วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 01:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 100 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำอย่างไรเราจึงจะพ้นทุกข์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำ
ให้พวกเราถือว่า ใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า
กฏนี้เป็นกฏธรรมดาของโลก
ที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงมันไปได้
ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่าช่างมัน
ตามศัพย์ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ขันติ ความอดทน
ถ้าใช้คำว่าอดทนเข้าใจยาก ใช้ภาษาไทยธรรมดาดีกว่า
ว่ามันจะเกิดขึ้นมาประเภทไหนก็ช่างมัน

• ธรรมโอวาทพระราชพรหมยาน : หลวงพ่อฤาษี (ลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี •

ขึ้นชื่อว่าผู้ตามคนผู้ไปสู่ปรโลก ไม่มี
(นั่นก็หมายความว่า คนใดที่ตายไปแล้ว แม้แต่คนข้างหลังที่มีความรักมากแสนมากประการใดก็ตาม ที่เขาจะโดดตายไปตามนั้น ไม่มี)

ในที่สุด สรีระของคนก็ตามไปไม่ได้ นี่ก็หมายความว่าเมื่อคนอื่นตามไปไม่ได้ แม้แต่ร่างกายของตนเองก็ไม่สามารถจะตามไปได้
ความจริงร่างกายของเราเป็นที่รักยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด
แต่ว่าเวลาตายจริง ๆ ก็ต้องทอดทิ้งอยู่กับพื้นปฐพี
ท่านกล่าวว่าต้องละสิ่งทั้งปวงไป
(ก็หมายความว่า ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย เมื่อตายแล้วเอาไปไม่ได้สักอย่าง)

• ธรรมโอวาทพระราชพรหมยาน : หลวงพ่อฤาษี (ลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี •




รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการก็คือ

๑. สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันจะไม่ตาย
ร่างกายสะอาด ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา
เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา

๒. วิจิกิจฉา มีความสงสัยในพระพุทธเจ้า
ในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สงสัยในความดีของพระอริยสงฆ์
ไม่ตกลงว่าจะยอมรับนับถือหรือไม่

๓.สีลัพพตปรามาส ไม่ตั้งใจรักษาศีลอย่างจริงจัง
รักษาศีลประเภทศีลหัวเฒ่าคือผลุบเข้าผลุบออก
ประเดี๋ยวก็ทรงตัวบ้าง ประเดี๋ยวก็ไม่ทรงตัวบ้าง

สังโยชน์ข้อที่ ๔ กามฉันทะ
มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม
รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
นี่เรียกว่าติดหลงใหลใฝ่ฝันอยู่ในกามารมณ์

สังโยชน์ข้อที่ ๕ ปฏิฆะ มีอารมณ์ข้องใจไม่พอใจ
คือ มีความโกรธ มีความไม่พอใจอยู่เป็นปกติยังเหลืออยู่

สังโยชน์ข้อที่ ๖ รูปราคะ มีความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปที่เป็นวัตถุ หรือรูปฌาน

สังโยชน์ข้อที่ ๗ สงสัยใฝ่ฝันในอรูป หรือสิ่งที่ไม่มีรูป
หรือ อรูปฌาน ว่าดีเลิศประเสริฐแล้ว

สังโยชน์ข้อที่ ๘ มานะ ยังมีการถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา
เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา

สังโยชน์ข้อที่ ๙ อุทธัจจะ ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
ไม่มั่นใจในตัวเองว่าเราจะไปนิพพานดีหรือไม่ไปนิพพานดี
ไปได้แน่หรือไปไม่ได้แน่ เอาแน่นอนไม่ได้
คือ จิตใจขาดความเข้มแข็ง

สังโยชน์ข้อที่ ๑๐ อวิชชา อวิชชานี้ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝัน
ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก
ยังเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกเป็นของดี
ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ

รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้
เป็นเครื่องดึงเราให้เวียนว่ายตายเกิด
ตายแล้วเกิดใหม่ เกิดแล้วตาย
ไม่ใช่เกิดจากมนุษย์ตายเป็นมนุษย์
ตายจากมนุษย์เกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่อย่างนั้น
ตายจากมนุษย์ แล้วอาจจะเป็นสัตว์นรกก็ได้
เปรตก็ได้ อสุรกายก็ได้ สัตว์เดรัจฉานก็ได้
เป็นเทวดาหรือพรหมก็ได้ เป็นอะไรก็ได้
สุดแล้วแต่ความดีหรือความชั่ว

ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร
สามารถตัดสังโยชน์ได้ถึง ๑๐ ประการ
พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "พระอรหันต์" เป็นผู้ตัดกิเลส
เป็น "สมุจเฉทปหาน"
ก็รวมความว่า เราจะไม่พบกับคำว่า การเกิดเป็นสัตว์นรก
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน
การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือพรหมไม่มีอีกแล้ว
ไปอยู่นิพพานแห่งเดียวมีแต่ความสุขสำราญ
ไม่มีความทุกข์เป็นที่ไป





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 03:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 09:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
"ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์"

ด่านแรกหรือเป้าหมายแรกคือ ทำลายความเห็นผิดว่าเป็นตัวกู ของกูให้ขาดสะบั้นเสียก่อน

แล้วที่เหลือจะง่ายไปเองทั้งหมด
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 09:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
..
สังโยชน์ข้อที่ ๙ อุทธัจจะ ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน 
ไม่มั่นใจในตัวเองว่าเราจะไปนิพพานดีหรือไม่ไปนิพพานดี 
ไปได้แน่หรือไปไม่ได้แน่ เอาแน่นอนไม่ได้ 
คือ จิตใจขาดความเข้มแข็ง 

สังโยชน์ข้อที่ ๑๐ อวิชชา อวิชชานี้ยังมีความหลงใหลใฝ่ฝัน 
ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก 
ยังเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกเป็นของดี 
ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ 

รวมความว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ 
เป็นเครื่องดึงเราให้เวียนว่ายตายเกิด 
ตายแล้วเกิดใหม่ เกิดแล้วตาย 
ไม่ใช่เกิดจากมนุษย์ตายเป็นมนุษย์ 
ตายจากมนุษย์เกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่อย่างนั้น 
ตายจากมนุษย์ แล้วอาจจะเป็นสัตว์นรกก็ได้ 
เปรตก็ได้ อสุรกายก็ได้ สัตว์เดรัจฉานก็ได้ 
เป็นเทวดาหรือพรหมก็ได้ เป็นอะไรก็ได้ 
สุดแล้วแต่ความดีหรือความชั่ว 

ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร 
สามารถตัดสังโยชน์ได้ถึง ๑๐ ประการ 
พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า "พระอรหันต์" เป็นผู้ตัดกิเลส 
เป็น "สมุจเฉทปหาน" 
ก็รวมความว่า เราจะไม่พบกับคำว่า การเกิดเป็นสัตว์นรก 
เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน 
การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือพรหมไม่มีอีกแล้ว 
ไปอยู่นิพพานแห่งเดียวมีแต่ความสุขสำราญ 
ไม่มีความทุกข์เป็นที่ไป

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 09:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
"ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์"

ด่านแรกหรือเป้าหมายแรกคือ ทำลายความเห็นผิดว่าเป็นตัวกู ของกูให้ขาดสะบั้นเสียก่อน

แล้วที่เหลือจะง่ายไปเองทั้งหมด
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
"ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์"

ด่านแรกหรือเป้าหมายแรกคือ ทำลายความเห็นผิดว่าเป็นตัวกู ของกูให้ขาดสะบั้นเสียก่อน

แล้วที่เหลือจะง่ายไปเองทั้งหมด
smiley


อโสกะ....ทำอย่างไรบ้างครับ?..แชร์ให้ฟังหน่อย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำอย่างไรเราจึงจะพ้นทุกข์


เมื่อต้องการดังว่านั้น ควรศึกษาคำว่าทุกข์ในพุทธธรรมโดยสรุปดังนี้


อ้างคำพูด:
เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆกว้างๆ เห็นว่า ควรแสดงความหมายของปฏิจจสมุปบาทโดยสรุปครั้งหนึ่งก่อน

คำสรุปของปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นว่าหลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด เป็นกระบวนการเกิด ดับ ของทุกข์ หรือหลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด มีความมุ่งหมายเพื่อแสดงความเกิด – ดับของทุกข์เท่านั้นเอง

คำว่าทุกข์ มีความสำคัญและมีบทบาทมากในพุทธธรรม แม้ในหลักธรรมสำคัญอื่นๆ เช่น ไตรลักษณ์ และอริยสัจ เวทนา ๓-๕ ธรรมนิยามก็มีคำว่า ทุกข์เป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงควรเข้าใจคำว่า ทุกข์กันให้ชัดเจน


เมื่อจะศึกษาคำว่า ”ทุกข์” ในพุทธธรรมให้สลัดความเข้าใจแคบๆ ในภาษาไทยทิ้งเสียก่อน และพิจารณาใหม่ตามความหมายในพุทธพจน์ที่แบ่งทุกขตา (ภาวะแห่งทุกข์) เป็น ๓ อย่าง พร้อมด้วยคำอธิบายดังนี้


๑. ทุกขทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความความรู้สึกทุกข์ คือความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ไม่สบาย เจ็บปวด เมื่อยขบ โศกเศร้า เป็นต้น อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพที่เรียกกันว่า ทุกขเวทนา (ความทุกข์อย่างปกติ ที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)


๒.วิปริณามทุกขตา ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความผันแปรของสุข คือ ความสุขที่กลายเป็นความทุกข์หรือทำให้เกิดทุกข์เพราะความผันแปรกลับกลายของมันเอง

(ภาวะที่ตามปกติ ก็สบายดีเฉยอยู่ ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจางลง หรือหายไปภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลับกลายเป็นทุกข์ไป เสมือนเป็นทุกข์แฝง ซึ่งจะแสดงตัวออกมาในทันที ที่ความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนรางไป ถ้าความสุขนั้น ไม่เกิดขึ้น ทุกข์เพราะสุขนั้น ก็ไม่มี แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้น อาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยหวาดกังวล ใจหาย ไหวหวั่น ครั้นกาลเวลาแห่งความสุขผ่านไปแล้ว ก็หวนระลึกด้วยความละห้อยหาว่าเราเคยมีความสุขอย่างนี้ๆ บัดนี้ความสุขนั้น ไม่มีเสียแล้วหนอ)


๓. สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของตัวสังขารเองหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ขันธ์ ๕ (รวมทั้งมรรคผล ซึ่งเป็นโลกุตรธรรม) เป็นทุกข์คือเป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิดขึ้น และการสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพ ซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ (ความรู้สึกทุกข์ หรือทุกขเวทนา) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทันต่อสภาพ และกระแสของมัน และเข้าไปฝืนกระแสอย่างทื่อๆ ด้วยความอยาก ความยึด ตัณหา อุปาทาน) อย่างโง่ๆ (อวิชชา) ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา


ทุกข์ข้อสุดท้าย คือข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลาย ตามที่มันเป็นของมันเอง แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายเป็นภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นได้ ในแง่ที่ว่ามันไม่อาจให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิดทุกข์เสมอ แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชา ตัณหาอุปาทาน


ความที่กล่าวมาตอนนี้ก็คือบอกให้รู้ว่า ทุกข์ข้อที่ ๓ นี้ กินความกว้างขวางครอบคลุม ตรงตามความหมายของทุกข์ในไตรลักษณ์ (ที่ว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์) ซึ่งอาจจะโยงต่อไปเป็นทุกข์ในอริยสัจ โดยเป็นที่ก่อให้เกิดผลของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ทำให้ขันธ์ ๕ ในธรรมชาติ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ของคนขึ้นมา




เท่านี้ก็ปวดหัวแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 19:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าต้องจำให้ได้...จำให้ถูก....นั้นแหละจึงปวดหัว....
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 19:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
"ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์"

ด่านแรกหรือเป้าหมายแรกคือ ทำลายความเห็นผิดว่าเป็นตัวกู ของกูให้ขาดสะบั้นเสียก่อน

แล้วที่เหลือจะง่ายไปเองทั้งหมด
smiley


อโสกะ....ทำอย่างไรบ้างครับ?..แชร์ให้ฟังหน่อย..


อย่าลืมกันเด้อ..อโสกะ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ถ้าต้องจำให้ได้...จำให้ถูก....นั้นแหละจึงปวดหัว....
:b32: :b32:



อ้างคำพูด:
ที่ทำให้ขันธ์ ๕ ในธรรมชาติ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ของคนขึ้นมา



ปวดหัวปวดตับ ตรงที่ ขันธ์ ๕ ในธรรมชาติ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ของคน นี่ซี่่ :b10:

มันยังไงกันน้า ขันธ์ ๕ ตามธรรมชาติ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ของคน ไปได้ :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 22:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่อยากลืม....แต่มันก็ลืมนี้ซี้....จึงกลุ้ม
:b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2014, 03:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทว ทุกขะ โทมนัส อุปายาส การประสพกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ....คือทุกข์

ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ก็ตั้งขึ้นที่กายกับใจนี้ คือที่ขันธ์ ทั้ง 5 นี้
การตั้งขึ้นที่กายกับใจ นี้ได้ เพราะ มีอุปธิเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เพราะอุปธิเป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงทำให้ ขันธ์ 5 นี้ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง 5
(อุปธิ คือการที่จิตมีความหมกมุ่น วนเวียนอยู่กับอารมณ์ใด สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้วยความเห็นผิดหลงผิด จากสภาพความเป็นจริงออกไป)

ถ้าบุคคล อยากจะพ้นจากความทุกข์ จึงไม่พึงกระทำ อุปธิ

แต่ด้วยเหตุว่า การไม่กระทำอุปธิ เป็นสิ่งที่พึงศึกษาต่อไป :

กล่าวคือ
ต้องมีการฟังธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เป็นธรรมที่มีเหตุมีผลสามารถเห็นประจักษ์ได้แก่ตนเอง เป็นธรรมที่รู้ได้เฉพาะตน เป็นธรรมอันมีประโยชน์เพื่อเกื้อกูลปัญญา

เมื่อได้ฟังธรรมอันเป็นประโยชน์ สามารถเข้าใจในบทพอควรแก่การภาวนา
ก็ให้เจริญสติ ทำสติปัฏฐาน เป็นเครื่องดำเนินข้ามตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นตามความรู้สึก ตามความคิด .... เรียกว่า การบำเพ็ญเพียร เจริญจิตตภาวนา ฝึกจิตอบรมจิตด้วยสติปัฏฐานเพื่อ ฝึกให้รู้ถึงการไม่กระทำอุปธิ อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่อุปาทานขันธ์

ในระหว่างนี้ พยายามขวนขวายศึกษาฟังธรรม ปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม ทำความก้าวหน้าให้เป็นผู้มีสติบรรเทาความเพลิดเพลิน และความยึดมั่นในอารมณ์ต่างๆ ที่รู้สึก ที่ได้สัมผัสต่างๆ

ให้มีสติ ไม่ประมาท เป็นธรรมเป็นเครื่องอยู่

การเจริญจิตตภาวนา จนเกิดปัญญาความรู้แจ้งถึงสภาพธรรมต่างๆ ตามเป็นจริงละอุปธิได้ ถอดถอนอัตตา ความยึดมั่นถือมั่นว่า ของเรา เป็นเรา เป็นตนของเรา จึงเป็นอันละทุกข์ คือชาติ ชรา โสกะปริเทวะฯลฯ ในอัตภาพนี้ได้

นี้เป็นภาพรวมๆ ของการศึกษา ปฏิบัติ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์
ส่วนรายละเอียด ก็แล้วแต่ อัธยาศัยของแต่ละท่าน....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2014, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่อยากลืม....แต่มันก็ลืมนี้ซี้....จึงกลุ้ม
:b2:


ไม่ลืม :b32:

http://www.youtube.com/watch?v=D1nBzDMWl5A

ถอยไปอีกหน่อย :b13:

ลืมไม่ลง :b1:

http://www.youtube.com/watch?v=NrlxPIeKjoQ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2014, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
"ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์"

ด่านแรกหรือเป้าหมายแรกคือ ทำลายความเห็นผิดว่าเป็นตัวกู ของกูให้ขาดสะบั้นเสียก่อน

แล้วที่เหลือจะง่ายไปเองทั้งหมด



เห็นอโศกพูดถึงตัวกู ของกู บ่อยๆ จึงนำจุดกำเนิดของตัวกูมาให้สังเกตร่องรอยของมัน เมื่อเห็นรอยแล้วก็ตามไปทำลายตัวกูสะให้ขาดสะบั้นหั่นแหลกอย่างว่า :b32:


2 ทางสายใหญ่ ที่จะเลืิอกไปสู่ความสุข


เรื่องความต้องการนี้สำคัญนี้ ถึงแม้ตั้งหลักไว้ให้เห็นกันแล้ว ก็ยังมีแง่มุมปลีกย่อยที่ควรพูดเพิ่มอีก ให้เกิดความคุ้นเคยไว้


อย่างง่ายๆ ตามปกติ คนทั่วไป ก็มีทั้งฉันทะ และตัณหา เป็นต้นทุนอยู่ด้วยกัน ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า คนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสังคม หรือผู้อยู่ในฐานะที่ควรเป็นกัลยณมิตร จะต้องเข้าใจหลักความต้องการนี้ และรู้จักส่งเสริมความต้องการฝ่ายฉันทะขึ้นไป พร้อมกับรู้จักคุมและขัดเกลาความต้องการฝ่ายตัณหา อย่างน้อยให้เป็นกระแสรองอยู่เรื่อยไป


ด้านฉันทะที่เป็นทุน ก็เช่นว่า คนทั่วไป อยู่ไหนไปไหน ก็อยากเห็นสภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด เมื่อได้สัมผัสธรรมชาติที่งดงามรื่นรมย์ ก็ชื่นชมสบายใจ มีความสุข และอยากให้สิ่งทั้งหลาย โดยรอบอยู่ในสภาวะที่ดีงามสมบูรณ์อย่างนั้น อยากให้ผู้คน สัตว์ ต้นไม้ แม้กระทั่งหญ้า ขึ้นไปถึงท้องฟ้า สดชื่น งาม น่าอื่ิมตาอิ่มใจ


แม้ที่ร่างกายแขนขาหน้าตาของตน ก็อยากให้แข็งแรงสะอาดหมดจดสดใส อยู่ในภาวะทีดีงามสมบูรณ์ของมัน (ตรงนี้ เป็นจุดสังเกต ที่ใช้ได้ี ในการฝึกแยกฉันทะ กับ ตัณหา)


พร้อมกันนั้น อีกด้านหนึ่ง คนทั่วไปก็ต้องการสนองคามต้องการทางผัสสะของตน ต้องการเสพรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสกาย ที่เป็นอารมณ์อันน่าพอใจ ที่ชอบใจ ที่ท่านใช้คำรวมๆ เรียกว่า อามิส บ้าง ว่า กาม บ้าง

เนื่องจากพวกกามอามิสนี้ มีสัมผัสที่หยาบ มีการกระตุ้นเร้าที่แรง จึงมีกำลังล่อเร้าชักพาไปได้มาก ความรู้เท่าทันท่่ี่จะไม่หลงตามเหยื่อล่อจึงต้องได้รับการย้ำเน้น


ทีนี้ มาดูความอยาก ๒ อย่างนั้นเทียบกัน ให้เห็นความหมายชัดขึ้นไปอีก


บอกแล้วว่า ความอยากอย่างที่ ๒ ทีีเ่ป็นกุศล คือฉันทะนั้น เริ่มอย่างง่ายๆ ด้วยความรู้สึกชื่นชมยินดี พอใจ ในความดีความงามความสมบูรณ์ของส่ิงนั้นๆ


ทีนี้ เมื่อมีความพอใจ มีความต้องากรที่จะได้รับความพอใจอย่างนั้น แต่ถ้าสิ่งนั้นๆ ตลอดจนคนนั้นๆ ยังไม่มีความดีงามสมบูรณ์ หรือมี แต่ยังไม่เต็มที่ ก็แล้วแต่ ก็อยากให้มันี อยากให้มันงาม อยากให้มันสมบูรณ์


เมื่ออยากให้มันดีงามสมบูรณ์ แต่มันยังไม่เป็นเช่นนั้น จะต่อไปอย่างไร นี่ก็คือมาถึงขั้นที่อยากทำสิ่งนั้นๆ ให้มันดีงามสมบูรณ์ ตรงนี้แหละที่จะให้เจอตัวฉันทะจริงๆ ที่ท่านเรียกว่า กัตตุกัมยตาฉันทะ (ฉันทะคือความอยากทำ)


พอพูดมาถึงตรงนี้ ก็คงมองเห็นแนวทางของการที่จะพัฒนาความต้องการที่เป็นฉันทะนั้นต่อไป


ีทีนี้้ เพื่อเทียบกันต่อไป ก็หันมาดูความอยากประเภทตัณหา ที่เป็นอกุศล คือความพอใจใคร่อยากในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย ที่มาสนองความต้องการในการเสพ อันนี้ เรียกง่ายๆว่า ความอยากเสพ พออยากเสพขึ้นมา มันก็คือการอยากได้อยากเอาเพื่อตัวเรา ตรงนี้ ข้อแตกต่างอย่างพิเศษก็โผล่ออกมา


อะไรที่โผล่ขึ้นมาตอนนี้ นั่นก็คือ พอความอยากแบบนี้เกิดขึ้น ก็ต้องมีตัวเจ้าของเรื่องขึ้นมา คือมีตัวที่จะเป็นผู้ได้ผู้เอาผู้เสพ แม้แต่เป็นผุู้อยาก มีตัวผู้อยาก ตัวผู้ได้ ตัวผู้เสพ ชัดขึ้นมาเลย คืออยากได้อยากเอามาให้แก่ตัว เพื่อตัวจะได้เสพ นี่คือจุดกำเนิดของ "ตัวตน"


(มีต่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2014, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



แต่ถ้าเป็นความอยากประเภทที่ ๒ คือ ฉันทะ ก็มีลำดับการทำงานต่างออกไปอีกแบบหนึ่งเลย อย่างที่ว่าแล้ว คือ พออยากในความดีความงาม พอใจ ชื่นชมในความดีความงามความสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ

พอเห็นมันเป็นอย่างนั้น ก็มีความสุขอยู่ขั้นหนึ่งแล้ว โดยยังไม่ต้องทำอะไร พร้อมกันนั้น ก็อยากให้สิ่งนั้นมันดีของมัน ให้มันงามของมัน ให้มันสมบูรณ์ของมันต่อไป


ทีนี้ ถ้ามันยังไม่ดี ยังไม่งาม ยังไม่สมบูรณ์ ก็อยากทำ ให้มันดี ให้มันงาม ให้มันสมบูรณ์

เมื่อจะทำให้มันดี ให้มันงาม ให้มันสมบูรณ์ แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรมันจึงจะดี จึงจะงาม จึงจะสมบูรณ์

ถึงตอนนี้ ระบบเหตุปัจจัยก็มาเรียกร้องเอง คือ ก็เลยอยากรู้ว่วาจะต้องทำอะไรอย่าง่ไร เพื่อให้มันดีงามสมบูรณ์ ถึงตรงนี้ ก็คือเกิดความอยากรู้ หรือความใฝ่ที่จะรู้


ตามลำดับนี้ เห็นได้ว่า ความหมายของ "ฉันทะ" นั้น กว้างมาก ตั้งแต่ชื่นชม (มีความสุข) ด้วยความยินดี พอใจ ในความดีความความงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ คนนั้นๆ แล้วก็อยากให้สิ่งนั้นๆ คนนนั้นๆ ดีงาม สมบูรณ์ สดใสมีความสุขต่อไป หรือไม่ก็อยากทำให้สิ่งนั้นๆ คนนั้นๆ มีความดีงามสมบูรณ์ สดใสมีความสุข แล้วก็อยากรู้ว่าจะทำอย่าง่ไร สิ่งนั้นๆ คนนั้นๆ จึงจะดีงามสมบูรณ์มีความสุขได้อย่างนั้น


จุดต่างอย่างแรก ที่ควรสังเกตไว้ คือ ฉันทะต้องการให้คนให้ของนั้นๆ ดีงามสมบูรณ์เต็มตามสภาวะของเขาของมัน เมื่อเราพบคนหรือของ ที่ดีงามสมบูรณ์ตามสภาวะ ความต้องการของเราก็ได้รับการสนองเดี๋ยวนั้นเลย เราจึงมีความสุขได้ทันที เช่น ที่มีความสุข กับ ธรรมชาติ ต่างกับตัณหา ซึ่งต้องรอสนองด้วยการได้เสพจึงมีความสุข


จุดต่างอย่างสำคัญยิ่งก็คือ ตลอดกระบวนการของความอยากแบบฉันทะนี้ มีแต่ความอยาก แต่ไม่เกิดตัวผู้อยาก หรือตัวตนที่จะทำอะไร (ตรงข้าม กับ กระบวนการของตัณหา ที่จะต้องเกิดมีอัตตาตัวตนขึ้นมาเป็นผู้เสพ เป็นเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง)


ถ้าระหว่างมีฉันทะ หรือทำอะไรอยู่ด้วยฉันทะ เกิดมีความรู้สึกตัวตนขึ้นมา ก็แสดงว่า กิเลสสังกัดอัตตา ได้โอกาสแฝงตัวเข้ามาแล้ว และตัวที่มักเข้ามาแบบอ่อนๆ ก็คือ มานะ (ความถือตัว ความรู้สึกอยากให้ตัวสำคัญ)


ตัวแท้ของฉันทะ ที่อยากโดยไม่ต้่องเกิดมีตัวผู้อยากนี้ ก็คืออยากทำ เพราะฉะนั้น คำว่าฉันทะ หรือความอยากที่เป็นกุศลนี้ ท่านจึงให้ความหมายว่า ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ


ไ่ม่ว่าที่ไหน พอแสดงความหมาย หรือจำกัดความ ก็บอกว่า "ฉนฺโทติ กตฺตุกมฺยตาฉนฺโท" ฉันทะ คือ ความต้องการที่เป็นความอยากจะทำ (ให้มันดี ให้มันงาม ให้มันสมบูรณ์)


ที่พูดซ้ำบ่อยนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก มันเป็นต้นทางของการที่จะพัฒนามนุษย์


พอเรามีฉันทะ อยากให้อะไรๆ ดี งาม สมบูรณ์ ถ้าเห็นแม้แต่พื้นบ้านพื้นบริเวณวัดว่ามันสะอาดดีงาม เราก็ชื่่นชม สบายใจ แต่ถ้าเห็นมันสกปรก ยังไม่สะอาด เราก็อยากให้มันสะอาดให้มันเรียบร้อยดี แล้วเราก็อยากจะทำให้มันสะอาด เราก็ไปฉวยไม้่กวาดมา เมื่อเรารู้วิธีแล้ว เราก็มาทำการกวาด แล้วเราก็พัฒนาความเป็นนักกวาดขึ้นมา ก็เชี่ยวชาญชำนาญ กวาดได้เก่งขึ้นๆ พร้อมทั้งมีความสุขไปด้วยตลอดเวลาที่กวาด


นี่่ก็คือกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษา เพราะฉะนั้น ฉันทะนี้ จึงเป็นต้นรากของกระบวนการศึกษา หรือการพัฒนามนุษย์


แต่ถ้าตัณหามา จะไม่เกิดกระบวนการของการศึกษาอย่างนี้ พอตัณหามา อยากจะได้ เอามาให้ตัวเสพ พอได้มา พอได้เสพ ก็จบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 100 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 82 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร