วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2014, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:24
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าบอกว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
แต่เวลาภาวนา นักปฏิบัติมักจะมีความเห็นที่ซ่อนอยู่ลึกๆว่า ต้องทำให้ดี ต้องพัฒนา ไม่ดีทนไม่ได้
ไม่ดีอยากให้ดี ความเห็นนั้นแหละอวิชา ความอยากจะให้ดีนั้นคือตัณหา
ในเมื่อทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ของที่มันไม่ดี มีแต่ทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เป็นไปตามเหตุ บังคับไม่ได้
ควรแล้วหรือที่จะไปทำให้มันดี มันไม่ดีไม่ได้เลยหรือ จิตมันไม่ดี มันไม่เห็นไตรลักษณ์ มันมีกิเลส
มันเห็นมีแต่สิ่งที่ ไม่เห็นจะดี มันไม่พัฒนา ก็เพราะมันเป็นตัวทุกข์นั้นแหละ
ถึงจะยังไม่เข้าใจความจริงข้อนี้ แต่เวลาภาวนา ก็ไม่จำเป็นต้องให้มันดี เพราะนักปฏิบัติมีหน้าที่
ทำความเข้าใจเรื่อง ของไม่ดีนั้น มันไม่ดี ก็แค่นั้น ไม่ต้องไปเสียเวลาทำให้มันดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2014, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ ผมเองนั้นไม่เคยคิดปฏิเสธธรรมที่ปรากฏขึ้น
กลับคิดว่า ดีจังเลยเรากำหนดรู้ได้ ใจไม่ลอยไปที่อื่น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2014, 16:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เป็นเรื่องธรรมดา มาติดความ อยากดี ของผู้ปฏิบัติ
แต่ถ้ามีสติปัญญาพอ ก็จะรู้ทันตัว อยากดีนี้ และวางได้
เห็นว่าอยาก มันก็วางเอง แต่ต้องเห็นจริงๆนะ ว่าอยากอยู่
แต่ส่วนมากไม่เห็น เพราะหลง จะให้ดี อยู่นั่นแหละ
พอวางแล้วจะเห็นว่า โง่ อยู่นานเลย
จะเอาในสิ่งที่มัน ไม่ถาวร จะให้มันถาวร ก็คงจะได้หลอก
ในเมื่อมีเหตุสิ่งนั้นเกิด หมดเหตุสิ่งนั้นดับ บังคับไม่ได้ เป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2014, 22:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเรียนรู้ธรรมจนจำคำสอนได้ขึ้นใจ ไม่ได้หมายความว่าจะบรรลุนะเจ้าค่ะ
เมื่อฟังจนเข้าใจ จนนำมาปฏิบัติได้ ตัวรู้แล้วเนี่ย ทุกอย่างก็จะเดินไปตามทางที่พระพุทธองค์ได้ทรงบอกไว้
แต่......
พอมาถึงช่วงหนึ่ง ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า จะทำยังไงต่อ จะเดินยังไงต่อ จะทำไงให้ข้ามให้พ้นให้ผ่าน เออ.... (มันอยากดีมากกว่าเดิมแต่มองไม่เห็นความอยาก รู้ตัวอยู่อะป่าว อิอิ..) ไม่ว่าจะอยากข้าม อยากพ้น อยากผ่าน อะไรทั้งหลายแหล่ ดูให้ดีนะเจ้าค่ะ "อยาก" นำหน้าอยู่ จะบอกว่า อย่าอยากนะ
คงไม่ได้หลอก ก็ในขณะจิตตอนนั้นอ่ะ มันคิดว่าถูกแล้ว ดีแล้ว ได้ผลแล้ว มันควรจะผ่านซิ (เออนั่น)
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ก็แค่มีสติรู้ รู้ไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะขั้นไหนๆ ก็ต้อง "รู้" ทั้งนั้น (เออ มีขั้นอีกแนะ)
แม้กระทั่งขณะที่คิดว่าจะผ่าน จะผ่าน ทำไมไม่ผ่านซะที เออ แล้วทำไมอยากผ่านล่ะ เพราะอยากได้ อยากมี อยากเป็นโน้น นี่นั่น จนลืมไปว่า ที่ปฏิบัติกันมานั้นหน่ะ เพื่อ????
เพื่อละ สละ สลัดออก ไม่ใช่ปฏิบัติ เพื่อ จะเป็น จะเอา จะได้
กลับมาดูกิเลสที่ยังเหลือในจิตในใจดีกว่าไหมเจ้าค่ะ ว่า กิเลสตัวใด ได้สละแล้ว
กิเลสตัวใด ยังคงอยู่ คุณอันใดบริบูรณ์แล้ว คุณอันใดยังไม่บริบูรณ์
จะผ่านไม่ผ่าน วัดกันที่ ความเหลืออยู่แห่งกิเลส นะเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 02:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


พอพูดถึงอารมณ์ หากเอาประสบการณ์ที่เราปฏิบัติมาพิจารณา จะเห็นว่าความอยากนั้น จัดเป็นความอยากเพราะตัญหา หรือ ความปราถนาเพราะเป็นไปตาม มรรค8

อย่างอารมณ์วิปัสสนา ย่อมยึดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่ดีครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 02:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น อารมณ์ จึงมาหลังผัสสะเสมอ พอผัสสะเกิดนั่นแหละ จึงต้องมาวัดใจกันว่า ตัวเราเองเอาวิปัสสนาอารมณ์ตั้ง หรือ เอาตัณหาเป็นอารมณ์ตั้ง บางคนต้องตั้งสติ เพื่อหลบอารมณ์ที่เป็นตัญหา บางคนก็ตั้งสติเพราะมีอารมณ์วิปัสสนาตั้งรอ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 02:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทุกอย่างจึงมีเหตุมีผลต่อกัน ธรรมใดๆล้วนเกิดแต่เหตุ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tel1998 เขียน:
พระพุทธเจ้าบอกว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
แต่เวลาภาวนา นักปฏิบัติมักจะมีความเห็นที่ซ่อนอยู่ลึกๆว่า ต้องทำให้ดี ต้องพัฒนา ไม่ดีทนไม่ได้
ไม่ดีอยากให้ดี ความเห็นนั้นแหละอวิชา ความอยากจะให้ดีนั้นคือตัณหา
ในเมื่อทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ของที่มันไม่ดี มีแต่ทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เป็นไปตามเหตุ บังคับไม่ได้
ควรแล้วหรือที่จะไปทำให้มันดี มันไม่ดีไม่ได้เลยหรือ จิตมันไม่ดี มันไม่เห็นไตรลักษณ์ มันมีกิเลส
มันเห็นมีแต่สิ่งที่ ไม่เห็นจะดี มันไม่พัฒนา ก็เพราะมันเป็นตัวทุกข์นั้นแหละ
ถึงจะยังไม่เข้าใจความจริงข้อนี้ แต่เวลาภาวนา ก็ไม่จำเป็นต้องให้มันดี เพราะนักปฏิบัติมีหน้าที่
ทำความเข้าใจเรื่อง ของไม่ดีนั้น มันไม่ดี ก็แค่นั้น ไม่ต้องไปเสียเวลาทำให้มันดี


เรื่องการปฏิบัติโดยหลักคำสอนแห่งพุทธวจนแล้ว มันเป็นอิทธิบาทครับ

โดยหลักแล้ว ถ้าเราจะกล่าวถึงอิทธิบาทหรือการปฏิบัติ
หลักการปฏิบัติที่เรียกว่าอิทธิบาท มันเป็นเรื่องของการดับหรือละตัณหา

ที่ถูกต้องตามหลักแล้ว ท่านจะให้คำว่า......ฉันทะนำการปฏิบัติ
ฉันทะเป็นคำกลางๆ ที่ไม่ใช่ตัณหา
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สองใจ เขียน:
ก็เป็นเรื่องธรรมดา มาติดความ อยากดี ของผู้ปฏิบัติ
แต่ถ้ามีสติปัญญาพอ ก็จะรู้ทันตัว อยากดีนี้ และวางได้
เห็นว่าอยาก มันก็วางเอง แต่ต้องเห็นจริงๆนะ ว่าอยากอยู่
แต่ส่วนมากไม่เห็น เพราะหลง จะให้ดี อยู่นั่นแหละ
พอวางแล้วจะเห็นว่า โง่ อยู่นานเลย
จะเอาในสิ่งที่มัน ไม่ถาวร จะให้มันถาวร ก็คงจะได้หลอก
ในเมื่อมีเหตุสิ่งนั้นเกิด หมดเหตุสิ่งนั้นดับ บังคับไม่ได้ เป็นธรรมดา


ถ้าเริ่มต้นด้วยความอยากมันก็ผิดหลักการปฏิบัติแล้วครับ
เหตุนี้ก็ไม่ต้องพูดหลังจากนี้ เพราะทุกอย่างที่เกิดตามหลังตัณหา
ท่านไม่เรียกการปฏิบัติหรืออิทธิบาท
มันเป็นเพียงมโนกรรม กายกรรมและวจีกรรมอันส่งผลให้เกิดวิบาก

การปฏิบัติที่แท้แล้ว จะดับกรรมทั้งสามเพื่อไม่ให้เกิดวิบาก
แต่สิ่งที่คุณทำมันส่งผลให้เกิดวิบาก ท่านไม่เรียกว่าการปฏิบัติหรืออิทธิบาทครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2014, 20:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2013, 19:24
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองไปสังเกตุดูนะครับ
ในขณะจิตที่อยากปฏิบัติ ในขณะนั้นเองก็เห็นรูปนามที่อยากปฏิบัติแบบนั้น แต่ก็ไปเคยรู้จักเลยว่ารูปนามในขณะนั้นเองคือตัวทุกข์ แต่สิ่งที่ทำในขณะนั้นเอง กลับไปดูกายดูใจแทน ซึ่งถ้ารู้ว่ารูปนามที่อยากปฏิบัติแบบนั้น เป็นตัวทุกข์ ความจงใจจะพัฒนาจิตจะหายไป เพราะมันรู้ว่ามันพัฒนาไม่ได้ ความอยากปฏิบัตก็จะหมดไป
แม้นรูปนามอื่นๆที่ภาวนาอยู่ก็เหมือนกัน ก็ไม่เห็นมันเป็นตัวทุกข์ จึงมีความรู้สึกลึกๆซ่อนอยู่ว่ามันทำให้ดีกว่านี้ได้ ตัวนี้เป็นสังขารอาจจะไม่เห็น ที่เห็นชัดคือตัวอยากให้มันดีกว่านี้ให้มันพัฒนากว่านี้
เปรียบไปก็เหมือนเวลาเห็นไฟ เรานั้นรู้จักไฟดีว่ามันร้อน แม้นจะมีใครบอกเราว่า ให้ไปทำให้ไฟมันเย็น
แต่จิตนั้นรู้ดีว่าเป็นไปไม่ได้ เจตนาที่คิดจะทำให้ไฟนั้นเย็นก็จะไม่มี ความอยากที่จะให้ไฟนั้นเย็นก็ยิ่งไม่มีแต่ถ้าจิตนั้นโง่คิดว่าทำให้ไฟนั้นเย็นได้ เจตนาที่คิดจะทำให้ไฟนั้นเย็นก็จะมีขึ้นมา ความอยากที่จะให้ไฟนั้นเย็นก็จะมีขึ้นมาด้วย ก็เหมือนกับเราที่คิดว่าจิตนั้นสามารถทำให้ดีได้ ทำให้พัฒนาได้เหมือนกัน
พระพุทธเจ้าก็บอกว่าจิตคือตัวทุกข์ ในเมื่อมันเป็นตัวทุกข์มันทำให้ดีไม่ได้ ก็ดูมันเข้าไปเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์จริงหรือเปล่า หยุดคิดพัฒนามันสักวันสองวัน คงไม่เสื่อมลงไปนักหลอก
ลองครับ ลองไปดูกาย ดูใจ แบบไม่คิดจะเอาอะไรแค่เพื่อการศึกษาเท่านั้นด้วยใจที่ว่าถึงไม่ได้อะไรก็ยอม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 01:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tel1998 เขียน:
พระพุทธเจ้าบอกว่าทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
แต่เวลาภาวนา นักปฏิบัติมักจะมีความเห็นที่ซ่อนอยู่ลึกๆว่า ต้องทำให้ดี ต้องพัฒนา ไม่ดีทนไม่ได้
ไม่ดีอยากให้ดี ความเห็นนั้นแหละอวิชา ความอยากจะให้ดีนั้นคือตัณหา


"ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป" เป็นการแสดงเพื่อให้ทราบสภาพอันเป็นธรรมชาติธรรมดา ของสิ่งอันมีความเกิดความดับ ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องพัฒนาความคิดความรู้จนเห็นสภาพธรรมตามเป็นจริงอย่างนั้น จนเกิดความคลายความยึดถือเอาว่าเป็นเรา เป็นของเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

ความเห็นดั่งนี้ เป็นความเห็นอันหยั่งลงสู่ความเห็นแจ้งความหลุดพ้นจากกิเลส
ความดำริใดๆ อันนำไปสู่ความเห็นแจ้งต่อสภาพธรรมอันเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ใช่ความอยากแต่เป็น ความดำริชอบ เป็นสัมมาสังกับปปะ เป็นทิฏฐิชอบคือสัมมาทิฏฐิ เป็นการพัฒนาทางจิตที่จะต้องมี

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ก.พ. 2014, 02:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tel1998 เขียน:
ในเมื่อทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ของที่มันไม่ดี มีแต่ทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เป็นไปตามเหตุ บังคับไม่ได้
ควรแล้วหรือที่จะไปทำให้มันดี มันไม่ดีไม่ได้เลยหรือ จิตมันไม่ดี มันไม่เห็นไตรลักษณ์ มันมีกิเลส
มันเห็นมีแต่สิ่งที่ ไม่เห็นจะดี มันไม่พัฒนา ก็เพราะมันเป็นตัวทุกข์นั้นแหละ
ถึงจะยังไม่เข้าใจความจริงข้อนี้ แต่เวลาภาวนา ก็ไม่จำเป็นต้องให้มันดี เพราะนักปฏิบัติมีหน้าที่
ทำความเข้าใจเรื่อง ของไม่ดีนั้น มันไม่ดี ก็แค่นั้น ไม่ต้องไปเสียเวลาทำให้มันดี

สภาวะจิต เป็น อกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตก็มี
ที่กล่าวว่าล้วนเป็นทุกข์ ทั้งสิ้นคือมีความเกิดความดับ เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้นโดยสภาพธรรมอันเป็นธรรมชาติของสิ่งนั้นเกิดมีความผสมปรุงแต่งตามธรรมดา

แต่ความดี หรือไม่ดีขึ้นอยู่กับสภาพของการผสมปรุงแต่งของจิตเป็นอีกกรณีหนึ่ง
ซึ่งจิตที่เป็นอกุศล นั้นเป็นจิตที่มีการผสมปรุงแต่งไม่ดีเป็นเหตุให้ก่ออกุศลกรรม
ดังนั้น คำสอนต่างๆ ในเบื้องต้นจึงมุ่งสอนให้ละอกุศลเสีย เจริญกุศลให้มาก
กล่าวคือทำจิตให้ดี ให้เป็นกุศลเพื่อละอกุศล

ดังนั้น จึงควรแล้วที่จะทำให้มันดี เพื่อละเพื่อบรรเทา เพื่อขัดเกลาบาปธรรม

การสมาทานกุศล คือยึดกุศลไว้ก็ยังจะดีกว่า ยึดเอาอกุศลด้วยอุปาทาน ด้วยเหตุว่า การสมาทานเป็นการยึดถือไว้ด้วยดีด้วยทิฏฐิอันถูกต้อง แม้ยังไม่เห็นความไม่เที่ยง ความเกิดความดับ ก็ยังมีโทษน้อยกว่าการยึดถือเอาอกุศลธรรม

ส่วนนี้ถ้าทำได้ ก็เป็นโลกียสัมมาทิฏฐิ ซึ่งนักปฏิบัติธรรมจำต้องเข้าใจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tel1998 เขียน:
ลองไปสังเกตุดูนะครับ
ในขณะจิตที่อยากปฏิบัติ ในขณะนั้นเองก็เห็นรูปนามที่อยากปฏิบัติแบบนั้น แต่ก็ไปเคยรู้จักเลยว่ารูปนามในขณะนั้นเองคือตัวทุกข์ แต่สิ่งที่ทำในขณะนั้นเอง กลับไปดูกายดูใจแทน ซึ่งถ้ารู้ว่ารูปนามที่อยากปฏิบัติแบบนั้น เป็นตัวทุกข์ ความจงใจจะพัฒนาจิตจะหายไป เพราะมันรู้ว่ามันพัฒนาไม่ได้ ความอยากปฏิบัตก็จะหมดไป
แม้นรูปนามอื่นๆที่ภาวนาอยู่ก็เหมือนกัน ก็ไม่เห็นมันเป็นตัวทุกข์ จึงมีความรู้สึกลึกๆซ่อนอยู่ว่ามันทำให้ดีกว่านี้ได้ ตัวนี้เป็นสังขารอาจจะไม่เห็น ที่เห็นชัดคือตัวอยากให้มันดีกว่านี้ให้มันพัฒนากว่านี้
เปรียบไปก็เหมือนเวลาเห็นไฟ เรานั้นรู้จักไฟดีว่ามันร้อน แม้นจะมีใครบอกเราว่า ให้ไปทำให้ไฟมันเย็น
แต่จิตนั้นรู้ดีว่าเป็นไปไม่ได้ เจตนาที่คิดจะทำให้ไฟนั้นเย็นก็จะไม่มี ความอยากที่จะให้ไฟนั้นเย็นก็ยิ่งไม่มีแต่ถ้าจิตนั้นโง่คิดว่าทำให้ไฟนั้นเย็นได้ เจตนาที่คิดจะทำให้ไฟนั้นเย็นก็จะมีขึ้นมา ความอยากที่จะให้ไฟนั้นเย็นก็จะมีขึ้นมาด้วย ก็เหมือนกับเราที่คิดว่าจิตนั้นสามารถทำให้ดีได้ ทำให้พัฒนาได้เหมือนกัน
พระพุทธเจ้าก็บอกว่าจิตคือตัวทุกข์ ในเมื่อมันเป็นตัวทุกข์มันทำให้ดีไม่ได้ ก็ดูมันเข้าไปเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์จริงหรือเปล่า หยุดคิดพัฒนามันสักวันสองวัน คงไม่เสื่อมลงไปนักหลอก
ลองครับ ลองไปดูกาย ดูใจ แบบไม่คิดจะเอาอะไรแค่เพื่อการศึกษาเท่านั้นด้วยใจที่ว่าถึงไม่ได้อะไรก็ยอม

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติ เพื่อปราถนาความหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร
จำต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 ให้ยิ่งขึ้นไป
ความที่จิตดำริที่จะปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปนั้น เป็นสัมมาสังกัปปะ เป็นสัมมาวายามะ ไม่ใช่เป็นความอยากอันเจือด้วยกิเลส
การปฏิบัติในสติปัฏฐาน 4 จึงมีสติตั้งที่ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือเป็นผู้มีสติ ตามดูกายดูใจนี่ล่ะ เป็นการพัฒนาจิตตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไม่มีผิด การพัฒนาก็จะค่อยๆเป็นค่อยๆไป

การเจริญสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นการปฏิบัติทางตรงที่จะเจาะจงเข้าไปดูเข้าไปเห็นตัวทุกข์และตัวเหตุแห่งทุกข์ให้ประจักษ์ด้วยจิตด้วยใจของผู้ปฏิบัติ เพื่อความปราถนาความหลุดพ้นวัฏฏะสงสาร

ระหว่างการปฏิบัติ ก็จะพบความยินดีความยินร้าย ความพอใจ ความไม่พอใจ ต่างๆ เกิดขึ้น ให้คอยเฝ้าสังเกตุ และใช้ปัญญาในการจัดการต่อสิ่งที่ไหลเข้ามาท่วมทับจิต โดยมีพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้วคอยหล่อเลี้ยงสติ หล่อเลี้ยงปัญญาให้เป็นอาวุธในการจัดการได้อย่างถูกต้อง จนชนะกิเลสต่างๆให้หมดไปตามแต่ความสามารถที่จะทำได้ไปถึง อย่างนี้เป็นการทำจิตตภาวนา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วชิราสูตรที่ ๑๐
[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา
ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า
อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว
ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า
ไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดใน
ที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ
[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ
ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เรา
บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน
จากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ
ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป
ด้วยคาถาว่า
ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับ
มาว่าสัตว์ ฯ
ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี
ฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ
ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้น
ไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มี
อะไรดับ ฯ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้
จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tel1998 เขียน:
ลองไปสังเกตุดูนะครับ
ในขณะจิตที่อยากปฏิบัติ ในขณะนั้นเองก็เห็นรูปนามที่อยากปฏิบัติแบบนั้น แต่ก็ไปเคยรู้จักเลยว่ารูปนามในขณะนั้นเองคือตัวทุกข์ แต่สิ่งที่ทำในขณะนั้นเอง กลับไปดูกายดูใจแทน ซึ่งถ้ารู้ว่ารูปนามที่อยากปฏิบัติแบบนั้น เป็นตัวทุกข์ ความจงใจจะพัฒนาจิตจะหายไป เพราะมันรู้ว่ามันพัฒนาไม่ได้ ความอยากปฏิบัตก็จะหมดไป
แม้นรูปนามอื่นๆที่ภาวนาอยู่ก็เหมือนกัน ก็ไม่เห็นมันเป็นตัวทุกข์ จึงมีความรู้สึกลึกๆซ่อนอยู่ว่ามันทำให้ดีกว่านี้ได้ ตัวนี้เป็นสังขารอาจจะไม่เห็น ที่เห็นชัดคือตัวอยากให้มันดีกว่านี้ให้มันพัฒนากว่านี้
เปรียบไปก็เหมือนเวลาเห็นไฟ เรานั้นรู้จักไฟดีว่ามันร้อน แม้นจะมีใครบอกเราว่า ให้ไปทำให้ไฟมันเย็น
แต่จิตนั้นรู้ดีว่าเป็นไปไม่ได้ เจตนาที่คิดจะทำให้ไฟนั้นเย็นก็จะไม่มี ความอยากที่จะให้ไฟนั้นเย็นก็ยิ่งไม่มีแต่ถ้าจิตนั้นโง่คิดว่าทำให้ไฟนั้นเย็นได้ เจตนาที่คิดจะทำให้ไฟนั้นเย็นก็จะมีขึ้นมา ความอยากที่จะให้ไฟนั้นเย็นก็จะมีขึ้นมาด้วย ก็เหมือนกับเราที่คิดว่าจิตนั้นสามารถทำให้ดีได้ ทำให้พัฒนาได้เหมือนกัน
พระพุทธเจ้าก็บอกว่าจิตคือตัวทุกข์ ในเมื่อมันเป็นตัวทุกข์มันทำให้ดีไม่ได้ ก็ดูมันเข้าไปเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์จริงหรือเปล่า หยุดคิดพัฒนามันสักวันสองวัน คงไม่เสื่อมลงไปนักหลอก
ลองครับ ลองไปดูกาย ดูใจ แบบไม่คิดจะเอาอะไรแค่เพื่อการศึกษาเท่านั้นด้วยใจที่ว่าถึงไม่ได้อะไรก็ยอม


คุณกำลังสับสนในบัญญัติ คุณเอาบัญญัติมาปรุงแต่ง ซึ่งลักษณะนี้ท่านเรียกว่า....มโนกรรม
มันล้วนเกิดจากความคิด ที่คุณพูดมาทั้งหมดมันยังไม่ได้เข้าหลักการวิปัสสนาเลยครับ

แล้วที่บอกว่าเห็นรูปนามที่อยากปฏิบัติ อารมณ์ของรูปนามมันไม่มีหรอกครับ
การจะรู้ถึงความอยาก มันต้องการศัยการพิจารณาหาเหตุปัจจัย(อดีต)ของปัจจุบันธรรม
และอารมณ์แห่งปัจจุบันธรรมที่เราสามารถรู้ได้ก็มีเพียงแต่ เจตสิก(อาการของจิต)

สรุปคือคุณกำลังเอาหลักการปฏิบัติไปปรุงแต่ง จนกลายเป็นบัญัติ(ฟุ้งธรรม)
ซึ่งในความเป็นจริง หลักการปฏิบัติท่านจะไม่ให้ไปขยายบัญญัติใดๆทั้งสิ้น
จะต้องทำให้บัญญัติเป็นสภาวะตามจริงของกายใจ พูดให้ตรงก็คือตัดความคิด
ตัดความเป็นสมมติบัญญัติออกให้หมด


ที่สำคัญเอาคำว่าทุกข์มาพูดพร่ำเพื่อ
มันจะทำให้ความหมายของทุกข์ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงน่ะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร