วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 08:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
ลุงหมานต้องรู้...ว่าผมกำลังเรียกอารมณ์ในฐานะชาวบ้าน...ไม่ใช่ในฐานะนักอภิธรรม
ไม่อย่างนั้นนะ...นักอภิธรรมได้ทะเลาะกับชาวบ้าน..ตายเลย...เพียงคำว่า..อารมณ์...นี้นะ
ไม่ต้องได้ไปไหนกันพอดี



ผมรู้ครับ...ว่าคุณเรียกผิดเพราะไม่เข้าใจสภาวะของ อารมณ์ และ อายตนะ

อารมณ์ หมายถึง. เครื่องยึดหน่วงจิต เช่น รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ความคิด, ความรู้สึก,
เป็นเครื่องหน่วงจิตและเจตสิกให้เข้าไปรู้
อุปมาเหมือนสวนดอกไม้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้แก่บุคคลทั้งหลาย และหมู่แมลง มีผึ้ง เป็นต้นให้เข้าไปเชยชม

อายตนะ หมายถึง เครื่องเชื่อม เครื่องต่อกัน มีอายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน เช่น ตากับรูป
หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น เป็นต้น จึงจะเชื่อมต่อกันได้


การศึกษาพระอภิธรรมจึงต้องมีความละเอียด ให้ความหมายที่ถูกต้องไม่ใช่แต่สักหยวนๆกันไป
จะทำให้หลักที่ถูกต้องเสียหาย นานๆไปก็จะเกิดการขาดไร้ร่องรอย ธรรมอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้า


:b9: :b9: ว่าผม..เรียกผิด....ก็เรียกผิด...จะว่าไม่เข้าใจ..ก็ไม่เข้าใจ..ครับ

แล้วลุงหมาน..เรียกซ้ำทำไมครับนี้..

...อารมณ์ หมายถึง. เครื่องยึดหน่วงจิต เช่น รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ความคิด, ความรู้สึก,
เป็นเครื่องหน่วงจิตและเจตสิกให้เข้าไปรู้


อายตนะ หมายถึง เครื่องเชื่อม เครื่องต่อกัน มีอายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน เช่น ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น เป็นต้น .....

s006 s006 s006
:b32:


ไม่ได้มาเอาชนะคะคานอะไร ในเมื่อคุยกันแล้วก็ย่อมต้องทำความเข้าใจ หาความแตกต่างของอารมณ์กับอายตนะ
ในเมื่อถ้าหากมันเหมือนกันจริง แต่ทำไมจึงเรียกชื่อไม่เหมือนกัน ทีนี้ก็ต้องมาดูอีกว่า อารมณ์มีแค่ ๖ อารมณ์ แต่อายตนะมี ๑๒ อายตนะ นี่คือความแตกต่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ เป็นธรรมชาติของจิต (จริง)
แต่ว่า จิตปรุงแต่งได้นี่ซิ งง เพราะเอาจิตไปทำหน้าที่เป็นตัวสังขารเสียฉิบ
ไหนๆ จะเป็นนักสอนก็พยายามทำความเข้าใจให้มากกว่านี้สักหน่อยจะได้ไม่อายใคร

ลุงหมาน คงจะ งง แน่ๆ
หากกอดอภิธรรมแน่นๆ จนเมามาย เห็นความแยกแยะ จิต และเจตสิก เป็นสองส่วน
นี่ๆ จะบอกให้นะลุง
สำนักอภิธรรมที่ลุงกอดอยู่น่ะ
เขาแยก ให้ศึกษา ออกเป็นสองส่วนเพื่อทำความเข้าใจให้ง่าย ถึงจิตทั้งดวง

จิตนั่นเองที่ มีสภาวะรู้ และจิตนั่นเองที่กระเพื่อม ที่ปรุงแต่ง ซึ่งสำนักอภิธรรมแยกเรียกอาการที่กระเพื่อม ที่ปรุงแต่งนั้นว่า เจตสิก จริงหรือไม่จริง ลุง

จิตนั้นนั่นล่ะ ที่ เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งรู้ ทั้งสร้าง ทั้งรับผลจากสิ่งที่มันสร้าง
ลุงจะกอดอภิธรรม ก็อย่ากอดอย่างเถรตรง อย่ากอดเหมือนกอดท่อนไม้ เด๋วจะแห้งตายคาอภิธรรม

ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
สภาวะที่จิตปรุงสมุทัย ก็ที่จิตนี้เองจริงหรือไม่จริง
ลุงหมานจะกอดอภิธรรมก็กอดแน่นๆ นะครับ
หยุดพร่ำเพร้ออภิธรรม ว่า มีเจตสิกเพียง 52 อะไรนั่น พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนหรอกครับ


สงสัยจะไม่เข้าใจเรื่องจิตเลยนะนี่ ยังจะยึดติดเอาจิตไปเป็นสังขารปรุงแต่งตัวสมุทัยอยู่อีก
งั้นจิตก็เป็นขันธ์ได้สองขันธ์ เป็นวิญญาณขันธ์ด้วย เป็นสังขารขันธ์ด้วย จะบ้าตาย



เรื่องจิต น่ะ ลุงไม่มีทางเข้าใจหรอกครับ
หากไม่รู้ว่า ขันธ์ 5 คือจิตดวงหนึ่งก็ได้
ขันธ์ 4 คือจิตดวงหนึ่งก็ได้
คงบ้าไปอีกนาน ..........^v^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องจิต น่ะ ลุงไม่มีทางเข้าใจหรอกครับ
หากไม่รู้ว่า ขันธ์ 5 คือจิตดวงหนึ่งก็ได้
ขันธ์ 4 คือจิตดวงหนึ่งก็ได้
คงบ้าไปอีกนาน ..........^v^

อ้าว..แล้วกันมาสนทนาผิดคนไปซะแล้ว
ไหง...ออกทะเลเรื่อยไปเปื่อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
เรื่องจิต น่ะ ลุงไม่มีทางเข้าใจหรอกครับ
หากไม่รู้ว่า ขันธ์ 5 คือจิตดวงหนึ่งก็ได้
ขันธ์ 4 คือจิตดวงหนึ่งก็ได้
คงบ้าไปอีกนาน ..........^v^

อ้าว..แล้วกันมาสนทนาผิดคนไปซะแล้ว
ไหง...ออกทะเลเรื่อยไปเปื่อย


5555
ลุงหมาน
จิต น่ะนะ
เป็นสังขตะธรรมก็ได้
เป็นอสังขตะธรรมก็ได้
นี่ๆ ลุงหมาน ก็ไม่มีทางเข้าใจเช่นกัน ^v^
เพราะ สำนักลุง ไม่มีสอน
มันเกินความรู้สำนักลุงทั้งนั้นครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 16:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไม่ได้มาเอาชนะคะคานอะไร ในเมื่อคุยกันแล้วก็ย่อมต้องทำความเข้าใจ หาความแตกต่างของอารมณ์กับอายตนะ
ในเมื่อถ้าหากมันเหมือนกันจริง แต่ทำไมจึงเรียกชื่อไม่เหมือนกัน ทีนี้ก็ต้องมาดูอีกว่า อารมณ์มีแค่ ๖ อารมณ์ แต่อายตนะมี ๑๒ อายตนะ นี่คือความแตกต่าง


ผมพูดถึงอายตนะภายนอก...อายตนะภายนอก มี 6 นี้ครับลุง...
ลุงหมานเล่นกลตัวเลข...ซะแล้ว
อยากชนะอะไรรึเปล่า.. :b32: :b32:

กบนอกกะลา เขียน:
ฮ่อ..ฮ่อ....อารมณ์...คือสิ่งที่มากระทบทวาร...
อารมณ์ของลุงหมาน..คือ อายตนะภายนอก...นี้เอง...

ส่วน...โกรธ...เกลียด..ชอบ...ไม่ชอบ ฯลฯ...ของลุงหมาน...เรียกว่าอะไรครับ?


ไม่ได้เอาชนะอะไรนะครับ....เมื่อคุยกันก็ทำให้มันรู้เรื่องกันหน่อย...
ลุงพูดเอง...
ลุงหมาน เขียน:

ผมรู้ครับ...ว่าคุณเรียกผิดเพราะไม่เข้าใจสภาวะของ อารมณ์ และ อายตนะ

อารมณ์ หมายถึง. เครื่องยึดหน่วงจิต เช่น รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ความคิด, ความรู้สึก,
เป็นเครื่องหน่วงจิตและเจตสิกให้เข้าไปรู้ อุปมาเหมือนสวนดอกไม้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้แก่บุคคลทั้งหลาย และหมู่แมลง มีผึ้ง เป็นต้นให้เข้าไปเชยชม

อายตนะ หมายถึง เครื่องเชื่อม เครื่องต่อกัน มีอายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน เช่น ตากับรูป
หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น เป็นต้น จึงจะเชื่อมต่อกันได้

ลุงหมานว่าผมเรียกผิด..เพราะไม่เข้าใจ
แต่ไม่บอกอะไร..แต่จงใจเอาตัวเลข..6 กับ 12 บอกว่ามันต่างกัน..ต้องมีนัยอะไรนั้นแหละจึงต่างกัน...
ทั้งๆที่รู้ว่า..ผมพูดถึงอายตนะภายนอก...

ลุงหมานเล่นกลตัวเลข...เฉยๆแค่นี้..นะ
huh huh


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 02 ม.ค. 2015, 00:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
5555
ลุงหมาน
จิต น่ะนะ
เป็นสังขตะธรรมก็ได้
เป็นอสังขตะธรรมก็ได้
นี่ๆ ลุงหมาน ก็ไม่มีทางเข้าใจเช่นกัน ^v^
เพราะ สำนักลุง ไม่มีสอน
มันเกินความรู้สำนักลุงทั้งนั้นครับ

ทิฏฐิสุดโต่ง....

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2015, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
5555
ลุงหมาน
จิต น่ะนะ
เป็นสังขตะธรรมก็ได้
เป็นอสังขตะธรรมก็ได้
นี่ๆ ลุงหมาน ก็ไม่มีทางเข้าใจเช่นกัน ^v^
เพราะ สำนักลุง ไม่มีสอน
มันเกินความรู้สำนักลุงทั้งนั้นครับ

ทิฏฐิสุดโต่ง....

เกินความรู้ลุงหมาน ไปไม่เป็นก็ว่างั้นนะลุง huh

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
5555
ลุงหมาน
จิต น่ะนะ
เป็นสังขตะธรรมก็ได้
เป็นอสังขตะธรรมก็ได้
นี่ๆ ลุงหมาน ก็ไม่มีทางเข้าใจเช่นกัน ^v^
เพราะ สำนักลุง ไม่มีสอน
มันเกินความรู้สำนักลุงทั้งนั้นครับ

ทิฏฐิสุดโต่ง....

เกินความรู้ลุงหมาน ไปไม่เป็นก็ว่างั้นนะลุง huh


ตามที่เช่นนั้นสอนอยู่ มันเป็นความรู้ของศาสดาองค์ใหม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




10151166_498854116910891_1126758689129277510_n.jpg
10151166_498854116910891_1126758689129277510_n.jpg [ 34.15 KiB | เปิดดู 3490 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
ขอบคุณครับลุง เรื่องที่ลุงหมานบอกผมทำจนแทบติดเป็นนิสัย แต่ก็มีเผลอสติอยู่บ่อยๆ แต่ในเรื่องที่ผมไม่รู้ความหมายที่ชัดเจนเหมือนคำว่านามรูปในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสัญญา


การพิจารณา นามรูปปริเฉทญาณ หรือสังขารปริเฉท ซึ่งเป็นการพิจารณาด้วยวิปัสสนาญาณ
เป็นญาณที่ ๑ เป็นญาณที่เกิดความรู้ความเข้าใจในนามรูป หรือแยกออกโดยความเข้าใจ
ว่าอะไรเป็นรูปธรรมและนามธรรม จะสัมผัสได้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ในความหมายของนามรูปในปฏิจจสมุปบาท เมื่อเข้าใจเบื้องต้นของนามรูปปริเฉทญาณ
นามรูปในปฏิจสมุปบาทก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่ทางในปฏิจจสมุปบาทนั้น
เราก็ต้องพิจารณาให้รู้เพิ่มขึ้นลึกซึ้งขึ้นไปอีกว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย อะไรเกิด อะไรดับ
สิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นเหตุเป็นผลมาจากอะไร เมื่อรู้เหตุแล้วก็มาพิจารณาผลอีกว่า
ผลนี้จะเป็นเหตุทำให้เกิดอะไรอีกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงเข้าวงจรของปฏิจจสมุปบาท

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอบคุณครับลุง เรื่องที่ลุงหมานบอกผมทำจนแทบติดเป็นนิสัย แต่ก็มีเผลอสติอยู่บ่อยๆ แต่ในเรื่องที่ผมไม่รู้ความหมายที่ชัดเจนเหมือนคำว่านามรูปในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสัญญา


มาต่อคำถาม วิญญาณฐีติ ๗
วิญญาณฐิติ หมายถึง ที่ตั้งของปฏิสนธิวิญญาณ ที่มุ่งหมายถึง กาย และ สัญญา

ซึ่ง กายในที่นี้ก็มุ่งหมายถึง การะประชุมรวมกันของรูป และ สัญญา จะมุ่งหมายถึง
ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยสัญญา ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกมีดังนี้ ครับ

[๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม
ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒

๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสรนี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓

๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพชั้นสุภกิณหะ นี้
เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้น
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 72.24 KiB | เปิดดู 3487 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ขอบคุณครับลุง เรื่องที่ลุงหมานบอกผมทำจนแทบติดเป็นนิสัย แต่ก็มีเผลอสติอยู่บ่อยๆ แต่ในเรื่องที่ผมไม่รู้ความหมายที่ชัดเจนเหมือนคำว่านามรูปในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสัญญา


ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ข้อที่ ๒)

ขออธิบายเป็นข้อๆดังนี้ ครับ
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันเช่นพวกมนุษย์ และพวกเทพ
บางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง
ในกามวาจรภูมิ ๑๑ ได้แก่ มนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ อบายภูมิ ๔ จัดเป็นจำพวกกายต่างกัน
และสัญญาคือ การปฏิสนธิสัญญาต่างกัน ท่านไม่ใช่คำว่าวิญญาณ ใช้คำว่า สัญญา บอกลักษณะ
ของการปฏิสนธิจิตแทนด้วยคำว่า สัญญา คือในวิญญาณฐิติที่ตั้งสถานที่ปฏิสนธิวิญญาณ
ในข้อนี้ ที่มีกายต่างกันสัญญาต่างกัน คือ จำพวก

เฉพาะพวกนี้เท่านั้น ที่ว่าบางจำพวกคือ บางพวกเป็นติเหตุกะ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ มีโอกาสตรัสรู้อริยสัจธรรมในปัจจุบันชาติ) บางจำพวกเป็นทุเหตุกะ

หรือทวิเหตุกะ (สองเหตุ อโลภะ อโทสะ แต่ขาดอโมหะคือไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นปทปรมะบุคคล
ไม่มีโอกาสรู้แจ้งอริยสัจธรรมในปัจจุบัน ต้องสะสมเหตุปัจจัยต่อไปในวาระอื่นๆ) นี่คือ สัญญาต่างกัน คือ ปฏิสนธิวิญญาณต่างกัน

ส่วนกายต่างกัน คือ มีรูปร่างต่างๆกัน ครับ นี่คือ มีกายต่างกัน และ สัญญาต่างกัน
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่อง
ในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง ฯ

พรหมในชั้น ปฐมฌานภูมิ ได้แก่ กายต่างกัน มีรูปร่างกายต่างกัน ท่านจึงกำหนดว่า มี กายต่างกัน
แต่มีสัญญา คือปฏิสนธิวิญญาณ หรือสัญญา ในที่นี้คือสัญญาใน ปฐมฌานภูมินั่นเองเป็นอย่างเดียวกัน

และอธิบายเพิ่ม อัฏฐกถาจารย์ท่านจัด สัตว์ในอบาย ๔ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ มีกาย
ต่างกัน มีสัญญา(อเหตุกอกุศลวิบาก)เป็นอย่างเดียวกัน แม้สัตว์เดรัจฉานก็มีกายต่างๆ กัน
มีรูปร่างต่างๆกัน สัตว์นรก ก็มีรูปร่างต่างๆกันแตมีสัญญาเหมือนกัน คือ เกิดด้วยปฏิสนธิวิญญาณประเภทเดียวกัน อเหตุกอกุศลวิบาก

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า
อาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ พรหมชั้นอาภัสสะ เกิดด้วยปฏิสนธิจิตท่เป็นสัญญา ต่างๆกัน
แตกต่างตามระดับของฌาน แต่รูปร่างกายกว้างเท่ากัน ครับ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพเหล่า
สุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ

พรหมสภกิณหา เกิดจาก สัญญาเดียวกัน คือ ปฏิสนธิประเภทเดียวกันที่เกิดจาก
กำลังของจตุฌานและมีรูปร่างที่เหมือนกัน ครับ จึงชื่อว่ามีกายเดียวกัน สัญญาเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 08:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปธรรมและนามธรรม จะสัมผัสได้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ในขณะที่เราใช้ร่างกายเคลื่อนไหว วิญญาณเคลื่อนไหว ตาเห็นรูป หูรับเสียง .... สังเกตุเห็นอารมณ์ที่แทรกเข้ามาปรุงแตงจิตผ่านทางตาทางหู ในบางอารมณ์ก็มีกระแสความรุนแรง เหมือนอย่างคนที่กำลังโกรธกำลังโมโหเต็มที่ หากเราอยู่ใกล้ๆ กระแสของความร้อนของอารมณ์ก็ออกมา เหมือนทำให้รู้สึกไม่ชอบใจในบุคคลที่กำลังเกิดอารมณ์โกรธโมโหนั้นอยู่ หากเราปล่อยวางเรื่องราวอารมณ์ของบุคคลผู้นั้นไม่ทัน เผลอสติไปติเตียนคล้องกรรมในบุุคคลผู้กำลังมีอารมณ์นั้นอยู่มันเกิดขึ้นมาเป็นการคล้องกรรมกับอารมณ์ของบุคคลผู้นััน แล้วมันก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น การที่ตาหูไปรับอารมณ์ของบุคคลผู้นั้นก็ยังดำเนินต่อไปอีก เป็นอารมณ์ที่ข้างคาใจ เรื่องของอารมณ์ของบุคคลผู้อื่นที่ข้างคาใจนี้ หากเราแค่คิดนึกถึงชื่อบุคคคลที่คล้องกรรมปรากฎเข้ามาที่ตัวเรา ก็มีกระแสของอารมณ์ไหลออกมาจากชื่อนามของบุคคลผู้นั้น หากจิตเรานิ่งดูได้ อารมณ์ที่ไหลเข้ามาก็ปรากฏเป็นภาพเป็นกระแสบางครั้งก็มีเสียงไหลออกมาให้รับรู้ในมโนวิญญาณเป็นลักษณะของธรรมารมณ์ ให้ความรู้สึกรับรู้ต่อทุกขเวทนาในขณะที่ธรรมารมณ์ของนามรูปของผู้คล้องกรรมน้้นปรากฏ เมือทุกขเวทนาปรากฏ เราก็เกิดการดิ้นร้นอยากออกจากสิ่งที่กำลังปรากฏห้อมล้อมเราอยู่ เมื่่อยังออกไม่ได้ ด้วยความอยากออกจากทุกข์ที่มีอยู่ อุปทานก็เข้ามาให้ทิฐิความคิดเห็นชักจูงให้จิตหลงไหลต่อไปอีก บางคร้งก็ชวนต่อเวรต่อกรรมกันต่อไปอีก ผมจึงเห็นว่าเรื่องของนามรูปเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก หากนามรูปของบุคคลที่เราคล้องกรรมไม่ดีเข้าปรากฏที่ใจ เรายังลบล้างอโหลิกรรมอภัยกันไม่ได้ อารมณ์เนื่องด้วยนามรูปของบุคคลผู้นั้นก็จะตามรังควาญให้จิตเราไม่เป็นสุข หรือบางครั้งเก็บบันทึกนามรูปของผู้ที่ข้องกรรมเป็นสัญญากรรม จึงเป็นเรื่องของกรรมเหมือนเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันไปแล้ว เมื่อเจอกันก็หักล้าง ทำลาย เฉือดเฉือนกัน ไม่นำสิ่งดีๆ มาใช้ให้เกิดเป็นคุณต่อตัวเองด้วยสติสัมปชัญญะของตนเองให้จิตตนนั้นใหญ่กว่าอารมณ์ควบคุมอารมณ์ การเผลอสติไม่ควบคุมอารมณ์ปล่อยจิตใจไปตามอารมณ์จึงเป็นเหมือนไม่รู้จักคุณและโทษของอารมณ์ คุณและโทษของการใช้กายวาจาใจ ยิ่งศึกษาเรื่องของนามรูป ก็ยิ่งศรัทธาพระพุทธองค์ที่เมตตาแนะนำแนวทางปฏิบัติด้วยพระธรรมคำสอนไว้ให้

เรื่องของนามรูปนี้ ผมคิดว่าคงมีรายละเอียดมากแล้วเกี่ยวเนื่องในชั้นสัญญาเรื่องของเวรกรรม การชดใช้กรรมกันต่อ แต่นามรูปของบุคคลผู้เดียวมาปรากฏให้เราได้ศีกษายังรู้สึกทนไม่ไหว แล้วนามรูปของบุคคลที่เราไปคล้องกรรมนั้นมันมากมาย จึงได้เข้าใจ การหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

ขอบครับลุงหมาน


แก้ไขล่าสุดโดย toy1 เมื่อ 02 ม.ค. 2015, 11:58, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 09:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ข้อที่ ๒)

ขออธิบายเป็นข้อๆดังนี้ ครับ
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกันเช่นพวกมนุษย์ และพวกเทพ
บางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง
ในกามวาจรภูมิ ๑๑ ได้แก่ มนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ อบายภูมิ ๔ จัดเป็นจำพวกกายต่างกัน
และสัญญาคือ การปฏิสนธิสัญญาต่างกัน ท่านไม่ใช่คำว่าวิญญาณ ใช้คำว่า สัญญา บอกลักษณะ
ของการปฏิสนธิจิตแทนด้วยคำว่า สัญญา คือในวิญญาณฐิติที่ตั้งสถานที่ปฏิสนธิวิญญาณ
ในข้อนี้ ที่มีกายต่างกันสัญญาต่างกัน คือ จำพวก


ขอถามลุงหมานต่อในเรีองของวิญญาณฐิติ มีความเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของการใช้กายวาจาใจ (กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) นิสัย สันดาน เรื่องกุศลอกุศลในขฌะที่ใข้ชีวิตอยู่นั้นเหมือนเป็นสัญญานำทางวิญญาณฐิติไปสู่ภพภูมิที่แตกต่างกัน คล้ายเรื่องบุพพกรรมนำเกิดหรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
5555
ลุงหมาน
จิต น่ะนะ
เป็นสังขตะธรรมก็ได้
เป็นอสังขตะธรรมก็ได้
นี่ๆ ลุงหมาน ก็ไม่มีทางเข้าใจเช่นกัน ^v^
เพราะ สำนักลุง ไม่มีสอน
มันเกินความรู้สำนักลุงทั้งนั้นครับ

ทิฏฐิสุดโต่ง....

เกินความรู้ลุงหมาน ไปไม่เป็นก็ว่างั้นนะลุง huh


ตามที่เช่นนั้นสอนอยู่ มันเป็นความรู้ของศาสดาองค์ใหม่

ลุงๆ
ไปได้แค่นี้สิท่า
เกินความรู้เกินความเข้าใจในสำนักลุง ก็หยุดๆ เหอะลุง
แผนภูมิทั้งหลายทั้งปวงที่ลุงอุตส่าห์ก๊อปมาน่ะ
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนหรอกนะลุง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลุงๆ
ไปได้แค่นี้สิท่า
เกินความรู้เกินความเข้าใจในสำนักลุง ก็หยุดๆ เหอะลุง
แผนภูมิทั้งหลายทั้งปวงที่ลุงอุตส่าห์ก๊อปมาน่ะ
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนหรอกนะลุง


คนมีตาแต่มองที่ต่ำก็ย่อมไม่เห็นของที่สูง สัตว์น้ำย่อมไม่เห็นทิวทัศน์ที่สวยงามบนบก
สัตว์ที่บริโภคคูถเป็นอาจิณย่อมจะไม่ปรารถนาอาหารที่มีโอชารส แม้แผนผัง ภพ ภูมิ
ที่ยกมาให้ดูก็คงจะเห็นแต่เพียงแถวล่างสุด

คงจะเสียชาติที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แต่ไม่เดินตามทางที่พระพุทธองค์
ชี้ทางไว้ให้แล้ว มัวแต่หลงกับพระศาสดายุคใหม่ จึงไม่พบแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
เพราะในพระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้จะประกอบด้วย
ศาสนวัตถุ (สิ่งก่อสร้าง), ศาสนาพิธี (พิธีกรรมต่างๆ),
ศาสนาบุคคล (นักบวช), และศาสนาธรรม (คำสอน)

แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ใช่แก่นแท้ของพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธองค์
ได้ทรงเปรียบเทียบเอาไว้ว่า เหมือนกับการที่เราไปแสวงหาประโยชน์จากต้นไม้ใหญ่
ที่มีทั้ง กิ่งและใบ สะเก็ด เปลือก กะพี้ และแก่น คือเราจะเลือกเอาอะไรจากต้นไม้ใหญ่เหล่านี้
จึงจะทำให้เราได้รับประโยชน์ โดยสิ่งเหล่านี้ก็ คือ

ความสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ จัดเป็นเพียงกิ่งและใบของศาสนา
ความสมบูรณ์ด้วยศีล จัดเป็นเพียงสะเก็ดของศาสนา
ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ จัดเป็นเพียงเปลือกของศาสนา
ความสมบูรณ์ด้วยสัมมาทิฎฐิ จัดเป็นกะพี้ของศาสนา
ความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิงจัดเป็นแก่นของศาสนาอย่างแท้จริง

จากจุดนี้เราก็สามารถมองได้ว่าสังคมใดหรือใครเข้าถึงพุทธศาสนาในระดับใด
การที่วัดวาอารามเจริญรุ่งเรืองใหญ่โตนั้นยังเป็นแค่เพียงกิ่งและใบของพุทธศาสนาเท่านั้น
การมีศีลหรือสมาธิสมบูรณ์ก็ยังไม่ใช่แก่นของพุทธศาสนา แม้การเข้าใจพุทธศาสนาถูกต้อง
ก็ยังเป็นเพียงเข้าใกล้แก่นเท่านั้น จะต้องถึงขั้นปฏิบัติจนดับทุกข์ได้ถาวร จึงจะชื่อว่า
เข้าถึงแก่นพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง

ธรรมชาติของต้นไม้ใหญ่ก็ต้องมีทั้งกิ่งและใบ, สะเก็ด, กะพี้, และแก่น จึงจะทำให้ต้นไม้นั้นดำรงอยู่ได้ หรือนำมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าต้นไม้ใดมีแต่กิ่งและใบมากเกินไปโดยไม่มีแก่น ต้นไม้นั้นก็จะหักโค่นได้โดยง่าย หรือนำเอามาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ซึ่งพุทธศาสนาก็เหมือนกัน คือจะต้องมีทั้งลาภสักการะและเสียงสรรเสริญอยู่บ้าง, มีผู้ปฏิบัติศีลอย่างถูกต้องเคร่งครัดมากมาย, มีผู้ปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจังมากมาย, มีผู้มีความเห็นถูกต้องมากมาย, และมีผู้หลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงอยู่บ้าง พุทธศาสนาจึงจะมั่นคงอยู่ได้

แต่ถ้าพุทธศาสนามีแต่ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญมากมาย หรือมีแต่สิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมาย แต่คนที่จะปฏิบัติศีลอย่างถูกต้องเคร่งครัดกลับมีน้อย แม้คนที่จะฝึกสมาธิจริงจังก็มีน้อย และคนที่จะมีความเห็นถูกต้องก็ไม่มี รวมทั้งคนที่หลุดพ้นจากความทุกข์อย่างถาวรก็ไม่มี พุทธศาสนาก็ย่อมที่จะดำรงอยู่ไม่ได้ หรือมีแต่ชื่อแต่ไม่มีแก่นแท้อยู่เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร