วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 100 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

แน่ะๆ กำลังสื่อว่าตนเองเป็นนักปฏิบัติ คิกๆๆ

ถ้ายังงั้นขอปรึกษานักปฏิบัติหน่อยเนี่ย

อ้างคำพูด:
พอดีเมื่อวานได้นั่งสมาธิแล้วได้กำหนดพุธ-โธเมื่อจิตสงบก็ พิจารณากายในกาย เช่นหายใจเข้าเป็นลมเข้าไปสู่ร่างกายออกมาพิจาณาสิ่งปฏิกูลในร่างกายไป สักพัก เหมือนเปลี่ยนฐานะตัวเองเป็นผู้ดู มีสติ เห็นเหมือนภาพ มีกล่องใบใหญ่มาก สีขาว

ทันใดนั้นกายก็ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เช่น ปอด ม้าม ตับ ไต ไส้ สมอง เล็บ ขน ฟัน หลุดเอาไปรวมในกล่องนั้น แล้วก็มีภาพพ่อ แม่ คนที่มีใจผูกพันธ์ ถูกแยกกายออกเป็นชิ้นๆเหมือนเราอวัยวะถูกรวมไปในกล่องใหญ่ใบนั้น จิตเรามันอยากเห็นอะไรในกล่องพอมองลงไปก็เห็นแต่อวัยวะต่างๆกองรวมกัน

ทัน ใดก็มีเสียงหนึ่งถามว่า "กายเธออยู่ที่ไหน" เมื่อได้เห็นแบบนี้ก็เลยตอบว่า "ไม่มี" แล้วเสียงนั้นก็ตอบว่า "แล้วจิตเธออยู่ที่ไหน" ดิฉันพยายามมองหาคำตอบว่า จิตอยู่ที่ไหน เพราะตอนนี้กายไม่มีแล้ว ก็จะบริกรรมพุธโธต่อแต่ ไม่มีกายก็ไม่มีลม คำบริกรรมก็หาย มันมีสภาวะที่โล่งๆว่างๆเลยตอบไปว่า "จิตก็คงไม่มี" แล้วมันก็สว่างวาบแล้วเหมือนมีกระแสไฟกระจายไปทั่วความสว่างนั้น

อยากจะถามผู้รู้ ว่า

1.สิ่งที่เกิดขึ้นนี่คืออะไร เป็นนิมิตอะไร อะไรแสดงธรรมอยู่

2.ดิฉันควรปฏิบัติต่อไปอย่างไร

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกดิฉันเห็นตัวเองเป็นซากศพ มีอะไรมากัดกิน



เขาเป็นอะไร และจะไปต่ออย่างไรวิธีไหน :b1:


มาช่วยตอบ s004
ก็เป็นการฝึกสมถะ อาจจะยังไม่ถึงขั้นฌาณ. แต่ระบบประสาทสัมผัสดับไปแล้วเรียบร้อย แปลอีกทีว่า เขากำลังอยู่ในสภาพที่คล้ายหลับ แต่มีสติอยู่เท่านั้น. ภาพที่เห็น หากเป็นขณะนอนหลับ จิตอยู่ในภวังค์ เขาก็เรียกว่า ความฝัน, แต่พออยู่ในสมถะ เขาก็เรียกว่า นิมิต.

ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วการใช้ความคิดความเข้าใจ ก็จะถดถอยลงไปเรื่อยๆ, ในขณะที่อัตตาก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง. ถ้าเห็นแสงจ้าแบบดวงอาทิตย์เมื่อไร ก็จะคิดว่า ข้าบรรลุแล้ว ข้าเป็นผู้วิเศษที่เหนือกว่าใครๆ.

:b6: สภาวะกึ่งหลับ (ประสาทสัมผัสดับ) เป็นสภาวะที่สมองจะทำงานเพียงบางส่วน, ในสภาวะนี้จะใช้ความคิดได้ในขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่การคิดเชิงวิเคราะห์แทบจะผิดพลาดทั้งหมด.
เมื่อสมองทำงานเพียงบางส่วน ผู้ฝึกจึงไม่จำเป็นต้องนอน เพราะเขาอยู่ในสภาวะที่กึ่งนอนอยู่แล้ว. การไม่ต้องนอน ยิ่งทำให้คิดว่า เป็นความวิเศษอันน่าทึ่ง และเมื่อบวกกับความสามารถในการวิเคราะห์ ที่ใช้ได้แค่ระดับพื้นฐาน, ร้อยทั้งร้อยจะคิดว่า ตนเองคือผู้วิเศษ ผู้บรรลุธรรมอันสูงสุด.

onion กรณีที่ยกมานี้ ก็ควรจะยุติการฝึกในแบบสมถะไปเลย. แล้วหันไปใช้วิธีที่ถูกต้องตามไตรปิฎก คือ สติปัฏฐาน 4. แล้วจะรู้ว่า มันช่างง่ายดายเสียจริงๆ, ไม่มีความรู้สึกที่ต้องฝืน ต้องเพ่ง ต้องเจอกับความประหลาดๆ อะไรมากมาย.

สติปัฎฐาน ก็ฝึกได้หลายแบบ แล้วแต่จะประยุกต์เอา. แต่จุดสำคัญคือ ประสาทสัมผัสต้องไม่ดับ ถ้าดับจะต้องหลับไปเลย ไม่ใช่ค้างๆ คาๆ เป็นครึ่งคนครึ่งผีไป.

ถ้าจะประยุกต์ให้ทันยุคทันสมัย ก็ทำได้หลายแบบ. มีหลักง่ายๆ ว่า สิ่งที่เอามาจดจ่อนั้น ต้องไม่ซ้ำแบบ 1 2 1 2.... เพราะจะกลายเป็นสมถะไป, ให้จดจ่อกับอะไรๆ ที่เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ เช่น
ฟังเพลง จดจ่ออยู่กับเสียงดนตรี, ถ้าเพิ่งหัดใหม่ ควรฟังเพลงต่างประเทศ ไม่งั้นจะฝันหวาน เคลิบเคลิ้มไป
การฟังเพลง จะเข้าหมวด ธัมมานุปัสสนา หรือเปล่า ไม่แน่ใจ.
หรือจะไปนั่งใต้น้ำตกแบบหนังจีน จดจ่ออยู่กับความรู้สึก ที่สายน้ำกระทบตัว. ไปนั่งตากฝนก็น่าจะได้ ถ้าไม่กลัวปอดแหก :b32:

การฝึกตนไม่ได้ยาก และพิศดารอะไรมากมายหรอก ถ้าทำถูกวิธี...
อาเมน... s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เอาเลยท่าน....แม้จะเป็นตำราอาจารย์หลังๆ...อย่างพุทธธรรม...ก็ฟัง...ครับท่าน


นำมานิดหน่อยเพื่อให้กบได้แลเห็น


พุทธธรรมฉบับนี้ ถือหลักฐานทางคัมภีร์เป็นสำคัญ จึงเต็มไปด้วยข้อความที่แปลจากคัมภีร์ภาษา

บาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ สำหรับพระบาลี คือความในพระไตรปิฎก

นั้น แม้จะแปลตรงจากฉบับเดิมที่เป็นภาษาบาลี เพราะเป็นหลักฐานขั้นต้น แต่ก็ได้อาศัย พระ

ไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เป็นที่ปรึกษา ได้รับประโยชน์มิใช่น้อย ส่วนคัมภีร์ภาษาบาลีรุ่น

หลังต่อๆมา ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว มีเป็นจำนวนน้อย อันใดพออาศัยได้ก็ได้ใช้ปรึกษาบ้าง

ประกอบบ้าง ไปตามควร คัมภีร์ใดยังไม่ได้ตีพิมพ์ในประเทศไทย หรืออุปกรณ์การศึกษาค้นคว้า

คัมภีร์อย่างใดๆ ยังไม่ได้จัดทำในประเทศไทย ก็ได้อาศัยงานที่พิมพ์ในประเทศอังกฤษบ้าง พม่า

บ้าง เป็นส่วนเสริม จึงขอจารึกคุณความเกื้อกูลที่ได้รับจากแหล่งเหล่านั้นไว้ ณ ที่นี้ด้วย



เกี่ยวกับหลักฐานที่มา


ก. สำหรับผู้คุ้นกับคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อเห็นอักษรย่อคัมภีร์ ก็รู้ได้ทันทีว่า อันใดเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎก อันใดเป็นคัมภีร์รุ่นหลัง แต่สำหรบผู้ไม่คุ้น อาจสังเกตง่ายๆ จากเลขบอกที่มา คือ คัมภีร์ในพระไตรปิฎก เรียงเลข ๓ ช่อง เป็น เล่ม/ข้อ/หน้า ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังเรียงเลขเพียง ๒ ช่อง เป็น เล่ม/หน้า นอกจากนั้น คัมภีร์ที่เป็นอรรถกถา อักษรย่อจะลงท้ายด้วย อ. ที่เป็นฎีกา จะลงท้ายด้วย ฎีกา


ข. ตามปกติ เรื่องใดอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นต้นที่สำคัญกว่าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างหลักฐานทีมาในคัมภีร์ชั้นรองลงไป ที่สำคัญน้อยกว่า เช่น อ้างพระไตรปิฎกแล้ว ก็ไม่ต้องอ้างอรรถกถาอีก เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น


ค. เมื่ออ้างที่มาหลายแห่ง จะเรียงตามลำดับประเภท หมวด และรุ่นของคัมภีร์ เช่น เรียงพระไตรปิฎกก่อนอรรถกถา อรรถกถาก่อนฎีกา หรือในจำพวกพระไตรปิฎกด้วยกัน ก็เรียงพระวินัยก่อนพระสูตร พระสูตรก่อนพระอภิธรรม ในพระสูตรด้วยกัน ก็เรียงตามลำดับนิกาย ในนิกายเดียวกัน ก็เรียงตามลำดับคัมภีร์ เป็น วินย. ที.สี. ที.ม. ที.ปา. ม.มู. ม.ม. ฯลฯ อภิ.สํ. อภิ.วิ. ฯลฯ วินย.อ. ที.อ. ม.อ. ฯลฯ วิภงฺค.อ. ฯลฯ วินย.ฎีกา. ฯลฯ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น เป็นคัมภีร์ลำดับหลัง แต่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้มาก เป็นหลักฐานใหญ่เฉพาะกรณีนั้น ก็เรียงไว้ข้างต้น หรือคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้คล้ายกัน ก็เรียงไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น


........
หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจำนวนมาก ที่ไม่แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทำให้ผู้อ่านสับสน หรือถึงกับเข้าใจผิด จับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกาจารย์ เป็นต้น ว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า บางทีแม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสนหรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อพึงระมัดระวังในเรื่องความสับสนเกี่ยวกับหลักฐานที่มานี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อย :b1:


เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และแตกต่างกันไปได้หลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอดสืบต่อ มีพื้นความรู้ การศึกษา อบรม สติปัญญาแตกต่างกัน ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง นำเอาความรู้ ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่น เข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง อิทธิพลศาสนา และวัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง คำสอนบางแง่เด่นขึ้น บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และ เลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง และความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง ทำให้เกิดความแตกแยก ออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายาน กับเถรวาท ตลอดจนนิกายย่อยๆ ในสองนิกายใหญ่นั้น


สำหรับ เถรวาทนั้น แม้จะได้ชื่อว่า เป็นนิกาย ที่รักษาแบบแผนและคำสอน ดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ ก็มิใช่จะพ้นไปจากความแปรเปลี่ยนได้โดยสิ้น เชิง คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่น ปัจจุบัน ต้องนำมาถกเถียง คิดค้นหาหลักฐาน ยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม ยิ่งความรู้ความเข้าใจ ที่ประชาชน เชื่อถือ และปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มาก และชัดเจนยิ่งขึ้น บางกรณีกับเสมือนเป็นของตรงข้าม กับคำสอนเดิม หรือ เกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น ที่คำสอนเดิมคัดค้านแล้วก็มี


ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้ เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรม” ความเข้าใจของคนทั่วไป ก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีต เจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้ว หรือชาติก่อนๆ บ้าง เพ่งไปยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือนึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการ กระทำในอดีตบ้าง เพ่งไปยังแง่ที่เสียหาย เลวร้าย คือ การกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง เพ่งไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่ว ในชาติก่อนบ้าง และโดยมาก เป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้ รวมๆ กันไปทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาตัดสิน ตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรม แล้ว จะเห็นได้ชัดว่า เป็นความเข้าใจที่ห่างไกล จากความหมายที่แท้ จริง เป็นอันมาก

แม้ข้อธรรมอื่นๆ ตลอดจนคำบัญญัติทางธรรมแต่ละคำๆ เช่น อารมณ์ วิญญาณ บารมี สันโดษ อุเบกขา อธิษฐาน บริกรรม ภาวนา สมถะ สมาธิ วิปัสสนา กาม โลกีย์ โลกุตระ บุญ อิจฉา ฯลฯ ก็ล้วนมีความหมายพิเศษ ในความเข้าใจของประชาชน ซึ่งผิดแปลกไปจากความหมาย ดั้งเดิมในพุทธธรรมโดยตัวความหมายเองบ้าง โดยขอบเขตความหมายบ้าง มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคำนั้นๆ ในการศึกษาพุทธธรรม จำเป็นต้องแยกความหมาย ในความเข้าใจของประชาชน ส่วนที่คลาดเคลื่อนนี้ออกไปต่างหาก จึงจะสามารถเข้าใจความหมาย ที่แท้จริงได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม murano หน่อย เห็นพูดถึงการฝึกอบรมจิตแบบสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี่ ทำยังไงครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 09:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ.

ต่อ...ต่อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8: สาธุ.

ต่อ...ต่อ...


พูดให้รู้เรื่องกว่านี้หน่อยได้ไหม ต่อ ต่อ ต่ออะไรประเด็นไหนขอรับท่านกบ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 12:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32:
รออ่าน..อยู่..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

รออ่าน..อยู่..



ก่อนอ่าน ขอเสริมเกี่ยวกับหนังสือพุทธธรรมอีกหน่อย


เมื่อเน้นในด้านหลักฐาน ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่หนังสือนี้จะหนักไปทางวิชาการ หรืออาจพูดได้ว่า มุ่งแสดงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนาโดยตรง คำนึงถึงการอธิบายหลักธรรม มากกว่าจะคำนึงถึงพื้นฐานของผู้อ่าน


ดังนั้น หนังสือพุทธธรรมนี้ จึงเป็นหนังสือสำหรับผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หรือสำหรับผู้ต้องการศึกษาอย่างจริงจัง มุ่งหาความรู้อย่างไม่กลัวความยาก ใจสู้ จะเอาชนะทำความเข้าใจให้จงได้ ไม่ใช่หนังสือสำหรับชวนให้ศึกษา หรือเข้าไปหาผู้อ่าน เพื่อชักจูงให้มาสนใจ คือ ถือเอาหลักวิชาเป็นที่ตั้ง มิใช่ถือเอาผู้อ่านเป็นที่ตั้ง แต่กระนั้น ก็มิใช่จะยากเกินกำลังของผู้อ่านทั่วไป ที่มีความใฝ่รู้และตั้งใจจริง จะเข้าใจได้


ในเมื่อเป็นหนังสือแสดงหลักวิชา ก็ย่อมมีคำศัพท์วิชาการทางพระพุทธศาสนา คือ ถ้อยคำทางธรรมที่มาจากภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก ข้อนี้ก็เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้หนังสือนี้ยากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ไม่คุ้นกับศัพท์ธรรม หรือคำที่มาจากบาลี แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง ในเมื่อต้องการจะรู้หลักกันจริงๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำจำกัดความสัมมาทิฐิ


คำจำกัดความที่พบบ่อยที่สุด คือ ความรู้ในอริยสัจ ๔ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิคือ อะไร ? ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ”


คำจำกัดความนอกจากนี้ ได้แก่


รู้อกุศล และอกุศลมูล กับ กุศล และกุศลมูล:


“เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล...อกุศลมูล...กุศล...และกุศลมูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธอชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสแน่วแน่ในธรรมเข้าถึงสัทธรรมนี้แล้ว”

เห็นไตรลักษณ์:

“ภิกษุเห็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบ ก็ย่อมหน่าย เพราะสิ้นเพลินก็สิ้นการย้อมติด เพราะสิ้นการย้อมติด ก็สิ้นเพลิน เพราะสิ้นเพลินและย้อมติด จิตจึงหลุดพ้น เรียกว่า พ้นเด็ดขาดแล้ว”

“ภิกษุเห็นจักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน...รูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ”


เห็นปฏิจจสมุปบาท:


"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ แค่ไหน จึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ"


"แน่ะท่านกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอิง (ทฤษฎีของตน) ไว้กับภาวะ ๒ อย่างคือ อัตถิตา (ความมี) และนัตถิตา (ความไม่มี) เมื่อเห็นโลกสมุทัยตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา นัตถิตาในโลกก็ไม่มี เมื่อเห็นโลกนิโรธตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา อัตถิตาในโลกก็ไม่มี


โลกนี้โดยมากยึดมั่นถือมั่นในอุบาย (systems) และคล้องขังไว้ด้วยอภินิเวส (dogmas) ส่วนอริยสาวก ย่อมไม่เข้าหา ไม่ยึด ไม่ติดอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอุบาย ความปักใจ อภินิเวส และอนุสัยว่า "อัตตาของเรา" ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ เมื่อดับ ก็ย่อมดับ อริยสาวกย่อมมีญาณในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นเลย เพียงเท่านี้แล ชื่อว่า มีสัมมาทิฏฐิ"


“ดูก่อนกัจจานะ ข้อว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง ข้อว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ไม่เข้าเข้าไปติดที่สุดทั้งสองนั้นว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชานั่นแหละดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์อีกแห่งหนึ่ง แยกความหมายของสัมมาทิฏฐิ เป็น ๒ ระดับ คือ ระดับที่เป็นสาสวะ กับ ระดับโลกุตระ


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ ซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ และเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง”


สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรมที่ทำไว้ดี และชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์


“สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ? คือ องค์มรรค ข้อสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ของผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ มีอริยมรรคเป็นสมังคี ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฐิข้อนี้แหละที่พวกเราพอคิดนึกเห็น

อ้างคำพูด:
"สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรมที่ทำไว้ดี และชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์”


กบว่าจริงมั้ยครับเนี่ย


ข้อนี้ เข้าใจยากขึ้นอีกหน่อย

อ้างคำพูด:
รู้อกุศล และอกุศลมูล กับ กุศล และกุศลมูล:

“เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล...อกุศลมูล...กุศล...และกุศลมูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธอชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสแน่วแน่ในธรรม เข้าถึงสัทธรรมนี้แล้ว”



นอกนั้นเนี่ยะ ยากยิ่งเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ



ทิฏฐิ หรือเขียนลดรูปเป็นทิฐิ แปลว่า ความเห็น หมายรวมถึง ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎีความเข้าใจตามนัยเหตุผล ข้อที่เข้ากับความเข้าใจของตน หลักการที่เห็นสม ข้อที่ถูกใจ ข้อที่เชิดชูเอาไว้ ความใฝ่นิยม หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า ค่านิยม รวมไปถึงอุดมการณ์ แนวทัศนะในการมองโลกและชีวิตที่เรียกกันว่า โลกทัศน์และชีวทัศน์ต่างๆ ตลอดจนทัศนคติพื้นฐาน ที่สืบเนื่องจากความเห็นความเข้าใจ และความใฝ่นิยมเหล่านั้น *


ถ้าจะจัดเข้าเป็นพวกๆ ทิฏฐิ ก็คงมี ๒ ระดับ คือ ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณค่า ว่าดี ไม่ดี ควรจะเป็น ไม่ควรจะเป็น เป็นต้น อย่างหนึ่ง ความเห็น ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงว่า คืออะไร เป็นอย่างไร เพราะเหตุไร เป็นต้น อย่างหนึ่งดังจะเห็นได้ในเรื่องสัมมาทิฏฐิ ๒ ประเภท


ทิฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจ ความใฝ่นิยมยึดถือต่างๆ นั้น มีอิทธิพลครอบงำ และมีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิต และสังคมของมนุษย์เป็นอย่างมาก


ในกรรมบถ ท่านจัดทิฐิเข้าเป็นมโนกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่สำคัญ มีผลมากมายร้ายแรงที่สุด ยิ่งกว่ากายกรรม และวจีกรรม เพราะเป็นตัวบันดาลกายกรรม และวจีกรรม อยู่เบื้องหลังอีกชั้นหนึ่ง สามารถนำชีวิต สังคม หรือมนุษย์ชาติทั้งหมด ไปสู่ความเจริญงอกงามรุ่งเรืองหลุดพ้น หรือนำไปสู่ความเสื่อม ความพินาศก็ได้


ดังจะมองเห็นได้ในชีวิตของบุคคล ทิฏฐิเป็นตัวชักจูง และกำหนดวิถีชีวิต ทั้งในด้านรับเข้า และด้านแสดงออก กล่าวคือ จะมองเห็นโลกและชีวิตเป็นอย่างไร และจะปฏิบัติต่อโลก และชีวิตนั้นอย่างไร เริ่มตั้งแต่จะแปลความหมายของประสบการณ์ ที่รับรู้เข้ามาใหม่อย่างไร จะตีค่า จะตัดสินวินิจฉัยว่าอย่างไร จะหันไปหา หรือเลือกรับสิ่งใด ส่วนใด ในแง่ใด จะเห็นด้วยหรือไม่ จะอยู่ฝ่ายใด แล้วชักนำแนวความคิดการพูดการกระทำที่จะสนองตอบโต้ แสดงปฏิกิริยาออกไปว่าจะเอาอย่างไร พูด หรือ ทำอย่างไรกับบุคคลสิ่งสภาพแวดล้อม หรือ สถานการณ์นั้นๆ พร้อมทั้งสร้างเหตุผลประกอบ สำหรับการที่จะพูดจะทำเช่นนั้น


กล่าวสั้นๆด้วยศัพท์ธรรมว่า ปรุงแต่ง ชักนำองค์ธรรมต่างๆ ตั้งแต่สังกัปปะคือความคิด หรือ ความดำริ เป็นต้นไป ให้เป็นมิจฉา หรือ เป็นสัมมา ตามทิฐินั้นๆ


ในทางปฏิบัติ ความสำคัญของทิฏฐิมองเห็นได้ไม่ยาก เช่น เมื่อคนชอบความมั่งมี เห็นว่าความพรั่งพร้อมทางวัตถุส่วนตัวเป็นจุดหมายของชีวิต เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของบุคคล และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจ เขาย่อมพยายามดิ้นรนขวนขวายเพื่อแสวงหาความพรั่งพร้อมทางวัตถุนั้น ไม่ว่าจะศึกษาเล่าเรียน หรือประกอบกิจการงาน ก็ทำเพื่อจุดหมายนี้ และเมื่อมองดูคนอื่น เขาก็จะวัดจะตีค่าจะให้เกียรติคนนั้นๆ หรือไม่โดยถือเอาความมั่งคั่งพรั่งพร้อมเป็นเกณฑ์


ยิ่งถ้าเขาขาดความใฝ่สุจริตด้วยแล้ว เขาก็จะแสวงหาความมั่งคั่ง โดยไม่เลือกวิธีว่าเป็นไปโดยสุจริตชอบธรรมหรือไม่ และจะมองเห็นคนประพฤติสุจริตที่ยากไร้ว่า เป็นคนเขลาครึทึ่มทื่อ หรือไร้เกียรติ


ถ้าเด็กเห็นว่า การมีอำนาจ เป็นความเก่ง เป็นความดี เขาก็จะมีท่าทีที่น้อมไปในทางแสดงอำนาจ ทำตัวยิ่งใหญ่ ชอบครอบงำข่มเหงรังแกผู้อื่น

ถ้าคนเห็นว่าบุญบาปไม่มีจริง เป็นเพียงคำขู่หลอกไว้ เขาย่อมไม่เอาใจใส่สิ่งที่่สอนว่าเป็นบุญ และไม่ระวังยั่งตัวในสิ่งที่ถือว่าเป็นบาป

เมื่อคนไม่เข้าใจซึ้งถึงสภาวะของโลกและชีวิตที่เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวรอยู่โดยธรรมดา เขาย่อมมีความยึดมั่นต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และบุคคลแวดล้อมมาก แล้วเกิดความหวั่นกลัว ทำการ และมีพฤติกรรมสะท้อนความทุกข์ ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของความยึดมั่น หวั่นไหวหวาดกลัวนั้น ดังนี้เป็นต้น

ส่วนในด้านดี ก็พึงทราบโดยนับตรงข้าม

ความเห็นที่ผิด เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ได้กล่าวแล้วว่า ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ดีไม่งาม สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ชั่วร้าย เฉพาะอย่างยิ่งปาปมิตร และอโยสิโสมนสิการ คือการทำในใจโดยไม่แยบคาย ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น คิดไม่ถูกวิธี

ส่วนปัจจัยของสัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ปรโตโฆสะที่ดีงาม การหล่อหลอมกล่อมเกลาในทางที่ถูกต้องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดี เฉพาะอย่างยิ่งกัลยาณมิตร หรือการเสวนาสัตบุรุษ และโยสิโสมนสิการ คือการทำในใจโดยแยบคาย รู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดถูกวิธี


โลกุตรสัมมาทิฐิ ดูที่

http://group.wunjun.com/whatisnippana/t ... 6985-22841

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 22:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สัมมาทิฐิข้อนี้แหละที่พวกเราพอคิดนึกเห็น

อ้างคำพูด:
"สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรมที่ทำไว้ดี และชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์”


กบว่าจริงมั้ยครับเนี่ย

ตรงนี้มีจุดสำคัญมาก...อยู่2 จุด..เชื่อมโยงกันและกันอยู่...เชื่อว่าปรโลกมี..กับ..เชื่อว่าพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เองโดยชอบมีอยู่จริง...ก็ย่อมจะเชื่อว่าการพ้นทุกข์ ..เกิดขึ้นได้จริง....ซึ่งก้จะมาเยื่อมโยงให้เห็น...ทุกข์...เหตุให้เกิดทุกข์...อีกชั้นหนึ่ง
แต่เป็นการเห็นในระดับปลงใจเชื่อ...ยังตัดความหลงไม่ขาด....ยังต้องปฏิบัติตามมรรค8ให้สมบูรณ์ต่อไปอีก....
คือ....มันต้องมาจบที่การเริ่มเห้นทุกข์..อยู่ดี

อ้างคำพูด:
ข้อนี้ เข้าใจยากขึ้นอีกหน่อย

อ้างคำพูด:
รู้อกุศล และอกุศลมูล กับ กุศล และกุศลมูล:

“เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล...อกุศลมูล...กุศล...และกุศลมูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธอชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสแน่วแน่ในธรรม เข้าถึงสัทธรรมนี้แล้ว”


นอกนั้นเนี่ยะ ยากยิ่งเลย


เป็นวิสัยของคนที่กำลังเดินตามเส้นทางมรรค 8...อันนี้..เห็นความสั่นไหวของจิตใจ..คือ..ทุกข์....แล้ว
สาธุ... :b8:

รอชมต่อ...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 08 เม.ย. 2014, 22:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
สัมมาทิฐิข้อนี้แหละที่พวกเราพอคิดนึกเห็น

อ้างคำพูด:
"สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรมที่ทำไว้ดี และชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์”


กบว่าจริงมั้ยครับเนี่ย

ตรงนี้มีจุดสำคัญมาก...อยู่2 จุด..เชื่อมโยงกันและกันอยู่...เชื่อว่าปรโลกมี..กับ..เชื่อว่าพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เองโดยชอบมีอยู่จริง...ก็ย่อมจะเชื่อว่าการพ้นทุกข์ ..เกิดขึ้นได้จริง....ซึ่งก้จะมาเยื่อมโยงให้เห็น...ทุกข์...เหตุให้เกิดทุกข์...อีกชั้นหนึ่ง
แต่เป็นการเห็นในระดับปลงใจเชื่อ...ยังตัดความหลงไม่ขาด....ยังต้องปฏิบัติตามมรรค8ให้สมบูรณ์ต่อไปอีก....

อ้างคำพูด:
ข้อนี้ เข้าใจยากขึ้นอีกหน่อย

อ้างคำพูด:
รู้อกุศล และอกุศลมูล กับ กุศล และกุศลมูล:

“เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล...อกุศลมูล...กุศล...และกุศลมูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธอชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสแน่วแน่ในธรรม เข้าถึงสัทธรรมนี้แล้ว”


นอกนั้นเนี่ยะ ยากยิ่งเลย


เป็นวิสัยของคนที่กำลังเดินตามเส้นทางมรรค 8...อันนี้..เห็นความสั่นไหวของจิตใจ..คือ..ทุกข์....แล้ว
สาธุ... :b8:

รอชมต่อ...


อ้างคำพูด:
เห็นความสั่นไหวของจิตใจ..คือ..ทุกข์....แล้ว


ยกมือขึ้น :b24: !! นี่คือการปล้น ตกใจกลัว จิตใจสั่นระรัว แทบสิ้นสติ ยังงี้ก็เห็นทุกข์แล้วซี่ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 22:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ...ขันธ์ห้า คือ ทุกข์
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

สิ่งที่เข้าไปยึดขันธ์ห้า...ก็พลอยทุกข์ไปด้วย

ก็ต้องไม่เป็นผู้เข้าไปยึดใน...ขันธ์ห้า

...



:b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 100 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 127 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร