วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 00:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2013, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยบุคคลประหาณ สังโยชน์ ๑๐
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

พระโสดาบัน ประหาณ
๑. ทิฏฐิสังโยชน์ ๒. สีลัพพตปรามาส ๓. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๔. อิสสาสังโยชน์ ๕. มัจฉริยสังโยชน์

พระอนาคามี ประหาณ
๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์

พระอรหันต์ ประหาณ
๑. ภวราคสังโยชน์ ๒. มานสังโยชน์ ๓. อวิชชาสังโยชน์

☼ ♠ ♣ ▣ ▤ ▥ ▦♫ ▩ ◘ ♬。 ♫♫~♬ ♫~♬ ♂♪♩

ตามนัยแห่งพระสูตร

พระโสดาบัน ประหาณ
๑. ทิฏฐิสังโยชน์ ๒. สีลัพพตปรามาส ๓. วิจิกิจฉาสังโยชน์

พระอนาคามี ประหาณ
๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์

พระอรหันต์ ประหาณ
๑. รูปราคสังโยชน์ ๒. อรูปราคสังโยชน์ ๓. มานสังโยชน์
๔. อุจธัจจสังโยชน์ ๕. อวิชชาสังโยชน์

ส่วนพระสกทาคามี
ไม่ได้ประหาณสังโยชน์ที่เหลือจากพระโสดาบันนั้น
เป็นสมุจเฉทเพิ่มขึ้นอีกแต่อย่างใด
เป็นแต่ได้กระทำให้สังโยชน์ที่เหลือนั้นเบาบางลงอย่างที่เรียกว่า ตนุกรปหาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 08 ก.ค. 2013, 17:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2013, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Y11797373-3.jpg
Y11797373-3.jpg [ 145.81 KiB | เปิดดู 6030 ครั้ง ]
พระอริยชั้นใด ประหาณกิเลสอะไรได้บ้างนั้น ดังนี้

กล่าวโดยอกุสลจิต ๑๒
พระโสดาบัน ประหาณ
โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔ ดวง
และโมหมูลจิตที่สัมปยุตตด้วย วิจิกิจฉา ๑ ดวง

พระสกทาคามี
ไม่ได้ประหาณอกุสลจิตที่เหลือนั้นเป็น สมุจเฉท เพิ่มขึ้นอีก
เป็นแต่ได้กระทำให้อกุสลที่เหลือนั้นเบาบางลง ซึ่งเรียกว่า ตนุกรปหาน

พระอนาคามี ประหาณ
โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวงลงได้อีก

พระอรหันต์ ประหาณ
อกุสลจิตที่เหลืออีก ๕ ดวง คือ
โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต ๔ ดวง
และโมหมูลจิตที่เป็นอุทธัจจสัมปยุตต อีก ๑ ดวง

กล่าวโดยอกุสลกรรมบถ ๑๐ นั้น
พระโสดาบัน ประหาณ
๑. ปาณาติปาต ๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท ๕. มิจฉาทิฏฐิ

พระสกทาคามี ไม่ได้ประหาณ
อกุสลกรรมบถ ที่เหลือนั้นเป็น สมุจเฉทเพิ่มขึ้นอีก
เป็นแต่ได้กระทำอกุสลกรรมบถ ที่เหลือนั้นให้เบาบางลงไป ซึ่งเรียกว่า ตนุกรปหาน

พระอนาคามี ประหาณ
๑. ปิสุณาวาจา ๒. ผรุสวาจา ๓.พยาบาท ลงได้อีก

พระอรหันต์ ประหาณ
อกุสลกรรมบถที่เหลืออีก ๒ คือ
๑. สัมผัปปลาป ๒. อภิชฌา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2013, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสที่พระอริยประหาณ

กิเลส คือธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อเกิดพร้อมกับนามธรรมรูปธรรมใด
ก็ทำให้นามธรรมและรูปธรรมนั้น ๆ เศร้าหมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสจัดได้เป็น ๓ ขั้น คือ

ก. วิติกกมกิเลส เป็นกิเลสที่ก้าวล่วงออกมาถึงภายนอก
ก้าวล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา จนถึงกับลงมือกระทำการด้วยกาย
ด้วยวาจาตามอำนาจแห่งกิเลส นั้น ๆ แล้ว วิติกกมกิเลสนี้ระงับไว้ได้ด้วยสีลวิสุทธิ
อันเป็นการระงับยับยั้งไว้ได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะที่ยังคงรักษาสีลนั้นๆ อยู่ การระงับยับยั้งเช่นนี้
เรียกว่าตทังคปหาน เป็นการยับยั้งไว้ได้ชั่วขณะ จิตที่ยังเป็นมหากุสลอยู่กิเลสเหล่านั้น
ก็ไม่สามารถก่อให้เกิดกายทุจจริต หรือ วจีทุจจริตได้ในขณะนั้น

ข. ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสที่ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจแล้ว
เกิดขึ้นในมโนทวาร คือ คิดอยู่ในใจ แต่ไม่ถึงกับก้าวล่วงออกมาทางกายหรือทางวาจา
ตัวเองย่อมรู้ว่ากิเลสนั้น ๆ เกิดขึ้นในใจแล้ว ส่วนผู้อื่นนั้นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ ปริยุฏฐานกิเลส
ข่มไว้ได้ด้วยจิตตวิสุทธิ อันหมายถึง สมาธิ คือ ฌาน การระงับด้วยการข่มไว้เช่น
นี้เรียกว่า วิขัมภนปหาน ข่มไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม

ค. อนุสยกิเลส มักจะเรียกกันว่า อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจ ซึ่งผู้อื่นและแม้แต่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้ อนุสยกิเลสนี้
ต้องประหาณด้วยญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาในมัคคญาณ อันหมายถึงมัคคจิต
ซึ่งมัคคจิต สามารถประหาณได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อโดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20090127163247_p4_02_2.gif
20090127163247_p4_02_2.gif [ 22.85 KiB | เปิดดู 6031 ครั้ง ]
สังโยชน์ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

๑. กามราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๓. ปฏิฆสังโยชน์ = โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๔. มานสังโยชน์ = มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๕. ทิฏฐิสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๗. วิจิกิจฉาสังโยชน์ = วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต
๘. อิสสาสังโยชน์ = อิสสาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๙. มัจฉริยสังโยชน์ = มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๑๐. อวิชชาสังโยชน์ = โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมสังโยชน์ตามนัยแห่งพระอภิธรรม มีองค์ธรรม ๘ คือ
โลภเจตสิก, โทสเจตสิก, มานเจตสิก, ทิฏฐิเจตสิก, วิจิกิจฉาเจตสิก
อิสสาเจตสิก, มัจฉริยเจตสิก และ, โมหเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์ตามนัยแห่งพระสูตร

๑. กามราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. รูปราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๓. อรูปราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๔. ปฏิฆสังโยชน์ = โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๕. มานสังโยชน์ = มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๖. ทิฏฐิสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์ = วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต
๙. อุทธัจจสังโยชน์ = อุทธัจจเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๐. อวิชชาสังโยชน์ = โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมสังโยชน์ตามนัยแห่งพระสูตรนั้นมี องค์ธรรมเพียง ๗ คือ
โลภเจตสิก , โทสเจตสิก, มานเจตสิก, ทิฏฐิเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก, อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก

เมื่อรวมองค์ธรรมของสังโยชน์ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม และตามนัยแห่ง พระสูตรเข้าด้วยกันแล้ว ก็ได้
องค์ธรรม ๙ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก
ดังนั้นจึงกล่าวว่า สังโยชน์ มี ๑๐ ประการ รวมมีองค์ธรรม ๙

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ และ อุทธังภาคิยสังโยชน์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องต่ำ
อุทธังภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องสูง

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๗
กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉา
อิสสา
มัจฉริยะ
อุทธังภาคิยสังโยชน์ ๓
ภวราคะ
มานะ
อวิชชา

ตามนัยแห่งพระสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉา
อุทธังภาคิยสังโยชน์ ๕
รูปราคะ
อรูปราคะ
มานะ
อุทธัจจะ
อวิชชา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2013, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์ไว้มี 10 อย่างคือ

1. สักกายทิฏฐิ ความเห็นที่ยังติดแน่นในสิ่งสมมุติว่าเป็นตัวตน ว่าเป็นเรา ว่าเป็นเขาและว่าเป็นนั่น เป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพที่เป็นจริงว่า สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ

2. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่าง ๆ เช่นสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม และในพระสงฆ์เป็นต้น

3. สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นศีลพรต คือ ความยึดถือว่าตนจะบริสุทธิ์ หรือหลุดพ้นได้ด้วยการถือศีล ระเบียบ เบียบแผน โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย หรือเห็นศีล วัตร แบบแผน เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ถือไปด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ คือ ปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง

4. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณอันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์

5. ปฏิฆะ ความกระทับกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคืองใจ

6. รูปราคะ ความติดใจในรูปพรรณอันประณีต เช่น ความพอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิในขั้นรูปฌาน เป็นต้น

7. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน ติดใจในอรูปภพ เป็นต้น

8. มานะ ความถือตัว ได้แก่ความสำคัญตัวว่า เป็นนั่น เป็นนี่ เช่นสำคัญว่า สูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

9. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตไม่สงบ ว้าวุ่น คิดพล่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ

10. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ได้แก่ไม่รู้อริยสัจจ์

:b8: :b8: :b8:

สงสัยการละสังโยชน์ 10 ครับ ??????

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17648

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAQBTUG5.jpg
imagesCAQBTUG5.jpg [ 78.42 KiB | เปิดดู 6031 ครั้ง ]
ขอบคุณ ฟ้าใสใส
ที่นำธรรมะมาเผยแผ่เป็นธรรมทานครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




กราบขอบพระคุณ คุณลุงหมาน 1.jpg
กราบขอบพระคุณ คุณลุงหมาน 1.jpg [ 16.83 KiB | เปิดดู 6018 ครั้ง ]
วิทยาทาน

วิทยาทาน ก็อีกหนึ่ง ซึ่งต้องให้
คือความรู้ ใดใด ไม่ขัดสน
ที่เรามี ก็ใส่ใจ ให้ผู้คน
เป็นกุศล มหาศาล ท่านจงทาน


สอนให้เขา รู้วิชา ท่านว่าเลิศ
จะประเสริฐ กว่าให้ทรัพย์ มหาศาล
เมื่อรู้แล้ว ตั้งให้เที่ยง เลี้ยงชีวัน
วิชานั้น ที่ท่านให้ ใส่ใจดู


นำวิชา ความรู้ ที่ครูสอน
ทุกบทตอน ไปฝึกฝน อย่าอดสู
จำให้ได้ ทำให้ได้ ดังเช่นครู
เอาความรู้ ที่เรียนมา หาเลี้ยงตน


ผู้ที่ให้ ต้องมีใจ อันผ่องแผ้ว
เมื่อให้แล้ว ยังต้อง ไม่หวังผล
ให้วิชา เพราะช่วยเหลือ เพื่อผู้คน
ที่อับจน ขาดปัญญา จะหากิน


อันกุศล ผลบุญ จะนำส่ง
ใจปลอดโปร่ง ปัญญาเลิศ เป็นนิจศีล
คิดอะไร ก็คิดได้ เป็นอาจิณ


:b27: :b27: :b27:

:b42: กราบขอบพระคุณ คุณลุงหมานที่นำธรรมอันดีงามมาเผยแผ่
ให้กัลยาณมิตรและกัลยาณธรรมได้เข้าใจยิ่งขึ้นนะเจ้าค่ะ
:b42:

:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:08
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: สมถะกรรมฐาน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: การทำสังฆทาน
ชื่อเล่น: ไผ่
อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ วิกิจฉา ผมว่าผมจัดการ 2 อันนี้ได้แล้วนะ

ขอบพระคุณลุงหมานมากๆนะครับ ได้ความรู้มาก

.....................................................
อย่าได้เห็นแก่ความสุข สนุกสนานชั่วครู่คราว
เพราะผลกรรมที่ตามมามันสุดแสนจะ
ทุกข์ทรมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


PaiKung26 เขียน:
สักกายทิฏฐิ วิกิจฉา ผมว่าผมจัดการ 2 อันนี้ได้แล้วนะ

ขอบพระคุณลุงหมานมากๆนะครับ ได้ความรู้มาก


จะจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ยังไงก็เห็นเที่ยวถามเขาไปทั่ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:08
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: สมถะกรรมฐาน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: การทำสังฆทาน
ชื่อเล่น: ไผ่
อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
PaiKung26 เขียน:
สักกายทิฏฐิ วิกิจฉา ผมว่าผมจัดการ 2 อันนี้ได้แล้วนะ

ขอบพระคุณลุงหมานมากๆนะครับ ได้ความรู้มาก


จะจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ยังไงก็เห็นเที่ยวถามเขาไปทั่ว



ก็ผมไม่สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามันมีอยู่จริงไหม เพราะผมศรัทธายิ่ง ไม่มีเคลือบแคลง และไม่เคยคิดผิดไปว่าพระพุทธเจ้าสอนผิดครับ แต่ถ้าการที่ผมถามนู่นถามนี่มันทำให้ผมดูเหมือนคนที่คิดมาก

แล้วคนที่บรรลุธรรมนู่นนี่แล้วถามพระพุทธเจ้าล่ะ เขาโกหกหรอ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ลูกสาวของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา คนอื่นๆ ที่บรรลุมากกว่าก็ถาม

การถามนี่มันแปลกตรงไหนครับ :b5:

.....................................................
อย่าได้เห็นแก่ความสุข สนุกสนานชั่วครู่คราว
เพราะผลกรรมที่ตามมามันสุดแสนจะ
ทุกข์ทรมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:08
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: สมถะกรรมฐาน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: การทำสังฆทาน
ชื่อเล่น: ไผ่
อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมชอบธรรมทานที่ท่านหามาให้นะครับ

แต่ผมคิดว่าการถามไม่ทำให้ผิดหรือด่างพร้อยตรงไหน

ไม่ได้เจตนาจาบจ้วงนะครับ

.....................................................
อย่าได้เห็นแก่ความสุข สนุกสนานชั่วครู่คราว
เพราะผลกรรมที่ตามมามันสุดแสนจะ
ทุกข์ทรมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


PaiKung26 เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
PaiKung26 เขียน:
สักกายทิฏฐิ วิกิจฉา ผมว่าผมจัดการ 2 อันนี้ได้แล้วนะ

ขอบพระคุณลุงหมานมากๆนะครับ ได้ความรู้มาก


จะจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ยังไงก็เห็นเที่ยวถามเขาไปทั่ว



ก็ผมไม่สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามันมีอยู่จริงไหม เพราผมศรัทธายิ่ง ไม่มีเคลือบแคลง และไม่เคยคิดผิดไปว่าพระพุทธเจ้าสอนผิดครับ แต่ถ้าการที่ผมถามนู่นถามนี่มันทำให้ผมดูเหมือนคนที่คิดมาก

แล้วคนที่บรรลุธรรมนู่นนี่แล้วถามพระพุทธเจ้าล่ะ เขาโกหกหรอ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ลูกสาวของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา คนอื่นๆที่บรรลุมากกว่าก็ถาม

การถามนี่มันแปลกตรงไหนครับ :b5:

ให้คุนน้องชี้แนะมั้ยเจ้าค่ะ แต่คุณจะทำใจยอมรับกับคำชี้แนะคุณน้องได้โดยไม่เกิดอกุศลจิตรึเปล่า :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2013, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:08
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: สมถะกรรมฐาน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: การทำสังฆทาน
ชื่อเล่น: ไผ่
อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
PaiKung26 เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
PaiKung26 เขียน:
สักกายทิฏฐิ วิกิจฉา ผมว่าผมจัดการ 2 อันนี้ได้แล้วนะ

ขอบพระคุณลุงหมานมากๆนะครับ ได้ความรู้มาก


จะจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ยังไงก็เห็นเที่ยวถามเขาไปทั่ว



ก็ผมไม่สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามันมีอยู่จริงไหม เพราผมศรัทธายิ่ง ไม่มีเคลือบแคลง และไม่เคยคิดผิดไปว่าพระพุทธเจ้าสอนผิดครับ แต่ถ้าการที่ผมถามนู่นถามนี่มันทำให้ผมดูเหมือนคนที่คิดมาก

แล้วคนที่บรรลุธรรมนู่นนี่แล้วถามพระพุทธเจ้าล่ะ เขาโกหกหรอ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ลูกสาวของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา คนอื่นๆที่บรรลุมากกว่าก็ถาม

การถามนี่มันแปลกตรงไหนครับ :b5:

ให้คุนน้องชี้แนะมั้ยเจ้าค่ะ แต่คุณจะทำใจยอมรับกับคำชี้แนะคุณน้องได้โดยไม่เกิดอกุศลจิตรึเปล่า :b1:


อย่าชี้แนะเลยครับ จิตใจจะเศร้าหมองกันเปล่าๆ
ผมรู้ว่าคุณมีความรู้ครับ :b35:

.....................................................
อย่าได้เห็นแก่ความสุข สนุกสนานชั่วครู่คราว
เพราะผลกรรมที่ตามมามันสุดแสนจะ
ทุกข์ทรมาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 116 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron