วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
พื้นฐานของฌานสมถมาจากการเพ่งอารมณ์ ลักษณะสมาธิมีอุปทานเป็นเครื่องผูก มีวิตก วิจารปิติ สุขและเอกคตาเป็นองค์ฌาน และลดองค์ฌานเมื่อเลื่อนระดับฌาน

พื้นฐานลักขณูณิปฌานมาจากการรู้รูปนามที่เห็นจริงความสัมพันธ์เชื่อมต่อกัน(เหตุ ผล) ตั้งแต่อนิจจัง ทุกขังจนถึงอนัตตาทั้งอย่างหยาบ กลางและละเอียด ซึ่งก็จะมีองค์ฌานปรากฏเช่นเดียวกับฌานสมถะ ต่างกันที่ความแนบแน่น เพราะลักขณูณิปฌานองค์ฌานจะเกิดดับตลอดเวลา และสามารถเห็นช่วงต่อของการเลื่อนระดับฌานที่ชัดเจน เช่น ขณะเกิดปฐมฌาน ตัวรู้เสพอารมณ์ฌาน แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าที่หทัยว้ตถุหรือที่หัวใจมีแรงครอบงำอยุ่ แรงนี้ทำให้จิตดำรงปฐมฌาน
เมื่อรู้ถึงแรงดังกล่าว แรงที่ครอบงำที่หัวใจดับลง จิตก็เคลื่อน
สุ่ทุติยฌาน จึงกล่าวได้ว่าแต่ละฌานมีเหตุของมันคือแรงที่ครอบงำเมื่อแรงดับลง จิตจึงเคลื่อนไปสู่ระดับฌานที่สูงขึ้น ซ๊่งผู้เข้าถีงจะพบสภาวะที่ชัดเจนมาก เห็นรอยต่อที่ชัดเจนเช่นเดียวกันเป็นการเห็นวิถีจิต


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
รูปภาพ


2ตัวใหญ่ๆนี่น่าจะแพงนะครับคุณกบ

แถวระยองตัวละ3000 ปล่อยแทบไม่ทันเลยครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
เพิ่งได้ยินคำว่า s006
ฌานสมาบัติ กับ ฌานอริยมรรค

ถ้าดำเนิน สมาธิใน....ฌานอริยมรรค.....
จะขึ้นถึงอรูปฌานได้หรือไม่คะ

:b8:


คำถามนี้เป็นคำถามปราบบเชียนให้ตกม้าตาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 10:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

โธ่...อุตสาห์ยอมเสี่ยงตายมาหย่อนความคิดเห็น
รอลุงหมานชี้แจงเพิ่มเติม

ไหงลุงหมานมาตอบแค่นี้ล่ะ...

มันต้องมีความเห็นที่แจ๋มกว่านี้สิ่ จริงม๊ะ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 10:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณทุกคำตอบค่ะ

ขอบคุณพี่เอกอน ด้วยค่ะ
พระสูตรนี้มีความลึกซึ้ง....แบบไม่ต้องไปพยายามทำความเข้าใจอะไร
เป็นพระสูตรแรกกระมัง.............ที่เข้าใจทันที......โดยไม่ต้องไปพยายามทำความเข้าใจอะไรเลย
อ่านแต่บทแรก...รู้สึกตื้นตันน้ำตาจะไหล :b9: :b9: เกิดปิติจริงๆค่ะ
คือ...อาจจะไม่ได้เข้าใจในพระสูตร
แต่มันย้อนมาเข้าใจตัวเอง
:b55: ได้อะไรเป็นอะไรไม่รู้ละค่ะ :b32: :b32:
แต่มีประโยชน์มาก
:b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b6: :b6: :b6:

โธ่...อุตสาห์ยอมเสี่ยงตายมาหย่อนความคิดเห็น
รอลุงหมานชี้แจงเพิ่มเติม

ไหงลุงหมานมาตอบแค่นี้ล่ะ...

มันต้องมีความเห็นที่แจ๋มกว่านี้สิ่ จริงม๊ะ

:b12: :b12: :b12:

เวียนหัวตี่วๆ โผล่มาก็ถามสมาบัติ ๘ มาอีกทีก็ถามฌานอริยมรรค มาอีกทีจะให้ไปในอรูปฌาน
เรียงลำดับไม่ถูกน่ะ ตอบไปเถอะยังไงๆ ผู้สงสัยหัวไวเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้วหละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 12:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เวียนหัวตี่วๆ โผล่มาก็ถามสมาบัติ ๘ มาอีกทีก็ถามฌานอริยมรรค มาอีกทีจะให้ไปในอรูปฌาน
เรียงลำดับไม่ถูกน่ะ ตอบไปเถอะยังไงๆ ผู้สงสัยหัวไวเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้วหละ



:b34: :b34: :b34:
cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
เพิ่งได้ยินคำว่า s006
ฌานสมาบัติ กับ ฌานอริยมรรค

ถ้าดำเนิน สมาธิใน....ฌานอริยมรรค.....
จะขึ้นถึงอรูปฌานได้หรือไม่คะ

:b8:

ฌานอริยมรรค ..... เป็นคำแต่งใหม่ตามความเข้าใจของผู้พูดนั้นๆ หรือผู้เขียนนั้น
ซึ่งเป็นความเข้าใจส่วนตัวของเขาครับ

ในการภาวนานั้นเป็นการปฏิบัติบำเพ็ญตามพระโอวาทของพระพุทธองค์ โดยมี มรรคปฏิปทา มี องค์ 8 เพื่อการละ การชำแรกิเลส ซึ่งหนทางนี้คือ อริยมรรค ครับ

ซึ่งไม่ว่า จะเป็นการเข้าถึง หรือเพื่อการบรรลุ ฌานใดๆ ก็ตาม ......เรียกว่า ฌานสมาบัติครับ
สมาบัติ... คือการเข้าถึง การบรรลุ

หนทางในการเข้าถึง ฌานต่างๆ สมัยก่อนมีคำสอนของพระพุทธองค์ปรากฏ เป็นการเข้าถึงเพื่อการตั้งอยู่ เพื่อความเข้าถึงด้วยความอยากได้ใคร่เป็นครับ เรียกว่า โลกียฌานครับ

แต่...พระพุทธองค์ทรงค้นพบ อมตะธรรม เพื่อหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร
พระองค์ประกาศสัจจะธรรมและวิธีการปฏิบัติ สำหรับผู้บำเพ็ญเพียรด้วยฌานสมาบัติเหล่านั้น
ด้วย การเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงฌานสมาบัติลำดับต่างๆ เพื่อละความอาลัย ความอยากได้ใคร่เป็นต่ออารมณ์ต่างๆ ตั้งแต่หยาบจนละเอียด จนถึงกับถึงความสิ้นความยึดมั่นอันเป็นอัตตาตัวตนไปโดยสมบรณ์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร เป็นจิตที่เข้าถึงอมตะธาตุครับ

ดังนั้น
คำถามที่ว่าจะขึ้นถึงอรูปฌานได้ไหม
การเจริญมรรคภาวนาเป็นหนทางเอกครับ ฌานทุกฌานทุกระดับไม่มีความแตกต่าง เหมือนกันหมดในหนทางปฏิบัติมรรคภาวนาครับ ความแตกต่างกลับอยู่ที่ความละเอียดของอารมณ์ซึ่งจิตปรุงครับ ไม่ใช่ตัวมรรคภาวนา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตย.
Quote Tipitaka:
[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์
ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความเป็นธรรมชาติ ผุดขึ้นดวงเดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๑๙๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
จตุตถฌาน อันสหรคตต้องอากาสานัญจายตนสัญญาสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วย
อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา สหรคตด้วย
อุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคต
ด้วยอุเบกขาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าฌาณ กับ คำว่าสมาธิ ต้องแยกกัน จึงจะตรงตามสภาพที่มันควรจะเป็น

สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต แบ่งเป็น3ระดับ คือ ขนิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

สมาธิระดับอัปปนาสมาธิ ทุกระดับ ถูกเรียกว่า ฌาณ มีด้วยกัน8ขั้น แบ่งเป็นรูปสมาธิ4อรูปสมาธิ4

เหตุที่เรียกว่าฌาณ เพราะเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นจากการเพ่งอารมณ์มีอารมณ์เป็นที่ก่อเกิดรูปแบบสมาธิขึ้นมา
ตั้งแต่เพ่งอารมณ์จนเกิดรูปสมาธิ และเพ่งอารมณ์จนเกิดอรูปสมาธิซึ่งเพ่งไปคนละรูปแบบกัน แต่ก็จัด
เป็นสมาธิที่มีอารมณ์เป็นที่ตั้งของการกำหนดอยู่

สมาธิ ลำดับที่9 เขาไม่เรียก ฌาณ แต่เรียกว่าความดับ เนื่องจากเป็นความระงับของกิริยาจิตที่แสดงตัว
เป็น สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ จิตคงสภาพรู้ไว้แต่ไม่ปรุงเป็นสภาพถอนคลองแห่งบัญญัติ
ทั้งหมด และทรงอยู่ด้วยสภาพของการไม่เกาะเกี่ยวสิ่งใดๆเป็นอารมณ์ เป็นความระงับของจิตที่ไม่มีการ
เพ่งสิ่งใดๆเป็นอารมณ์เลย

เพราะเป็นความสงบระงับที่ไม่ได้เกิดจากการเพ่งสิ่งใดเป็นอารมณ์ จึงไม่เรียกภาวะนี้ว่า ฌาณ
แต่เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธแทน

และมีการกล่าวเรียก อารมณ์ของสัญญาเวทยิตนิโรธว่า เป็นโลกุตตรสมาธิ คือ สมาธิที่มีนิพพาน
เป็นอารมณ์

คำว่า สมาบัติคือการเข้าไปทรงอยู่ ถ้ามีความประสงค์จะเข้าไปทรง หรือดำรงอยู่ในสมาธิ
อย่างต่อเนื่องมีช่วงเวลาของการตั้งใจประคองการทรงตัวไว้ให้อยู่ในสมาธิขั้นนั้นๆให้นาน
ก็เรียกว่า เข้าสมาบัติ ถ้าเข้าอยู่ในฌาณก็เรียกฌาณสมาบัติ ถ้าเข้าอยู่ในความดับก็เรียก
นิโรธสมาบัติ

ส่วนคำว่า ฌาณอริยมรรค แท้จริงไม่มี มีแต่สัมมาสมาธิ ซึ่งก็คือสมาธิระดับฌาณ4หรือรวมถึง
ฌาณ123ด้วยก็ได้

แต่จะมีคำว่า อริยสัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่มีบริขาร7 ประการ ซึ่งจะเป็นสัมมาสมาธิที่มีมรรคอีก7ตัว
เป็นบริวาร สมาธิชนิดนี้มีได้ก็แต่เฉพาะ โสดาบันบุคคลขึ้นไปเท่านั้น แต่มีมากน้อยแตกต่างกันไป

ส่วนอรูปสมาธิ เป็นสิ่งที่บุคคลถ้าสามารถลุถึงความสิ้นตัณหาได้แล้ว มีเจโตวิมุตติแล้ว
มีสัญญาเวทยิตนิโรธได้แล้ว ถึงแม้จะไม่เคยเจริญอรูปฌาณมาก่อน ก็ยังจะสามารถย้อนกลับไป
ทำซึ่งอรูปสมาธิได้โดยไม่ยากเย็น

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
คำว่าฌาณ กับ คำว่าสมาธิ ต้องแยกกัน จึงจะตรงตามสภาพที่มันควรจะเป็น

สมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต แบ่งเป็น3ระดับ คือ ขนิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

สมาธิระดับอัปปนาสมาธิ ทุกระดับ ถูกเรียกว่า ฌาณ มีด้วยกัน8ขั้น แบ่งเป็นรูปสมาธิ4อรูปสมาธิ4

เหตุที่เรียกว่าฌาณ เพราะเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นจากการเพ่งอารมณ์มีอารมณ์เป็นที่ก่อเกิดรูปแบบสมาธิขึ้นมา
ตั้งแต่เพ่งอารมณ์จนเกิดรูปสมาธิ และเพ่งอารมณ์จนเกิดอรูปสมาธิซึ่งเพ่งไปคนละรูปแบบกัน แต่ก็จัด
เป็นสมาธิที่มีอารมณ์เป็นที่ตั้งของการกำหนดอยู่

สมาธิ ลำดับที่9 เขาไม่เรียก ฌาณ แต่เรียกว่าความดับ เนื่องจากเป็นความระงับของกิริยาจิตที่แสดงตัว
เป็น สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ จิตคงสภาพรู้ไว้แต่ไม่ปรุงเป็นสภาพถอนคลองแห่งบัญญัติ
ทั้งหมด และทรงอยู่ด้วยสภาพของการไม่เกาะเกี่ยวสิ่งใดๆเป็นอารมณ์ เป็นความระงับของจิตที่ไม่มีการ
เพ่งสิ่งใดๆเป็นอารมณ์เลย

เพราะเป็นความสงบระงับที่ไม่ได้เกิดจากการเพ่งสิ่งใดเป็นอารมณ์ จึงไม่เรียกภาวะนี้ว่า ฌาณ
แต่เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธแทน

และมีการกล่าวเรียก อารมณ์ของสัญญาเวทยิตนิโรธว่า เป็นโลกุตตรสมาธิ คือ สมาธิที่มีนิพพาน
เป็นอารมณ์

คำว่า สมาบัติคือการเข้าไปทรงอยู่ ถ้ามีความประสงค์จะเข้าไปทรง หรือดำรงอยู่ในสมาธิ
อย่างต่อเนื่องมีช่วงเวลาของการตั้งใจประคองการทรงตัวไว้ให้อยู่ในสมาธิขั้นนั้นๆให้นาน
ก็เรียกว่า เข้าสมาบัติ ถ้าเข้าอยู่ในฌาณก็เรียกฌาณสมาบัติ ถ้าเข้าอยู่ในความดับก็เรียก
นิโรธสมาบัติ

ส่วนคำว่า ฌาณอริยมรรค แท้จริงไม่มี มีแต่สัมมาสมาธิ ซึ่งก็คือสมาธิระดับฌาณ4หรือรวมถึง
ฌาณ123ด้วยก็ได้

แต่จะมีคำว่า อริยสัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่มีบริขาร7 ประการ ซึ่งจะเป็นสัมมาสมาธิที่มีมรรคอีก7ตัว
เป็นบริวาร สมาธิชนิดนี้มีได้ก็แต่เฉพาะ โสดาบันบุคคลขึ้นไปเท่านั้น แต่มีมากน้อยแตกต่างกันไป

ส่วนอรูปสมาธิ เป็นสิ่งที่บุคคลถ้าสามารถลุถึงความสิ้นตัณหาได้แล้ว มีเจโตวิมุตติแล้ว
มีสัญญาเวทยิตนิโรธได้แล้ว ถึงแม้จะไม่เคยเจริญอรูปฌาณมาก่อน ก็ยังจะสามารถย้อนกลับไป
ทำซึ่งอรูปสมาธิได้โดยไม่ยากเย็น

:b1: :b1: :b1:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 10:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ
คุณเช่นนั้น...คุณบัวศกลค่ะ
:b8: :b8: :b8:

Kiss มีคำถามค่ะ
อ้างคำพูด:
ส่วนอรูปสมาธิ เป็นสิ่งที่บุคคลถ้าสามารถลุถึงความสิ้นตัณหาได้แล้ว มีเจโตวิมุตติแล้ว
มีสัญญาเวทยิตนิโรธได้แล้ว ถึงแม้จะไม่เคยเจริญอรูปฌาณมาก่อน ก็ยังจะสามารถย้อนกลับไป
ทำซึ่งอรูปสมาธิได้โดยไม่ยากเย็น

:b53: ทำไมมีคำว่าว่า..สัญญาเวทยิต..ได้แล้ว
ได้โดย ไม่ผ่านอรูปมาก่อนหล่ะคะ

:b53: แล้วพอจะอธิบายสภาวะ..สัญญาเวทยิตนี้ให้เข้าใจได้ง่ายๆรึเปล่า
ดับสนิทเหมือนปิดทุกการรับรู้ไปเลย..เหมือนปิดไฟ
หรือดับแบบไม่เสวยอารมณ์ใด(แบบว่าน่าจะมีจิตอยู่)
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2015, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากรู้ที่เกินตัว ตอบไปก็สงสัยอีก

:b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2015, 09:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อยากรู้ที่เกินตัว ตอบไปก็สงสัยอีก

s002
s005
:b9: :b9: :b9:
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 106 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร