วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2015, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Section1.gif
Section1.gif [ 31.31 KiB | เปิดดู 20771 ครั้ง ]
หลังจากที่ สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้ว
พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม โปรดเวไนยสัตว์ เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ พรรษา
คำสอนที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงไว้ทั้งหมดรวบรวมได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
เรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุคำสอน และเรื่องราวของ พระพุทธศาสนาไว้โดยละเอียด

กดลิ้งค์นี้เพื่อศึกษาข้อธรรมต่างๆ
v
http://www.buddhism-online.org/ContentSect01A.htm

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2015, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 58.67 KiB | เปิดดู 19146 ครั้ง ]
สำนักเรียน พระอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2015, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




namwah-1-3.png
namwah-1-3.png [ 49.51 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
เมื่อกล่าวถึงคำว่า พระอภิธรรม ก็มักจะถูกถามเสมอว่า
พระอภิธรรม คืออะไร
พระอภิธรรม เรียนเกี่ยวกับอะไร
ใครเป็นผู้แต่งพระอภิธรรม
เรียนพระอภิธรรมแล้ว ได้ประโยชน์อะไร

คนส่วนใหญ่จะเข้าใจแต่เพียงว่า พระอภิธรรมเป็นบทสวด ในงานศพที่ไม่ค่อยจะมีใครฟังรู้เรื่อง แม้แต่ผู้สวดเองหลายท่านก็ไม่รู้ความหมาย

พระอภิธรรม เป็นธรรมะชั้นสูงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน พระอภิธรรมเปรียบเสมือน แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาสุขุมล้ำลึก อันนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ ของชีวิต เรื่องของกรร มและการส่งผลของ กรรม เรื่องภพภูมิต่างๆ เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด และเรื่องของการปฏิบัต ิเพื่อให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

วิชาการทั้งหลายทางโลก ที่เราได้เคยเรียน เคยฟังและเคยอ่านกันมา มิใช่แต่เพียงในภพนี้เท่านั้น ในภพก่อนๆ ที่เราเวียนว่ายตายเกิดกันมาจน นับไม่ถ้วนนั้น เราก็คงได้เคยเรียน เคยฟัง และเคยอ่านกันมามากแล้ว แต่ก็ไม่เห็นว่า จะทำให้เราพ้นจากความทุกข์ พ้นจากความลำบาก หรือพ้น จากกิเลสไปได้เลย นี่ก็แสดงให้เห็นว่า วิชาการต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้ทำให้ เราเกิดปัญญาอันถูกต้องอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงแค่ความรู้ทางโลกเพื่อ ใช้ในการดำรงชีพไปภพหนึ่ง ชาติหนึ่ง เท่านั้นเอง

เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจในเบื้องต้น เกี่ยวกับประวัติความ เป็นมา และเนื้อหาของ พระอภิธรรม อันจะนำไปสู่การศึกษา ที่ละเอียดลึกซึ้ง และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงต่อไป ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวม และเรียบเรียง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม นี้ขึ้น

บุญกุศลอันเกิดขึ้นจากการรวบรวม และเรียบเรียงจนสำเร็จเป็น หนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอบูชาแด่พระรัตนตรัย พระอรรถกถาจารย์ และ ปรมาจารย์ทั้งหลายที่ได้สืบสาน มรดกธรรมอันล้ำค่านี้ไว้ จนตกทอดมาถึง ปัจจุบัน

และขอความสันติสุข ความเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้ง ในหลักธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงบังเกิดแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ กำลังเวียนว่ายอยู่ใน ๓๑ ภพภูมิโดยทั่วกันเทอญ

วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (7).png
unnamed (7).png [ 165.76 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
พระอภิธรรมคืออะไร
พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์
อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของ ปรมัตถธรรมล้วนๆ
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี
มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราว
ของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย

พระอภิธรรมก็คือธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่ สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริง
ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพาน
ซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม
หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่าธรรมอัน ประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง,
ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ

เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรม ล้วนๆ
โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควร
ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรม และ บัญญัติธรรม นั้น ต่างกันอย่างไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




5ad509c51cbbfc53cc842e58af3f8450_200x200.png
5ad509c51cbbfc53cc842e58af3f8450_200x200.png [ 14.32 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
ปรมัตถธรรม
คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรง ลักษณะเฉพาะของตนไว้
โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธ ความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล
ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง
ปรมัตถธรรม มี ๔ ประการ คือ
๑. จิต
๒. เจตสิก
๓. รูป
๔. นิพพาน

จิต คือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัส ถูกต้อง
ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด นึก สภาวะของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑
อย่าง (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น
คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งต่าง ๆ และเรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้)

จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน, มนัส, มนินทรีย์,
มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ และ มนายตนะ เป็นต้น

เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความ รู้สึก นึก คิด
ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรม
ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต
และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิต เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์
แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะ มีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่ง
ให้เกิดความโกรธ หรือความโลภนั่นเอง จิต เปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยา
ที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกเกิด โดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน

เนื่องจาก จิต และ เจตสิก เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา
ดังนั้น การอธิบายบางแห่งในหนังสือเล่มนี้ จึงเขียนว่า " จิต + เจตสิก " เพื่อให้ระลึก
ไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้น เป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดร่วมกัน ต้องอิง อาศัยซึ่งกันและกัน
และไม่สามารถแยกออกจากกันได้

รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและ ความร้อน
ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีรูปประชุมกันอยู่ ทั้งหมด ๒๘ ชนิด
และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้ แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับ สลายไปตลอดเวลา
หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย

นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด พ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิด
นิพพานโดยปริยายมี ๒ ลักษณะ คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้น
แล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์
(ผู้หมดจดจากกิเลส) และสิ้นชีวิตไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ)
หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อ ปรินิพพานแล้ว จิต+เจตสิก และรูปจะหยุดการสืบต่อ
และดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อปรินิพพานไปแล้ว ก็จะไม่มีการเกิดอีก หรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก)

นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึง
ให้จงได้จึงจะได้ชื่อว่า เป็นพุทธสาวก เป็น อริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรม ในพุทธศาสนานี้

บัญญัติธรรม
คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นายมี นางมา สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ วันจันทร์ วันอังคาร เดือน ๘ เดือน ๑๐ ปีชวด ปีฉลู เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี เหรียญ ๕๐ สตางค์ ธนบัตร ๑๐๐ บาท ระยะทาง ๑ กิโลเมตร น้ำหนัก ๑ กิโลกรัม เนื้อที่ ๑ ไร่ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม

แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หนังสือ ปากกา นาฬิกา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้ำ ช้อน ชาม พัดลม วิทยุ เกวียน เรือ รถยนต์ คน และสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ก็จัดเป็นบัญญัติธรรม เช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




paramathadhammaA.jpg
paramathadhammaA.jpg [ 270.21 KiB | เปิดดู 20674 ครั้ง ]
เป็นภาพแสดงปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
เพื่อสะดวกแก่การศึกษาพระอภิธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2015, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




SakyAmuniBuddha243.gif
SakyAmuniBuddha243.gif [ 39.66 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมอบรมธรรมะ ศึกษาพระอภิธรรม หากท่านต้องการเรียนรู้เรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต รู้และเข้าใจในการทำสมาธิ การทำฌาน การทำอภิญญา รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อลดละกิเลส เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ทางมูลนิธิพระอภิธรรมวัดศรีสุดาราม เปิดอบรมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จบแล้วมีวุฒิบัตร โดยจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษ ๑ เดือน เปิดอบรมทุกเดือน รุ่นแรกเปิดอบรมวันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๔ เรียนทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. นอกจากนี้จัดให้มีหลักสูตร ๖ เดือน ๑ ปี และ ๗ ๑/๒ ปี
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานมูลนิธิวัดศรีสุดาราม (ศาลาริมน้ำ) โทร.๐๒-๘๘๖-๐๐๘๗ และ ๐๘๑-๓๐๔-๑๖๘๒
เดินทางมาศึกษาและปฏิบัติธรรม : รถประจำทางที่ผ่านสี่แยกบางขุนนนท์ สาย ๔๐, ๔๒, ๕๖, ๖๘, ๘๐, ๑๐๗, ๑๗๕, ปอ.๘๐, ๑๐๙, ๑๖๕, ๑๗๑, ๕๐๙, ๕๕๒, ปอพ.๑๐
รถผ่านหน้าวัดศรีสุดาราม (บางขุนนนท์ ๖) สาย ๕๗, ปอ.๗๙
รถสองแถว รถไฟ-สวนผัก รถไฟ-วัดประดู่ รถไฟ-วัดช่างเหล็ก รถไฟ-บางพรหม รถไฟ-ชัยพฤกษ์ รถไฟ-วัดมะพร้าวเตี้ย รถไฟ-เทพสิรินทร์ รถไฟ-วัดจำปา รถไฟ-วัดศรีประวัติ แม็คโคร-วัดทอง สวนผัก-กรุงธน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




021711_1436_bhutnylafel3 (1).gif
021711_1436_bhutnylafel3 (1).gif [ 16.99 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
ปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ

หากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกนี้ ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นว่า เป็นนั่นเป็นนี่
มีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นเช่นกัน แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมาย ปราศจากชื่อ
คือเป็นแต่เพียงสภาวะ ที่เกิดจากการประชุมกัน ของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นรูปธรรม (รูป)
ที่ปราศจากนามธรรม (จิต+เจตสิก) ซึ่งเป็นสภาวะปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม)
ที่พ้นจากสมมุติบัญญัติ โดยสิ้นเชิง

ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว ถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มี นายมี
ไม่มี นางมา มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น

ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่น ซึ่งรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรม
หรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้น คือ
๑. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
๓. รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย


จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกันคือ
เราก็มี จิต เจตสิก รูป เขาก็มี จิต เจตสิก รูป สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป
จะมีความแตกต่างกัน ก็ตรงที่รูปร่าง หน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจำแนกให้ แตกต่างกันด้วย
อำนาจของกรรม ที่กระทำไว้ในอดีต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (13).png
unnamed (13).png [ 256.89 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
:b8: สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญค่ะลุง

การเรียนธรรมะ ต้องอาศัยความคุ้นเคยคือ การเสพคุ้นไปตามลำดับ และเวลา

จิต89 เจตสิก52 รูป28 นี้ถ้าท่านศึกษาดีแล้ว และท่านไปอ่านพระสูตร พระวินัย คัมภีร์. ท่านจะพบว่ามีความเชื่อมโยงสอดคล้องลงตัวกัน. ทำให้การอ่านเกิดความเข้าใจตามสมควรแก่ความรู้ของท่านค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Sakyamuni-79157.gif
Sakyamuni-79157.gif [ 29.95 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
SOAMUSA เขียน:
:b8: สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญค่ะลุง

การเรียนธรรมะ ต้องอาศัยความคุ้นเคยคือ การเสพคุ้นไปตามลำดับ และเวลา

จิต89 เจตสิก52 รูป28 นี้ถ้าท่านศึกษาดีแล้ว และท่านไปอ่านพระสูตร พระวินัย คัมภีร์. ท่านจะพบว่ามีความเชื่อมโยงสอดคล้องลงตัวกัน. ทำให้การอ่านเกิดความเข้าใจตามสมควรแก่ความรู้ของท่านค่ะ


ดีๆ มาก ที่เข้ามาติดตามอ่าน และมาช่วยดันกระทู้ให้งดงาม เติมพลังไปด้วยบุญกุศล
ดังที่พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจน มาคัณฑิยปริพาชก มีดวงตาเห็นธรรม
บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี จึงได้กล่าวความนี้ออกมาว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

เหมือนหงายของที่คว่ำ
เหมือนเปิดของที่ปิด
เหมือนชี้ทางกับผู้เดินทางไม่ให้หลงทาง
เหมือนจุดประทีปเอาไว้ในที่มืด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2015, 11:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




PNGPIX-COM-Bald-Eagle-PNG-Transparent-Image-500x346.png
PNGPIX-COM-Bald-Eagle-PNG-Transparent-Image-500x346.png [ 139.55 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
s005
มันแค่เริ่มต้นอยู่อะค่ะลุง.. :b12:
ไอเดียตามไม่ทัน..กะลังดูอยู่ว่า..
คุณลุงจะลงแค่คำแนะนำ..หรือคำบรรยาย :b20: :b20:

ถ้าเป็นอย่างแรก..ลงเรียนไปแล้ว :b27: รอเอกสารส่งมา :b8:

และ ถ้าเป็นอย่างหลัง ดีมากๆเลยค่ะ :b19: :b4:
มันจะได้ถาม แบบยกตัวอย่างไปเลย..ตรงที่ทำความเข้าใจไม่ได้ :b12: ..ไอเดียเป็นคนเข้าใจอะไรยากหน่ะค่ะ
จึงต้องการ..จะย้ำ..เน้น..ให้ชัดเจนในบางคำที่ไม่แน่ใจ :b1:
คือ จริงๆแล้ว อาจจะต้องหลายคำมั้งคะ :b5: :b5:
เป็นคนที่เรียนตำรา..ขี้เกียจอ่าน
แต่กึ่งภาคปฏิบัติ..รู้สึกใช่เลย..ถูกจริต55555
จึงอาจจะมีคำถาม.. ไปเรื่อย..วุ่นวาย..เซ้าซี้
แต่มิได้คิดก่อกวนแม้สักนิดเลยค่ะ..เพราะอยากรู้..อยากศึกษาแค่นี้จริงๆ..แต่แบบไอเดียไม่มีพื้นฐานเลยอะค่ะ :b3:
และหากเริ่มมีคำถาม..คงตามมาเป็นขบวน :b9:
คุณลุงอย่าว่ามากเกินนะคะ ถ้าจะเป็นอย่างนั้น..ไอเดีย.. :b8: :b8: :b8: ล่วงหน้าก่อนค่ะ :b1:

ป.ล ตอนย้ายกระทู้ขึ้นมาข้างบนนี้..ตามหาอยู่อะค่ะ..นึกว่าคอมไม่ดี :b9: :b9:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2015, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




f0QlnNSMQjzKIWrXFKNkCaWOa3Y.gif
f0QlnNSMQjzKIWrXFKNkCaWOa3Y.gif [ 99.06 KiB | เปิดดู 17058 ครั้ง ]
ผู้ดูแลระบบเขาคงเห็นว่าดีมั้งจึงไล่ขึ้นมา tongue

ถามได้เลย ควรถามเป็นข้อๆจะได้ตอบไม่สับสน ที่ไหนจะเล่าก็เล่าไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




El hombre que corre tras la fortuna, y el que la aguarda en su cama.gif
El hombre que corre tras la fortuna, y el que la aguarda en su cama.gif [ 204.41 KiB | เปิดดู 12896 ครั้ง ]
เมื่อกล่าวถึง จิต + เจตสิก และรูป มีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ)
อยู่ ๓ ประการคือ
๑. อนิจจลักษณะ คือมีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้ว ต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา
๓. อนัตตลักษณะ คือมีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ เรียกว่า ไตรลักษณ์

โดยสรุปแล้ว จิต + เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคล หรือเป็นสัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น
แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการ ประชุมกันของส่วนประกอบ
ที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันอย่าง รวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับ
แสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง) เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร
ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด

ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นนั่น
เป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา แต่เป็นสภาวธรรม อันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ
ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติ
พระพุทธองค์ เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผย ให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั้น

(หากต้องการทราบเนื้อหาอันลึกซึ้งของปรมัตถธรรมทั้ง ๔ ก็ต้องศึกษาพระอภิธรรมโดยละเอียดต่อไป)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




V63S1kw.gif
V63S1kw.gif [ 240.27 KiB | เปิดดู 12895 ครั้ง ]
ประวัติพระอภิธรรม

ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรง พิจารณารายละเอียด เกี่ยวกับพระอภิธรรม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะ ในพระพุทธศาสนา อยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณา เรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัย ในปรมัตถธรรม อันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกาย อย่างน่าอัศจรรย์

ในช่วง ๖ พรรษาแรก ของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรม เป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบาย ให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรส ของพระอภิธรรมได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วย ศรัทธาอันมั่นคง และได้เคยสั่งสมบารมี อันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้ มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้น ของการประกาศศาสนานั้น คนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อ ในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอน เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้ว ความสงสัยไม่เข้าใจ หรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่น ดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรม เป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณ ของพระมารดา ด้วยการแสดงพระอภิธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้ สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตร อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต มีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหม จากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




3808159.gif
3808159.gif [ 291.7 KiB | เปิดดู 12894 ครั้ง ]
ลุงหมาน เขียน:
ประวัติพระอภิธรรม

ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรง พิจารณารายละเอียด เกี่ยวกับพระอภิธรรม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะ ในพระพุทธศาสนา อยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณา เรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัย ในปรมัตถธรรม อันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกาย อย่างน่าอัศจรรย์

ในช่วง ๖ พรรษาแรก ของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรม เป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบาย ให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรส ของพระอภิธรรมได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วย ศรัทธาอันมั่นคง และได้เคยสั่งสมบารมี อันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้ มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้น ของการประกาศศาสนานั้น คนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อ ในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอน เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้ว ความสงสัยไม่เข้าใจ หรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่น ดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรม เป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณ ของพระมารดา ด้วยการแสดงพระอภิธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้ สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตร อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต มีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหม จากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม


:b8: สาธุค่ะลุง
เทวดาและพรหมที่ฟังใน3 เดือนนั้นที่ยังไม่บรรลุก็มีค่ะ
ใช่ว่าฟังธรรมพระพุทธเจ้าแล้วจะบรรลุได้ทั้งหมด
มนุษย์จึงต้องเตรียมตัวด้วยการเรียนพระอภิธรรมเพื่ออ่านคัมภีร์เองได้
เพื่อศึกษาคัมภีร์ให้เข้าใจ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะบรรลุได้ด้วยการฟังคัมภีร์ใดค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 63 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร