วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คำถาม.....
..อ่าน-ฟัง ท่านผู้รู้ เถียงกัน ทำให้ผมเขวไปหมด เพราะเหตุผลท่าน ทุกฝ่าย..เป็นไปได้ ทั้งนั้นครับ
..ขอพุทธพจน์-พระสูตร-หรือสิ่งที่คาดคะเนตามเหตุผลให้วงเล็บไว้ครับ สาธุทุกท่าน-ทุกฝ่ายครับ ขอธรรมทานด้วย..สาธุ
..สติ กับ สมาธิ เป็นอัญญะมัญญะ กันใช่ไหมครับ..อันไหนเกิดก่อน-เกิดหลัง หรือพร้อมกันครับ

ตอบ.....
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะหาพระสูตร หรือ พุทธพจน์ มาเป็นคำตอบให้กับคุณได้ แต่ข้าพเจ้า จะตอบคำถามของคุณ ตามหลักความจริง ซึ่งตัวคุณเอง สามารถที่จะใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ วิเคราะห์ ให้เกิดความรู้ ความใจ ได้โดยไม่ยากนัก ดังนี้

ธรรมชาติของสรรพสิ่ง หมายรวมเอาสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียว ไปจนถึงสัตว์ชั้นสูง ที่มีอาการครบ สามสิบสอง
ล้วน ย่อมมี .."รูป , สัญญา,เวทนา,สังขาร ฯ ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมประกอบไปด้วย มหาภูตรูป " ความนี้ในพระไตรปิฎกไม่มีซึ่งข้าพเจ้าคิดว่ามันขาดหายไป คงมีปรากฏดังที่ท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษากันอยู่เท่านั้น
สติ... คือ ความระลึกได้ หรือ การนึกถึง คิดถึง (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะหากเป็นสัตว์เซลล์เดียว อาจจะมีความคิดหรือความจำเพียงอย่างเดียว ฯลฯ ) บุคคล ย่อมมีรูป และจะมีสติได้ ก็ต้องมี สัญญา มี เวทนา มีสังขาร ครบทุกอย่าง บุคคลจะสามารถใช้ สติ คือ ความระลึกได้ ก็ต้อง มี สมาธิ เพราะ สมาธิ จะทำให้ บุคคลนั้นๆ มีความรู้สึกตัว และ ระลึกได้ หาก บุคคล ขาดสมาธิ บุคคล นั้นๆ ก็จะขาดความรู้สึกตัว และระลีกไม่ได้ คือ ไร้สติ สัมปชัญญะ นั่นแหละ แต่ถ้าบุคคลนั้นๆ ยังพอมี สมาธิอยู่บ้าง ก็อาจจะ มีความรู้สึกตัวอยู่บ้าง แต่รู้สึกตัวเพียงอย่างเดียว คล้ายกับ สัตว์เซลล์เดียว และ อาจจะมีความระลึกได้ คือ มีสติ อยู่เพียงรูปแบบเดียว หรือจำได้เพียงบางอย่าง และหรือ มีการระลึกได้ หรือสติ ที่สับสน ซึ่ง ท่านทั้งหลาย อาจจะหาดูบุคคลที่มี สติ อยู่เพียงรูปแบบเดียว หรือจำได้เพียงบางอย่าง หรือ มีการระลึกนึกถึง หรือ มีสติที่สับสน ได้จากโรงพยาบาลโรคจิต อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้น สมาธิ จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ย่อมต้อง อาศัย รูป สัญญา เวทนา สังขาร ฯ เช่นเดียวกับ สติ เช่นกัน เพราะทั้ง สมาธิ และ สติ ล้วนเกิดจาก อวัยวะ และ ระบบการทำงานของร่างกาย

ดังนั้น ถ้าบุคคลจะมีสมาธิได้ ก็ล้วนต้อง อาศัย สติ หรือความระลึกได้ เป็นปัจจัย
เช่นเดียวกัน ถ้าบุคคลจะมีสติ หรือ ความระลึกได้ ก็ล้วนต้อง อาศัย สมาธิ เป็นปัจจัย
สมาธิ และ สติ จึงเกิดขึ้น สลับกันไปมา บางครั้ง สติ อาจเกิดก่อน จึงจะมี สมาธิ
แต่ บางครั้ง สมาธิ อาจเกิดก่อน จึงจะมี สติ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัย หลายสิ่งหลายประการ

เมื่อท่านทั้งหลายอ่านมาถึงจุดนี้ ก็ต้องใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณาให้ดีว่า คำว่า สติ คือ ความระลึกได้นั้น ระลึกได้ถึงอะไร นึกถึงอะไร เมื่อท่านทั้งหลายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสติแล้ว ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความเข้าใจว่า สมาธิ ก็ต้อง อาศัย สติ และ สติ ก็ต้อง อาศัย สมาธิ

และด้วยเหตุนี้เองในทางพุทธศาสนา จึงมีข้อความที่ได้อธิบายถึงธรรมชาติของการปฏิบัติสมาธิ นั่นก็คือ
ฌาน(ชาน) ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้พิจารณาไตร่ตรอง ใน ฌาน(ชาน) ทั้ง ๔ (บางตำราก็ว่า๕) ก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ สติได้มากขึ้น และยังรวมไปถึง กรรมฐาน อีก ๔๐ กอง ที่จะทำให้เกิดมีความสงบในใจ หรือ สมาธิ หรือ เกิดมีสติ คือ ความระลึกได้
และอีกทั้ง ในทาง ธรรมชาติของ สติ ในทางพุทธศาสนา ก็ได้อธิบายเอาไว้ ในหมวด สติ ปัฏฐานสี่ ซึ่งการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ก็ต้อง อาศัย สมาธิ เป็นที่ตั้ง อย่างนี้เป็นต้น

ที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไปข้างต้น คงมีประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย และเจ้าของกระทู้ และคงจะได้คำตอบที่คุณสงสัย หากคิดพิจารณาให้ดี
อีกประการข้าพเจ้าเห็นว่า คำถามของคุณมีประโยชน์ต่อผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา จึงจะขอนำเอา คำถามของคุณไปเผยแพร่ ตามเวบฯที่มีความสนใจ เพราะเป็นวิทยาทาน

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียนตอบ)
๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42:
สติ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ

งานของสติคือ......รู้ทันปัจจุบันอารมณ์..ระลึกได้....ไม่ลืม

เมื่อสติรู้ทันปัจุบันอารมณ์ได้ดีจะเกิด ขณิกะสมาธิ เหมือนออมน้ำได้ทีละหยด

ขณิกะสมาธิเกิดขึ้นมากเข้าๆจะเป็นเหตุให้เกิด อุปจาระสมาธิ

อุปจาระสมาธิมากเข้าๆจะเป็นเหตุให้เกิด อัปปนาสมาธิ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่ามันอันเดียวกันนั่นแหละครับ

สติ กับสมาธิ คืออันเดียวกัน ส่งเสริมกัน เกิดพร้อมๆกัน โตไปพร้อมๆกัน

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อย่าคิดให้สับสน วกวน เอาศัพท์ที่วุ่นวายมาปรุงแต่งให้ดูยากเลยครับ

ให้ลองนึกถึงหลักความจริง เอาตั้งแต่เราเกิดนะครับ

สติคือความระลึกได้ คือความรู้สึกตัว ใช่มั้ยครับ

เมื่อเราเกิดสิ่งแรกที่มาก่อนคือสติ ระลึกได้ เสียงร้องอุ๊แว๊ นั่นหมายถึง
การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นกลไกของธรรมชาติ แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าสติเพราะ
สติคือความระลึกได้ เสียงร้องในวินาทีแรกที่เกิดเป็นกลไกของธรรมชาติ
แต่ไม่ได้หมายความว่ามีสติแต่เป็นเพียงความรู้สึกตัว จนกระทั่งเวลาผ่านไป
ท่านเริ่มจำความได้เมื่อไหร่ นั่นคือสติมาแล้วนั่นเอง

สมาธิคือความจดจ่อ หมายถึงอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ไม่วอกแวก
ท่านเคยเห็นเด็กๆอยู่กับอะไรได้นานมั้ยครับ ไม่เคยใช่มั้ย นั่นหมาย
ความว่าวัยเด็กเรายังมีสมาธิไม่มาก ไม่อดทน เพราะเรายังไม่ได้ขัด
เกลา จนกระทั่งเราได้รับการปลูกฝังในเรื่องสมาธิเรื่อยมาจนโตขึ้น

ดังนั้นสมาธิจึงเป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง ขัดเกลา ฝึกฝนในภายหลัง
ไม่ใช่ว่าจู่่ๆ เกิดขึ้นมาบนโลกวินาทีแรกก็มีสมาธิมาเลย ผิดธรรมชาติ
ไม่ใช่

ดังนั้นคำถามที่ว่า สติ กับ สมาธิ อะไรมาก่อนนั้น ไม่มีแก่นสาร หาสาระมิได้

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลายที่ได้เข้ามาเยี่ยมเยือน เวบธรรมจักรนี้ ไหนๆข้าพเจ้าก็ได้ให้ความรู้เป็นวิทยาทานอยู่แล้ว ดังนั้นข้าพเจ้าจึงจะอธิบายต่อไปอีกนิด เพื่อให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในเพศใด ได้รู้ได้มีความเข้าใจในเรื่องของสมาธิ และ สติ อย่างถ่องแท้ว่า....

สมาธิ..... คือ ความที่มีใจสงบ ไม่คิดสิ่งใดอันฟุ้งซ๋าน ไม่คิดเพ้อเจ้อไหลตามสิ่งที่ได้รับการสัมผัส โดยรวม ในทางพุทธศาสนา หมายถึง การมีจิตใจตั้งมั่น ซึ่งย่อมหมายความว่า บุคคลที่สามารถรู้จักควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง มิให้ฟุ้งซ่าน นั้นคือ บุคคลที่มี สมาธิ
สมาธิ... เป็นปัจจัย หรือเป็นเครื่องมือ หรือเป็นสิ่งเกื้อกูลให้บุคคล มีความรู้สึกตัว คือ สัมปชัญญะ และ ระลึกได้ คือ สติ..

คำว่า สติ.... คือ ความระลึกได้ นั้น ยังสามารถแยกแยะออกไปได้อีกว่า บุคคลเมื่อมีสมาธิดี รู้จักควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง ย่อมจะรู้จักว่า ควรระลึกได้เช่นไร เยี่ยงไร อะไร ตามสภาพเหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมนั้นๆ หากขาดสมาธิหรือ ไม่รู้จัก ควบคุม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง ก็ย่อมขาดสติ สัมปชัญญะ ตามมาด้วย เป็นเรื่องธรรมดา ดังที่ท่านทั้งหลายคงได้ประสบกับตัวเองมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย

ดังนั้น สมาธิ กับ สติ จึงเป็นคนละอย่างกัน แต่ทั้งสองอย่าง จะเกื้อหนุนอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น มีสมาธิ ย่อมมีสติ เมื่อเกิด สติ ย่อมมี สมาธิ อย่างนี้เป็นต้น

ท่านทั้งหลาย ทั้งที่กำลังเริ่มฝึกสมาธิ หรือ ท่านที่เป็นผู้ให้ความรู้ต่อสาธุชนผู้ศรัทธาทั้งหลาย ควรได้อ่านและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เถิดขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2013, 08:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ อุปมาเหมือนมือที่กำลังหยิบสิ่งของ
สมาธิ อุปมาเหมือน กำลัง กำสิ่งของไว้
ทั้งของอย่างอาจคิดได้ว่าเกิดคนละขณะ แต่ก็เกิดพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 20:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
พุทธคุณกล่าวถาม
อ้างคำพูด:
สติคือความระลึกได้ คือความรู้สึกตัว ใช่มั้ยครับ

:b41:
สติ เขาทำงานอยู่ 3 หน้าที่ คือ

รู้ทันปัจจุบันอารมณ์

ระลึกได้

ไม่ลืม


ส่วนความรู้สึกตัว นั้น ท่านเรียกว่า "สัมปะชัญญะ" หรือบางท่านเรียกว่า "ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นคนละอารมณ์กันนะครับ สัมปชัญญะนี่เป็นส่วนของปัญญาโดยตรง


"รู้" = ปัญญา
:b8:
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b41:
สติ เขาทำงานอยู่ 3 หน้าที่ คือ

รู้ทันปัจจุบันอารมณ์

ระลึกได้

ไม่ลืม


ส่วนความรู้สึกตัว นั้น ท่านเรียกว่า "สัมปะชัญญะ" หรือบางท่านเรียกว่า "ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นคนละอารมณ์กันนะครับ สัมปชัญญะนี่เป็นส่วนของปัญญาโดยตรง


"รู้" = ปัญญา
:b8:
:b38:


รู้ทันปัจจุบันอารมณ์เรียกว่า..........................วิญญาน(จิต)

ระลึกได้เรียกว่า...................................สติ(เจตสิก)

ไม่ลืมเรียกว่า.....................................อโมหะ(เจตสิก)

รู้ไม่ใช่ปัญญา แต่เป็นจิต

ตัวปัญญาก็ ....................สภาวะไตรลักษณ์(เจตสิก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12: :b12: :b12:
พุทธคุณกล่าวถาม
อ้างคำพูด:
สติคือความระลึกได้ คือความรู้สึกตัว ใช่มั้ยครับ

:b41:
สติ เขาทำงานอยู่ 3 หน้าที่ คือ

รู้ทันปัจจุบันอารมณ์

ระลึกได้

ไม่ลืม


ส่วนความรู้สึกตัว นั้น ท่านเรียกว่า "สัมปะชัญญะ" หรือบางท่านเรียกว่า "ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นคนละอารมณ์กันนะครับ สัมปชัญญะนี่เป็นส่วนของปัญญาโดยตรง


"รู้" = ปัญญา
:b8:
:b38:

การที่บุคคลจะมี สติ คือ ความระลึกได้ ก็ต้องมีการทำงานของระบบประสาทที่ครบถ้วน ไม่ผิดปกติ นั่นก็ย่อมหมายความว่า บุคคลผู้มี สติ จักต้องมีระบบการหายใจ ที่ปกติ ระบบการทำงานของหัวใจ ปกติ ระบบสารสื่อประสาทปกติ ระบบสมอง ปกติ รวมไม่ถึง ข้อมูลความจำต่างๆในสมอง ที่สามารถ รับรู้ สั่งการ ได้อย่างเป็นปกติ
ส่วน สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว หรือ ความรู้ตัว นั้นเกิดจาก ที่ ระบบการทำงานของหัวใจ และสมองสื่อสารถึงกันอย่างปกติ ไม่มี สารเคมี หรือ คลื่นความคิด คลื่นความรู้สึกอื่น มาขัดขวาง ทำให้มีความรู้สึกตัว คือ หัวใจ สมอง และระบบอื่นๆ ทำงานตามปกติ แต่ไม่ใช่การระลึกได้ เพราะ การระลึกได้ หรือสติ จะต้องมีการแปลคลื่นการได้รับการสัมผัส และส่ ไปสู่สมอง สมองก็จะแปลข้อมูลตามความจำที่มีอยู่ และสมองก็จะส่งต่อไปยังหัวใจ หัวใจส่งกลับไปยังสมอง และอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร