วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 21:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 02:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b12: :b12: :b12:
จะไปกลัวอะไรทำไมกับลุงโฮ...ผู้เฒ่าฟั่นเฟือนธรรม...
แสดงเหตุผลสู่กันฟังไปเรื่อยๆ เดียวผู้อ่าน ท่านจะมาช่วยกันตัดสินเองครับ
ว่าอันไหนใช่ธรรม อันไหนไม่ใช่ธรรม

สุดท้าย "ธรรมะ ย่อมชนะอธรรมเองครับ
:b4:

ลุงโสฯว่าผมเป็นผู้เฒ่า โสกะแก่กว่าผมเยอะครับ
หัวผมไม่หงอกสักเส้น แต่อุ้ยโสกะขาวโพนเต็มหัวเลยครับ
ขออภัยเดี๋ยวหาว่าลามปาม :b32:

:b12: :b12:

เคยได้ยินคำว่า "แก่แต่กายแต่ใจหนุ่มไหมครับ:b12:

ถ้าจิตเห็นผิดยึดถือกาย จิตใจย่อมจะแก่เฒ่าไปตามกายสังขาร
ทิ้งเห็นผิดเพียรละยึดผิดมาตั้งนาน
จิตดวงนั้นเลยไม่แก่ ตามกายไป

อย่าไปดูที่กายสังขาร คราบเน่าแล้วเอามาวัดแก่หนุ่มกันเลยนะโฮฮับ
จิตใจอโศกะยังเป็นหนุ่มระดับอายุ 16-17 ปีและจะเป็นอย่างนี้ไปอีกนาน
ถึงวันที่เข้าสอุปาทิเสสะนิพพานโน่นแหละจึงจะหายหนุ่มแต่หายโม้ด

สนุกๆ สบายๆ คลายเครียด สนทนาธรรมกันต่อนะครับ ลานธรรมจักรมีสีสรร ครึกครื้น ไม่เงียบเหงา
เพราะลุงโฮ กายหนุ่มคนนี้มานานแล้ว อนุโมทนาบุญของตัวเองบ้างนะครับลุงโฮ
:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
โค้ด:
:b1:

บางครั้ง...เวลาที่เสวนาธรรม...
ถ้าเรารู้ภูมิหลังผู้ที่เราเสวนาด้วย...
มันก็จะทำให้เรารู้ว่าเราควรจะเสวนาอย่างไร และควรจะหยุดเพื่ออะไร...
บางครั้งเราต้องป้องกันตัวเอง
ป้องกันผู้ที่เราสนทนาด้วย
ป้องกัน...ธรรมอันพระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว...
จาก...วิบัติ...

ถ้าการที่เราจะต้องหาเหตุผลมาเอาชนะ
และการได้มาซึ่งสิ่งนั้นมันจะทำให้อะไร ๆ มัน วิบัติ
เราก็ หยุดดีกว่า ...

:b1:


ผมคิดอย่างนี้เหมือนกัน

ความเห็นบางคนเปลี่ยนได้ บางคนเปลี่ยนไม่ได้

ก็เป็นกุศลอยู่ ถ้าเราจะช่วยทำให้ใครทุกข์ลดลงได้ แต่เท่าที่ดูผ่านๆมา โอกาสสำเร็จ น้อยกว่า 1 ในร้อยอีกมั้ง

แต่อีก 99% ที่ช่วยไม่ได้ ก็ต้องยอมรับนะ ว่าคนเหล่านี้เราช่วยไม่ได้ ไม่ใช่มัวแต่จะทู่ซี้พยายามอยู่นั่นละ พยายามจนบางทีเริ่มไม่แน่ใจเหมือนกันว่านี่จะช่วย หรือจะเอาชนะกันแน่

อย่างน้อยอย่างที่คุณเอกอนว่า กรณีนี้ เราก็ควรจะป้องกันตัวเอง และป้องกันคู่สนทนา แต่ผมมองต่างไปบ้าง

ป้องกันตัวเอง ไม่ให้กิเลสเราฟูขึ้นมาสู้กะเขา ไม่ให้จิตใจเราโดนดึงลงไป

ป้องกันคู่สนทนา คุยกะเราที่คิดต่างเขาก็คงขัดอกขัดใจจะแย่อยู่แล้ว เราต้องพยายามหยุดตัวเอง ไม่ไปกระตุ้นกิเลสเขาให้ฟูหนักกว่าเก่า

เลือกที่จะ agree to disagree ก็เป็นทางออกที่สมดุลดีทางหนึ่ง

เห็นอย่างนี้ยิ่งทำให้ผมนับถือพระพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ต่างๆมากขึ้นอีก ท่านสอนคนได้ยังไงให้มีความเห็นตรงได้ตั้งมากมาย


ผมว่าน่ะ ถ้าพวกเรายังเป็นแบบนี้ อีกนานกว่าจะเห็นธรรม
มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะเที่ยวไปพิจารณาคนอื่น ว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้
ทั้งหมดทั้งมวลมันก็ใจเราทั้งนั้น

การเข้ามาสนทนาธรรมในเว็บบอร์ด มันต้องรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร
หลักของการสนทนา สำคัญอยู่ที่หาเหตุผลมาสนทนาและเหตุผลนั้น
ต้องตรงกับประเด็น

ถามหน่อยมาแสดงฉันอาการเป็นผู้ดี(พระ) อีกฝ่ายเป็นผู้ร้าย(มาร).....มันใช่เรื่องมั้ย
คำพูดที่พูดออกมามันก็แค่ "ฉันแพ้ไม่ได้ ถึงฉันจะไม่มีเหตุผลมาแสดง แต่ฉันก็ยังเป็นคนดี
มองลงไปที่ใจตัวเองก่อนซิครับ ว่ากำลังหลงตัวเองหรือเปล่า โมหะกำลังวิ่งแล่นโจนทะยานในใจตัวเองใช่มั้ย

ถ้ามีสติเสียหน่อย ว่าเรากำลังแสดงความเห็นอยู่ในเว็บบอร์ด
ทุกสิ่งอย่างก็เป็นแค่ความเห็น เมื่อไม่มีเหตุผลมาโต้แย้ง ก็อย่าโหนธรรมะซิครับ มันคนล่ะเรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพูดธรรมะ เราต้องเอาศัพท์ของเขาเป็นตัวตั้ง เพราะอะไร ? เพราะศัพท์ทางธรรมนั้นๆ พระพุทธเจ้า ใช้สื่อใช้สอนใช้พูดกับคนในยุคสมัยโน้น เมื่อคนสมัยนี้นำมาใช้มาพูดก็ต้องใช้ต้องพูดตามความหมายของเขา ถูกไหม มิใช่เอาคำศัทท์ของเขามา แต่ไปคิดเอาเองไปตามอารมณ์ยังงั้น มันจะตรงกับความหมายของเขาได้อย่างไรกัน มันก็ไปไหนมา สามวาสองศอกเท่านั้นถูกไหม :b1:

ธรรมะ (ธมฺม) คืออะไร ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุยกับคุณโฮอีกกี่ทีก็เหมือนเดิม เหตุผลผมครบอยู่แต่แรกตั้งแต่ที่คุยกะคุณเอกอนเขาแล้ว ไม่ได้บอกชัดๆ แต่คนอ่านวิเคราะห์ดูก็คงเห็นได้ไม่ยาก จะให้แจงเหตุผลอีกเท่าไรก็คงไม่ตรงใจคุณโฮอยู่ดี เหมือนที่ครั้งก่อนๆก็ไม่เคยตรงใจคุณ

กับคุณโฮ ผมจบด้วย agree to disagree เช่นเคยครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
คุยกับคุณโฮอีกกี่ทีก็เหมือนเดิม เหตุผลผมครบอยู่แต่แรกตั้งแต่ที่คุยกะคุณเอกอนเขาแล้ว ไม่ได้บอกชัดๆ แต่คนอ่านวิเคราะห์ดูก็คงเห็นได้ไม่ยาก จะให้แจงเหตุผลอีกเท่าไรก็คงไม่ตรงใจคุณโฮอยู่ดี เหมือนที่ครั้งก่อนๆก็ไม่เคยตรงใจคุณ

กับคุณโฮ ผมจบด้วย agree to disagree เช่นเคยครับ


อย่าท้อครับ คุณธรรมดา หนุกดี ไม่มีอะไรในกอไผ่หรอก นอกจากหน่อไม้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การพูดธรรมะ เราต้องเอาศัพท์ของเขาเป็นตัวตั้ง เพราะอะไร ? เพราะศัพท์ทางธรรมนั้นๆ พระพุทธเจ้า ใช้สื่อใช้สอนใช้พูดกับคนในยุคสมัยโน้น เมื่อคนสมัยนี้นำมาใช้มาพูดก็ต้องใช้ต้องพูดตามความหมายของเขา ถูกไหม มิใช่เอาคำศัทท์ของเขามา แต่ไปคิดเอาเองไปตามอารมณ์ยังงั้น มันจะตรงกับความหมายของเขาได้อย่างไรกัน มันก็ไปไหนมา สามวาสองศอกเท่านั้นถูกไหม :b1:

ธรรมะ (ธมฺม) คืออะไร ?

กรัชกายเอ้ย! คำแปลก็คือคำแปล ความหมายก็คือความหมาย มันคนล่ะอย่างเข้าใจมั้ย

ที่สามวาสองศอกเป็นเพราะตัวเองไม่เข้าใจว่า "ความหมาย" คืออะไร

ก็มั่วแต่กับคำแปลมันก็อยู่แค่คำแปล แบบนี้เรียกว่า ขาดสาระ


กรัชกายรู้หรือเปล่าว่า ความหมายกับคำแปลแตกต่างกันตรงไหน

ความหมาย คือการอธิบายถึงเหตุที่มาที่ไปของคำแปลนั้น

พูดง่ายๆภาษาบ้านๆ คือคนที่เขาสามารถให้ความหมายของคำศัพท์ใดๆได้
ย่อมฉลาดกว่าคนที่แปลคำศัพท์ได้
ลึกลงไปอีกก็คือ คนที่ให้ความหมายของคำได้ ก็เปรียบเป็นมนุษย์
คนที่รู้แค่คำแปลก็เปรียบเป็น นกแก้ว นกขุนทอง

โคกระบือถูกคนเทียมแอกเทียมเกวียน มันไม่รู้หรอกว่ามันกำลังปลูกข้าว
มันรู้แค่กำลังลากไถ กำลังแบกแอก แค่นั้น :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 04:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การพูดธรรมะ เราต้องเอาศัพท์ของเขาเป็นตัวตั้ง เพราะอะไร ? เพราะศัพท์ทางธรรมนั้นๆ พระพุทธเจ้า ใช้สื่อใช้สอนใช้พูดกับคนในยุคสมัยโน้น เมื่อคนสมัยนี้นำมาใช้มาพูดก็ต้องใช้ต้องพูดตามความหมายของเขา ถูกไหม มิใช่เอาคำศัทท์ของเขามา แต่ไปคิดเอาเองไปตามอารมณ์ยังงั้น มันจะตรงกับความหมายของเขาได้อย่างไรกัน มันก็ไปไหนมา สามวาสองศอกเท่านั้นถูกไหม :b1:

ธรรมะ (ธมฺม) คืออะไร ?

กรัชกายเอ้ย! คำแปลก็คือคำแปล ความหมายก็คือความหมาย มันคนล่ะอย่างเข้าใจมั้ย

ที่สามวาสองศอกเป็นเพราะตัวเองไม่เข้าใจว่า "ความหมาย" คืออะไร

ก็มั่วแต่กับคำแปลมันก็อยู่แค่คำแปล แบบนี้เรียกว่า ขาดสาระ


กรัชกายรู้หรือเปล่าว่า ความหมายกับคำแปลแตกต่างกันตรงไหน

ความหมาย คือการอธิบายถึงเหตุที่มาที่ไปของคำแปลนั้น

พูดง่ายๆภาษาบ้านๆ คือคนที่เขาสามารถให้ความหมายของคำศัพท์ใดๆได้
ย่อมฉลาดกว่าคนที่แปลคำศัพท์ได้
ลึกลงไปอีกก็คือ คนที่ให้ความหมายของคำได้ ก็เปรียบเป็นมนุษย์
คนที่รู้แค่คำแปลก็เปรียบเป็น นกแก้ว นกขุนทอง

โคกระบือถูกคนเทียมแอกเทียมเกวียน มันไม่รู้หรอกว่ามันกำลังปลูกข้าว
มันรู้แค่กำลังลากไถ กำลังแบกแอก แค่นั้น :b13:



เอาสักอย่าง่หนึ่งอ้าว แปลก็ได้ ความหมายก็ได้ ธรรมะ (ธมฺม) หมายความอย่างไร หรือแปลว่าอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
คุยกับคุณโฮอีกกี่ทีก็เหมือนเดิม เหตุผลผมครบอยู่แต่แรกตั้งแต่ที่คุยกะคุณเอกอนเขาแล้ว ไม่ได้บอกชัดๆ แต่คนอ่านวิเคราะห์ดูก็คงเห็นได้ไม่ยาก จะให้แจงเหตุผลอีกเท่าไรก็คงไม่ตรงใจคุณโฮอยู่ดี เหมือนที่ครั้งก่อนๆก็ไม่เคยตรงใจคุณ

กับคุณโฮ ผมจบด้วย agree to disagree เช่นเคยครับ


นี่ก็เช่นกัน เป็นอีกอาการของคนที่ขาดเหตุผล แต่โดนโมหะเล่นงานจนต้องโหนธรรมะ

ไอ้"agree to disagree" ของคุณน่ะ เขาเอาไว้ใช่เตือนตัวเอง

ไม่ใช่มาแสดงออกว่า ฉัน "agree to disagree" แล้วก็จ้อทำนองว่า

ฉันไม่เห็นด้วยเหตุผลก็เพียงว่า อีกฝ่ายเป็นคนพาลเป็นคนไม่ดี

ย้ำถามไอ้"disagree"ของคุณน่ะ หาเหตุผลหรือ"agree "ได้ตรงไหน

เห็นมีแต่ยกยอตัวเอง โหนธรรมะ ทั้งๆที่ก็รู้อยู่แก่ใจว่า มันไม่่ได้เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ซักนิด

ขอสอนคุณหน่อยเถอะครับว่า สำนวน "agree to disagree" เขามีไว้เตือนสติตัวเอง

แล้วเตือนอะไร นั้นก็คือเมื่อเราไม่มีปัญญาหาเหตุผลในเรื่องที่เขากำลังสนทนากันอยู่
เราก็ควรอยู่เฉยๆ อย่าไปแสดงออก เพราะถ้าขืนไปแสดงออก อาการที่แสดงออกมันจะ
เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ "agree to disagree"

อาการนั้นก็คือ อวดดีแต่หาดีไม่ได้ครับ (นี่ไม่ได้ส่อเสียดนะครับ เพียงแค่จะชี้ที่มาของสำนวน
เพื่อเป็นความรู้) :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การพูดธรรมะ เราต้องเอาศัพท์ของเขาเป็นตัวตั้ง เพราะอะไร ? เพราะศัพท์ทางธรรมนั้นๆ พระพุทธเจ้า ใช้สื่อใช้สอนใช้พูดกับคนในยุคสมัยโน้น เมื่อคนสมัยนี้นำมาใช้มาพูดก็ต้องใช้ต้องพูดตามความหมายของเขา ถูกไหม มิใช่เอาคำศัทท์ของเขามา แต่ไปคิดเอาเองไปตามอารมณ์ยังงั้น มันจะตรงกับความหมายของเขาได้อย่างไรกัน มันก็ไปไหนมา สามวาสองศอกเท่านั้นถูกไหม :b1:

ธรรมะ (ธมฺม) คืออะไร ?

กรัชกายเอ้ย! คำแปลก็คือคำแปล ความหมายก็คือความหมาย มันคนล่ะอย่างเข้าใจมั้ย

ที่สามวาสองศอกเป็นเพราะตัวเองไม่เข้าใจว่า "ความหมาย" คืออะไร

ก็มั่วแต่กับคำแปลมันก็อยู่แค่คำแปล แบบนี้เรียกว่า ขาดสาระ


กรัชกายรู้หรือเปล่าว่า ความหมายกับคำแปลแตกต่างกันตรงไหน

ความหมาย คือการอธิบายถึงเหตุที่มาที่ไปของคำแปลนั้น

พูดง่ายๆภาษาบ้านๆ คือคนที่เขาสามารถให้ความหมายของคำศัพท์ใดๆได้
ย่อมฉลาดกว่าคนที่แปลคำศัพท์ได้
ลึกลงไปอีกก็คือ คนที่ให้ความหมายของคำได้ ก็เปรียบเป็นมนุษย์
คนที่รู้แค่คำแปลก็เปรียบเป็น นกแก้ว นกขุนทอง

โคกระบือถูกคนเทียมแอกเทียมเกวียน มันไม่รู้หรอกว่ามันกำลังปลูกข้าว
มันรู้แค่กำลังลากไถ กำลังแบกแอก แค่นั้น :b13:



เอาสักอย่าง่หนึ่งอ้าว แปลก็ได้ ความหมายก็ได้ ธรรมะ (ธมฺม) หมายความอย่างไร หรือแปลว่าอย่างไร



นี่เห็นมะ ถามเป็นงานเป็นการทีไร หลีกหลบได้ทุกที ถ้าเป็นเรื่องตีสำนวนเอาก่อนเลย คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาสักอย่าง่หนึ่งอ้าว แปลก็ได้ ความหมายก็ได้ ธรรมะ (ธมฺม) หมายความอย่างไร หรือแปลว่าอย่างไร

ได้อธิบายไปในกระทู้ของอุ้ยโสกะแล้วว่า กรัชกายมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้

ในความเห็นนี้ อยากจะยกตัวอย่าง เหตุที่มาของปัญหา
ที่มีลักษณะคล้ายๆกับที่กรัชกายกำลังเป็นอยู่

ความเห็นนี้ผมยืมอ้างอิงมาจากคุณวไลพร ออกตัวก่อนว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง
ในประเด็นความเห็นส่วนตัว เพียงแต่ยกเอาเนื้อหามาเท่านั้น.......


แก้ข้อความเรื่องนิพพาน เพราะสังเกตุแล้วว่า
เกิดความผิดพลาดในลายละเอียด
เอาไว้ผมไปตั้งกระทู้อธิบายเรื่อง นิพพานเป็นเรื่องเป็นราวดีกว่า
พูดหลายเรื่องในความเห็นเดียวแบบนี้มันทำให้พิมพ์ในสิ่งที่จะสื่อผิดพลาดได้ :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 29 ก.ย. 2013, 13:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เอาสักอย่าง่หนึ่งอ้าว แปลก็ได้ ความหมายก็ได้ ธรรมะ (ธมฺม) หมายความอย่างไร หรือแปลว่าอย่างไร

ได้อธิบายไปในกระทู้ของอุ้ยโสกะแล้วว่า กรัชกายมีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้

ในความเห็นนี้ อยากจะยกตัวอย่าง เหตุที่มาของปัญหา
ที่มีลักษณะคล้ายๆกับที่กรัชกายกำลังเป็นอยู่

ความเห็นนี้ผมยืมอ้างอิงมาจากคุณวไลพร ออกตัวก่อนว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง
ในประเด็นความเห็นส่วนตัว เพียงแต่ยกเอาเนื้อหามาเท่านั้น.......


อ้างคำพูด:
นิพพาน
สอุปาทิเสสนิพพาน(ดับภพชาติปัจจุบัน) และ อนุปาทิเสสนิพพาน(ดับภพชาติในวัฏฏสงสาร)
ตามตำราที่มีเขียนไว้

[27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana)

1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining)

2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)


หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า

1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)

2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ

1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่

2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

.........................


สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ยังมีอยู่ แต่เบาบางลง ตามเหตุปัจจัย
ได้แก่ นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ คือ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ถูกทำลายลง เป็นสมุจเฉทประหาน


เพราะชอบที่จะศึกษาหรือท่องจำคำศัพท์ แทนที่จะหาเหตุปัจจัยที่มาของคำ
การท่องจำคำศัพท์ มันเกิดผลอย่างไรลองดูซิ.....

แค่นิพพานอย่างเดียว ทำไมถึงมีความหมายที่แตกต่างแตกแยกออกไปหลายความหมาย
แบบนี้เขาเรียกเป็นการสร้างคำศัพท์ขึ้นมาใหม่ เมื่อสร้างคำขึ้นมาใหม่ มันจึงต้องแปล
เมื่อแปล มันก็ผิดเพี้ยนไปจากบัญญัติเดิมนั้น


ขอยกตัวอย่างการสร้างคำใหม่(ดูข้อความอ้างอิง)เช่น........

บอกว่า...สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ตามด้วย นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ
แบบนี้เรียกว่า สร้างคำขึ้นมาใหม่ ให้ความหมายผิดไปจากความหมายเดิม
ถ้าเป็นแบบนี้จึงต้องอาศัยคำแปล แต่ในความเป็นจริงมันผิดหลักธรรม ผิดพุทธพจน์

ตามหลักความเป็นจริงเราต้องศึกษา ด้วยความหมายของคำแต่ล่ะคำ
ไม่ใช่อ่านคำรวมแล้วหาคำแปล มันผิดในพุทธพจน์ดังที่กล่าวมาแล้ว

หลักการที่แท้คือ หาคำอธิบายของพุทธพจน์ในแต่ล่ะคำว่า มีความหมายอย่างไร
เมื่อได้ความหมายของพุทธพจน์แต่ล่ะคำแล้ว จึงค่อยเอามาพิจารณาประโยคโดยรวม
โดยให้ความหมายในพุทธพจน์นั้นสอดคล้องไม่ขัดกัน
ตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ

อย่างเช่น ข้อความที่ผมเอามาอ้างอิงที่ว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน คือนิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ
แบบนี้เขาเรียกว่า กล่าวผิดพุทธพจน์
สอุปาทิเสสหมายถึง ผู้ดับกิเลส ซึ่งมีพุทธวจนกล่าวไว้ใน สอุปาทิเสสสูตร
คือการดับกิเลสของบุคคลในแต่ละคน.... พระเสขะ

ส่วนนิพพานคือสภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว นั้นนคือไม่มีอุปาทิหลงหรืออยู่แล้ว
[b]ไปๆมาๆไงแปล สอุปาทิเสสนิพานเป็นนิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ได้อย่างไร
อันที่จริงมันต้องเป็น..........
สอุปาทิเสสนิพพาน คือบุคคลผู้ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่
เราเรียกบุคคลนี้ว่า.....อเสขะ


ต่อให้ยกให้อะไรต่ออะไรมาอ้างมาพูดมากมาย ถ้าเราไม่เข้าใจความหมายของเขา หรือเข้าใจความหมายของเขาผิดล่ะก็ เปล่าประโยชน์ครับ อย่างที่เคยพูดนับครั้งไม่่ถ้วนว่า เหมือนนกแก้วนกขุนทองที่พูดภาษาคนได้ แต่หารู้ความหมายของถ้อยคำที่ตนพูดนั้นไม่ ก็ไร้ประโยชน์ :b1:

http://www.youtube.com/watch?v=fH1lMz1w1sI

ไปเที่ยวๆๆๆ ไปเที่ยว ไปด้วยๆๆๆ ไปด้วยๆ

http://video.sanook.com/player/210777/% ... 4%E0%B9%89

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัย

คำว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และ อนุปาทิเสสนิพพาน
เท่าที่หามา ในคำสอนพระผู้มีพระภาคเจ้า หาไม่เจอ

เจอแต่คำเรียกนี้ ที่เป็นนิพพานปัจจุบัน ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบัน มีอยู่



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ


เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์


............................................

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้
ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า

พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ กำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย

เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ
อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0



หมายเหตุ:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ


นี่คือ ความหมายของนิพพาน ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรเข้าใจไว้ก่อนว่า ตามภาวะที่แท้จริง นิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่แยกประเภทออกไป ก็เพื่อแสดงอาการของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิพพานบ้าง พูดถึงนิพพานโดยปริยาย คือ ความหมายบางแง่บางด้านบ้าง



โดยพยัญชนะ หรือตามตัวอักษร นิพพาน มาจาก นิ อุปสรรค (แปลว่า ออกไป หมดไป ไม่มี เลิก) + วาน (แปลว่า พัด ไป หรือ เป็นไปบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง) ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือการดับไฟหรือของที่ร้อน เพราะไฟ แปลว่า ไฟดับ ดับไฟ หรือดับร้อน หมายถึงหายร้อน เย็นลง หรือเย็นสนิท (แต่ไม่ใช่ดับสูญ) แสดงภาวะทางจิตใจ หมายถึง เย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรน ไม่มีความกระวนกระวาย หรือแปลว่า เป็นเครื่องดับกิเลส คือทำให้ราคะ โทสะ โมหะ หมดสิ้นไป ในคัมภีร์รุ่นรองและอรรถกถาฎีกาส่วนมาก นิยมแปลว่า ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด หรือออกไปแล้วจากตัณหาที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทของนิพพาน


การแบ่งประเภทนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือ ที่แบ่งเป็น นิพพานธาตุ ๒ ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ ได้แก่

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื่อเหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื่อเหลือ


สิ่งที่เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทในที่นี้คือ "อุปาทิ" ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่ สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง หรือสภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕) เมื่อถือความตามคำอธิบายนี้ จึงได้ความหมายว่า

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้อง กับ เบญจขันธ์

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ไม่เกี่ยวข้อง กับ เบญจขันธ์


นิพพานอย่างแรก แปลความหมายกันต่อไปอีกว่า หมายถึงดับกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า กิเลสปรินิพพาน (ดับกิเลสสิ้นเชิง)

ส่วนนิพพานอย่างที่สอง ก็แปลความหมายกันต่อไปว่า ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุุ่นอรรถกถาว่า ขันธปรินิพพาน (ดับขัีนธ์ ๕ สิ้นเชิง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความแจ่มชัด และให้ผู้ศึกษาพิจารณาด้วยตนเอง ขอคัดข้อความตามพระบาลีเรื่องนี้มาลงไว้ ดังนี้


"แท้จริง พระสุตรนี้ พระผู้มีพระภาคองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ กล่าวคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"

"ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ อินทรีย์ ๕ ของเธอยังดำรงอยู่เทียว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย เธอย่อมได้เสวยอารมณ์ทั้งที่ึพึงใจและไม่พึงใจ ย่อมเสวยทั้งสุขและทุกข์ อันใด เ็ป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของเธอ อันนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"


"ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว....หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิต) ทั้งปวง ในอัตภาพนี้แหละของเธอ ซึ่งเธอไม่ติดใจพัวพันแล้ว (อนภินันทิต) จักเ็ป็นของเย็น ข้อนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"


ต่อจากนี้ มีคาถาสำทับความอีกว่า


"นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ พระผู้ทรงจักษุ ผู้คงที่ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ได้ทรงประกาศไว้แล้ว คือ นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง เ็ป็นทิฏฐธัมมิกะ (มีในปัจจุบัน หรือทันตาเห็น) ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่ง เ็ป็นสัมปรายิกะ (มีในเบื้องหน้า หรือเป็นของล้ำ) เ็ป็นที่ภพทั้งหลายดับไปหมดสิ้น ชื่อว่า อนุปาทิเสส"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร