วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 11:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2015, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนากรรมฐาน คือ อะไร ?

วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่างจากและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี
ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือ การหยั่งรู้ด้วยปัญญา ซึ่งเกิดจาก วิปัสสนาวิธี
กรรม แปลว่า การกระทำ คือ การกระทำด้วยใจอัน ประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธี การ
ฐาน แปลว่า การงาน คือ สิ่งที่ตัวกระทำ ได้แก่ ใจเข้าไปกำหนดเพื่อความรู้แจ้ง

วิปัสสนากรรมฐาน คือ การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและ ใจเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่าง แจ่มแจ้งซึ่งมิใช่จากสุตวิธี ( คือการฟังผู้อื่นบอกเล่า) หรือ ตรรกวิธี (การคิดตามด้วยเหตุผล) และแม้สมถวิธี ( การทำให้ใจความเกิดสงบ)

“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ นี้ที่บุคคลลงมือปฏิบัติเต็มที่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพานโดยส่วนเดียว” ไม่มีอย่างอื่น

ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องพยายามทำจิตของตนให้สงบอยู่กับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีสติเป็นตัวกำกับการกำหนด “รู้” ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและ ใจตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การตั้งสติเข้าไปตามกำหนดรู้โดย ๔ ทาง คือ

๑. กายานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูกาย คือ อาการของร่างกาย เช่น ยืน นอน นั่ง ดื่ม กิน ขับถ่าย เป็นต้น
๒. เวทนานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจ เช่น ดีใจ เสียใจ เฉย ๆ
๓. จิตตานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูจิต คือ ความนึกคิดต่าง ๆ
๔. ธัมมานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูหมวดธรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดในสัมผัสทั้ง ๖ คือ เมื่อตาเห็นรูปก็กำหนด การเห็น หูฟังเสียงก็กำหนดการได้ยิน เป็นต้น

เมื่อผู้ปฏิบัติทำจิตของตนให้ติดตามดูอารมณ์เหล่านี้ด้วยสติ จิตก็จะมีสมาธิ คือ มีความสงบและตั้งมั่นอยู่เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ปัญญาคือความรู้เห็นก็จะเกิดขึ้น ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

มหาสติปัฏฐาน ๔ หรือ ทางสายเอก ได้กล่าวกันว่า เส้นทางนี้เท่านั้น ที่พระอรหันต์ทุกองค์ต้องเดินผ่านเส้นทางสายนี้ เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น อันเป็นบรมสุขตลอดกาล คือ พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2015, 09:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2015, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบสาธุๆๆ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2015, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
คือเส้นทางที่พระอรหันตเจ้าทุกรูปต้องเดินผ่าน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2015, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค ซึ่งแปลว่า หนทาง
หนทางไปนิพพานเป็นทางสายเดียว
ไม่มีทางเลี้ยว ไม่มีทางคด ไม่มีหย่นย่อได้ ไม่มีทางลัด
ต้องลาดลึกไปตามลำดับ จิตพ้นจากอำนาจกิเลสร้อยรัด เป็นอันว่าเข้าถึงนิพพานนี้เรียกว่าโลกุตตระ

โลกุตตระเป็นภูมิที่ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ใช่ไปเกิดแล้วก็ตั้งโด่เด่อยู่อย่างนั้น
คือไม่ตายอีก เป็นการตายจากชาติที่เป็นพระอรหันต์ เป็นอันว่าสิ้นสุดการเกิดอีกต่อไป

เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ในการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงได็นำมาบอกต่อ
เส้นทางสู่นิพพาน ได้แก่ เอกายมรรค ทางสายเดียวทางสายเอก การเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือ
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง อย่างไม่ต้องสงสัย


“เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ
อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ”

มีสำนวนการแปลไว้ดังต่อไปนี้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้ เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับศูนย์แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2015, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทางพ้นทุกข์มีทางอันเดียว เป็นทางบังคับ เป็นทางเอก ทางของพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงค้นพบแล้วก็บอกเอาไว้ เรียกตามชื่อภาษาบาลีว่าเอกายนมรรค หรือสติปัฏฐาน ๔
นี้เป็นโคจรของพระอริยเจ้า ถ้าเราทั้งหลายอยากจะหมดกิเลส อยากจะมีจิตใจที่สะอาดหมดจดจากกิเลส
อยากจะเป็นผู้ที่หมดทุกข์ หมดโศก หมดโรค หมดภัย จนกระทั่งมีอริยมรรคเกิดขึ้น
กระทำให้แจ้งพระนิพพาน ก็มีอยู่ทางนี้ทางเดียวเท่านั้นเอง

จากข้อความที่กล่าวมานี้ ถ้ามองด้วยความเป็นธรรม ซึ่งไม่ให้เอนเอียงหรือคอยแต่จะตะแบงจนเกินไปนัก
สมาธิ ฌาน อภิญญา ต่างๆ นั้นที่เราท่านกล่าวฝันกันนักหนา ไปซ่อนอยู่ตรงไหน ของในสติปัฏฐาน ๔
พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว สติปัฏฐาน ๔ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยปัญญาล้วนๆ เพื่อให้เห็นแจ้ง
ในธรรมทั้งหลายว่า เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เห็นโทษเห็นภัยของขันธ์ ๕

ในโพธิปักขิยธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ท่านก็กล่าวไว้ชัดเจน ขมวดลงก็อยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
และอีกอย่างหนึ่งวิปัสสนาก็ไม่เห็นความจำเป็นจะต้องพึ่งสมถะให้เป็นไปพร้อม ลำพังวิปัสสนาตัวเดียว
ก็ทำให้การเข้าถึงการบรรลุธรรมได้อย่างเอกเทศ ถ้าไม่เข้าใจก็ย้อนไปอ่านด้านบนทำความเข้าใจอีกครั้ง
การที่ทำสมาธิ ทำฌาน อภิญญา ก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรว่าไม่ดี แต่จะชี้ให้เห็นว่ามันไม่หนทาง มันเป็นของเล่นสนุกๆ ของธรรมดา
แค่ทำบุญทำทานรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ ตายแล้วก็ย่อมไปเกิดในสวรรค์ เป็นเทวดา หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น มีพร้อมอยู่แล้ว

ฉะนั้นการอยากได้ อภิญญา มี หูทิพย์ ตาทิพย์ อดใจรออีกแป๊บมีได้แน่ๆ เพียงแต่ตั้งใจหมั่นให้ทานรักษาศีล ๕ ไว้อย่าได้ขาด
แล้วเราจะได้อย่างที่ประสงค์ มาเตรียมตัวเตรียมใจไว้พบกันในสวรรค์ชั้นฟ้านะครับ.....

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2015, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:


การที่ทำสมาธิ ทำฌาน อภิญญา ก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรว่าไม่ดี แต่จะชี้ให้เห็นว่ามันไม่หนทาง มันเป็นของเล่นสนุกๆ ของธรรมดา




บุคคลจำพวกที่ไม่รู้ชัดในสภาพธรรมของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)
มักแสดงถ้อยคำประมาณนี้ มีกิริยาเกิดขึ้นประมาณนี้

เป็นการแสดงออกถึงลักษณะผู้ที่ไม่รู้ชัดสภาพธรรมตามความเป็นจริงใน สัมมาสมาธิ



ที่สำคัญ พระธรรมคำสอน ยังมีปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่

ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมสองอย่างเหล่านี้
เป็นส่วนแห่งวิชชา มีอยู่สองอย่าง อะไรเล่า?

สมถะและวิปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย!
สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
อบรมแล้ว จิตจะเจริญ.

จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
เจริญแล้ว จะละราคะได้.

ภิกษุทั้งหลาย!
วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
เจริญแล้ว ปัญญาจะเกิด


ปัญญาเจริญแล้ว จะได้อะไร?
เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้.




จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้สติสัมปชัญญะเจริญไพบูลย์ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้แจ้งเวทนาที่กำลงเกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่กำลังดับไป รู้แจ้งสัญญาที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่กำลังดับไป รู้แจ้งวิตกที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่กำลังดับไป

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้ ที่บุคคลเจริญพัฒนาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ”

สมาธิสูตร จ. อํ.



สัมมาสมาธิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายมีได้เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตตุถฌานบ้าง อากาสา
นัญจายตนะบ้าง วิญญานัญจายตนะบ้าง อากิญจัญจา
ยตนะบ้าง เนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง

ก็ข้อที่เรากล่าวนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประพฤติ
ตนสงบจากความกำหนัดทั้งหลายแล้ว บรรลุถึงปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณอันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยมีความเปลี่ยน
แปลงอยู่ตลอดเวลา มีความเป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น
เป็นของชำรุดว่างเปล่า มิใช่ตัวตนเป็นอมตะ

เธอย่อมทำจิตหยุดนิ่งสงบอยู่กับการพิจารณาขันธ์ ๕
เหล่านั้น ครั้นนั้นว่า การดับขันธ์ ๕ นั่นเป็นที่สงบ
ประณีต คือเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละ
กิเลสทั้งปวงทิ้ง เป็นความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความสิ้น
ความกำหนัดเป็นที่ดับสนิท

เธออยู่ในภาวะปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย
ถ้ายังไม่อาจทำอาสวะทั้งหลายให้สิ้นทั้งหมดได้ เธอจะได้ไปเกิดเป็นพรหม
แล้วจักดับสนิทได้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำสิ้นไปแล้ว
ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในปฐมฌานนั้นๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักยิงธนู
หรือผู้ช่วยนักยิงธนูเพียรพยายามฝึกยิงหุ่นฟางหรือก้อนดิน
ต่อมาเป็นผู้ยิงได้ไกลยิงไม่พลาดและยิงทำลายสิ่งใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
กันนั่นเอง สงบระงับจากกามทั้งหลายแล้วบรรลุถึงปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาดูขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะปฐมฌานนั้น
โดยเป็นของที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายมีได้เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง
ดังนี้นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวไว้

ก็ข้อที่เรากล่าวว่าความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายมีได้ เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
อาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ
เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยอากาสา-
นัญจายตนะบ้าง ฯลฯเพราะอาศัยวิญญานัญจายตนะ
บ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยอากิญจัญจายตนะบ้าง ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงเลยวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยคำนึงถึงว่าอะไรๆ หน่อยหนึ่ง ก็ไม่มีเป็นอารมณ์

เธอย่อมพิจารณาดูขันธ์ ๔ คือ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตนเองอันมีอยู่
ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่า เป็นอนัตตา

เธอทำจิตให้หยุดนิ่งสงบอยู่กับการพิจารณาขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านั้น
ครั้นแล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อความดับขันธ์ ๔ เหล่านั้นว่า
การดับขันธ์ ๔ นั้นเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สละกิเลสทั้งปวงทิ้ง เป็นความสิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความสิ้นความกำหนัดเป็นที่ดับสนิท

เธออยู่ในภาวะอากิญจัญญายตนะฌานนั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย
ถ้ายังไม่อาจทำอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไปได้ทั้งหมด
เธอจะได้เกิดเป็นพรหมจักดับสนิทได้ในภพนั้น
ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นอีก

เพราะกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำสูญสิ้นไปแล้วด้วยความ
เพลิดเพลินยินดีในอากิญจัญญายตนฌานนั้นๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายด้วยประการดังนี้แล
ฌานสมาบัติมีอยู่เท่าใด การบรรลุธรรมก็มีได้เท่านั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2015, 12:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 09:13
โพสต์: 73


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
บุคคลจำพวกที่ไม่รู้ชัดในสภาพธรรมของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)
มักแสดงถ้อยคำประมาณนี้ มีกิริยาเกิดขึ้นประมาณนี้

เป็นการแสดงออกถึงลักษณะผู้ที่ไม่รู้ชัดสภาพธรรมตามความเป็นจริงใน สัมมาสมาธิ

:b1: :b1: :b1: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2015, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมสองอย่างเหล่านี้
เป็นส่วนแห่งวิชชา มีอยู่สองอย่าง อะไรเล่า?

สมถะและวิปัสสนา

ภิกษุทั้งหลาย!
สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
อบรมแล้ว จิตจะเจริญ.

จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
เจริญแล้ว จะละราคะได้.

ภิกษุทั้งหลาย!
วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร?
เจริญแล้ว ปัญญาจะเกิด


ปัญญาเจริญแล้ว จะได้อะไร?
เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้.




จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาแบบไหน อย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้สติสัมปชัญญะเจริญไพบูลย์ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้แจ้งเวทนาที่กำลงเกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่กำลังดับไป รู้แจ้งสัญญาที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่กำลังดับไป รู้แจ้งวิตกที่กำลังเกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่กำลังตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่กำลังดับไป

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้ ที่บุคคลเจริญพัฒนาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ”

สมาธิสูตร จ. อํ.

ส่วนผู้ที่ ทำวิปัสสนาตามตัวหนังสือ โดยไม่ปฏิบัติ ก็จะเข้าใจเช่นนี้
อ้างคำพูด:
ในโพธิปักขิยธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ท่านก็กล่าวไว้ชัดเจน ขมวดลงก็อยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
และอีกอย่างหนึ่งวิปัสสนาก็ไม่เห็นความจำเป็นจะต้องพึ่งสมถะให้เป็นไปพร้อม ลำพังวิปัสสนาตัวเดียว
ก็ทำให้การเข้าถึงการบรรลุธรรมได้อย่างเอกเทศ
ถ้าไม่เข้าใจก็ย้อนไปอ่านด้านบนทำความเข้าใจอีกครั้ง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2015, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อเนญชสูตร

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาท - หน้าที่ 254-255

อเนญชสูตร

[๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะถึงความสิ้นไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา เขาย่อมชอบใจฌานนั้น ปรารถนาฌานนั้น และถึงความยินดีด้วยฌานนั้น เขาตั้งอยู่ในฌานนั้นน้อมใจไปในฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ ไม่เสื่อมจากฌานนั้น ทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอายุประมาณสองหมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้ว ไปสู่นรกก็มี ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี

ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้ว ปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ มีความแปลกกันเช่นนี้ มีความแตกต่างกันเช่นนี้มีเหตุเป็นเครื่องทำต่างๆ กันเช่นนี้ ในเมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่



๒. อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เขาย่อมชอบใจฌานนั้นปรารถนาฌานนั้น และถึงความยินดีด้วยฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ ไม่เสื่อมจากฌานนั้นทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอายุประมาณสี่หมื่นกัปปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้ว ไปสู่นรกก็มี ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีไปสู่ปิตติวิสัยก็มี


ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนะตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้วปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ มีความแปลกกันเช่นนี้ มีความแตกต่างกันเช่นนี้ มีเหตุเป็นเครื่องทำต่างๆกันเช่นนี้ ในเมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่



๓. อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า ไม่มีอะไร เขาย่อมชอบใจฌานนั้น ปรารถนาฌานนั้น และถึงความยินดีด้วยฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในฌานนั้น น้อมใจไปในฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ ไม่เสื่อมจากฌานนั้น ทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกที่ เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพวกที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะมีอายุประมาณหกหมื่นกัป ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาพวกนั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้วไปสู่นรกก็มี ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี


ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปจนหมดแล้ว ปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้มิได้สดับ
มีความแปลกกันเช่นนี้มีความแตกต่างกันเช่นนี้
มีเหตุเป็นเครื่องทำต่างๆ กันเช่นนี้
ในเมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2015, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานสูตร

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต - หน้าที่ 125-127

ฌานสูตรที่ ๑
[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่ ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้างส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจทุติยฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในตติยฌานนั้นน้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อม ใจไปในจตุตถฌาน
นั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

จบสูตรที่ ๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2015, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครผู้รู้มายังไงก็เอาตามนั้นแล้วกัน
ขนาดพระสารีบุตรผู้มีปัญญามากยังไม่สามารถจะชักชวน
อาจารย์สัญชัยให้เห็นตามตนเองได้เลย เพราะอาจารย์สัญญชัย
มีมานะมาก รู้ทั้งรู้ว่าถ้าตนเองตามพระสารีบุตรไปฟังธรรม
พระพุทธเจ้า ตนเองก็ต้องบรรลุธรรม แต่เลือกเอาที่จะเป็นอาจารย์
สอนลูกศิษย์ของตนต่อไป เพราะคนโง่มีมาก ลาภสักการะมีมาก
สุดท้ายอาจารย์สัญชัยก็กระอักเลือดตายเพราะลูกศิษย์ของตนได้
ตามพระสารีบุตรไปเกือบหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2015, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เชื่อพระพุทธองค์ดีที่สุด
อย่าอยู่ฝั่งอาจารย์สัญชัยเลย rolleyes rolleyes s007 s007 s007

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2015, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ใครผู้รู้มายังไงก็เอาตามนั้นแล้วกัน
ขนาดพระสารีบุตรผู้มีปัญญามากยังไม่สามารถจะชักชวน
อาจารย์สัญชัยให้เห็นตามตนเองได้เลย



เป็นความไม่รู้ที่มีอยู่ของลุงหมาน จึงได้แสดงความเห็นทำนองนี้



ลุงหมาน เขียน:
เพราะคนโง่มีมาก ลาภสักการะมีมาก




เมื่อกล่าวว่าผู้อื่นโง่ คงไม่จำเป็นต้องบอกกระมังว่า ผลกระทบกลับมายังผู้นั้นเป็นอย่างไร





ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! :
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย.
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัส-
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.








ควรศึกษาพระธรรมคำสอน
และปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หาทาง ไม่ใช่หาท่า
ธรรมบทนี้จะรู้เรื่องจริงเหรอ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 137 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร