วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 22:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 120 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันที่ 14 ก.พ. ตรงกับวันมาฆปุณฺณมี จึงนำโอวาทที่พระพูทธเจ้าแสดงในวันนั้นมาลงให้สังเกตในห้องสนทนานี้ก่อน หลังวันมาฆะ ผู้ดูแลจะย้ายไปห้องไหนก็ตามที่เห็นสมควร แต่ตอนนี้ว่าที่นี้ชั่วคราวก่อน :b1:

คาถาที่หนึ่่ง

ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

คาถาที่สอง

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ

คาถาที่สาม (กับกึ่งคาถา)

อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


นำเฉพาะบาลีมาเพื่อให้โฮฮับดูก่อน เพราะกรัชกายเคยพูดกับโฮฮับว่า ศัพท์ทางธรรมเป็นภาษาบาลี เขามีความหมายของเขา เราต้องเข้าใจความหมายของเขา แต่โฮฮับกล่าวแย้งอะไรนักก็ไม่รู้ ดังนั้น พี่โฮเข้ามาว่าให้ฟังหน่อยนั่น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 11:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล[แก้]

คาถาต้นฉบับ คำแปล
๏ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
๏ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1
การบำเพ็ญแต่ความดี 1
การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
๏ การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในปาติโมกข์ 1
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1
ที่นั่งนอนอันสงัด 1
ความเพียรในอธิจิต 1
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ความหมายของโอวาทปาติโมกข์[แก้]

โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน[1] คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้
พระพุทธพจน์คาถาแรก[แก้]
ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่
ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการเบียดเบียนทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลายมีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
พระพุทธพจน์คาถาที่สอง[แก้]
ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา [2]
พระพุทธพจน์คาถาที่สาม[แก้]
หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6
การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
วันที่ 14 ก.พ. ตรงกับวันมาฆปุณฺณมี จึงนำโอวาทที่พระพูทธเจ้าแสดงในวันนั้นมาลงให้สังเกตในห้องสนทนานี้ก่อน หลังวันมาฆะ ผู้ดูแลจะย้ายไปห้องไหนก็ตามที่เห็นสมควร แต่ตอนนี้ว่าที่นี้ชั่วคราวก่อน :b1:

คาถาที่หนึ่่ง

ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ

คาถาที่สอง

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ

คาถาที่สาม (กับกึ่งคาถา)

อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


นำเฉพาะบาลีมาเพื่อให้โฮฮับดูก่อน เพราะกรัชกายเคยพูดกับโฮฮับว่า ศัพท์ทางธรรมเป็นภาษาบาลี เขามีความหมายของเขา เราต้องเข้าใจความหมายของเขา แต่โฮฮับกล่าวแย้งอะไรนักก็ไม่รู้ ดังนั้น พี่โฮเข้ามาว่าให้ฟังหน่อยนั่น :b1:


พี่โฮพูดว่า พุทธพจน์ห้ามเอาไปแปล รู้จักหรือเปล่าพุทธพจน์น่ะ

พุทธพจน์มันหมายถึงปรมัตถบัญญัติ ไอ้ที่ยกมาท่านเรียกว่า....พุทธวจนะ
ในบทพุทธวจนะ มีทั้งสมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ

สมมติบัญญัติซึ่งมันเป็นบาลีสามารถเอาไปแปลเป็นไทยได้ แต่ปรมัตถ์บัญญัติห้ามเอาไปแปลเป็นไทย

ปรมัตถ์บัญญัติเราต้องรู้แจ้งด้วยตัวเอง นั้นก็คือรู้ตามสภาวธรรม...เข้าใจมั้ย

ขอเตือนอีกอย่าง จะอ้างอิงพุทธวจนะ วันหลังกรุณาวางลิ้งที่มาด้วย
เห็นหลายหนแล้ว ชอบหยิบยกพระไตรปิฎกมาเป็นท่อนๆ แล้วก็ไม่บอกที่มา
บางที่ดันใส่ความเห็นตัวเองลงไปในพุทธจนะด้วย ไม่รู้หรือแกล้งโง่กันน่ะ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
คาถาโอวาทปาติโมกข์และคำแปล[แก้]


นี่ก็อีกคนถุยน้ำลายทิ้งแล้ว ดันเอาลิ้นเลียกลับไปใหม่ :b9:

เห็นด่ากรัชกายอยู่แหม็บ ดันทำซ่ะเอง :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาเบาๆก่อน

วันมาฆบูชา นั้น ไม่ใช่ศัพท์เดิม ในพุทธกาลไม่มีคำนี้ มีแต่คำว่า มาฆปุณฺณมี เท่านั้นเอง


มาฆปุณฺณมี (เขียนอย่างไทยเป็น มาฆปุรณมี บ้าง มาฆปูรณมี บ้าง มาฆบูรณมี บ้าง) ประกอบเป็นคำในภาษาบาลีตามไวยากรณ์เป็น มาฆปุณฺณมิยํ แปลว่า ในดิถีเป็นที่เต็มดวงแห่งพระจันทร์ในเดือนมาฆะ ที่เราเรียกกันว่า เดือน ๓


ต่อมา เรากำหนดให้วันมาฆปุณณมี หรือวันเพ็ญเดือน ๓ นี้ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยมีการประกอบพิธีบูชาขึ้น ก็เลยเรียกวันนี้ว่า วันมาฆบูชา แปลว่า วันที่มีการบูชาในเดือนมาฆะ ทิ้งคำว่าวันเพ็ญไว้ ในฐานที่เข้าใจ การบูชาในเดือนมาฆะ ก็หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะนั่นเอง


วันมาฆบูชา เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี่เอง คือในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงศึกษาพระคัมภีร์ศึกษาพระไตรปิฎกมาก ทรงพบเหตุการณ์ครั้งนี้ และทรงมีพระราชดำริว่า เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ น่าจะยกขึ้นมากำหนดเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาด้วย ก็จึงโปรดให้จัดมีพิธีบูชาขึ้นมา


สมัยก่อนนี้ ในเมืองไทยเรามี วันวิสาขบูชา เท่านั้น เป็นวันสำคัญ ซึ่งคงจะมีการฉลองกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมา ในสมัยอยุธยามีการฉลองใหญ่ ด้วยการบูชากันทั้งงานหลวง และงานราษฎร์ ถึง ๓ วัน ๓ คืน ทำกันจริงจังใหญ่โตมาก แต่กาลต่อมา ประเพณีวันวิสาขบูชาก็เลือนรางลงไป โดยเฉพาะอาจเป็นเพราะการศึกสงครามตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา


พอมา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในหลวงก็ทรงยุ่งกับการสงคราม การที่จะป้องกันข้าศึกการปกป้องบ้านเมือง


พอปรับปรุงประเทศชาติได้ร่มเย็นเป็นสุข มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ บ้านเมืองมั่นคงแล้ว ก็ทรงหันมาเอาพระทัยใส่ในเรื่องทางด้านสันติและงานในยามที่บ้านเมืองดี ก็จึงฟื้นฟูพระศาสนา รวมทั้งฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาด้วย ให้มีการสมโภชประจำปี ถึง ๓ วัน ๓ คืน เป็นการใหญ่เหมือนในสมัยอยุธยา แต่แล้วต่อมาก็เลือนลางลงไปอีก จนกระทั่งวิสาขบูชาเหลืองานวันเดียว


ในประเทศศรีลังกา เขาให้ความสำคัญกับวิสาขบูชามาก มีพิธีใหญ่โต อย่างยิ่ง (ในศรีลังกา เขาฉลองกันตั้ง ๑ เดือน) วิสาขบูชาจึงเป็นงานที่ใหญ่โตมาก


เป็นอันว่า เมืองไทยเรา เดิมก็มีวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในแง่ที่เกี่ยวกับพุทธประวัติวันเดียว นอกนั้น มีแต่วันที่เกี่ยวกับวินัยคือวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปตามคติความเป็นอยู่ของพระสงฆ์


มาในรัชกาลที่ ๔ ก็โปรดให้มีพิธีมาฆบูชาเพิ่มขึ้น แล้วก็มาถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เสร็จแล้วทางคณะสงฆ์ เห็นว่าวันแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็เป็นวันสำคัญทางศาสนามาก น่าจะได้กำหนดให้มีพิธีบูชาใหญ่ ทางราชการก็เลยตกลงเห็นชอบกับคณะสงฆ์ ประกาศให้มีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วัน คือวันอาสาฬหบูชา เป็นวันล่าสุด เพิ่งมีเมื่อพ.ศ.๒๕๐๑ นี้ เอง


นี้เป็นการเล่าถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มีในประเทศไทย เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว จะได้ไม่แปลกใจ ว่าในกิจการพุทธศาสนาระหว่างประเทศนั้น เป็นที่รู้จักกันเฉพาะวันวิสาขบูชาเท่านั้น วันอื่นๆ คือวันมาฆบูชา และอาสาฬหบูชาประเทศอื่นเขาไม่รู้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:




ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ




เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว


ที่พูดไปเหมือนตักน้ำรดหัวตอ บอกว่า บาลีที่ยกมาน่ะมันมีทั้งสมมติและปรมัตถ์

ในส่วนของปรมัตถ์ท่านไม่ให้แปล แต่ถ้าเป็นสมมติกรัชกายจะเอาไปทำอิลุ่ยฉุ่ยแฉกอย่างไรก็ตามใจ

บอกเป็นร้อยครั้งแล้วมั้งว่า อ้างอิงอะไรให้เอาลิ้งที่มา มาวางด้วย
ไอ้นี่ไม่สุจริตใจ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว


ที่พูดไปเหมือนตักน้ำรดหัวตอ บอกว่า บาลีที่ยกมาน่ะมันมีทั้งสมมติและปรมัตถ์

ในส่วนของปรมัตถ์ท่านไม่ให้แปล แต่ถ้าเป็นสมมติกรัชกายจะเอาไปทำอิลุ่ยฉุ่ยแฉกอย่างไรก็ตามใจ

บอกเป็นร้อยครั้งแล้วมั้งว่า อ้างอิงอะไรให้เอาลิ้งที่มา มาวางด้วย
ไอ้นี่ไม่สุจริตใจ
:b32:


แยกออกมาให้เห็นสิิ ข้อความไหน เป็นบัญญัติ ข้อความไหนปรมัตถ์ แยกออกมาชัดๆ เอ้าา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2014, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับก็เห็นผิดไปอีกอย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นพุทธพจน์หรือคำพูดของพระพุทธเจ้าแล้วต้องประคองไว้ ถือไว้ให้มั่น จะใช้ทำอะไรไม่ได้ เป็นความเห็นผิดอีกอย่างหนึ่ง คือตัวเองเห็นว่า ชีวิตนี้จะฝึกฝนพัฒนาตนไม่ได้เลย เกิดมาเป็นยังไงก็ยังงั้นไป โฮฮับจะออกแนวนี้ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับก็เห็นผิดไปอีกอย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นพุทธพจน์หรือคำพูดของพระพุทธเจ้าแล้วต้องประคองไว้ ถือไว้ให้มั่น จะใช้ทำอะไรไม่ได้ เป็นความเห็นผิดอีกอย่างหนึ่ง คือตัวเองเห็นว่า ชีวิตนี้จะฝึกฝนพัฒนาตนไม่ได้เลย เกิดมาเป็นยังไงก็ยังงั้นไป โฮฮับจะออกแนวนี้ :b32:


นี่สรุปว่าเป็นสมาชิกที่นี่มาก็นานกว่าใคร อาจเรียกได้ว่าศึกษาธรรมก่อนใคร
แต่ผลที่ได้คือ........เสียเวลาเปล่า

ใครมันบอกให้ประคองไว้ พี่โฮบอกว่า เราต้องพิจารณาพุทธพจน์นั้นให้เกิดเป็นสภาวธรรม
นั้นหมายความว่า ปฏิบัติให้เห็นความเป็นจริงต่อพุทธพจน์นั้น
ไม่ใช่พอเห็นพุทธพจน์ก็รีบแจ่นไปเปิด พจนานุกรม นั้นมันเป็นการเรียนภาษา

อย่างเช่น...ขนฺตี คำนี่ ถ้าเราไปแปล... ขันติ คือความอดกลั้น
จากความหมายที่เป็นปรมัตถ์ มันจะกลายเป็นสมมติบัญญัติทันที มันใช้ไม่ได้

หลักการแท้ๆนั้น เราต้องทำให้ปรมัตถ์บัญญัติ เป็นปรมัตถ์
หรือทำบัญญัติให้เป็นสภาวธรรม

อาจถามว่า แล้วเราจะบอกผู้อื่นได้อย่างไร นั้นก็พูดไปตามจริงว่า
เราเห็นและเข้าใจสภาวธรรมตัวนั้นอย่างไร ไม่ใช่ไปเอามาจากพจนานุกรม

ในพจนานุกรม บอกว่าขันติคือความอดทนอดกลั่น ในสภาพของจิตมันมีซ่ะที่ไหนกัน
สภาพของจิต มีแต่กระบวนการขันธ์ห้า มีแต่จิต เจตสิก รูป

ขันติที่เป็นปรมัตถ์หรือสภาวะ ก็คือการที่จิตไประลึกรู้สภาพธรรม เพื่อมาดับอกุศล
พูดง่ายๆมันก็คือสตินั้นเอง
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:




ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ




เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว


ไม่ให้แปล หมายความว่า.......อย่าเอาปรมัตถ์บัญญัติไปแปล ไม่ใช่ไม่ให้แปลสมมติบัญญัติที่เป็นบาลี
พูดง่ายๆคือ ห้ามเอาปรมัตถ์บัญญัติที่เป็นบาลีไปให้ความหมายเอาเองตามภาษาไทย

จะสอนให้ว่า....ถ้ากรัชกายเห็นบทพระไตรปิฏกที่เป็นบาลี กรัชกายต้องไปเทียบกับ
พระไตรปิฎกที่เป็นภาษาไทย ในพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาไทยท่านไม่ได้แปลปรมัตถ์บัญญัติ
แต่ที่เราเห็นเนื้อหาไทยยาวๆ นั้นเป็นเพราะท่านอธิบายในส่วนที่เป็นสมมติบัญญัติ

กรัชกายไปดูให้ดีจะเห็นว่า ในพระไตรปิฎกจะคงความเป็นปรมัตถ์บัญญัติเอาไว้
อาจจะเพี้ยนรูป แต่ยังคงเสียงเดิมเอาไว้ เช่นขนฺตี เขียนเป็น ขันติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:




ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ




เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว



มาเริ่มต้นจากคำถามนี้ โฮฮับแยกให้เห็นสิ ส่วนไหน เป็นสมมติ ส่วนข้อความไหนเป็นปรมัตถ์ เอาชัดๆ ช้าๆ-------------------------------ชัดๆ เหมือนการแยกกากข้าว กับ ข้าวสารออกจากกัน แล้ว กองไว้คนละส่วนกัน เอาเลยเอ้า :b1:

บอกไว้ก่อนนะ ต่อไป จะถามความหมาย บัญญัติ กับ ปรมัตถ์ พร้อมตัวอย่างประกอบนะ ต้องแยกให้ชัด ไม่ใช่พูดมั่วปนกัน ไปวางแผนคิดหรือหาหลักฐานไว้เลย แฟร์ไหมบอกล่วงหน้า คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ




เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว



มาเริ่มต้นจากคำถามนี้ โฮฮับแยกให้เห็นสิ ส่วนไหน เป็นสมมติ ส่วนข้อความไหนเป็นปรมัตถ์ เอาชัดๆ ช้าๆ-------------------------------ชัดๆ เหมือนการแยกกากข้าว กับ ข้าวสารออกจากกัน แล้ว กองไว้คนละส่วนกัน เอาเลยเอ้า :b1:

บอกไว้ก่อนนะ ต่อไป จะถามความหมาย บัญญัติ กับ ปรมัตถ์ พร้อมตัวอย่างประกอบนะ ต้องแยกให้ชัด ไม่ใช่พูดมั่วปนกัน ไปวางแผนคิดหรือหาหลักฐานไว้เลย แฟร์ไหมบอกล่วงหน้า คิกๆๆ


บาลีที่ยกมาทั้งหมด เป็นสมมติบัญญัติ แต่ถ้าเราทำให้บัญญัติเหล่านี้เป็นสภาวะ
สภาวะนั้นเรียกว่าสติ

ปรมัตถ์ ต้องเป็นสภาวธรรมที่บัญญัติตามชื่อเหล่านี้...
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ สภาวะ

ทั้ง๕๗สภาวะ มีอะไรบ้างไปหาดูเอาเอง ขี้เกียจพิมพ์
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ขนฺตี ปรมํ ตโปตี ติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ



สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ



อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ




เห็นว่าไม่ให้แปล ถ้ายังงั้น ถามโฮฮับเลย หมายถึงอะไร ช่วยบอกชาวพุทธในประเทศนี้หน่อยสิ :b1: เอ้าวว



มาเริ่มต้นจากคำถามนี้ โฮฮับแยกให้เห็นสิ ส่วนไหน เป็นสมมติ ส่วนข้อความไหนเป็นปรมัตถ์ เอาชัดๆ ช้าๆ-------------------------------ชัดๆ เหมือนการแยกกากข้าว กับ ข้าวสารออกจากกัน แล้ว กองไว้คนละส่วนกัน เอาเลยเอ้า :b1:

บอกไว้ก่อนนะ ต่อไป จะถามความหมาย บัญญัติ กับ ปรมัตถ์ พร้อมตัวอย่างประกอบนะ ต้องแยกให้ชัด ไม่ใช่พูดมั่วปนกัน ไปวางแผนคิดหรือหาหลักฐานไว้เลย แฟร์ไหมบอกล่วงหน้า คิกๆๆ


บาลีที่ยกมาทั้งหมด เป็นสมมติบัญญัติ แต่ถ้าเราทำให้บัญญัติเหล่านี้เป็นสภาวะ
สภาวะนั้นเรียกว่าสติ

ปรมัตถ์ ต้องเป็นสภาวธรรมที่บัญญัติตามชื่อเหล่านี้...
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ สภาวะ

ทั้ง๕๗สภาวะ มีอะไรบ้างไปหาดูเอาเอง ขี้เกียจพิมพ์
:b32:



อ้างคำพูด:
แต่ถ้าเราทำให้บัญญัติเหล่านี้เป็นสภาวะ สภาวะนั้นเรียกว่าสติ


คุยกะโฮฮับบางครั้งคิดว่าคุยกับคนประสาท ไม่รู้อะไรต่ออะไรนัก มั่วไปหมด พอแล้วนะจะไปไหนก็ไปเถอะรำคาญ กรัชกายจะได้ลงหัวนี้ข้อให้จบให้ต่อเนื่อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ก.พ. 2014, 14:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2014, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระของโอวาทปาฏิโมกข์


ก) คาถาที่ ๑ ซึ่งเป็นตอนแรกว่า

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา

นิพฺพานํ ปรมํ วนทนฺติ พุทฺธา

น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี

สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ


ถาถาแรกนี้ แสดงอะไรบ้าง ตอบสั้นๆว่า แสดงลักษณะของพระพุทธศาสนา ที่ต่างจากศาสนาพื้นเดิมที่มีอยู่

พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นใหม่ เมื่อจะแสดงหลักการของพระพุทธศาสนา จุดแรกก็คือ การแยกออกจากศาสนาเดิม ซึ่งจะเป็นข้อสำคัญที่จะให้ชาวพุทธรู้จักตัวเอง คือรู้จักหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง มิฉะนั้น เดี๋ยวจะเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปเที่ยวปะปนกับลัทธิอื่นๆ
คำสอนขอแรก บอกว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา แปลว่า ขันติ คือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง

อธิบายว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมานั้น ข้อปฏิบัติสำคัญในศาสนาพื้นเดิมก็คือ เขาชอบบำเพ็ญตบะ การบำเพ็ญตบะนี้ เป็นที่นิยมกันนักหนาว่า เป็นทางที่จะทำให้บรรลุความบริสุทธิ์หลักพ้น ถึงจุดหมายของศาสนา ศาสนาในยุคนั้นจึงมีการ บำเพ็ญตบะกันมาก

พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานคำสอนใหม่ว่า การที่มาทรมานร่างกายของตนเองด้วยประการต่างๆ เช่น อดข้าว กลั้นลมหายใจ นอนบนหนาม ลงอาบแช่น้ำในฤดูหนาว ยืนตกอยู่กลางแดดในฤดูร้อน อะไรทำนองนี้ ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้

ขอให้สังเกตว่า นักบวชเชน แม้แต่สมัยปัจจุบัน ก็ยังใช้วิธีบำเพ็ญตบะอยู่ เช่น จะโกนผม เขาก็ไม่ใช้มีดโกน แต่เขาถอนผมออกมาทีละเส้นๆ
ที่เรียกว่า สาธวี แต่งชุดขาว แล้วมีอะไรปิดที่จมูกหรือปาก นั่นน่ะ เป็นนักบวชหญิงของเชน นิกายเศวตัมพร หรือเสตัมพร แปลว่า นุ่งขาว ห่มขาว ถ้าเป็นอีกนิกายหนึ่ง ก็เรียกว่า ทีคัมพร แปลว่า นุ่งทิศ คือนุ่งลมห่มฟ้า หมายความว่าไม่นุ่งผ้าเลย

พระพุทธเจ้าตรัสว่า การบำเพ็ญตบะทรมานร่างกาย ไม่ใช่วิถีทางแห่งความหลุดพ้น ที่จะเข้าถึงจุดหมายของศาสนา การที่ตรัสคาถานี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่จะให้เกิดความรู้เข้าใจลักษณะที่แตกต่างของพระพุทธศาสนาตั้งแต่ต้น เริ่มแต่ในด้านวิธีปฏิบัติ พระองค์จึงตรัสแทนใหม่ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา

“ขันติ” คือ การอดได้ ทนได้ นี่แหละ เป็นตบะอย่างยิ่ง ตบะไม่อยู่ที่การทรมานร่างกาย แต่อยู่ที่ขันติ คือความอดทน โดยใช้สติปัญญา ทำความเพียรด้วยความเข้มแข็งในจิตใจ โดยมุ่งมั่นที่จะทำการนั้นให้สำเร็จด้วยความอดทน อย่างนี้จึงจะเป็นตบะจริง ไม่ต้องไปเที่ยวทรมานร่างกายของตน เมื่อตรัสอย่างนี้ ก็เป็นการบอกให้รู้ไปด้วยว่า การบำเพ็ญตบะอย่างที่เขานิยมทำกันนั้น ไม่มีในพระพุทธศาสนา

จากข้อปฏิบัติ พระพุทธเจ้าก็ก้าวไปสู่จุดหมายของพระพุทธศาสนา โดยตรัสว่า นิพฺพานํ ปรมํ วนทนฺติ พุทฺธา แปลว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม คือนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด หรือเป็นธรรมอย่างยิ่ง ข้อนี้ คือ การแสดงจุดหมายของพระศาสนาว่า ได้แก่ พระนิพพาน ไม่ใช่ลัทธิไปสู่พระพรหมอะไร

สมัยนั้น ศาสนาพราหมณ์เขาถือว่า จุดหมายของศาสนาคือ พรหมสหัพยตา ได้แก่ ภาวะที่รวมเข้ากับพรหม คำสอนอย่างนี้ท่านคัดค้านไว้ในพระสูตร เช่นอย่างเตวิชชสูตร ในพระไตรปิฎกทีฆนิกาย เป็นต้น ซึ่งพูดถึงเรื่องพราหมณ์ที่พยายามจะเข้าถึงพรหม ไปอยู่ร่วมกับพระพรหมด้วยวิธีต่างๆ แล้วพราหมณ์ก็เถียงกันเองว่า วิธีของใครถูกต้อง

การเข้ารวมกับพระพรหม หรือการเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพรหม หรือการเข้าถึงพรหมนั่น เป็นจุดหมายของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าของเราอุบัติขึ้น

พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เราจะเข้ารวมกับพรหมได้ก็ด้วยการสร้างความเป็นพรหมให้มีในตัว หรือทำตัวให้เป็นพรหมหรือให้เหมือนกันกับพรหม ด้วยการเจริญพรหมวิหารธรรม

อย่างไรก็ตาม การเข้ารวมกับพรหมก็ยังไม่ใช่อิสรภาพแท้จริง เราสามารถกล่าวเลยกว่านั้นไปอีก และพระองค์ก็ได้ตรัสแลดงจุดหมายของพระพุทธศาสนาว่า ได้แก่ นิพพาน เป็นการบอกให้รู้ชัดไปเลย ไม่ใช่เพียงเข้าไปรวมกับพรหม

ต่อไป สิ่งที่ปรากฏของศาสนาข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ นักบวช ในข้อนี้เราต้องชัดว่า คนประเภทใด มีลักษณะอย่างไร จัดว่าเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นหลักว่า คนที่จะเป็นบรรพชิตนั้น ไม่เป็นผู้ทำร้ายผู้อื่น ถ้าเป็นผู้ทีทำร้ายเบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ หมายความว่า นักบวช หรือ สมณะ หรือ บรรพชิต มีลักษณะสำคัญอยู่ที่การไม่ทำร้ายคนอื่น ไม่เบียดเบียนใคร เป็นผู้ไม่มีภัยมีเวร เป็นแบบอย่างของการนำสังคมไปสู่สันติ

ลักษณะสำคัญของพระภิกษุ หรือความเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ไม่ได้อยู่ที่การเป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้า กับ มนุษย์ ต่างจากในศาสนาพราหมณ์ ที่นักบวชทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระพรหม กับ มนุษย์ เป็นตัวแทนของเทพเจ้าหรือของสวรรค์ในโลกมนุษย์ หรือเป็นผู้ผูกขาดพระเวท อันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เทพเจ้าสูงสุดเปิดเผยแก่พราหมณ์

ความเป็นนักบวช เป็นบรรพชิต เป็นสมณะ ไม่ได้อยู่ที่การเป็นตัวแทนสวรรค์ หรือเป็นเจ้าพิธี หรือการมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หรือการปลีกตัวหลีกหนีสังคมไปเข้าฌานอยู่ในป่า เป็นต้น แต่อยู่ที่การทำสันติให้ปรากฏในชีวิตที่เป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 120 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 136 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร