ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=50815
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  บ้านสวนสุขใจ [ 31 ส.ค. 2015, 15:23 ]
หัวข้อกระทู้:  ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 31 ส.ค. 2015, 16:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

สู้ๆครับ s007

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 31 ส.ค. 2015, 17:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

ก่อนอื่น ต้องถามก่อนว่า ที่ปฏิบัติอยู่ นั้นทำอย่างไรครับ

wink

เจ้าของ:  asoka [ 31 ส.ค. 2015, 18:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

บ้านสวนสุขใจ เขียน:
การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

smiley
การปฏิบัติธรรมเหมือนกับการเดินทางถ้าเราเลือกทางเดินได้ถูกต้องตามคำสั่งสอนอันถูกต้องของพระพุทธเจ้าแล้วมันย่อมจะได้รับผลตอบสนองกลับมาทันทีทุกวันเวลานาทีที่เราก้าวเดินไปบนเส้นทางแห่งธรรมยิ่งพิสูจน์ธรรมยิ่งเห็นจริง ยิ่งนานวันศรัทธายิ่งแรงกล้า มีวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติอันทรงพลัง มากขึ้นๆ

ถ้ามีอาการไม่เห็นผล หมดศรัทธา แสดงว่าน่าจะมีอะไรผิดพลาดสักอย่าง เราจึงต้องเอาธรรมเพื่อความตรัสรู้ ๗ อย่างหรือโภชงค์ ๗ ข้อ ธัมมวิจัยสัมโภชงค์ มาวิจัยวิเคราะห์การปฏิบัติของเรา
๑.ตรวจสอบศีล
๒.ตรวจสอบสมาธิและวิธีเจริญสมาธิที่เราใช้
๓.ตรวจสอบปัญญา สุตตมยปัญญาเกี่ยวกับหลักและวิธีปฏิบัติธรรมของเราตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหรือยัง

เป้าหมายการปฏิบัตินั้นเป็นอะไร เป็นการสู้ที่เหตุหรือสู้ที่ผล ถ้าเป็นการสู้ที่ผลจะยุ่งยากมากเรื่องที่จะต้องทำ ใช้กำลังมาก

ถ้าเป็นการสู้ที่เหตุจะเห็นผลก้าวหน้าประเมินผลวัดผลได้เป็นระยะๆตลอดทาง ศรัทธาในการปฏิบัติยิ่งนานยิ่งแรงกล้า

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 31 ส.ค. 2015, 18:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

asoka เขียน:
บ้านสวนสุขใจ เขียน:
การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

smiley
การปฏิบัติธรรมเหมือนกับการเดินทางถ้าเราเลือกทางเดินได้ถูกต้องตามคำสั่งสอนอันถูกต้องของพระพุทธเจ้าแล้วมันย่อมจะได้รับผลตอบสนองกลับมาทันทีทุกวันเวลานาทีที่เราก้าวเดินไปบนเส้นทางแห่งธรรมยิ่งพิสูจน์ธรรมยิ่งเห็นจริง ยิ่งนานวันศรัทธายิ่งแรงกล้า มีวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติอันทรงพลัง มากขึ้นๆ

ถ้ามีอาการไม่เห็นผล หมดศรัทธา แสดงว่าน่าจะมีอะไรผิดพลาดสักอย่าง เราจึงต้องเอาธรรมเพื่อความตรัสรู้ ๗ อย่างหรือโภชงค์ ๗ ข้อ ธัมมวิจัยสัมโภชงค์ มาวิจัยวิเคราะห์การปฏิบัติของเรา
๑.ตรวจสอบศีล
๒.ตรวจสอบสมาธิและวิธีเจริญสมาธิที่เราใช้
๓.ตรวจสอบปัญญา สุตตมยปัญญาเกี่ยวกับหลักและวิธีปฏิบัติธรรมของเราตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหรือยัง

เป้าหมายการปฏิบัตินั้นเป็นอะไร เป็นการสู้ที่เหตุหรือสู้ที่ผล ถ้าเป็นการสู้ที่ผลจะยุ่งยากมากเรื่องที่จะต้องทำ ใช้กำลังมาก

ถ้าเป็นการสู้ที่เหตุจะเห็นผลก้าวหน้าประเมินผลวัดผลได้เป็นระยะๆตลอดทาง ศรัทธาในการปฏิบัติยิ่งนานยิ่งแรงกล้า


:b20:

เจ้าของ:  bigtoo [ 31 ส.ค. 2015, 19:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

บ้านสวนสุขใจ เขียน:
การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
มันก็เป็นธรรมดานะครับเรื่องการปฎิบัติธรรมนี่ มันก็มีเบื่อกันทั้งนั้นเพราะพลังงานด้านลบ(พญามาร)มันก็ทำหน้าที่ของมันแต่เราต้องฉลาดด้วยการตั้งสติฟังธรรม สะสมสุตตะให้มาก. การสะสมการฟังการอ่านมากเท่ากับเราได้สะสมอาวุธไว้มากเท่ากับเราสร้างบรรยากาศให้ตัวเรานั้นอยู่ในพลังงานของธรรมะให้ได้ตลอด เช่นการหาข้อความดีๆแปะไว้ให้เราเห็นคอยเตือนใจเรา พยามพาตัวเราเข้าวัดฟังธรรมหากัลยณมิตรที่ดี และตั้งใจปฎิบัติอย่างจริงจัง. ขอแนะนำสถานที่ปฎิบัติธรรมที่อยู่ตามลายเซ็นต์ผมเลย และขอแนะนำสถานที่ทำบุญฟังธรรมที่วัดนาป่าพง (คลองสิบลำลูกกา)ที่นี่จะมีแต่การสนทนาธรรมะล้วนๆไม่มีเรื่องอื่นเหมาะแก่การศึกษาธรรมะ

เจ้าของ:  Rosarin [ 31 ส.ค. 2015, 21:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

บ้านสวนสุขใจ เขียน:
การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะไม่เว้นแม้แต่วินาทีเดียว กิเลสหลอกจิตให้เบื่อ การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องดึงจิตไปทางกุศล
ถ้าคิดว่าเป็นเราเบื่อก็จะเป็นเราขี้เกียจ ต้องดึงกระแสจิตให้ทวนกระแสที่ดึงไปทางต่ำเพราะกิเลสหลอกจิต
จิตไม่ได้เกิดเดี่ยวๆลอยๆ แต่จิตเกิดพร้อมกับเจตสิก ที่เป็นเจตนารู้ดี-ชั่วอันเป็นกรรมซึ่งก็คือสมุทัย
เพราะไม่มีอะไรอยู่ในบังคับบัญชาของใครบังคับให้รู้เร็วๆก็ไม่ได้ กุศลเกิดเมื่อละอกุศลเท่านั้น
การจะรู้อะไรถูกอะไรผิด จึงต้องรู้จักเลือกพาตนเองไปสู่สถานที่ที่มีผู้คนนิยมการประพฤติดี
และการเปลี่ยนสถานที่ สิ่งแวดล้อม ผู้คนรอบข้างที่มีความคิดเห็นไปในทางที่เป็นกุศล
จึงมีผลต่อความคิดและจินตนาการของจิตให้เป็นไปในทางใฝ่ดีเป็นกุศลธรรม
เช่น เข้าวัดบวชชีพราหมณ์กับหมู่คณะที่ไหนก็ได้ที่ถูกจริตกับตัวท่าน
:b17:
:b4: :b4:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 31 ส.ค. 2015, 22:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

บ้านสวนสุขใจ เขียน:
การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


:b1: ... คุณสุขใจถามอย่างจริงจังมากเลยนะนี่ ...

เอกอนไม่ค่อยเห็นผู้ปฏิบัติออกมาตามหา ศรัทธา อย่างนี้ ... :b1:

จริง ๆ จากประสบการณ์ของเอกอน จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เอกอนรู้สึกจิตปรู๊ดไปดีมาก
ซึ่งเอกอนรู้ว่า ตอนนั้น ศรัทธา เป็นองค์ที่มีความเด่นมากในช่วงนั้น ... :b1:
ดังนั้นประสบการณ์บางอย่างเกี่ยวกับ ศรัทธา เอกอนจะจำได้ฝังใจ

ศรัทธา เป็นเรื่องของกำลังในทาง อินทรีย์ - พละ ... :b1:

ผู้ที่จิตจะน้อมไปสู่การรู้แจ้ง เห็นแจ้งในธรรม อินทรีย์-พละ ต้องได้กำลัง

พระสูตรที่เพราะ ๆ ก็พระสูตรนี้

Quote Tipitaka:
ทัฏฐัพพสูตร ว่าด้วยที่ที่จะพึงเห็นกำลัง ๕

กลุ่มไตรปิฎกสิกขา


[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลังคือศรัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือสติ ๑
กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑
ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงเห็นกำลังคือศรัทธาในที่ไหน พึงเห็นในโสตาปัตติยังคะ๑ ๔
(องค์เป็นเครื่องให้บรรลุความเป็นพระโสดาบัน) พึงเห็นกำลังคือศรัทธาในที่นี้
ก็พึงเห็นกำลังคือวิริยะในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นกำลังคือวิริยะในที่นี้
ก็พึงเห็นกำลังคือสติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นกำลังคือสติในที่นี้
ก็พึงเห็นกำลังคือสมาธิในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔ พึงเห็นกำลังคือสมาธิในที่นี้
ก็พึงเห็นกำลังคือปัญญาในที่ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔ พึงเห็นกำลังคือปัญญาในที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล.


ทัฏฐัพพสูตร จบ



อรรถกถาทัฏฐัพพสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะตรัสโลกุตรธรรมในที่มิใช่วิสัย จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงเห็นกำลังคือศรัทธาในที่ไหน (กตฺถ จ ภิกฺขเว สทฺธาพลํ ทฏฺฐพฺพํ)
เหมือนอย่างว่า เมื่อสหายมีพระราชาเป็นที่ ๕ คือบุตรเศรษฐี ๔ คน พระราชา ๑ องค์
ลงเดินถนนด้วยคิดว่า เราจักเล่นนักษัตร
ในเวลาไปเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่หนึ่ง อีก ๔ คนก็นั่งเฉย
เจ้าของเรือนกล่าวว่า “พวกท่านจงให้ของเคี้ยว ของบริโภค
ของหอม ดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้นแก่ท่านเหล่านี้” แล้วตรวจตราในเรือน.
ในเวลาไปเรือนของบุตรเศรษฐี คนที่ ๒ คนที่ ๓ คนที่ ๔ อีก ๔ คนก็นั่งเฉย
เจ้าของเรือนกล่าวว่า “พวกท่านจงให้ของเคี้ยว ของบริโภค ของหอม
ดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้นแก่ท่านเหล่านี้ แล้วตรวจตราในเรือน.
ครั้นต่อมา ในเวลาไปราชมณเฑียรของพระราชาทีหลังเขาทั้งหมด
พระราชาแม้จะทรงเป็นใหญ่ในชนทั้งหมดก็จริง ถึงอย่างนั้นในเวลานี้ยังตรัสว่า
“พวกท่านจงให้ของเคี้ยว ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้น
แก่ท่านเหล่านี้” แล้วทรงตรวจตราในพระราชมณเฑียรของพระองค์ ฉันใด
ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อพละมีศรัทธาเป็นที่ ๕ แม้เกิดขึ้นในอารมณ์เดียวกัน
ก็เหมือนเมื่อสหายเหล่านั้นลงเดินถนนพร้อมกัน
สหายอีก ๔ คนนั่งเฉยในเรือนของคนที่หนึ่ง
สหายที่เป็นเจ้าของเรือน ย่อมตรวจตรา ฉันใด
สัทธาพละมีลักษณะน้อมใจเชื่อ ถึงโสดาปัตติยังคะแล้ว ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
พละที่เหลือก็คล้อยตามสัทธาพละนั้น ฉันนั้น
ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่ ๒ สหายอีก ๔ คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนตรวจตรา ฉันใด
วิริยพละมีลักษณะประคองไว้ ถึงสัมมัปปธานแล้ว ย่อมเป็นใหญ่ ย่อมเป็นหัวหน้า
พละที่เหลือก็คล้อยตามวิริยพละนั้น ฉันนั้น
ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่ ๓ สหายอีก ๔ คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนตรวจตรา ฉันใด
สติพละมีลักษณะปรากฏ ถึงสติปัฏฐานแล้ว ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
พละที่เหลือก็คล้อยตามสติพละนั้น ฉันนั้น
ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่ ๔ สหายอีก ๔ คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนย่อมตรวจตรา ฉันใด
สมาธิพละมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ถึงฌานวิโมกข์แล้ว ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
พละที่เหลือก็คล้อยตามสมาธิพละนั้น ฉันนั้น
แต่ในเวลาไปพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังเขาทั้งหมด
สหายอีก ๔ คนก็นั่งเฉย พระราชาพระองค์เดียวทรงตรวจตราในพระราชมณเฑียร ฉันใด
ปัญญาพละมีลักษณะรู้ทั่ว ถึงอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า
พละที่เหลือก็คล้อยตามปัญญาพละนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพละ ๕ ในสูตรนี้เจือกันอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


อรรถกถาทัฏฐัพพสูตร จบ


:b8: ...มันเป็นกำลังท่าน ตอนนี้ท่านอาจจะไม่ได้อยู่ในเรือนที่ ศรัทธา เป็นใหญ่ก็ได้

ท่านพิจารณาสำรวจอารมณ์ของตัวเองดี ๆ
ตอนนี้เจ้าเรือนอื่น อาจจะเป็นใหญ่อยู่ เด่นอยู่ อินทรีย์อื่นทำหน้าที่คล้อยตามอยู่

เรื่องอินทรีย์-พละ เขาไม่ชิงกันเด่นในเรือนคนอื่น ...

หากว่าเอกอนเห็น อินทรีย์พละ ข้อใดเด่นในช่วงไหน
เอกอนก็จะคล้อยตามให้เป็นไปตามกำลังแห่งอินทรีย์ที่เด่นนะ ...

การไต่บันไดในการพัฒนาจิตในทางธรรม อินทรีย์พละ มันมีองค์เด่นเป็นช่วง ๆ เป็นจังหวะ ๆ ท่าน
ท่านไม่สามารถยัดเยียด ศรัทธา ให้เด่นได้
ให้บริหารอินทรีย์ที่แสดงเด่นเป็นจังหวะ ๆ ไป
แล้วจิตเขาจะค่อย ๆ เวียนวนไปในทุก ๆ อินทรีย์เอง ตามจังหวะที่เหมาะสม
เพราะ ... อินทรีย์พละ เป็นสิ่งที่กำลังเขาจะค่อย ๆ หนุนเนื่องกันไป ...

:b1: :b1: :b1:

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  บ้านสวนสุขใจ [ 31 ส.ค. 2015, 22:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

ขอบคุณครับสำหรับทุกคำแนะนำและทุกความเห็น สำหรับกระทู้นี้ ผมตั้งใจอยากบอกให้ผู้ที่ปฏิบัติธรรม หลาย ๆ ท่านที่อาจมีประสบการเช่นเดียวกับผม และได้ใช้สติ ปัญญา หาวิธีการที่จะผ่านมันไปให้ได้
วิธีการของแต่ละท่านอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับความรู้ ความสามารถและบารมีที่แต่ละท่านสั่งสมมา
สำหรับผมแล้วผ่านสภาวะนั้นมาได้ ด้วยการอ่านพระสูตรต่างๆ แม้ว่าจะอ่านไม่เข้าใจแตกฉาน แต่หลักธรรมที่เข้าใจได้ มีส่วนช่วยจิตน้อมลง เกิดศรัทธา และจิตเป็นสมาธิได้
อีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี คือการตั้งจิตสวดมนต์ก็ช่วยให้จิตน้อมลงสู่สมาธิได้เร็วเช่นกัน
ส่วนท่านอื่น อาจมีวิธีการที่แตกต่างออกไป ตามจริต ตามนิสัยของแต่ละบุคคล ถ้าช่วยแชร์ประสบการน่าจะมีส่วนช่วยผู้ที่กำลังปฏิบัติอยู่ไม่มากก็น้อย
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆท่านครับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 31 ส.ค. 2015, 22:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

แก้ไขได้แล้ว..ก็ OK ครับ

:b9: :b9: :b9:

เจ้าของ:  student [ 31 ส.ค. 2015, 22:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

บ้านสวนสุขใจ เขียน:
การปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายหลังจากที่ปกิบัติไปสักระยะหนึ่ง อาจจะมีบางท่านที่เกิดความรู้สึกเดียวกันกับผม คือ ไม่เห็นผล เบื่อหน่ายและเลิกราไป
แต่ละท่านอาจมีเหตุผลแตกต่างกัน แต่สำหรับผมแล้วหลังจากได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุหลาย ๆ ประการ ก็คิดว่ามีเหตุประการหนึ่งคือความศรัทธาที่ย่อหย่อน
ผมถามตัวเองว่าตนเองมีความศรัทธามากเพียงใด แม้ว่าผมเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
แต่ความศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนนั้นกลับยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ขาดแรงจูงใจ ขาดฉันทะ ขาดความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ตอนนี้ผมกำลังปฏิบัติเพื่อตามหาความศรัทธาอยู่
ท่านใดมีความคิดเห็น หรือประสบการมาแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


ความเห็นผมยังคงยืนยันอย่างเดิมเมื่อมองดูพุทธบริษัท4ด้วยกันคือ

ศรัทธา เต็ม100 แล้วครับ

ไม่งั้นคงไปเคารพเทพอื่นๆ (ความเห็น) เช่น เต้นรอบกองไฟ บูชายันต์ และอื่นๆ

ที่บอกว่าศรัทธาเต็ม100คือ ไม่ได้เชื่ออย่างงมงายนั่นเอง

เพียงแต่กำลังของความเพียรมันหย่อนลง

แม้คุณบ้านสวนสุขใจ จะก้าวออกจากการทำความเพียรเพื่อมรรคผล (ปัญญาที่ดับกิเลส)

คุณบ้านสวนสุขใจมีเปอร์เซ็นที่น้อยมากที่จะหวนกลับไปเคารพสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย

ที่ขาดคืออย่างอื่นครับ เช่น สติที่จะกำหนดรู้ ความหลงลืม บ่อยๆเข้ามันก็ท้อ

คือ อินทรีย์5หย่อนนั่นเองครับ

เจ้าของ:  muisun [ 01 ก.ย. 2015, 11:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

ให้รู้ทันไปก่อนจะดีหรือไม่ดี จะได้หรือเสีย จะง่ายหรือจะยากให้รู้ไปตามอาการนั้นๆ จะเบื่อดับ จะยากดับ จะง่ายดับ เป็นอันว่าสภาพนั้นเรารู้ทันไปเแล้ว เค้าจะพัฒนาตัวเองไปสู่อินทรีย์ที่แก่กล้าโดยอัตโนมัติ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็จะมีกำลังขึ้น เรียกว่า สัมปะชัญญะปะภะ แปลว่ารู้ทันไปก่อน อยู่ในมหาสติปัฎฐาน 4 เพราะฉะนั้น จะง่าย จะยาก จะถูก จะผิด จะผิดดับๆ จะยากดับๆ เจริญอย่างนี้ตลอดเวลาไม่ว่างไม่เว้นแม้จะหลับหรือจะตื่น จะหลับดับๆ จะตื่นดับๆ และกลับมารู้ทันที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้ากำหนดเข้าดับ ลมหายใจออกกำหนดออกดับ สังเกตให้เห็นต้น กลาง สุด ของอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้น ทางนี้เรียกว่า ปลอดนิวรณ์ มีแต่เจริญก้าวหน้า ไม่มีเสื่อมถอย ใช้สัมผัสนึกรู้เอาไม่ต้องท่อง จะคิดดับๆ

จากสายสืบสั่งสอนนิสัยศาสตร์

เจ้าของ:  ยังไม่พ้น [ 02 ก.ย. 2015, 20:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

ความคิดเห็นส่วนตัว กิเลสพาให้ต่ำ ธรรมพาให้สูง กิเลสฉลาดหลักแหลมคมมาก พาให้ออกจากธรรม จากที่สวดมนต์ ก็ไม่สวด ฝืนเมื่อไหร่เป็นธรรมเมื่อนั้น กิเลสพาขี้เกียจอ้างเหตุผลสารพัด ทำบ่อยๆก็เป็นบารมี คือการสั่งสม ในศีล ในสมาธิ และน้อมสู่ปัญญา นิวรย์ก็หมอบราบให้สมาธิ ไม่กวนใจดี จะทำอะไรไม่ค่อยขี้เกียจ ง่วงก็ไม่มี จิตเป็นสมาธิไม่มีง่วง สวดมนต์ได้ตามต้องการ สู้ๆครับ หนทางของผู้กล้าหาญ

เจ้าของ:  บ้านสวนสุขใจ [ 02 ก.ย. 2015, 23:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

ขอบคุณทุกท่านครับ กุศลกรรม การแผ่เมตตา การเจริญสติ และธรรมอื่น ๆ ที่เราเจริญอยู่ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ครับ เมื่อใดที่ย่อหย่อน กิเลสก็จะดึงลงต่ำดังท่านว่า ลองสังเกตดูง่าย ๆ ก็ได้ ถ้าท่านเคยเจริญสติแล้วหยุดไประยะหนึ่ง ถ้าเริ่มต้นทำใหม่บางทียังต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่เลย และกว่าจะถึงระดับที่ทำได้อีกครั้งก็ต้องใช้เวลาอีกพอสมควร และใครทำได้ถึงระดับใด ก็ต้องพยายามทำให้ถึงระดับนั้นเสมอ ๆ เช่นถ้าท่านปฏิบัติถึงทุติยณาน ถ้าท่านไม่รักษาระดับการปฏิบัติให้ถึงทุติยณาน ไม่นานระดับของท่านจะลดลงโดยอัตโนมัติ กิเลสนี่มันตัวร้ายจริงๆ ร้ายกาจมาก ๆ
สุดปลายทางที่นิพพาน... เส้นทางนี้แม้ยาวไกลแต่จะขอไปให้ถึง สวัสดีครับ

เจ้าของ:  sirinpho [ 29 พ.ย. 2015, 14:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรม

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/