วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 139 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2014, 11:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ก่อนที่คุณสองใจ จะพบสภาวะความสงบ อบอุ่นสบาย ย่อมผ่านนิวรณ์ธรรม

นิวรณธรรมคือในส่วนของจิตได้แก่ ความคิด เรื่องราวในอดีต จะคลายออกมา ส่วนของร่างกายจะร้อน เหนื่อย ปวด เมื่อทั้งสองส่วน คลายมากเข้า สภาพจิตเริ่มเข้าสู่ความเฉื่อยเรื่องราว ความคิดลดลง ร่างกายจะซึมและหลับในที่สุด เมื่อรู้สึกตัวจิตใจและร่างกายรู้สีกสดชื่นขึ้น สภาพจิตเริ่มเกิดความคิด แต่หากสังเกตจะเป็นความคิดในเรื่องอนาคต สิ่งต่างๆที่คิดจะทำ

เมื่อนิวรณ์ธรรมคลายจางไป จะพบว่า สภาพความเกิดดับปรากฏชัด รู้สภาวะได้ง่าย เกิดดับเร็ว การคลายพลังหยาบเริ่มสู่ความละเอียดจิตเริ่มเย็นสงบลง ที่จริงความเย็นไม่ได้มีอยู่จริง ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง หากคุณสองใจสังเกตให้ดี จะเห็นว่าสภาวะที่พบมี 2 ส่วนคือ 1.ทางร่างกายสภาวะความรู้สึกอบอุ่น สบาย อยากพัก (ผล)กับ 2.สภาวะใจ(มโน)ที่เป็นแรงสั่นกระพริบที่กลางหน้าอก(เหตุ) เมื่อคุณสองใจไปรู้การสั่นกระพริบแล้วการสั่นกระพริบเดิมเปลี่ยนเป็นสั่นกระพริบแต่เบาบางลง(ละเอียดขึ้น) ก็จะพบว่าความรู้สึกทางร่างกายจะเปลี่ยนจากอบอุ่น สบาย อยากพัก เป็นเย็นสบายยิ่งขึ้น จิตจะกระจายตัวมากขึ้น แต่หากไม่เรียนรู้การสั่นสะเทือนกลางหน้าอกที่สั่นเบาลงแล้ว หรือรู้ช้า สภาวะร่างกายที่เย็นสบาย ก็จะกลับย้อนเป็นอบอุ่นสบาย ซึ่งเป็นสภาพที่หยาบกว่า

สรุป ธรรมคู่ที่ 1.ทางร่างกายสภาวะความรู้สึกอบอุ่น สบาย อยากพัก (ผล 1)กับสภาวะใจ(มโน)ที่เป็นแรงสั่นกระพริบที่กลางหน้าอก(เหตุ1)
ธรรมคู่ที่ 2.ทางร่างกายสภาวะความเย็นสบายยิ่งขึ้น(ผล2)กับสภาวะใจ(มโน)ที่เป็นแรงสั่นกระพริบที่กลางหน้าอกที่สั่นเบาขึ้น(เหตุ2)
หากรู้เท่าทันสภาวะใจ (เหตุ1)และเหตุ1 ดับลง จะเกิดเป็นผลต่อสภาวะ(ผล1)เปลี่ยนเป็น(ผล2)
หากเปลี่ยนเป็น(ผล2)แล้ว หากรู้เท่าทันใน(เหตุ2) ก็จะเกิดธรรมคู่ที่
3
ธรรมคู่ที่ 3 ทางร่างกายสภาวะความเย็นสบายสดชื่น(ผล3)กับสภาวะใจ(มโน)ที่เป็นแรงสั่นกระพริบที่กลางหน้าอกที่สั่นเบาจนแทบไม่รู้สึกว่าสั่น(เหตุ3)
หากเปลี่ยนเป็น(ผล2)แล้ว หากไม่รู้เท่าทันใน(เหตุ2) ก็จะกลับสู่ธรรมคู่ที่1




ขอบคุณคุณสุทธิญาณ ขอบคุณคุณกรัชกาย และทุกๆท่าน
คุณกรัชกายเหมือนคนที่ช่วยคนตะกอนขุ่นในน้ำใส ให้เห็นสิ่งที่ยังมีอยู่ค้างอยู่ นั่นบททดสอบอารมณ์ชั้นดี อ่านดีๆ ผู้อ่านจะเห็นสิ่งที่คุณกรัชกายสอน (อ่านดีๆนะ)
คุณสุทธิญาณ เหมือนคนที่ช่วยทบทวน วิถี การเดิน ของจิต ซึ่งในการปฏิบัติจริง เห็นไม่ละเอียดเท่าที่ท่านอธิบายมา เพราะของจริงมันเร็วมาก และไม่มีคำอธิบายใดๆจะสื่อออกมาให้เป็นคำพูด และช่วยทวนสอบให้มั่นใจว่า ถูก วิถีทางแล้ว ไม่ได้ดิ่งลงเหว หรือ ติดชายตลิ่งที่ไหน

อยากดี ก็เป็นกิเลสนะ ดูให้ดี ในเมื่อบวกตัว อยาก เข้าไป อยาก + ดี = อยากดี
พออยากดี ก็ไปทำให้มันดี ถนอม รักษา จะให้มันดีตลอด ตลอดเวลา
ทำ.....ทำให้มันดี จนบดบังความจริงของเขา นั่นคือ มันอนิจจัง
ต่อเมื่อพยามทำ มากๆเข้า แล้วมันไม่ได้ พยายามรักษาก็ไม่ได้
เห็นเลยมันอนิจจัง ใจก็วางจากภาระที่ต้องแบกหามความอยากดีลงไป
ยอมรับสภาพ ไม่ยื้อ ไม่เสียดาย วาง วางแล้วเป็นสุข เบา สบาย ไม่มีภาระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
eragon_joe เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
หัดนั่งสมาธิโดยแรกๆ ท่องพุทโธ เอา พักหลังๆพอเห็นว่าจิตนิ่งสงบ และสามารถนั่งได้นานขึ้น เลยลองมาท่อง นะมะพะธะ เอา ตอนนั่งแรกๆไม่มีอะไร พอนั่งไปนานมีความรู้สึกว่าคนมาเป่าลมใส่ที่หน้า มีเสียงให้ได้ยินเลย เลยทำให้ตกใจแล้วกระโดดลุกเลย ไม่นั่งสมาธิต่อ ทำไงให้หายค่ะ ขอบคุณค่ะ


อ้างคำพูด:
ใจมันพูดเองเออเองได้ด้วยหรอคับ

มีอยู่ช่วงนึงขยันปฏิบัติมากขึ้น ก็ยิ่งฟุ้งซ่านมากขึ้น เครียดขึ้น มึนไปหมด
ใครพูดไรไม่ถูกใจหน่อย ก็คิดมาก วนอยู่ในหัว โดยที่ระงับไม่อยู่ ไม่รู้เป็นอะไร ตั้งหลายวัน
(เคยทำตามหลวงพ่อปราโมทย์ ใจหนีไปคิดก็รู้ ก็ทำไม่ได้เหมือนกำลังสมาธิไม่มี)

วันหนึ่งก่อนนอนสวดมนต์ นั่งสมาธิตามปกติ
นั่งอยู่เฉยๆ แต่ใจก็คิดฟุ้งซ่าน เครียด
.....อยู่ๆก็มีเสียงในใจพูดว่า "ความทุกข์เกิดที่ใจไช่ไหม ก็ดับที่ใจสิ"
.....แล้วก็หยุดฟุ้งซ่าน โล่ง สบาย ไปเฉยๆ นี่ไม่รู้ว่าเสียงนี้เราคิดเอาเองหรือยังไง

คำถาม
1. วิธีระงับความฟุ้งซ่านมีกี่วิธี อะไรบ้าง เนื่องจากผมเป็นคนคิดมาก บางทีทำสมาธิใจก็ไม่เป็นสมาธิ
(ไม่อยากรอให้หายเองแบบอาการข้างต้น)


หรือพูดอีกอย่างหนึ่งเราสองคนเหมือนขมิ้นกับปูน คิกๆๆ

http://www.youtube.com/watch?v=BZVGuy5K0bA


:b1:

อ่าน ตย. ที่ท่านกรัชหยิบยกมาให้ดู
เอกอนร้อง อ๋ออออ แระ... :b12:

เพราะเอกอนก็นั่งมองอาการอย่างนี้มาพอสมควร...
จน...


:b1:
ตัวอย่าง ขณะที่เขาพิมพ์ถาม แต่ป่านนี้สภาวธรรมนั่นมันเปลี่ยนไปแล้วตามกฎของมัน


พูดกันบ่อยๆ เรื่อง ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) สภาวะนี้จะเปลี่ยนแปรเกิด - ดับๆๆๆๆ เนื่องกันไป จนวันตาย นี่แหละลักษณ์ไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติพึงรู้เท่าทันทุกๆขณะ จนกระทั่งจับได้คาหนังคาเขาก็รู้ว่าอ้อ มันเป็นเช่นนี้เอง ธรรมดามันเป็นยังงี้เอง จิตใจก็คลายความยึดมั่น รู้เข้าใจธรรมดาแห่งธรรมชาติ (ทีนี้มันก็อยู่ของมัน เราก็อยู่ของเราเป็นอิสระจากมัน)



มีตัวอย่างมายืนยันคำพูดของกรัชกายดังกล่าว จขกท. เอกอน อโศก ดูนะครับ :b1:

เขามีปัญหาติดขัดจากการปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติกรรมฐาน หรือการฝึกอบรมจิต หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตั้งชื่อเอา :b32:

ครั้งแรก เขาถาม ดังนี้


สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่นะคะ คือเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ได้ค่ะคือไม่ได้นั่งเพื่อให้บรรลุ หรือว่าอะไรนะคะ คืออยากให้จิตสงบ เท่านั้น แต่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ก็เริ่มได้ยินเสียงเหมือนพระสวดดังที่ข้างหูตลอดเวลา ตอนแรกนึกว่าหูอื้อ แต่มันไม่ใช่ค่ะ กระทั่งตอนนี้ก็ยังได้ยินอยู่ คืออยากขอคำแนะนำค่ะว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป และเสียงที่ได้ยินอยู่นี่ มันดีหรือไม่ดีคะ
ปล. อยู่ต่างประเทศค่ะจึงมั่นใจว่าไม่ใช่เสียงจากวัดแน่นอน ขอบคุณค่ะ




ปัญหาข้างบนดับไป ปัญหาใหม่เกิดต่อดังนี้


มีปัญหาถามอีกแล้วค่ะ ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้วค่ะ สามารถตัดได้ แต่ปัญหาตอนนี้ คือพอนั่งไปสักพักมีอาการหายใจไม่ได้รู้สึกตัวเย็นแต่เหงื่อออกค่ะรู้สึก แน่นมากเลยกลืนน้ำลายอาการก็คลายออกสักพักก็เป็นอีกมันปั่นป่วนมาก
นี่เป็นอาการผิดปกติหรือเปล่าค่ะเลยออกจากสมาธิมาถามก่อนเผื่อไว้
ขอบคุณค่ะ(อย่าเพิ่งรำคาญนะคะ)


พอเข้าใจคำพูดที่ว่า "พึงรู้เห็นตามที่มันเป็นของมัน มิใช่รู้เห็นตามที่ตัวเองอยากให้มันเป็น" กันไหมขอรับ :b1:

หมายความว่า สภาวะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นธรรมดาของมัน เราเพียงกำหนดรู้เท่าทัีนสภาวะนั่นแต่ละขณะๆ รู้สึกยังไง เป็นยังไง ก็กำหนดรู้ยังงั้นตามที่มันเป็น มันเกิดดับๆๆ เห็นไหมครับ พูดให้เห็นภาพก็เหมือนกับว่าสภาวะมันสอนจิตใจอยู่ตลอดว่า ไม่ควรยึดมั่นไม่ว่า สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ ถูกใจไม่ถูกใจ ดีไม่ดียังไง เพราะมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามกฎของมัน เห็นไหมครับ


มิใช่พูดเองเออเองว่า ไม่ควรยึดมั่นถือมัน มันเป็นอนัตตงอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ต้องๆ (พูดดักยังงั้น เข้าทำนองว่า อยากให้มันเ็ป็นตามที่ตัวเองต้องการ) :b1: ประสบการณ์ตรงมันสอนผู้ปฏิบัติเอง รู้เองห็นเอง พอเข้าใจไหมครับ :b1:

ตามดูรู้ทันสภาวะที่ปรากฎแต่ละครั้งแต่ละขณะ โดยมีอารมณ์หลักที่เป็นปัจจุบัน คือ ลมหายใจเข้า-ออกหรืออาการท้องพอง กับ ท้องยุบ พอเข้าใจไหมครับคุณอโศก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสริมความเข้าใจอีกหน่อย :b1:

คำถามแรก

อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่นะคะ คือเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ได้ค่ะคือไม่ได้นั่งเพื่อให้บรรลุ หรือว่าอะไรนะคะ คืออยากให้จิตสงบ เท่านั้น แต่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ก็เริ่มได้ยินเสียงเหมือนพระสวดดังที่ข้างหูตลอดเวลา ตอนแรกนึกว่าหูอื้อ แต่มันไม่ใช่ค่ะ กระทั่งตอนนี้ก็ยังได้ยินอยู่ คืออยากขอคำแนะนำค่ะว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป และเสียงที่ได้ยินอยู่นี่ มันดีหรือไม่ดีคะ
ปล. อยู่ต่างประเทศค่ะจึงมั่นใจว่าไม่ใช่เสียงจากวัดแน่นอน ขอบคุณค่ะ


คำถามต่อมา


อ้างคำพูด:
มีปัญหาถามอีกแล้วค่ะ ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้วค่ะ สามารถตัดได้ แต่ปัญหาตอนนี้ คือพอนั่งไปสักพักมีอาการหายใจไม่ได้รู้สึกตัวเย็นแต่เหงื่อออกค่ะรู้สึก แน่นมากเลยกลืนน้ำลายอาการก็คลายออกสักพักก็เป็นอีกมันปั่นป่วนมาก
นี่เป็นอาการผิดปกติหรือเปล่าค่ะเลยออกจากสมาธิมาถามก่อนเผื่อไว้
ขอบคุณค่ะ (อย่าเพิ่งรำคาญนะคะ)



ความคิดเขาที่ว่า
อ้างคำพูด:
"ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้ว สามารถตัดได้
" นี่จะทำให้เขายึดมั่นถือมั่นว่าเราทำยังงั้นยังงี้ได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นว่านั้นไม่ จริงๆคือเหตุปัจจัยที่ให้เป็นยังงั้นหมด สภาวธรรมนั่นก็ดับลง เหตุปัจจัยอื่นพร้อมให้เกิดมีมันก็มีก็เป็นของมัน หมดเหตุปัจจัยมันก็ดับ นึกออกไหมครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ทั้งนั้นเลย อนุโมทนากับทุกท่านเลยนะครับ onion

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปกิเลส

ดูก่อนอนุรุท เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่

เราย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน
แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้

เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า

อะไรหนอแลเป็นเหตุเห็นปัจจัยได้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้


ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าวิจิกิจฉา แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน
เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
เราจักทำให้วิจิกิจฉาไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก


“.....ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า อมนสิการ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็อมนสิการ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน ถีนมิทธะ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความหวาดเสียว...... แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความตื่นเต้น แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความเพียรที่ปรารภเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความเพียรที่หย่อนเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ตัณหาที่คอยกระซิบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาอมนสิการ ถีนมิทธะความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.....

อุปักกิเลสสูตร อุ. ม. (๔๕๒-๔๖๑)




หมายเหตุ:

ตามคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้
เกี่ยวกับ สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะ จิตเป็นสมาธิอยู่

สิ่งที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ ไม่ว่าจะมีสภาวะใดๆเกิดขึ้นก็ตาม ให้มนสิการ คือ แค่รู้
อย่าใส่อะไรๆลงไป ในสภาวะที่เกิดขึ้น

ถ้าใส่อะไรๆลงไปในสภาวะที่เกิดขึ้น จึงเป็นการอมนสิการ

ผลของอมนสิการ จึงเกิดขึ้นตามมา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 22:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เสริมความเข้าใจอีกหน่อย :b1:

คำถามแรก

อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่นะคะ คือเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ได้ค่ะคือไม่ได้นั่งเพื่อให้บรรลุ หรือว่าอะไรนะคะ คืออยากให้จิตสงบ เท่านั้น แต่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ก็เริ่มได้ยินเสียงเหมือนพระสวดดังที่ข้างหูตลอดเวลา ตอนแรกนึกว่าหูอื้อ แต่มันไม่ใช่ค่ะ กระทั่งตอนนี้ก็ยังได้ยินอยู่ คืออยากขอคำแนะนำค่ะว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป และเสียงที่ได้ยินอยู่นี่ มันดีหรือไม่ดีคะ
ปล. อยู่ต่างประเทศค่ะจึงมั่นใจว่าไม่ใช่เสียงจากวัดแน่นอน ขอบคุณค่ะ


คำถามต่อมา


อ้างคำพูด:
มีปัญหาถามอีกแล้วค่ะ ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้วค่ะ สามารถตัดได้ แต่ปัญหาตอนนี้ คือพอนั่งไปสักพักมีอาการหายใจไม่ได้รู้สึกตัวเย็นแต่เหงื่อออกค่ะรู้สึก แน่นมากเลยกลืนน้ำลายอาการก็คลายออกสักพักก็เป็นอีกมันปั่นป่วนมาก
นี่เป็นอาการผิดปกติหรือเปล่าค่ะเลยออกจากสมาธิมาถามก่อนเผื่อไว้
ขอบคุณค่ะ (อย่าเพิ่งรำคาญนะคะ)




ความคิดเขาที่ว่า
อ้างคำพูด:
"ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้ว สามารถตัดได้
" นี่จะทำให้เขายึดมั่นถือมั่นว่าเราทำยังงั้นยังงี้ได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นว่านั้นไม่ จริงๆคือเหตุปัจจัยที่ให้เป็นยังงั้นหมด สภาวธรรมนั่นก็ดับลง เหตุปัจจัยอื่นพร้อมให้เกิดมีมันก็มีก็เป็นของมัน หมดเหตุปัจจัยมันก็ดับ นึกออกไหมครับ :b1:

:b1:
หลักการโดยทฤษฎีนั้นใช้ได้ แล้วกรัชกายแนะนำให้เขาปฏิบัติจริงๆอย่างไรล่ะ แล้วเขาทำได้ไหมที่นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นไปจนมันดับไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย

ถามตัวกรัชกายเองเลยก็ได้ ว่าทำได้ตามทฤษฏีที่ว่านี้ไหม หรือมีความเป็นจริงอะไรที่เกิดขึ้นตอนปฏิบัติจริงปกปิดซ่อนอยู่ไม่กล้าเล่าสูกันฟัง
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2014, 22:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b20:
ยังไม่ได้บอกภาคปฏิบัติที่สำคัญอีกนิดหนึ่งแก่กรัชกาย แต่บอกกับผู้ปฏิบัตจริงทั้งหลายที่มาถามว่า

วิธีเจริญวิปัสสนาภาวนาจริงๆแล้วสั้นนิดเดียวคือ

"สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

ทำได้เท่านี้ก็เป็นพอแล้ว สิ่งที่เหลือเขาจะทำงานเองเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ โดยธรรม

พูดอย่างนี้พอเข้าใจไหม คล้ายกับเรื่อที่พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ไหม ลองกลับไปพิจารณา อย่างพินิจ พิเคราะห์ดูดีๆนะ กรัชกาย วลัยพร
onion
:b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เสริมความเข้าใจอีกหน่อย :b1:

คำถามแรก

อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่นะคะ คือเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ได้ค่ะคือไม่ได้นั่งเพื่อให้บรรลุ หรือว่าอะไรนะคะ คืออยากให้จิตสงบ เท่านั้น แต่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ก็เริ่มได้ยินเสียงเหมือนพระสวดดังที่ข้างหูตลอดเวลา ตอนแรกนึกว่าหูอื้อ แต่มันไม่ใช่ค่ะ กระทั่งตอนนี้ก็ยังได้ยินอยู่ คืออยากขอคำแนะนำค่ะว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป และเสียงที่ได้ยินอยู่นี่ มันดีหรือไม่ดีคะ
ปล. อยู่ต่างประเทศค่ะจึงมั่นใจว่าไม่ใช่เสียงจากวัดแน่นอน ขอบคุณค่ะ


คำถามต่อมา


อ้างคำพูด:
มีปัญหาถามอีกแล้วค่ะ ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้วค่ะ สามารถตัดได้ แต่ปัญหาตอนนี้ คือพอนั่งไปสักพักมีอาการหายใจไม่ได้รู้สึกตัวเย็นแต่เหงื่อออกค่ะรู้สึก แน่นมากเลยกลืนน้ำลายอาการก็คลายออกสักพักก็เป็นอีกมันปั่นป่วนมาก
นี่เป็นอาการผิดปกติหรือเปล่าค่ะเลยออกจากสมาธิมาถามก่อนเผื่อไว้
ขอบคุณค่ะ (อย่าเพิ่งรำคาญนะคะ)




ความคิดเขาที่ว่า
อ้างคำพูด:
"ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้ว สามารถตัดได้
" นี่จะทำให้เขายึดมั่นถือมั่นว่าเราทำยังงั้นยังงี้ได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นว่านั้นไม่ จริงๆคือเหตุปัจจัยที่ให้เป็นยังงั้นหมด สภาวธรรมนั่นก็ดับลง เหตุปัจจัยอื่นพร้อมให้เกิดมีมันก็มีก็เป็นของมัน หมดเหตุปัจจัยมันก็ดับ นึกออกไหมครับ :b1:

:b1:

หลักการโดยทฤษฎีนั้นใช้ได้ แล้วกรัชกายแนะนำให้เขาปฏิบัติจริงๆอย่างไรล่ะ แล้วเขาทำได้ไหมที่นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นไปจนมันดับไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย

ถามตัวกรัชกายเองเลยก็ได้ ว่าทำได้ตามทฤษฏีที่ว่านี้ไหม หรือมีความเป็นจริงอะไรที่เกิดขึ้นตอนปฏิบัติจริงปกปิดซ่อนอยู่ไม่กล้าเล่าสูกันฟัง



อโศกนี่ไม่เข้าใจหลักจริงๆ ทั้งที่บอกหลายครั้งแล้ว "รู้เห็นตามที่มันเป็น มิใช่รู้เห็นตามที่ตัวเองอยากจะให้มันเป็น" ขยายความว่า ขณะปฏิบัติ (อยู่บนฐานหลัก เช่น ลมเข้าออก ,อาการท้องพอง-ท้องยุบ แต่ละขณะๆ) แล้วขณะนั้น รู้สึกอย่างไร มันเป็นยังไง ก็กำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ตามที่เป็น ตามที่รู้สึก (เป็นยังไงล่ะ) สมมติ รู้สึกเจ็บ (ว่าในใจ) เจ็บๆๆๆๆ (หนอ-คำนี้ใช้คำอื่นแทนได้ หรือบางขณะตัดออกได้ แต่สภาพจริงจะเลี่ยงหลบไปว่าไปคิดอย่างอื่นไม่ได้ เป็นยังไงก็ยังงั้น รู้สึกยังไงก็ยังงั้น) รู้สึกอึดอัด (ว่าในใจ) อึดอัดๆๆๆ (หนอ) .... เมื่อกำหนดรู้ตามสภาพของมันแล้ว ....พึงยึดหลักคือฐานใหญ่ต่อไป ตามรู้เท่าทัน ลมที่เข้า-ที่ออกให้ทันทุกๆขณะ ตามอาการท้องที่พอง กับ ยุบ ให้ทันทุกๆขณะ ทีีมันพองมันยุบ และทุกครั้งทุกขณะ มันเป็นยังไงก็รู้ยังงั้น แค่นี้เองภาคปฏิบัติขั้นฝึกฝนอบรมจิต เมื่อได้หลักอย่างนี้แล้ว จะไปตั้งชื่อกันว่าอะไรอีก ก็ไม่เป็นปัญหา นี่คือหลักเจริญสติปัฏฐาน 4 พอเข้าใจไหมครับ :b1:

อ้อ แล้วมิใช่เพียงเท่านั้น ในขณะที่ใช้ชีวิตประจำวัน คุณจะทำงานอะไร ยังไง ก็ใช้สิ่งที่กำลังทำนั้นเป็นที่ทำงานของจิตด้วย คือ ผูกจิตใจให้อยู่กับสิ่งที่ทำ ณ ขณะนั้นๆ เช่น ซักผ้า รีดผ้า เปิด-ปิดประตู กินข้าวกินปลา ดื่ม เคี้ยว ฯลฯ พอเข้าใจไหมครับอโศก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 (ข้อ) อโศก ต้องรู้เข้าใจ กาย ที่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก่อนนะ เอาให้แน่นะขอรับ ไม่ยังงั้นแล้วเจ๊งโบ้ง คิกๆ ต่อให้พูดอะไรต่ออะไรจนไข่นุ้ยหลับ ก็เป็น 0

แต่เท่าที่ลองถามดูแล้วอโศกยังหาจุดลงตัวที่เขาเรียกว่า กาย หรือร่างกาย ไม่ได้เลย แล้วจะไป กายานุปัสสนาได้ยังไงกันล่ะ

เรื่อง สติปัฏฐาน หรือ สัมมาสตินีี่คงต้องพูดกันอีกนาน เพราะเชื่อมโยงไปถึงหลักปฏิบัติอีกหลายข้อหลายตัว แม้แต่คำว่า "มรรค" ในอริยสัจด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 21:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เสริมความเข้าใจอีกหน่อย :b1:

คำถามแรก

อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่นะคะ คือเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ได้ค่ะคือไม่ได้นั่งเพื่อให้บรรลุ หรือว่าอะไรนะคะ คืออยากให้จิตสงบ เท่านั้น แต่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ก็เริ่มได้ยินเสียงเหมือนพระสวดดังที่ข้างหูตลอดเวลา ตอนแรกนึกว่าหูอื้อ แต่มันไม่ใช่ค่ะ กระทั่งตอนนี้ก็ยังได้ยินอยู่ คืออยากขอคำแนะนำค่ะว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป และเสียงที่ได้ยินอยู่นี่ มันดีหรือไม่ดีคะ
ปล. อยู่ต่างประเทศค่ะจึงมั่นใจว่าไม่ใช่เสียงจากวัดแน่นอน ขอบคุณค่ะ


คำถามต่อมา


อ้างคำพูด:
มีปัญหาถามอีกแล้วค่ะ ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้วค่ะ สามารถตัดได้ แต่ปัญหาตอนนี้ คือพอนั่งไปสักพักมีอาการหายใจไม่ได้รู้สึกตัวเย็นแต่เหงื่อออกค่ะรู้สึก แน่นมากเลยกลืนน้ำลายอาการก็คลายออกสักพักก็เป็นอีกมันปั่นป่วนมาก
นี่เป็นอาการผิดปกติหรือเปล่าค่ะเลยออกจากสมาธิมาถามก่อนเผื่อไว้
ขอบคุณค่ะ (อย่าเพิ่งรำคาญนะคะ)




ความคิดเขาที่ว่า
อ้างคำพูด:
"ขณะนั่งสมาธิตอนนี้ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงแล้ว สามารถตัดได้
" นี่จะทำให้เขายึดมั่นถือมั่นว่าเราทำยังงั้นยังงี้ได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นว่านั้นไม่ จริงๆคือเหตุปัจจัยที่ให้เป็นยังงั้นหมด สภาวธรรมนั่นก็ดับลง เหตุปัจจัยอื่นพร้อมให้เกิดมีมันก็มีก็เป็นของมัน หมดเหตุปัจจัยมันก็ดับ นึกออกไหมครับ :b1:

:b1:

หลักการโดยทฤษฎีนั้นใช้ได้ แล้วกรัชกายแนะนำให้เขาปฏิบัติจริงๆอย่างไรล่ะ แล้วเขาทำได้ไหมที่นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นไปจนมันดับไปตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัย

ถามตัวกรัชกายเองเลยก็ได้ ว่าทำได้ตามทฤษฏีที่ว่านี้ไหม หรือมีความเป็นจริงอะไรที่เกิดขึ้นตอนปฏิบัติจริงปกปิดซ่อนอยู่ไม่กล้าเล่าสูกันฟัง



อโศกนี่ไม่เข้าใจหลักจริงๆ ทั้งที่บอกหลายครั้งแล้ว "รู้เห็นตามที่มันเป็น มิใช่รู้เห็นตามที่ตัวเองอยากจะให้มันเป็น" ขยายความว่า ขณะปฏิบัติ (อยู่บนฐานหลัก เช่น ลมเข้าออก ,อาการท้องพอง-ท้องยุบ แต่ละขณะๆ) แล้วขณะนั้น รู้สึกอย่างไร มันเป็นยังไง ก็กำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ตามที่เป็น ตามที่รู้สึก (เป็นยังไงล่ะ) สมมติ รู้สึกเจ็บ (ว่าในใจ) เจ็บๆๆๆๆ (หนอ-คำนี้ใช้คำอื่นแทนได้ หรือบางขณะตัดออกได้ แต่สภาพจริงจะเลี่ยงหลบไปว่าไปคิดอย่างอื่นไม่ได้ เป็นยังไงก็ยังงั้น รู้สึกยังไงก็ยังงั้น) รู้สึกอึดอัด (ว่าในใจ) อึดอัดๆๆๆ (หนอ) .... เมื่อกำหนดรู้ตามสภาพของมันแล้ว ....พึงยึดหลักคือฐานใหญ่ต่อไป ตามรู้เท่าทัน ลมที่เข้า-ที่ออกให้ทันทุกๆขณะ ตามอาการท้องที่พอง กับ ยุบ ให้ทันทุกๆขณะ ทีีมันพองมันยุบ และทุกครั้งทุกขณะ มันเป็นยังไงก็รู้ยังงั้น แค่นี้เองภาคปฏิบัติขั้นฝึกฝนอบรมจิต เมื่อได้หลักอย่างนี้แล้ว จะไปตั้งชื่อกันว่าอะไรอีก ก็ไม่เป็นปัญหา นี่คือหลักเจริญสติปัฏฐาน 4 พอเข้าใจไหมครับ :b1:
:b12:

อ้อ แล้วมิใช่เพียงเท่านั้น ในขณะที่ใช้ชีวิตประจำวัน คุณจะทำงานอะไร ยังไง ก็ใช้สิ่งที่กำลังทำนั้นเป็นที่ทำงานของจิตด้วย คือ ผูกจิตใจให้อยู่กับสิ่งที่ทำ ณ ขณะนั้นๆ เช่น ซักผ้า รีดผ้า เปิด-ปิดประตู กินข้าวกินปลา ดื่ม เคี้ยว ฯลฯ พอเข้าใจไหมครับอโศก

:b12:
ทำมาจนพรุนแล้วไอ้หนอตามทุกอิริยาบทและความรู้สึก
ตอนนี้เลยตรงนั้นไปแล้ว ทิ้งหนอไปตั้งนานแล้วเพราะมันไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ได้จริงๆ....

มันต้องจิต สติ ปัญญา รู้ทันจิตผัสสะเวทนาหรือธรรมารมณ์
ไม่ต้องคอยกังวลที่คำบริกรรมหนอ

ทบทวนดูใหม่ ใคร่ครวญดูให้ดี

"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์"
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 (ข้อ) อโศก ต้องรู้เข้าใจ กาย ที่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก่อนนะ เอาให้แน่นะขอรับ ไม่ยังงั้นแล้วเจ๊งโบ้ง คิกๆ ต่อให้พูดอะไรต่ออะไรจนไข่นุ้ยหลับ ก็เป็น 0

แต่เท่าที่ลองถามดูแล้วอโศกยังหาจุดลงตัวที่เขาเรียกว่า กาย หรือร่างกาย ไม่ได้เลย แล้วจะไป กายานุปัสสนาได้ยังไงกันล่ะ

เรื่อง สติปัฏฐาน หรือ สัมมาสตินีี่คงต้องพูดกันอีกนาน เพราะเชื่อมโยงไปถึงหลักปฏิบัติอีกหลายข้อหลายตัว แม้แต่คำว่า "มรรค" ในอริยสัจด้วย

:b12:
อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เรียงตามตำรา เลยเข้าใจว่าต้องผ่านกายานุปัสสนาก่อนจึงจะไปทำเวทนา...จิตตา...ธัมมานุปัสสนาตามลำดับ

การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาตินั้นยึดปัจจุบันอารมณ์เป็นสำคัญ......สังเกตดูให้ดี

1.ปัจจุบันอารมณ์ บางครั้งเป็นกายา บางครั้งเป็นเวทนา บางครั้งเป็นธรรมมรมณ์.....บางครั้งเป็นจิตตานุปัสสนา

2.เมื่อมีผัสสะที่กาย มันจะส่งต่อไปถึง เวทนา จิต ธรรม ครบทั้ง 4 ฐานเสมอ

ตัวอย่าง

กรัชกายโดนตบหลัง

รู้สึกหนอ กายา...

เจ็บหนอ เวทนา...

สงสัย(ว่าใครตบ)ธรรมา..

เหลียวไปมอง......กายา

ตาเห็นรูป.....กายา

ระลึกได้(ว่าเป็นอโศกะ)......ธรรมา..

ไม่พอใจ.....จิตตา....

ขุ่นมัว....จิตตา....

ตะโกนถาม......กายา....วจีกรรม
ดังนี้เป็นต้น

เจริญสติ ปัญญา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆเพราะ

"ปัจจุบันอารมณ์ คือที่รวม ที่เกิด ที่ดับ แห่งธรรมทั้งปวง(รวมถึงสติปัฏฐาน 4 และโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการด้วย
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2014, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระใบลานเปล่า
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โยคา เว" เป็นต้น.

รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด
ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า "เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน เราจักยังเธอให้สังเวช."
จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า "มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่าไปแล้ว."
พระโปฐิละนั้นคิดว่า "เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า "คุณใบลานเปล่า" พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้."
ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า "บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า "อาจารย์." พระเถระไปสิ้น ๑๒๐ โยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."
พระสังฆเถระ. "ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉน ท่านจึงพูดอย่างนี้?"
พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.

วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ
ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น พระมหาเถระส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า "ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน. พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

พระโปฐิละหมดมานะ
พระโปฐิละนั้นมีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."
สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต เหตุอะไรๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน
พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.
สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้ ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.
พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า "จงเข้าไปสู่ไฟ" ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.
แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น.
ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง, บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑- นี้ไว้ในมโนทวาร."
ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.
พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย๒- ปรารภสมณธรรม.

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2014, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 (ข้อ) อโศก ต้องรู้เข้าใจ กาย ที่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก่อนนะ เอาให้แน่นะขอรับ ไม่ยังงั้นแล้วเจ๊งโบ้ง คิกๆ ต่อให้พูดอะไรต่ออะไรจนไข่นุ้ยหลับ ก็เป็น 0

แต่เท่าที่ลองถามดูแล้วอโศกยังหาจุดลงตัวที่เขาเรียกว่า กาย หรือร่างกาย ไม่ได้เลย แล้วจะไป กายานุปัสสนาได้ยังไงกันล่ะ

เรื่อง สติปัฏฐาน หรือ สัมมาสตินีี่คงต้องพูดกันอีกนาน เพราะเชื่อมโยงไปถึงหลักปฏิบัติอีกหลายข้อหลายตัว แม้แต่คำว่า "มรรค" ในอริยสัจด้วย

:b12:
อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เรียงตามตำรา เลยเข้าใจว่าต้องผ่านกายานุปัสสนาก่อนจึงจะไปทำเวทนา...จิตตา...ธัมมานุปัสสนาตามลำดับ

การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาตินั้นยึดปัจจุบันอารมณ์เป็นสำคัญ......สังเกตดูให้ดี

1.ปัจจุบันอารมณ์ บางครั้งเป็นกายา บางครั้งเป็นเวทนา บางครั้งเป็นธรรมมรมณ์.....บางครั้งเป็นจิตตานุปัสสนา

2.เมื่อมีผัสสะที่กาย มันจะส่งต่อไปถึง เวทนา จิต ธรรม ครบทั้ง 4 ฐานเสมอ

ตัวอย่าง

กรัชกายโดนตบหลัง

รู้สึกหนอ กายา...

เจ็บหนอ เวทนา...

สงสัย(ว่าใครตบ)ธรรมา..

เหลียวไปมอง......กายา

ตาเห็นรูป.....กายา

ระลึกได้(ว่าเป็นอโศกะ)......ธรรมา..

ไม่พอใจ.....จิตตา....

ขุ่นมัว....จิตตา....

ตะโกนถาม......กายา....วจีกรรม
ดังนี้เป็นต้น

เจริญสติ ปัญญา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆเพราะ

"ปัจจุบันอารมณ์ คือที่รวม ที่เกิด ที่ดับ แห่งธรรมทั้งปวง(รวมถึงสติปัฏฐาน 4 และโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการด้วย
:b38:



อ้างคำพูด:
อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เรียงตามตำรา เลยเข้าใจว่าต้องผ่านกายานุปัสสนาก่อนจึงจะไปทำเวทนา...จิตตา...ธัมมานุปัสสนาตามลำดับ



นี่เป็นความเข้าใจผิด คุณหรือใครก็ตาม นั่งอยู่ตรงนั้น เดินอยู่ตรงนั้นเดี๋ยวนั้นขณะนัน กาย เวทนา จิต ธรรม เกิดครบหมด ไม่ใช่ไปทำทีละอย่างทีละข้อ (ไม่ใช่เกิดเรียงตามตัวหนังสือ) จึงบอกว่า เป็นยังไง รู้สึกยังไง ก็พึงรู้เท่ารู้ทันมันทุกๆขณะในขณะนั้นๆ ตามที่มันเป็นของมัน มิใช่ไปคิดจะให้มันเป็นตามที่ตนเองต้องการ นี่คือการปฏิบัติแนวสติปัฏฐานเบื้องต้น เบื้องต้นนะ แค่เริ่มต้นให้ถูกแค่นั้น


ที่ยกเอา กายานุปัสสนาพูด เพราะต้องการจะให้เห็นเพื่อเน้นว่า แม้แต่ร่างกาย,กาย ซึงเป็นรูปธรรมโด่ๆยังไม่รู้จัก จะกล่าวไปใย ถึงนามธรรมเล่า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2014, 19:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อพูดถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 (ข้อ) อโศก ต้องรู้เข้าใจ กาย ที่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก่อนนะ เอาให้แน่นะขอรับ ไม่ยังงั้นแล้วเจ๊งโบ้ง คิกๆ ต่อให้พูดอะไรต่ออะไรจนไข่นุ้ยหลับ ก็เป็น 0

แต่เท่าที่ลองถามดูแล้วอโศกยังหาจุดลงตัวที่เขาเรียกว่า กาย หรือร่างกาย ไม่ได้เลย แล้วจะไป กายานุปัสสนาได้ยังไงกันล่ะ

เรื่อง สติปัฏฐาน หรือ สัมมาสตินีี่คงต้องพูดกันอีกนาน เพราะเชื่อมโยงไปถึงหลักปฏิบัติอีกหลายข้อหลายตัว แม้แต่คำว่า "มรรค" ในอริยสัจด้วย

:b12:
อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เรียงตามตำรา เลยเข้าใจว่าต้องผ่านกายานุปัสสนาก่อนจึงจะไปทำเวทนา...จิตตา...ธัมมานุปัสสนาตามลำดับ

การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาตินั้นยึดปัจจุบันอารมณ์เป็นสำคัญ......สังเกตดูให้ดี

1.ปัจจุบันอารมณ์ บางครั้งเป็นกายา บางครั้งเป็นเวทนา บางครั้งเป็นธรรมมรมณ์.....บางครั้งเป็นจิตตานุปัสสนา

2.เมื่อมีผัสสะที่กาย มันจะส่งต่อไปถึง เวทนา จิต ธรรม ครบทั้ง 4 ฐานเสมอ

ตัวอย่าง

กรัชกายโดนตบหลัง

รู้สึกหนอ กายา...

เจ็บหนอ เวทนา...

สงสัย(ว่าใครตบ)ธรรมา..

เหลียวไปมอง......กายา

ตาเห็นรูป.....กายา

ระลึกได้(ว่าเป็นอโศกะ)......ธรรมา..

ไม่พอใจ.....จิตตา....

ขุ่นมัว....จิตตา....

ตะโกนถาม......กายา....วจีกรรม
ดังนี้เป็นต้น

เจริญสติ ปัญญา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆเพราะ

"ปัจจุบันอารมณ์ คือที่รวม ที่เกิด ที่ดับ แห่งธรรมทั้งปวง(รวมถึงสติปัฏฐาน 4 และโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการด้วย
:b38:



อ้างคำพูด:
อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เรียงตามตำรา เลยเข้าใจว่าต้องผ่านกายานุปัสสนาก่อนจึงจะไปทำเวทนา...จิตตา...ธัมมานุปัสสนาตามลำดับ



นี่เป็นความเข้าใจผิด คุณหรือใครก็ตาม นั่งอยู่ตรงนั้น เดินอยู่ตรงนั้นเดี๋ยวนั้นขณะนัน กาย เวทนา จิต ธรรม เกิดครบหมด ไม่ใช่ไปทำทีละอย่างทีละข้อ (ไม่ใช่เกิดเรียงตามตัวหนังสือ) จึงบอกว่า เป็นยังไง รู้สึกยังไง ก็พึงรู้เท่ารู้ทันมันทุกๆขณะในขณะนั้นๆ ตามที่มันเป็นของมัน มิใช่ไปคิดจะให้มันเป็นตามที่ตนเองต้องการ นี่คือการปฏิบัติแนวสติปัฏฐานเบื้องต้น เบื้องต้นนะ แค่เริ่มต้นให้ถูกแค่นั้น


ที่ยกเอา กายานุปัสสนาพูด เพราะต้องการจะให้เห็นเพื่อเน้นว่า แม้แต่ร่างกาย,กาย ซึงเป็นรูปธรรมโด่ๆยังไม่รู้จัก จะกล่าวไปใย ถึงนามธรรมเล่า :b1:

:b12:
เลี่ยงบาลียังไม่พอยืมคำตอบเขามาตอบอีกด้วย

ทำไมไม่พูดอย่างนี้เสียตั้งแต่แรกล่ะ ขยักไว้เพราะไม่รู้จริงหรือเปล่า
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2014, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:



ทำมาจนพรุนแล้วไอ้หนอตามทุกอิริยาบทและความรู้สึก
ตอนนี้เลยตรงนั้นไปแล้ว ทิ้งหนอไปตั้งนานแล้วเพราะมันไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ได้จริงๆ....

มันต้องจิต สติ ปัญญา รู้ทันจิตผัสสะเวทนาหรือธรรมารมณ์
ไม่ต้องคอยกังวลที่คำบริกรรมหนอ

ทบทวนดูใหม่ ใคร่ครวญดูให้ดี

"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์"
:b38:



ไปติดหน่ออีก เรารึกบอกแล้วว่า หนอเป็นต้น เหมือนเป็นตัวทำให้วิถีจิตช้าชงเท่านั้น เปลี่ยนเป็นคำอื่นได้ เพราะมันเป็นวิธีปฏิบัติ พูดตามศัพท์ว่า เป็น "มรรค" เป็นวิธีการ


แต่ที่ตัดไม่ได้ หรือมองข้ามไม่ได้ คือสภาวธรรมที่ปรากฎ เดี๋ยวนั้นขณะนั้น เช่น ความฟุ้งซ่าน รู้สึกสุข ทุกข์เป็นต้น อันที่จะต้องกำหนดรู้มันทุกครั้งทุกขณะ มันเป็นยังงี้ นี่คือการเริ่มปฏิบัติเบื้องต้นที่ถูกทาง :b1: เป็นมรรควิธี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 139 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 126 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร