วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2013, 13:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส แล้วเข้าใจยึดมั่นต่อกิเลสนั้นว่า เป็นอย่างนี้ ๆ เป็นสุขเป็นทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะเข้าใจ ยึดมั่นต่อกิเลสนั้น อย่างนั้น นับภพนับชาติไม่น้อยเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2013, 01:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2013, 17:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่แปลกใช่ไหม ที่สัพพสัตว์ส่วนมากจะสมมติบัญญัติสิ่งทั้งปวงแล้ว ได้รับผลเอง ถ้าคิดว่าแปลก ก็แสดงว่า ผู้นั้นไม่มีความรู้ตัวกับสิ่งที่เกิดดับภายในและภายนอกรอบตัวตนเองนี้ หลงกับสิ่งที่เคยเป็นมาแต่ก่อน สำคัญมั่นหมายมาแต่ก่อน หากรู้ได้ ก็ย่อมละได้ ถ้าละได้ ก็ย่อมรู้ได้ จะไม่สุขไม่ทุกข์ตามผลนั้น เป็นแต่มีความเป็นกลางกับสิ่งที่เกิดดับนั้นก่อน กิเลสนั้นมีความเกิดดับ บางคราวเกิดมีขึ้นก็ปรุงแต่งไปต่างๆ สำคัญเอา นอนตามกับกิเลสนั้น เพราะไม่รู้เท่าที่เป็นจริงของกิเลส อย่างนี้เรียกว่า สมมติเอาเอง บัญญัติเอาเอง ในพระธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร พระองค์ตรัสไว้ในการละเหตุให้เกิดทุกข์ว่า จาโค ปฏินิสสัคโค มุตติ อนาลโย แปลความว่า เป็นความสลัดทิ้ง เป็นความสละคืน เป็นความปล่อย เป็นการกระทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น จากพระธรรมเทศนาดังกล่าว หากสมมติบัญญัติกิเลส เข้าใจเอาเองอย่างที่เคยเป็นทุกข์มา จะถือว่า เป็นความสลัดทิ้ง เป็นความสละคืน เป็นความปล่อย เป็นการกระทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้นได้หรือไม่ ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงมีสัมมาทิฏฐิ พิจารณาต่อสมุทัยนั้นด้วยสติเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2013, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส แล้วเข้าใจยึดมั่นต่อกิเลสนั้นว่า เป็นอย่างนี้ ๆ เป็นสุขเป็นทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะเข้าใจ ยึดมั่นต่อกิเลสนั้น อย่างนั้น นับภพนับชาติไม่น้อยเลย


จขกท เอาคำศัพท์มาเล่นแบบนี้ เขาว่า พูดจาหาสาระไม่ได้ครับ

สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส มันมีด้วยหรือ

อยากจะพูดธรรมควรจะเข้าใจก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่า เอาคำโน้นมาผสมคำนี้
แล้วก็พูด ความหมายจะผิดเพี้ยนไม่สนใจขอให้ฟังเพราะ แบบนี้พระธรรมก็เสื่อมหมดน่ะซิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2013, 09:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส แล้วเข้าใจยึดมั่นต่อกิเลสนั้นว่า เป็นอย่างนี้ ๆ เป็นสุขเป็นทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะเข้าใจ ยึดมั่นต่อกิเลสนั้น อย่างนั้น นับภพนับชาติไม่น้อยเลย


จขกท เอาคำศัพท์มาเล่นแบบนี้ เขาว่า พูดจาหาสาระไม่ได้ครับ

สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส มันมีด้วยหรือ

อยากจะพูดธรรมควรจะเข้าใจก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่า เอาคำโน้นมาผสมคำนี้
แล้วก็พูด ความหมายจะผิดเพี้ยนไม่สนใจขอให้ฟังเพราะ แบบนี้พระธรรมก็เสื่อมหมดน่ะซิครับ

ท่านเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ที่แย้งมาว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ว่าหาสาระไม่ได้ ถ้าหากหาสาระได้ ท่านจะสอนให้เลิกให้ละทำไม การจะแสดงข้อธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เพื่อที่จะขจัดข้อสงสัยให้เข้าใจได้ตามภาษานั้นๆ แล้วคำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส มันไม่มี แต่สมมติขึ้นมาเพื่อสื่อให้เข้าใจตามภาษา และคำดังกล่าวก็ไม่ได้เกินวิสัยที่ผู้รู้ ได้เห็น ได้ยิน ที่จะเข้าใจได้ยากนัก ก็เช่นเดียวกับคำว่า จิตปรุงกิเลส ดังที่ครูบาอาจารย์ในกาลก่อนกล่าวแสดงไว้ หาเป็นการที่จะแสดงเพื่อให้พระธรรมอันพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วผิดเพี้ยนไปจากเดิมไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2013, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส แล้วเข้าใจยึดมั่นต่อกิเลสนั้นว่า เป็นอย่างนี้ ๆ เป็นสุขเป็นทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะเข้าใจ ยึดมั่นต่อกิเลสนั้น อย่างนั้น นับภพนับชาติไม่น้อยเลย


จขกท เอาคำศัพท์มาเล่นแบบนี้ เขาว่า พูดจาหาสาระไม่ได้ครับ

สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส มันมีด้วยหรือ

อยากจะพูดธรรมควรจะเข้าใจก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่า เอาคำโน้นมาผสมคำนี้
แล้วก็พูด ความหมายจะผิดเพี้ยนไม่สนใจขอให้ฟังเพราะ แบบนี้พระธรรมก็เสื่อมหมดน่ะซิครับ

ท่านเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ที่แย้งมาว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ว่าหาสาระไม่ได้ ถ้าหากหาสาระได้ ท่านจะสอนให้เลิกให้ละทำไม การจะแสดงข้อธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เพื่อที่จะขจัดข้อสงสัยให้เข้าใจได้ตามภาษานั้นๆ แล้วคำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส มันไม่มี แต่สมมติขึ้นมาเพื่อสื่อให้เข้าใจตามภาษา และคำดังกล่าวก็ไม่ได้เกินวิสัยที่ผู้รู้ ได้เห็น ได้ยิน ที่จะเข้าใจได้ยากนัก ก็เช่นเดียวกับคำว่า จิตปรุงกิเลส ดังที่ครูบาอาจารย์ในกาลก่อนกล่าวแสดงไว้ หาเป็นการที่จะแสดงเพื่อให้พระธรรมอันพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วผิดเพี้ยนไปจากเดิมไม่


คุณเข้าใจผิดแล้วครับ ความหมายหาสาระไม่ได้ ผมหมายถึงตัวคุณครับไม่ใช่ตัวหนังสือ
เริ่มแรกของความไม่มีสาระนั้นก็คือ คุณขาดความเข้าใจในพุทธพจน์

คุณเอาพุทธพจน์มาตีความหมายผิดเพี้ยน ผิดเพี้ยนไม่ผิดเปล่าคุณยังเอาคำเหล่านั้น
มาสร้างคำใหม่ แล้วก็โมเมเอาเองว่ามันเป็นธรรมะ

คำที่คุณเอามาใช้อย่างเช่น สมมติกิเลส หรือจะเป็นบัญญัติกิเลส มันไม่มีสาระในทางธรรม
นั้นเป็นเพราะคุณไปจินตนาการคำเหล่านั้นขึ้นมาเอง มันจึงเป็นการไร้สาระ

ตรงข้ามถ้าคำใดเป็นพุทธพจน์ คำนั้นย่อมต้องมีสาระไม่ว่าจะเป็น...กิเลส....สมมติ ...บัญญัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2013, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับ ผมเองก็ยอมรับว่า ตัวผมนี้หาสาระไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ มีเส้นผมเป็นต้น แล้วข้างในยังมีไส้ ผังพืด ตลอดจนถึงขี้มูตร ขี้คูถ น่าโสโครกยิ่งนัก หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้คนคงจะคลั่งไคล้ สูดดม ถวิลหา ปราถนาต้องการแล้วกระมัง นี่เป็นเพราะว่า ตัวผมนี้มีแต่ของหาสาระไม่ได้เลย มีอันเสื่อมคร่ำคร่าไปตามกาลเวลา หรือหากว่า ท่านจะเห็นตัวผมเป็นของมีสาระ อันนี้ผมก็รู้สึกน่าสลดใจยิ่งนัก การที่ท่านกล่าวว่า ผมนั้นตีความหมายพระพุทธพจน์ผิดเพี้ยน เอาคำเหล่านั้นมาสร้างคำใหม่ ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่เป็นการใช้ภาษาที่เป็นการสื่อเพื่อให้ผู้รับสารได้รู้เข้าใจตามวุฒิภาวะ ดังที่เคยกล่าวไว้ให้ท่านทราบก่อนนี้ ธรรมมิได้หมายความว่า เป็นคำสั่งสอนเสมอไป แต่หมายความถึงสิ่งทั้งปวงซึ่งเป็นได้ทั้งชั่วแลดี การนำเอาสิ่งทั้งปวงมาแสดงเพื่อให้รู้เข้าใจก็ถือว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมได้เช่นกัน แน่นอนครับว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ไม่มีสาระในทางธรรม เพราะเป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงละเสีย หากไม่สมมติ หากไม่จินตนาการคำเหล่านั้นแล้ว จะสื่อสารเพื่อให้ผู้อื่นรู้เข้าใจได้อย่างไร แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสมมติคำบัญญัติธรรมต่างๆ ไว้เพื่อแสดงให้สัตว์โลกรู้เข้าใจถึงความจริงได้ ตัวท่านเอง ณ ปัจจุบันนี้ บางคราวก็ยังศึกษาคำสมมติเหล่านั้นมิใช่หรือ และแน่นอนว่า พระพุทธพจน์มีสาระ เพราะจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก สมณพรหามณ์ แลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2013, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
ใช่ครับ ผมเองก็ยอมรับว่า ตัวผมนี้หาสาระไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ มีเส้นผมเป็นต้น แล้วข้างในยังมีไส้ ผังพืด ตลอดจนถึงขี้มูตร ขี้คูถ น่าโสโครกยิ่งนัก หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้คนคงจะคลั่งไคล้ สูดดม ถวิลหา ปราถนาต้องการแล้วกระมัง นี่เป็นเพราะว่า ตัวผมนี้มีแต่ของหาสาระไม่ได้เลย มีอันเสื่อมคร่ำคร่าไปตามกาลเวลา หรือหากว่า ท่านจะเห็นตัวผมเป็นของมีสาระ อันนี้ผมก็รู้สึกน่าสลดใจยิ่งนัก


คำพูดของคุณหาได้มีความหมายเลยครับ มันก็แค่เป็นคำพูดที่จำเขามาพูด
พูดทั้งๆที่ไม่เข้าใจว่า....ผู้ใช้คำพูดคนแรกนั้นเขาจะสื่ออะไร

ถ้าคุณว่าสิ่งที่คุณเอามาจารนัยไม่มีสาระ ทำไมไม่ไปให้หมอเอามันออกซะล่ะครับ
คุณนี่ไร้เดียงสาจริงๆครับ ใครเขาพูดอะไร คุณก็พูดตามเขาไม่ดูเหนือใต้ออกตก

ของในตัวเรามันมีสาระของมันตามเหตุปัจจัย ถ้ามันไม่มีสาระแล้วทำไม
ครูบาอาจารย์ถึงได้หยิบยกมันขึ้นมา เป็นแบบอย่างในการสอนธรรมล่ะครับ
.....ไอ้สิ่งที่คุณบอกว่า น่าโสโครกยิ่งนักนั้นน่ะ กรุณาจำใส่สมองไว้ครับว่า
มันเป็น....อาจารย์ใหญ่ในทางโลก และเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในทางธรรม

กรุณาอย่าสักแต่จะพูดเพื่อความเท่ครับ มันต้องเข้าใจด้วยว่า
ความหมายมันคืออะไร


world2/2554 เขียน:
การที่ท่านกล่าวว่า ผมนั้นตีความหมายพระพุทธพจน์ผิดเพี้ยน เอาคำเหล่านั้นมาสร้างคำใหม่ ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่เป็นการใช้ภาษาที่เป็นการสื่อเพื่อให้ผู้รับสารได้รู้เข้าใจตามวุฒิภาวะ ดังที่เคยกล่าวไว้ให้ท่านทราบก่อนนี้


จะบอกให้ครับ หลักการสำคัญของการสื่อสาร ผู้ที่สื่อสารและผู้รับสาร
จะต้องมีหลักการในทางเดียวกันก่อนครับ ไม่ใช่นึกจะสื่ออะไรก็สื่อออกมา
โดยไม่คำนึงถึงหลักการ คุณอาจจะไม่เข้าใจว่าหลักการคืออะไร
หลักการก็คือ การมีแบบแผนข้อตกลงไปในทางเดียวกัน อย่างในกรณีนี้
หลักการก็คือ.........พุทธพจน์หรือพุทธวจน ถ้าผู้ใดสื่อสารในสิ่งที่ผิดเพี้ยนจาก
หลักการที่ว่า นั้นแสดงว่า บุคคลนั้นไม่เข้าใจหลักการหรือแบบแผน
มันตรงกับสิ่งที่ผมตำหนิคุณนั้นแหล่ะครับว่า......สักแต่ว่าจำคนอื่นมาพูด แถมยังจินตนาการ
คำพูดขึ้นมาเอง ทำให้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน



world2/2554 เขียน:
ธรรมมิได้หมายความว่า เป็นคำสั่งสอนเสมอไป แต่หมายความถึงสิ่งทั้งปวงซึ่งเป็นได้ทั้งชั่วแลดี การนำเอาสิ่งทั้งปวงมาแสดงเพื่อให้รู้เข้าใจก็ถือว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมได้เช่นกัน แน่นอนครับว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ไม่มีสาระในทางธรรม เพราะเป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงละเสีย หากไม่สมมติ หากไม่จินตนาการคำเหล่านั้นแล้ว จะสื่อสารเพื่อให้ผู้อื่นรู้เข้าใจได้อย่างไร แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสมมติคำบัญญัติธรรมต่างๆ ไว้เพื่อแสดงให้สัตว์โลกรู้เข้าใจถึงความจริงได้ ตัวท่านเอง ณ ปัจจุบันนี้ บางคราวก็ยังศึกษาคำสมมติเหล่านั้นมิใช่หรือ และแน่นอนว่า พระพุทธพจน์มีสาระ เพราะจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก สมณพรหามณ์ แลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


คุณบอกว่า ธรรมมิได้หมายความว่า เป็นคำสอนเสมอไป ใช่ครับ
แต่เราเป็นชาวพุทธ จะต้องเข้าใจธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ
ไม่ใช่นึกจะพูดธรรมตามจินตนาการอะไรก็ได้ แบบนี้มันผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ

และที่ผมบอกคุณว่า คุณใช้คำที่ไร้สาระในธรรม เป็นเพราะคุณเอามาใช้ผิดหลักคำสอน
อย่างเช่นบอกว่า.....สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส วิญญูชนพึ่งละเสีย

คุณไม่เข้าใจว่า...สมมติที่เป็นพุทธพจน์คืออะไร บัญญัติคืออะไร และกิเลสที่เป็นพุทธพจน์คืออะไร
เริ่มแรกคุณไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวกล่าว แถมยังเอาสิ่งที่ไม่เข้าใจมาปรุงแต่งให้ผิดเพี้ยนหนักกว่าเก่า
แบบนี้จะให้ละอะไรครับ

ผมถามคุณสั้นๆครับว่า คุณเข้าใจคำว่า......สาระมั้ยครับ
จะเป็นสาระในธรรม สาระในคำพูด สาระในหลักการ
ที่ดูคุณมาแต่ต้น คุณไม่ได้มีความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นสาระทางธรรม หรือจะเป็นสาระทางโลก
คุณไปเอาโวหารทางโลกมาผสมปนเปกับพุทธพจน์ จนหาสาระไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมหรือทางโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2013, 12:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
ใช่ครับ ผมเองก็ยอมรับว่า ตัวผมนี้หาสาระไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ มีเส้นผมเป็นต้น แล้วข้างในยังมีไส้ ผังพืด ตลอดจนถึงขี้มูตร ขี้คูถ น่าโสโครกยิ่งนัก หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้คนคงจะคลั่งไคล้ สูดดม ถวิลหา ปราถนาต้องการแล้วกระมัง นี่เป็นเพราะว่า ตัวผมนี้มีแต่ของหาสาระไม่ได้เลย มีอันเสื่อมคร่ำคร่าไปตามกาลเวลา หรือหากว่า ท่านจะเห็นตัวผมเป็นของมีสาระ อันนี้ผมก็รู้สึกน่าสลดใจยิ่งนัก


คำพูดของคุณหาได้มีความหมายเลยครับ มันก็แค่เป็นคำพูดที่จำเขามาพูด
พูดทั้งๆที่ไม่เข้าใจว่า....ผู้ใช้คำพูดคนแรกนั้นเขาจะสื่ออะไร

ถ้าคุณว่าสิ่งที่คุณเอามาจารนัยไม่มีสาระ ทำไมไม่ไปให้หมอเอามันออกซะล่ะครับ
คุณนี่ไร้เดียงสาจริงๆครับ ใครเขาพูดอะไร คุณก็พูดตามเขาไม่ดูเหนือใต้ออกตก

ของในตัวเรามันมีสาระของมันตามเหตุปัจจัย ถ้ามันไม่มีสาระแล้วทำไม
ครูบาอาจารย์ถึงได้หยิบยกมันขึ้นมา เป็นแบบอย่างในการสอนธรรมล่ะครับ
.....ไอ้สิ่งที่คุณบอกว่า น่าโสโครกยิ่งนักนั้นน่ะ กรุณาจำใส่สมองไว้ครับว่า
มันเป็น....อาจารย์ใหญ่ในทางโลก และเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในทางธรรม

กรุณาอย่าสักแต่จะพูดเพื่อความเท่ครับ มันต้องเข้าใจด้วยว่า
ความหมายมันคืออะไร


world2/2554 เขียน:
การที่ท่านกล่าวว่า ผมนั้นตีความหมายพระพุทธพจน์ผิดเพี้ยน เอาคำเหล่านั้นมาสร้างคำใหม่ ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่เป็นการใช้ภาษาที่เป็นการสื่อเพื่อให้ผู้รับสารได้รู้เข้าใจตามวุฒิภาวะ ดังที่เคยกล่าวไว้ให้ท่านทราบก่อนนี้


จะบอกให้ครับ หลักการสำคัญของการสื่อสาร ผู้ที่สื่อสารและผู้รับสาร
จะต้องมีหลักการในทางเดียวกันก่อนครับ ไม่ใช่นึกจะสื่ออะไรก็สื่อออกมา
โดยไม่คำนึงถึงหลักการ คุณอาจจะไม่เข้าใจว่าหลักการคืออะไร
หลักการก็คือ การมีแบบแผนข้อตกลงไปในทางเดียวกัน อย่างในกรณีนี้
หลักการก็คือ.........พุทธพจน์หรือพุทธวจน ถ้าผู้ใดสื่อสารในสิ่งที่ผิดเพี้ยนจาก
หลักการที่ว่า นั้นแสดงว่า บุคคลนั้นไม่เข้าใจหลักการหรือแบบแผน
มันตรงกับสิ่งที่ผมตำหนิคุณนั้นแหล่ะครับว่า......สักแต่ว่าจำคนอื่นมาพูด แถมยังจินตนาการ
คำพูดขึ้นมาเอง ทำให้พุทธพจน์ผิดเพี้ยน



world2/2554 เขียน:
ธรรมมิได้หมายความว่า เป็นคำสั่งสอนเสมอไป แต่หมายความถึงสิ่งทั้งปวงซึ่งเป็นได้ทั้งชั่วแลดี การนำเอาสิ่งทั้งปวงมาแสดงเพื่อให้รู้เข้าใจก็ถือว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมได้เช่นกัน แน่นอนครับว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ไม่มีสาระในทางธรรม เพราะเป็นสิ่งที่วิญญูชนพึงละเสีย หากไม่สมมติ หากไม่จินตนาการคำเหล่านั้นแล้ว จะสื่อสารเพื่อให้ผู้อื่นรู้เข้าใจได้อย่างไร แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสมมติคำบัญญัติธรรมต่างๆ ไว้เพื่อแสดงให้สัตว์โลกรู้เข้าใจถึงความจริงได้ ตัวท่านเอง ณ ปัจจุบันนี้ บางคราวก็ยังศึกษาคำสมมติเหล่านั้นมิใช่หรือ และแน่นอนว่า พระพุทธพจน์มีสาระ เพราะจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก สมณพรหามณ์ แลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


คุณบอกว่า ธรรมมิได้หมายความว่า เป็นคำสอนเสมอไป ใช่ครับ
แต่เราเป็นชาวพุทธ จะต้องเข้าใจธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ
ไม่ใช่นึกจะพูดธรรมตามจินตนาการอะไรก็ได้ แบบนี้มันผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ

และที่ผมบอกคุณว่า คุณใช้คำที่ไร้สาระในธรรม เป็นเพราะคุณเอามาใช้ผิดหลักคำสอน
อย่างเช่นบอกว่า.....สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส วิญญูชนพึ่งละเสีย

คุณไม่เข้าใจว่า...สมมติที่เป็นพุทธพจน์คืออะไร บัญญัติคืออะไร และกิเลสที่เป็นพุทธพจน์คืออะไร
เริ่มแรกคุณไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวกล่าว แถมยังเอาสิ่งที่ไม่เข้าใจมาปรุงแต่งให้ผิดเพี้ยนหนักกว่าเก่า
แบบนี้จะให้ละอะไรครับ

ผมถามคุณสั้นๆครับว่า คุณเข้าใจคำว่า......สาระมั้ยครับ
จะเป็นสาระในธรรม สาระในคำพูด สาระในหลักการ
ที่ดูคุณมาแต่ต้น คุณไม่ได้มีความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นสาระทางธรรม หรือจะเป็นสาระทางโลก
คุณไปเอาโวหารทางโลกมาผสมปนเปกับพุทธพจน์ จนหาสาระไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมหรือทางโลก

คำว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้นี้ หมายความถึง ความไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นแต่มีธาตุทั้ง 4 มาประชุมกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงมากี่พระองค์ กี่กัปป์กี่่กัลป์แล้ว ผมมิอาจจะปฏิเสธสัจจธรรมนี้ได้เลย และหาได้จำใครเขามาไม่ เพราะเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยชอบ ใครหน้าไหนจะกล้าแอบอ้างว่า รู้ก่อนผม หรือก่อนผู้อื่น นี่เป็นสัจจธรรมต่างหาก หรือว่า ท่านนี้อาจหาญว่า เป็นสัพพัญญู กรุณาอย่าซื่อตามคำสมมติ และที่แสดงดังที่ว่านี้ ก็เพื่อที่จะคลายความยึดมั่นถือว่า เป็นตัวตน อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดทุกข์นับภพนับชาติไม่น้อยเลย ใช่ครับ ร่างกายนี้เป็นอาจารย์ใหญ่ พ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนในทางธรรม และที่ท่านสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย หรือแม้แต่กระทั่งตัวท่านเองที่จำคำสอนของท่านมา ท่านก็แนะนำสอนให้เห็นร่่างกายนี้ ว่าเป็นของโสโครก ของปฏิกูล มิได้สอนว่า เป็นของสวยของงามอะไร คำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่เป็นประเด็นนี้ ผมก็มิได้กล่าวอ้างว่า เป็นพุทธพจน์ แต่เป็นท่านเองต่างหาก ที่นำไปเปรียบเทียบว่า เป็นพุทธพจน์ ทั้งที่ผมก็ได้ชี้แจงไปแล้วว่า เป็นคำสมมติขึ้นมา เพื่อเป็นการสื่อสารตามภาษา และผมก็ขอแนะนำด้วยว่า กรุณาอย่าติดคำสมมติ พึงระลึกรู้กิเลสแท้ๆในจิตใจท่านเองมากกว่า ที่จะพาดพิงถึงสิ่งสมมติบัญญัติทั้งหลาย ให้สมกับที่อ้างว่า เป็นศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ ท่านสอนไม่ให้หลงสมมติบัญญัติ เพราะกิเลสจริงๆมันไม่มีชื่อ และไม่เลือกกาลเวลาด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2013, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
คำว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้นี้ หมายความถึง ความไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นแต่มีธาตุทั้ง 4 มาประชุมกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงมากี่พระองค์ กี่กัปป์กี่่กัลป์แล้ว ผมมิอาจจะปฏิเสธสัจจธรรมนี้ได้เลย และหาได้จำใครเขามาไม่ เพราะเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยชอบ ใครหน้าไหนจะกล้าแอบอ้างว่า รู้ก่อนผม หรือก่อนผู้อื่น นี่เป็นสัจจธรรมต่างหาก


ผมว่าคุณเริ่มจะไม่อยู่กับประเด็นแล้วครับ จะสื่อสารอะไรสมควรที่จะอยู่ในคำกล่าวแรกๆ
อย่าพยายามเบียงประเด็นแตกภาษาออกไป ไม่งั้นมันจะอธิบายความไม่จบสิ้น

คำพูดที่คุณเอามากล่าวนั้นน่ะ มันไม่ได้แปลกหรือจะทำให้ปัญหาของคุณกระจ่างเลยครับ
มันยิ่งทำให้รู้ว่า คุณศึกษาพระธรรมด้วยวิธีการท่องจำแบบอาขยาน
ถ้ากล่าวเป็นเป็นสำนวนก็พวก นกแก้วนกขุนทอง ท่องจำตัวอักษรได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย

จะบอกให้ครับ ที่ว่า"ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีแก่นสาร"
มันต้องบอกว่า......เหตุใดมันถึงหาสาระไม่ได้ เหตุใดจึงไม่มีตัวตน และเหตุใดจึงไม่มีแก่นสาร
ถ้าคุณให้เหตุผลไม่ได้...คำที่คุณพูดมันก็แค่จำขี้ปากคนอื่นมาพูด
เมื่อเป็นเช่นนั้นคำพูดของคุณเองนั้นแหล่ะ เป็นคำพูดที่หาสาระไม่ได้


world2/2554 เขียน:
หรือว่า ท่านนี้อาจหาญว่า เป็นสัพพัญญู กรุณาอย่าซื่อตามคำสมมติ และที่แสดงดังที่ว่านี้ ก็เพื่อที่จะคลายความยึดมั่นถือว่า เป็นตัวตน อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดทุกข์นับภพนับชาติไม่น้อยเลย ใช่ครับ ร่างกายนี้เป็นอาจารย์ใหญ่ พ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนในทางธรรม และที่ท่านสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย หรือแม้แต่กระทั่งตัวท่านเองที่จำคำสอนของท่านมา ท่านก็แนะนำสอนให้เห็นร่่างกายนี้ ว่าเป็นของโสโครก ของปฏิกูล มิได้สอนว่า เป็นของสวยของงามอะไร คำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่เป็นประเด็นนี้ ผมก็มิได้กล่าวอ้างว่า เป็นพุทธพจน์ แต่เป็นท่านเองต่างหาก ที่นำไปเปรียบเทียบว่า เป็นพุทธพจน์ ทั้งที่ผมก็ได้ชี้แจงไปแล้วว่า เป็นคำสมมติขึ้นมา เพื่อเป็นการสื่อสารตามภาษา และผมก็ขอแนะนำด้วยว่า กรุณาอย่าติดคำสมมติ พึงระลึกรู้กิเลสแท้ๆในจิตใจท่านเองมากกว่า ที่จะพาดพิงถึงสิ่งสมมติบัญญัติทั้งหลาย ให้สมกับที่อ้างว่า เป็นศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ ท่านสอนไม่ให้หลงสมมติบัญญัติ เพราะกิเลสจริงๆมันไม่มีชื่อ และไม่เลือกกาลเวลาด้วย


คุณเข้าใจมั้ยว่า การจะพูดธรรมหรือแม้แต่การสื่อสารกัน มันต้องพูดสื่อให้เห็นถึงเหตุผล
ไม่ใช่สักแต่จำคำพูด เขามาพูด เวลาอธิบายความกลับอธิบายไม่ได้

เช่น บอกร่างกายนี้เป็นของโสโครก มันต้องบอกว่าเหตุใด มันจึงเป็นของโสโครก
เพราะคุณพูดโดยขาดความเข้าใจ ผมถึงได้แกล้งย้อนถามคุณไงว่า มันโสโครกแล้วทำไม
ไม่ให้หมอเอาออก คุณก็ตอบไม่ได้

แล้วเรื่องคำ"สมมติ"ก็เช่นกัน บอกอย่าให้ยึดติด คุณสมมติขึ้นมา
นี่สงสัยคุณจะอ่านความเห็นผมไม่เข้าใจที่ผมบอกว่า คุณเอาพุทธพจน์ไปต่อเติมเสริมแต่ง
จินตนาการพุทธพจน์จนผิดเพี้ยน.......คุณไม่เข้าใจหรือว่า...."สมมติ" "กิเลส" "บัญญัติ"
คำเหล่านี้ล้วนเป็นพุทธพจน์ คุณบอกไม่ให้ยึดเพราะคุณสมมติขึ้นมา คุณจะสมมติขึ้นมาไง
ก็ในเมื่อคำเหล่านี้เป็นพุทธพจน์ คุณจะกล่าวว่าคุณสมมติขึ้นมาไม่ได้ เพราะคุณเอาพุทธพจน์
ไปทำให้มันผิดเพี้ยยน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2013, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของสมมติบัญญัติ เนี่ย ดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่แก่ผู้ศึกษาธรรมะบ้านเรา

แต่เป็นเรื่องธรรมดาๆ กับ

"สมมติว่าเขารัก" :b9: :b32:

http://www.youtube.com/watch?v=6YREVwRt_dw

สมมติว่าเขามาเอ็นดู :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2013, 13:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
คำว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้นี้ หมายความถึง ความไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นแต่มีธาตุทั้ง 4 มาประชุมกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงมากี่พระองค์ กี่กัปป์กี่่กัลป์แล้ว ผมมิอาจจะปฏิเสธสัจจธรรมนี้ได้เลย และหาได้จำใครเขามาไม่ เพราะเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยชอบ ใครหน้าไหนจะกล้าแอบอ้างว่า รู้ก่อนผม หรือก่อนผู้อื่น นี่เป็นสัจจธรรมต่างหาก


ผมว่าคุณเริ่มจะไม่อยู่กับประเด็นแล้วครับ จะสื่อสารอะไรสมควรที่จะอยู่ในคำกล่าวแรกๆ
อย่าพยายามเบียงประเด็นแตกภาษาออกไป ไม่งั้นมันจะอธิบายความไม่จบสิ้น

คำพูดที่คุณเอามากล่าวนั้นน่ะ มันไม่ได้แปลกหรือจะทำให้ปัญหาของคุณกระจ่างเลยครับ
มันยิ่งทำให้รู้ว่า คุณศึกษาพระธรรมด้วยวิธีการท่องจำแบบอาขยาน
ถ้ากล่าวเป็นเป็นสำนวนก็พวก นกแก้วนกขุนทอง ท่องจำตัวอักษรได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย

จะบอกให้ครับ ที่ว่า"ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีแก่นสาร"
มันต้องบอกว่า......เหตุใดมันถึงหาสาระไม่ได้ เหตุใดจึงไม่มีตัวตน และเหตุใดจึงไม่มีแก่นสาร
ถ้าคุณให้เหตุผลไม่ได้...คำที่คุณพูดมันก็แค่จำขี้ปากคนอื่นมาพูด
เมื่อเป็นเช่นนั้นคำพูดของคุณเองนั้นแหล่ะ เป็นคำพูดที่หาสาระไม่ได้


world2/2554 เขียน:
หรือว่า ท่านนี้อาจหาญว่า เป็นสัพพัญญู กรุณาอย่าซื่อตามคำสมมติ และที่แสดงดังที่ว่านี้ ก็เพื่อที่จะคลายความยึดมั่นถือว่า เป็นตัวตน อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดทุกข์นับภพนับชาติไม่น้อยเลย ใช่ครับ ร่างกายนี้เป็นอาจารย์ใหญ่ พ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนในทางธรรม และที่ท่านสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย หรือแม้แต่กระทั่งตัวท่านเองที่จำคำสอนของท่านมา ท่านก็แนะนำสอนให้เห็นร่่างกายนี้ ว่าเป็นของโสโครก ของปฏิกูล มิได้สอนว่า เป็นของสวยของงามอะไร คำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่เป็นประเด็นนี้ ผมก็มิได้กล่าวอ้างว่า เป็นพุทธพจน์ แต่เป็นท่านเองต่างหาก ที่นำไปเปรียบเทียบว่า เป็นพุทธพจน์ ทั้งที่ผมก็ได้ชี้แจงไปแล้วว่า เป็นคำสมมติขึ้นมา เพื่อเป็นการสื่อสารตามภาษา และผมก็ขอแนะนำด้วยว่า กรุณาอย่าติดคำสมมติ พึงระลึกรู้กิเลสแท้ๆในจิตใจท่านเองมากกว่า ที่จะพาดพิงถึงสิ่งสมมติบัญญัติทั้งหลาย ให้สมกับที่อ้างว่า เป็นศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ ท่านสอนไม่ให้หลงสมมติบัญญัติ เพราะกิเลสจริงๆมันไม่มีชื่อ และไม่เลือกกาลเวลาด้วย


คุณเข้าใจมั้ยว่า การจะพูดธรรมหรือแม้แต่การสื่อสารกัน มันต้องพูดสื่อให้เห็นถึงเหตุผล
ไม่ใช่สักแต่จำคำพูด เขามาพูด เวลาอธิบายความกลับอธิบายไม่ได้

เช่น บอกร่างกายนี้เป็นของโสโครก มันต้องบอกว่าเหตุใด มันจึงเป็นของโสโครก
เพราะคุณพูดโดยขาดความเข้าใจ ผมถึงได้แกล้งย้อนถามคุณไงว่า มันโสโครกแล้วทำไม
ไม่ให้หมอเอาออก คุณก็ตอบไม่ได้

แล้วเรื่องคำ"สมมติ"ก็เช่นกัน บอกอย่าให้ยึดติด คุณสมมติขึ้นมา
นี่สงสัยคุณจะอ่านความเห็นผมไม่เข้าใจที่ผมบอกว่า คุณเอาพุทธพจน์ไปต่อเติมเสริมแต่ง
จินตนาการพุทธพจน์จนผิดเพี้ยน.......คุณไม่เข้าใจหรือว่า...."สมมติ" "กิเลส" "บัญญัติ"
คำเหล่านี้ล้วนเป็นพุทธพจน์ คุณบอกไม่ให้ยึดเพราะคุณสมมติขึ้นมา คุณจะสมมติขึ้นมาไง
ก็ในเมื่อคำเหล่านี้เป็นพุทธพจน์ คุณจะกล่าวว่าคุณสมมติขึ้นมาไม่ได้ เพราะคุณเอาพุทธพจน์
ไปทำให้มันผิดเพี้ยยน

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่านโฮฮับ ผมไม่ได้เข้ามาดูกระทู้หลายวัน แต่ท่านโฮฮับก็ยังชวนผมสนทนาต่อไป หากเป็นเช่นนี้ ก็จะขอกล่าวตอบคำสนทนาของท่านตามที่ท่านทำเหมือนต้องการจะทราบ ที่ท่านกล่าวว่า การที่ผมกล่าวว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีแก่นสาร เป็นคำกล่าวที่ผมจำขี้ปากเขามา ผมก็คงจะไม่แย้งคำกล่าวนี้ เพราะเป็นที่แพร่หลายมาแต่ก่อน อันเป็นสัจจธรรมที่ควรพิจารณาให้เห็นและกล่าวบอกสืบต่อกันไปแก่อนุชนคราวถัดไป และหากผมอธิบายคำกล่าวนี้ให้แจ่มแจ้งขยายความให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ต้องการจะทราบเพียงใด จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ผู้นั้น ในเมื่อไม่ได้รู้เห็นด้วยตนเอง การกระทำอย่างนี้ต่างหากจะเป็นการแนะนำให้ผู้ที่ต้องการจะทราบนั้นจำขี้ปากของผู้อื่นมา ถ้าท่านต้องการจะทราบ ท่านควรจะพิจารณาให้รู้ให้เห็นเอง ดีกว่าที่จะคอยรับคำอธิบาย อันอาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็เป็นได้ ส่วนประเด็นเดิม คำว่า สมมติ กิเลส และบัญญัติ ที่ผมกล่าวว่า ผมสมมติขึ้นมา เพราะเป็นการกล่าวแสดงให้ผู้รับการสื่อสารให้รู้ถึงตัวกิเลสอันเกิดมีภายในจิตใจของสัพพสัตว์ เป็นอาการที่เป็นกริยามีการกระทำภายในกิเลสในจิตใจ คือมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา มิได้เป็นการนำสมมติ หรือบัญญัติธรรมทั้งหลายอันพระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้วมากล่าวให้ผิดเพี้ยน ดังที่ท่านเข้าใจ และการที่ผมกล่าวว่า มิให้หลงสมมติบัญญัติ ก็หมายความว่า สมมติบัญญัติที่สัพพสัตว์ทำให้เกิดมีขึ้น ทั้งมีเจตนาและไม่มีเจตนานี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2013, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
คำว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้นี้ หมายความถึง ความไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นแต่มีธาตุทั้ง 4 มาประชุมกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงมากี่พระองค์ กี่กัปป์กี่่กัลป์แล้ว ผมมิอาจจะปฏิเสธสัจจธรรมนี้ได้เลย และหาได้จำใครเขามาไม่ เพราะเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยชอบ ใครหน้าไหนจะกล้าแอบอ้างว่า รู้ก่อนผม หรือก่อนผู้อื่น นี่เป็นสัจจธรรมต่างหาก


ผมว่าคุณเริ่มจะไม่อยู่กับประเด็นแล้วครับ จะสื่อสารอะไรสมควรที่จะอยู่ในคำกล่าวแรกๆ
อย่าพยายามเบียงประเด็นแตกภาษาออกไป ไม่งั้นมันจะอธิบายความไม่จบสิ้น

คำพูดที่คุณเอามากล่าวนั้นน่ะ มันไม่ได้แปลกหรือจะทำให้ปัญหาของคุณกระจ่างเลยครับ
มันยิ่งทำให้รู้ว่า คุณศึกษาพระธรรมด้วยวิธีการท่องจำแบบอาขยาน
ถ้ากล่าวเป็นเป็นสำนวนก็พวก นกแก้วนกขุนทอง ท่องจำตัวอักษรได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย

จะบอกให้ครับ ที่ว่า"ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีแก่นสาร"
มันต้องบอกว่า......เหตุใดมันถึงหาสาระไม่ได้ เหตุใดจึงไม่มีตัวตน และเหตุใดจึงไม่มีแก่นสาร
ถ้าคุณให้เหตุผลไม่ได้...คำที่คุณพูดมันก็แค่จำขี้ปากคนอื่นมาพูด
เมื่อเป็นเช่นนั้นคำพูดของคุณเองนั้นแหล่ะ เป็นคำพูดที่หาสาระไม่ได้


world2/2554 เขียน:
หรือว่า ท่านนี้อาจหาญว่า เป็นสัพพัญญู กรุณาอย่าซื่อตามคำสมมติ และที่แสดงดังที่ว่านี้ ก็เพื่อที่จะคลายความยึดมั่นถือว่า เป็นตัวตน อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดทุกข์นับภพนับชาติไม่น้อยเลย ใช่ครับ ร่างกายนี้เป็นอาจารย์ใหญ่ พ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนในทางธรรม และที่ท่านสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย หรือแม้แต่กระทั่งตัวท่านเองที่จำคำสอนของท่านมา ท่านก็แนะนำสอนให้เห็นร่่างกายนี้ ว่าเป็นของโสโครก ของปฏิกูล มิได้สอนว่า เป็นของสวยของงามอะไร คำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่เป็นประเด็นนี้ ผมก็มิได้กล่าวอ้างว่า เป็นพุทธพจน์ แต่เป็นท่านเองต่างหาก ที่นำไปเปรียบเทียบว่า เป็นพุทธพจน์ ทั้งที่ผมก็ได้ชี้แจงไปแล้วว่า เป็นคำสมมติขึ้นมา เพื่อเป็นการสื่อสารตามภาษา และผมก็ขอแนะนำด้วยว่า กรุณาอย่าติดคำสมมติ พึงระลึกรู้กิเลสแท้ๆในจิตใจท่านเองมากกว่า ที่จะพาดพิงถึงสิ่งสมมติบัญญัติทั้งหลาย ให้สมกับที่อ้างว่า เป็นศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ ท่านสอนไม่ให้หลงสมมติบัญญัติ เพราะกิเลสจริงๆมันไม่มีชื่อ และไม่เลือกกาลเวลาด้วย


คุณเข้าใจมั้ยว่า การจะพูดธรรมหรือแม้แต่การสื่อสารกัน มันต้องพูดสื่อให้เห็นถึงเหตุผล
ไม่ใช่สักแต่จำคำพูด เขามาพูด เวลาอธิบายความกลับอธิบายไม่ได้

เช่น บอกร่างกายนี้เป็นของโสโครก มันต้องบอกว่าเหตุใด มันจึงเป็นของโสโครก
เพราะคุณพูดโดยขาดความเข้าใจ ผมถึงได้แกล้งย้อนถามคุณไงว่า มันโสโครกแล้วทำไม
ไม่ให้หมอเอาออก คุณก็ตอบไม่ได้

แล้วเรื่องคำ"สมมติ"ก็เช่นกัน บอกอย่าให้ยึดติด คุณสมมติขึ้นมา
นี่สงสัยคุณจะอ่านความเห็นผมไม่เข้าใจที่ผมบอกว่า คุณเอาพุทธพจน์ไปต่อเติมเสริมแต่ง
จินตนาการพุทธพจน์จนผิดเพี้ยน.......คุณไม่เข้าใจหรือว่า...."สมมติ" "กิเลส" "บัญญัติ"
คำเหล่านี้ล้วนเป็นพุทธพจน์ คุณบอกไม่ให้ยึดเพราะคุณสมมติขึ้นมา คุณจะสมมติขึ้นมาไง
ก็ในเมื่อคำเหล่านี้เป็นพุทธพจน์ คุณจะกล่าวว่าคุณสมมติขึ้นมาไม่ได้ เพราะคุณเอาพุทธพจน์
ไปทำให้มันผิดเพี้ยยน

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่านโฮฮับ ผมไม่ได้เข้ามาดูกระทู้หลายวัน แต่ท่านโฮฮับก็ยังชวนผมสนทนาต่อไป หากเป็นเช่นนี้ ก็จะขอกล่าวตอบคำสนทนาของท่านตามที่ท่านทำเหมือนต้องการจะทราบ ที่ท่านกล่าวว่า การที่ผมกล่าวว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีแก่นสาร เป็นคำกล่าวที่ผมจำขี้ปากเขามา ผมก็คงจะไม่แย้งคำกล่าวนี้ เพราะเป็นที่แพร่หลายมาแต่ก่อน อันเป็นสัจจธรรมที่ควรพิจารณาให้เห็นและกล่าวบอกสืบต่อกันไปแก่อนุชนคราวถัดไป และหากผมอธิบายคำกล่าวนี้ให้แจ่มแจ้งขยายความให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ต้องการจะทราบเพียงใด จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ผู้นั้น ในเมื่อไม่ได้รู้เห็นด้วยตนเอง การกระทำอย่างนี้ต่างหากจะเป็นการแนะนำให้ผู้ที่ต้องการจะทราบนั้นจำขี้ปากของผู้อื่นมา ถ้าท่านต้องการจะทราบ ท่านควรจะพิจารณาให้รู้ให้เห็นเอง ดีกว่าที่จะคอยรับคำอธิบาย อันอาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็เป็นได้ ส่วนประเด็นเดิม คำว่า สมมติ กิเลส และบัญญัติ ที่ผมกล่าวว่า ผมสมมติขึ้นมา เพราะเป็นการกล่าวแสดงให้ผู้รับการสื่อสารให้รู้ถึงตัวกิเลสอันเกิดมีภายในจิตใจของสัพพสัตว์ เป็นอาการที่เป็นกริยามีการกระทำภายในกิเลสในจิตใจ คือมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา มิได้เป็นการนำสมมติ หรือบัญญัติธรรมทั้งหลายอันพระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้วมากล่าวให้ผิดเพี้ยน ดังที่ท่านเข้าใจ และการที่ผมกล่าวว่า มิให้หลงสมมติบัญญัติ ก็หมายความว่า สมมติบัญญัติที่สัพพสัตว์ทำให้เกิดมีขึ้น ทั้งมีเจตนาและไม่มีเจตนานี้


ขอตอบสั้นว่า.................คุณแยกแยะบัญญัติกับพุทธพจน์ไม่ได้

ถามครับ.....คุณเข้าใจสมมติสัจจะหรือไม่
ที่สำคัญ.....คุณรู้จักบัญญัติที่เขียนว่า......จินตนาการหรือเปล่า

ปัญหาของคุณมันก็แค่ คุณแยกแยะไม่ออกว่า อะไรเป็นจินตนาการ อะไรเป็นสมมติสัจจะ
คุณเอามาผสมปนเปกันซะผิดหลักพระธรรม...เข้าใจมั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2013, 13:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
โฮฮับ เขียน:
world2/2554 เขียน:
คำว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้นี้ หมายความถึง ความไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่ตัวตนอะไร เป็นแต่มีธาตุทั้ง 4 มาประชุมกัน พระพุทธองค์ทรงแสดงมากี่พระองค์ กี่กัปป์กี่่กัลป์แล้ว ผมมิอาจจะปฏิเสธสัจจธรรมนี้ได้เลย และหาได้จำใครเขามาไม่ เพราะเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โดยชอบ ใครหน้าไหนจะกล้าแอบอ้างว่า รู้ก่อนผม หรือก่อนผู้อื่น นี่เป็นสัจจธรรมต่างหาก


ผมว่าคุณเริ่มจะไม่อยู่กับประเด็นแล้วครับ จะสื่อสารอะไรสมควรที่จะอยู่ในคำกล่าวแรกๆ
อย่าพยายามเบียงประเด็นแตกภาษาออกไป ไม่งั้นมันจะอธิบายความไม่จบสิ้น

คำพูดที่คุณเอามากล่าวนั้นน่ะ มันไม่ได้แปลกหรือจะทำให้ปัญหาของคุณกระจ่างเลยครับ
มันยิ่งทำให้รู้ว่า คุณศึกษาพระธรรมด้วยวิธีการท่องจำแบบอาขยาน
ถ้ากล่าวเป็นเป็นสำนวนก็พวก นกแก้วนกขุนทอง ท่องจำตัวอักษรได้แต่ไม่เข้าใจความหมาย

จะบอกให้ครับ ที่ว่า"ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีแก่นสาร"
มันต้องบอกว่า......เหตุใดมันถึงหาสาระไม่ได้ เหตุใดจึงไม่มีตัวตน และเหตุใดจึงไม่มีแก่นสาร
ถ้าคุณให้เหตุผลไม่ได้...คำที่คุณพูดมันก็แค่จำขี้ปากคนอื่นมาพูด
เมื่อเป็นเช่นนั้นคำพูดของคุณเองนั้นแหล่ะ เป็นคำพูดที่หาสาระไม่ได้


world2/2554 เขียน:
หรือว่า ท่านนี้อาจหาญว่า เป็นสัพพัญญู กรุณาอย่าซื่อตามคำสมมติ และที่แสดงดังที่ว่านี้ ก็เพื่อที่จะคลายความยึดมั่นถือว่า เป็นตัวตน อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดทุกข์นับภพนับชาติไม่น้อยเลย ใช่ครับ ร่างกายนี้เป็นอาจารย์ใหญ่ พ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนในทางธรรม และที่ท่านสอนลูกศิษย์ทั้งหลาย หรือแม้แต่กระทั่งตัวท่านเองที่จำคำสอนของท่านมา ท่านก็แนะนำสอนให้เห็นร่่างกายนี้ ว่าเป็นของโสโครก ของปฏิกูล มิได้สอนว่า เป็นของสวยของงามอะไร คำว่า สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่เป็นประเด็นนี้ ผมก็มิได้กล่าวอ้างว่า เป็นพุทธพจน์ แต่เป็นท่านเองต่างหาก ที่นำไปเปรียบเทียบว่า เป็นพุทธพจน์ ทั้งที่ผมก็ได้ชี้แจงไปแล้วว่า เป็นคำสมมติขึ้นมา เพื่อเป็นการสื่อสารตามภาษา และผมก็ขอแนะนำด้วยว่า กรุณาอย่าติดคำสมมติ พึงระลึกรู้กิเลสแท้ๆในจิตใจท่านเองมากกว่า ที่จะพาดพิงถึงสิ่งสมมติบัญญัติทั้งหลาย ให้สมกับที่อ้างว่า เป็นศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ ท่านสอนไม่ให้หลงสมมติบัญญัติ เพราะกิเลสจริงๆมันไม่มีชื่อ และไม่เลือกกาลเวลาด้วย


คุณเข้าใจมั้ยว่า การจะพูดธรรมหรือแม้แต่การสื่อสารกัน มันต้องพูดสื่อให้เห็นถึงเหตุผล
ไม่ใช่สักแต่จำคำพูด เขามาพูด เวลาอธิบายความกลับอธิบายไม่ได้

เช่น บอกร่างกายนี้เป็นของโสโครก มันต้องบอกว่าเหตุใด มันจึงเป็นของโสโครก
เพราะคุณพูดโดยขาดความเข้าใจ ผมถึงได้แกล้งย้อนถามคุณไงว่า มันโสโครกแล้วทำไม
ไม่ให้หมอเอาออก คุณก็ตอบไม่ได้

แล้วเรื่องคำ"สมมติ"ก็เช่นกัน บอกอย่าให้ยึดติด คุณสมมติขึ้นมา
นี่สงสัยคุณจะอ่านความเห็นผมไม่เข้าใจที่ผมบอกว่า คุณเอาพุทธพจน์ไปต่อเติมเสริมแต่ง
จินตนาการพุทธพจน์จนผิดเพี้ยน.......คุณไม่เข้าใจหรือว่า...."สมมติ" "กิเลส" "บัญญัติ"
คำเหล่านี้ล้วนเป็นพุทธพจน์ คุณบอกไม่ให้ยึดเพราะคุณสมมติขึ้นมา คุณจะสมมติขึ้นมาไง
ก็ในเมื่อคำเหล่านี้เป็นพุทธพจน์ คุณจะกล่าวว่าคุณสมมติขึ้นมาไม่ได้ เพราะคุณเอาพุทธพจน์
ไปทำให้มันผิดเพี้ยยน

สวัสดีอีกครั้งครับ ท่านโฮฮับ ผมไม่ได้เข้ามาดูกระทู้หลายวัน แต่ท่านโฮฮับก็ยังชวนผมสนทนาต่อไป หากเป็นเช่นนี้ ก็จะขอกล่าวตอบคำสนทนาของท่านตามที่ท่านทำเหมือนต้องการจะทราบ ที่ท่านกล่าวว่า การที่ผมกล่าวว่า ร่างกายหาสาระไม่ได้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีแก่นสาร เป็นคำกล่าวที่ผมจำขี้ปากเขามา ผมก็คงจะไม่แย้งคำกล่าวนี้ เพราะเป็นที่แพร่หลายมาแต่ก่อน อันเป็นสัจจธรรมที่ควรพิจารณาให้เห็นและกล่าวบอกสืบต่อกันไปแก่อนุชนคราวถัดไป และหากผมอธิบายคำกล่าวนี้ให้แจ่มแจ้งขยายความให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ต้องการจะทราบเพียงใด จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ผู้นั้น ในเมื่อไม่ได้รู้เห็นด้วยตนเอง การกระทำอย่างนี้ต่างหากจะเป็นการแนะนำให้ผู้ที่ต้องการจะทราบนั้นจำขี้ปากของผู้อื่นมา ถ้าท่านต้องการจะทราบ ท่านควรจะพิจารณาให้รู้ให้เห็นเอง ดีกว่าที่จะคอยรับคำอธิบาย อันอาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็เป็นได้ ส่วนประเด็นเดิม คำว่า สมมติ กิเลส และบัญญัติ ที่ผมกล่าวว่า ผมสมมติขึ้นมา เพราะเป็นการกล่าวแสดงให้ผู้รับการสื่อสารให้รู้ถึงตัวกิเลสอันเกิดมีภายในจิตใจของสัพพสัตว์ เป็นอาการที่เป็นกริยามีการกระทำภายในกิเลสในจิตใจ คือมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา มิได้เป็นการนำสมมติ หรือบัญญัติธรรมทั้งหลายอันพระพุทธองค์ทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้วมากล่าวให้ผิดเพี้ยน ดังที่ท่านเข้าใจ และการที่ผมกล่าวว่า มิให้หลงสมมติบัญญัติ ก็หมายความว่า สมมติบัญญัติที่สัพพสัตว์ทำให้เกิดมีขึ้น ทั้งมีเจตนาและไม่มีเจตนานี้


ขอตอบสั้นว่า.................คุณแยกแยะบัญญัติกับพุทธพจน์ไม่ได้

ถามครับ.....คุณเข้าใจสมมติสัจจะหรือไม่
ที่สำคัญ.....คุณรู้จักบัญญัติที่เขียนว่า......จินตนาการหรือเปล่า

ปัญหาของคุณมันก็แค่ คุณแยกแยะไม่ออกว่า อะไรเป็นจินตนาการ อะไรเป็นสมมติสัจจะ
คุณเอามาผสมปนเปกันซะผิดหลักพระธรรม...เข้าใจมั้ยครับ

การตอบคำถามเกี่ยวกับศัพท์คำว่า สมมติสัจจะ นี้ ไม่มีใครที่จะตอบให้ความหมายได้ดีไปกว่าท่านเอง ผู้ที่สมมติคำขึ้นมา เพราะคำนี้ก็เป็นการสมมติคำขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อสารกันตามภาษา ที่ประสงค์จะแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้รับการสื่อสารเข้าใจความหมายได้ตามกำลังวุฒิภาวะ แต่เอาเถิด เมื่อท่านต้องการจะรู้คำตอบจากผม ผมก็จะขอให้ความหมายพอเป็นที่เข้าใจโดยสังเขป สมมติสัจจะ ก็คือการนำคำสองคำคือ สมมติกับสัจจะ มาต่อให้เป็นศัพท์เดียวกัน สมมติ หมายความว่า การให้เกิดมีขึ้นโดยสันนิษฐาน หรือโดยบัญญัติ ซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า สัจจะ หมายความว่า ความจริง สิ่งที่เป็นจริง อันหมายความถึงสิ่งทั้งปวงที่เป็นได้ทั้งดีและทั้งชั่ว และคงอยู่โดยภาวะอย่างนั้น ใครจะรู้หรือไม่ สัจจะก็ยังคงความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น สมมติกับสัจจะ สองศัพท์นี้มารวมกัน จึงเป็นสมมติสัจจะ อันหมายความว่า การบัญญัติ การสันนิษฐานความจริง ส่วนคำว่า จินตนาการนั้น หมายความว่า อาการของความคิด หรือกริยาของความคิด ดังนี้ โดยสังเขป และการที่ท่านกล่าวว่า ผมแยกแยะไม่ออกระหว่าง อะไรเป็นจินตนาการ อะไรเป็นสมมติสัจจะ นั้น จะเป็นเช่นนั้นหาได้ไม่ หากท่านกลับทวนไปที่กระทู้แรก ท่านก็จะพบว่า กระทู้แรกนั้นผมกล่าวว่า สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส... สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่ผมกล่าวนั้น ก็หมายความว่า สมมติสัจจะ คือ สันนิษฐาน บัญญัติความจริงที่ท่านกล่าวถึงนี้ และสมมติกิเลส บัญญัติกิเลส นั่นแล เป็นจินตนาการอย่างหนึ่งที่ท่านกล่าวถึงอยู่นี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2013, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
การตอบคำถามเกี่ยวกับศัพท์คำว่า สมมติสัจจะ นี้ ไม่มีใครที่จะตอบให้ความหมายได้ดีไปกว่าท่านเอง ผู้ที่สมมติคำขึ้นมา เพราะคำนี้ก็เป็นการสมมติคำขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อสารกันตามภาษา ที่ประสงค์จะแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้รับการสื่อสารเข้าใจความหมายได้ตามกำลังวุฒิภาวะ แต่เอาเถิด เมื่อท่านต้องการจะรู้คำตอบจากผม ผมก็จะขอให้ความหมายพอเป็นที่เข้าใจโดยสังเขป สมมติสัจจะ ก็คือการนำคำสองคำคือ สมมติกับสัจจะ มาต่อให้เป็นศัพท์เดียวกัน สมมติ หมายความว่า การให้เกิดมีขึ้นโดยสันนิษฐาน หรือโดยบัญญัติ ซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า สัจจะ หมายความว่า ความจริง สิ่งที่เป็นจริง อันหมายความถึงสิ่งทั้งปวงที่เป็นได้ทั้งดีและทั้งชั่ว และคงอยู่โดยภาวะอย่างนั้น ใครจะรู้หรือไม่ สัจจะก็ยังคงความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น สมมติกับสัจจะ สองศัพท์นี้มารวมกัน จึงเป็นสมมติสัจจะ อันหมายความว่า การบัญญัติ การสันนิษฐานความจริง ส่วนคำว่า จินตนาการนั้น หมายความว่า อาการของความคิด หรือกริยาของความคิด ดังนี้ โดยสังเขป และการที่ท่านกล่าวว่า ผมแยกแยะไม่ออกระหว่าง อะไรเป็นจินตนาการ อะไรเป็นสมมติสัจจะ นั้น จะเป็นเช่นนั้นหาได้ไม่ หากท่านกลับทวนไปที่กระทู้แรก ท่านก็จะพบว่า กระทู้แรกนั้นผมกล่าวว่า สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส... สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่ผมกล่าวนั้น ก็หมายความว่า สมมติสัจจะ คือ สันนิษฐาน บัญญัติความจริงที่ท่านกล่าวถึงนี้ และสมมติกิเลส บัญญัติกิเลส นั่นแล เป็นจินตนาการอย่างหนึ่งที่ท่านกล่าวถึงอยู่นี้


คุณจขกทครับ ผมจะพูดให้ตรงประเด็นเลยน่ะครับ.......คุณกำลังเข้าใจผิดในพุทธพจน์ครับ
คุณกำลังเอาพุทธพจน์ที่ใช้ในพระอภิธรรม มาผสมปนเปกับภาษาที่ใช้ทางโลกครับ...มันผิด

สมมติที่เป็นพุทธพจน์ มันไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ
ด้วยเหตุนี้ผมถึงได้ถามคุณไงว่า....คุณเข้าใจคำว่า จินตนาการมั้ย คุณรู้จัก สมมติหรือเปล่า

คุณรู้หรือเปล่าว่า คุณกำลังหลงเข้าใจผิดว่า สมมติกับจินตนาการเป็นอย่างเดียวกัน
ผมจะค่อยๆ แยกแยะปัญหาของคุณมาอธิบาย......

world2/2554 เขียน:
การตอบคำถามเกี่ยวกับศัพท์คำว่า สมมติสัจจะ นี้ ไม่มีใครที่จะตอบให้ความหมายได้ดีไปกว่าท่านเอง ผู้ที่สมมติคำขึ้นมา เพราะคำนี้ก็เป็นการสมมติคำขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อสารกันตามภาษา ที่ประสงค์จะแสดงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้รับการสื่อสารเข้าใจความหมายได้ตามกำลังวุฒิภาวะ


สมมติสัจจะเป็นพุทธพจน์ เราจะใช้คำแปลในลักษณะของคำศัพท์ไม่ได้
พุทธพจน์ทุกคำต้องเข้าใจด้วยการ พิจารณาหาเหตุปัจจัยแล้วไปดูคำตอบที่กายใจตนเอง

ถ้าคุณจะใช้สมมติเป็นไปในลักษณะการสื่อสารทางโลก ย่อมทำได้
แต่คุณจะเอาวิธีการแบบนี้มาใช้กับการปฏิบัติธรรมหรือการสื่อสารในทางธรรมไม่ได้
เพราะความหมายมันสวนทางกัน

สมมติที่เป็นพุทธพจน์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงจะสื่อให้สาวกรู้และเข้าใจว่า
มีธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า...สมมติ
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเน้นให้เราเชื่อด้วย พุทธพจน์หรือพุทธบัญญัติว่า สมมติสัจจะ
ดังนั้น ความหมายของสมมติสัจจะก็ ธรรมชาติที่มีอยู่จริง นั้นก็คือสมมติ


world2/2554 เขียน:
ผมก็จะขอให้ความหมายพอเป็นที่เข้าใจโดยสังเขป สมมติสัจจะ ก็คือการนำคำสองคำคือ สมมติกับสัจจะ มาต่อให้เป็นศัพท์เดียวกัน สมมติ หมายความว่า การให้เกิดมีขึ้นโดยสันนิษฐาน หรือโดยบัญญัติ ซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า สัจจะ หมายความว่า ความจริง สิ่งที่เป็นจริง อันหมายความถึงสิ่งทั้งปวงที่เป็นได้ทั้งดีและทั้งชั่ว และคงอยู่โดยภาวะอย่างนั้น ใครจะรู้หรือไม่ สัจจะก็ยังคงความเป็นจริงอยู่อย่างนั้น สมมติกับสัจจะ สองศัพท์นี้มารวมกัน จึงเป็นสมมติสัจจะ อันหมายความว่า การบัญญัติ การสันนิษฐานความจริง ส่วนคำว่า จินตนาการนั้น หมายความว่า อาการของความคิด หรือกริยาของความคิด ดังนี้ โดยสังเขป และการที่ท่านกล่าวว่า ผมแยกแยะไม่ออกระหว่าง อะไรเป็นจินตนาการ อะไรเป็นสมมติสัจจะ นั้น จะเป็นเช่นนั้นหาได้ไม่ หากท่านกลับทวนไปที่กระทู้แรก ท่านก็จะพบว่า กระทู้แรกนั้นผมกล่าวว่า สัพพสัตว์นั่นแล สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส... สมมติกิเลส บัญญัติกิเลส ที่ผมกล่าวนั้น ก็หมายความว่า สมมติสัจจะ คือ สันนิษฐาน บัญญัติความจริงที่ท่านกล่าวถึงนี้ และสมมติกิเลส บัญญัติกิเลส นั่นแล เป็นจินตนาการอย่างหนึ่งที่ท่านกล่าวถึงอยู่นี้


คุณกำลังหลงครับ คุณกำลังเข้าใจผิด พระธรรมหรือพุทธพจน์ไม่ใช่หลักการใช้ภาษาไทย
หรือแม้แต่หลักภาษาทางโลกครับ

แค่ตัวอย่างที่คุณยกมาพูด ผมถามคุณไม่รู้สึกสับสนกับคำพูดของตัวเองหรือครับ
บอกสมมติคือสันนิษฐาน สัจจะคือความจริง เอาสองคำมารวมกัน เป็นสันนิษความจริง
คุณไม่รู้สึกว่าคำพูดของคุณมันย้อนแย้งกันเองหรือครับ ความหมายมันตรงข้ามกัน
คุณเอามาเป็นคำๆเดียวกันได้อย่างไรครับ


ผมจะแนะนำครับ บางครั้งในความเชื่อของเรามันเกิดปัญหา หรือเกิดความสับสน
ถ้าเป็นอย่างนี้ เราก็ไม่ควรหลงตะบี้ตะบันเชื่อโดยขาดเหตุผลนะครับ
เราต้องคิดพิจารณาว่า มันต้องมีอะไรที่ผิดจากความเป็นจริง แบบนี้จึงจะเรียกว่ามีปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร