดขั้นตอนและลำดับแห่งองค์ธรรมต่าง ๆ
๔.ปัญญินทรีย์ ทำหน้าที่ รู้แจ้งแทงตลอดทุกเรื่องที่มันสามารถรู้
๕.ปัญญาพละ ทำหน้าที่ รู้แจ้งรู้ชัดรู้ละเอียดแทงตลอดทุกเรื่องที่มันสามารถรู้
๖.อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ทำหน้าที่ รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ เพื่อทำลายสังโยชน์ ๓
๗.อัญญินทรีย์ ทำหน้าที่ รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ให้ละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อทำลายสังโยชน์ที่เหลือให้หมดสิ้นตามลำดับ
๘.อัญญาตาวินทรีย์ ทำหน้าที่ รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ให้ละเอียดหมดทุกแง่ทุกมุมทุกด้าน รู้ว่าทำลายสังโยชน์หมดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำในทำนองนี้ไม่มีอีกแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 17:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ตอบว่า..
ได้ครับ
เพราะการคิดนึกเป็นหน้าที่ขององค์ธรรมที่ชื่อ เจตนา ไม่ใช่หน้าที่ของ วิตกวิจาร
ไม่มีวิตก วิจารในจิต ก็พิจารณาธรรมได้ครับ
[๒๐๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.
:b27:
:b20:
อนุโมทนาในเจตนาดีของคุณมหาราชันย์ที่แยกกระทู้ออกมาตอบครับ
:b8:

แต่ข้อความท่อนที่อ้างอิงมานั้น....สิ่งที่ชัดเจนและเกี่ยวกับองค์ฌาณนั้นก็คือ คำว่า...."คิด"

ในฌาณตั้งแต่ 2 ขึ้นมา ไม่มี ...คิด......ยิ่งฌาณ 4 ยิ่งคิดไม่ได้ เพราะจิตเป็นหนึ่งเดียว ตั้งมั่นอยู่กับอุเบกขาแล้วแลอยู่

ที่ตอบมาว่า ฌาณ 4 พิจารณาธรรมได้นั้น น่าจะผิดธรรมนะครับ

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ในฌาณตั้งแต่ 2 ขึ้นมา ไม่มี ...คิด......ยิ่งฌาณ 4 ยิ่งคิดไม่ได้ เพราะจิตเป็นหนึ่งเดียว ตั้งมั่นอยู่กับอุเบกขาแล้วแลอยู่

ที่ตอบมาว่า ฌาณ 4 พิจารณาธรรมได้นั้น น่าจะผิดธรรมนะครับ


จิตทุกดวงมีองค์ธรรมที่ชื่อ เจตนา ครับ
เจตนา ทำหน้าที่คิด ไม่ใช่วิตก วิจาร ทำหน้าที่คิด

ความเข้าใจของคุณ"asoka" นั่นเองที่เข้าใจผิดครับ
ถ้าฌาน ๔ ตามที่คุณว่ามาคิดไม่ได้ แล้วจะแสดงฤทธิ์ แสดงอภิญญากันได้อย่างไร ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วพิจารณาดี ๆ นะครับ

มหาราชันย์ เขียน:
เพราะการคิดนึกเป็นหน้าที่ขององค์ธรรมที่ชื่อ เจตนา ไม่ใช่หน้าที่ของ วิตกวิจาร
ไม่มีวิตก วิจารในจิต ก็พิจารณาธรรมได้ครับ
[๒๐๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2013, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เอามาฝากครับ


อรูปฌาน ๔

วิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ รวม ๔ อย่างด้วยกัน

อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่ อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือ ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่างเป็นสำคัญ

อานิสงส์อรูปฌาน

ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌานที่ได้ แล้วยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้ อรูปฌานนี้แล้วเมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือ มีคุณสมบัติพิเศษเหนือจากที่ทรงอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และคุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ

ปฏิสัมภิทา ๔

1. อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ ท่านอธิบายมาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัด ไม่เสียความ
2. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้ พิสดารเข้าใจชัด
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่าง อัศจรรย์
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่าง อัศจรรย์

ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้ ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญาแล้วท่านมาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌานคือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่าน ที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้วจึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอาโลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันทีในสมัยที่เป็นฌานโลกีย์ ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรงปฏิสัมภิทาไม่ได้ ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะปรากฏ บังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

๑. อากาสานัญจายตนะ

การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐาน ละเอียดทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกอง นั้นๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็เช่นกันอาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสามสำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมาพอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จมรรคผล ใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอดได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ ฉลาดจริงเข้าท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกัน ส่วนด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษา ในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบ แต่ถึงจะได้ไม่ครบก็ทราบว่าแนว ของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้างพอสมควร

อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะนี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญว่า กสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญ ความสุข ความทุกข์ ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็นต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณ นั้นถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศไว้โดยกำหนดใจว่า อากาศหาที่สุด มิได้ดังนี้จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

๒. วิญญาณัญจายตนะ

อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนด อากาศจากอรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนด ว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิตที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตามแต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาดกำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือน จิต โดยคิดว่าเราต้องการจิตเท่านั้นรูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการจนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์

๓. อากิญจัญญายตนะ

อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณ แล้วเพิกวิญญาณคือ ไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศ ก็ไม่มีวิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้นการไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุดแล้วก็กำหนดจิตไม่ยึดถืออะไร ทั้งหมดจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 21:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้และละในสภาวธรรมของรูปนามจากหยาบสู่ละเอียดอันเป็นผลจากรูปนามแสดงความเป็นไตรลักษณ์ ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนา เมื่อถึงระดับหนึ่งจิตจะเคลื่อนเข้าสู่ฌานจิต การแสดงไตรลักษณ์ของรูปนามก็ยังดำเนินต่อไป สำหรับรูปจะเป็นรูปที่ละเอียด มีการสั่นไหวอยู่ภายใน( กลาปะ) สำหรับนามจะเป็นลักษณะความเบาสบาย แต่ลักษณะของความเบาในแต่ละขณะจะเปลี่ยนไปไม่เหมือนกัน(แสดงความเป็นไตรลักษณ์) ในฌานที1 ขณะที่ยังมีความรู้สึกนึกคิดและรู้ถึงความเกิดดับอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อมีการตัดกระแสจิต 2-3 ขณะ(การเกิดดับที่รวดเร็วผิดจากการเกิดดับที่กล่าวมา) และแล้วความนึกคิดทั้งปวงก็ดับลงจิตแน่วแน่เป็นหนึ่งตรึงอยู่ พบความอบอุ่นสบาย(ปิติปรากฏชัด ) พร้อมแสงสีเหลืองเรืองรอง เป็นภาวะที่พระพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า มันคือ เอกธิโกภาวะ ท่านได้ตรัสไว้ตรงกับสภาวะจริงๆ ดังนั้นเมื่อถึงภาวะนี้จึงมีความเห็นแตกต่างว่าการพิจารณาคืออะไร หากบอกว่าเป็นความคิดนึก ย่อมไม่ใช่ เพราะมันดับลงแล้วเมื่อเข้าสู่ฌานที่ 2 แต่ถ้ากล่าวว่าการพิจารณาคือการรู้ถึงสภาวะความอบอุ่นและการสั่นไหวภายในที่ทั้ง 2 ส่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการแยกเป็นการรู้แบบรวมๆ และยังรู้ว่ามันกำลังเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งความอบอุ่นค่อยๆเย็นลง และต่อมาเมื่อมีการตัดกระแสจิต 2-3 ขณะ(การเกิดดับที่รวดเร็ว) จิตเลื่อนสู่ตำแหน่งใหม่ระดับที่สูงขึ้น ความอบอุ่นดับลงสนิท เกิดเป็นความเย็นฉ่ำ เบาสบาย กว้างขวาง ความสั่นสะเทือนที่ละเอียดอ่อน พร้อมแสงสว่างสีขาวนวลปรากฏ(ฌานที่ 3) เป็นภาวะสุขที่เหล่าพระอริยะเจ้าทรงสรรเสริญ ผู้ใดมาจุดนี้ย่อมติดใจ แต่จะไม่นานนักเพราะเห็นว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป ไม่มีธรรมใดที่ดำรงได้ตลอดไป
สรุปว่า ตั้งแต่ฌาน 2 เป็นต้นไปจนถึงอรูปฌาน จะไม่มีความคิดนึก แต่จะเป็นการรู้ถึงสภาวะความเปลี่ยนไปส่วนใหญ่ของนาม ส่วนความรู้สึกในรูปจะลดลงไปเรื่อยๆ และดับสนิทเมื่อถึง ฌาน 4 ซึ่งในฌาน 4 จะพบความเป็นหนึ่งเหมือนฌาน 2 ต่างกันที่ฌาน 2 ยังมีรูปปรากฏ แต่ฌาน 4 รูปดับหมด แม้ลมหายใจ หากยังพยายามจะหายใจหรือสูดลมเข้า จะปวดหัวใจอย่างมาก จึงมีข้อสงสัยว่าอะไรคืออารมณ์กรรมฐานของผู้อยู่ในฌาน 4 จริงๆในทุกฌานก็ยังรู้ถึงความเกิดดับอยู่เพียงแต่ละเอียดมากๆ หากไม่รู้สภาวะก็แสดงว่าสมาธินำสัมปชัญญะ ในชั้นนี้จะมุ่งไปที่สัมปชัญญะมากกว่าสติ และสำหรับการเกิดดับที่รวดเร็วดังที่กล่าวมาในการเลื่อนระดับฌานในแต่ละระดับจะเกิดเพียงครั้งเดียวในชีวิต การเข้าฌานครั้งต่อไปจะเป็นเพียงการเกิดดับธรรมดา สำหรับการเกิดดับพิเศษของผู้เข้าถึงมรรคญาณจะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นเหตุให้ ขาดความรู้สึกตัว

สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดในอยู่ภายในกายและจิต ความคิดสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึก รำคาย แต่อย่างใด

ผิดกับสภาวะความคิดที่เรียกว่า นิวรณ์ ซึ่งมีแต่ความฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดความรู้สึก รำคาญ อยากให้ความคิดนั้นๆ ดับหายไป

สมาธิทุกชนิด ขณะที่เกิดขึ้น แล้วมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น สมาธินั้นๆ เป็นสัมมาสมาธิ แม้กระทั่ง อรูปฌาน

สำหรับ ผู้ที่กล่าวว่า ความคิด ไม่สามารถเกิดได้ ในฌาน ๔ หรือ ฌานต่างๆ แม้กระทั่ง อรูปฌาน แสดงว่า ผู้นั้น ไม่เคยสัมผัส จึงทำให้กล่าวเช่นนั้น

คือ มีแต่สมาธิ ขาดสติ หรือสติที่เกิดขึ้น มีกำลังน้อยกว่า สมาธิ สภาวะสัมปชัญญะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ขณะจิต เป็นสมาธิอยู่ ขณะนั้น กำลังของสมาธิสมาธิ แะละสติ ยิ่งมีกำลังมากเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ต้องสมดุลย์ ไม่เหลื่อมล้ำไปมากกว่ากัน เหตุนี้ สภาวะสัมปชัญญะ จึงเกิดขึ้นได้

สภาวะสัมปชัญญะเกิดขึ้นได้ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการปรับอินทรีย์ หมั่นสังเกตุสภาวะของตนเอง ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่นั้น สามารถรู้ชัดการเกิดขึ้นของสภาวะต่่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกาย(รู้ว่ากายนั่งอยู่ รู้ว่า กายหายไป มีความว่างปรากฏขึ้นแทน รู้ชัดในความว่าง ที่มีความไม่ว่างของสภาวะเกิดขึ้น ซ้อนอยู่ฯลฯ) และจิต(ความรู้สึก/กิเลส เช่น กามราคะ ปฏิฆะ) และความคิด)

โอภาส จะเกิดขึ้น ในสมาธิที่มีกำลังมากๆ ยิ่งสว่างมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะ ทำให้เกิดความแนบแน่น สมาธิที่เกิดขึ้น สามารถตั้งมั่นอยู่ได้นาน สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิต สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น รู้สึกได้ เป็นระยะๆ เกิด-ดับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสภาวะ

หรือ ไม่มีโอภาส เกิดขึ้นก็ตาม สมาธิทีเกิดขึ้น มีกำลังแนบแน่น มากน้อยแค่ไหน ดูเวลานั่ง ถ้าสมาธิมีกำลังมาก เวทนาจะไม่เกิด หรือ เกิดขึ้น แต่ไม่ไปรู้สึกกับเวทนานั้นๆ


นำมาแบ่งปัน ในเรื่องสภาวะ เกี่ยวกับ มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ

ส่วนใครรู้เห็นเกี่ยวกับสภาวะที่เกิดขึ้นได้แค่ไหน ย่อมรู้ได้แค่นั้น เกินจากนั้น จะไม่สามารถรู้ได้ เพราะ สภาวะยังไปไม่ถึง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2013, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การพิจารณาธรรม เราพิจารณาโดยจิตอยู่ในอรูปฌานได้ไหม ??


การอยู่ในอรูปฌานย่อมพิจารณาธรรมได้ โดยอาศัยธรรมที่ในอดีตที่เคยพบเห็น
หรือ ฌาน ที่เคยได้มาแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพื่อจะให้ได้ธรรมชั้นสูงขึ้นไปอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2013, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายใจความ

ขณะทีจิตเป็นสมาธิอยู่ ในรูปฌาน และอรูปฌาน ที่เป็นสภาวะสัมมาสมาธิ ทำไมจึงเกิดสภาวะ จิตคิดพิจรณาได้

ตรงนี้หมายถึง สภาวะจิตคิดพิจรณา เกิดขึ้นเอง ไม่ใช่การนำความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น การยกธรรมบทนั้น บทนี้ ขึ้นมาคิดพิจรณา

สภาวะจิตคิดพิจรณา ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธินี้ เป็นสภาวะของสัญญา ซึ่งส่วนมาก นิมยมนำมาเรียกว่า ปัญญา

จึงเป็นที่มาของคำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ หมายถึง จากมิจฉาสมาธิ(ขาดความรู้สึกตัว) มาเป็นสัมมมาสมาธิ เกิดจาก สภาวะสัมปชัญญะเกิดร่วม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ

และสมาธิอบรมปัญญา หมายถึง เหตุของสัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดสภาวะ จิตคิดพิจรณาขึ้นมาเอง ไม่ใช่เกิดจาก การนำความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคิด

สภาวะสัมมาสมาธินี้ มีอีกคำเรียกหนึ่งคือ สุญญตาหรือเรือนว่างเปล่า คือ ความว่างเปล่า จากการมีตัวตน เขา เรา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

"ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด"

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 117&Z=3165

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2013, 19:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่ใช้ในกิจการงานอื่นไม่ได้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างเช่นการเล่นกายกรรมต่างๆหรือฌานทั่วๆไปที่ขาดการพิจารณาความจริง ไม่ใช่ว่าเป็นสมาธิที่ไม่มีสัปปะชัญญะ ส่วนสัมมาสมาธินั้นเป็นสมาธิเพื่อการหลุดพ้นคือเกิดจากาพิจารณาวภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงจนเป็นสมาธิตามแต่ละขั้นขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่ใช้ในกิจการงานอื่นไม่ได้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างเช่นการเล่นกายกรรมต่างๆหรือฌานทั่วๆไปที่ขาดการพิจารณาความจริง ไม่ใช่ว่าเป็นสมาธิที่ไม่มีสัปปะชัญญะ ส่วนสัมมาสมาธินั้นเป็นสมาธิเพื่อการหลุดพ้นคือเกิดจากาพิจารณาวภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงจนเป็นสมาธิตามแต่ละขั้นขอรับ

ฟุ้งบัญญัติแบบนี้ ยังมีหน้ามาอ้าง"พุทธวจน" ไม่มีสติเอาซะเลย
เที่ยวว่าคนอื่นพูดนอกพุทธวจน แต่ดูตัวเองพูดซิ พูดจาลอยไปลอยมา
เตือนหลายหนแล้ว ชอบอิงชอบอ้างพุทธวจน จะพูดธรรมต้องเอาพุทธวจนมาแสดงด้วย
นี่มันอะไรกันหาแก่นสารไม่ได้เลย
เหมือนผู้ใหญ่ที่สอนคุณเลย อ้างพุทธวจน แต่เวลาพูดมันก็เป็นความเห็นตัวเองทั้งนั้น

หาพุทธวจนมาอ้างคำพูดคุณได้มั้ย
ถ้าหาไม่ได้เขาเรียกพวกหลักลอย เข้าใจมั้ย
หรือจะให้ผมหามาให้ก็บอกมา :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 07:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:
มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่ใช้ในกิจการงานอื่นไม่ได้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นอย่างเช่นการเล่นกายกรรมต่างๆหรือฌานทั่วๆไปที่ขาดการพิจารณาความจริง ไม่ใช่ว่าเป็นสมาธิที่ไม่มีสัปปะชัญญะ ส่วนสัมมาสมาธินั้นเป็นสมาธิเพื่อการหลุดพ้นคือเกิดจากาพิจารณาวภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงจนเป็นสมาธิตามแต่ละขั้นขอรับ

ฟุ้งบัญญัติแบบนี้ ยังมีหน้ามาอ้าง"พุทธวจน" ไม่มีสติเอาซะเลย
เที่ยวว่าคนอื่นพูดนอกพุทธวจน แต่ดูตัวเองพูดซิ พูดจาลอยไปลอยมา
เตือนหลายหนแล้ว ชอบอิงชอบอ้างพุทธวจน จะพูดธรรมต้องเอาพุทธวจนมาแสดงด้วย
นี่มันอะไรกันหาแก่นสารไม่ได้เลย
เหมือนผู้ใหญ่ที่สอนคุณเลย อ้างพุทธวจน แต่เวลาพูดมันก็เป็นความเห็นตัวเองทั้งนั้น

หาพุทธวจนมาอ้างคำพูดคุณได้มั้ย
ถ้าหาไม่ได้เขาเรียกพวกหลักลอย เข้าใจมั้ย
หรือจะให้ผมหามาให้ก็บอกมา :b6:
ไปทำบุญเนื่องในงานเข้าพรรษาคุณโฮฮับอย่างลืมไปนะครับ เพราะคุณสมบัติอย่างหนึ่งของอริยชนนั้นมือจะต้องชุ่มไปด้วยการให้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร