วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2014, 16:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การใช้ชีวิตแบบ ฆราวาส ทำให้การปฎิบัติ เนิ่นช้าออกไป เพราะมีเหตุให้เติมเชื้อไฟเข้าอยู่ทุกๆวัน
ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เมื่อยังเติมเชื้ออยู่ กองไฟก็ยังคงลุกอยู่นาน กว่าไฟจะมอดดับลง ชีวิตเราอาจจะดับสิ้นเสียก่อน


แต่บางคนก็บอกว่า อยู่แบบฆราวาสนี่ละ มีแบบฝึกหัดเยอะดี
แต่ถ้าพลาดก็พลาดยาวเลย

เราควรอยู่แบบที่ๆมีแบบฝึกหักโหดๆ ให้ดูกายดูใจแบบฆราวาส หรือ
ควรบวชแล้วดำเนินชีวิตแบบพระป่า

เพื่อความหลุดพ้น กันดีจ๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2014, 01:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


ผ้าเหลือง ก็เป็นเพียง เครื่องหมาย ...

เป็นฆราวาส หรือ นักบวช ก็สามารถปฏิบัติได้ ทำจริงก็ได้จริงๆ

** เลือกตามใจได้ แต่สิ่งที่เลือกแล้วจะตามใจไม่ได้

พิจารณาที่ใจ กิเลสอยู่ที่ใจ ธรรมก็เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2014, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เนิ่นช้า

การระวังรักษาใจเป็นไปได้ยาก กว่าการบวชเป็นพระ ที่มีข้อปฎิบัติที่สมบูรณ์กว่าครับ

การบวชจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2014, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ เป็น อกาลิโก ปฏิบัติได้ ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัด เพศ วัย สถานที่ ถ้ามีความเพียร ก็บรรลุได้ ทั้งพระสงฆ์ หรือ ฆราวาส แต่ สัปปายะ ก็จำเป็น การมีสถานที่ ที่เหมาะสม ฤษี ชี ไพร ก็ต้องอยู่ในป่า อาศรม สถานที่เหมาะ ป่าช้า สำนักสงฆ์ และการ บวสเป็นพระฯ ก็น่าจะ ได้ สัปปายะดีกว่า สิ่งแวดล้อม ปัจจัย เอื้ออำนวยกว่า..แต่ถ้าบวสมาเป็นพระสงฆ์ ปฏิบัติบ้าง ทำบ้างไม่ทำบ้าง ไม่สำรวม หรือ ความเพียร น้อย ก็เนิ่นช้ากว่า ฆราวาส ที่เขา มีความเพียรสูง เจริญสติ ได้ ทุก เวลา มี อินทรีย์ มีบารมีเก่ามาแต่อดีต.... :b12:
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2014, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่บอกความเนิ่นช้า
คือ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ

สามสิ่งนี้ มีมากน้อยเพียงใด นั่นคือความเนิ่นช้า
ที่ไม่จำกัด แก่เฉพาะ ฆราวาส หรือ นักบวช

ลด ละ เลิก ได้มากเท่าใด ความเนิ่นช้าก็ลดลงเพียงนั้นครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2014, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สิ่งที่บอกความเนิ่นช้า
คือ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ

สามสิ่งนี้ มีมากน้อยเพียงใด นั่นคือความเนิ่นช้า
ที่ไม่จำกัด แก่เฉพาะ ฆราวาส หรือ นักบวช

ลด ละ เลิก ได้มากเท่าใด ความเนิ่นช้าก็ลดลงเพียงนั้นครับ



สาธุ ครับ

แต่ฆารวาสนั้นมีสิ่งเร้าที่ง่ายให้เกิดกิเลสครับ มีคำกล่าวว่าที่ว่า

"ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด"

ที่ยกมานี่ไม่ใช่บอกให้ จขทก ไปบวชนะครับ เพียงแต่ให้พิจารณาตามความเป็นจริงว่าเพศฆารวาสนั้นต่างกับเพศบรรพชิต ว่าเพศฆารวาสนั้นเต็มไปด้วยสิ่งต่างๆที่ยั่วยุให้เกิดกิเลสมากเพียงใด การที่จะบวชหรือไม่บวชขึ้นกับอัธยาศัยของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยใหญ่ สามารถสละบ้านเรื่อน บุตร ภรรยา ทรัพย์สินเงินทองตำแหน่งต่างๆ ออกบวชเป็นบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่ขัดเกลายิ่ง มีพระวินัยมากมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความประมาท เป็นเพศที่สูงเป็นเนื้อนาบุญควรแก่การบูชา ถ้าท่านไม่ได้มีอัธยาศัยเช่นนี้ก็สามารถศึกษาพระธรรมในเพศฆารวาสได้ครับ มีอุบาสกอุบาสิการมากมายที่บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลประเภทต่างๆแม้อยู่ในเพศฆารวาสไม่ได้บวชมาก่อนครับ เช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา หรือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2014, 05:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ยากง่ายต่างกัน

โสดา..สกทาคา...ทั้งฆราวาส..ทั้งนักบวช...คงยากง่ายเท่าๆกัน
อนาคา....อย่างน้อยศีล 8 ในคน คนเดียวกัน...สถานะของฆราวาส..คงยากกว่าเมื่อเปรียบว่าหากอยู่ในสถานะนักบวช...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2014, 03:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_11506404419514.jpeg
IMG_11506404419514.jpeg [ 55.31 KiB | เปิดดู 6055 ครั้ง ]
เปลี่ยนชื่อใหม่ เขียน:
การใช้ชีวิตแบบ ฆราวาส ทำให้การปฎิบัติ เนิ่นช้าออกไป เพราะมีเหตุให้เติมเชื้อไฟเข้าอยู่ทุกๆวัน
ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เมื่อยังเติมเชื้ออยู่ กองไฟก็ยังคงลุกอยู่นาน กว่าไฟจะมอดดับลง ชีวิตเราอาจจะดับสิ้นเสียก่อน


แต่บางคนก็บอกว่า อยู่แบบฆราวาสนี่ละ มีแบบฝึกหัดเยอะดี
แต่ถ้าพลาดก็พลาดยาวเลย

เราควรอยู่แบบที่ๆมีแบบฝึกหักโหดๆ ให้ดูกายดูใจแบบฆราวาส หรือ
ควรบวชแล้วดำเนินชีวิตแบบพระป่า

เพื่อความหลุดพ้น กันดีจ๊ะ

:b12:
ช้านิดหนึ่งถ้าไม่ฉลาด (โยนิโส) บริหารจัดการเวลาชีวิต

แต่จะเห็นธรรมถึงธรรมเร็วมาก ถ้าฉลาดแยบคายและตั้งใจจริง (โยนิโส มนสิการ) เพราะอยู่คลุกคลีใกล้ชิดกับอริยสัจจะข้อที่ 1 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ

"การปฏิบัติธรรมใดที่ไม่เห็นทุกข์ นั่นไม่ใช่ทางของการปฏิบ้ติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

ในพระสูตรมีตัวอย่างของฆราวาสที่บรรลุธรรมเยอะแยะมากทีเดียว แม้ธรรมชั้นสูงสุด ดังเช่นพระเจ้าสุทโธทนะผู้บรรลุอรหันต์ภายใต้เศวตฉัตร
:b27:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 10:02 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2014, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เปลี่ยนชื่อใหม่ เขียน:
การใช้ชีวิตแบบ ฆราวาส ทำให้การปฎิบัติ เนิ่นช้าออกไป เพราะมีเหตุให้เติมเชื้อไฟเข้าอยู่ทุกๆวัน
ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เมื่อยังเติมเชื้ออยู่ กองไฟก็ยังคงลุกอยู่นาน กว่าไฟจะมอดดับลง ชีวิตเราอาจจะดับสิ้นเสียก่อน


แต่บางคนก็บอกว่า อยู่แบบฆราวาสนี่ละ มีแบบฝึกหัดเยอะดี
แต่ถ้าพลาดก็พลาดยาวเลย

เราควรอยู่แบบที่ๆมีแบบฝึกหักโหดๆ ให้ดูกายดูใจแบบฆราวาส หรือ
ควรบวชแล้วดำเนินชีวิตแบบพระป่า

เพื่อความหลุดพ้น กันดีจ๊ะ

:b12:
ช้านิดหนึ่งถ้าไม่ฉลาด (โยนิโส) บริหารจัดการเวลาชีวิต

แต่จะเห็นธรรมถึงธรรมเร็วมาก ถ้าฉลาดแยบคายและตั้งใจจริง (โยนิโส มนสิการ) เพราะอยู่คลุกคลีใกล้ชิดกับอริยสัจจะข้อที่ 1 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ

"การปฏิบัติธรรมใดที่ไม่เห็นทุกข์ นั่นไม่ใช่ทางของการปฏิบ้ติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"

ในพระสูตรมีตัวอย่างของฆราวาสที่บรรลุธรรมเยอะแยะมากทีเดียว แม้ธรรมชั้นสูงสุด ดังเช่นพระเจ้าสุทโธทนะผู้บรรลุอรหันต์ภายใต้เศวตฉัตร
:b27:


ชอบคำพูดที่ว่า
"การปฏิบัติธรรมใดที่ไม่เห็นทุกข์ นั่นไม่ใช่ทางของการปฏิบ้ติธรรมเพื่อความหลุดพ้น"
อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2014, 07:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_4802366971702.jpeg
IMG_4802366971702.jpeg [ 34.69 KiB | เปิดดู 5976 ครั้ง ]
:b12:
นางวธีราเถรีเปล่งอุทานออกมาว่า

"มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2014, 11:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:22
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติธรรมอยู่ใจ อย่างมีสติ ป่าหรือเมืิองเขามีอยู่แล้ว ศีลมีข้อเดียวคือไม่ทำชั่วทั้งปวง ผมว่าเราน่าจะรอดพอแลเห็นทางสว่างได้อยู่กระมังครับ ส่วนตัวผมชอบแบบฆาราวาสเพราะมันท้าทายดี จำเป็นที่จะปกป้องความดีหรือพระพุทธศาสนา ทำบาปธรรมบ้างก็ยอมรับกฏแห่งกรรม ส่วนบรรพชิตท่านมีศีลเยอะ จะปกป้องคนที่คอยย่ำยีพระศาสนา ท่านก็พูดไม่ได้ ส่วนท่านที่หวังผลไวก็ต้องดัดตนฝึกตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ให้มั่นคงแข็งแรงที่สุดจึงจะดี พอติดดีแล้วค่อยหาธรรมโอศถ มาทานแก้เอาอีกที่ สาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2015, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8:
ขออนุโมทนาสาธุค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2015, 06:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
เมื่อ 31 ตค.นี้มีโอกาสได้สนทนาธรรมกับฆราวาสปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง ซึ่งอดีตเคยเป็นผู้บริหารที่มีชื่อเสียงและความสามารถสูง ท่านมาเล่าให้ฟังถึงตารางปฏิบัติธรรม และการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุของท่าน ท่านทำตารางการบริหารจัดการเวลาชีวิตของท่านไว้เหมือนตารางปฏิบัติงานประจำวันสมัยรับราชการและบังคับตนให้ปฏิบัติตามตารางเวลานั้นอย่างเคร่งครัดการภาวนาของท่านรุดหน้าอย่างรวดเร็วในแง่ของสมถะหรือสมาธิ ได้ความสงบเร็วแต่ปัญญาเห็นธรรมวิเคราะห์ธรรมไม่ค่อยปรากฏ

ผมสอบถามสนทนาดูแล้วเห็นว่าท่านจริงจังเกินไปและปฏิบัติธรรมภายใต้การกำหนด สั่ง บอก ว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนเป็นการบังคับธรรมชาติให้เป็นไปตามสั่งตามต้องการ เลยบอกท่านว่าถ้าทำอย่างนี้จะได้พบแต่ธรรมปลอม ผลปลอมเสียเป็นส่วนใหญ่เพราะธรรมะหรือธรรมชาติจริงๆไม่มีโอกาสได้แสดงตัว
จึงบอกให้ท่านตั้งฐานความตั้งใจใหม่ให้อยู่บนฐานธรรมชาติจริงๆ แล้วปรับฐานความรู้เรื่องธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอนเสียใหม่ด้วยการอธิบายอริยสัจ 4 ในเชิงปฏิบัติพร้อมกับเคล็ดลับการปฏิบัติธรรมอันมีมาในบทสวดธรรมคุณ 6 ประการ รวมทั้งการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 วิธีธรรมชาติโดยเอาปัจจุบันอารมณ์เป็นกรรมฐานหรือที่ตั้งการทำงานของสติปัญญา

ท่านเข้าใจเร็วมากเพราะสติปัญญาท่านว่องไวเฉลียวฉลาดเหลือเกินสมกับเป็นนักบริหารชั้นเยี่ยมมาก่อน มีอยู่ตอนหนึ่งท่านพูดว่าสภาวะการเกิดของธรรมตามธรรมชาติอย่างที่คุณเล่ามานี้ผมเคยพบเจอในการภาวนามาหมดแต่ตอนเจอนั้นมักเป็นตอนที่เผลอปล่อยสติไปไม่ควบคุมธรรมชาติให้เป็นไปตามกำหนดที่ตั้งไว้
ทุกอย่างมันไหลไปเองตามธรรมของมันบังคับไม่ได้ ผมกลัวเฉออกนอกทางเลยรีบดึงสติปัญญากลับมาเข้าอยู่ในกรอบที่ตั้งกำหนด

ท่านได้ข้อคิดว่าต่อไปจะปรับใหม่ อย่างเช่นที่เคยกำหนดไว้ว่าจะต้องไหว้พระ นั่งสมาธิวันละสามครั้ง ๆละ 1 ชั่วโมง เดินจงกรม 3 ครั้ง ๆครั้งละ ครึ่งชั่วโมง
มาเป็นกำหนดหลวมๆ ไม่ให้ตายตัวว่าต้องนั่ง 1 ชั่วโมงครบปั๊บก็ลุกทันทีตามตั้งไว้ แต่กำหนดเป็นเพดานขั้นต่ำว่า ต้องนั่งให้ได้วันละไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เดินจงกรมให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง โดยไม่กำหนดเวลา

เวลาภาวนาก็ไม่บังคับว่าจะต้องอยู่กับลมหายใจให้ได้ตลอดชั่วโมง ปล่อยให้อารมณ์ตามธรรมชาติได้เกิดบ้างสลับกันไปเพื่อให้ได้มีโอกาสพิจารณาธรรม ถ้าฟุ้งซ่านมากจึงค่อยบังคับและกำหนด

จะพยายามทำตัวเป็นผู้สังเกตการณ์ธรรมชาติให้มากกว่าการกำหนดบังคับธรรมชาติ จะเจริญวิปัสสนาให้มากกว่าการเจริญสมาธิ ดังนี้เป็นต้น

ท่านผู้อ่านลองช่วยกันพิจารณาว่าท่านผู้นี้จะได้บรรลุธรรมทันในปัจจุบันชาตินี้บนทางแห่งฆราวาสปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องไปบวชนุ่งเหลืองห่มเหลืองได้ไหมครับ

s004
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2015, 08:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
เมื่อ 31 ตค.นี้มีโอกาสได้สนทนาธรรมกับฆราวาสปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง ซึ่งอดีตเคยเป็นผู้บริหารที่มีชื่อเสียงและความสามารถสูง ท่านมาเล่าให้ฟังถึงตารางปฏิบัติธรรม และการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุของท่าน ท่านทำตารางการบริหารจัดการเวลาชีวิตของท่านไว้เหมือนตารางปฏิบัติงานประจำวันสมัยรับราชการและบังคับตนให้ปฏิบัติตามตารางเวลานั้นอย่างเคร่งครัดการภาวนาของท่านรุดหน้าอย่างรวดเร็วในแง่ของสมถะหรือสมาธิ ได้ความสงบเร็วแต่ปัญญาเห็นธรรมวิเคราะห์ธรรมไม่ค่อยปรากฏ

ผมสอบถามสนทนาดูแล้วเห็นว่าท่านจริงจังเกินไปและปฏิบัติธรรมภายใต้การกำหนด สั่ง บอก ว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้เหมือนเป็นการบังคับธรรมชาติให้เป็นไปตามสั่งตามต้องการ เลยบอกท่านว่าถ้าทำอย่างนี้จะได้พบแต่ธรรมปลอม ผลปลอมเสียเป็นส่วนใหญ่เพราะธรรมะหรือธรรมชาติจริงๆไม่มีโอกาสได้แสดงตัว
จึงบอกให้ท่านตั้งฐานความตั้งใจใหม่ให้อยู่บนฐานธรรมชาติจริงๆ แล้วปรับฐานความรู้เรื่องธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอนเสียใหม่ด้วยการอธิบายอริยสัจ 4 ในเชิงปฏิบัติพร้อมกับเคล็ดลับการปฏิบัติธรรมอันมีมาในบทสวดธรรมคุณ 6 ประการ รวมทั้งการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 วิธีธรรมชาติโดยเอาปัจจุบันอารมณ์เป็นกรรมฐานหรือที่ตั้งการทำงานของสติปัญญา

ท่านเข้าใจเร็วมากเพราะสติปัญญาท่านว่องไวเฉลียวฉลาดเหลือเกินสมกับเป็นนักบริหารชั้นเยี่ยมมาก่อน มีอยู่ตอนหนึ่งท่านพูดว่าสภาวะการเกิดของธรรมตามธรรมชาติอย่างที่คุณเล่ามานี้ผมเคยพบเจอในการภาวนามาหมดแต่ตอนเจอนั้นมักเป็นตอนที่เผลอปล่อยสติไปไม่ควบคุมธรรมชาติให้เป็นไปตามกำหนดที่ตั้งไว้
ทุกอย่างมันไหลไปเองตามธรรมของมันบังคับไม่ได้ ผมกลัวเฉออกนอกทางเลยรีบดึงสติปัญญากลับมาเข้าอยู่ในกรอบที่ตั้งกำหนด

ท่านได้ข้อคิดว่าต่อไปจะปรับใหม่ อย่างเช่นที่เคยกำหนดไว้ว่าจะต้องไหว้พระ นั่งสมาธิวันละสามครั้ง ๆละ 1 ชั่วโมง เดินจงกรม 3 ครั้ง ๆครั้งละ ครึ่งชั่วโมง
มาเป็นกำหนดหลวมๆ ไม่ให้ตายตัวว่าต้องนั่ง 1 ชั่วโมงครบปั๊บก็ลุกทันทีตามตั้งไว้ แต่กำหนดเป็นเพดานขั้นต่ำว่า ต้องนั่งให้ได้วันละไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เดินจงกรมให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง โดยไม่กำหนดเวลา

เวลาภาวนาก็ไม่บังคับว่าจะต้องอยู่กับลมหายใจให้ได้ตลอดชั่วโมง ปล่อยให้อารมณ์ตามธรรมชาติได้เกิดบ้างสลับกันไปเพื่อให้ได้มีโอกาสพิจารณาธรรม ถ้าฟุ้งซ่านมากจึงค่อยบังคับและกำหนด

จะพยายามทำตัวเป็นผู้สังเกตการณ์ธรรมชาติให้มากกว่าการกำหนดบังคับธรรมชาติ จะเจริญวิปัสสนาให้มากกว่าการเจริญสมาธิ ดังนี้เป็นต้น

ท่านผู้อ่านลองช่วยกันพิจารณาว่าท่านผู้นี้จะได้บรรลุธรรมทันในปัจจุบันชาตินี้บนทางแห่งฆราวาสปฏิบัติธรรมโดยไม่ต้องไปบวชนุ่งเหลืองห่มเหลืองได้ไหมครับ

s004
s006


ถ้าทำเหตุไว้ถูก ผลก็ต้องเกิดสิครับ
:b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร