วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เวรสูตรที่ ๒


[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร
๕ ประการ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ ในกาลนั้น อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เรา
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้อง
หน้า ฯ


ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และ
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และ
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับ
ภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ให้ ฯลฯ ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ

ผู้มักดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ใน
ปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัย
เวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความ
ประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้ อริยสาวกย่อมสงบระงับภัย
เวร ๕ ประการนี้ ฯ


อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน
จะพึงรู้เฉพาะตน ๑ ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มี
นาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕
ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า

เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว

เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 671&Z=8709
ธรรมที่ยกมาให้ดูนี้ก็ดีนะแต่เป็นสิ่งที่เขารู้กันทั้งนั้นแหล่ะไม่ใช่ว่าผมไม่รู้. ส่วนที่ผมยกมาให้ดูเป็นธรรมที่เขาศึกษาโดยละเอียดหลายนัยที่มีเป็นพุทธวจนในบริบทอื่นของการเป็นอริยแต่ล่ะขั้น. ซึ่งมีในวุสุทธิมรรค. ที่ธรรมโฆษาจารย์ท่านก็ศึกษาจากคำตถาตคแยกแยะออกมาให้เห็นชัดเจน หรือท่านคิดว่ามันไม่ตรงตามความรู้ที่ท่านมี ก็ขอให้กลับไปคิดในสิ่งที่ผมกล่าวว่าอย่าคิดว่าสิ่งนี้จริง. แต่สิ่งอื่นเปล่า. อ้อแล้วไม่ต้องย้อนนะ. เพราะกระผมก็เคยคิดว่าการเป็นอริยบุคคลนั้นก็คือต้องตรงธรรมที่ท่านยกมาให้ดู แต่ผมก็ได้ศึกษาต่อว่ามันมีบริบทอื่นอีกมากมายในความจริงจองสังคม. และพุทธวจนในบริบทอื่นๆ. ที่ท่านธรรมโฆษาจารย์เรียบเรียง. อย่าคิดว่าสิ่งนี้จริงสิ่งอื่นเปล่านะครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุราเมรัย อยากดื่มก็ดื่มไปเถอะ
เหตุมี ผลย่อมมี



การเที่ยวโฆษณาว่า บุคคลผู้เป็นอริยะ เสพสุรา นานๆครั้งได้

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(มโนกรรม) ชาติ(กายกรรม วจีกรรม)
ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

เหตุมี ผลย่อมมี





บุคลลผู้ปรารภความเพียร เพียรเพื่อละ ในเหตุแห่งทุกข์ ที่ยังมีอยู่
ย่อมดำเนินตามพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
สุราเมรัย อยากดื่มก็ดื่มไปเถอะ
เหตุมี ผลย่อมมี



การเที่ยวโฆษณาว่า บุคคลผู้เป็นอริยะ เสพสุรา นานๆครั้งได้

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(มโนกรรม) ชาติ(กายกรรม วจีกรรม)
ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

เหตุมี ผลย่อมมี





บุคลลผู้ปรารภความเพียร เพียรเพื่อละ ในเหตุแห่งทุกข์ ที่ยังมีอยู่
ย่อมดำเนินตามพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้
โปรดตรงธรรม. อย่าบอกว่าเที่ยวโฆษณา. นี่คือการกล่าวธรรมที่ไม่น่ารัก

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 15 มิ.ย. 2015, 14:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 13:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เวรสูตรที่ ๒


[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร
๕ ประการ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ ในกาลนั้น อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เรา
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้อง
หน้า ฯ


ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และ
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้น
จากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และ
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับ
ภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ให้ ฯลฯ ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ

ผู้มักดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ใน
ปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัย
เวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความ
ประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้ อริยสาวกย่อมสงบระงับภัย
เวร ๕ ประการนี้ ฯ


อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน
จะพึงรู้เฉพาะตน ๑ ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มี
นาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕
ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า

เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว

เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 671&Z=8709



:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์เครื่องโสดาปัตติยังคะ



เวรสูตรที่ ๑
[๒๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ
และประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๑- ๔ ประการ ในกาลนั้น
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มี
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน

ดูกรคฤหบดีบุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และไม่ได้เสวยทุกข
โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วย
ประการอย่างนี้

ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ
ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและ
เมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาทเป็นปัจจัย

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ใน
ปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อม
สงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้ อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ


อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
องค์เป็นเครื่องบรรลุความเป็นพระโสดา ในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิก
บานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑

ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนจะพึง
รู้ได้เฉพาะตน ๑

ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๑

ย่อมประกอบด้วยศีลอันพระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ


ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้

อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย มีทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน มีอัน
ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 632&Z=8670

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 20:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ประกาศ.....คนหายครับ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ประกาศ.....คนหายครับ
:b32: :b32:

ใครหาย อ่ะ! กบ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2015, 21:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็อริยะกินเหล้า..เป็นบางครั้งได้..นะซิ

:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2015, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก็อริยะกินเหล้า..เป็นบางครั้งได้..นะซิ

:b13:
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิแล้วนะ. ต้องเปิดใจให้มากกว่านี้ จะได้รู้รอบ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2015, 13:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เปิดอยู่นี้...ไม่งั้นจะรู้หรอว่า...ตรงไหนเป็นธรรม...ตรงไหนเป็นอธรรม

ตรงไหนเป็นอธรรม....ก็ไม่เข้าไปสุงสิงด้วย...ไม่ใช่กลัวว่ามันจะมาแปดเปื้อนอะไรหรอก....ก็แค่ไม่มีอารมณ์ไปสุงสิง..ก็แค่ นั้น...นี้แค่ปุถุชน...นะ...อริยะชน..จะเผลอไปทำบ้างเป็นบางครั้ง...ไม่ได้ทำเนืองๆ...อย่างที่บิ๊กทูคิด...มันจึงไม่มีทาง...งัย

แต่..ใครจะจับอริยะกรอกเหล้า...อันนี้เป็นไปได้อยู่...แต่กินเหล้าเข้าสังคม..ไม่อยากให้เขาว่า..นั้น...ไม่มีแน่

จะมีก็อริยะปลอม..อันนี้เป็นไปได้อยู่..555

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2015, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก็เปิดอยู่นี้...ไม่งั้นจะรู้หรอว่า...ตรงไหนเป็นธรรม...ตรงไหนเป็นอธรรม

ตรงไหนเป็นอธรรม....ก็ไม่เข้าไปสุงสิงด้วย...ไม่ใช่กลัวว่ามันจะมาแปดเปื้อนอะไรหรอก....ก็แค่ไม่มีอารมณ์ไปสุงสิง..ก็แค่ นั้น...นี้แค่ปุถุชน...นะ...อริยะชน..จะเผลอไปทำบ้างเป็นบางครั้ง...ไม่ได้ทำเนืองๆ...อย่างที่บิ๊กทูคิด...มันจึงไม่มีทาง...งัย

แต่..ใครจะจับอริยะกรอกเหล้า...อันนี้เป็นไปได้อยู่...แต่กินเหล้าเข้าสังคม..ไม่อยากให้เขาว่า..นั้น...ไม่มีแน่

จะมีก็อริยะปลอม..อันนี้เป็นไปได้อยู่..555

:b12:
ก็ประเด็นเดิม. อริยะไม่กินเหล้าพระพุทธเจ้าก็ตอบ คฤหบดีบุตรว่า. อริยะไม่ประกอบเนื่องๆ กบยังสงสัยอะไรในคำตอบอยู่หรือ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2015, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธ ร ร ม ๔ ป ร ะ ก า ร เ ห ล่า นี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร
ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการคือ :-
สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า
“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยอยู่เป็นประจำ 
มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ !
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ
เป็นเครื่องไปจากข้าศึก
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส
เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2015, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-

ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก.


เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ขอยศจง
เฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ
หาได้ยากในโลก.



เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศ
พร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน
จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.


เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศ
พร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษา อายุ
ให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.




คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้
ธรรม ๔ ประการนี้ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ
หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-

สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑

สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑

จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค ) ๑

ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .


คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัย ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อ
พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้
ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็น
ผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรม
สั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.



ก็สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาด
จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.


ก็จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน
คือ ความตระหนี่ มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามือ
อันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้
และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.



ก็ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
บุคคลมีใจอันความโลภไม่สม่ำเสมอ คือ อภิชฌา
ครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ
เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อม
จากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่
ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและ
ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข.


คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ
(ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง)
แห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
เสียได้ รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา)
อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลส
แห่งจิตเหล่านั้น .



คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้น ย่อมละ
สิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก
มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.



คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้
ได้ธรรม ๔ ประการนี้แล อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.



จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2015, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


[๓๖๕] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็เมื่อพวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส พวกข้าพระ
องค์หวังอยู่เพียงว่า พวกเราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อพวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่
คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่สำราญนี้แล พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง
เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
พวกเราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจาร
สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ
อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อั
นยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ เพื่อ
ความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
พวกเรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข อันนี้ได้แก่
คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
พวกเราบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ
ความเป็นพระอริยะ
... อย่างอื่น.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตต
สัญญา พวกเราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้
ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วย
พิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความความเป็นพระอริยะ อย่างอื่น.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
เพราะล่วงเสียงซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ
ความเป็นพระอริยะ ..
. อย่างอื่น.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนญาน
อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ
อริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง
เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ?
อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า
เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ
อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น
เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีต
กว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้.
พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า
ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่.


จะเห็นได้ว่าความเป็นอริยะนั้นฌานที่1-8นั้นเป็นเพียงการเป็นอริยะ. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นคือการทำอาสวะให้สินไปหมดไปในฌานที่9. นี่แหล่ะครับที่เรียกว่าสมถะวิปัสนา

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 257 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร