วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


wakeup เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เราไปซื้อเนื้อที่ขายในตลาดสด...เพื่อมาปรุงอาหารทาน....
ในทางโลก..ทางการตลาด....ผู้ซื้อมีส่วนในการตายของสัตว์...เพราะเป้นอุปสงค์อุปทานในทางการตลาด
ในทางศีล5 ไม่ผิดศีลข้อปานาติบาต....เพราะไม่ได้สั่งว่าจะเอาตัวนั้นตัวนี้...
ในเรื่องบาปบุญ...ก็ไม่เป็นบุญ..ไม่เป้นบาป....
ในเรื่อง..กุศลหรืออกุศล....ก็ต้องดูว่า.. บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า

ส่วน..ทานแล้วเกิดโรค....ก็ไม่ใช่เครื่องบงชี้ว่า...เป็นเพราะบาปกรรมที่เกิดจากการทานเนื้อนั้น....อาจเป็นบาปกรรมจากอันอื่น...

ก็ยังดีที่คุณกบนอกกะลา มีส่วนสนับสนุนว่าการกินเนื้อสัตว์นั้นเป็นบาป เพราะที่ว่า "บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า"
ก็ปุถุชน(คนที่มีกิเลสหนา)โดยทั่วไปเขาก็กินด้วยความอยากกันทั้งนั้น เขาก็ต้องสั่งตามความอยาก ไม่อยากแล้วจะสั่งที่สั่งทำไมหล่ะเนอะ และปุถุชนโดยทั่วไปเขาก็ไม่พิจารณาอะไรแบบนั้นหรอกครับ ก็หมดอร่อยหมดซิ
หลายท่านเข้าใจผิดกันเยอะกันมานานมากเป็น 100 เป็น 1000 ปีแล้วมั๊งเนี๊ย!
ที่คิดว่า กินเนื้อสัตว์ไม่บาป
แค่บอกว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ก็สวาปามกันไม่อันยะอันยังกันเลย
เพราะเล่นหยิบยกมาเฉพาะบางจุดของพระสูตรนี้ ชีวกสูตร

หากคุณ Wakeup ใช้มาตรฐานนี้ตัดสินว่า บาป

การทานมังสวิรัติ หรือการไม่ทานเนื้อสัตว์ ก็บาปเช่นกัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2014, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
บาป....กับ...อกุศล...
บุญ...กับ..กุศล.

...นี้...อันเดียวกันมั้ยครับคุณwakeup...เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?

ก็เอาแค่ว่าเท่าที่จำเป็นที่คนเราชาวพุทธควรเข้าใจ เพราะผมก็ไม่ได้เป็นพหูสูตรเก่งวิชาการอะไรกันเกินนน เดี๋ยวจะมัวแต่มาเถึยงเรื่องที่ไม่ได้สำคัญมาก มาเถียงเรื่องความหมายของคำ
ก็จะบอกว่า ทั้งบาปและอกุศลเป็นสิ่งที่เราไม่ควรทำครับ
เราชาวพุทธก็ควรทำบุญทำกุศล
เราชาวพุทธก็ควรละบาปละอกุศล

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2014, 22:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


บาป..กับ..อกุศล..เหมือนกันอยู่อย่างคือ..มีผลเป็นทุกข์...

ถ้าคุณwakeup...พูดความจริงแต่พูดแบบมะนาวไม่มีน้ำ..หรือพูดขวานผ่าซาก....ทำให้ผู้ฟังจิตใจหม่นหมองรู้สึกเป็นทุกข์...

อย่างนี้...การกระทำของคุณwakeup เป็นบาป...เป็นอกุศล...มั้ยครับ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2014, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
บาป..กับ..อกุศล..เหมือนกันอยู่อย่างคือ..มีผลเป็นทุกข์...

ถ้าคุณwakeup...พูดความจริงแต่พูดแบบมะนาวไม่มีน้ำ..หรือพูดขวานผ่าซาก....ทำให้ผู้ฟังจิตใจหม่นหมองรู้สึกเป็นทุกข์...

อย่างนี้...การกระทำของคุณwakeup เป็นบาป...เป็นอกุศล...มั้ยครับ??

จะหาเรื่องมั่วไปนอกเรื่องหรือเปล่าเนี๊ย!?
สรุปนะว่าจะอ้างแค่ว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ แล้วบอกว่ากินเนื้อไม่บาปนั้นผิดนะ
ชีวกสูตร พระพุทธเจ้าท่านสอนพระ ซึ่งพระท่านบิณฑบาตมีคนถวายให้เอง และเมื่อ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ก็ไม่บาป ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ต้องขอบคุณผมก็ได้ครับที่ช่วยทำให้หลายๆคนมากๆชาวพุทธเข้าใจถูกกัน เข้าใจผิดมาเป็นกี่นานกี่ร้อยปีแล้วก็ไม่รู้เหมือนกัน!?
กินเนื้อสวาปามเนื้อกันอย่างไม่รู้สึกบาปกรรมอะไรกันเลย จะได้ลดลงก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2014, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
บาป..กับ..อกุศล..เหมือนกันอยู่อย่างคือ..มีผลเป็นทุกข์...

ถ้าคุณwakeup...พูดความจริงแต่พูดแบบมะนาวไม่มีน้ำ..หรือพูดขวานผ่าซาก....ทำให้ผู้ฟังจิตใจหม่นหมองรู้สึกเป็นทุกข์...

อย่างนี้...การกระทำของคุณwakeup เป็นบาป...เป็นอกุศล...มั้ยครับ??

ทำไมคุนน้องไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ท่านwakeup พูดนั้น เป็นมะนาวไม่มีน้ำหรือพูดเป็นขวานผ่าซาก คุนน้องว่าก็เป็นแค่การแสดงความคิดเห็นในเรื่อง กินเนื้อสัตว์บาปไม่บาป ส่วนคนที่อ่านก็ใช้สติ ใช้ปัญญาโยนิโสกันเอาเอง ว่าการกินของตนนั้นเป็นบาปหรือไม่ (ถ้าไม่เข้าข้างกิเลศตนเองจนเกินไป) เรื่องที่บอกว่าท่านเวคอัพเนียะพูดขวานผ่าซากหรือมะนาวไม่มีน้ำเนียะ เป็นเหตุทำให้จิตใจผู้อื่นหม่นหมองรู้สึกเป้นทุกข์เรื่องกินเนื้อสัตว์ คุนน้องว่าเค้าคนนั้นหรือใครก็ตามที่เป็นทุกข์กะอิแค่คำพูดที่มากระทบสายตา ถึงกลับเกิดความกลัวความละอายก็ควรจะกลับไปพิจารณาใหม่ว่า ผู้อื่นหรือตนเองกันแน่ที่เป็นเหตุทำให้ทุกข์ คนอื่นจะสามารถทำให้เราทุกข์ได้จริงหรือ กิเลศนี่มันเนียนนะเจ้าค่ะมันชอบโยนไปให้คนอื่นตลอด ส่วนท่านเวคอัพเค้าก็รู้ตนเองอยู่แล้วละว่า สิ่งที่ตนเองพูดหรือกระทำไป เป็นไปเพื่อกุศลหรืออกุศล ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาบอกหรอก ใครบอกก็ไม่เท่าตนเองบอก ไม่มีใครหลอกความรู้สึกที่แท้จริงตนเองได้หรอกเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2006, 09:43
โพสต์: 180

ที่อยู่: กทม

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
wakeup เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
...บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า.

ก็ยังดีที่คุณกบนอกกะลา มีส่วนสนับสนุนว่าการกินเนื้อสัตว์นั้นเป็นบาป เพราะที่ว่า "บริโภคด้วยตัณหามั้ย...หรือ...ได้พิจารณาเป็นของปฏิกูล...เป้นธาตุ4...หรือเปล่า"
ก็ปุถุชน(คนที่มีกิเลสหนา)โดยทั่วไปเขาก็กินด้วยความอยากกันทั้งนั้น เขาก็ต้องสั่งตามความอยาก ไม่อยากแล้วจะสั่งที่สั่งทำไมหล่ะเนอะ และปุถุชนโดยทั่วไปเขาก็ไม่พิจารณาอะไรแบบนั้นหรอกครับ ก็หมดอร่อยหมดซิ
หลายท่านเข้าใจผิดกันเยอะกันมานานมากเป็น 100 เป็น 1000 ปีแล้วมั๊งเนี๊ย!
ที่คิดว่า กินเนื้อสัตว์ไม่บาป
แค่บอกว่า ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ก็สวาปามกันไม่อันยะอันยังกันเลย
เพราะเล่นหยิบยกมาเฉพาะบางจุดของพระสูตรนี้ ชีวกสูตร

หากคุณ Wakeup ใช้มาตรฐานนี้ตัดสินว่า บาปการทานมังสวิรัติ หรือการไม่ทานเนื้อสัตว์ ก็บาปเช่นกัน

งั้นกระทู้นี้เน้นบาปเนื่องจากมีส่วนในการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์เอาเนื้อมันมากินแล้วกัน บาปเนื่องจากกิเลสตัณหา ก็ลดละกันเอาเอง พอดีคุณกบนอกกะลา เขายกบาปในส่วนนี้ขึ้นมาก็เลยพูดเข้ามาหน่อยแล้วกัน เพราะมันมีส่วนในการเสริมไม่ให้มีความเข้าใจผิดที่ว่า แค่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ ก็คิดว่ากินเนื้อสัตว์ไม่บาปแล้ว นั่นเป็นการตีความพระสูตรชีวกสูตรแบบผิดๆ
ใครจะแย้งว่าการที่ฆราวาสจ่ายตังสั่งเอาเนื้อนั่นเนื้อนี้มากิน ไม่มีส่วนในการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ไม่บาปก็เชิญแย้งได้ครับ

.....................................................
โคตมะพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้รู้แจ้งโลก อัจฉริยมนุษย์ ยอดครูของครูทั้งหลาย
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ผู้ก่อตั้ง ผู้ค้นพบ คำสอนถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ตกลงกระทู้นี้กลายเป็นกระทู้ก่อให้เกิดความเศร้าหมองทางจิตใจจนไม่มีนักปฏิบัติธรรมท่านใดมาแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นธรรมทานแด่ปุถุชนที่ยังไม่มีสัมมาทิฐอย่างคุนน้องให้รู้และเข้าใจเพื่อไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องในชีวิตประจำวันบ้างเลยหรอเจ้าค่ะ
ยิ่งเปิดร้านอาหารอยู่ด้วยนะเนียะ ตายละวามีส่วนร่วมในการฆ่า แบบนี้เจ้ากรรมนายเวรที่เป็นหมูเห็ดเป็ดไก่ คงได้ตามมาคิดบัญชีเราแน่ๆ :b14: ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายมาช่วยชี้แนะคุนน้องหน่อยสิเจ้าค่ะว่า คุนน้องกะเพื่อนเปิดร้านขายอาหารนี่มีส่วนร่วมในการฆ่าจริงหรือ :b14: :b14:
(เครียดจะตายแล้วนะเนียะ) กระทู้ อนัตตา อานาปานสติ นิวรณ์ อะไรก็หยุดปุจฉา วิสัชนากันก่อน มาปุจฉา วิสัชนาเรื่องที่มันเป็นเรื่องอยู่เรื่องกินของคนในสังคมกันบ้างหน่อยเถอะเจ้าค่ะ อนุโมทนาล่วงหน้าเจ้าค่ะ smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 16:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
บาป = สิ่งที่ทำให้ใจเดือร้อน เป็นทุกข์

บุญ = สิ่งที่ทำให้ใจสงบ เป็นสุข

ความวิตกกังวลในบาป แม้เพียงน้อยนิด ก็อาจชักนำให้ไปสู่อบายภูมิได้

ต่างกับผู้ที่ สติปัญญา สมาธิดี รักษาใจไม่ให้กังวลไปกับ บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ ก็ยังอาจสามารถนำตนเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้อย่างเช่นท่านอหิงสกะ หรือ องคุลีมาล

อย่ากังวลเพราะเรื่องบาปอันไม่ถึงกับล่วงศีลข้อที่ 1 นี้เลยนะครับ ตั้งใจศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมให้มากๆ จะดีกว่า และอาจนำพาให้พ้นทุกข์ได้ในชาตินี้

ฝากนิทานธรรมะดีๆมาให้ลองพิจารณานะครับ อาจไม่ตรงประเด็นศีลข้อ1 นักแต่ชี้ให้เห็นวิบากแห่งการล่วงศีลครับ

เรื่องที่ ๑๒๘
ตายจากพระสงฆ์ไปเกิดเป็นพญานาคมีนามว่า "พญาเอรกปัตตนาคราช"

จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน

"..ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธกัสสป" ได้มีภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในถํ้าติดชายทะเล คือภูเขาชายทะเล เวลานั้นคนมีอายุถึง ๔๐,๐๐๐ ปี ท่านบวชเป็นพระจำศีลภาวนานานถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ยังเป็นพระปุถุชนคนธรรมดาที่เรียกว่า "สมมุติสงฆ์"

วันหนึ่งท่านอาบนํ้าอยู่ชายทะเล มีเรือสำเภาลำหนึ่งแล่นมาช้าๆ เพราะลมอ่อน เฉียดเข้ามาใกล้ที่ท่านอาบนํ้า ท่านเห็นตะไคร่นํ้าจับข้างเรืออยู่มันยาวมาก เรือเดินทะเลต้องเดินทางกันเป็นเดือนๆ ตะไคร่ก็จับมาก ท่านก็เลยนึกสนุกขึ้นมาโผกายไปจับตะไคร่นํ้า ปล่อยให้เรือลากไปตามอัธยาศัย ร่างกายของท่านหนัก ตะไคร่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้จึงหลุดออกมา ตัวท่านก็หลุดออกมาจากเรือแต่ไม่เป็นไรเพราะนํ้าตื้น

การพรากของเขียว คือการทำให้ตะไคร่นํ้าหลุดออกจากที่เดิม พระพุทธเจ้าทรงปรับเป็นอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีโทษไม่เหมือนกับอาบัติปาจิตตีย์การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้นลงนรก แต่ปาจิตตีย์การพรากของเขียวให้พลัดพรากจากที่เดิมของท่านก็คือ ท่านเป็นพระอยู่องค์เดียวจึงไม่มีการแสดงอาบัติ คือไม่มีโอกาสระงับโทษนี้ เวลาตายอาบัติก็คาใจนิดเดียวเท่านี้ การจำศีลภาวนาของท่านไม่มีผลให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม แต่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเป็นพญานาค ด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญบารมีมานานถึง ๒๐,๐๐๐ ปี และมีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีสภาวะเป็นทิพย์มีความเป็นอยู่คล้ายเทวดา มีที่อยู่เป็นทิพย์ มีเครื่องบริโภคเป็นทิพย์ มีสมบัติอันเป็นทิพย์แต่ทว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานมีนามว่า "พญาเอรกปัตตนาคราช" ก็เพราะว่ามีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนนาคธรรมดา มีสภาพเหมือนตะไคร่นํ้าคือ ทั้งตัวรุ่มร่ามนุงนังไปหมด เหมือนตะไคร่นํ้าลอยนํ้า

ต่อมาพญาเอรกปัตตนาคราชก็ได้ นางนาควิกา คือนาคนารีอีกตัวหนึ่งมาเป็นคู่ครอง มีลูกสาวมีนามว่า "นางนาคมาณวิกา" ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงอุบัติขึ้น พญานาคตนนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นนาคแต่มีอารมณ์ใจเป็นทิพย์ มีความคิดอยู่เสมอว่าเมื่อไรหนอพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่จะทรงอุบัติขึ้น ท่านมีอายุนานเหลือเกินเพราะท่านเกิดเป็นนาคในสมัยสมเด็จพระพุทธกัสสป และพระองค์ทรงนิพพานไปแล้ว สิ้นเวลาเป็นล้านๆ ปี ท่านพญานาคตนนี้ก็ยังมีอายุยืนเป็นพญานาคอยู่ ถ้าหากว่าท่านตายจากความเป็นนาค ความดีเดิมปรากฏก็จะบันดาลให้ท่านเป็นเทวดาได้ แต่ทว่าอายุของท่านมันนานเกินไป แต่จิตใจก็ยังน้อมไปด้วยกุศล

วันหนึ่งท่านเกิดไม่สบายใจคิดว่า องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วหรือยัง ทนไม่ไหวจึงได้เรียกลูกสาวคือ นางนาคมาณวิกาให้แปลงเป็นมนุษย์สาวสวย ตัวท่านเองก็แผ่พังพานให้ลูกสาวยืนอยู่บนพังพานของท่าน แล้วก็ร้องเพลงเป็นพุทธภาษิต ที่ท่านแต่งขึ้นโดยตั้งจิตคิดว่า เพลงนี้มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงแก้ได้ คนธรรมดาไม่สามารถจะแก้ได้ เพลงของท่านเป็นพุทธภาษิตที่ สมเด็จพระพุทธกัสสป ตรัสไว้ ท่านจำได้เพราะจิตเป็นทิพย์

เมื่อท่านแผ่พังพานลอยขึ้นมาในน่านนํ้า นางนาคมาณวิกาก็ร้องเพลงที่พ่อแต่งให้ โดยมีสัญญาว่า "ถ้าใครร้องเพลงแก้เพลงนี้ได้ เราจะยอมเป็นภรรยา" รูปร่างหน้าตาของลูกสาวท่านสวยมาก ไม่ว่าใครๆ ที่ทราบข่าวก็พากันไปร้องเพลงแก้ เมื่อร้องเพลงแก้แล้วนางก็ตอบว่า "ไม่ถูก" ท่านพ่อก็เป็นพยานบอกว่า "ยังไม่ถูก" ถ้าร้องเพลงแก้ถูกเมื่อไรก็ยกลูกสาวของเราให้เป็นภรรยาทันที เพราะสภาวะท่านเป็นทิพย์ ท่านก็พูดภาษาคน

อุตตรมาณพบรรลุพระโสดาบัน
ต่อมาองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงเห็นว่า อุตตรมาณพ ซึ่งเป็นคู่ครองกันมากับนางนาคมาณวิกา จะได้เป็นพระโสดาบัน เวลานั้นอุตตรมาณพได้ยินข่าวเขาลือว่า นางนาคมาณวิกามีรูปร่างหน้าตา ทรวดทรงสวยยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ ในโลกที่จะพึงสวยเท่า มาร้องเพลงให้คนแก้ ถ้าใครแก้ได้จะยอมเป็นภรรยา จึงได้ศึกษาว่าเพลงเขาร้องว่าอย่างไร ก็ตั้งใจจะร้องแก้ ก็เดินออกจากบ้านไป เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบอุปนิสัยว่าเขาจะได้ พระโสดาปัตติผล พระองค์จึงได้ไปนั่งดักกลางทาง ครั้นอุตตรมาณพเห็นพระพุทธเจ้าจึงเข้าไปถวายนมัสการเพราะรู้จัก พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถามว่า "เธอจะไปไหน"

อุตตรมาณพจึงได้กราบทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าจะไปร้องเพลงแก้นางนาคมาณวิกา"

พระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วว่าเขาเป็นเนื้อคู่กัน เขาจะต้องเป็นคู่ครองกันแน่ และอีกประการหนึ่ง เมื่อเป็นคู่ครองกันแล้วได้ฟังเทศน์ของพระองค์ เขาจะได้บรรลุพระโสดาปัตติผล องค์สมเด็จพระทศพลทรงต้องการอย่างเดียวคือพระโสดาปัตติผล ให้เขาเจริญเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า พระองค์จึงตรัสถามอุตตรมาณพว่า "เพลงที่เธอจะไปร้องแก้ เธอจะร้องว่าอย่างไร" อุตตรมาณพจึงเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง พระองค์จึงได้บอกว่า "แก้แบบนี้ไม่ถูก ต้องแก้แบบนี้" แล้วพระองค์ก็ทรงผูกเพลงเป็นพุทธภาษิตไปให้ร้องเพลง และอุตตรมาณพก็ไปขอรับอาสาจะร้องเพลงแก้ นางนาคมาณวิกาก็ร้องเพลงคำถาม อุตตรมาณพก็ร้องเพลงแก้

พญาเอรกปัตตนาคราชตั้งใจฟังอยู่ พอได้ฟังการร้องเพลงแก้นี้ถูกต้องตามที่ตนตั้งใจไว้ ก็คิดในใจว่าเวลานี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารจะต้องอุบัติขึ้นแล้ว ก็ดีใจจึงได้เอาพังพานตีนํ้า นํ้าเป็นคลื่นทำเอาคนที่ยืนอยู่ริมแม่นํ้า หล่นลงไปในนํ้าตามๆ กันเพราะถูกคลื่น พญาเอรกปัตตนาคราชจึงค่อยๆ เอาหางประคองคนทั้งหมดขึ้นไปบนตลิ่ง แล้วตนเองก็แปลงเป็นมนุษย์ขึ้นไปถามอุตตรมาณพว่า "เพลงที่ท่านนำมาแก้นี้ ท่านคิดได้เองหรือว่าใครสอนท่าน" อุตตรมาณพจึงตอบว่า "เพลงนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้" ท่านจึงถามว่า "เวลานี้พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน" อุตตรมาณพบอกที่แล้วก็พากันไป

เมื่อไปถึง พระพุทธเจ้าก็เทศน์โปรด อุตตรมาณพเป็นพระโสดาบัน นางนาคมาณวิกาและพญาเอรกปัตตนาคราชเข้าถึงพระไตรสรณคมน์ แล้วยกลูกสาวพร้อมด้วยสมบัติอันเป็นทิพย์ให้อุตตรมาณพ คือนำสมบัติส่วนนั้นมาไว้เมืองมนุษย์ จะนำไปไว้บาดาลไม่ได้ อุตตรมาณพกลายเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า การฟังพระธรรมเทศนาคราวนั้น ถ้าพญาเอรกปัตตนาคราชไม่เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็จะได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น ที่ฟังแล้วไม่สามารถจะเป็นพระอริยเจ้าได้ ก็เพราะว่าพญาเอรกปัตตนาคราชไม่ใช่คน เป็นสัตว์เดรัจฉาน จึงไม่มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผล

การที่นำเรื่องราวของพญาเอรกปัตตนาคราชมาเล่านี้ ก็เพื่อให้บรรดาพุทธบริษัทรู้จักลีลาของพระว่า พระองค์ใดท่านปฏิบัติไม่ดีเพียงแค่ความชั่วเพียงเล็กน้อยเท่านี้ ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าพระองค์มีนิสัยไม่ดี คือมีจิตอิจฉาริษยาบุคคลอื่นที่ทำตนได้ดีกว่าก็ตาม หรือเรี่ยไรทรัพย์สินทั้งหลายมาแล้ว ไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับเอาไปประกอบกิจเป็นประโยชน์ของตนก็ตาม ให้เป็นประโยชน์แก่พวกพ้องก็ตาม เหล่านี้เป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นลง อเวจีมหานรก ถ้าท่านทั้งหลายไปเคารพ ปฏิบัติตามพระพวกนี้เข้า พระไปนรกท่านก็ไปนรกด้วย พระไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานท่านก็ไปเกิดด้วย เพราะนิยมตามแบบฉบับเดียวกัน.."

:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
บาป = สิ่งที่ทำให้ใจเดือร้อน เป็นทุกข์

บุญ = สิ่งที่ทำให้ใจสงบ เป็นสุข

งั้นถ้าบาปคือสิ่งที่ทำให้ใจทุกข์ แล้วการที่เราเข้าร้านอาหารสั่งเมนูโน่นเมนูนี่ที่ปรุงด้วยสัตว์เป็นๆยังมีชีวิตอยู่ อย่างพวกร้านซีฟูดเงี้ยะ ย่อมจะทำกันแบบสดๆตัวเป็นๆ แล้วเค้าจะคำนึงถึงทุกข์ของสัตว์พวกนั้นไหม ถ้าเค้าไม่คำนึง เค้าก็ต้องคิดถึงแต่ตนเองว่าฉันจะกินกุ้งเผา กินปูเผา กินปลาเผา อาไรทำนองนี้แล้วเค้าก็ไม่ได้เกิดความทุกข์ทางใจอะไรด้วย
แล้วเราจะเอาอาไรมาตัดสินว่าคนพวกนั้นบาป ในเมื่อเค้ากินโดยไม่ได้ทุกข์ใจ เค้าก็อาจจะกินแบบสนุกปากและมีความสุขกับการกินก็ได้ จริงไม่จริงเจ้าค่ะ s006 แบบนี้ก็ต้องเข้าข่ายส่วนร่วมในการฆ่าอย่างเวคอัพบอกจริงๆ
อย่างพระสงฆ์ท่านฉัน ท่านก็ไม่ได้ไปสั่งให้ญาติโยมเอานั่นเอานี่มาถวายก็ถูกอย่างท่านเวคอัพบอก ฆราวาสอย่างเรานี้จะเลือกกินนั่นกินนี่ คุนน้องว่าก็ยังไม่เป็นสัมมาปฏิบัติ เราควรจะกินอย่างไรดีละเจ้าค่ะ ถึงจะพูดได้ว่า ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่รังเกียจ ไม่บาป มีใครรู้บ้างว่ากินยังไรไม่บาปละ ไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่นเนียะกินยังไง :b10:
ปล.แบบนี้มากินเหมือนคุนน้องกะได้เจ้าค่ะ แกงหน่อไม้ กินซุบมะเขือ กินซุบบักมี้ กินน้ำพริกกะปิผักลวก กินส้มตำ เผื่อจะได้ทุกข์น้อยลง ถ้ายังหิวอยู่ก็ฟาดเค๊ก ฟาดไอศกรีมต่อ ฟาดโกโก้คาราเมลอีกแก้ว ยังไงก็ไม่มีเนื้อสัตว์ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ตกลงกระทู้นี้กลายเป็นกระทู้ก่อให้เกิดความเศร้าหมองทางจิตใจจนไม่มีนักปฏิบัติธรรมท่านใดมาแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นธรรมทานแด่ปุถุชนที่ยังไม่มีสัมมาทิฐอย่างคุนน้องให้รู้และเข้าใจเพื่อไปประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องในชีวิตประจำวันบ้างเลยหรอเจ้าค่ะ
ยิ่งเปิดร้านอาหารอยู่ด้วยนะเนียะ ตายละวามีส่วนร่วมในการฆ่า แบบนี้เจ้ากรรมนายเวรที่เป็นหมูเห็ดเป็ดไก่ คงได้ตามมาคิดบัญชีเราแน่ๆ :b14: ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายมาช่วยชี้แนะคุนน้องหน่อยสิเจ้าค่ะว่า คุนน้องกะเพื่อนเปิดร้านขายอาหารนี่มีส่วนร่วมในการฆ่าจริงหรือ :b14: :b14:
(เครียดจะตายแล้วนะเนียะ) กระทู้ อนัตตา อานาปานสติ นิวรณ์ อะไรก็หยุดปุจฉา วิสัชนากันก่อน มาปุจฉา วิสัชนาเรื่องที่มันเป็นเรื่องอยู่เรื่องกินของคนในสังคมกันบ้างหน่อยเถอะเจ้าค่ะ อนุโมทนาล่วงหน้าเจ้าค่ะ smiley



อ้างคำพูด:
(เครียดจะตายแล้วนะเนียะ)


มีกินก็ทุกข์ ตกงานไม่มีกินก็เครียด :b1:

ถ้างั้นกินกับข้าวสำรับนีดูสิ :b32:

http://www.youtube.com/watch?v=iDbShCboR-M

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองดูบาลีต่อไปนี้ น่าจะเห็นทางออกหัวข้อกระทู้นี้


กรรมชำระล้างได้อย่างไร



“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า “บุรุษนี้ทำกรรมไว้อย่างไร ๆ เขาย่อมได้เสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวนี้ การครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ก็มีไม่ได้ (คือ ไม่มีประโยชน์อะไร) เป็นอันมองไม่เห็นช่องทาง ที่จะทำความสิ้นทุกข์ให้สำเร็จได้เลย”


“แต่ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ ว่า “บุรุษนี้ทำกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาอย่างไร ๆ เขาย่อมได้ เขาย่อมได้เสวยวิบากของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ” เมื่อเป็นอย่างที่กล่าวนี้ พรหมจรรย์ (การครองชีวิตประเสริฐ) จึงมีได้ (คือสำเร็จประโยชน์) เป็นอันเห็นช่องทางที่จะทำความสิ้นทุกข์ให้สำเร็จได้”


“ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบางคน กรรมชั่วทำไว้เพียงเล็กน้อย ก็นำเขาไปนรกได้ แต่สำหรับบางคน กรรมชั่วที่ทำไว้เล็กน้อยอย่างเดียวกันนั่นแหละ ให้ผลแค่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อย ก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น”


“คนประเภทไหน กรรมชั่วที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย ก็นำเขาไปนรกได้ ? กล่าวคือ คนบางคนไม่ได้เจริญกาย ไม่ได้เจริญศีล ไม่ได้เจริญจิต ไม่ ได้เจริญปัญญา ใจจ้อยด้อยคุณ ดังเป็นคนตัวเล็กๆ มีปรกติอยู่ เป็นทุกข์กับเรื่องนิดๆหน่อยๆ บุคคลประเภทนี้ กรรมชั่วที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย ก็นำเขาไปนรกได้ (เหมือนใส่ก้อนเกลือในขันน้ำน้อย)”


“คน ประเภทไหน กรรมชั่วที่ทำไว้เล็กน้อยอย่างเดียวกันนั่นแหละ ให้ผลแค่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น ? กล่าวคือ คนบางคน ได้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา ผู้มิใช่เล็กน้อย เป็นมหาตมะ มีธรรมที่ใจอยู่อันประมาณมิได้ สำหรับบุคคลประเภทนี้ กรรมชั่วที่ทำไว้เล็กน้อยเช่นเดียวกันนั่นแหละ ให้ผลแค่ในปัจจุบัน ทั้งส่วนที่เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏด้วย ปรากฏแต่ที่มากๆ เท่านั้น (เหมือนใส่ก้อนเกลือในแม่น้ำ)”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่าน มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด ผู้ประพฤติกาเม สุมิจฉาจาร ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้นคิดว่า “ศาสดาของเรามีวาทะ มีทิฐิ อย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด” เขาจึงได้ทิฐิขึ้นมาว่า “สัตว์ที่เราฆ่าไปแล้วก็มี เราก็ต้องไปอบาย ตกนรกด้วย เขาไม่ละวาจานั้น ไม่เลิกความคิดนั้น ไม่สละทิฐินั้นเสีย ก็ย่อมอยู่ในนรกเหมือนถูกจับมาใส่ไว้…”



“ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก...พระองค์ ทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต...อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท โดย อเนกปริยาย และตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงงดเว้นเสียเถิดจาก ปาณาติบาต...อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท” สาวก มีความ เลื่อมใส ในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนปาณาติบาต ฯลฯ โดยอเนกปริยาย และตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จง งดเว้นเสียเถิดจากปาณาติบาต ฯลฯ ”ก็สัตว์ที่เราฆ่าเสียแล้วมีมากถึงขนาดนั้นๆ การที่เราฆ่าสัตว์ไปเสีย มากๆ ถึงขนาดนั้นๆ ไม่ดี ไม่งามเลย เราจะกลายเป็นผู้เดือดร้อนใจ ในเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัยแท้ และเราก็จักไม่ชื่อว่า ไม่ได้กระทำกรรมชั่ว” เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละ ปาณาติบาตนั้นเสีย และเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่า เขาละกรรมชั่วนั้นได้ ด้วยการกระทำอย่างนี้…”



“เขาละ ปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ละมุสาวาท...ปิสุณาวาจา...ผรุสวาจา...สัมผัปปลาปะ...อภิชฌา...พยาบาท...มิจฉาทิฐิ แล้วเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ เขาเป็นผู้อริยสาวก มีใจปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท (ความคิดเบียดเบียน) ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น อยู่ด้วยใจที่ประกอบด้วย เมตตาปกแผ่ไปทิศ 1...ทิศ 2...ทิศ 3...ทิศ 4...ครบถ้วนทั้งสูง ต่ำ กว้างขวาง ทั่วทั้งโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ยิ่ง ใหญ่ ไม่มีประมาณ ไร้เวร ไร้พยาบาท ฯลฯ เมื่อเจริญเมตตาเจโตวิมุติ ทำให้มากอย่างนี้ กรรมใด ที่ทำไว้พอประมาณ กรรมนั้น จักไม่เหลือ จะไม่คงอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น…”

http://group.wunjun.com/whatisnippana/t ... 5855-22887

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แก้กรรม ด้วยปฏิกรรม


ปฏิกรรม เป็นคำสอนสำคัญส่วนหนึ่งของหลักกรรม คำว่า "ปฏิกรรม" นิยมแปลกันมาในภาษาพระว่า "การทำคืน" ถ้าแปลให้เห็นศัพท์เดิม หรือล้อคำเดิม ก็คือ "การแก้กรรม" หมายถึงการแก้ไข การทำให้กลับคืนดี การทำใหม่ให้เปลี่ยนเป็นดี การเลิกละกรรมชั่วหันมาทำกรรมดี หรือการกลับตัว


ปฏิกรรม หรือแก้กรรมนี้ แต่เดิมเป็นคำพื้นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความหมายว่า ถ้าอะไรเสียหายเสื่อมโทรมไป ก็แก้ไขให้กลับคืนดี หรืออะไรที่ทำไปขาดตกบกพร่อง ก็ปรับก็แก้ใหม่ ให้เต็ม ให้บริบูรณ์ การจัดการแก้ไขความผิดพลาดต่างๆ เพื่อพลิกกลับให้เป็นไปในทางที่ดี รวมทั้งการเยียวยาแก้ไขบำบัดโรค ก็เรียกว่าเป็นปฏิกรรมทั้งนั้น


เมื่อใช้เป็นศัพท์ในทางธรรม ปฏิกรรมมีสาระสำคัญ คือ ยอมรับความผิดพลาดที่ได้ทำไปแล้ว ละเลิกบาปอกุศล หรือการกระทำผิดพลาดเสียหายที่เคยทำนั้น เปลี่ยนไปทำกรรมที่ดีแทน หรือหันกลับจากความชั่วร้าย มาทำความดีงามถูกต้อง ทำบุญกุศล แก้ไขปรับปรุงตน เปลี่ยนแปรกรรมจากการทำความชั่วมาทำความดี ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อก้าวขึ้นไปสู่ความถูกต้องสมบูรณ์


ในธรรมวินัยนี้ สำหรับพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงนำหลักปฏิกรรมมาวางเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งกำหนดเป็นวินัยที่มีผลบังคับให้ต้องปฏิบัติ จัดเป็นวินัยบัญญัติ ๒ เรื่อง คือ อาปัตติปฏิกรรม และปวารณากรรม พร้อมกันนั้น ในวงกว้างออกไป สำหรับทุกคน ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ทรงเน้นย้ำให้บำเพ็ญปฏิกรรม ที่มากับความสำนึกและสารภาพความผิด (เรียกว่า อัจจยเทศนา) ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมเป็นหลักปฏิกรรม ที่เป็นระบบปฏิบัติทางสังคมขั้นพื้นฐานในพระธรรมวินัยนี้ ๓ ประการ คือ

๑. อาปัตติปฏิกรรม ซึ่งแปลว่า การทำคืนอาบัติ หรือปลงอาบัติ เป็นวินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) มีสาระสำคัญว่า ทำความผิดแล้ว ก็รู้ตัวเปิดเผยความผิดนั้น และบอกว่าเลิกละ จะไม่ทำอีก คือการที่ภิกษุหรือภิกษุณีบอกแจ้งความผิดของตน เพื่อจะสังวรต่อไป


ทั้งนี้ แม้แต่แค่สงสัย ท่านก็วางวิธีปฏิบัติไว้ให้ ดังเช่น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ตนอาจจะได้ต้องอาบัติ ก็บอกแจ้งแก่ภิกษุอื่น รูปหนึ่งว่า (เช่น วินย. ๔/๑๘๖/๒๔๖) "อหํ อาวุโส อิตฺถนฺนามาย อาปตฺติยา เวมติโก ยทา นิพฺเพมติโก ภวิสฺสามิ ตทา ตํ อาปตฺตึ ปฏิกริสฺสมิ" (ท่านครับ ผมมีความสังสัยในอาบัติชื่อนี้ หายสงสัยเมื่อใด จักปฏิกรรมอาบัตินั้น เมื่อนั้น... รูปกริยาของปฏิกรรม คือ "ปฏิกร" นิยมแปลกันว่า "ทำคืน" ในที่นี้ แปลทับศัพท์ว่า "ปฏิกรรม" เพื่อให้เห็นชัด)


๒. ปวารณากรรม คือ การบอกเปิดโอกาสเชื้อเชิญให้ว่ากล่าวตักเตือน เป็นวินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เป็นสังฆกรรมประจำปี ตอนจบการจำพรรษา เรียกสั้นๆว่า "ปวารณา" มีหลักการว่า หลังจากอยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายประชุมกัน และแต่ละรูปกล่าวคำเปิดโอกาสหรือเชิญชวนแก่ที่ประชุม โดยมีสาระว่า ตามที่ได้อยู่ร่วมกันมาถึงบัดนี้ ถ้าได้เห็น ได้ยิน หรือมีเหตุให้น่าระแวงสงสัยว่าตนได้ผิดพลาด บกพร่องทำอะไรเสียหาย ก็ขอให้บอก ขอให้ว่ากล่าว เมื่อมองเห็นแล้ว ก็จะได้ ปฏิกรรม ทำการแก้ไข


เริ่มด้วยรูปที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดว่า "สงฺฆํ อาวุโส ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน ว่า สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกริสฺสมิ" (เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลาย จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักปฏิกรรม)


๓. อัจจยเทศนา เป็นหลักปฏิบัติอย่างหนึ่งในอริยวินัย (สำหรับทั้งพระสงฆ์ และคฤหัสถ์) มีสาระสำคัญว่า เมื่อใดก็ตาม ถ้ามีใครทำการละเมิด ล่วงเกิน เข้าใจผิด หรือทำอะไรไม่ดีต่อผู้อื่น ต่อมา รู้ตัวว่า หรือสำนึกได้ จะปฏิกรรมแก้ไขกลับตัว ก็ไปขอขมาอภัยเขา การแสดงความยอมหรือสำนึกผิดในการที่ตนได้ทำความผิดละเมิดหรือล่วงเกินผู้อื่น และมาบอกขอให้เขายอมรับความสำนึกของตน เพื่อที่ตนจะได้ปฏิกรรม และสำรวมระวังต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในอริยวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก มีเรื่องราวหลายกรณี ที่ชาวบ้านบางคน และพระบางรูปก็มี ทำผิดล่วงเกินแม้กระทั่ง่ต่อพระพุทธเจ้า เมื่อสำนึกได้ ก็ไปสารภาพผิด กราบทูลขอขมาต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เมื่อได้ทำผิดพลาดล่วงเกินไปเพราะความหลงความเขลา มองเห็นโทษแล้ว แก้ไขเสีย ก็ทรงรับขมา การที่ใครก็ตามทำผิดพลาดแล้ว มองเห็นโทษ มาปฏิกรรม กลับตัวแก้ไข ทำความสังวรต่อไปนั้น เป็นความเจริญงอกงามในวินัยของอารยชน


ดังเช่นในกรณีนายขมังธนูที่รับจ้างมาเพื่อสังหารพระพุทธเจ้า แล้วสำนึกผิด และเข้ามากราบทูลความสำนึกผิดของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสข้อความที่เป็นหลักในเรื่องนี้ว่า (วินย. ๗/๓๖๙/๑๘๐) "ยโต จ โข ตฺวํ อาวุโส อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม วุทฺธิ เหสา อาวุโส อริยสฺส วินเย โย อจฺจยํ อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺมํ ปฏิกโรติ อายตึ สํวรํ อาปชฺชติ" (เพราะการที่เธอมองเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงยอมรับโทษนั้นของเธอ การที่ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วปฏิกรรมตามธรรม ถึงความสังวรต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย)


ปฏิกรรมนี้ เป็นการนำหลักกรรมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคน ด้วยการให้เขาพัฒนากรรมของเขาเอง โดยอย่างน้อยให้ปฏิกรรม คือแก้ไข เพื่อให้การกระทำครั้งต่อไปดียิ่งขึ้น หรือกลับร้ายกลายดี มิใช่ว่ากลัวจะมีกรรม ก็เลยไม่ทำอะไร เหมือนอย่างลัทธินิครนถ์ และที่สำคัญคือ ไม่ใช่ว่า ทำผิดพลาดไปแล้ว ก็มัวครุ่นคิดหม่นหมอง ขุ่นข้อง คร่ำครวญ หวนละห้อย จมอยู่กับอดีต ซึ่งทางธรรมถือว่าเป็นการเสริมซ้ำบาปอกุศล และกีดกั้นกุศลให้เสียโอกาส เป็นการเพิ่มทุกข์ให้แก่ตนเอง


การที่ว่าเมื่อทำอะไรผิดพลาดไปแล้ว ตนมาตระหนักรู้ความผิดพลาดนั้น ก็ไม่มัวอยู่กับความรู้สึก ทั้งไม่มัวทุกข์ และทั้งไม่มัวนิ่งนอนใจ แต่หันไปหาความรู้ คือไปอยู่กับปัญญา ค้นหาพบข้อบกพร่องแล้ว คิดที่จะแก้ไขปรับปรุง หรือคิดกลับตัวใหม่ ก็จะได้ปฏิกรรม กลับจากร้ายกลายเป็นดี เข้าหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญนี้ อีกทั้งเข้าหลักเป็นความไม่ประมาทด้วย เท่ากับว่าปฏิกรรมมาหนุนย้ำความไม่ประมาท ที่เป็นหลักธรรมใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นงอกงาม มีแต่ความก้าวหน้า พัฒนาสู่ความสมบูรณ์


ขอนำพุทธภาษิต ในพระธรรมบท ซึ่งพระองคุลิมาล เมื่อกลับตัวกลับใจมาเกิดใหม่ในอริยวินัยแล้ว ครั้นบรรลุอรหัตผล เสวยวิมุตติสุขอยู่ ก็ได้นำมากล่าว เท่ากับเป็นการเสริมย้ำความในเรื่องปฏิกรรม ดังนี้

"ผู้ใด ประมาทพลาดไปแล้วในกาลก่อน ครั้นภายหลัง (กลับตัวได้) ไม่ประมาท ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างสดใส ดุจดังดวงจันทร์อันพ้นไปแล้วจากเมฆหมอก

"ผู้ใด ได้ทำบาปกรรมไว้ มาปิดเลิกเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างสดใส ดุจดังดวงจันทร์อันพ้นไปแล้วจากเมฆหมอก"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron