วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2018, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-5608.jpg
Image-5608.jpg [ 69.24 KiB | เปิดดู 4994 ครั้ง ]
4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2018, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-7085.jpg
Image-7085.jpg [ 160.89 KiB | เปิดดู 4947 ครั้ง ]
.................

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2021, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


< ประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรม >
อาจารย์​เทพ​ฤทธิ์​ สาธิตการมณี

ประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรมมีมากมาย แต่พอสรุปที่สำคัญๆได้โดยสังเขปดังต่อไปนี้

๑. การศึกษาพระอภิธรรมทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าการศึกษาพระอภิธรรมจึงเป็นการเข้าถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง เพราะหากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มาตรัสรู้แล้ว แม้คำว่าพระอภิธรรมก็จะไม่มีใครเคยได้ยินเลย และในพระไตรปิฎกนี้ พระอภิธรรม​เปรียบเสมือนแก่นของต้นไม้ พระสูตรเปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ส่วนพระวินัยเปรียบเหมือนกระพี้หุ้มต้นไม้ แม้ทั้ง ๓ ส่วนจะช่วยกันรักษาต้นไม้ให้ดำรงอยู่ได้ เหมือนพระไตรปิฎกจะช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ได้ แต่พระอภิธรรมก็มีความสำคัญลึกซึ้ง และมีความสำคัญกว่าเพราะมีมากถึง ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนั้น การได้มีโอกาสศึกษาพระอภิธรรมจึงเป็นการสร้างและเพิ่มพูนปัญญาได้เป็นอย่างมาก

๒. การศึกษาพระอภิธรรมทำให้เราเข้าใจการทำงานของร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่อยู่ในตัวเราและของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้รู้และเข้าใจการทำงานร่วมกันของร่างกายและจิตใจ ว่ากายก็อาศัยเนื่องกับใจ แต่ใจก็ต้องอาศัยเกิดอยู่ในร่างกายนี้ เมื่อศึกษาแล้วจะทำให้เรารู้ถึงกระบวนการทำงานของจิตขณะยังไม่รับอารมณ์ใหม่ที่เรียกว่า "ภวังคจิต" และเข้าใจการทำงานเพื่อรับอารมณ์ใหม่ของจิตที่เรียกว่า "วิถีจิต" ได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานของจิตแต่ละดวงในวิถีจิต ว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไรและรู้ได้ว่าวิถีจิตนี้แหละ มีการทำกรรมตรงชวนะในวิถี ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์​แล้ว เจตนากรรมตรงชวนจิตนี้แหละจะส่งผลให้เกิดวิบากคือผลของกรรม ให้ได้รับในอนาคตอย่างแน่นอน ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ตราบเท่าที่ยังไม่เข้าสู่การปรินิพพาน

๓. เมื่อเราเข้าใจการทำงานของเจตนากรรมแล้วแม้เราจะรู้ว่าเราบังคับบัญชาจิตให้ทำแต่ความดีและไม่ให้ทำความชั่วไม่ได้ เพราะจิตก็เป็นอนัตตา แต่เราก็สามารถอบรมจิตให้ทำความชั่วให้น้อยลงได้ และอบรมให้ทำความดีให้เพิ่มขึ้นได้จากความเข้าใจในการเรียนแล้วนำมาพิจารณา​ให้เกิดโยนิโสมนสิการบ่อยๆยิ่งฝึกมามาก กิเลสก็น้อยลงมาก กุศลก็เกิดเพิ่มขึ้นมาก

๔. ทำให้เรารู้ว่า แม้เราจะควบคุมอกุศล​วิบากที่จะเกิดกับเราไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะอกุศลกรรมที่เราทำไว้ในอดีต เมื่อปัจจัยถึงพร้อมแล้ว ย่อมส่งผลเป็นอกุศลวิบาก ให้เราต้องได้รับอย่างแน่นอน แต่การศึกษาพระอภิธรรมนี้จะทำให้เราสามารถทำกุศลต่างๆใหม่ๆให้เกิดขึ้นเป็นอาจิณกรรม ซึ่งกุศลนี้แหละมีอำนาจในการลดทอนผลของอกุศลวิบากให้เบาบางลงจนอาจให้ผลได้ไม่ทันก็ได้ ซึ่งผู้ที่ไม่เคยศึกษาพระอภิธรรมไม่สามารถรู้ถึงกระบวนการทำงานของการจิตได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการศึกษาพระอภิธรรมทำให้เรารู้ว่าเมื่ออกุศล​วิบากกำลังให้ผล ก็เป็นผลกรรมของเราที่ทำไว้เองในอดีต การรับเอาอกุศลวิบากเท่ากับเรากำลังใช้หนี้กรรมเก่า ซึ่งหนี้ใช้แล้วย่อมหมดไป เราก็จะยอมรับในอกุศลวิบากของเรานี้ ทำให้เราไม่ต้องทุกข์​ร้อนกับอกุศลวิบากหรือจะทุกข์ก็มีแต่น้อยเพราะเราเกิดปัญญาเข้าใจการทำงานของกรรม ว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ต้องรับ แต่เมื่อรับเอาอกุศลวิบากแล้วเราไม่เกิดทุกข์​ได้ แต่ผู้ที่ไม่ศึกษาเรื่องของกรรมนี้มักจะไม่ยอมรับเอาอกุศลวิบาก เมื่อรับแล้วก็มีแต่เกิดความทุกข์ คร่ำครวญตีโพยตีพายว่าเราไม่เคยทำความชั่วเลย แล้วทำไมเรื่องร้ายๆเช่นนี้ต้องมาเกิดกับเราด้วย แต่ความจริงแม้ชาตินี้ไม่เคยทำ แต่อดีตชาติต้องเคยทำไว้อย่างแน่นอน มีคำกล่าวไว้ว่า "เมื่อเราทำกรรม แม้เราลืมกรรมไปแล้ว แต่กรรมไม่เคยลืมเรา"

๕. เมื่อเราศึกษาเรื่องอภิธรรมแล้ว จะทำให้เราเข้าใจในเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างสนิทใจว่าตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลส เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใจต่อไปอีกอย่างแน่นอน และการเรียนพระอภิธรรมทำให้เราสามารถเลือกเกิดในภพที่มีความสะดวกในการเจริญกุศลให้มากๆเพื่อมรรคผลนิพพานได้อีกด้วย

๖. การศึกษาพระอภิธรรม ทำให้เราเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ได้โดยสนิทใจ คนส่วนมากมักกล่าวกันว่า สวรรค์อยู่ในอกนรกอยู่ในใจ คือขณะใจมีความสุขก็เหมือนสวรรค์ แต่ขณะที่ใจมีความทุกข์ก็เหมือนกำลังตกนรก นั่นเป็นเพียงโวหาร และทำให้คนไม่เชื่อเรื่องสวรรค์และนรกว่ามีอยู่จริง ในพระสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงอดีตชาติของพระองค์ว่าเคยเกิดทั้งในนรก เกิดเป็นเปรต สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และรูปพรหม ในขณะที่ยังเวียนว่ายสร้างบารมีเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งคำกล่าวของพระพุทธองค์เป็นสัจธรรม ความจริงอย่างแน่นอน หลายท่านเมื่อไม่เชื่อเรื่องนรกจึงกล้าทำความชั่วอย่างมากมาย แต่เมื่อตาย แล้ว ไปเกิดในนรก ก็จะมีความคิดว่า ถ้ารู้อย่างนี้เราจะไม่ทำความชั่วเช่นนั้นอย่างเด็ดขาด แต่ก็สายไปแล้ว แม้พวกเราก็เคยเวียนว่ายในภพน้อยภพใหญ่เมื่อเกือบทุกภพแล้ว (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๔)​ และส่วนใหญ่ มักจะเกิดในอบายภูมิ ๔ เป็นส่วนมาก ดังนั้นการเรียนพระอภิธรรมแล้วนำมาใช้ประพฤติปฏิบัติให้เกิดสติ และหิริโอตัปปะ ก็จะเป็นการป้องกันอบายภูมิได้เป็นอย่างดี

๗. พระอภิธรรมแสดงสภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม คือ มีเพียงสภาพของรูปและนามเท่านั้น แต่ก็มีการแสดงถึงบัญญัติธรรมที่เป็นสมมติสัจจะด้วย เพื่อให้เกิดภาษาที่ใช้สื่อสารปรมัตถสัจจะนั้น ให้เกิดความเข้าใจ และยังปฏิเสธความเป็นสัตว์บุคคลตัวตนว่า ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงสภาพของรูปธรรมและนามธรรมที่เรียกว่าขันธ์​๕​ ที่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมเท่านั้น และธรรมทั้งหลายก็ล้วนบังคับ​บัญชา​ให้เป็น​ไป​ตาม​ความต้องการ​ของ​เราไม่ได้ แต่ต้องเป็​น​ไปตามอำนาจของเหตุ​ปัจจัย​ต่างๆ ที่มาประชุมกัน ถ้าปัจจัย​ไม่พร้อม​ ธรรมนั้นก็ไม่เกิด ถ้าปัจจัย​พร้อม​ ธรรมนั้นก็เกิด หมดเหตุปัจจัย​​ ธรรมนั้นก็ดับ ดั่งที่พระอัสสชิแสดงแก่ท่านอุปติสสะ หรือพระสารีบุตรว่า "ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งความเกิด และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปกติกล่าวเช่นนี้" เท่ากับพระอภิธรรมปฏิเสธเรื่อง พระเจ้าผู้สร้างโลกว่าไม่มีอยู่จริง

๘. การศึกษาพระอภิธรรม​ ทำให้เข้าใจเรื่องของรูป-นาม สามัญ​ลักษณะ และวิเสสลักษณะของรูปนามนั้นๆ อันจะนำมาเป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนา เพื่อความพ้นจากวัฏฏทุกข์​ได้เป็นอย่างดี เมื่อปฏิบัติจนปัญญาเข้าไปรู้แจ้งแทงตลอดในสภาวะของรูปนาม ตามกิจในอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะกิเลส หลุดพ้นจากตัณหาทั้งปวง ไม่มีการสืบต่อแห่งรูปนามขันธ์ ๕ ในอนาคตชาติอีกโดยเด็ดขาด

๙. การศึกษาพระอภิธรรมทำให้เราเกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิ และคลายความเห็นผิดต่างๆ ทั้งที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฐิ มงคลตื่นข่าว และสีลัพพตปรามาส คือการยึดถือข้อปฏิบัติผิด ที่ไม่อยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าปฏิบัติแล้วเข้าถึงมรรค ผล นิพพานได้ ดังนั้นการศึกษาพระอภิธรรมจึงเปรียบเสมือนการศึกษาแผนที่ เพื่อให้รู้เส้นทางที่ถูกต้องของการเดินทางเมื่อเข้าใจเส้นทางอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสจะหลงทางก็ไม่มี การศึกษาพระอภิธรรมก็เช่นกัน เป็นการศึกษาอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง ดังนั้นเมื่อลงมือปฏิบัติจริงก็จะไม่ปฏิบัติผิดแล้วอย่างแน่นอน แต่ก็ต้องระวังผู้ที่ดัดแปลงวิธีปฏิบัติด้วย เพราะมีบางสำนักดัดแปลงเพิ่มเติมวิธีปฏิบัติให้ผิดเพี้ยนจากเดิมโดยอ้างว่าทำเช่นนั้นแล้วจะทำให้ปฏิบัติได้ง่าย ขึ้นซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงบุคคลนั้นก็คงจะเก่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะวิธีการทั้งง่ายและยากสำหรับผู้มีปัญญาน้อยและมากพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้หมดแล้ว ดังนั้นผู้ที่เข้าใจพระอภิธรรมเป็นอย่างดี เขาจะเกิดปัญญาวิเคราะห์ได้ว่าคำสอนใดถูกเหตุผล คำสอนใดไม่ถูกเหตุผล ก็จะได้ไม่หลงกับคำสอนผิดๆนั้น

๑๐. การศึกษาพระอภิธรรมเป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใดๆในโลกที่ศึกษาแล้วเกิดปัญญารู้แจ้งโลกอย่างถ้วนเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม การศึกษาพระอภิธรรมจึงเท่ากับเป็นการช่วยกันรักษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษากันต่อไป เท่ากับเป็นการช่วยสืบ ต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงถาวรในโลกมนุษย์ให้นานตราบเท่าที่เหตุ​ปัจจัยจะเป็นไปได้

๑๑. การศึกษาพระอภิธรรมทำให้เข้าใจในเหตุและผลของธรรมทั้งหลายได้อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตาม สามารถตอบคำถามของผู้ที่สงสัยได้อย่างมีเหตุผล และยังเป็นปัจจัยแก่การบรรลุ "ปฏิสัมภิทาญาณ" ได้อีกด้วย ผู้ที่ไม่แตกฉานในอภิธรรมไม่อาจได้มาซึ่งปฏิสัมภิทาญาณ และมีการแสดงไว้ว่า "ธรรมกถึก" คือผู้แสดงธรรม ควรที่จะเรียนรู้พระอภิธรรม​ให้แตกฉานอีกด้วย เพราะจะทำให้การแสดงธรรมนั้นลึกซึ้งมากขึ้น และทำให้ไม่ตีความพระสูตรผิดๆ เหมือนบางท่านที่ปฏิเสธพระอภิธรรมว่าไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้ตนแสดงธรรมผิดสภาวธรรม ผิดเหตุผลอยู่มากมายหลายเรื่องเพราะการไม่ศึกษาพระอภิธรรมนั่นเอง ซึ่งมีแสดงไว้ว่าการพูดธรรมะผิดๆมีโอกาสไปอบายได้ง่ายๆ ดังนั้นผู้ที่จะแสดงธรรมก็ต้องสังวรระวังในข้อนี้ด้วย ถ้าเข้าใจสภาวะธรรมยังไม่ถูกต้อง อาจลงอบายได้

๑๒. ผู้ที่ไม่ศึกษาพระอภิธรรม มักจะมีศรัทธามากกว่าปัญญา เมื่อศรัทธาที่ขาดปัญญาจะทำให้ถูกหลอกลวงให้เกิดความหลงงมงายได้ง่าย ดังนั้นศรัทธาที่ประกอบกับปัญญา จะทำให้เกิดวิริยะ สติ และสมาธิได้ง่าย เมื่อมีอินทรีย์ ๕ ที่แก่กล้าก็จะสามารถวิเคราะห์การแสดงธรรมของบุคคลต่างๆได้อย่างมีเหตุผล เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อที่ถูกเหตุผล ไม่เชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกเหตุผล แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้ใน "เกสปุตตสูตร" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "กาลามสูตร" ว่า
๑. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อ เพราะการฟังตามกันมา
๒. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะมีการสืบต่อๆกันมา
๓. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะการเล่าลือกันมา
๔. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อด้วยการอ้างตำรา
๕. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะอาศัยตรรกะหรือการคิดเอาเอง
๖. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะการอนุมานหรือคาดคะเนเอง
๗. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะคิดตามความเชื่อของเราหรือมโนเอาเอง
๘. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อว่าตรงกับทฤษฎีที่มีผู้แสดงไว้
๙. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะมองเห็นลักษณะว่าน่าจะเป็นไปได้
๑๐. อย่าเพิ่งด่วนเชื่อเพราะ ว่าพระท่านมีคนนับถือมาก หรือท่านเป็นครูของเรา หรือท่านมีความรู้มาก

แต่ให้พิจารณาว่าถูกต้องตามเหตุผลที่ไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ธรรมนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นอกุศลมีโทษ ก็ละความเชื่อนั้นเสีย ถ้าเป็นกุศลมีคุณประโยชน์ก็เชื่อและพึงปฏิบัติตามเป็นต้น

สรุปว่าประโยชน์ของการเรียนอภิธรรมมีมากมายเหลือคณานับ ที่ยกมาแสดงนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่าที่ปัญญาของผู้เขียนเฉพาะอธิบายได้ อภิธรรมจึงเปรียบเสมือนแก้วมณีที่มีค่ามากเหลือประมาณ ผู้ใดได้ศึกษาและเข้าใจในเหตุผลของพระอภิธรรมแล้ว จะเกิดความรู้สึกว่า "เป็นโชคดีของเราอย่างมหาศาลแล้วที่ได้มีโอกาสมาศึกษาความรู้ที่สูงส่งเช่นนี้ สิ่งนี้มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์ใดๆในโลก" จึงขอฝากท่านสมาชิกทั้งหลายว่าหากมีเวลาควรหาโอกาสเก็บเกี่ยวทรัพย์อันประเสริฐติดตัวไปในอนาคต คือการศึกษาพระอภิธรรมให้ได้นะครับ

ที่มา: ปัญญา​สาร ฉบับที่ ๑๔๖
มูลนิธิ​แนบ​มหา​นีรานนท์
อ่านโดย โดย คุณกรองกาญจน์
https://youtu.be/yQSIa3vC2Bg

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร