วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2014, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

ธรรมบรรยาย "แนะนำกรรมฐานเบื้องต้น"
TheWatmaheyong




:b47: :b47: :b47:

ธรรมบรรยาย "จริงแท้ จริงเทียม" (ชุด 2)
TheWatmaheyong




:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2014, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

หลักสูตรมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท วิปัสสนากรรมฐาน
เรื่อง วิสุทธิ 7 , สีลวิสุทธิ
บรรยายโดย อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ

https://www.youtube.com/watch?v=GKlGeeQ ... Ik&index=2

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2014, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

"มนุสสา มาแต่ไหน"

อนันตพุทธ ตรัสรู้ กู้โลกสัตว์
เหล่ามนุษย์ ยังอุบัติ ไม่สิ้นสูญ
ปัจจุบัน ยิ่งมาก ยิ่งเพิ่มพูน
ทวีคูณ หาได้ลด หมดจางจา

แสนสงกา มนุสสา มาแต่ไหน
เหตุไฉน มีแต่เพิ่ม เริ่มอิดหนา
เกิดแต่จิต มากพิษ อวิชชา
ท่วมตัณหา อุปาทาน ผลาญดิ้นรน

ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่น กระสันสร้าง
จึงเข้าทาง อัตตา โกลาหล
หลงก่อตัว ตนเขา เหล่าบุคคล
กระเสือกสน วนว่าย สายวัฏฏา

แล้วก็มา ตรมทุกข์ คลุกเดือดร้อน
อ่วมขย้อน ตาเหลือก เสือกถลา
แหวกวุ่นวาย ตายเกิด ในวัฏฏา
มะงุมหงา ในสงสาร อ่วมอานเอย...

ภภภ รจนาจาก ข้อธรรมของ :- หลวงปู่สิม พุทธาจาโร 30/1/2558 7:36

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี หมายความว่า อย่างตาข่ายที่นายพรานใช้เวลาจับนกนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถรวบนกเอาไว้ได้ทั้งฝูงได้นกตัวเล็กๆบางตัวยังสามารถหลุดรอดจากตาข่ายนั้นไปได้. แต่โมหะนั้นเมื่อมีอยู่กับผู้ใดแล้วย่อมรวบรัดผู้นั้นเอาไว้ได้ทั้งหมด ยากที่จะหลุดรอดไปได้ เพราะฉะนั้น ข่ายที่เสมอด้วยโมหะย่อมไม่มี

จากหนังสือ การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส


การศึกษาแนวพุทธ

พระพรหมคุณาภรณ์
http://www.roong-aroon.ac.th/?page_id=1942
ศึกษาไปพร้อมด้วยกันทั้ง 3 ด้าน
แล้ววัดผลโดยดูพัฒนาการที่แยกเป็น 4
ที่ว่าแนวพุทธก็นี่แหละ คือพัฒนาคนให้รู้จักเป็นอยู่ได้อย่างดี โดยสอดคล้องกับความจริงของชีวิตที่ เป็นไปตามธรรมดา นี่เอง เราเอาความจริงของธรรมดานี่แหละมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนามนุษย์ ก็เรียกว่าการศึกษา การศึกษานั้นเป็นระบบการพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม แล้วก็ด้านจิตใจเจตจำนง และด้านปัญญาความรู้เข้าใจดำเนินประสานไปด้วยกันและส่งผลต่อกัน โดยเจตจำนงของจิตใจ แสดงตัวออกมาสู่พฤติกรรมและการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมpresent7
ปัญญาที่รู้เข้าใจก็มาพัฒนาพฤติกรรมให้ทำได้ผลดียิ่งขึ้น และทำให้จิตใจมีขอบเขตขยายออกไปแล้วมีสภาพที่ดีขึ้น เช่น เมื่อรู้เข้าใจเหตุผล รู้ว่าคนอื่นเขาก็รักชีวิตของเขาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรไปทำร้ายเขา แต่ควรจะมีเมตตากรุณา การพัฒนาเมตตากรุณา จึงต้องอาศัยปัญญาความรู้เข้าใจ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ได้แค่ความเคยชิน เป็นการพัฒนาแค่ระดับศีล
เมื่อทั้งสามส่วนนี้ประสานกันไป ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นด้านที่สนองและป้อนเลี้ยงด้านจิตและ ด้านปัญญา ส่งผลหนุนกันไป
1. การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ศีล
2.การพัฒนาด้านเจตจำนง ลงไปถึงคุณสมบัติในจิตใจ ก็เป็นสมาธิ ซึ่งรวมถึงเรื่องของคุณธรรมความดี เรื่องของสมรรถภาพและประสิทธิภาพของจิตใจ เช่น ความเข้มแข็ง หนักแน่น เพียรพยายามสติ สมาธิ แล้วก็เรื่องความสุข ความร่าเริงเบิกบานผ่องใส ฯลฯ ที่เป็นคุณสมบัติสำคัญของจิตใจ
3.การพัฒนาด้านปัญญา ความรู้ความเข้าใจ การรู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และความสามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบสาวหาเหตุปัจจัยอะไรต่างๆ สามแดนนี้จะต้องพัฒนาไปด้วยกัน เป็นระบบ ที่เราเรียกว่าบูรณาการก็มาในระบบที่เรียกว่า ไตรสิกขานี้แหละ และเมื่อไตรสิกขาพัฒนาคนไปอย่างนี้แล้ว ก็วัดผลด้วยภาวนา 4 ดังที่โรงเรียนทอสีกับโรงเรียนอนุบาลหนูน้อย ทดลองค้นหากันไป และมาก็บอกว่าตกลงใช้หลักนี้แหละในตอนที่พัฒนาคน เพราะว่ามันเป็นองค์รวม ทั้งสามอย่างนี้ต้องไปด้วยกันในแต่ละเรื่อง
คือต้องใช้ทั้ง 3 เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือหลัก 3 ไม่ว่าในเรื่องใด ทุกเรื่องเรามีทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญาต้องสืบเนื่องกันมา คือในขณะที่เรามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เราก็มีเจตจำนงต่อสิ่งนั้น มีท่าทีความตั้งใจต่อมันอย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมกันนั้นเราก็ทำได้ในขอบเขตของความรู้ และเราต้องเรียนรู้มันไปตลอดเวลา
แล้วในการที่เราเรียนรู้เพิ่มขึ้น เราก็จะพัฒนาได้ สภาพจิตของเราก็เปลี่ยนไป การมีพฤติกรรมสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะเปลี่ยนจะพัฒนาไปด้วย ก็ไปด้วยกันทั้งหมด ฉะนั้นจึงมี 3 อย่าง แต่พอวัดผล ท่านแยกเป็น 4 คือ แยกเป็น ภาวนา 4 เพราะตอนแยกนี่ ไม่ใช่ตอนทำงานแล้ว
แต่ต้องการความชัดเจน ว่าด้านไหนไปได้แค่ไหน จึงแยกเป็น
1. กายภาวนา การพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นกายภาพ หรือทางวัตถุ
2. ศีลภาวนาการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมด้านเพื่อนมนุษย์รวมทั้งสัตว์ทั้งหลายอื่นด้วย อันนี้แยกได้ชัด กายภาวนาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น พวกธรรมชาติ พวกวัตถุ พวกสิ่งเสพ บริโภค สิ่งที่ตาดู หูฟัง อะไรต่างๆ ส่วนศีลภาวนา เป็นการสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คือทางสังคม
3. จิตตภาวนา การพัฒนาด้านจิตใจ ที่อาศัยสมาธิเป็นตัวแกนในการฝึกและมีบทบาทออกมาทางเจตจำนง
4. ปัญญาภาวนา การพัฒนาด้านปัญญา ความรู้ความเข้าใจคิดได้ หยั่งเห็นเรื่องนี้แปลกมากที่เรามาเจอภายหลังว่าของฝรั่งมี physical development, mental development, emotional develop- ment, social development อ้าว ของพระพุทธศาสนาก็มี 4 และว่ามาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว พอมาเจอก็ตรงกันเลยแต่ขอบเขตไม่เท่ากัน
ของฝรั่ง Physical development เน้นเรื่องการให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่วน ของพระพุทธศาสนา กายภาวนา หมายถึง การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพทั้งหมดว่าสัมพันธ์เป็นไหม ได้ผลดีไหม เสพบริโภคเป็นไหม กินอาหารเป็นไหม เป็นต้น เช่น เมื่อกินเป็น สุขภาพดีก็มาด้วย

เชิญอ่านต่อที่ http://www.roong-aroon.ac.th/?page_id=1942

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2015, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


การจะทำกรรมฐาน ไม่ว่าจะทำสมถะ หรือวิปัสสนานั้น
มีสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ อย่าข้ามขั้นตอน
ในระดับศีลควรกระทำให้ดี ตั้งใจรักษาศีลให้ได้ดีที่สุดในชีวิตประจำวัน
ถึงแม้ว่าจะผิดพลาดไปบ้าง ก็ตั้งใจใหม่ว่าเราจะพยายามทำให้ดีที่สุด
หากชีวิตประจำวันยังไม่ตั้งใจรักษาศีลให้ดี เมื่อท่านมาปฏิบัติกรรมฐาน
จะทำให้ฐานของท่านไม่แข็งแรง ไม่มีศีลรักษา ฐานไม่ดี
ปฏิบัติกรรมฐานไป อาจทำให้จิตฟั่นเฟื่อนได้ ยิ่งผู้ที่ทำเองโดยไม่มีครูอาจารย์ดูแล ยิ่งอันตราย
จึงขอให้ทุกท่านตั้งใจรักษาศีลให้ดี. และฝึกให้ตนเองมีสติไว้บ่อยๆ เนืองๆ ในแต่ละวัน
ไม่ว่าท่านจะไปทำสมาธิ หรือเจริญสติปัฏฐานสี่ ท่านก็จะมีฐานที่มั่นคงคอยรักษาตัวท่าน
อย่างน้อยท่านก็ได้รักษาตนให้ปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่หากมีสิ่งใดเป็นอุปสรรคเข้ามา
สติที่ท่านได้หมั่นรักษาไว้ก็จะทำให้ท่านมีสติกลับมาดูทีใจได้ทัน และควบคุมอารมณ์ได้
ควรศึกษาว่าศีลที่ปฏิบัติให้ดีนั้นครอบคลุมถึงเรื่องใดบ้าง
การปฏิบัติวิปัสสนานั้นเบื้องต้นต้องปฏิตบัติตนอย่างไรในเรื่องของศีล
ศีลสำหรับเป็นฐานในการปฏิบัติตนนั้นควรทำอย่างไรในชีวิตประจำวัน
ศีลคือฐานแรก หมั่นตั้งตนไว้ให้ถูกต้องไปพร้อมๆกับการปฏิบัติกรรมฐาน
เมื่อฐานของท่านตั้งไว้ดีแล้ว ฐานนั้นจะเป็นเหตุให้ท่านก้าวไปสู่ผลสำเร็จได้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

เหตุ ๖
viewtopic.php?f=66&t=41815

ธรรมทานกับเหตุ ๖

ในการทำกุศลทานในแต่ละครั้งนั้น ขอให้หยุดคิดสักนิดก่อน สำรวจดูใจตนเองว่า
ในขณะที่กำลังทำธรรมทานนั้น ท่านทำเพื่อประโยชน์ใคร. เพื่อประโยชน์ท่านหรือประโยชน์ผู้อื่น
ถ้าท่านเป็นผู้ทำบารมี. การให้ธรรมทานในแต่ละครั้งนั้นจะไม่มีการทำเพื่อตนเองเลยในการให้
เช่น ท่านเผยแผ่ธรรมะนั้น จะไม่มีความรู้สึกเชิดชูตัวตนของท่าน ไม่ต้องการคำยกย่องจากผู้อ่านว่าท่านเก่งและจะมีความรู้สึกว่าท่านกำลังให้ความเข้าใจแก่เพื่อนร่วมเดินทาง เป็นการให้ด้วยความเมตตา ให้ด้วยความกรุณาต่อกัน ให้ปัญญาแก่ผู้อ่าน เป็นต้น

การทำกุศลต่างๆนั้น ท่านควรสำรวจใจท่านก่อนว่าท่านมีเหตุ ๓ นี้หรือไม่. คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ถ้าหากขณะท่านทำกุศล หากท่านรู้ว่าเหตุ ๓ นี้มีในใจท่าน. คือโลภะ โทสะ โมหะ ตัวใดตัวหนึ่งเข้ามาเข้ามา ขอให้มีสติ และเปลี่ยนความตั้งใจใหม่ในการทำกุศลขณะนั้น เพราะการทำกุศลในขณะที่มีโลภะ โทสะ โมหะ ตัวใดตัวหนึ่งเกิดขึ้นเป็นเหตุ ๑ หรือเหตุ ๒ นั้น การกระทำธรรมทานในครั้งนั้นอกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว

ขอให้มีสติคิดก่อนทำธรรมทานค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2015, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อนริยโวหาร 8 อย่าง

1. สิ่งที่ตนไม่เห็น บอกว่าเห็น
2. สิ่งที่ตนไม่ได้ยิน บอกว่าได้ยิน
3. สิ่งที่ตนไม่พบ บอกว่าพบ
4. สิ่งที่ตนไม่รู้ บอกว่ารู้
5. สิ่งที่ตนเห็น บอกว่าไม่เห็น
6. สิ่งที่ตนได้ยิน บอกว่าไม่ได้ยิน
7. สิ่งที่ตนพบ บอกว่าไม่พบ
8. สิ่งที่ตนรู้ บอกว่าไม่รู้


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2015, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโมตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ข้อความบางส่วนจากวัดท่ามะโอ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่หาได้ยากมี ๒ จำพวก คือ
๑. คนที่ทำบุญคุณก่อน
๒. คนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ
ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า คนที่ทำบุญคุณก่อน เหมือนเจ้าหนี้ ส่วนคนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ เหมือนลูกหนี้ หมายความว่า ถ้าเราได้รับบุญคุณจากผู้อื่น ไม่จำกัดเพียงเงินทองสิ่งของ แม้กระทั่งการเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือการอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ก็ต้องรู้จักบุญคุณและตอบแทนในเวลาที่เหมาะสม จึงจะเป็นการปลดหนี้ของตัวเอง คนที่ยังไม่ได้ตอบแทนบุญคุณของผู้อื่น ก็เหมือนคนที่มีหนี้อยู่ ไม่อาจเป็นอิสระไปได้เลย

:b8: :b8: :b8:

ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดีค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2015, 11:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 21:44
โพสต์: 173

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b8: นโมตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ข้อความบางส่วนจากวัดท่ามะโอ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่หาได้ยากมี ๒ จำพวก คือ
๑. คนที่ทำบุญคุณก่อน
๒. คนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ
ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า คนที่ทำบุญคุณก่อน เหมือนเจ้าหนี้ ส่วนคนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ เหมือนลูกหนี้ หมายความว่า ถ้าเราได้รับบุญคุณจากผู้อื่น ไม่จำกัดเพียงเงินทองสิ่งของ แม้กระทั่งการเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือการอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ก็ต้องรู้จักบุญคุณและตอบแทนในเวลาที่เหมาะสม จึงจะเป็นการปลดหนี้ของตัวเอง คนที่ยังไม่ได้ตอบแทนบุญคุณของผู้อื่น ก็เหมือนคนที่มีหนี้อยู่ ไม่อาจเป็นอิสระไปได้เลย

:b8: :b8: :b8:

ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดีค่ะ


อนุโมทนา สาธุค่ะ ขอเอาข้อความไปลงนะค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2015, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
10 ตุลาคม ·
ความหลงในชีวิตมนุษย์

คนทั่วไปที่ประกอบอาชีพการงาน อยู่กับครอบครัว สังคม ฯลฯ เรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ ทำให้เข้าใจว่าเรามีสติไม่หลง แต่ที่จริงแล้วในขณะเหล่านั้นเราเกิดความหลงอยู่ตลอดเวลา เพราะเรารับรู้สมมติบัญญัติว่าเป็นเรา ของเรา อยู่ตลอดเวลา คือ เป็นตัวเราที่เดิน ยืน นั่ง นอน พูด คิด ซึ่งอาจเป็นรูปร่างที่เคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่ง หรือเป็นคำสื่อความหมายที่เราพูดกับตัวเองตลอดเวลา

การรับรู้สมมติบัญญัติคือ รูปร่างหรือคำสื่อความหมาย ทำให้เรายึดติดว่ามีตัวตน ส่งผลให้ปรุงแต่งอารมณ์ (สิ่งที่จิตรู้) ว่าดีหรือไม่ดี แล้วตอบสนองในเชิงลบหรือบวก เมื่อเป็นดังนี้ จิตของเราจะไม่อาจเป็นอิสระจากกิเลสได้

ทุกขณะที่เราไม่ได้เจริญสติ ความหลงหรือโมหะจะเกิดขึ้นตลอดเวลา บางคราวก็เกิดร่วมกับความโลภหรือความโกรธอีกด้วย ทำให้เราไม่เห็นโทษของความโลภและความโกรธ จึงพอใจจะอยู่กับสิ่งเหล่านั้น กิเลสเหล่่านี้เปรียบได้กับขโมย คือ ขโมยกุศลออกไปจากใจ หรือขโมยเวลาอันมีค่าออกไปจากใจ

ผู้ที่เจริญสติอยู่ คือ ระลึกรู้รูปนามในปัจจุบันขณะตามความเป็นจริง เช่น รู้สึกถึงสภาวะเบาในขณะยกเท้า สภาวะผลักดันในขณะย่างเท้า สภาวะหนักในขณะเหยียบเท้า หรือสภาวะพองยุบของท้อง หรือลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก โดยไม่รู้สึกว่ามีรูปร่างของสิ่งเหล่านั้น ก็จะกำจัดความหลงออกไปจากใจได้ เพราะรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่ามีรูปคือธาตุ ๔ หรือนามปรากฏขึ้นอย่างไรในขณะนั้น

ดังนั้น สติจึงกำจัดความประมาทที่หลงลืมการปฏิบัติธรรม จิตที่ประกอบด้วยความประมาทย่อมไหลไปตามอารมณ์ที่ตนชอบใจ ทำให้เกียจคร้าน ไม่อาจพัฒนาจิตให้สูงส่งกว่าเดิมได้

พระคันธสาราภิวงศ์

:b8: :b8: :b8:

https://www.facebook.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 3/?fref=nf

-------------------------------------------------------

การกระทำดีหรือกระทำชั่วนั้น เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อน
การกระทำชั่วนั้น ก็เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อน เมื่อประมาทไม่ใส่ใจ คิดว่าเล็กน้อย แต่จริงๆแล้วมันจะไม่เล็กน้อยอยู่เท่าเดิม เพราะมันจะมีการพัฒนาขึ้น จนไม่สามารถจะยับยั้งไว้ได้
เมื่อไม่สามารถระงับจุดเล็กนั้นได้ ก็จะขยายการกระทำให้กระทำมากขึ้นและแรงมากขึ้นกว่าเดิมต่อไปอีก

เมื่อเกิดความชั่วในใจ อย่าเห็นว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยละเลย เห็นว่าไม่เป็นอะไร นิดๆ หน่อยๆ ปล่อยใจให้ลงมือกระทำสิ่งที่ไม่ดีลงไป ก็จะเสพคุ้นกับความชั่วนั้น จนถ่ายถอนตัวไม่ขึ้น

แต่หากเป็นทางด้านฝ่ายดีนั้น เมื่อเริ่มจากจุดเล็กๆได้ ก็ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีในชีวิต จงเร่งรีบขยายให้ใหญ่ขึ้น ตามแต่โอกาสจะทำได้บ้าง หรือสิ่งใดที่เร่งขวนขวายได้ก็จงเร่งกระทำ อย่าปล่อยให้เลยผ่านไป เมื่อคิดจะทำแล้วจงทำให้สำเร็จลุล่วงอย่างสุดความสามารถ

และ การเกิดมาแล้วก็อย่าหลงติดอยู่กับกับดักที่ตนสร้างขึ้นมาให้มากนัก
พยายามรู้ให้เท่าทันกับกิเลสทั้งหลายที่จรเข้ามา พยายามให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
และพยายามเพิ่มพูนความดีให้มีมากขึ้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮือฮา! ฝรั่งเก็บขยะชายหาดประจวบฯกว่า10ปี

ฝรั่งออสซี่ รักเมืองไทย ชวนภรรยาสาวไทย และสุนัขอีก 2 ตัว ออกเก็บขยะริมชายหาดอ่าวประจวบฯ มากว่า 10 ปี เป็นประจำทุกวัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า (23 มี.ค.)พบชาวต่างชาติเดินเก็บขยะบริเวณชายหาดพร้อมภรรยาและสุนัข 2ตัว เป็นประจำ ทราบชือคือนายโรเบริ์ต เคเนดี้ หรือบ๊อบ อายุ 64 ปี ชาวออสเตรเลีย พร้อมภรรยาชาวไทยคือนางสินจัย เคเนดี้ อายุ 49 ปี และสุนัขพันธ์ไทยอีก 2 ตัว กำลังเก็บขยะใส่ถุงพลาสติคที่บริเวณชายหาดอ่าวประจวบคีรีขันธ์ด้านหน้าโรงแรมหาดทอง โดยใช้รถซาเล้งเป็นพาหนะในการเดินทาง

นายโรเบริ์ต กล่าวว่าตนและภรรยาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 2/8 หมู่บ้านสันติสุข เขตเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อดีตเคยเป็นทหารจี.ไอ.รบในประเทศเวียดนาม และเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ตรวจหนังสือเดินทางประจำสนามบินดอนเมือง หลังจากเกษียณอายุราชการ มีความรักและผูกพันกับประเทศไทย เนื่องจากคนไทยมีน้ำใจอัธยาศัยดี มีธรรมชาติที่สวยงาม จึงเดินทางมาซื้อบ้านพักอาศัยที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์พร้อมภรรยา และใช้เวลาว่างในช่วงเช้าและช่วงบ่ายได้ออกเดินเก็บขยะบริเวณชายหาดอ่าวประจวบคีรีขันธ์ อ่าวน้อย อ่าวมะนาวในกองบิน 5 ชายหาดด้านหน้าอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ในพื้นที่ ต.คลองวาฬ และบริเวณถนนสาธารณะ

นายโรเบริ์ต กล่าวต่อว่า ตนทำเป็นภารกิจประจำวันทุกวัน ต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ถือว่าเป็นการเดินออกกำลังกาย บางครั้งคนไทยที่เป็นนักท่องเที่ยวได้ออกมาร่วมกันเก็บขยะ เพื่อทำให้ชายหาดประจวบคีรีขันธ์มีความสวยงามและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม บางครั้งไม่ควรรอให้เป็นภาระของทางราชการที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆ แต่แปลกใจว่าหลังจากเก็บขยะมานานนับสิบปี จำนวนขยะแต่ละวันไม่เคยลดน้อยลง

..........................................................................
คนดี อยู่ที่ใด ก็พัฒนาที่ตรงนั้น
อย่างนี้เขาเรียกว่า ......อยู่บ้านท่านไม่นิ่งดูดาย มีจิตสำนึกที่ดี
เป็นคุณธรรมของชาวต่างชาติที่มาอยู่บ้านเมืองเรา

แล้วเราคนไทยล่ะ เราทำอะไรให้ประเทศเราบ้าง
บางคนไม่คิดจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
แต่ในทางกลับกัน กลับทำลายด้วยซ้ำ ด้วยคำพูดและการกระทำ

คนบางจำพวกที่อาศัยอยู่ที่ใด แต่กลับด่าที่ตรงนั้น
คนๆ นั้นย่อมเลวและต่ำทรามกว่าค่ะ

เกิดเป็นคนทั้งที ต้องมีจิตสำนึกที่ดี ต่อที่ๆตนอาศัยอยู่
อยู่ไหนก็จะต้องพัฒนาที่ตรงนั้น ไม่ใช่ทำให้ที่ตรงนั้นเสื่อม
ไม่ใช่มุ่งด่าทอดูถูกถิ่นที่ตนอาศัย

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว ลองสำรวจตนเองดูว่า เราทำอะไรที่ไม่ดีไม่งามบ้าง
ในชีวิตตนเองนั้น มีแต่ความโอ้อวด มีแต่ความเห็นผิด มีแต่ตัณหาราคะชูหราอวดใครมั้ย
มีแต่โทสะที่เข้าประหานคนอื่น มีแต่หลงตนเองจนมืดบอด มีแต่ฟุ้งซ่านไปวันๆ ฯ
ลองสำรวจดู อย่าเข้าข้างตนเอง แต่จงใช้พระธรรมของพระพุทธองค์เป็นเครื่องตัดสิน
ถ้ามีความไม่งามเกิดขึ้น ควรจะสำรวมให้มากขึ้นหรือจะรักษาความชั่วไว้ สุดแท้แต่ปัญญาที่มีได้
ว่าจะใช้ปัญญาฝ่ายไหนพัฒนาตนเอง จะใช้ ปัญญาฝ่ายดี หรือ ปัญญาฝ่ายชั่ว
ถ้าใช้ปัญญาฝ่ายดี ก็จะทำให้เกิดบุญกุศลแก่ตนเอง พัฒนาไปในทางที่ดี มีสุคติเป็นที่หวังได้
แต่ถ้าใช้ปัญญาฝ่ายชั่ว ก็ทำให้มืดบอดยากเกินถ่ายถอน พัฒนาไปในทางที่ชั่วมีอบายเป็นที่หวังได้

ขอให้ใช้พระธรรมนำทางชีวิต ซึ่งก็จะเป็นปัญญาฝ่ายดีแก่เรา อย่าใช้ปัญญาของตนเองเป็นเครื่องตัดสิน จะทำให้หลงทาง มัวเมาหลงตัวตนของตนเองในที่สุด

สำหรับท่านที่มีกาย วาจา ใจ น้อมไปในทางที่ดี และตั้งจิตคิดจะทำแต่สิ่งดีๆ ทั้งกับตนเองและผู้อื่น
ก็จะเป็นสิ่งที่ล้ำค่าเปรียบได้เหมือนรวงข้าวที่สมบูรณ์เต็มเมล็ดน้อมลู่ลงสู่ดิน เหมือนคนที่ดีพร้อม
ย่อมมีแต่ความอ่อนน้อมถ่อมตน จิตใจอ่อนโยน เข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ก็ขอให้รักษาความดีนี้ไว้ค่ะ


ข้าวรวงลีบ มักชูช่อชี้ฟ้า

ข้าวรวงหนา โน้มช่อลงต่ำ

ดั่งคนไม่มีดี มักอวดดีถือตน

ปราชญ์รู้จนถ่อมตน คนเมตตา

:b8: ขอบพระคุณ

คำกลอนดีจากเวปนี้ค่ะ
https://ponomy.wordpress.com/2013/10/13 ... %E0%B8%9F/

และข่าว ฮือฮา ฝรั่งเก็บขยะชายหาดฯ จากเวปนี้ค่ะ
http://news.sanook.com/1107126/

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2016, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


จะขอแนะนำเพื่อนๆ กัลยาณมิตรทั้งหลายค่ะว่า ให้อ่านคัมภีร์เนตติปกรณ์ กันบ้างก็ดีนะคะ

http://www.sriprawat.net/2.22c.htm

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


ขอเชิญฟัง
พระอภิธรรมจะนำสู่การปฎิบัติธรรม
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล - เสียง : บรรยายธรรม
http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... Itemid=132


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ประวัติของท่านพระพุทธโฆสะ ในหน้าที่ ๙ และ ๑๗ ขอเชิญเข้าไปอ่านค่ะ
http://www.scribd.com/doc/122655945/%E0 ... 9%E0%B8%93

ครั้นล่วงเวลาไปได้ ๙๕๖ ปี นับแต่กาลปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชา มีพระนามว่า มหานาม ทรงครองราชย์ในลังกาทวีป กล่าวกันว่าในชมพูทวีป(อินเดีย)สมัยนั้นมีพราหมณ์หนุ่มผู้หนึ่ง บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ณ ที่ใกล้สถานที่(พระพุทธเจ้า)ตรัสรู้ ในมัชฌิมประเทศ พราหมณ์หนุ่มนั้นเชี่ยวชาญในศิลปะทั้งปวง รู้จบไตรเพท ท่องเที่ยวไปตลอดหมู่บ้าน นิคมชนบท และราชธานีทั้งหลาย ในชมพูทวีป ณ ที่แห่งใดๆ มีสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตอยู่อาศัย ก็ไป ณ สถานที่แห่งนั้นๆ แล้วทำการสนทนาด้วยสมณะและพราหมณ์บัณฑิตพวกอื่นมิสามารถกล่าวแก้ปัญหาที่พราหมณ์หนุ่มนั้นถามได้ แต่พราหมณ์หนุ่มนั้นวิสัชนาปัญหาที่สมณะและพราหมณ์บัณฑิตพวกอื่นถามได้ ด้วยอาการอย่างนี้ พราหมณ์หนุ่มนั้นจึงครอบงำไปตลอดทั้งสากลชมพูทวีป แล้วเดินทางมาถึงวิหารแห่งหนึ่ง

แต่ทว่า ในวิหารนั้น มีพระภิกษุอยู่หลายร้อย พระเรวตะ ผู้เป็นพระสังฆเถระของพระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นพระมหาขีณาสพได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ผู้ทำลายวาทะของฝ่ายอื่น ครั้งนั้นแล พราหมณ์หนุ่ม ร่ายปตัญชลีมนต์ ให้มีปริมณฑล โดยสมบูรณ์อยู่ตลอดคืน ครั้นพระเถระได้ยินเสียงพราหมณ์(หนุ่ม)สาธยายอยู่ ก็รู้ได้ว่า
" พราหมณ์หนุ่มผู้นี้มีปัญญามาก เราควรฝึกฝนพราหมณ์หนุ่มผู้นั้นไว้ "
จึงเรียกพราหมณ์หนุ่มนั้นมาหา แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า " นี่แน่พราหมณ์, ใครหนอแล ร้องเหมือนเสียงฬาร้อง ? "
(พราหมณ์หนุ่มถามว่า) " ข้าแต่ท่านนักบวช ท่านรู้เสียง ร้องของฬาทั้งหลายด้วยหรือ ?"
(พระเถระตอบว่า) " จ้ะ ฉันรู้ "
แต่ว่า พราหมณ์หนุ่ม นั้น โดยตนเองก็ไม่เห็นนัยของฐานะที่เป็นเงื่อนงำในไตรเพทซึ่งมีอิติหาสเป็นอันดับ ๕ อยู่แล้ว อีกทั้งอาจารย์ของพราหมณ์หนุ่มนั้นก็ไม่เห็นเช่นกัน พราหมณ์หนุ่มนั้นจึงถามพระเถระในฐานะตรงที่เป็นเงื่อนงำเหล่านั้น แท้จริง พระเถระเป็นผู้จบไตรเพทแม้โดยปกติอยู่แล้ว แต่ ณ บัดนี้ ท่านได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ อีกด้วย เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่มีความหนักใจในการวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นได้ทันทีทันใด แล้วกล่าวกะพราหมณ์หนุ่มว่า

"ดูกรพราหมณ์ผู้เจริญ ฉันถูกท่านถามมากแล้ว บัดนี้จักขอถามปัญหากะท่านสักข้อหนึ่ง
ท่านจักพยากรณ์ปัญหาของฉันไหม ?"

พราหมณ์หนุ่มตอบว่า..."ได้ขอรับ ท่านนักบวช ,โปรดถามเถิด"

พระเถระจึงถามปัญหานี้ ใน (คัมภีร์ยมกตอน) จิตตยมกว่า
"จิตของบุคคลใดบังเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้นหรือ ?
ก็หรือว่า จิตของบุคคลใดจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้นบังเกิดขึ้นอยู่ ยังไม่ดับ..?"

พราหมณ์หนุ่มมิสามารถจำเบื้องบนหรือเบื้องล่าง (เบื้องต้น หรือ เบื้องปลาย) จึงเรียนถามว่า
"ข้าแต่ท่านนักบวช นี้มีชื่อว่าอะไร ?"

(พระเถระตอบว่า)..."ดูกรพราหมณ์ นี้มีนามว่า พระพุทธมนต์"
(พราหมณ์หนุ่มตอบว่า)..."ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แต่ว่า ท่านสามารถให้พระพุทธมนต์นี้แก่ข้าพเจ้าได้ไหม?"
(พระเถระตอบว่า)..."ดูกรพราหมณ์ เราสามารถให้ได้แก่บุคคลผู้ถือบวชอย่างที่พวกเราถืออยู่แล้ว"

ครั้นแล้วพราหมณ์หนุ่มก็ขอบรรพชา เพื่อต้องการ(ได้พระพุทธ) มนต์
พระเถระจึงให้พราหมณ์หนุ่มนั้นบรรพชา แล้วให้อุปสมบท
แล้วให้เล่าเรียนพระพุทธวจนะคือพระไตรปิฏก พระภิกษุนั้นได้ปรากฏแล้วในโลกว่า " พระพุทธโฆสะ "

(อ่านต่อที่ในหนังสือกันนะคะ)

-----------------------------------------------------------------------------------------
อนุโลมปุจฉา) ยํ สราคํ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ, ตํ สราคํ จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ น อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
ปฏิโลมปุจฉา) ยํ วา ปน สราคํ จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ น อุปฺปชฺชิสฺสติ, ตํ สราคํ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌตีติ?
๒ ปุจฉาพระบาลีด้านบน แปลได้ตามนี้ (อย่าลืมว่า ๑ ปุจฉา ก็คือ ๑ พระธรรมขันธ์ นะคะ)
อนุโลมปุจฉา) "จิตของบุคคลใดบังเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้นหรือ ?
ปฏิโลมปุจฉา) ก็หรือว่า จิตของบุคคลใดจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้นบังเกิดขึ้นอยู่ ยังไม่ดับ..?"


:b8: :b8: :b8:

เป็นอย่างไรบ้าง การปุจฉา-วิสัชนา หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๙๕๖ ปี
มีใครตอบได้บ้าง ลองเอาไปหาคำตอบกันดูนะคะ

แนวทางศึกษาพระอภิธรรม เขาศึกษากันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้วนะคะ
ไม่เช่นนั้นการศึกษาคัมภีร์ เรียนคัมภีร์ต่างๆ คงสูญไปนานแล้ว
ตราบใดที่ยังมีคนศึกษาพระอภิธรรม พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ก็ยังมีคนศึกษาสืบทอดต่อไปค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2016, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ทั้ง ๒ ปุจฉา-วิสัชนานี้เป็น ธรรมวาระ กาล ๕ ปัจจุบันนานาคตวาระ อุปปาทนิโรธกาลสัพเภทวาระ

อนุโลมปุจฉา) ยํ สราคํ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ, ตํ สราคํ จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ น อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
อนุโลมปุจฉา) "จิตของบุคคลใดบังเกิดขึ้น ยังไม่ดับ จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้นหรือ ?

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่
ส่วนแรกของคำถามเรียกว่า สันนิฏฐานบท ถามว่า " จิตของบุคคลใดบังเกิดขึ้น ยังไม่ดับ "
จิตของบุคคลใด บังเกิดขึ้น คำว่าบังเกิดขึ้นนี่คือตัวหลัก ที่ต้องใส่ใจ
ส่วน ยังไม่ดับ คือคำที่มาขยายคำว่า บังเกิดขึ้น
จิตที่บังเกิดขึ้นก็คือในขณะที่กำลังเกิดขึ้น จึงมาเน้นอีกทีว่าไม่ใช่กำลังดับนะ ใช่เป็นความจริง
จิตมี ๓ ขณะคือ เกิด ตั้ง ดับ

ส่วนที่สองของคำถามเรียกว่า สังสยบท ถามว่า " จิตของบุคคลนั้นจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้นหรือ "
จิตของบุคคลนั้น จักดับ คำนี้เป็นตัวหลักของคำถามช่วงนี้
ส่วน จักไม่บังเกิด คือคำที่มาขยายคำว่า จักดับ
จิตของบุคคลนั้นจักดับ ใช่จริง เพราะว่าในส่วนของสันนิฏฐานบท จิตบังเกิดขึ้น เมื่อมีเกิดขึ้นก็ต้องมีดับไป
ส่วน จักไม่บังเกิด นั้น ก็จริง เพราะว่า จิตที่ดับไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาเกิดได้อีก เป็นเพียงสภาวะ
สภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีได้แค่ครั้งเดียว สภาวะเกิดตั้งดับ ผ่านแล้วผ่านเลย สภาวะนั้นจะไม่สามารถหวนกลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้อีก จิตดวงเก่าดับไป จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เมื่อจิตดวงเก่าดับไป จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นอีก ฯลฯ
สอดคล้องกับคัมภีร์ปัฏฐาน อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ฯ จิตดวงเก่าดับไปเป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
ปฏิโลมปุจฉา) ยํ วา ปน สราคํ จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ น อุปฺปชฺชิสฺสติ, ตํ สราคํ จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌตีติ?
ปฏิโลมปุจฉา) ก็หรือว่า จิตของบุคคลใดจักดับ จักไม่บังเกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้นบังเกิดขึ้นอยู่ ยังไม่ดับ..?"
วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2016, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ยามมีชีวิตอยู่ก็เสพแต่สุขที่เกิดจากกามคุณอารมณ์
บางคนแก่เฒ่าแล้ว ยังหาเมียคราวหลานมานอนกก ไม่ได้เข้าใจชีวิตว่า ไม่มีความแน่นอน ความตายมาเยือนได้ทุกวินาที คนชั่วพยายามหาเงินมาให้ได้เยอะๆ ทุกวิถีทาง ไม่ได้คำนึงถึงความผิด ชอบ ชั่ว ดี

เมื่อตอนมีชีวิตอยู่ก็มีแต่คนสาปแช่ง ตอนเจ็บป่วยก็มีคนเร่งเอาใจช่วยให้ตายไวๆ จะได้ไปนรก
ตอนตายไปแล้ว คนก็สมน้ำหน้า ดีใจกันว่าได้ตกนรกเสียที นี่แหละหนาชีวิตคนทำชั่ว

ยามมีชีวิต ก็พยายามหาทางรวยให้เยอะ หารู้ไม่ว่า รวยแค่ไหนก็ต้องทิ้งมันไว้เป็นสมบัติของโลก ให้คนอื่นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเชยชมใช้ประโยชน์ ไม่ว่าที่ดิน ทรัพย์สมบัติเงินทองของมีค่า ทิ้งไว้ให้คนอื่นเชยชม จะบอกว่าเป็นของลูกเมียของคนตายเอง ทำไมจะให้ไม่ได้ ให้ได้ แต่หามาให้แบบผิดๆ แบบทุจริต ก็ไปชดใช้บาปกรรมในนรกล่ะกัน ใครอยากจะเสียสละขนาดนั้นก็รับรู้ไว้ว่า เมื่อเกิดมาแล้วหนีบาปกรรมไม่มีทางหนีพ้น เหมือนหนีความตาย หนีอย่างไรก็ไม่มีทางหนีพ้นไปได้อย่างเด็ดขาด

อย่าไปคดโกง กอบโกยอะไรมาอย่างทุจริต บาปจะติดตัวคนทำนั่นแหละ และตกถึงลูกหลานให้ร่วมกันชดใช้กรรมชั่วด้วย มรดกที่ทิ้งไว้ลูกหลานนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ คุณธรรม สั่งสอนให้ลูกหลานเป็นคนดีมีคุณธรรม ไม่ใช่ประพฤติตัวคดโกง ตัณหากลับ เป็นตัวอย่างให้ลูกหลานดู

ถ้าลูกหลานเป็นคนดีแล้ว เรามีสมบัติให้เค้าตามแต่ที่เราจะพยายามหามาได้อย่างสุจริตก็พอแล้ว ลูกหลานดีมีคุณธรรม ครอบครองสมบัติที่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หามาอย่างสุจริต ชีวิตในภายหน้าของลูกหลาน ไม่ต้องไปห่วงแล้ว ถึงสมบัติมีไม่มากมายแต่ก็รักษาให้เลี้ยงตนเองได้ และ พ่อแม่ปู่ย่าตายายก็ไม่ต้องทำบาป ให้ไปรับผลต้องทนทุกข์ทรมานในนรก เพราะทำแต่ความชั่วเพื่อให้ได้เงินทองร่ำรวย เพื่อให้ได้สมบัติมากมาย

เวลาไปทนทุกข์ทรมานในนรกนั้นเป็นเวลานานแสนนาน คุ้มหรือไม่ กับการที่จะแลกความร่ำรวยที่มาจากทุจริตในโลกมนุษย์และครอบครองไว้ได้เพียงระยะเวลาอันสั้น แค่เราสามารถครอบครองไว้ได้ไม่กี่ปี อย่างดีก็ไม่กี่ ๑๐ ปี ความตายก็มาพรากไป ให้ก็ต้องจากความร่่ำรวยไป

ดิฉันว่านะ แค่ไม่ไปนั่งถือกระบอกพลาสติกขอทาน แค่มีเงิน มีบ้านที่ดิน ให้อยู่สุขสบาย ก็พอแล้ว หามาได้อย่างสุจริตก็พอแล้ว แต่บางคนไม่พอ ทำทุจริตให้ร่ำรวยมหาศาล แล้วคุ้มหรือไม่กับการที่ได้ครอบครองสมบััตินั้นในระยะเวลาอันสั้น ถ้าใครไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ตายแล้วรู้เอง

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร