วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อวิชชา ของปุถุชน กับ อวิชชา ของพระอนาคามี เหมือนกันไหม ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
อวิชชา ของปุถุชน กับ อวิชชา ของพระอนาคามี เหมือนกันไหม ??

เหมือนกันแหละครับ ต่างกันที่หยาบหรือละเอียดเท่านั้น ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 11:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา ก็ คือ อวิชชา

แต่ระดับการรู้เท่าทัน อวิชชา ของปุถุชน กับ พระอนาคามี นั้นต่างกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาหรือมิจฉาทิฏฐิของปุถชน คือความไม่รู้จักอริยสัจ ๔
หรือแค่เคยฟังอริยสัจ ๔ แต่ใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ไม่ได้เลย

วิชชาหรือสัมมาทิฏฐิของพระอนาคามีนั้นรู้อริยสัจ ๔ และใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ได้ ๕
ส่วนอวิชชา ของพระอนาคามี คือความไม่รู้จัก อรหัตตมัคค
ไม่สามารถเจริญอริยสัจ๔ ให้บรรลุอรหัตตมัคคเท่านั้นเอง


[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ


ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ


สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ


ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่

อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
อวิชชา ของปุถุชน กับ อวิชชา ของพระอนาคามี เหมือนกันไหม ??


คำถามแบบนี้ไม่เคยเจอที่ไหน แต่ก็น่าจะอุปมาได้เช่นกัน
สำหรับปุถุชนนั้น อุปมาได้ดังกองทัพที่เพียบพร้อมไปด้วยกำลังรบ
มี พลเดินเท้า พลม้า พลช้าง พลรถ กำลังของทัพย่อมฮึกเฮิมแข็งแกร่ง
ในการทำศึกสงคราม ซึ่งมีอวิชชาเป็นผู้บงการในการรบอยู่อย่างอาจหาญ

สำหรับพระอนาคามี อุปมาได้ดังกองทัพได้กระทำศึกสงครามมามาก ได้เสียพลรบ
พลเดินเท้า พลม้า พลช้าง พลรถ ไปมากมาย จากพระอริยะบุคคลเบื้องต่ำ ๒
คงเหลืออวิชชาผู้บัญชาการทำการรบ ทำให้กำลังรบที่จะรบต่อไป
กำลังรบก็เริ่มอ่อนแอลดน้อยลงไปเพราะขาดกำลังพล

ฉะนั้นคงจะอุปมาได้ดังนี้ ปุถุชนกับพระอนาคามี อวิชชาคงจะแตกต่างกันตรงนี้แหละครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 11:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:22
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
อวิชชา ของปุถุชน กับ อวิชชา ของพระอนาคามี เหมือนกันไหม ??

อวิชชาเหมือนกัน เปรียบแล้วบุคคลธรรมดานอนจมอยู่ในกองมูตรคิดว่าตนมีความสุขแล้วจะไม่หนีจากกองมูตรนั้น ส่วนพระอริยะเจ้านั้น รู้ว่ากองมูตรสกปรกเน่าเหม็นแล้วหาทางขึ้น ทางออก ทางหนี จากกองมูตรนั้น หรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑.อกุศลจิต มี อวิชชา อย่างเดี่ยว เพราะมีทั้งอกุศลธรรมและนิวรณ์ ๕
๒.กามาวจรกุศลจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นวิชชา แต่มีนิวรณ์ ๕ และการไม่รู้จักอริยสัจ ๔ เป็น อวิชชา
๓.รูปาวจรกุศลจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ และการละนิวรณ์ ๕ เป็นวิชชา แต่ไม่รู้จักการละรูปสัญญาและความไม่รู้จักอริยสัจ ๔ เป็น อวิชชา
๔.อรูปาวจรกุศลจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ มีการละนิวรณ์ ๕ มีการละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา ละนานัตตสัญญา เป็นวิชชา แต่มีความไม่รู้จักอริยสัจ ๔ เป็น อวิชชา
๕.วิปัสสนาจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ มีการละนิวรณ์ ๕ มีการละโลกียะสัญญา เป็นวิชชา แต่ไม่รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ให้หมดสิ้นเป็น อวิชชา
๖.โสดาปัตติมัคคจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ มีการละนิวรณ์ ๕ มีการละโลกียะสัญญา และ รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ ๓ เป็นวิชชา แต่ไม่รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ที่เหลือให้หมดสิ้นเป็น อวิชชา
๗.สกทาคามีมัคคจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ มีการละนิวรณ์ ๕ มีการละโลกียะสัญญา รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ ๓ และใช้ทำลายกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้ เป็นวิชชา แต่ไม่รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ที่เหลือให้หมดสิ้นเป็น อวิชชา
๘.อนาคามีมัคคจิต มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ มีการละนิวรณ์ ๕ มีการละโลกียะสัญญา รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ ๕ ได้หมดสิ้น เป็นวิชชา แต่ไม่รู้จักใช้อริยสัจ ๔ ทำลายสังโยชน์ที่เหลือให้หมดสิ้นเป็น อวิชชา
๙.อรหัตตมัคคจิต มีวิชชาอย่างเดียว คือรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ มีวิเวก วิราคะ นิโรธ ทำลายกิเลสสังโยชน์ทั้งหลายได้หมดสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2013, 18:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b11:
อ้างคำพูด:
อวิชชา ของปุถุชน กับ อวิชชา ของพระอนาคามี เหมือนกันไหม ??


s006

ไม่เหมือนกันครับ

ปุถุชน มีจิตและสติ สมาธิ ปัญญา อันหยาบ เพียงแค่ ความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู หรือสักกายทิฏฐิ ก็บังตาของปุถุชนไว้จนหมดสิ้น

ส่วนพระอนาคามีบุคคลนั้น สิ่งที่เป็นอวิชชา หรือ ความมืดที่ปิดบังตาของท่านไว้นั้น คือ มานะทิฏฐิ ความยึดผิด คือยึดจิต ส่วนความยึดกาย นั้น ถูกอนาคามีมรรคทำลายสิ้นแล้ว
onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร