วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 07:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2016, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือนร้อนแล้ว
มีผัสสะบังหน้า

ย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น
โดยความเป็นตน


เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด
แต่สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยประการอื่น
จากที่เขาสำคัญนั้น.




สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ
ถูกภพบังหน้าแล้ว

มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น
จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.


เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด
สิ่งนั้นก็เป็นภัย


เขากลัวต่อสิ่งใด
สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.





พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ
ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ นั้นเอง.





สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวความหลุดพ้นจากภพ
ว่ามีได้เพราะ ภพ;


เรากล่าวว่า สมณะทั้งปวงนั้น
มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.





ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวความออกไปได้จากภพ
ว่ามีได้เพราะ วิภพ;


เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น
ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้.






ก็ทุกข์นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ซึ่ง อุปธิ ทั้งปวง.

ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ไม่มี
ก็เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง.





ท่านจงดูโลกนี้เถิด(จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลาย
อันอวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว;

และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพ อันเป็นแล้วนั้น
ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้.


ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด
อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง
เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง;


ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.




เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้อยู่;

เขาย่อมละภวตัณหาได้
และไม่เพลิดเพลินซึ่งวิภวตัณหาด้วย.


ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง
นั้นคือ นิพพาน.


ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว
เพราะไม่มีความยึดมั่น.



ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว
ชนะสงครามแล้วก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว
เป็นผู้คงที่ ดังนี้แล.




บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๑๒๑/๘๔.






หมายเหตุ;


พรหมจรรย์ หมายถึง มรรคและอริยมรรค มีองค์ ๘

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2016, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก… มีอานุภาพมาก… คือ

(๑) ทาน การให้

(๒) ทมะ การบีบบังคับใจ,

(๓) สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.






หมายเหตุ:

เมื่อรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ของคำเรียก ที่เรียกว่า ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)


จึงทำให้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
เพราะเหตุใด สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ละขณะๆๆ

บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด

และบางครั้ง ไม่มีผลกระทบทางใจ(รู้สึกเฉยๆ)



ทำให้รู้ชัดในลัษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ของคำเรียก ที่เรียกว่า กรรมและวิบากกรรม(ผลของกรรม)

สิ่งที่เคยกระทำไว้ทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ส่งมาให้รับผล(วิบากกรรม) ในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น


การรู้ชัด ในผัสสะ ที่เกิดขึ้น เช่นนี้ได้
สามารถรู้ด้วยการฟัง รู้ด้วยการอ่าน รู้ด้วยการภาวนา



ผลแห่งวิบากกรรม ๓(ผลของการกระทำดังนี้) หมายถึง

๑. ทาน การให้ หมายถึง การให้อภัย
ให้อภัยต่อการกระทำของผู้อื่น ที่มีกับตน


๒. ทมะ การบีบบังคับใจ หมายถึง อดทน อดกลั้น กดข่มใจ
หมายถึง ไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น(ไม่ปล่อยให้ ก้าวล่วงออกไป)
ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ


๓. สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้
หมายถึง เมื่อกระทำได้เช่นนี้(การหยุดสร้างเหตุนอกตัว)
เป็นเหตุให้ เกิดความสำรวม สังวร คือ ระวัง ทุกๆครั้งที่ผัสสะเกิด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2016, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มคฺโค อตฺถิ คมโก น วิชฺชติ

ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี




อัตตา ความมีตัวตน(ตัวกู ของกู) เกิดขึ้นตรงไหน
ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ ย่อมมีอยู่

ไร้อัตตา ไร้ตัวตน ภพย่อมดับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2016, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภพเป็นอย่างไร


ภิกษุทั้งหลาย ภพเป็นอย่างไรเล่า?


ภิกษุทั้งหลาย ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ

กามภพ

รูปภพ

อรูปภพ


ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภพ



ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพย่อมมี
เพราะว่าก่อขึ้นแห่งอุปาทาน


ความดับไม่เหลือแห่งภพย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน


มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง
เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ


นิทาน.สํ.๑๖/๕๑/๙๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2016, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ. คุณวลัยพร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
สวัสดีครับ. คุณวลัยพร




:b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ใบไม้ในกำมือ




ศิล







สมาธิ


๑. มิจฉาสมาธิ(ขาดความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิ)


๒. สัมมาสมาธิ(มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ)



ข้อปฏิบัติ



วิธีที่ ๑.๑ ปรับอินทรีย์

ให้สังเกตุเวลาจิตเป็นสมาธิ

เมื่อสติกับสมาธิที่มีเกิดขึ้น ไม่ล้าหน้ามากกว่ากันเกินไป
เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว) มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)
เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ(ธาตุรู้) มีเกิดขึ้น

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)










วิธีที่ ๒. โยนิโสมนสิการ (กำหนดรู้)

ขณะจิตเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัว

เมื่อกำหนดสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุและปัจจัย

เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว) มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)
เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ(ธาตุรู้) มีเกิดขึ้น

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)





หากเป็นมิจฉาสมาธิ หรือที่เรียกว่า สมถะ
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง







๓. ญาณ ๑๖ (ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ ในสัมมาสมาธิ)

มีไว้ใช้สำหรับสอบอารมณ์กรรมฐานของผู้ปฏิบัติ
เพื่อดูความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิว่า
มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นแล้วหรือยัง

ไว้ใช้ดูตรงนี้ ดูผัสสะต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ เช่น
รูปที่ปรากฏ
ลิ้นที่ลิ้มรส
จมูกที่ได้กลิ่น
เสียงที่ได้ยิน
กายที่สัมผัส
ธรรมารมณ์(ความนึกคิด)


ไม่ใช่นำไปเทียบว่า ได้อะไร เป็นอะไร




(ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ เฉพาะสัมมาสมาธิ)


ข้อปฏิบัติ ไม่ให้ติดอุปกิเลส "โยนิโสมนสิการ"

เมื่อมีสภาพธรรมใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
ให้กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)

เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่ติดกับดักของกิเลส
ที่มีเกิดขึ้นในใจตน


เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

เป็นปัจจัยให้ จิตเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่ต้องพยามคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง

เช่น เวทนาทางกายที่มีเกิดขึ้น
จะรู้ตั้งแต่กำลังจะเกิด กำลังเกิด กำลังคลายตัว
จนกระทั่งจางคลายหายไป

โอภาส แสงสว่างที่มีเกิดขึ้น
จะสว่างน้อย สว่างมากมายมหาศาล
หรือมีอาการไฟช๊อตไปทั่วร่างกาย
หรือเหมือนมีกระแสไฟวิ่งผ่านทั่วร่างกาย
ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้น
ล้วนเกิดจากกำลังของสมาธิที่มีเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ







ปัญญา



๑. กรรม (กรรมเก่า-กรรมใหม่)


๒. ผัสสะ


๓. โยนิโสมนสิการ


๔. ไตรลักษณ์


๕. ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม(มรรค - อริยมรรค มีองค์ ๘)




๖. อริยสัจ ๔


ทุกข์


สมุทัย


นิโรธ


มรรค





๗.. ปฏิจจสมุปบาท






๘. อริยสัจ ๔


ทุกขอริยสัจ

ทุกขสมุทยอริยสัจ

ทุกขนิโรธอริยสัจ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ



๙. นิพพาน


๑๐. จิ. เจ. รุ. นิ.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ก.ย. 2016, 23:10, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ - วิปัสสนา



ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด
หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ


ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้
ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น


เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

เมื่อภิกษุนั้น เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด
หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ



[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ





วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น

โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา


ด้วยประการดังนี้


สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. อารัมมณสูตร

ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ


[๕๘๙] พระนครสาวัตถี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้.
๔ จำพวกเป็นไฉน?

คือ ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑.

บางคนฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.


บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑.

บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๑.

ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ.

นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด
และดีกว่าผู้ได้ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น

เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้ม
เกิดจากนมสด ฯลฯ


จบ สูตรที่ ๕.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2016, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
มคฺโค อตฺถิ คมโก น วิชฺชติ

ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี




อัตตา ความมีตัวตน(ตัวกู ของกู) เกิดขึ้นตรงไหน
ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ ย่อมมีอยู่

ไร้อัตตา ไร้ตัวตน ภพย่อมดับ






เผื่อมีบางคนอ่านแล้ว อาจจะไม่เข้าใจ



"อัตตา ความมีตัวตน(ตัวกู ของกู) เกิดขึ้นตรงไหน
ความบังเกิดขึ้นแห่งภพ ย่อมมีอยู่"


หมายถึง ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ




"ไร้อัตตา ไร้ตัวตน ภพย่อมดับ"

หมายถึง ผัสสะ สักแต่ว่าผัสสะที่มีเกิดขึ้น
โดยไม่มีการนำความมีตัวตน(ความเห็นของตน)
เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาพธรรม(ผัสสะ) ที่กำลังมีเกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2016, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรียบเหมือนแม่โคโง่ไม่ชำนาญภูเขา

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา
ตัวที่โง่ไม่ชำนาญไม่รู้เขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบ

แม่โคนั้น จะพึงคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอเราจะพึงไปทิศที่ยังไม่เคยไป
จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคย

ครั้นแล้วมันยังไม่ทันได้เหยียบเท้าหน้าไว้ให้ได้ทีเสียก่อน
แล้วยกเท้าหลังขึ้น มันก็จะไม่พึงไปทิศที่ตนไม่เคยไป
ไม่พึงได้กัดกินหญ้าที่ตนยังไม่เคยกัดกิน และไม่พึงได้ดื่มน้ำที่ตนยังไม่เคยดื่ม

มิหนำซ้ำ มันยังไม่พึงกลับคืนมาโดยสวัสดียังสถานที่เดิมที่มันยืนคิดอยู่ว่า
ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงไปถึงทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน
จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ฉะนี้ด้วย ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า แม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขานั้น มันโง่
มันไม่ชำนาญ มันไม่รู้จักเขตที่หากิน มันไม่ฉลาดเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบโดยแท้ ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว คือ เป็นคนโง่
เพราะ ไม่ได้ส้องเสพสมถนิมิต เป็นคนไม่ชำนาญ
เพราะไม่ทำสมาธิให้เจริญขึ้นซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากความสงัดอยู่
เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุนั้นไม่ได้ส้องเสพนิมิตนั้น ไม่ทำให้นิมิตนั้นให้เจริญขึ้น ไม่ทำให้มากๆเข้า ไม่ทำให้ตั้งอยู่ด้วยดี


ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุซึ่งทุติยฌานอันเป็นภายใน
ประกอบด้วยความเลื่อมใสแห่งใจ มีภาวะที่ให้ธรรมอันประเสริฐเกิดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปแล้ว มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌาน …. นั้นได้

ถึงเธอจะมีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน
อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่ความสงัดอยู่ เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย
เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งปฐมฌาน ….. นั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้พลัดตกเสียแล้วจากฌานทั้ง ๒
เป็นผู้เสื่อมสูญแล้ว จากฌานทั้ง ๒


เปรียบเหมือนแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ซึ่งเป็นสัตว์โง่
ไม่ชำนาญ ไม่รู้จักขอบเขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2016, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การสอบอารมณ์มีสองชนิด


๑. การสอบอารมณ์เพื่อดูความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิ ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ
โดยใช้เรื่องญาณ ๑๖ นำมาใช้ในการสอบอารมณ์



๒. การสอบอารมณ์เพื่อดูภพชาติของการเกิดที่ยังมีอยู่
ดูที่ผัสสะที่มีเกิดขึ้น ดูความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น
และการกระทำ ที่กระทำลงไปทางกาย วาจา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิสูตร

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2016, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน



ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2016, 04:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน



ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน



:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 166 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร