วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยครับ

"พึงปฏิบัติธรรม เหมือนการปลูกต้นผลไม้เถิด"[/color]

งานและหน้าที่ของคนปลูกต้นผลไม้ มีไม่กี่อย่างคือ
รดน้ำ
ใส่ปุ๋ย
พรวนดิน
ดายหญ้า
คอยกำจัดศัตรู โรคแมลง
ตัดแต่งกิ่ง


งานออกดอกออกผล เป็นหน้าที่ของต้นผลไม้ อย่าใจร้อนไปหวังและทำแทนต้นผลไม้....คือเร่งให้ ต้นผลไม้ออกดอกออกผลเร็วๆ ไวๆ ให้ทันดั่งใจเจ้าของ กันเลย

นี่แหละคือธรรม....ธรรมด๊า ธรรมดา

:b36:


ทางลัดของการปฏิบัติธรรม มี อยู่ที่

สติปัญญา รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ไม่ขาดสาย และไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง"





อ้างคำพูด:
ปัจจุบันอารมณ์


เ็ห็นคุณอโศก พูดบ่อยๆ และพูดทั่วๆไป ปัจจุบัน+อารมณ์ (ปัจจุบันอารมณ์) ช่วยบอกชัดๆเพื่อให้ผู้ปฏิบัตินำไปทำกันไ้ด้เอง "ปัจจุบันอารมณ์" นี่ทำยังไง ถึงจะเป็นปัจจุบันอารมณ์

:b12: :b12: :b12:
"ปัจจุบันอารมณ์ คือสิ่งที่ รู้ ขึ้นมาในจิต ณบัดเดี๋ยวนั้น"

ถ้าสตินทรีย์เจตสิกเกิดขึ้นมารู้ทันเป็นเงาต่อจากจิตดวงที่รู้นั้น เรียกว่า สติ รู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์"

เครื่องมือช่วยสังเกตว่าสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือไม่ คือ.....ความคิดนึก หรือ มโนกรรม ไม่เกิด มีแต่ รู้ กับ รู้ทัน

สิ่งที่บอกมานี้ มีแต่ทดสอบดูด้วยตนเองจึงรู้ ไม่มีบอกอยู่ในตำรา
:b12: :b12: :b12:


สิ่งที่คุณเขียนมา เพ้อเจ้อ อะไรกันหรือขอรับ

สติหมายถึงอะไรหรือขอรับ ที่กล่าวว่า สติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มันมีความหมายว่าอย่างไรขอรับ

สติ หมายถึง ความระลึกได้ ไม่ใช่หรือขอรับ คุณจะมีสติได้ คุณต้องมีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว คุณจะมีสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวได้ คุณต้องมี สมาธิ เป็นปัจจัยที่สำคัญประกอบอยู่ด้วยกัน คุณจะรู้อารมณ์ในปัจจุบันได้ คุณต้องมี สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ไม่ใช่มีเพียงสติ
สติเอาไว้ระลึกนึกถึง ข้อมูลต่างๆหรือความจำประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อกระทำหรือปฏิบัติ ทั้งทาง กาย วาจา และใจ สำหรับทางใจ เมื่อได้รับการสัมผัสแล้วก็จะเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะเรียกว่า เป็นอารมณ์ หรือ ความรู้สึกก็ได้


คำว่า "สติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์" ใช้ไม่ถูก จะเรียกว่า ไม่รู้ แต่อยากโชว์ว่ารู้ ก็ยังได้เลยขอรับ เพราะ สติ คือ การระลึกได้ ทำให้เกิดการปรุงแต่ง(สังขาร) จึงจะทำให้เกิด อารมณ์ หรือ ความรู้สึก ซึ่งก็ล้วนต้องมี สัมปชัญญะ และสมาธิ เป็นสิ่งประกอบรวมอยู่ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 08:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยครับ

"พึงปฏิบัติธรรม เหมือนการปลูกต้นผลไม้เถิด"[/color]

งานและหน้าที่ของคนปลูกต้นผลไม้ มีไม่กี่อย่างคือ
รดน้ำ
ใส่ปุ๋ย
พรวนดิน
ดายหญ้า
คอยกำจัดศัตรู โรคแมลง
ตัดแต่งกิ่ง


งานออกดอกออกผล เป็นหน้าที่ของต้นผลไม้ อย่าใจร้อนไปหวังและทำแทนต้นผลไม้....คือเร่งให้ ต้นผลไม้ออกดอกออกผลเร็วๆ ไวๆ ให้ทันดั่งใจเจ้าของ กันเลย

นี่แหละคือธรรม....ธรรมด๊า ธรรมดา

:b36:


ทางลัดของการปฏิบัติธรรม มี อยู่ที่

สติปัญญา รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ไม่ขาดสาย และไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง"





อ้างคำพูด:
ปัจจุบันอารมณ์


เ็ห็นคุณอโศก พูดบ่อยๆ และพูดทั่วๆไป ปัจจุบัน+อารมณ์ (ปัจจุบันอารมณ์) ช่วยบอกชัดๆเพื่อให้ผู้ปฏิบัตินำไปทำกันไ้ด้เอง "ปัจจุบันอารมณ์" นี่ทำยังไง ถึงจะเป็นปัจจุบันอารมณ์

:b12: :b12: :b12:
"ปัจจุบันอารมณ์ คือสิ่งที่ รู้ ขึ้นมาในจิต ณบัดเดี๋ยวนั้น"

ถ้าสตินทรีย์เจตสิกเกิดขึ้นมารู้ทันเป็นเงาต่อจากจิตดวงที่รู้นั้น เรียกว่า สติ รู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์"

เครื่องมือช่วยสังเกตว่าสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือไม่ คือ.....ความคิดนึก หรือ มโนกรรม ไม่เกิด มีแต่ รู้ กับ รู้ทัน

สิ่งที่บอกมานี้ มีแต่ทดสอบดูด้วยตนเองจึงรู้ ไม่มีบอกอยู่ในตำรา
:b12: :b12: :b12:


สิ่งที่คุณเขียนมา เพ้อเจ้อ อะไรกันหรือขอรับ

สติหมายถึงอะไรหรือขอรับ ที่กล่าวว่า สติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มันมีความหมายว่าอย่างไรขอรับ

สติ หมายถึง ความระลึกได้ ไม่ใช่หรือขอรับ คุณจะมีสติได้ คุณต้องมีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว คุณจะมีสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวได้ คุณต้องมี สมาธิ เป็นปัจจัยที่สำคัญประกอบอยู่ด้วยกัน คุณจะรู้อารมณ์ในปัจจุบันได้ คุณต้องมี สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ไม่ใช่มีเพียงสติ
สติเอาไว้ระลึกนึกถึง ข้อมูลต่างๆหรือความจำประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อกระทำหรือปฏิบัติ ทั้งทาง กาย วาจา และใจ สำหรับทางใจ เมื่อได้รับการสัมผัสแล้วก็จะเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะเรียกว่า เป็นอารมณ์ หรือ ความรู้สึกก็ได้


คำว่า "สติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์" ใช้ไม่ถูก จะเรียกว่า ไม่รู้ แต่อยากโชว์ว่ารู้ ก็ยังได้เลยขอรับ เพราะ สติ คือ การระลึกได้ ทำให้เกิดการปรุงแต่ง(สังขาร) จึงจะทำให้เกิด อารมณ์ หรือ ความรู้สึก ซึ่งก็ล้วนต้องมี สัมปชัญญะ และสมาธิ เป็นสิ่งประกอบรวมอยู่ด้วย

:b12:
เจออีกคนหนึ่งแล้วที่ติดอยู่ในคำแปลของสติ ว่า ระลึกได้ จึงทำให้ไม่รู้หน้าที่ของสติอย่างครบถ้วน

งานและหน้าที่ของสติคือ
รู้ทัน
ระลึกได้
ไม่ลืม
สติ รู้ทัน กับ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นคนละหน้าที่กัน

ความรู้ทันการเกิดขึ้น ดับไปของอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ เป็นหน้าที่ของสติโดยแท้

ถ้าจะพูดโดยอิงคำแปลว่าระลึกรู้ ก็อาจบอกว่า........"ระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์"
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ที่ให้ดู ไม่ไ้ด้หวังว่า จะให้เชื่อนะครับ นำมาให้ดูความหมาย คำว่า ปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันธรรม ...ภาคการฝึกจิต (โยนิโสมนสิการแบบหนึ่ง)

อ้างคำพูด:
เป็นอยู่ในปัจจุบัน...หมายถึงมีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆขณะ ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจขึ้น ก็ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้น ที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีต (เรียกว่า ตกอดีต) ตามไม่ทันของจริง หลุดหลงพลาดไปจากขณะปัจจุบันแล้ว หรือ จิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบัน คิดฝันไปตามความรู้สึกที่เกาะเกี่ยวกับภาพเลยไปข้างหน้าของสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต


สรุปง่ายๆว่า ความเป็นปัจจุบันทางธรรมขั้นปฏิบัติทางจิต กำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องต้องรู้ต้องทำเป็นสำคัญ

http://group.wunjun.com/meditation/topic/435447-14345



:b12: :b12: :b12:
ปัจจุบัน ปัจจุบันธรรม กับปัจจุบันอารมณ์ เป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับคุณกรัชกาย

อันแรกว่าคลุมไปทุกอารมณ์ อันที่สองชี้ชัดไปที่อารมณ์เดียว

สังเกตดูจากความจริงขณะนี้ มีปัจจุบันตั้งหลายปัจจุบันซ้อนกันอยู่ ดูดีๆนะครับ หัวใจเต้น ลมหายใจ หูกระทบเสียง ความคิด ตาเห็นรูป กายกระทบ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจกระทบอารมณ์.......
แต่ปัจจุบันทัั้งหมดนั้นมีอันเดียวที่รู้ชัดขึ้นมาในจิตขณะนั้น อันนั้นเรียกว่า "ปัจจุบันอารมณ์"

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต้องกระทำที่ปัจจุบันอารมณ์

ความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์เป็น สติ

ความรู้ทั่วทุกปัจจุบันที่ปรากฏ เรียกว่า "สัปชัญญะ"


คุณอโศก บอกความหมายคำว่า ปัจจุบัน, อารมณ๋์, ธรรม สิครับ



รอฟังคำตออยู่นะครับ ตอบช้าๆชัดๆ เอาเลยครับ คุณอโศก อย่าให้กรัชกายโมโหนะครับ :b33: เป็นเรื่อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
sriariya เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
asoka เขียน:
:b8:
สาธุ อนุโมทนาบุญด้วยครับ

"พึงปฏิบัติธรรม เหมือนการปลูกต้นผลไม้เถิด"[/color]

งานและหน้าที่ของคนปลูกต้นผลไม้ มีไม่กี่อย่างคือ
รดน้ำ
ใส่ปุ๋ย
พรวนดิน
ดายหญ้า
คอยกำจัดศัตรู โรคแมลง
ตัดแต่งกิ่ง


งานออกดอกออกผล เป็นหน้าที่ของต้นผลไม้ อย่าใจร้อนไปหวังและทำแทนต้นผลไม้....คือเร่งให้ ต้นผลไม้ออกดอกออกผลเร็วๆ ไวๆ ให้ทันดั่งใจเจ้าของ กันเลย

นี่แหละคือธรรม....ธรรมด๊า ธรรมดา

:b36:


ทางลัดของการปฏิบัติธรรม มี อยู่ที่

สติปัญญา รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ไม่ขาดสาย และไร้ปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง"





อ้างคำพูด:
ปัจจุบันอารมณ์


เ็ห็นคุณอโศก พูดบ่อยๆ และพูดทั่วๆไป ปัจจุบัน+อารมณ์ (ปัจจุบันอารมณ์) ช่วยบอกชัดๆเพื่อให้ผู้ปฏิบัตินำไปทำกันไ้ด้เอง "ปัจจุบันอารมณ์" นี่ทำยังไง ถึงจะเป็นปัจจุบันอารมณ์

:b12: :b12: :b12:
"ปัจจุบันอารมณ์ คือสิ่งที่ รู้ ขึ้นมาในจิต ณบัดเดี๋ยวนั้น"

ถ้าสตินทรีย์เจตสิกเกิดขึ้นมารู้ทันเป็นเงาต่อจากจิตดวงที่รู้นั้น เรียกว่า สติ รู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์"

เครื่องมือช่วยสังเกตว่าสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือไม่ คือ.....ความคิดนึก หรือ มโนกรรม ไม่เกิด มีแต่ รู้ กับ รู้ทัน

สิ่งที่บอกมานี้ มีแต่ทดสอบดูด้วยตนเองจึงรู้ ไม่มีบอกอยู่ในตำรา
:b12: :b12: :b12:


สิ่งที่คุณเขียนมา เพ้อเจ้อ อะไรกันหรือขอรับ

สติหมายถึงอะไรหรือขอรับ ที่กล่าวว่า สติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ มันมีความหมายว่าอย่างไรขอรับ

สติ หมายถึง ความระลึกได้ ไม่ใช่หรือขอรับ คุณจะมีสติได้ คุณต้องมีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว คุณจะมีสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวได้ คุณต้องมี สมาธิ เป็นปัจจัยที่สำคัญประกอบอยู่ด้วยกัน คุณจะรู้อารมณ์ในปัจจุบันได้ คุณต้องมี สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ไม่ใช่มีเพียงสติ
สติเอาไว้ระลึกนึกถึง ข้อมูลต่างๆหรือความจำประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อกระทำหรือปฏิบัติ ทั้งทาง กาย วาจา และใจ สำหรับทางใจ เมื่อได้รับการสัมผัสแล้วก็จะเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะเรียกว่า เป็นอารมณ์ หรือ ความรู้สึกก็ได้


คำว่า "สติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์" ใช้ไม่ถูก จะเรียกว่า ไม่รู้ แต่อยากโชว์ว่ารู้ ก็ยังได้เลยขอรับ เพราะ สติ คือ การระลึกได้ ทำให้เกิดการปรุงแต่ง(สังขาร) จึงจะทำให้เกิด อารมณ์ หรือ ความรู้สึก ซึ่งก็ล้วนต้องมี สัมปชัญญะ และสมาธิ เป็นสิ่งประกอบรวมอยู่ด้วย

:b12:
เจออีกคนหนึ่งแล้วที่ติดอยู่ในคำแปลของสติ ว่า ระลึกได้ จึงทำให้ไม่รู้หน้าที่ของสติอย่างครบถ้วน

งานและหน้าที่ของสติคือ
รู้ทัน
ระลึกได้
ไม่ลืม
สติ รู้ทัน กับ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นคนละหน้าที่กัน

ความรู้ทันการเกิดขึ้น ดับไปของอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ เป็นหน้าที่ของสติโดยแท้

ถ้าจะพูดโดยอิงคำแปลว่าระลึกรู้ ก็อาจบอกว่า........"ระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์"
:b38:


ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า.... ใครบอกคุณว่าข้าพเจ้าแปล เพ้อเจ้อ ปรุงแต่งตามความคิดของตัวคุณไปเอง คุณไปเอาคำแปลหรือความหมายของคำว่า สติที่ไหนมา ตอบหน่อยซิ

คุณอ่านภาษาไทย และคุณรู้จักระบบการทำงานของร่างกายดีแล้วหรือ จึงทำเป็นโชว์ว่ารู้จัก งานและหน้าที่ของสติ
ความรู้ของคุณ มันเป็นความรู้ที่ปรุงแต่งขึ้นมาเอง ไม่ได้เป็นความรู้จริงตามธรรมชาติ

ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์โลกอย่างคุณให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่งว่า
คำว่า สติ คือ การทำงานของระบบประสาทฯลฯ ทำให้เกิดศัพท์ภาษาที่เรียกว่า ระลึกไดั นึกถึง หรือนึกได้ ฯลฯ

คุณบอกว่า สติรู้ทัน คุณรู้ทันอะไรหรือขอรับ คุณอย่าตอบว่า รู้ทันสติ เพราะคำว่า รู้ทัน สติ หมายถึง รู้ทันการระลึกได้ รู้ทันการนึกถึงได้

เพราะไอ้ตัวรู้ทัน ก็คือ สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว เกิดขึ้นได้เพราะมีสมาธิ เมื่อมีสัมปชัญญะคือ รู้สึกตัว หรือจะเรียกว่า รู้ทันก็ได้ ย่อมสามารถบังคับควบคุม สติ คือ การระลึกได้ การนึกถึง หรือ นึกได้ ถ้าคุณไม่รู้สึกตัวทั่วพร้อมดังที่คุณกล่าวมา ก็ไม่มีทางที่จะรู้จักควบคุมสติ(คือไม่รู้จักควบคุมการระลึกได้ การนึกถึงหรือนึกได้ ฯลฯ หรืออาจจะไม่เกิดสติด้วยซ้ำไป)


เพราะระบบการทำงานของร่างกาย ในแง่ของระบบประสาท มีอยู่สองระบบ คือ ระบบ อัตโนมัติ ไม่สามารถควบคุมได้ กับระบบกึ่งอัตโนมัติ สามารถควบคุมได้ (คำว่ากึ่งอัตโนมัติ เป็นคำบัญญัติของข้าพเจ้าในตำราทางการแพทย์ไม่เรียกอย่างนี้)
การระลึกได้ หรือการนึกถึง หรือการนึกได้ หรือ สติ ก็เป็นไปตามระบบทั้งสองระบบ คือ เป็นไปทั้งระบบ อัตโนมัติ และทั้งระบบ กึ่งอัตโนมัติ

สติ ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อมือหรือผิวหนังได้รับการสัมผัสจาก ความร้อน ความเย็น ระบบข้อมูลภายในสมองก็จะสั่งการให้ดึงมือหนี หรือขยับให้ห่างจากความร้อน ความเย็นนั้น อย่างนี้เป็นต้น การที่ดึงมือหนึหรือขยับให้ห่่างจากความร้อน ความเย็น คือ สติ แต่คุณจะมีสติได้ คุณก็ต้องมีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ถ้าไม่รู้สึกตัว ก็ไม่มีสติ เข้าใจไหม


สติ ที่ทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ เช่น เมื่อเราได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย ระบบข้อมูลก็จะนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาปรุงแต่ง ทำให้เกิดความคิดต่างๆ การที่ ร่างกายนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาปรุงแต่ง ทำให้เกิดความคิด ก็คือ สติ หากบุคคลมีสมาธิดี มีความรู้สึกตัว คือ สัมปชัญญะ ก็จะรู้จักควบคุมความคิด มิให้เกิดพฤติกรรม ต่างๆ ตามข้อมูลความรู้ความเข้าใจตามการได้รับการขัดเกลาทางสังคม อย่างนี้เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นสมาธิที่เรียกว่าขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะเป็ฯการนำสติสัมปชัญญะ
มาเจริญสมาธิโดยไม่ได้เป็นสมาธิที่เป็นการเพ่งให้ได้ฌาน ยกตัวอย่างเราเดินไปมีแดดส่งก็ร้อนก็เอาสติ
มาที่ถูกต้องผิวหนังคือร้อน และขณะนั้นได้ยินเสียงนกก็เอาสติไปที่เสียง

ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ ผิดถูกประการใดก็ขอเชิญสมาชิกท่านอื่นแสดงความคิดเห็นได้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
ผมขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นสมาธิที่เรียกว่าขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะเป็ฯการนำสติสัมปชัญญะ
มาเจริญสมาธิโดยไม่ได้เป็นสมาธิที่เป็นการเพ่งให้ได้ฌาน ยกตัวอย่างเราเดินไปมีแดดส่งก็ร้อนก็เอาสติ
มาที่ถูกต้องผิวหนังคือร้อน และขณะนั้นได้ยินเสียงนกก็เอาสติไปที่เสียง

ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ ผิดถูกประการใดก็ขอเชิญสมาชิกท่านอื่นแสดงความคิดเห็นได้นะครับ


ขออภัยขอรับ ความคิดเห็นของคุณ ไม่ถูกต้องขอรับ ปกติก็เห็นคุณเขียนอะไรต่อมิอะไรมากมายแต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยอ่านนะขอรับ เพราะความคิดความรู้ของข้าพเจ้า แตกต่างจากความคิดความรู้ของคุณ

คุณอย่าเอา ลักษณะอาการ ของการปฏิบัติสมาธิ มาผสมปนเปกับ การปฏิบัติวิปัสสนา มันคนละเรื่องกัน ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ลักษณะอาการของการปฏิบัติสมาธิ ก็เพราะ สมาธิ ๓ ขณิก,อุปจาร,อุปปนา เป็นเพียงการบอกอาการให้ผู้ปฏิบัติได้รู้ว่า ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ เกิดวิตกวิจาร ปิติ สุข นั่นเรียกว่า ขณิกสมาธิ คือ เกิดความสงบใจชั่วขณะ พอเกิดวิตกวิจาร ก็ฟุ้งซ่านอีกเป็นอย่างนั้น วนเวียนกันไป

ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ เกิดวิตกวิจาร ปีติ สุข อุเบกขา นั่นเรียกว่า อุปจารสมาธิ คือ จวนเจียนจะได้สมาธิ หรือเกือบถึง หรือเฉียด สมาธิ แต่ยังไม่ถึงสมาธิ

ถ้าคุณปฏิบัติ สมาธิ เกิดวิตกวิจาร ปีติ สุข อุเบกขา เอกัคคตา นั่นเรียกว่า อัปปนาสมาธิ คือ เกิดสมาธิแน่วแน่ ใจสงบหนักแน่น อย่างนี้เป็นต้น

แต่ถ้าจะกล่าวในทางปุถุชนคนทั่วไป สมาธิ ๓ ก็จะเกิดหมุนเวียนกันไป ตามแต่ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การได้รับการสัมผัส ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป อย่างนี้เป็นต้น

สำหรับการวิปัสสนา คุณก็กล้บไปอ่าน กระทู้ที่ข้าพเจ้าเขียนสอนไว้ แล้วพิจารณาไปตามลำดับ ก็จะเกิดปัญญาด้วยตัวของคุณเอง
ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2013, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
ผมขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นสมาธิที่เรียกว่าขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะเป็นการนำสติสัมปชัญญะ
มาเจริญสมาธิโดยไม่ได้เป็นสมาธิที่เป็นการเพ่งให้ได้ฌาน ยกตัวอย่างเราเดินไปมีแดดส่งก็ร้อนก็เอาสติ
มาที่ถูกต้องผิวหนังคือร้อน และขณะนั้นได้ยินเสียงนกก็เอาสติไปที่เสียง

ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ ผิดถูกประการใดก็ขอเชิญสมาชิกท่านอื่นแสดงความคิดเห็นได้นะครับ


:b20: :b20: :b20:

คนรสมน รู้มั๊ย...ว่าสมาชิกที่เตาะแตะอยู่ในลานนี้มานาน
เอกอนเชื่อว่าพวกเขาต่างเฝ้ามองคุณรสมน
ด้วยความรู้สึกเช่นเดียวกับที่เอกอนเองก็เฝ้ามองคุณรสมนมาตลอด
....
ได้เห็นคุณรสมนสนทนาโต้ตอบแย๊วววววว

:b27: :b27: :b27:

เล็ก ๆ น้อย ๆ ยังไงก็อยากได้ยินเสียง...

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
รสมน เขียน:
ผมขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นสมาธิที่เรียกว่าขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะเป็ฯการนำสติสัมปชัญญะ
มาเจริญสมาธิโดยไม่ได้เป็นสมาธิที่เป็นการเพ่งให้ได้ฌาน ยกตัวอย่างเราเดินไปมีแดดส่งก็ร้อนก็เอาสติ
มาที่ถูกต้องผิวหนังคือร้อน และขณะนั้นได้ยินเสียงนกก็เอาสติไปที่เสียง

ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ ผิดถูกประการใดก็ขอเชิญสมาชิกท่านอื่นแสดงความคิดเห็นได้นะครับ


ขออภัยขอรับ ความคิดเห็นของคุณ ไม่ถูกต้องขอรับ ปกติก็เห็นคุณเขียนอะไรต่อมิอะไรมากมายแต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยอ่านนะขอรับ เพราะความคิดความรู้ของข้าพเจ้า แตกต่างจากความคิดความรู้ของคุณ

คุณอย่าเอา ลักษณะอาการ ของการปฏิบัติสมาธิ มาผสมปนเปกับ การปฏิบัติวิปัสสนา มันคนละเรื่องกัน ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ลักษณะอาการของการปฏิบัติสมาธิ ก็เพราะ สมาธิ ๓ ขณิก,อุปจาร,อุปปนา เป็นเพียงการบอกอาการให้ผู้ปฏิบัติได้รู้ว่า ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ เกิดวิตกวิจาร ปิติ สุข นั่นเรียกว่า ขณิกสมาธิ คือ เกิดความสงบใจชั่วขณะ พอเกิดวิตกวิจาร ก็ฟุ้งซ่านอีกเป็นอย่างนั้น วนเวียนกันไป

ถ้าคุณปฏิบัติสมาธิ เกิดวิตกวิจาร ปีติ สุข อุเบกขา นั่นเรียกว่า อุปจารสมาธิ คือ จวนเจียนจะได้สมาธิ หรือเกือบถึง หรือเฉียด สมาธิ แต่ยังไม่ถึงสมาธิ

ถ้าคุณปฏิบัติ สมาธิ เกิดวิตกวิจาร ปีติ สุข อุเบกขา เอกัคคตา นั่นเรียกว่า อัปปนาสมาธิ คือ เกิดสมาธิแน่วแน่ ใจสงบหนักแน่น อย่างนี้เป็นต้น

แต่ถ้าจะกล่าวในทางปุถุชนคนทั่วไป สมาธิ ๓ ก็จะเกิดหมุนเวียนกันไป ตามแต่ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การได้รับการสัมผัส ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป อย่างนี้เป็นต้น

ขออนุโมทนาด้วยครับ

สำหรับการวิปัสสนา คุณก็กล้บไปอ่าน กระทู้ที่ข้าพเจ้าเขียนสอนไว้ แล้วพิจารณาไปตามลำดับ ก็จะเกิดปัญญาด้วยตัวของคุณเอง
ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น


สมถะจึงมีมาก่อน วิปัสสนามีภายหลัง



[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่า ดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่า กำหนด เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่า เป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่า ผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถ ว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า
ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ดังนี้
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ
ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ
ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ

กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ
เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ
ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ …
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่า เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก …
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย
ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ส่วนละเอียดๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

[๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดย
ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา

ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน …
ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด … มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ

ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ

ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำใ

ห้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย ย่อมสิ้นไป อย่างไร … ฯ



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... 9&bookZ=33

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น


วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง


[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น โดย

ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิต มีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯลฯ
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

วิปัสสนาด้วย อรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา

ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์
และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา

ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด

ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... 9&bookZ=33

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นหนทางเดียวที่เป็นทางสายตรง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2013, 09:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




มาจากไหน_resize_resize.jpg
มาจากไหน_resize_resize.jpg [ 54.38 KiB | เปิดดู 4033 ครั้ง ]
:b12: :b12: :b12:
อ้างคำพูด:
คุณอโศก บอกความหมายคำว่า ปัจจุบัน, อารมณ๋์, ธรรม สิครับ

รอฟังคำตออยู่นะครับ ตอบช้าๆชัดๆ เอาเลยครับ คุณอโศก อย่าให้กรัชกายโมโหนะครับ :b33: เป็นเรื่อง

:b16:
ถ้าอยากรู้ความหมายหรือคำแปลโดยพยัญชนะของคำที่ถาม คุณกรัชกายไปพึ่งอาจารย์กูเกิ้ลค้นให้ก็ได้นะครับ จะได้หมดข้อถกเถียง

แต่ถ้าต้องการความหมาายโดยอรรถะ ต้องทำใจเป็นกลางๆ เอาสักกายทิฏฐิและมานะทิฏฐิไปหลบไว้ก่อนแล้วตั้งใจอ่าน ตั้งใจฟังด้วยใจเป็นธรรม

ปัจจุบัน.....คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเดี๋ยวนี้ วินาทีนี้ ขณะจิตนี้ ในเวลาเดียวกันพร้อมๆกันนี้มีปัจจุบันธรรมเกิดขึ้นหลายอย่างพร้อมๆกัน ทั้งในกายและนอกกาย เช่นพระอาทิตย์กำลังขึ้น เข็มนาทีของนาฬิกากำลังเคลื่อน ลมกำลังพัด เสียงรอบตัวกำลังดัง ลมหายใจกำลังเข้าออก หัวใจและชีพจรกำลังเต้น ร่างกายกำลังสั่นสะเทือน ตากำลังเห็นรูป จิตกำลังคิด ฯลฯ

อารมณ์ ......คือสิ่งที่ย้อมจิตหรือปรุงจิต ให้เป็นไป เช่น เจตสิก กุศล อกุศล อัพยากตา

ปัจจุบันอารมณ์ .......คือสิ่งที่รู้ขึ้นในจิต ณขณะนั้น บัดเดี๋ยวนั้น ขณะจิตนั้น

ธรรม..สิ่งที่เป็นไปด้วยกำลังแห่งเหตุและปัจจัย .....ตถตา.....สภาวัง..........ต้องชี้ชัดด้วยว่าจะเอาธรรมเท่าใบไม้ในป่า หรือธรรมเท่าใบไม้ในกำมือ

ธรรมชาติ .......คือธรรมเท่าใบไม้ในป่า

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอน เท่ากับใบไม้ในกำมือ
มีคำตอบและคำอธิบายโดยสรุป ย่นย่อ และเยี่ยมยอดในธรรมคุณ 6 ประการ ดังแสดงมาข้างต้นแล้วลองกลับไปอ่านทบทวนดูให้ดีด้วยมนสิการ จะได้รู้ว่า ธรรมคุณ 6 ประการนั้นท่านบอกความหมาายแห่งธรรม และเทคนิคการปฏิบัติให้ถึงธรรมไว้พร้อมหมดแล้วในตัวหนังสือ 6 บันทัด ถ้ายังมีสติปัญญาทึบทื่อ ด้วยเหตุปัจจัยอันใดก็ดี เช่นอัตตทิฏฐิ หรือมานะทิฏฐิ ต้องวางเสียสักครู่สักยาม ให้ใจเป็นกลางๆแล้วจึงจะเข้าใจธรรมคุณ 6 ประการ

:b11:
onion onion onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร