วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 09:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุบาลี พระมหาเถระองค์หนึ่ง เดิมเป็นกัลบกของเจ้าศากยะ ได้ออกบวชที่อนุปิยอัมพวัน พร้อมกับพระอานนท์ และพระอนุรุทธะ เป็นต้น มีอุปัชฌาย์ชื่อพระกัปปิตก
ครั้นบวชแล้ว เรียนกรรมฐาน จะไปอยู่ป่า พระพุทธเจ้าไม่อนุญาต ท่านเล่าเรียน และเจริญวิปัสสนาไม่ช้าก็สำเร็จพระอรหัต

เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญในพระวินัยมาก จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร) พระอุบาลีเป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนันตริยกรรม กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน, กรรมที่ให้ผล คือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ

๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา

๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา

๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์

๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังโลหิตให้ห้อขึ้นไป

๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ (หมู่,คณะ) ให้แตกกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ


อริยชาติ "เกิดเป็นอริยะ" คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยบุคคล เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ, อีกอย่างหนึ่งว่า
ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติ คือ กำเนิด


อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓ หิริ ๔. โอตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา


อรรถ เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์


อรรถรส "รสแห่งเนื้อความ" "รสแห่งความหมาย" สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมายแท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์ (พจนานุกรมว่า ถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง)


อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน

๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า

๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา 1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุและรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น,

ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง,

ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง 2. ความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)


อุบาย วิธีสำหรับประกอบ, หนทาง, วิธีการ, กลวิธี, ไทยใช้หมายถึง เล่ห์เหลี่ยมด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปจาร เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบๆ, ดังตัวอย่างคำที่ว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัย ดังนี้

อาคารที่ปลูกเรือนร่วมในแค่ระยะน้ำตกที่ชายคาเป็นเรือน, บริเวณรอบๆเรือนซึ่งกำหนดเอาที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะออกไปหรือแม่บ้านยืนอยู่ภายในเรือน โยนกระด้งหรือไม้กวาดออกไปภายนอกตกที่ใด ระยะรอบๆ กำหนดนั้นเป็นอุปจารเรือน

บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดี ยืนอยู่ที่เขตอุปจารเรือน ขว้างก้อนดินไป ก้อนดินที่ขว้างตกลงที่ใด ที่นั้นจากรอบๆบริเวณอุปจารเรือน เป็นกำหนด เขตบ้าน
บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดีนั้นแหละ ยืนอยู่ที่เขตบ้านนั้น โยนก้อนหินไปเต็มกำลัง ก้อนดินตกเป็น เขตอุปจารบ้าน
สีมาที่สมมติเป็นติจีวราวิปปวาสนั้น จะต้องเว้นบ้านและอุปจารบ้านดังกล่าวนี้เสีย จึงจะสมมติขึ้น คือใช้เป็นติจีวราวิปปวาสได้


อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เจริญกรรมฐานถึงขั้นเกิดอุปจารสมาธิ


อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือ ถึงฌาน


อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่, จิตต์ตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปมา ข้อความที่นำมาเปรียบเทียบ, การอ้างเอามาเปรียบเทียบ, ข้อเปรียบเทียบ


อุปมา ๓ ข้อ ข้อเปรียบเทียบ ๓ ประการที่ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ เมื่อจะทรงบำเพ็ญเพียรที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม คือ

๑. ไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งตั้งอยู่ในน้ำจะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า ฉันใด สมณพราหมณ์ ที่มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละไม่ได้ ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น

๒. ไม้สดชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก ไกลจากน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า ฉันใด สมณพราหมณ์ ที่มีกายหลีกออกแล้วจากกาม แต่ยังมีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละไม่ได้ ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น

๓. ไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลจากน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟ ย่อมทำไฟให้ปรากฏได้ ฉันใด สมณพราหมณ์ ที่มีกายหลีกออกแล้วจากกาม ไม่มีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละกามได้แล้ว ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น

เมื่อได้ดำริดังนี้แล้ว พระโพธิสัตว์ จึงได้ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา ดังเรื่องที่มาในพระสูตร เป็นต้น แต่มักเข้าใจผิดกันไปว่า อุปมา ๓ ข้อนี้ ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์หลังจากเลิกละการบำเพ็ญทุกรกิริยา


อุปไมย ข้อความที่ควรจะนำสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตศัพท์อริยะโดดๆบ้าง กับ ที่สมาสกับศัพท์อื่นๆบ้าง


อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน

อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึกคือ กิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดปัตติมรรค เป็นต้น

อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ,, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมว่าเป็นมิลักขะ คือ พวกคนป่าคนดอย, พวกอริยะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน

อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ


อริยชาติ “เกิดเป็นอริยะ” คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยะบุคคล เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ, อีกอย่างหนึ่งว่า ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติคือกำเนิด

อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆแย่งชิงไม่ได้ และทำเป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ ๑. ศรัทธา (สัทธา) ๒. ศีล ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา


อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น


อริยปริเยสนา การแสดงหาที่ประเสริฐ คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติชรามรณะ หรือกองทุกข์ โดยความได้ ได้แก่ แสวงหาโมขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์, ความหมายอย่างง่าย ได้แก่ การแสวงหาในทางสัมมาชีพ


อริยผล ผลอันประเสริฐ มี ๔ ขั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล


อริยมรรค ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ, ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค


อริยวงศ์ ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ สันโดษด้วยจีวร ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓. สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔. ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล


อริยวัฑฒิ, อริยาวัฒิ, อารยวัฒิ ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน, ความเจริญงอกงามที่ได้สาระเป็นอริยสาวก อริยสาวิกา มี ๕ คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อมีเหตุผล ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริง ความดีงาม และในการที่จะทำกรรมดี ๒. ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓. สุตะ ความรู้หลักธรรมคำสอนและใฝ่ใจเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละ มีน้ำใจและใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕ ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล มองเห็นโลกและชีวิตตามเป็นจริง


อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ (หรือทุกขสัจจะ) สมุทัย (หรือ สมุทัยสัจจะ) นิโรธ (หรือนิโรธสัจจะ) มรรค (หรือ มัคคสัจจะ)
เรียกเต็มว่า ทุกข (อริยสัจจ์) ทุกขสมุทัย (อริยสัจจ์) ทุกขนิโรธ (อริยสัจจ์) และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (อริยสัจจ์)


อริยสาวก 1. สาวกผู้เป็นพระอริยะ, สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น 2. สาวกของพระอริยะ (คือ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)


อริยสาวิกา สาวิกาที่เป็นพระอริยะ, อริยสาวกหญิง


อริยอัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2022, 10:05 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2022, 11:52 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร