วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินเดีย ชื่อประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อนิวเดลี ( New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประมาณ ๑,๐๙๕ ล้านคน ครั้งโบราณเรียกชมพุทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร (ดูชมพูทวีป)

ชมพูทวีป "ทวีปที่กำหนดหมายด้วยต้นหว้า (มีต้นหว้าเป็นเครื่องหมาย) หรือทวีปที่มีต้นหว้าใหญ่ (มหาชมพู) เป็นประธาน"

ตามคติโบราณว่า มีสัณฐานคือรูปร่างเหมือนเกวียน, เป็นชื่อครั้งโบราณอันใช้เรียกดินแดนที่กำหนดคร่าวๆ ว่า คือ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (แต่แท้จริงนั้น ชมพูทวีปกว้างใหญ่กว่าอินเดียปัจจุบันมาก เพราะครอบคลุมถึงปากีสถาน และอัฟกานิสถาน เป็นต้นด้วย)

ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล ประกอบด้วยมหาชนบท คือ แว่นแคว้นใหญ่ หรือมหาอาณาจักร ๑๖ เรียงคร่าวๆ จากตะวันออก (แถบบังคลาเทศ) ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ (แถบเหนือของอัฟกานิสถาน) คือ อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ

(กล่าวในพระไตรปิฎก เช่น องฺ.ติก. 20/510/273)

รูปภาพ


ลุมพินีวัน ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ป็นสังเวชนียสถานหนึ่งในสี่แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้ เรียก Rummindei อยู่ที่ปาเตเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตต์ใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ

๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือก ควรไม่ควร

๒. โทสะ คิดประทุษร้าย

๓. โกธะ โกรธ

๔.อุปนาหะ ผูกโกรธไว้

๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน

๖. ปลาสะ ตีเสมอ

๗. อิสสา ริษยา

๘. มัจฉริยะ ตระหนี่

๙. มายา เจ้าเล่ห์

๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด

๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ

๑๒. สารัมภะ แข่งดี

๑๓. มานะ ถือตัว

๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน

๑๕. มทะ มัวเมา

๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ หรือละเลย


อุปนิสัย ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิตต์, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ

๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม

๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด

๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด

๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๕. มานะ ความถือตัว

๖. ภวราคะ ความกำหนัดในภพ

๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง, ไม่รู้ในอริยสัจ

อายตนะ ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนก่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่ถูกรู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นต้น

จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖



อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ

บาลี - คำแปลตามที่เรียกกันในภาษาไทย

๑. รูป - รูป

๒. สัททะ - เสียง

๓. คันธะ - กลิ่น

๔. รส - รส

๕. โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย

๖. ธัมมะ - ธัมมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้

อารมณ์ ๖ ก็เรียก



อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้ มี ๖ คือ

๑. จักขุ - ตา

๒. โสต - หู

๓. ฆานะ - จมูก

๔. ชิวหา - ลิ้น

๕. กาย กาย
-
๖. มโน - ใจ

อินทรีย์ ๖ ก็เรียก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ ศาสดาโฮฮับเพ้ออยู่ที่คู่นี้

๕. กาย - กาย

๖. มโน - ใจ

พร่ำเพ้อ กายใจพุทธพจน์บัญญัตินั่นนี่ คิกๆๆ

พูดมโน ไม่รู้เป็นโวหาร พูด วิญญาณ บอกว่าผี พูดจิตต์ บอกเป็นผลของกิเลส เมื่อกิเลสหมดจิตก็หาย ว่าเข้าไปนั่น

พระอรหันต์จิตหาย พระพุทธเจ้ากลายเป็นก้อนหินเมื่อละกิเลสหมดแล้ว

เจริญพวงอีกแล้วโฮฮับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2016, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิวินัย “วินัยอันยิ่ง” ในพระไตรปิฎก คำว่า “อภิวินัย” มักมาด้วยกันเป็นคู่กับคำว่า “อภิธรรม” และ

ในอรรถกถา มีคำอภิบายไว้ ๒-๓ นัย เช่น

นัยหนึ่งว่า ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก

อภิธรรม หมายถึง เจ็ดคัมภีร์ (คือ อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ สัตตัปปกรณะ)

วินัย หมายถึง อุภโตวิภังค์ (คือ มหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์)

อภิวินัย หมายถึง ขันธกะ และปริวาร,

อีกนัยหนึ่ง ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก

อภิธรรม หมายถึง มรรค ผล

วินัย หมายถึง วินัยปิฎกทั้งหมด

อภิวินัย หมายถึง การกำจัดกิเลสให้สงบระงับไปได้ ,

นอกจากนี้ ในพระวินัยปิฎก มีคำอธิบายเฉพาะวินัย และอภิวินัย (เช่น วินย. 8/22) วินัย หมายถึง พระบัญญัติ (คือตัวสิกขาบท)

อภิวินัย หมายถึง การแจกแจงอธิบายความแห่งพระบัญญัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปัฏฐานศาลา หอฉัน, หอประชุม, อาคารสำคัญในวัด ที่กล่าวถึงบ่อยในพระไตรปิฎก โดยพื้นเดิม เป็นศาลาโรงฉันหรือหอฉัน (โภชนศาลา) และขยายมาใช้เป็นศาลาโรงประชุมหรือหอประชุม (สันนิบาตศาลา) ซึ่งภิกษุทั้งหลายมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังพระองค์แสดงธรรม และถกเถียงสนทนาธรรมกัน ตลอดจนวินิจฉัยข้อวินัยต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญในวิถีชีวิตของพระสงฆ์ในยุคพุทธกาล และ เป็นที่เกิดขึ้นของพุทธพจน์เป็นอันมากในพระธรรมวินัย

อุปัฏฐานศาลาเกิดมีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของพุทธกาล สืบเนื่องจากพุทธานุญาตให้พระสงฆ์มีเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัย คือ ในช่วงปีที่ ๒-๓ แห่งพุทธกิจ ขณะประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ คำร้องขอของเศรษฐีแห่งเมืองราชคฤห์ ที่มีศรัทธาจะสร้างวิหาร คือกุฎีทีพักอาศัยถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ได้เป็นเหตุให้ทรงอนุญาตเสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย (วินย. 7/200/86)

ต่อจากนั้น ก็มีพุทธบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวัด รวมทั้งพุทธานุญาตหอฉันคืออุปัฏฐานศาลานี้ (วินย. 7/235/98)

แล้วในเวลาใกล้เคียงต่อจากนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ได้สร้างวัดพระเชตวันขึ้นที่เมืองสาวัตถี

ในคำบรรยายการสร้างวัดพระเชตวันนั้น บอกด้วยว่าได้สร้างอุปัฏฐานศาลา โดยใช้คำพหูพจน์ (อุปฏฺฐานสาลาโย วินย. 7/235/18) ซึ่งแสดงว่าที่พระเชตวันนั้น มีอุปัฏฐานศาลาหลายหลัง

นอกจากอุปัฏฐานศาลาแล้ว ตามเรื่องในพระไตรปิฎก อาคารอีกชื่อหนึ่งรองลงไป ที่ภิกษุทั้งหลายมักไปนั่งประชมสนทนาธรรมกัน ซึ่งบางครั้งพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทรงไถ่ถามและทรงชี้แจงอธิบาย ได้แก่ “มัณฑลมาฬ” (โรงกลม) ซึ่งเป็นศาลาที่นั่งพัก หรือเรียกอย่างชาวบ้านว่า ศาลาที่นั่งเล่น (นิสีทนศาลา, อรรถกถาบางแห่งว่า เป็นอุปัฏฐานศาลาเช่นกัน)

พระสูตรสำคัญที่เกิดขึ้นที่ศาลานั่งพักแบบนี้ ในชั้นอรรถกถา นิยมเรียกที่ประชุมฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าว่า “ธรรมสภา”

ดังนั้น อุปัฏฐานศาลาของพระไตรปิฎก จึงมักปรากฏในอรรถกถา ในชื่อธรรมสภา ดังที่อรรถกถาบางแห่งไขความว่า “คำว่า ในอุปัฏฐานศาลา” หมายความว่า ในธรรมสภา มณฑป” (อุ.อ.12/106)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปสมบท การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี, การบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี

อุปสัมบัน ผู้ได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีแล้ว ได้แก่ ภิกษุและภิกษุณี

อุปสัมปทา การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี วิธีอุปสมบททั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลัก มี ๓ อย่าง คือ

๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง

๒. ติสรณคมนูปสัมปทา หรือ สรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร

๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่แล้ว และเป็นวิธีที่สืบมาจนทุกวันนี้,


วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษจำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓ เป็นข้อ ๘ ท้ายสุด)

๓. โอวาทปฏิคคหณูปสัมมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ

๔. ปัญหาพยากรณูสัมมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร

๕. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมมปทา (หรืออัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี

๖. ทูเตนะ อุปสัมมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่อ อัฑฒกาสี

๗. อัฏฐวาจิกา อุปสัมมปทา การอุปสมบทด้วย มีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒ ครั้งจากสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่ การอุปสมบทของภิกษุณี

๘. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา (ข้อ ๓ เดิม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2017, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาพาธ ความเจ็บป่วย, โรค (ในภาษาไทย ใช้แก่ภิกษุสามเณร แต่ในภาษาบาลี ใช้ได้ทั่วไป)
อาพาธต่างๆมีมากมาย เรียกตามชื่ออวัยวะที่เป็นบ้าง เรียกตามอาการบ้าง บางทีแยกตามสมุฏฐานว่า

ปิตฺตสมุฏฐาน อาพาธา,

เสมฺหสมุฏฐาน อาพาธา,

วาตสมุฏฐาน อาพาธา,

สนฺนิปาติกา อาพาธา,

อุตุปริณามชา อาพาธา,

วิสมปริหารชา อาพาธา,

โอปกฺกมิกา อาพาธา,

กมฺมวิปากชา อาพาธา


สมุฏฐาน ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ


กมฺมวิปากชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่วิบากแห่งกรรม


โอปกฺกมิกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคนคือตนเองเพียรเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น


สนฺนิปาติกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม) ไข้สันนิบาต คือ ความเจ็บไข้เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน


วิสมปริหารชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี


อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอาการผันแปร


อุตุ 1. ฤดู, ดินฟ้าอากาศ, สภาพแวดล้อม, เตโชธาตุ, อุณหภูมิ, ภาวะร้อนเย็น, ไออุ่น 2. ระดู

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2017, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกอุ เลิศ, สูงสุด (ตัดมาจากคำว่า เอกอุดม)


เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา)


โอรส “ผู้เกิดแต่อก” ลูกชาย


โอภาส 1. แสงสว่าง, แสงสุกใส ผุดผ่อง (ข้อ 1 ในวิปัสสนูปกิเลส 10) 2. การพูดหรือแสดงออกที่เป็นเชิงเปิดช่องทางหรือให้โอกาส เช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำโอภาส ณ ที่ต่างๆหลายแห่ง ซึ่งถ้าพระอานนท์เข้าใจ ก็จะทูลให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอด (อายุ) กัป


โอปปาติกะ สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่น เทวดา และสัตว์นรก เป็นต้น


โอปนยิโก (พระธรรม) ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น (ข้อ ๕ ในธรรมคุณ ๖)


โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ, กิเลสผู้ใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ


โอฆะ ห้วงน้ำคือสงสาร, ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด, กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอตทัคคะ “นั่นเป็นยอด” “นี่เป็นเลิศ” บุคคลหรือสิ่งที่ยอดเยี่ยม ดีเด่น หรือเป็นเลิศ ในทางใดทางหนึ่ง เช่น ในพุทธพจน์ (องฺ.เอก.20/146/31) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ รตฺตญฺญูนํ ยทิทํ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ” (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้รัตตัญญู อัญญาโกณฺฑญฺญะนี่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม) ฯลฯ


เอตทัคคฐาน ตำแหน่งเอตทัคคะ, ตำแหน่งที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในคุณนั้นๆ

กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นอย่างหนึ่งในที่สุดสองข้าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ๑ อัตตกิลมถานุโยค ๑

อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนให้ลำบากเปล่า คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง เช่น การบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก

อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ, พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวมิใช่ตน


อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตนโดยอรรถต่างๆ เช่น

๑ เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่ของสังตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไมมีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่ กับ สิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๔ คือ

1. ทานกถา พรรณนาทาน

2. สีลกถา พรรณนาศีล

3. สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม

4.กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม

5. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม

อนุปุพพีกถา ก็ใช้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุปุพพปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยลำดับ, การปฏิบัติตามลำดับ


อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ, ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ

อนุมาน คาดคะเน, ความคาดหมาย

อนุโมทนา 1. ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ, เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่า ขอบคุณ) 2. ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึงให้พร เช่นเรียกคำให้พรของพระสงฆ์ว่า คำอนุโมทนา


อนุโยค ความพยาม, ความเพียร, ความประกอบเนือง


อนุรักษ์ รักษาและเสริมทวี, รักษาสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วและทำสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วนั้นให้งอกงามเพิ่มทวีขึ้นไปจนไพบูลย์, ในภาษาไทย


อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม และบำเพ็ญให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์


อนุรูป สมควร, เหมาะสม, พอเพียง, เป็นไปตาม


อนุโลม เป็นไปตาม, คล้อยตาม, ตามลำดับ เช่น ว่าตจกกรรมฐานไปตามลำดับอย่างนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตรงข้ามกับปฏิโลม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2017, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกเสสนัย อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว, เป็นวิธีอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกชื่ออย่างหนึ่งจะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้

ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอันเดียว ให้ผู้อื่นหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหน ข้อใด ในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น


ก) เป็นที่รู้กันดีว่าคู่พระอัครสาวกคือใคร ดังนั้น ในคำสมาสบาลี เมื่อระบุนามพระอัครสาวกองค์เดียวแต่เป็นพหูพจน์ว่า สารีปุตฺตา “พระสารีบุตรทั้งหลาย” ก็เป็นอันรวมอีกองค์หนึ่งที่ไม่ได้ระบุด้วย จึงหมายถึงพระสารีบุตรและพรุมหาโมคคัลลานะ


ข) ตามสำนวนวิธีอธิบายธรรม เช่น ในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสส หมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้

ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าพูดถึงอรูปภพ กรณีก็บังคับให้ต้องแปลความว่า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน)


ค) ในนิยมทางภาษาอย่างในบาลี คำพูดบางคำมีความหมายกว้าง หมายถึงสิ่งของหรือสภาวะสองสามอย่างที่ถือได้ว่า เป็นชุดเดียวกัน เช่น สุคติ หมายถึงโลกสวรรค์ก็ได้ โลกมนุษย์ก็ได้ (สวรรค์กับมนุษย์อยู่ในชุดที่เป็นสุคติด้วยกัน) เมื่ออย่างหนึ่งในชุดนั้น มีคำเฉพาะระบุชัดแล้ว คำที่มีความหมายกว้าง ก็ย่อมหมายถึงอีกอย่างหนึ่งในชุดนั้น ที่ยังไม่ถูกระบุ เช่น ในคำว่า “สุคติ (และ) โลกสวรรค์” สวรรค์ก็เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่า สุคติ ในกรณีนี้ จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2017, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุบาสก ชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนา, คฤหัสถ์ผู้ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ได้แก่ ตปุสสะ และภัลลิกะ ปฐมอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะ คือบิดาของพระยสะ

อุบาสกผู้เป็นอริยสาวก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ รวม ๑๐ ตำแหน่ง เช่น ตปุสสะ และภัลลิกะ สองวาณิช เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้ถึงสรณะเป็นปฐม สุทัตตะอนาถปิณฑิกคหบดี เป็นเอตทัคคะ ในบรรดาอุบาสกสาวกผู้เป็นทายก

อุบาสกที่พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องว่าเป็น “ตุลา” คือเป็นตราชู หรือเป็นอัครอุบาสก ๒ ท่าน ได้แก่ จิตตคฤหบดี และเจ้าชายหัตถกะอาฬวกะ



อุบาสิกา หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นหญิง, คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ปฐมอุบาสิกา ได้แก่ มารดา (นางสุชาดา) และภรรยาเก่าของพระยสะ

อุบาสิกาผู้เป็นอริยสาวก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ รวม ๑๐ ตำแหน่ง เช่น นางสุชาดา เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม นางวิสาขา เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาสาวิกาผู้เป็นทายิกา

อุบาสิกาที่พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องว่าเป็น “ตุลา” คือเป็นตราชู หรือเป็นแบบอย่างสำหรับอุบาสิกาทั้งหลาย เป็นอัครอุบาสิกา ๒ ท่าน ได้แก่ ขุชชุตรา และเวฬุกัณฎกีนันทมารดา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 131 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร