วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2015, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็น
ผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าว
สรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข

เพ่งอุปบัติหมายถึงการเพ่งที่เข้าถึง มีสติสัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2015, 07:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
รูปวาจรกุศล กสิณ ฌาน
จตุกกนัย
[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมี องค์ ๓
มรรคมีองค์ ๔ พละ ๓ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๒] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็น
ผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าว
สรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌาน
นั้น ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข
เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4&item=146


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2015, 13:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


yoottapong เขียน:
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็น
ผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย พระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าว
สรรเสริญบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข

เพ่งอุปบัติหมายถึงการเพ่งที่เข้าถึง มีสติสัมปชัญญะ


การเพ่งโดยอุปบัติเป็นผลดีเกิดจากการคลายปีติเลื่อนเข้าสู่ตติยะฌานหรือฌาน3ได้ไวขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2015, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เพ่ง ในที่นี้หมายถึง อารัมมณูปนิชฌาน หรือเพ่งฌานนั่นเองครับ
ส่วน อุปบัติ กว้างๆ หมายถึง พอจิตโยคาวจรเป็นสมาธิ เคลื่อนจากอารมณ์หยาบๆ
เข้าสู่อารมณ์ละเอียด หรือระหว่างจิตมีสมาธิกับจิตไม่มีสมาธิฯลฯ

ก็เรียกว่า อุปบัติ เกิดขึ้นด้วยอำนาจฌาน ระหว่างจุติ และอุปบัติ จะอาศัยคู่กัน
สอดคล้องกันไป พออารมณ์หยาบดับ ก็หมายถึงจุติ หรือเคลื่อนจาก
อารมณ์หยาบๆ อันเก่า แล้วปรากฏ อารมณ์ละเอียดๆ อันใหม่ก็เรียกว่า
"อุปบัติ" พอเคลื่อนจากฌานทั้งหมด ก็เรียกว่าจุติหรือเคลื่อน หรือคลายออก จากอารมณ์ละเอียด
ที่มีสมาธิ แล้วก็อุปบัติ ในอารมณ์หยาบๆ อีก(ออกจากฌาน) ดังนั้นทั้งจุติ และอุปบัติใช่คู่กัน

ดังนั้นอุปบัติมีความหมายกว้างๆ เช่นเดียวกับคำว่า เพ่ง ก็มีเพ่งอารมณ์ กับ
การเพ่งลักษณ์ะ(ไตรลักษณ์)

ผู้เพ่งโดยอุปบัติ ก็คือผู้ทำ อารัมมณูปนิชฌาน เพ่งฌาน โดยอุปบัติ คือ
จากทุติยฌาน ละวิตก วิจารแล้ว ลำดับต่อไป ก็ละปิติ หรือคลายปิติ
ท่านเรียกว่า อุปบัติ เกิดสติสัมปชัญญะ เคลื่อนจาก ทุติยฌาน สู่ ตติยฌาน

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2015, 19:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 119 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร