ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=46057
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  วิริยะ [ 05 ส.ค. 2013, 08:58 ]
หัวข้อกระทู้:  ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ


ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง

"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"

ทุกข์เกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่ทุกข์เกิดแล้วจะทุกข์ตลอดไปไม่จบไม่สิ้น
เหมือนสุขเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่สุขตลอดเวลา ไม่จบเช่นกัน ..

เรียกว่า "เวทนา" มีเกิดมีดับ เป็นอนัตตา .. :b1:


เจ้าของ:  โกเมศวร์ [ 05 ส.ค. 2013, 09:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

:b8:

ไม่ทุกข์ไม่สุข (อทุกขมสุขเวทนา) ก็เกิดดับเช่นกันครับ

:b8:

เจ้าของ:  Rotala [ 05 ส.ค. 2013, 11:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

อนุโมทนาครับ
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"

มีการแบ่งแยกหรือเปล่านะครับ เหมือนความดีเกิดขึ้น ความไม่ดีเกิดขึ้น อื่นๆเกิดขึ้น

หรือว่า มีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป (ไม่มีการแบ่งแยก การเปรียบเทียบ)
มีแต่ปรากฎขึ้นแล้วก็ดับไป


แต่ตอนต้นๆน่าจะแบ่งแยกศึกษาเปรียบเทียบสิ่งต่างๆก่อนหรือเปล่าครับ
ในสิ่งภายนอกและสิ่งภายในกายใจ

เจ้าของ:  eragon_joe [ 05 ส.ค. 2013, 11:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น และทุกข์นั้นก็ดับไป

:b1:

เจ้าของ:  อธรรม [ 05 ส.ค. 2013, 12:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

เพราะการเกิดและการดับเป็นไปเพื่อการสืบต่อให้ดำรงอยู่ต่อไป ดับเพื่อเกิด เกิดเพื่อดับ มีอย่างนี้อยู่ตลอด ทั้งในกายและในจิตและจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเข้าใจความจริงและตัดสินใจได้ว่าจะไม่หวนกลับมาใช้ชีวิตในเส้นทางเก่าให้เกิดทุกข์กับผู้อื่นและตนเองอีก แต่ถึงอย่างนั้นลักษณะแห่งทุกข์ก็ยังคงเกิดและดับอย่างเป็นปรกติ แต่ทุกข์ไม่บังเกิดให้เกิดการดิ้นทุรนทุรายอีกต่อไป ความเพียรที่ไม่ประกอบไปด้วยปัญญาก็ไม่อาจวางใจให้เห็นถึงความเป็นไปที่ธรรมดา สติดี สมาธิก็ดี มองให้รู้ซึ้งถึงทุกข์จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็จะหยุดทุกข์ไปเอง มีสติอยู่กับหน้าที่ปัจจุบันที่เป็นปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

.................................
(ศึกษามาน้อย ยังต้องศึษาอีกเยอะ)

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 05 ส.ค. 2013, 13:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

ระดับต้น.....ความดีต้องทำให้มาก....ความไม่ดีต้องละให้หมด
จะมอง..อะไร...อะไร...ก็ไม่เป็นแก่นสารสาระเลย....ตั้งแต่แรกเลย....นั้น...ผิดที่ผิดเวลาแน่

แม้ความจริง...ที่จริงแท้...ว่า....อะไรก็แล้วแต่ที่เกินจากใจที่บริสุทธิ์.....สิ่งนั้น...ต้องสลาย...ไปอย่างแน่นอน

แต่ก็ต้องมีวุฒิภาวะพอกับธรรมที่กำลังภาวนาด้วย....

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 05 ส.ค. 2013, 14:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

วิริยะ เขียน:

ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมัง

"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"

ทุกข์เกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่ทุกข์เกิดแล้วจะทุกข์ตลอดไปไม่จบไม่สิ้น
เหมือนสุขเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่สุขตลอดเวลา ไม่จบเช่นกัน ..

เรียกว่า "เวทนา" มีเกิดมีดับ เป็นอนัตตา .. :b1:


อ้างคำพูด:
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


วลีสองวลีนี้ เกิดขึ้นขณะที่ นักบวชโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ต่อปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดง อริยะสัจจ์ 4 ....โดยปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12....
สิ่งที่ นักบวชโกณฑัญญะ เห็นคือ ความเกิด ความดับ อันเป็นธรรมดา ที่เนื่องด้วย สมุทัย กับ นิโรธ ว่าเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย คือธัมม์ใดเกิดแต่เหตุอันธรรมดา ธัมม์นั้นก็มีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับแห่งเหตุนั้น ....ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....
นักบวชโกณฑัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมเพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อพระพุทธองค์ แสดงอนัตตลักขณะสูตร จึงมีการนำ อนิจจะสัญญา ทุกขสัญญา มาเพื่อให้รู้จักอนัตตา กระทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏ

ซึ่งหมายความว่า
เมื่อทุกข์ เกิด มันก็จะเป็นทุกข์อยู่ร่ำไปไม่จบไม่สิ้น ตราบใดที่ยังมีเหตุอยู่ (ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง)
และเป็นธรรมดาของทุกข์ ที่จะดับได้เช่นกัน (สัพพันตัง นิโรธธัมมัง)

ทุกข์ ก็ทุกข์
สุข ก็ทุกข์
อทุกขมสุข ก็ทุกข์

อุปาทานขันธ์ คือเวทนา 3 นี้ ล้วนแล้วแต่ทุกข์ทั้งสิ้น

และจะ
อ้างคำพูด:
เรียกว่า เวทนา มีเกิด มีดับ เป็นอนัตตา


ก็ต่อเมื่อ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา เป็นความเกิดของเวทนาที่เป็นทุกข์
เมื่อวางความยึดมั่นถือมั่นว่า เวทนาเป็นเรา เวทนาเป็นของเรา เวทนาเป็นอัตตาตัวตนของเรา
คือวางอัตตาต่อเวทนานั้นไปเสีย(อนัตตา) อุปาทานขันธ์ คือเวทนาที่เป็นทุกข์จึงดับไป

ดับชนิดขาดดุจตาลยอดด้วน
เจริญธรรม

เจ้าของ:  วิริยะ [ 05 ส.ค. 2013, 19:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

ขอบคุณทุกท่าน สาธุครับ .. :b8: :b1:

เจ้าของ:  govit2552 [ 05 ส.ค. 2013, 20:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

อะไรหนอ คือทุกข์ ............. สังขาร เป็นทุกข์
อะไรคือความพ้นทุกข์.............. นิพพาน(วิสังขาร)

สังขาร มีอะไรบ้าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ... นี้เรียกว่าขันธ์5

ขันธ์ เท่านั้นที่เกิดขึ้น ขันธ์ เท่านั้นที่ดับไป
ทุกข์ เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์ เท่านั้นที่ดับไป

พุทธองค์ ทรงสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์เท่านั้น

พุทธองค์ สอนเรื่องขันธ์ และ นิพพาน เท่านั้น

พุทธองค์ สอนเรื่อง จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน เท่านั้น

เรื่องราวส่วนใหญ่ ที่ทรงสอน อยู่ในพระอภิธรรมปิฏก

เจ้าของ:  ฟ้าใสใส [ 05 ส.ค. 2013, 23:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

:b8: :b8: :b8: :b20:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 06 ส.ค. 2013, 03:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


วลีสองวลีนี้ เกิดขึ้นขณะที่ นักบวชโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ต่อปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดง อริยะสัจจ์ 4 ....โดยปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12....
สิ่งที่ นักบวชโกณฑัญญะ เห็นคือ ความเกิด ความดับ อันเป็นธรรมดา ที่เนื่องด้วย สมุทัย กับ นิโรธ ว่าเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย คือธัมม์ใดเกิดแต่เหตุอันธรรมดา ธัมม์นั้นก็มีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับแห่งเหตุนั้น ....ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....

ผู้ที่ไม่รู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาย่อมต้องไม่รู้ที่มาที่ไปของบัญญัติสามคำนี้
จึงทำให้พูดแบบคนไม่รู้ว่า......ไม่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เคยสัมผัส อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมรู้ดีว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"
คำกล่าวนี้คือ เหตุแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เช่นนั้น เขียน:
นักบวชโกณฑัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมเพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อพระพุทธองค์ แสดงอนัตตลักขณะสูตร จึงมีการนำ อนิจจะสัญญา ทุกขสัญญา มาเพื่อให้รู้จักอนัตตา กระทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏ

เช่นนั้นพูดขัดแย้งกันเอง บอกก่อนหน้าว่า ไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เมื่อไม่เกี่ยวข้อง ปัญจวัคคีย์จะเอาสัญญาของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาจากไหน
อย่าลืมซิว่า....สัญญาคือความจำได้หมายรู้ จะจำได้จะต้องมีสิ่งที่จิตไปรู้เสียก่อน

ดังนั้นที่พระพุทธองค์อนัตตาลักขณสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ก็เพื่อให้ปัญจวัคคีย์ปล่อยวาง...สัญญาทั้งสาม
นั้นก็คือปล่อยวาง ความจำได้หมายรู้ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เช่นนั้น เขียน:
ซึ่งหมายความว่า
เมื่อทุกข์ เกิด มันก็จะเป็นทุกข์อยู่ร่ำไปไม่จบไม่สิ้น ตราบใดที่ยังมีเหตุอยู่ (ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง)
และเป็นธรรมดาของทุกข์ ที่จะดับได้เช่นกัน (สัพพันตัง นิโรธธัมมัง)

ทุกข์ ก็ทุกข์
สุข ก็ทุกข์
อทุกขมสุข ก็ทุกข์

อุปาทานขันธ์ คือเวทนา 3 นี้ ล้วนแล้วแต่ทุกข์ทั้งสิ้น

และจะ

เช่นนั้นเอาพุทธพจน์มาโยงมั่ว เวทนาก็เวทนา อุปาทานก็อุปาทาน ขันธ์หรือกองทุกข์
ก็คือขันธ์หรือกองทุกข์

ยิ่งเรื่อง อริยสัจจ์๔ ปริวัฏ๓และอาการ๓๒ เช่นนั้นเอามาพูดทั้งๆที่ไม่เข้าใจความหมาย
พูดมาได้ไงว่า อุปาทานขันธ์คือเวทนา๓ตัวนี่
เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
เรียกว่า เวทนา มีเกิด มีดับ เป็นอนัตตา


ก็ต่อเมื่อ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา เป็นความเกิดของเวทนาที่เป็นทุกข์
เมื่อวางความยึดมั่นถือมั่นว่า เวทนาเป็นเรา เวทนาเป็นของเรา เวทนาเป็นอัตตาตัวตนของเรา
คือวางอัตตาต่อเวทนานั้นไปเสีย(อนัตตา) อุปาทานขันธ์ คือเวทนาที่เป็นทุกข์จึงดับไป

ดับชนิดขาดดุจตาลยอดด้วน
เจริญธรรม

อุปาทานขันธ์มันไม่ได้เกิดที่เวทนาอย่างเดียว มันเกิดตั้งแต่มีการกระทบที่เรียกว่าผัสสะ
นั้นก็คือมันเกิดอุปาทานขันธ์ในส่วนที่เรียกว่า รูปขันธ์และวิญญานขันธ์
เพราะมันเกิดการยึดในรูป และวิญญาน จึงทำให้จิตไปยึดเวทนา

การดับทุกข์ต้องดับที่เหตุ การที่จะไม่ห้เกิดเวทนาขันธ์ เราต้องไปดับที่ผัสสะ
เมื่อเกิดผัสสะขึ้น อริยะมีสติระลึกรู้ผัสสะ ผัสสะย่อมดับไป

เมื่อเหตุดับนั้นคือผัสสะดับ ไม่ปรุงแต่งต่อ เวทนาขันธ์ย่อมเกิดไม่ได้

เจ้าของ:  โกเมศวร์ [ 06 ส.ค. 2013, 14:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

:b8: คุณโฮฮับ


โฮฮับ เขียน:
การดับทุกข์ต้องดับที่เหตุ การที่จะไม่ให้เกิดเวทนาขันธ์ เราต้องไปดับที่ผัสสะ
เมื่อเกิดผัสสะขึ้น อริยะมีสติระลึกรู้ผัสสะ ผัสสะย่อมดับไป
เมื่อเหตุดับนั้นคือผัสสะดับ ไม่ปรุงแต่งต่อ เวทนาขันธ์ย่อมเกิดไม่ได้


ขอบคุณครับ

:b8:

เจ้าของ:  student [ 10 ส.ค. 2013, 00:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

กบนอกกะลา เขียน:
ระดับต้น.....ความดีต้องทำให้มาก....ความไม่ดีต้องละให้หมด
จะมอง..อะไร...อะไร...ก็ไม่เป็นแก่นสารสาระเลย....ตั้งแต่แรกเลย....นั้น...ผิดที่ผิดเวลาแน่

แม้ความจริง...ที่จริงแท้...ว่า....อะไรก็แล้วแต่ที่เกินจากใจที่บริสุทธิ์.....สิ่งนั้น...ต้องสลาย...ไปอย่างแน่นอน

แต่ก็ต้องมีวุฒิภาวะพอกับธรรมที่กำลังภาวนาด้วย....


เกี่ยวกับระดับของทั้งวิปัสสนาญาณ และ ความเห็น ใช่ไหมครับ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 10 ส.ค. 2013, 15:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"


วลีสองวลีนี้ เกิดขึ้นขณะที่ นักบวชโกณฑัญญะ มีดวงตาเห็นธรรม ต่อปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดง อริยะสัจจ์ 4 ....โดยปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12....
สิ่งที่ นักบวชโกณฑัญญะ เห็นคือ ความเกิด ความดับ อันเป็นธรรมดา ที่เนื่องด้วย สมุทัย กับ นิโรธ ว่าเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย คือธัมม์ใดเกิดแต่เหตุอันธรรมดา ธัมม์นั้นก็มีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับแห่งเหตุนั้น ....ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.....

ผู้ที่ไม่รู้จัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาย่อมต้องไม่รู้ที่มาที่ไปของบัญญัติสามคำนี้
จึงทำให้พูดแบบคนไม่รู้ว่า......ไม่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เคยสัมผัส อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมรู้ดีว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา"
คำกล่าวนี้คือ เหตุแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้เป็นเหตุ แห่งวลีสองประโยคนั้น
ท่านโกณฑัญญะ ได้ฟังปฐมเทศนา เนื่องด้วยอริยสัจจ์ 4 จึงเกิดดวงตาเห็นธรรม

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 10 ส.ค. 2013, 15:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทุกข์เกิด ทุกข์ดับ

โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
นักบวชโกณฑัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมเพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อพระพุทธองค์ แสดงอนัตตลักขณะสูตร จึงมีการนำ อนิจจะสัญญา ทุกขสัญญา มาเพื่อให้รู้จักอนัตตา กระทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏ

เช่นนั้นพูดขัดแย้งกันเอง บอกก่อนหน้าว่า ไม่เกี่ยวข้องกับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เมื่อไม่เกี่ยวข้อง ปัญจวัคคีย์จะเอาสัญญาของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามาจากไหน
อย่าลืมซิว่า....สัญญาคือความจำได้หมายรู้ จะจำได้จะต้องมีสิ่งที่จิตไปรู้เสียก่อน

ดังนั้นที่พระพุทธองค์อนัตตาลักขณสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ก็เพื่อให้ปัญจวัคคีย์ปล่อยวาง...สัญญาทั้งสาม
นั้นก็คือปล่อยวาง ความจำได้หมายรู้ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อพระพุทธองค์ แสดง อนัตตา
พระพุทธองค์ แสดงอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แก่ปัญญจวัคคีย์
และ ให้ละความคิดความเห็น ความยึดถือใน ความเป็นตน ความเป็นของตน ความเป็นตน ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนัตตาสัญญาจึงปรากฏ ดังนี้
ไม่ใช่ ปล่อยการปล่อยวาง ความจำได้หมายรู้ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

หน้า 1 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/