วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 15:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 13:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากฟังจากเพื่อนๆ. เรื่อง..อานาปานสติ 16

สนใจใคร่รู้....ครับผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในแง่ไหนครับ
ถ้าในแง่ฌานวิสัย ผมคงขอเว้นล่ะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อยากฟังจากเพื่อนๆ. เรื่อง..อานาปานสติ 16

สนใจใคร่รู้....ครับผม
ในแง่ไหนครับ
ถ้าในแง่ฌานวิสัย ผมคงขอเว้นล่ะครับ



ในแง่ไหนก็ได้ ที่เช่นนั้นรู้ถูกถ้วนแล้วเอามาใช้ในปัจจุบันได้ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายควรรู้จักให้เกียรติเจ้าของกระทู้ครับ
การสนทนาคือสนทนากับเจ้าของกระทู้นะครับ

คุณกบอยากฟัง .... อานาปานสติ 16 ขั้น
กรัชกาย มีอะไรแสดงให้คุณกบทราบ ก็แสดงไป

อย่างนี้คือการสนทนาตามหัวข้อกระทู้ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกายควรรู้จักให้เกียรติเจ้าของกระทู้ครับ
การสนทนาคือสนทนากับเจ้าของกระทู้นะครับ

คุณกบอยากฟัง .... อานาปานสติ 16 ขั้น
กรัชกาย มีอะไรแสดงให้คุณกบทราบ ก็แสดงไป

อย่างนี้คือการสนทนาตามหัวข้อกระทู้ครับ


ก็ว่าไปซี่ ไม่ได้ว่าอะไร แต่ฟังแล้ว มีอะไรข้องใจก็จะเข้ามาแทรกบ้าง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบอยากฟัง..อานาปานติ 16 นำมาให้ดู แล้วเช่นนั้นจะพูดให้ฟัง


"ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?


ภิกษุในธรรมวินัยนี้


ก. ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี


ข. นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า


ค. เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก


หมวดสี่ ที่ ๑ ใช้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้


๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น


๓) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจเข้า


๔) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า



หมวดสี่ ที่ ๒ ใช้บำเพ็ญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานได้


๕) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจออก

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจเข้า


๖) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจออก

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจเข้า


๗) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตสังขาร หายใจออก

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตสังขาร หายใจเข้า


๘) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจออก


สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจเข้า


หมวดสี่ ที่ ๓ ใช้บำเพ็ญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้


๙) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจออก

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจเข้า


๑๐) สำเหนียกว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก

สำเหนียกว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า


๑๑) สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจออก

สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า


๑๒) สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก


สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า


หมวดสี่ ที่ ๔ ใช้บำเพ็ญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานได้


๑๓) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก


สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า


๑๔) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความคลายออก หายใจออก


สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความคลายออก หายใจเข้า


๑๕) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก

สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า


๑๖) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก


สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจเข้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 20:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบอยากฟัง..อานาปานติ 16 นำมาให้ดู แล้วเช่นนั้นจะพูดให้ฟัง

"ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ก. ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี

ข. นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

ค. เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
หมวดสี่ ที่ ๑ ใช้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้

๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น

๓) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก
สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจเข้า

สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด

อย่างไร....จึงเรียกว่า... " สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด "....ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้นขอรับ กบ ถามแล้ว ตอบเขาซี่ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานติ 16 ขั้น 16 ข้อ นั่น ดูๆ แล้วก็มีเพียงแค่การหายใจเข้า กับ หายใจออก,กิเลส (ธรรมชาติที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง) กับการกำจัดเครื่องเศร้าหมอง หลักๆมีเท่านี้เอง


มาดูที่อรรถกถาจารย์แนะนำเสริมพุทธพจน์นั่น


ขั้นปฏิบัติ คือ ลงมือกำหนลมหายใจ

พระอรรถกถาจารย์ได้เสนอวิธีการเพิ่มเติม เช่น การนับ เข้ามาเสริมการปฏิบัติตามพุทธพจน์ด้วย มีความดังนี้

การนับ (คณนา)

เริ่มแรก ในการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ยาว-สั้น ท่านว่าให้นับไปด้วย เพราะการนับจะช่วยตรึงจิตได้ดี การนับแบ่งเป็น ๒ ตอน

- ช่วงแรก ท่านให้นับช้าๆ การนับมีเคล็ดหรือกลวิธีว่า อย่านับต่ำกว่า ๕ แต่อย่าให้เกิน ๑๐ และให้เลขเรียงลำดับ อย่าโจนข้ามไป (ถ้าต่ำกว่า ๕ จิตจะดิ้นรนในโอกาสอันแคบ ถ้าเกิน ๑๐ จิตจะไปพวงที่การนับ แทนที่จะจับอยู่กับกรรมฐาน คือลมหายใจ ถ้านับขาดๆข้ามๆ จิตจะหวั่นจะวุ่นไป)


ให้นับที่หายใจ เข้า-ออกอย่างสบายๆ เป็นคู่ๆ คือ ลมออกว่า ๑ ลมเข้าว่า ๑ ลมออกว่า ๒ ลมเข้าว่า ๒ อย่างนี้เรื่อยไป จนถึง ๕,๕ แล้วตั้งต้นใหม่ ๑,๑ จนถึง ๖,๖ แล้วตั้งต้นใหม่ เพิ่มทีละคู่ไปจนครบ ๑๐ คู่ แล้วกลับย้อนที่ ๕ คู่ใหม่ จนถึง ๑๐ คู่ อย่างนั้นเรื่อยไป

พอจะเขียนให้ดูได้ ดังนี้

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑๐,๑๐


๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


- ช่วงสอง ท่านให้นับเร็ว กล่าวคือ เมื่อลมหายใจเข้าออกปรากฏแก่ใจ ชัดเจนดีแล้ว (จิตอยู่กับลมหายใจ โดยลมหายใจช่วยตรึงไว้ได้ ไม่ส่ายฟุ้งไปภายนอก) ก็ให้เลิกนับช้าอย่างข้างต้นนั้นเสีย เปลี่ยนเป็นนับเร็ว


คราวนี้ ไม่ต้องคำนึงถึงลมเข้าใน หรือออกนอก กำหนดลมที่มาถึงช่อง จมูก นับเร็วๆ จาก ๑ ถึง ๕ แล้วขึ้นใหม่ ๑ ถึง ๖ เพิ่ม ทีละหนึ่งเรื่อยไป จน ๑ ถึง ๑๐ แล้วเริ่ม ๑ ถึง ๕ ใหม่ อีก จิตจะแน่วแน่ด้วยกำลังการนับ เหมือนเรือตั้งลำแน่วในกระแสน้ำเชียว ด้วยอาศัยถ่อ


เมื่อนับเร็วอย่างนั้น กรรมฐานก็จะปรากฏ ต่อเนื่อง เหมือนไม่มีช่องว่าง พึงนับเร็วๆ อย่างนั้นเรื่อยไป ไม่ ต้องกำหนดว่าลมเข้าในออกนอก เอาสติกำหนด ณ จุดที่ลมกระทบ คือที่ ปลายจมูก หรือริมฝีปากบน (แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วแต่ที่ใดรู้สึก ชัด) เท่านั้น


เขียนให้ดูกันได้ ดังนี้


๑ ๒ ๓ ๔ ๕

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐


๑ ๒ ๓ ๔ ๕

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

ฯลฯ



กำหนด นับอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าเมื่อใด แม้ไม่นับแล้ว สติก็ยังตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ คือ ลมหายใจเข้าออกนั้น (วัตถุประสงค์ของการนับ ก็เพื่อให้สติตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ ตัดความติดฟุ้งซ่านไปภายนอกได้นั่นเอง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พึงทราบว่า ตัวอย่างวิธีปฏิบัติที่แสดงในที่นี้ เขียนตามคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ให้เห็นแบบแผนเดิม ผู้ปฏิบัติจะยักเยื้องไปอย่างอื่นอีกก็ได้ เช่น อย่างที่สำนักต่างๆ ในปัจจุบัน สอนให้ว่าพุทโธ บ้าง อย่างอื่นๆ เช่นพอง-ยุบ เป็นต้นบ้าง กำกับลมหายใจเข้า-ออก แทนการนับ เป็นต้น สาระอยู่ที่เป็นอุบายตรึงจิตไว้เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางตัวอย่างภาคฝึกหัดพัฒนาไว้ด้วย

อ้างคำพูด:
เวลานั่งสมาธิไปสักพักแล้ว แก้มจะรู้สึกหน่วงๆวูบวาบๆ เหมือนอะไรมันขยับเลื่อนๆได้ บางทีก็เป็นที่ปาก ปากเราก็จะรู้สึกขยายเล็กใหญ่เหมือนคลื่น ทำให้รู้สึกเหมือนปากมันบวมๆขยายใหญ่อ่ะค่ะ บางครั้งเป็นหลายจุดบนใบหน้าในเวลาเดียวกัน เลยอยากทราบว่ามันคืออะไร แล้วเราต้องกำหนดพิจารณายังไงไหมคะ หรือปล่อยไปเลยไม่ต้องสนใจ ดูลมหายใจอย่างเดียว

อ้อแล้วบางครั้งเวลานั่งสมาธิจะเสร็จแล้ว หูมันจะเย็นๆ คือเย็นในรูหู แบบนี้คืออะไรอ่ะคะ

แล้วอย่างเวลาเราดูลมหายใจพร้อมกับท่องพุทโธๆ ไปด้วย พอไปถึงจุดนึง จะไม่รู้สึกถึงลมหายใจ คือลมมันเบามาก จนจับไม่ได้เลยตามดูลมต่อไม่ได้ กลายเป็นนั่งเงียบๆไปเฉยๆเลยอ่ะค่ะ ไปต่อไม่ถูก อย่างนี้ต้องปฏิบัติอย่างไรต่อคะ ต้องหาอะไรพิจารณาไหมคะ หรือนั่งไปเฉยๆไม่ให้จิตไปคิดอะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ท่านเช่นนั้นพักผ่อนสงบสติอารมณ์ ได้ทบทวนสิ่งที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมาสักสองสามวัน หลังจากนั้นก็คงกลับมาสนทนากันต่อ :b20:

พระพุทธศาสนามีสามปิฎก (ไตรปิฎก) คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก มิใช่มีเพียงปิฎกเดียว (เอกปิฎก) คือ พระสูตร (สุตตันตปิฎก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 13:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
กรัชกายพาแฉลบออกนอกเรื่องของ 16 ขั้นตอนของอานาปานสติอีกแล้ว กลับไปลงหลุมเก่า หล่มเก่าที่ติดอยู่เป็นนานแสนนานไม่ขึ้นจากหล่มได้สักทีทั้งๆที่เป็นเรื่องง่ายๆ เป็นเรื่องของคนที่สติสัมปชัญญะหลุดจากกรรมฐาน หลุดจากงานที่พึงกระทำแล้วปรุงแต่งไปเป็นโน้นเป็นนี้ อาจารย์ก็บ้าจี้จะไปแก้เรื่องที่ปรุงแต่ง ไม่แก้ที่สาเหตุหรือต้นเหตุ ซึ่งก็มีหลักพิจารณาง่ายๆว่า

สติ สมาธิ หรือปัญญา บกพร่อง ต้องแก้ไขที่สามอย่างนี้เท่านนั้น ไม่ใช่ไปแก้ไขเรื่องราวที่ปรุงออกไปอันเป็นปลายเหตุ ยิ่งแก้ยิ่งยุ่งเหมือนแหพันกัน

กลับมาสู่ประเด็นดีกว่านะกรัชกายอย่าชักใบให้เรือเสียเลย เจ้าของกระทู้เขาตั้งกระทู้ไว้ดีแล้ว มีคุณค่ามากด้วย เรื่องของอานาปานสติ 16 ขั้นตอนนั้นมีความละเอียดซ้อนลึกน่าศึกษาน่ารู้น่าวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์กว่ากันเยอะเลยและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ศึกษาและเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะนี่เป็นวิธีเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาที่สุดยอด พระบรมศาสดาทรงแจกแจงให้ทราบภาวะและขั้นตอนโดยละเอียดที่จะเกิดขึ้นกับผู้เจริญเป็นลำดับๆตามระดับความละเอียดของจิต ซึ่งน้อยคนจะตีความหมายออกได้อย่างแตกฉาน

อนึ่งสำนวนการแปล 16 ขั้นตอนที่กรัชกายไปคัดลอกมาก็ไม่ค่อยตรงกับสภาวธรรมดีนัก พึงแก้ไข สำนวนการแปลในบทสวดมนต์แปลมาตรฐานยังจะตรงกับสภาวธรรมที่พึงเกิดขึ้นมากกว่า ...จงพากัน.สังเกตให้ดีๆนะครับ

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 14:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

1.เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว

2.เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

3.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า

4สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

5.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า

6.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า

7.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า

8.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

9.สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า

10.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า

11.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า

12.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

13.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า

14. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า

15. สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า

16.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
:b27:
ผมไม่ใส่อ้างอิงนะครับคุณกบ ลิ้งค์ไม่เป็น ขออภัย ให้พากันสนใจที่เนื้อธรรมคำแปลที่ใกล้เคียงกับสภาวะจริงๆที่จะเกิดขึ้นนะครับ
:b12: :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร