วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 100 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของ

ทุกขตา และทุกขลักษณะ


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แสดงอรรถของทุกขตาไว้ อย่างเดียวว่า "ชื่อว่าเป็นทุกข์ โดยความหมายว่าเป็นของมีภัย (ภยฏฺเฐน)" ที่ว่า มีภัย นั้น จะแปลว่า เป็นภัย หรือน่ากลัว ก็ได้ ทั้งนี้โดยเหตุผลว่า สังขารทั้งปวง เป็นสภาพที่ผุพังแตกสลายได้ จะต้องย่อยยับมลายสิ้นไป จึงไม่มีความปลอดภัย ไม่ให้ความปลอดโปร่งโล่งใจ หรือความเบาใจอย่างเต็มที่แท้จริง หมายความว่า ตัวมันเองก็มีภัยที่จะต้องเสื่อมโทรมสิ้นสลายไป มันจึงก่อให้เกิดภัย คือความกลัวและความน่ากลัวแก่ใครก็ตามที่เข้าไปยึดถือเกี่ยวข้อง


ส่วนคัมภีร์ชั้นอรรถกถาขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ คำอธิบายที่ท่านใช้บ่อย มี ๒ นัย คือ ชื่อว่าเป็นทุกข์โดย ความหมายว่า มีความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย (อุปฺปาทวยปฏิปีฬนฏฺเฐน หรืออุปฺปาทวยปฏิปีฬนตาย) ทั้งบีบคั้นขัดแย้งต่อประดาสิ่งที่ประกอบอยู่กับมัน และทั้งมันเองก็ถูกสิ่งที่ประกอบอยู่ด้วยนั้นบีบคั้นขัดแย้ง และชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ (ทุกฺขวตฺถุตาย หรือ ทุกฺขวตฺถุโต) คือ เป็นที่รองรับของความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เช่น ก่อให้เกิดความรู้สึกทุกข์ พูดให้ง่ายเข้าว่า ที่เรียกว่าเป็นทุกข์ ก็เพราะทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ เป็นต้น หรือที่เรียกว่าบีบคั้น ก็เพราะทำให้เกิดความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น


มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ความหมายที่ท่านประมวลไว้ครบถ้วนที่สุดมี ๔ นัย คือ เป็นทุกข์ด้วยอรรถ ๔ อย่าง ดังนี้


อภิณฺหสมฺปติปีฬนโต เพราะมีความบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา คือ ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเกิดขึ้น ความเสื่อมโทรม และความแตกสลาย และบีบคั้นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา กับสิ่งที่ประกอบอยู่ด้วย หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยต่างก็เกิดขึ้น ต่างก็โทรมไป ต่างก็แตกสลาย


๒. ทุกฺขโต เพราะเป็น สภาพที่ทนได้ยาก คือคงทนอยู่ไม่ไหว หมายความว่า คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ จะต้องเปลี่ยน จะต้องกลาย จะต้องหมดสภาพไป เพราะความเกิดขึ้นและความโทรมสลายนั้น

๓. ทุกฺขวตฺถุโต เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือเป็นที่รองรับสภาวะแห่งทุกข์ ซึ่งก็หมายความด้วยว่า เมื่อโยงมาถึงคน หรือโยงแง่ที่คนเกี่ยวข้อง ก็เป็นที่ก่อให้เกิดทุกข์ เช่น ทุกขเวทนา หรือความรู้สึกบีบคั้น เป็นต้น (อรรถกถาและฎีกา อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งทุกขตาทั้ง ๓ และแห่งสังสารทุกข์)


๔. สุขปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความสุข คือ โดยสภาวะของมันเอง ที่ถูกปัจจัยทั้งหลายบีบคั้นขัดแย้งและคงสภาพอยู่ไม่ได้ มันก็ปฏิเสธหรือกีดกั้นภาวะราบรื่นคล่องสะดวกอยู่ในตัว (เป็นเรื่องที่คนจะต้องดิ้นรนจัดสรรปัจจัยทั้งหลายเอา โดยที่ความสุขที่เป็นตัวสภาวะจริง ก็มีแต่เพียงความรู้สึก)

มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อธิบายว่า สภาวะที่มีเป็นพื้น ได้แก่ ทุกข์ คือ ความบีบคั้นกด ดันขัดแย้ง ที่เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสังขารทั้งหลาย ที่จริงก็เพียง เป็นสภาวะตามปกติธรรมดาของธรรมชาติ แต่ในสภาพที่เกี่ยวข้องกับคน ก็ก่อ ให้เกิดความรู้สึกบีบคั้นกดดันขัดแย้ง ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ด้วย เมื่อ ใดทุกข์คือความบีบคั้นกดดันนั้นผ่อนคลายไป หรือคนปลอดพ้นจากทุกข์ นั้น ก็เรียกว่ามีความสุขหรือรู้สึกสุข ยิ่งทำให้เกิดทุกข์ คือ สึกบีบคั้นกดดัน ทำให้รู้สึก ขาด พร่อง กระหาย หิว มาก เท่าใด ในเวลาที่ทำให้ผ่อนหายปลอดพ้นจากทุกข์หรือความบีบกดนั้น ก็ยิ่ง รู้สึกสุขมากขึ้นเท่านั้น


เหมือนคนที่ถูกทำให้ร้อนมาก เช่น เดินมาในกลางแดด พอเข้ามาในที่ร้อนน้อยลงหรืออุ่นลง ก็รู้สึกเย็น
ยิ่งได้เข้าไปในที่ ที่เย็นตามปกติก็จะรู้สึกเย็นสบายมาก ในทางตรงข้าม ถ้าทำให้ได้รับความรู้สึกสุข (สุขเวทนา) แรงมาก พอเกิดความทุกข์ ก็จะรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) รุนแรงมากด้วยเช่นกัน แม้แต่ทุกข์เพียงเล็กน้อย ที่ตามปกติจะไม่รู้สึกทุกข์ เขาก็อาจจะรู้สึกทุกข์ได้มาก เหมือนคนอยู่ในที่ ที่เย็นสบายมาก พอออกไปสู่ที่ร้อนก็รู้สึกร้อนมาก แม้แต่สภาวะที่คนอื่นๆ หรือตัวเขาเองเคยรู้สึกเฉยๆ เขาก็อาจจะกลับรู้สึกเป็นร้อนไป


พูดลึกลงไปอีกให้ตรงความจริงโดยสมบูรณ์ว่า ที่ว่าเป็นสุขหรือรู้สึกสุข (สุขเวทนา) นั้นตามที่แท้จริงก็ไม่ใช่ปลอดพ้น หรือ หายทุกข์ดอก แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งหรือขีดขั้นหนึ่งของทุกข์เท่านั้น กล่าวคือ ความบีบคั้นกดดันขัดแย้ง ที่ผ่อนหรือเพิ่มถึงระดับถึงระดับหนึ่ง หรือ ในอัตราหนึ่งเราเรียกว่าเป็นสุข เพราะทำให้เกิดความรู้สึกสุข แต่ถ้าเกินกว่านั้นไป ก็กลายเป็นต้องทนหรือเหลือทน เรียกว่าเป็นทุกข์ คือรู้สึกทุกข์ (= ทุกขเวทนา) ว่าที่แท้จริงก็มีแต่ทุกข์ คือแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง


เหมือน กับเรื่องความร้อนและความเย็น ว่าที่จริงความเย็นไม่มี มีแต่ความรู้สึกเย็น สภาวะที่เป็นพื้นก็คือ ความร้อนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง จนถึงไม่มีความร้อนที่คนเราพูดว่า เย็นสบายนั้น ก็เป็นเพียงความรู้สึก ซึ่งที่แท้แล้วเป็นความร้อนในระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าร้อนน้อยหรือมากเกินกว่าระดับนั้นแล้ว ก็หารู้สึกสบายไม่


โดยนัยนี้ ความสุข หรือพูดให้เต็มว่า ความรู้สึกสุขคือสุขเวทนาก็เป็นทุกข์ ทั้งในความหมายว่าเป็นทุกข์ระดับหนึ่ง มีสภาวะเพียงความรู้สึก และในความหมายว่า เป็นสิ่งที่ขึ้นต่อความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้ง จะต้องกลาย จะต้องผันแปร จะต้องหมดไป เหมือนกับว่า ทุกข์ที่เป็นตัวสภาวะนั้น ไม่ยอมให้สุขยืนยงคงอยู่ได้ยั่งยืนตลอดไป


มีต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อนึ่ง ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคที่อ้างถึงข้างต้นว่า ท่านแสดงอรรถคือความหมายของ ทุกข์ ซึ่งเป็นข้อที่ 2 ในไตรลักษณ์ไว้อย่างเดียวว่า เป็นสิ่งมีภัย (ภยฏฺเฐน) นั้น เมื่อถึงตอนที่อธิบายเรื่องอริยสัจ ท่านได้แสดงอรรถของทุกข์ ซึ่งเป็นข้อที่ 1 ในอริยสัจว่ามี 4 อย่าง คือ

มีความหมายว่า บีบคั้น (ปีฬนฏฺฐ)

มีความหมายว่า เป็นสังขตะ (สงฺขตฏฺฐ)

มีความหมายว่า แผดเผา (สนฺตาปฏฺฐ) และ

มีความหมายว่า ผันแปร (วิปริณามฏฺฐ)


เห็นว่าความหมาย 4 นัยนี้ ใช้กับทุกข์ในไตรลักษณ์ได้ด้วย จึงขอนำมาเพิ่มไว้ ณ ที่นี้ โดยตัดข้อซ้ำ

คือ ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 (ปีฬนฏฺฐ และ วิปริณามฏฺฐ) ออกไป คงได้เพิ่มอีก 2 ข้อ คือ


1. สงฺขตฏฺฐ โดยความเป็นของปรุงแต่ง คือ ถูกปัจจัยต่างๆ รุมกันหรือมาชุมนุมกันปรุงแต่งเอาสภาพที่ขึ้นต่อปัจจัย ไม่เป็นของคงตัว

2. สนฺตาปฏฺฐ โดยความหมายว่าแผดเผา คือ ในตัวของมันเองก็มีสภาพที่แผดเผาให้กร่อนโทรมย่อยยับสลายไป และทั้งแผดเผาผู้มีกิเลสที่เข้าไปยึดติดถือมั่นมันให้เร่าร้อนกระวนกระวายไปด้วย

.............

สั้นๆ

ทุกข์ ตามความหมายภาษาบาลี ซึ่งหมายถึงคงทนอยู่ไม่ได้ หรือ คงสภาพอยู่ไม่ได้ ซึ่งเป็นลักษณะของสังขารทั้งหมดทุกอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

ยกมือขึ้น :b24: !! นี่คือการปล้น ตกใจกลัว จิตใจสั่นระรัว แทบสิ้นสติ ยังงี้ก็เห็นทุกข์แล้วซี่ :b1:


ก็ไม่แน่นะ....ถ้าเขาฝึกมาดี...
เช่น
...........สมมุติว่า.....
ถ้าเขาเห้นว่าทุกข์....และเห็นเหตุที่ทุกข์เพราะต้องการรักษาชีวิต...
เห็นความพยายามรักษาชีวิตเป็นทุกข์...แล้วเห็นความอยากจะมีชีวิตต่อไปเป้นเหตุให้ต้องพยายามรักษาชีวิต

ถ้าเขามีข้อมูลพระสัทธรรมเพียงพอและเห็นจริงตามนั้นว่า..
ร่างกายนี้เป็นแต่สิ่งปฏิกูลโสโครก...เป็นแต่เพียงธาตุ....หาเป็นเรา..เป็นของเราจริงไม่...มีชีวิตอยู่ก็ต้องมีภาระหาเลี้ยงมัน....
เวลาใน1วัน 24ชั่วโมง....ก็ล้วนต้อง..คิด..พูด..ทำ..ล้วนเพื่อมันทั้งสิ้น...แม้ต้องตายไปสิ่งที่ทำมาแม้ร่างกายนี้ก็ตามเราไปไม่ได้....เราเหนื่อย..เราทุกข์ทั้งหมด....ก็เป็นการเหนื่อยการทุกข์เปล่าๆหรื่อนี้....โง่จริงหนอเรา...โง่อะไรอย่างนี้..
แล้วนี้...เราก็กำลังทุกข์กับสิ่งที่ไร้สาระ...สิ่งที่เปล่าประโยชน์...ก็เพราะอยากมีชีวิตต่อแท้ๆ....

แม้เราต้องมาตายคราวนี้.....เราไม่ปรารถณาการเกิดมามีชีวิตร่างกายอันมีแต่ทุกข์..นี้อีก...หากต้องตายก็.ตายได้แล้ว...เราไม่ได้ตาย...ร่างกายนี้ที่ไม่ใช่เรานี้ต่างหากที่ตาย...
..........
หากเห็นอย่างนี้..รวดเร็วจนเข้าขั้นเป็นญาณรู้....ก็ไม่แน่เหมือนกัน...

คนที่ไม่ได้ฝึกมา...คิดไม่ออก..คิดไม่ทันหรอก...มิจฉาญาณก็จะทำงานเป็นปกติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2014, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ยกมือขึ้น :b24: !! นี่คือการปล้น ตกใจกลัว จิตใจสั่นระรัว แทบสิ้นสติ ยังงี้ก็เห็นทุกข์แล้วซี่ :b1:


ก็ไม่แน่นะ....ถ้าเขาฝึกมาดี...
เช่น
...........สมมุติว่า.....
ถ้าเขาเห้นว่าทุกข์....และเห็นเหตุที่ทุกข์เพราะต้องการรักษาชีวิต...
เห็นความพยายามรักษาชีวิตเป็นทุกข์...แล้วเห็นความอยากจะมีชีวิตต่อไปเป้นเหตุให้ต้องพยายามรักษาชีวิต

ถ้าเขามีข้อมูลพระสัทธรรมเพียงพอและเห็นจริงตามนั้นว่า..
ร่างกายนี้เป็นแต่สิ่งปฏิกูลโสโครก...เป็นแต่เพียงธาตุ....หาเป็นเรา..เป็นของเราจริงไม่...มีชีวิตอยู่ก็ต้องมีภาระหาเลี้ยงมัน....
เวลาใน1วัน 24ชั่วโมง....ก็ล้วนต้อง..คิด..พูด..ทำ..ล้วนเพื่อมันทั้งสิ้น...แม้ต้องตายไปสิ่งที่ทำมาแม้ร่างกายนี้ก็ตามเราไปไม่ได้....เราเหนื่อย..เราทุกข์ทั้งหมด....ก็เป็นการเหนื่อยการทุกข์เปล่าๆหรื่อนี้....โง่จริงหนอเรา...โง่อะไรอย่างนี้..
แล้วนี้...เราก็กำลังทุกข์กับสิ่งที่ไร้สาระ...สิ่งที่เปล่าประโยชน์...ก็เพราะอยากมีชีวิตต่อแท้ๆ....

แม้เราต้องมาตายคราวนี้.....เราไม่ปรารถณาการเกิดมามีชีวิตร่างกายอันมีแต่ทุกข์..นี้อีก...หากต้องตายก็.ตายได้แล้ว...เราไม่ได้ตาย...ร่างกายนี้ที่ไม่ใช่เรานี้ต่างหากที่ตาย...
..........
หากเห็นอย่างนี้..รวดเร็วจนเข้าขั้นเป็นญาณรู้....ก็ไม่แน่เหมือนกัน...

คนที่ไม่ได้ฝึกมา...คิดไม่ออก..คิดไม่ทันหรอก...มิจฉาญาณก็จะทำงานเป็นปกติ



จะต้องผ่านจากบททดสอบ มิใช่เกิดจากภาพจินตนาการ

อ้างคำพูด:
จิตบอกให้หยุดหายใจค่ะ

สวัสดีค่ะ ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยค่ะ เป็นอันตรายหรือปฏิบัติผิดทางไหมค่ะ เพราะฝึกทำเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอนค่ะ หนูฝึกดูจิตมาประมาณ 2 เดือนแล้วค่ะ แรกๆ ก็เห็นจิตฟุ้งซ่านมาก ช่วงหลังๆ จิตเริ่มสงบ ไม่ไหลออกไปตามอารมณ์ข้างนอก แต่เริ่มเห็นจิต เฉยๆบ้าง สุขบ้าง บางครั้งรู้สึกหดหู่เป็นทุกข์เบื่อโลกมากๆเลยค่ะ มันเป็นของมันเองควบคุมอารมณ์นี้ไม่ได้ ได้แต่ตามดูเฉยๆรู้สึกว่ามันไม่ใช่ของเราเหมือนเราไม่มีตัวตนเลยค่ะ บางครั้งก็นอนดูจิตไปเรื่อยๆแล้วเหมือนว่าตัวเองจะเคลิ้มๆไป แต่ยังมีสติ รู้สึกตัวค่ะ อยู่ดีๆจิตก็พูดว่า ลองหยุดหายใจตายดูหน่อยสิ แล้วหนูก็หยุดหายใจตามไปด้วย บังคับร่างกายไม่ได้เลยค่ะ ตอนนั้นขยับร่างกายไม่ได้ด้วยค่ะ รู้สึกเริ่มกลัวก็เลยพยายามฝืนจนหายใจได้ ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดและรีบสูดลมหายใจเข้าปอดค่ะ ถ้าปล่อยไปนานกว่านี้คิดว่าตัวเองต้องตายจริงแน่ๆเลยค่ะ เกิดจากอะไรค่ะ หนูทำผิดทางไหมค่ะ ถ้าเกิดเป็นอีกจะทำอย่างไรดีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


หากตนเองอยู่ในสภานการณ์ หรือกำลังประสบกับสถานการณ์เช่นว่านั้นจริงๆ แล้วตนรู้เข้าใจไม่ไหวหวั่น นี่ ok เลย แต่ร้อยทั้งร้อยยังสอบไม่ผ่าน อย่างกบว่า เพียงคิดนึกอยู่ในบ้าน อยู่ในที่ปลอดภัย อยู่ในที่สว่าง ก็คิดนึกไปได้ต่างๆ :b9: ฉันไม่กลัวผี ฉันไม่กลัวเสือ ... พออยู่ในป่าช้าเงียบสงัดยามค่ำคืน ได้ยินเสียงนกแสกร้อง :b32: ก็ขนพองสยองเกล้าแล้ว แลเห็นขอนไม้ลายๆเหมือนลายเสือ ยังไม่ทันคิดพิจารณาเลย ก็วิ่งป่าราบร้องจ๊ากก ๆ เสือๆๆมา คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2014, 20:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อยู่ในขั้นฝึก....ก็เป็นธรรมดา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2014, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:

ยกมือขึ้น :b24: !! นี่คือการปล้น ตกใจกลัว จิตใจสั่นระรัว แทบสิ้นสติ ยังงี้ก็เห็นทุกข์แล้วซี่ :b1:


ก็ไม่แน่นะ....ถ้าเขาฝึกมาดี...
เช่น
...........สมมุติว่า.....
ถ้าเขาเห้นว่าทุกข์....และเห็นเหตุที่ทุกข์เพราะต้องการรักษาชีวิต...
เห็นความพยายามรักษาชีวิตเป็นทุกข์...แล้วเห็นความอยากจะมีชีวิตต่อไปเป้นเหตุให้ต้องพยายามรักษาชีวิต

ถ้าเขามีข้อมูลพระสัทธรรมเพียงพอและเห็นจริงตามนั้นว่า..
ร่างกายนี้เป็นแต่สิ่งปฏิกูลโสโครก...เป็นแต่เพียงธาตุ....หาเป็นเรา..เป็นของเราจริงไม่...มีชีวิตอยู่ก็ต้องมีภาระหาเลี้ยงมัน....
เวลาใน1วัน 24ชั่วโมง....ก็ล้วนต้อง..คิด..พูด..ทำ..ล้วนเพื่อมันทั้งสิ้น...แม้ต้องตายไปสิ่งที่ทำมาแม้ร่างกายนี้ก็ตามเราไปไม่ได้....เราเหนื่อย..เราทุกข์ทั้งหมด....ก็เป็นการเหนื่อยการทุกข์เปล่าๆหรื่อนี้....โง่จริงหนอเรา...โง่อะไรอย่างนี้..
แล้วนี้...เราก็กำลังทุกข์กับสิ่งที่ไร้สาระ...สิ่งที่เปล่าประโยชน์...ก็เพราะอยากมีชีวิตต่อแท้ๆ....

แม้เราต้องมาตายคราวนี้.....เราไม่ปรารถณาการเกิดมามีชีวิตร่างกายอันมีแต่ทุกข์..นี้อีก...หากต้องตายก็.ตายได้แล้ว...เราไม่ได้ตาย...ร่างกายนี้ที่ไม่ใช่เรานี้ต่างหากที่ตาย...
..........
หากเห็นอย่างนี้..รวดเร็วจนเข้าขั้นเป็นญาณรู้....ก็ไม่แน่เหมือนกัน...

คนที่ไม่ได้ฝึกมา...คิดไม่ออก..คิดไม่ทันหรอก...มิจฉาญาณก็จะทำงานเป็นปกติ



จะต้องผ่านจากบททดสอบ มิใช่เกิดจากภาพจินตนาการ

อ้างคำพูด:
จิตบอกให้หยุดหายใจค่ะ

สวัสดีค่ะ ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยค่ะ เป็นอันตรายหรือปฏิบัติผิดทางไหมค่ะ เพราะฝึกทำเองโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอนค่ะ หนูฝึกดูจิตมาประมาณ 2 เดือนแล้วค่ะ แรกๆ ก็เห็นจิตฟุ้งซ่านมาก ช่วงหลังๆ จิตเริ่มสงบ ไม่ไหลออกไปตามอารมณ์ข้างนอก แต่เริ่มเห็นจิต เฉยๆบ้าง สุขบ้าง บางครั้งรู้สึกหดหู่เป็นทุกข์เบื่อโลกมากๆเลยค่ะ มันเป็นของมันเองควบคุมอารมณ์นี้ไม่ได้ ได้แต่ตามดูเฉยๆรู้สึกว่ามันไม่ใช่ของเราเหมือนเราไม่มีตัวตนเลยค่ะ บางครั้งก็นอนดูจิตไปเรื่อยๆแล้วเหมือนว่าตัวเองจะเคลิ้มๆไป แต่ยังมีสติ รู้สึกตัวค่ะ อยู่ดีๆจิตก็พูดว่า ลองหยุดหายใจตายดูหน่อยสิ แล้วหนูก็หยุดหายใจตามไปด้วย บังคับร่างกายไม่ได้เลยค่ะ ตอนนั้นขยับร่างกายไม่ได้ด้วยค่ะ รู้สึกเริ่มกลัวก็เลยพยายามฝืนจนหายใจได้ ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดและรีบสูดลมหายใจเข้าปอดค่ะ ถ้าปล่อยไปนานกว่านี้คิดว่าตัวเองต้องตายจริงแน่ๆเลยค่ะ เกิดจากอะไรค่ะ หนูทำผิดทางไหมค่ะ ถ้าเกิดเป็นอีกจะทำอย่างไรดีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


หากตนเองอยู่ในสภานการณ์ หรือกำลังประสบกับสถานการณ์เช่นว่านั้นจริงๆ แล้วตนรู้เข้าใจไม่ไหวหวั่น นี่ ok เลย แต่ร้อยทั้งร้อยยังสอบไม่ผ่าน อย่างกบว่า เพียงคิดนึกอยู่ในบ้าน อยู่ในที่ปลอดภัย อยู่ในที่สว่าง ก็คิดนึกไปได้ต่างๆ :b9: ฉันไม่กลัวผี ฉันไม่กลัวเสือ ... พออยู่ในป่าช้าเงียบสงัดยามค่ำคืน ได้ยินเสียงนกแสกร้อง :b32: ก็ขนพองสยองเกล้าแล้ว แลเห็นขอนไม้ลายๆเหมือนลายเสือ ยังไม่ทันคิดพิจารณาเลย ก็วิ่งป่าราบร้องจ๊ากก ๆ เสือๆๆมา คิกๆๆ



สภาวธรรมนี้ จะต้องรู้ลึกถึงจิตใต้สำนึก :b1: ไม่ใช่แค่ฝึก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2014, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


s004 s004 เรื่องความกลัว เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะมีรายละเอียดพอดู.

ความกลัว ถ้าจะแบ่งแบบคร่าวๆ ก็จะมี 2 แบบ
1. ความกลัวที่เกิดจาก สักกายทิฎฐิ. ความกลัวแบบนี้ จะไม่เกิดเมื่อบรรลุธรรม เลเวล 1 โสดาบัน :b32: .

รู้สึกจะมีในพระสูตร ที่บอกทำนองว่า... เมื่อเป็นโรคร้าย จะไม่กลัวว่าจะตาย. คือมีเงื่อนไขว่า จะไม่กลัว ในกรณีที่เป็นโรคร้ายเท่านั้น.
เพราะความกลัวแบบนี้ เกิดจากจิตที่หวงแหนร่างกาย, กลัวว่าตนเองจะสูญเสีย การครอบครองหรือการรับรู้ ในกามสมบัติทั้งหลาย.

2. ความกลัวที่เกิดจากร่างกาย. ความกลัวประเภทนี้ มักถูกมองข้ามไป เพราะพวกสมถะ ที่พากัน ทรงฌาณ ไม่รู้จักความกลัวประเภทนี้. ทรงฌาณแปลว่า หลับเวลานั่งไม่พอ ต้องละเมอได้ทุกอิริยาบถ. จะว่าไปก็คล้ายๆ ซอมบี้นะ :b32:

:b6: เอาล่ะ ความกลัวแบบที่ 2 นี้ จะมีทั้งที่ถูกฝังลงมากับลักษณะของชีวิต (สัญชาติญาณ) และที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงเหตุการณ์ ในช่วงต้นๆ ของชีวิต (คือเป็นความทรงจำระดับรากฐาน).

ความกลัวที่เป็นสัญชาติญาณ ที่เห็นชัดๆ ก็เช่น ความกลัวเมื่อภัยจะมาถึง และความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้.
ความกลัวที่เกิดจากความทรงจำในระดับราก ก็เช่น เมื่อวัยเด็กจมน้ำ โตขึ้นก็กลัวน้ำไป.

ความกลัวประเภทที่ 2 นี้ เกิดได้ใน ทุกคน ที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์.

:b6: บางคนว่า ความกลัวคือกิเลส. มันจริงสำหรับความกลัวประเภทที่ 1 แต่ไม่ใช่กับประเภทที่ 2.
ถ้าวันหนึ่งเราเห็นมนุษย์ต่างดาวตาโตๆ ดำสนิท (ไม่มีตาขาวด้วยนะ) โผล่มาประจัญหน้ากัน. ความกลัวจากสิ่งที่ไม่รู้ (สัญชาติญาณ) จะเกิดขึ้นทันที.
แต่เมื่อเห็นบ่อยๆ เข้า ความกลัวจะค่อยๆ หายไป จนไม่เกิดอีก. ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า เราละกิเลสไปได้แล้ว จริงไหม.

แต่ความกลัวของอริยบุคคล จะต่างจากปุถุชนตรงที่ ความกลัวของอริยบุคคลนั้น จะไม่มีการปรุงแต่งจนเกินสิ่งที่เห็น. คือเป็นความกลัวแบบเพียวๆ ไม่ได้กลัวว่า เขาจะทำร้าย เราจะติดเชื้อ ฯลฯ
หรือถ้าเป็นความกลัวแบบความทรงจำ เช่น เคยจมน้ำเมื่อวัยเด็ก, โตขึ้นก็จะกลัวจมน้ำ ในสถานการณ์ที่สามารถจมน้ำได้ ไม่ใช่กลัวน้ำในทุกกรณี.

:b6: มันก็อธิบายได้ลำบากอยู่เหมือนกัน. สรุปว่า...
ตามไตรปิฎกเลยฮับ... ถ้าเป็นโรคร้าย จะไม่กลัวความตายที่กำลังมาถึง :b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2014, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถาม murano หน่อย เห็นพูดถึงการฝึกอบรมจิตแบบสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี่ ทำยังไงครับ :b1:


รอคำตอบนี่อยู่นะครับนะ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 100 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร