วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 404 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 27  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2015, 22:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จับลมหายใจนี่สะดวก..สะดวกกับการใช้ชีวิตประจำวันมากเลย
จะทำอะไร..ระลึกรู้ไปด้วยนี้มันไม่ขัดกัน
ถ้าแบบนี้คงเสียเวลาน้อยลงหน่อย
เพราะจะเอาฌาน...จะมานั่งวันละนิดละหน่อยมันจะช้า

ถ้าจะถามว่า..จะเอาไปทำอะไร..
ก็นั่นสิ..มันคงเป็นสมาธิ..เราชอบอ่ะ
เหมือนจะเคยได้ยิน
การทำความสงบให้เกิดขึ้นมันก็เป็นเหตุใกล้ไม่ใช่เหรอ..นะ..คิดว่าอีก :b9:
แต่จะให้ไปยังไง..คือก็ไม่มั่นใจเลย
มันเป็นอาการที่ไปไม่เป็นซะแล้ว

2อาทิตย์กับ2กรรมฐาน......
หลายใจ_โลเล.......คือคงเลือกหาช่องทางที่เหมาะสมมากกว่า
ก็ท้อ..ท้อมาก........เหนื่อยกับการตั้งหลัก
มันไปไม่ได้ มันไปไม่เป็น จะปรึกษาใครก็ไม่ได้
มาใจร้อนอีก...เฮ้อ!!!ดิ้นรนหาทุกข์55555

ก็คงเห็นว่าเริ่มทุกข์มากไปมั้ง..เริ่มเบื่อๆปลงๆ
เมื่อวานมันเลยปล่อยสบายๆได้สักที
งงๆเหมือนกัน..มันเป็นไปได้..
ภาวนาไป..มันก็กลับมาอยู่ในร่องในรอย..เป็นลำดับให้เห็น
:b43: เป็นไปได้ไงนิ :b43: :b10:

ก็เริ่มขึ้น1,2,แตะ3....ร่วง.............เอ้_เริ่มเห็นชัด ใช่ใหมน๊อ
เอาใหม่ เราก็ระลึกเอาองค์ธรรมมาสังเกตุ
ตอนนี้อยู่2..รู้สึกแสตนบายอยู่ตรงนี้นานหน่อย
2ก็ขึ้นไปแตะ3...ก็ร่วงเองอีก
2ก็เริ่มตั้งใจ :b32: ขึ้นแตะ3..อยู่ได้ไม่มีกี่อึดใจก็ร่วงลงอีก(มันอยากอ่ะ)
2ก็เเริ่มตั้งใจถอยลง1..คือ..ตรวจสอบหน่ะ..
ว่าคิดไปเองรึเปล่า..ซึ่งก็ไม่ขอยืนยันนะ :b12:

สรุปก็คือ...เช็คดูหลายรอบ :b12: :b9: :b9:
ขึ้นๆลงๆ1,2,3...2สแตนบายเป็นจุดยืน :b12:
3นี่...ค่อยๆเลื่อนขึ้นไปแตะได้...แต่ก็ร่วงเอง
1นี่ถอยมาแป็ปเดียวก็จะเลื่อนขึ้นเลย..ยังกลัวหลุด :b55:

แต่เล่นสนุกเลย...แหะๆ
จากต้องตั้งใจ..คือใส่ความตั้งใจไป
จนเริ่มเป็นแค่ตั้งใจเบาๆ..กำลังใจเริ่มมา..แค่นึกเบาๆก็ไป
สนุกเลย :b27: :b27:
แต่ก็คอยรู้ว่า....สนุก
:b53: :b53: :b46: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2015, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 21:52
โพสต์: 32

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็เจริญอานาปานสติอยู่ เคยปฏิบัติแล้วได้ระดับหนึ่งแล้วมันไม่ก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น ตอนหลังมารู้ตัวว่าที่มันไม่ก้าวหน้าเพราะ จิตมันยังซ่านไปในกิเลส ตัณหา คือ การทำสมาธิของผม แม้ว่ามันจะช่วยควมคุมจิตตนเองไม่ให้หลงไปตามกิเลส จิตสงบขึ้น แต่มันก็มีโอกาสที่กิเลสฟุ้งขึ้นมาได้เสมอ ผมก็เลยพยายามแยกจิตออกมา โดยฝึกให้จิตแนบกับนิมิตของสมาธิคือ ลมหายใจเข้า ออก โดยตั้งจิตที่ฐานคือปลายจมูก (ฐานของอานาปานสติ คือส่วนที่ลมหายใจเข้าออกกระทบ ซึ่งแบ่งออกเป็นเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ปลายจมูกเป็นเบื้องต้นของลมหายใจเข้า เพราะลมหายใจเข้ากระทบที่ปลายจมูกก่อน และเป็นที่สุดของลมหายใจออก เพราะลมหายใจออกจะกระทบปลายจมูกเป็นตำแหน่งสุดท้าย อก เป็นท่ามกลางของทั้งลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ส่วนท้องเป็นที่สุดของลมหายใจเข้า และเป็นเบื้องต้นของลมหายใจออก)

เมื่อจิตแนบกับลมหายใจเข้าออก มันก็จะค่อย ๆ ออกห่างจากความคิดอื่น (ซึ่งเป็นความฟุ้งซ่าน) จิตก็เริ่มเข้าสู่ปฐมฌาน ช่วงนี้ต้องค่อยระวังประคับประคองให้จิตตั่งมั่นอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เพราะมันยังเป็นช่วงรอยต่อระหว่างจิตที่แนบกับลมหายใจและจิตที่ดิ้นรนไปหาความคิดอื่น พยายามฝึกให้มั่นคง สภาวะที่จิตตั่งมั่นอยู่กับนิมิตคือ ลมหายใจหายใจเข้า ลมหายใจออกคือ วิตก เมื่อตั้งมั่นดีแล้วก็เริ่มพิจารณาลมหายใจเข้าออกว่าลมหายใจหยาบหรือละเอียด หายใจสั้น หรือยาว ภาวะที่จิตพิจารณาลมหายใจ หยาบ ละเอียด สั้น ยาว นี้ คือ วิจารณ์ พยายามฝึกพิจารณาลมหายใจไปเรื่อย ๆ เมื่อวิจารณ์เริ่มมั่นคงระดับหนึ่งอารมณ์ปิติก็จะเกิดขึ้น ก็ต้องพยายามประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ปิติบ่อย ๆ ให้ชำนาญแล้วสภาวะที่จิตเป็นสุขก็จะเกิดขึ้นมา สภาวะจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์เกิดขึ้นตามมา

ในปฐมฌานนั้น จิตยังรู้ลมหายใจเข้าออก (วิตก) รับรู้วิจารณ์ มากกว่าอารมณ์ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์ พยายามทำให้มาก ๆ เพื่อให้จิตในปฐมฌานเข้มแข็งเพื่อก้าวเดินขั้นต่อไป ลองพิจารณาดูครับ อะไรที่ใช้ได้ก็ลองทำตามดู ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องหาวิธีการใหม่

ขอให้มีความเจริญ มีความก้าวหน้าในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2015, 15:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ..คุณบ้านสวนสุขใจ.. :b8:
สำหรับคำแนะนำที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ

จะพยายามค่ะ :b39: :b39:

:b46: :b53: :b46:

แต่ขอถามความเห็น..ใครก็ได้..
ถ้าเจริญสมถะเป็นหลัก..วิปัสสนาจะเกิดในลักษณะประมาณไหนคะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2015, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ย. 2013, 06:03
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น

ในสภาวธรรมที่เรียกว่า ......สมถะ...... จะมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป
ของสภาวธรรมต่าง ๆ

เมื่อมีการพิจารณา การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ของสภาวธรรมนั้น
เรียกว่า ......วิปัสสนา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2015, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 21:52
โพสต์: 32

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
...
แต่ขอถามความเห็น..ใครก็ได้..
ถ้าเจริญสมถะเป็นหลัก..วิปัสสนาจะเกิดในลักษณะประมาณไหนคะ

ขอตอบตามความเข้าใจนะครับ อาจจะถูกหรือผิดก็ไม่รู้เพราะเป็นความคิดเห็น
นานมาแล้วนะครับ ผมเคยได้ยินครูบาอาจารย์บอกว่า ทำแค่ฌาน 4 ก็พอแล้วค่อยเจริญวิปัสสนา (ชักจะลืม ๆ เหมือนกันถ้าอย่างไรรบกวนผู้รู้ท่านอื่นช่วยแก้ไขเติมเต็มได้จะขอบคุณมากครับ)

และมีข้อความในสติปัฏฐานสูตรที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนว่า
...
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
...

ตามที่ผมเข้าใจนะครับ (เป็นความเข้าใจที่เกิดจากความคิดนะครับ เพราะผมเองก็ยังไปไม่ถึง) การที่เราเจริญสมถกัมมัฏฐาน ได้ฌานระดับต่าง ๆ จิตของเราจะมีความละเอียดปราณีตขึ้นตามลำดับ และกิเลสตัณหาก็จะเบาบางลดลงตามลำดับเช่นกัน เมื่อเราทำจนถึงฌาน 4 จิตน่าจะละเอียดจนถึงขั้นแยกจากกายได้ ระดับนั้น น่าจะเป็นระดับที่เห็นกายในกายภายใน เห็นความเกิดในกาย เห็นความเสื่อมในกาย... และน่าจะเป็นจุดที่เราพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วพยายามปล่อยวางครับ
ส่วนการเจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา ผมก็ลองทำอยู่บ้าง แต่ยังไม่มี idea อะไรเลยครับ
เป็นกำลังใจให้พยายามกันต่อไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2015, 12:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น

ในสภาวธรรมที่เรียกว่า ......สมถะ...... จะมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป
ของสภาวธรรมต่าง ๆ

เมื่อมีการพิจารณา การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ของสภาวธรรมนั้น
เรียกว่า ......วิปัสสนา......



:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณมากๆค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2015, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:


แต่ขอถามความเห็น..ใครก็ได้..
ถ้าเจริญสมถะเป็นหลัก..วิปัสสนาจะเกิดในลักษณะประมาณไหนคะ
:b8:





เวลาที่สงสัยข้อธรรมใด

การหาข้อมูล ให้เขียนสิ่งที่สงสัย
โดยเขียนคำเรียกนั้นๆ และต่อด้วย พระไตรปิฎก


ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำเรียก "สมถะ" "วิปัสสนา"
ตามพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้



ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้

ย่อมเจริญวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น

เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่
มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



อรรถกถาจารย์
[๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก

ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ




วิปัสสนา ด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ









[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ


วิปัสสนา ด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ








อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ


ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ




http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 564&Z=7861




หมายเหตุ;




สมถะ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน "เป็นสมาธิ"







วิปัสสนา

ผัสสะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ และไม่เป็นสมาธิ
ขณะทำความเพียร และในการดำเนินชีวิต
การคิดพิจรณาสิ่งที่ปรากฏ จะคิดพิจรณายังไงก็ได้
แต่การคิดพิจรณานั้นๆ น้อมลงสู่ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2015, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ-วิปัสสนา ก็ว่าคุ้นๆอยู่นะ



walaiporn เขียน:
idea เขียน:

ตอนนั้นสนใจแต่รักษาตัวเอง :b9: เมื่อผลตรวจออกมายังไม่มีเวลาจำกัดอายุของชีวิต..
เรื่องปฏิบัติธรรม..พักไว้ก่อน :b12:





คำเรียก ที่นิยมใช้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

โดยส่วนมาก มักเข้าใจว่า ปฏิบัติธรรม หมายถึง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ
คำเรียกนี้ จะเรียกแบบไหนก็ได้ ตามความเข้าใจ ความรู้ของแต่ละคน

เมื่อให้ความหมาย แบบนี้แล้ว
เกี่ยวกับการทำความเพียร จึงอาจดูเป็นไปได้ ค่อนข้างลำบากใจ สำหรับคนบางคน


ควรศึกษาพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เกี่ยวกับเรื่อง การปฏิบัติ สมควรแก่ธรรม

อาจจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า
การทำความเพียรนั้น ไม่ได้ครอบคุลมไว้แค่เพียง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ

รวมทั้งเเรื่องเกี่ยวกับคำเรียก สมถะ-วิปัสสนา
ควรศึกษาพระธรรมคำสอน ที่มีปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในพระไตรปิฎก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2015, 23:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณคุณบ้านสวนสุขใจ

ขอบคุณพี่วลัยพร
จะลองทำตามคำแนะให้ได้สักที..จะพยายามเพิ่มอีก
เกี่ยวกับพระสูตร
ทำไมมันยากที่จะทำความเข้าใจหรือเข้าหาไม่รู้
หนูคิดว่าไม่ใช่เพียงเพราะคำยากๆ
แต่มันยากที่จะทำใจเข้าหา
ไม่ใช่ว่าไม่..ศรัทธา..
แต่มันบอกไม่ถูกค่ะ

ขอบคุณในคำแนะนำอีกครั้งค่ะ


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2015, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณคุณบ้านสวนสุขใจ

ขอบคุณพี่วลัยพร
จะลองทำตามคำแนะให้ได้สักที..จะพยายามเพิ่มอีก
เกี่ยวกับพระสูตร
ทำไมมันยากที่จะทำความเข้าใจหรือเข้าหาไม่รู้
หนูคิดว่าไม่ใช่เพียงเพราะคำยากๆ
แต่มันยากที่จะทำใจเข้าหา
ไม่ใช่ว่าไม่..ศรัทธา..
แต่มันบอกไม่ถูกค่ะ


ขอบคุณในคำแนะนำอีกครั้งค่ะ


:b8:

คุนน้องก็เป็นนะ..คือเป็นคนที่ขี้เกียจศึกษาพระสูตร
พูดตรงๆเลย คุนน้องขี้เกียจ :b32: แต่ถ้ามีใครก๊อปมาให้อ่าน ก็อ่านเข้าใจและรู้ตามไม่ยาก..จิตคุนน้องไม่สร้างความเคยชิน คือไม่พยายามเสพ ความคุ้นเคย ไม่ศึกษา สุตตะ(ความรู้จากการอ่าน การฟัง) ทำให้คุนน้องโง่ในเรื่อง บัญญัติศัพท์ทางธรรมที่อธิบายหรือสื่อให้เข้าใจปรมัตถ์ แต่จิตคุนน้องเคยชินการโยนิโสมนสิการ คุนน้องถึงสามารถอธิบายธรรมเป็นภาษาธรรมดาๆได้...
แต่คุนน้องไม่เข้าใจว่า โมกธรรม คือ ต้องเปิดดิกแล้วต้อง อ้อ!! หรือ คุนน้องไม่เข้าใจคำว่า วิมุติ พอเปิดดิกแปล ก็อุทานอ้อ!! อะไรประมาณนั้น..คล้ายๆเรารู้ว่าเกลือคืออะไร มีรสเค็ม แต่เราบอกชื่อไม่ได้นึกไม่ออกว่า มันเรียกว่า เกลือ 555 :b32:
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งนั้นไม่เป็นปัญหากับคุนน้อง
เพราะต่อให้คุนน้องลืม บัญญัติเหล่านั่น ไปเกิดชาติหน้า...ความรู้ทางพื้นฐานปฏิบัติที่คุนน้องฝึกมา มันก็สั่งสมอยู่ในจิตไมหายไปไหน และเมื่อจิตชอบที่จะโยนิโส
จิตมันก็จะโน้มไปในความเคยชินนั้น คุนไอเดียก็น่าจะเป็นเพราะ จิตไม่คุ้นเคยเช่นกัน พอจะบังคับให้มาอ่านพระสูตร มันก็ทำใจยาก จิตมันชอบนั่งสมาธิ จิตมันคุ้น มันเคยเสพแบบนั้น ก็เลยน้อมไปในความเคยชินสิ่งนั้น :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2015, 18:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 21:52
โพสต์: 32

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เล่าสู่กันฟัง : ท่านั่งสมาธิ
เวลาเราไปปฏิบัติธรรม ครูบาอาจารย์ท่านก็จะสอนให้เรานั่งสมาธิโดยใช้เท้าขวาทับเท้าซ้าย แต่ว่าหลาย ๆ คนอาจนั่งไม่ได้ บางคนนั่งได้สักพักก็เริ่มปวดเมื่อย บางคนนั่งไปสักพักก็เกิดอาการเหน็บชา บางคนนั่งไปสักพักตัวเริ่มงอ เริ่มโค้งลงแล้วก็เริ่มเข้าสู่ภวังค์.(.. หลับ) คนที่นั่งไม่ได้จริง ๆ ท่านก็ให้นั่งบนเก้าอี้บ้าง หรือบางคนก็ค่อย ๆ แอบเอาเท้าขวาลงมาแล้วนั่งขัดสามธิแบบธรรมดา (ก็มันนั่งไม่ไหวแล้ว) ผมเก็เลยมีข้อสังเกตเล็ก ๆ น้อย ๆมาเล่าสู่กันฟัง...

ที่จริงท่านั่งสมาธิแบบเท้าขวาทับเท้าซ้ายช่วยให้จิตเป็นสมาธิ ได้เร็ว เพราะเรามีการบังคับร่างกายพอให้ไม่เป็นที่ลำบากกาย ทำให้มีสติรู้ตัวดี แต่การนั่งต้องเป็นธรรมชาติ นั่งได้สบาย ๆ ไม่ฝืนตนเอง เพราะถ้าเรานั่งแล้วฝืนตนเองบังคับตนเองมากไป (เพื่อที่จะนั่งให้ได้) กล้ามเนื้อก็จะเกร็ง และเราก็จะพยายามบังคับมัน จึงทำให้เวลาทำสมาธิ จิตไม่ได้ตั้้งที่ฐาน แต่จิตจะไปสนใจอาการของร่างกายแทน นอกจากนี้การบังคับตนเองอย่างนี้ทำให้เมื่อยล้าง่าย ดังนั้นนั่งไปได้สักพักก็จะปวดเมื่อยมากขึ้น ๆ แล้วก็ต้องท่องปวดหนอ ปวดหนอ ผมว่าถ้าเรานั่งแล้วมันทรมานตนเองอย่างนี้สมาธิคงเกิดยากแน่ ๆ

ผมเคยสังเกตตนเองเวลาที่จิตเริ่มเป็นสมาธิ ร่างกายเราจะผ่อนคลายลง เรียกว่าเริ่มเบาตัว กล้ามเนื้อผ่อนคลาย สบาย ๆ และทรงอยู่ในสมาธิได้นาน ๆ ก็เลยมีข้อสรุป (จากตนเอง) หลายประการเผื่อท่านจะสองเอาไปสังเกตตัวเองดู

ถ้านั่งสมาธิ (เท้าขวาทับเท้าซ้าย) ไม่ได้ก็ลองเปลี่ยนมานั่งขัดสมาธิแบบธรรมดา แล้วพยายามบังคับตัวเองให้นั่งตัวตรง พยายามผ่อนคลายร่างกายให้มากที่สุด (ปกติการนั่งขัดสมาธิธรรมดา มันจะสบายมากเกินไป ทำให้เกิดอาการเกียจคร้าน และทำให้ง่วงได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องบังคับตนเองให้นั่งตัวตรงเข้าไว้)

ถ้ารู้สึกตัวเองว่าร่างกายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ให้ผ่อนคลายร่างกายไม่ให้มีอาการเกร็ง

การนั่งตัวงอทำให้การเคลื่อนผ่านของลมหายใจไม่สะดวก บางครั้งก็เกิดอาการอึดอัด ดังนั้นเมื่อรู้ตัวก็ต้องพยายามยืดตัวให้ตรง บังคับให้นั่งตัวตรง

เวลานั่งสมาธิแล้วจิตไม่ตั้งมั่นที่ฐานที่กำหนด (คือจิตยังซ่านอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน ยังซ่านอยู่ในความคิด) กายก็ไม่สงบ แล้วนั่งไปนาน ๆ ก็จะรู้สึกปวดเมื่อย เหน็บชา จิตไม่สงบ กายก็ไม่สงบ

ถ้าจิตเริ่มตั้งมั่นที่ฐานที่กำหนด กายก็เริ่มผ่อนคลาย อาการปวดเมื่อยตามร่ายกายก็ไม่ปรากฎ

แถมอีกนิด บางครั้งเมื่อเริ่มต้นนั่งขัดสมาธิแบบธรรมดา แต่เมื่อร่างกายมันพร้อมจะนั่งแบบเท้าขวาทับเท้าซ้ายมันก็อยากนั่งขึ้นมาเอง แล้วพอเรานั่ง มันก็นั่งได้เสียด้วย ไม่ต้องบังคับตัวเองมากเลย

มาเล่าสู่กันฟังเป็นประสบการณ์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2015, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
..ยินดี..
สำหรับความคิดเห็นของคุนน้องกะคุณบ้านสวนค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2015, 17:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..มาต่อกัน.. :b3: ..พักยกเรื่องอยากทำสมาธิไว้ก่อน.. :b14: :b9: :b9:
พอดีแถวบ้านมีคอรสปฏิบัติอีก..คราวนี้11วันแล้วกัน..ปกติ5-6วัน
ถือว่ารอบนี้นานสุดที่มีโอกาสเข้าร่วม
จากกระทู้นี้ที่นำมาจากประสบการณ์..คอร์สวันพ่อปีที่แล้ว
..ปีนี้เวียนมาบรรจบอีกวาระ..
:b16: :b16:

เริ่มวันที่28/11........29,30,1,2...........แม้อยู่บ้านจะขี้เกียจ
แต่พอเริ่มปฏิบัติก็ทำได้เลยไม่ยุ่งยาก
การปฏิบัติไปได้เรื่อยๆ...เดินเบา...มันมีความสงบ...สงบมาก
ปกติจะซนๆ...ยกหนอ...แล้วจิตก็จะวิ่งไปทั่วกายรับรู้เป็นจุดๆ
ก่อนจะกลับมาที่เท้ามันวิ่งไปรับรู้ไปทั่ว..อันนี้มันก็สนุกเพลินๆ
..มันจะชัดด้านว่าจิตจะรู้อารมณ์ทีละขณะ :b31:
แต่มารอบนี้มันสงบไปเรื่อย..ยิ่งเดินยิ่งสงบ

สงบจนจิตคลายออกเป็นพักๆ..หยุดในลักษณะที่หัวมันก้มน้อมลงไปเล็กน้อย
ก่อนคืนรู้กลับมาชัดขึ้น..รู้สึกเอาเองว่า
จิตมันคอยแต่จะน้อมคลายออกอยู่เรื่อย
แต่มันมองไปค่อยเห็นชัดระหว่างรอยต่อ
ตรงนี้จะคอยสังเกตุ{ :b12: :b9: }....จนมีช่วงที่เห็นเป็น....
แสงสว่างมาคั่นเป็นรอยต่อ....พอคืนรู้กลับมาจะมีแสงสว่างนำว๊าบขึ้นมา.....
แต่ก็ยังไม่ทุกครั้ง
แต่เรื่องจิตมันจะคลายนี่..มันอยู่เรื่อยๆ..
ทั้งเวลานั่งก็ด้วย..มันก็คล้ายสัปหงกแหละ..
แต่คงมีสติดีขึ้นบ้าง..การรับรู้มันเลยแบบเบาๆไม่หนัก
จริงๆมันอยู่ตรงใจนู้นอาการวูบ
แต่กายมันเป็นของหนัก...การเข้าไปรับรู้มันยังไม่ละเอียดพอ...ไม่ทันกัน
แต่อาการเช่นนี้ก็ทำให้จิตมันร่าเริง..รู้สึกสว่างดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2015, 18:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b39:
ผ่านไป5วันแล้ว.....สภาวะก็เป็นแบบที่เล่า..
หลักๆสงบและเจอความดับแบบวูบๆหายๆคอยแทรกตลอด
แม้ขณะระหว่างเดินอยู่..มันก็วูบและหยุดไป
:b46: ระหว่างนั้นรู้ตอนมันวูบ..ปะติดปะต่อไม่ค่อยได้..
เหมือนความรู้สึกมันยังต่อเนื่องกันหรือรู้สึกเหมือนว่าหายขาดช่วงไปกันแน่
:b47: บางทีก็วูบไปนิ่งสว่างค้างอยู่ชั่วครู่..ก็กำหนดต่อ
:b53: บางทีก็ไม่รู้ตัวไปเลย รู้อีกทีสว่างจ้าขึ้นมาถึงรู้ว่ามีการหยุดไปชั่วครู่

ตามนิสัย :b12: :b9: เริ่มเข้าใจตัวเองในคำที่ชอบว่า..สงสัย..
คือเพราะเราจะชอบจับสังเกตุในแต่ละสภาวะ..มันจะคอยศึกษาละเอียด..
บางทีใจร้อนก็เลยจะมีคำถาม..
..หรือบางทีได้รู้แบบนี้แล้วก็อยากจะรู้แบบอื่น..
:b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2015, 18:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b40: :b44:
ผ่านมาเข้าปฏิบัติได้ร่วม6วัน
ช่วงพักกินข้าวกลางวันก็มีอาการวูบบ่อยขึ้นเหมือนมีแรงกระตุกอยู่ภายใน
..และ..วันนี้สวดมนต์ทำวัตรเย็นแทบไม่ได้
ทั้งกายทั้งใจมันคอยจะวูบไปพร้อมกันถี่ขึ้น
ยิ่งสวดเสร็จฟังธรรมอีกสัก15นาที..ยิ่งเอาใหญ่เลย..
:b43: :b54: :b43:
เริ่มทำบัลลังแรก
ตอนนั่งคิดว่าจิตเข้าฌาน4...อันนี้แค่คิดว่าใช่
จริงๆก็ไม่ได้เอาความสงสัยติดไป
เพราะมีคุยๆอยู่เรื่องนี้..แต่มันก็มาเป็นสภาวะให้เห็น
แสงสว่างมากมาย..สงบ..นิ่ง..ไม่มีคำกำหนดแต่แค่รู้อยู่
ความรู้สึกในร่างกายหายไปหมด
ก็ดูอยู่สักพักหนึ่งก็จะออก จะคิดถึงคำกำหนดก็ไม่เอา
คิดว่าออกยังไงไม่มีกายให้รู้สึกขยับได้
เลยระลึกถึงลมหายใจ..จึงรู้กลับมาตรงที่ท้องพอง-ยุบ..
และคืนกลับมากำหนดตามปกติต่อ
:b53: :b53: :b53:
:b55: :b55:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 404 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 27  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร