วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 11:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2016, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอถามลุงหมานค่ะ

๑. ในฐานะผู้ศึกษาพระอภิธรรม จะช่วยสร้าง "ปัญญา" ให้ศาสนิกชนท่านอื่นให้เห็นคุณานิสงส์ของการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรม ยิ่งกว่าการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ได้อย่างไรค่ะ คือเราไม่ได้ปฏิเสธการก่อสร้าง แต่ไม่อยากให้เน้นมากเสียจนกระทั่งปิดบังพระธรรม

๒. ได้ฟังหลวงปู่หลวงพ่อหลายรูปท่านเทศน์บอกว่า ชาวพุทธไทยไม่ผ่านข้อ "มุทิตา" คือมีเมตตา กรุณา เยอะ แต่ไปไม่ถึงมุทิตาค่ะ ในฐานะผู้ศึกษาพระอภิธรรมจะช่วยให้หลักธรรมเรื่อง พรหมวิหารธรรม ทั้ง ๔ ประการ เข้าสู่ใจชาวพุทธไทยได้อย่างไรค่ะ

ขอให้อธิบายยาวๆ ให้ละเอียดทุกชอตเลยนะคะ

หลักศาสนพิธีถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของศาสนา เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นเพื่อการโน้มนำให้ศาสนิกชนเข้าไปศึกษาเรียนรู้หลักธรรมอันเป็นหลักการสำคัญและเป้าหมายที่แท้จริงของศาสนา การทำบุญบำเพ็ญกุศลหรือการทำความดีและสร้างสมความดีตามคติพระพุทธศาสนา ได้แก่การทำทาน การรักษาศีลและฟังพระธรรมเทศนา แล้วน้อมนำมาปฏิบัติในชีวิตจริงให้ได้ อันเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นคนดี เป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติบ้านเมือง

วิธีการปฏิบัติกิจกรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งกิจกรรมก็ดี สังฆกรรมของพระสงฆ์ก็ดี แต่ละอย่างย่อมมีวิธีการปฏิบัติเป็นแนวทางเป็นขั้นตอนเอาไว้ จนกลายเป็นระเบียบแบบอย่าง และประเพณีวัฒนธรรมสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ในพระพุทธศาสนาเมื่อจะทำกิจกรรมใด หรือจะบำเพ็ญกุศลชนิดใด จะต้องปฏิบัติตามวิธี ขั้นตอนและระเบียบแบบอย่างของกิจกรรมนั้น ๆ อย่างถูกต้อง จึงจะชื่อว่าได้ทำกิจกรรมนั้นได้อย่างถูกต้อง ผลที่เกิดคือบุญกุศลซึ่งเป็นที่หวังสุดท้ายของการกระทำนั้น ๆ

พระพุทธศาสนามีกิจกรรมพิธีกรรมหลายอย่างและมีวิธีปฏิบัติเอาไว้ เรียกว่าศาสนพิธี ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพระพุทธศาสนาชนิดหนึ่งในองค์ประกอบ ๔ ประการ อันได้แก่

๑. ศาสนพิธี ๒. ศาสนธรรม ๒. ศาสนบุคคล ๔. ศาสนวัตถุ

ศาสนพิธี ได้แก่วิธีปฏิบัติตามกิจกรรมต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา เช่น วิธีทำบุญ วิธีบำเพ็ญกุศล ถวายทาน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ทำบุญทุกวันพระ วันมงคลและอวมงคล จัดสวดมนต์ข้ามปีเหล่านี้ เป็นต้น ศาสนาพิธี มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาและชาวพุทธมากโดยเฉพาะเกี่ยวกับด้านจิตใจ เพราะศาสนพิธีเป็นเครื่องจูงใจในเบื้องต้นตั้งแต่แรกพบและมองเห็นผู้อื่นประกอบและขณะที่ตนเองประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ อยู่ ซึ่งทำให้เกิดความคิดขึ้นว่าพิธีกรรมนั้น ๆ ศักดิ์สิทธิ์ ขลัง น่าศรัทธาเสื่อมใสไม่กล้าล่วงละเมิด ไม่กล้าดูถูก เหยียดหยาม ลบหลู่ทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจที่เรียกว่าปีติ

ศาสนพิธีช่วยให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเกิดความมั่นใจว่าพิธีกรรมที่ทำนั้นถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ ถูกประเพณีธรรมเนียม ถูกตามหลักธรรม คติธรรม ของพิธีนั้น ๆ และเชื่อว่าจะเกิดบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ขึ้นแก่ตน เพราะการปฏิบัติถูกหลักที่วางไว้ ตรงกันข้ามถ้าทำผิดวิธี ผิดระเบียบปฏิบัติ ก็เชื่อว่าการกระทำนั้นจะไม่เกิดผลอันใดแก่ตนและผู้ปฏิบัติ

ศาสนพิธีแม้จะเป็นเพียงเปลือกนอกของศาสนาก็ตาม แต่ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นเครื่องชักจูงและปลูกฝังศรัทธา ส่งเสริมและให้กำลังใจ สร้างความอุ่นใจ ความเชื่อมั่นแก่ศาสนิกชนของศาสนา รวมทั้งเป็นสื่อกลางสำหรับน้อมนำให้ผู้ปฏิบัติหันมาสนใจและศึกษาเรียนรู้หลักธรรมอันเป็นแกนกลางของพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประศาสนพิธีแม้จะเป็นเพียงเปลือกนอกของศาสนาก็ตาม แต่ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นเครื่องชักจูงและปลูกฝังศรัทธา ส่งเสริมและให้กำลังใจ สร้างความอุ่นใจ ความเชื่อมั่นแก่ศาสนิกชนของศาสนา รวมทั้งเป็นสื่อกลางสำหรับน้อมนำให้ผู้ปฏิบัติหันมาสนใจและศึกษาเรียนรู้หลักธรรมอันเป็นแกนกลางของพระพุทธศาสนา

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบของศาสนา ศาสนพิธีจึงเป็นวิธีการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้หลักธรรมคำสอน เป็นวิธีการปรับสภาพผู้เรียนรู้ศึกษาให้อยู่ในภาวะเหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ เนื่องจากโดยปกติทั่วไปแล้วผู้เรียนรู้ศึกษาศาสนามักจะเริ่มต้นที่ ศรัทธา ศาสนพิธีจึงเป็นรูปแบบการปลูกสร้างศรัทธาที่เป็นรูปธรรม และเป็นเครื่องมืออย่างดียิ่งที่จะโน้มนำศาสนิกให้หันมาสนใจหลักคำสอน

ศาสนพิธีแม้จะเป็นเพียงองค์ประกอบภายนอกของศาสนา แต่ก็มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือและวิธีการสำหรับเชื่อมโยงศรัทธาไปสู่ปัญญา ศาสนพิธีแม้จะเป็นเพียงเปลือกนอกแต่ก็เป็นเปลือกที่มีความสำคัญสำหรับแก่นของศาสนา ในฐานะที่เป็นส่วนห่อหุ้มแก่นให้สามารถดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่สามารถดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีองค์ประกอบต่าง ๆ สมบูรณ์ รวมทั้งเปลือกไม้ ต้นไม้ที่ไร้เปลือกห่อหุ้มแก่นจึงกลายเป็นต้นไม้ตายซากในที่สุด

พรุ่งนี้มาต่อ........

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2016, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ได้ตั้งหัวข้อคือองค์ประกอบของพระพุทธศาสนาว่ามี ๔ อย่างนั้นคิดว่าผู้ถามคงจะเข้าใจแล้วนะ
ว่าศาสนทั้ง ๔ จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลยจะเกิดการไม่สมบูรณ์จะทำให้เหมือนกับคนพิการ
ก็จะไม่ขอขยายความหัวข้อศาสนทั้ง ๔ ให้เยิ่นเย้อ คือจะให้เข้าตรงประเด็นที่ถาม

อ้างคำพูด:
๑. ในฐานะผู้ศึกษาพระอภิธรรม จะช่วยสร้าง "ปัญญา" ให้ศาสนิกชนท่านอื่นให้เห็นคุณานิสงส์ของการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรม ยิ่งกว่าการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ได้อย่างไรค่ะ คือเราไม่ได้ปฏิเสธการก่อสร้าง แต่ไม่อยากให้เน้นมากเสียจนกระทั่งปิดบังพระธรรม

พระอภิธรรมจะเน้นหนักไปโดยการสร้าง"ปัญญา" โดยจะไม่มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง จะมุ่งเน้นไป
ในเรื่องสภาวะธรรมตามความเป็นจริงว่า อะไรคือ กุศล อะไรคือ อกุศล อะไรคือ รูป อะไรคือ นาม ก็ได้แก่
ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นการปฏิเสธ คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งสมมุติ เช่น ต้นไม้ ภูเขา
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็นต้น จะถูกปฏิเสธว่าไม่มี ซึ่งจะสวนทางกับชาวโลกที่ยังยึดติดกับสิ่งสมมุติกันอยู่

คำสอนของพระองค์จึงได้แบ่งไว้เป็นพระไตรปิฎกที่มี พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม

พระสูตรก็จะมุ่งเน้นในเรื่องสัทธาซึ่งจะมีบุคคลเป็นรูปแบบอย่าง พระวินัยก็จะมุ่งเน้นไปในเรื่องการอยู่ร่วมกัน
อย่างผาสุข พระอภิธรรมจะมุ่งเน้นไปในเรื่องปัญญา

คนเรานั้นมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน เหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งบางคนต้องการยอด บางคนต้องการผล บางคนต้องการลำต้น บางคนต้องการราก บางคนต้องการเปลือก บางคนต้องการกิ่ง ซึ่งแต่คนจะไม่เหมือนกัน
การก่อสร้างถาวรวัตถุก็เป็นบุญเป็นกุศลอย่างหนึ่งที่จะให้ผลเป็นเคหะสถานวิมานบ้านช่องในภพภูมิเบื้องหน้าจะไม่ขัดสนเงินทองเครื่องใช้ไม่สอย พูดง่ายๆเข้าใจให้ตรงก็ก็คือทำบุญเพื่อเกิดอีก แต่พระอภิธรรมเป็นการสร้างกุศลด้วยปัญญาเป็นการสร้างกุศลที่ไม่เกิดอีกต่อไป

ซึ่งจะตรงกับคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า"กฏแห่งกรรม"บุคคลทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่วย่อมเป็นผลติดตามตนไป และเมื่อบาปบุญกุศลทุกอย่างที่ได้กระทำไว้จะต้องถูกสลัดทิ้งเมื่อเข้าพระนิพพาน บุญกุศลที่กระทำไว้มากมายก่ายกองก็ไม่มีความจำเป็นอะไรอีก เหมือนกับคนสะสมสมบัติมากมายพอตายไปก็ต้องทิ้ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2016, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ตามที่ได้ตั้งหัวข้อคือองค์ประกอบของพระพุทธศาสนาว่ามี ๔ อย่างนั้นคิดว่าผู้ถามคงจะเข้าใจแล้วนะ ว่าศาสนทั้ง ๔ จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลยจะเกิดการไม่สมบูรณ์จะทำให้เหมือนกับคนพิการ ก็จะไม่ขอขยายความหัวข้อศาสนทั้ง ๔ ให้เยิ่นเย้อ คือจะให้เข้าตรงประเด็นที่ถาม

อ้างคำพูด:
๑. ในฐานะผู้ศึกษาพระอภิธรรม จะช่วยสร้าง "ปัญญา" ให้ศาสนิกชนท่านอื่นให้เห็นคุณานิสงส์ของการศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรม ยิ่งกว่าการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ได้อย่างไรค่ะ คือเราไม่ได้ปฏิเสธการก่อสร้าง แต่ไม่อยากให้เน้นมากเสียจนกระทั่งปิดบังพระธรรม

พระอภิธรรมจะเน้นหนักไปโดยการสร้าง"ปัญญา" โดยจะไม่มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง จะมุ่งเน้นไป
ในเรื่องสภาวะธรรมตามความเป็นจริงว่า อะไรคือ กุศล อะไรคือ อกุศล อะไรคือ รูป อะไรคือ นาม ก็ได้แก่
ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นการปฏิเสธ คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งสมมุติ เช่น ต้นไม้ ภูเขา
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็นต้น จะถูกปฏิเสธว่าไม่มี ซึ่งจะสวนทางกับชาวโลกที่ยังยึดติดกับสิ่งสมมุติกันอยู่

คำสอนของพระองค์จึงได้แบ่งไว้เป็นพระไตรปิฎกที่มี พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม

พระสูตรก็จะมุ่งเน้นในเรื่องสัทธาซึ่งจะมีบุคคลเป็นรูปแบบอย่าง พระวินัยก็จะมุ่งเน้นไปในเรื่องการอยู่ร่วมกัน
อย่างผาสุข พระอภิธรรมจะมุ่งเน้นไปในเรื่องปัญญา

คนเรานั้นมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน เหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งบางคนต้องการยอด บางคนต้องการผล บางคนต้องการลำต้น บางคนต้องการราก บางคนต้องการเปลือก บางคนต้องการกิ่ง ซึ่งแต่คนจะไม่เหมือนกัน
การก่อสร้างถาวรวัตถุก็เป็นบุญเป็นกุศลอย่างหนึ่งที่จะให้ผลเป็นเคหะสถานวิมานบ้านช่องในภพภูมิเบื้องหน้าจะไม่ขัดสนเงินทองเครื่องใช้ไม่สอย พูดง่ายๆเข้าใจให้ตรงก็ก็คือทำบุญเพื่อเกิดอีก แต่พระอภิธรรมเป็นการสร้างกุศลด้วยปัญญาเป็นการสร้างกุศลที่ไม่เกิดอีกต่อไป

ซึ่งจะตรงกับคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า"กฏแห่งกรรม"บุคคลทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่วย่อมเป็นผลติดตามตนไป และเมื่อบาปบุญกุศลทุกอย่างที่ได้กระทำไว้จะต้องถูกสลัดทิ้งเมื่อเข้าพระนิพพาน บุญกุศลที่กระทำไว้มากมายก่ายกองก็ไม่มีความจำเป็นอะไรอีก เหมือนกับคนสะสมสมบัติมากมายพอตายไปก็ต้องทิ้ง

:b8: สาธุค่ะลุง

และที่สำคัญ ยังมีนักศึกษา หรือผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรม แล้วยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งก็มี บางคนศึกษาแบบครึ่งๆ กลางๆ ฉาบฉวย ไม่ได้ใส่ใจจริงจัง ไม่สอบ บวกกับความเป็นคนดื้อไม่ฟังคำเตือนจากผู้ที่เข้าใจ คนพวกนี้ยังขาดความเข้าใจอีกมาก เพราะความที่ไม่จริงจังนี้ จึงขาดปัญญา ทำให้เกิดศรัทธาหลงงมงายในแหล่งเผยแพร่ที่ผิดๆถูกๆ แล้วก็จะไปสนับสนุนไปช่วยเผยแพร่ธรรมะให้กลุ่มที่เผยแพร่พระอภิธรรมแบบผิดๆถูกๆ ซึ่งผู้ศึกษาพระอภิธรรมที่ไม่รู้เท่าทันคำสอนผิดๆ ก็ไปช่วยกลุ่มที่สอนผิดเผยแพร่ คนอื่นๆ ที่เชื่อในตัวผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรม ก็จะเชื่อถือคำสอนที่ผิดๆ ตามไปด้วยค่ะ

ผู้ศึกษาพระอภิธรรมบางคน จึงมีทั้งความรู้ที่ถูกต้อง และไม่ถูกต้อง เพราะขาดการเรียนอย่างจริงจัง เรียนแบบฉาบฉวย

ดังนั้น ไม่ใช่ว่า พอเป็นผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมแล้ว จะชักชวนใครไปในทางที่ถูกต้องเสมอไป บางคนก็ชักชวนคนไปในกลุ่มที่สอนผิดๆ ถูกๆ ก็มีค่ะ

ที่สำคัญคือ คนทุกๆ คนก็ต้องมีตนเป็นพึ่งของตนเองด้วย อย่าเพิ่งไปให้เครดิตใครต่อใครเต็มที่ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2016, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
ครั้งพุทธกาลชาวเมืองมคธใช้บาลีเป็นภาษาสื่อสารตามปกติ
คำว่าธัมมะแปลจากบาลีมาไทยคือสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏค่ะ
ถ้าจะศึกษาให้เข้าใจก็ต้องเข้าใจในภาษาไทยสำหรับคนไทย
ปัญญาแปลว่าความเข้าใจถูกความเห็นถูกต้องตามคำสอนค่ะ
ทุกคำในพระไตรปิฎกเป็นพระธรรมคือสิ่งที่ทุกคนกำลังมีจริงๆ
ทุกอย่างที่กำลังมีกำลังปรากฏตรัสอธิบายไว้ละเอียดอย่างยิ่งค่ะ
ที่ไปวัดฟังสวดอภิธรรมเตือนว่าความละเอียดอย่างยิ่ง(อภิธรรม)
คือความจริงของสิ่งที่จิตทุกดวงมีจำเป็นต้องศึกษาด้วยตนเองให้รู้
ให้เข้าใจว่าจิตตนสะสมความเป็นไปทุกประการตามแสดงอภิธัมมะ
จะรู้ความจริงตามคำสอนต้องรู้ตอนที่ตื่นไม่ง่วงไม่หลับตอนกำลังมี
เพราะความไม่รู้สะสมมากที่ได้เกิดมาแล้วก็เพราะยังไม่รู้ความจริงค่ะ
พระพุทธเจ้าให้ฟังคำของพระองค์ให้เข้าใจโดยใช้หลักกาลามสูตร10
เพราะฟังแล้วให้ไตร่ตรองให้รอบคอบเพราะทรงแสดงความจริงที่มีแล้ว
ไม่ต้องไปหาเพิ่มเติมจากที่ไหนหรือที่ใดๆในโลกเพราะมีแล้วแต่ไม่รู้นะคร้า
แค่ศึกษาโดยตั้งใจฟังให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่ตนกำลังมีแล้วไตร่ตรองตาม
พระพุทธเจ้าสอนให้ฉลาดในการใช้ชีวิตตามปกติเพราะทรงตรัสทุกอย่างไว้ดีแล้ว
https://m.youtube.com/watch?v=brbNtNFMHa0
:b4: :b4:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2016, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีกับทั้งสองท่านที่มาร่วมกันสนทนาธรรม สาธุๆๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2016, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๒. ได้ฟังหลวงปู่หลวงพ่อหลายรูปท่านเทศน์บอกว่า ชาวพุทธไทยไม่ผ่านข้อ "มุทิตา" คือมีเมตตา กรุณา เยอะ แต่ไปไม่ถึงมุทิตาค่ะ ในฐานะผู้ศึกษาพระอภิธรรมจะช่วยให้หลักธรรมเรื่อง พรหมวิหารธรรม ทั้ง ๔ ประการ เข้าสู่ใจชาวพุทธไทยได้อย่างไรค่ะ


เรื่อง "มุฑิตา" มันก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธหรือชาวไหนๆทั้งนั้น
การที่จะยินดีกับผู้ที่ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ นั้น มุฑิตามันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นเป็นคนที่เรารัก
หรือเป็นญาติของเรา ลำพังว่า ลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ ได้เกิดขึ้นกับบุคคลที่เราเกลียดชัง
หรือเกิดขึ้นกับศัตรูคู่แค้นแล้วละก็มุฑิตาย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ยิ่งจะทำให้ความอิสสาเกิดขึ้นมาแทน
เสียด้วยซ้ำไป อย่างน้อยๆที่สุดก็ย่อมคิดว่าทำไมลาภสักการะเหล่านี้ทำไม่ไม่เกิดขึ้นกับเราบางหนอ
ฉะนั้นธรรมชาติของมุฑิตาจิตจะไม่เกิดกับคนได้ทั่วๆไป

ธรรมชาติของมุฑิตาจิตจะเกิดขึ้นได้กับบุคคลที่ได้ฌานตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌานเท่านั้น
ถ้าเข้าถึงฌานที่เป็นอุเบกขาแล้วละมุฑิตาจิตก็จะไม่เกิดขึ้นเลย ฉะนั้นเราผู้ใฝ่ในธรรมจะต้องเข้าใจธรรชาติ
ของมุฑิตาจิต หรือหน้าที่การงานของมุฑิตาจิตก็เท่านั้นเราไม่ต้องไปอยากได้หรือทำให้มีขึ้น เพียงแต่ว่า
เราขอเพียงเป็นผู้รู้เท่านั้นก็พอเพียงแล้ว

เรื่องพรหมวิหาร ๔ นั้น ซึ่งแปลว่า เป็นเครื่องอยู่ของพรหม หมายความว่า "เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา"
ตามที่เราเข้าใจกันนั้น ถึงแม้ว่าทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้นั้น ผู้ที่ได้ฌานปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน อุเบกขาก็ไม่เกิดขึ้น ถ้าได้ฌานสูงไปกว่านั้นนับตั้งแต่ปัญจมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญา มุฑิตาก็จะไม่เกิดเช่นกัน
ที่ยกสิ่งเหล่านี้มาอธิบายก็เพื่อจะใหทราบว่า พรหมวิหาร ๔ นั้นแท้จริงจะเกิดได้ไม่พร้อมกัน
หรือแม้ว่าบุคคลที่ได้ไปเกิดเป็นพรหมโลกก็เถอะ พรหมวิหารเกิดได้แต่ก็ไม่พร้อมกัน หรือแม้ว่าจิต
ที่เป็นโลกุตตรจิต "มุฑิตาจิต" ก็จะไม่เกิดขึ้นเลย ดังนั้นตามที่หลวงพ่อหลวงพี่่กล่าวมานั้นก็อาจจะเป็นได้ว่าเพราะเหตุนี้เอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2016, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะลุง อ่านที่ลุงเขียนมาแล้วนึกถึง ลักขณาทิจตุกะ

:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้

มุทิตา = มีความพลอยยินดีในสมบัติของผู้อื่น, มีความไม่ริษยา,
มีการกำจัดความไม่ยินดี, มีการเห็นสมบัติของผู้อื่น

อิสสา = มีความริษยาสมบัติของผู้อื่น, มีความไม่ยินดีในสมบัติผู้อื่น,
มีการเบือนหน้าหนีจากสมบัติผู้อื่น, มีสมบัติผู้อื่น

ยากนะคะที่คนเราจะยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่นได้
อย่างน้อยต้องมีสตินึกถึงแล้วว่า ความไม่ยินดี ทำเป็นไม่รับรู้ ทำเป็นไม่อยู่ในสายตาเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี แทนที่จะเข้าไปยิ้มทักทายยินดีกับเขาด้วยความจริงใจ กลับทำไม่ได้ บางคนกลับโอ้อวดเรื่องของตนกลบเกลื่อน หรือเกทับว่าตนเองเหนือกว่าไปก็มี เห็นคนอื่นได้ดี เข้าไปยินดีนิดนึงแต่พูดเรื่องของตนหรือคนของตน ที่เชิดหน้าชูตากลบเกลื่อนเกทับเสีย กลายเป็นว่าเข้าไปยินดีกับเขา หรือเข้าไปเกทับเขา บอกให้เขารู้ว่า ชั้นได้ดีกว่าเธอนะ การเกิดความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นในจิต ถ้าไม่มีสติรู้เท่าทัน อกุศลก็เกิดต่อไปอีกยืดยาว หรือเพราะไม่เคยรู้ว่าจิตที่เกิดขึ้นแบบนี้มันเป็นอกุศลและจะให้ผลเป็นความทุกข์ในวันข้างหน้า หรือรู้ว่าไม่ดีแต่ขาดหิริ โอตตัปปะ ที่กล่าวตัวอย่างเหล่านี้มาเป็นต้น จึงทำให้กำจัดความไม่ยินดีออกจากใจไปไม่ได้

การที่จะทำอะไรให้กุศลเกิดได้ เช่น มุทิตา อย่างหนึ่งคือต้องรู้ว่าอะไรคือ กุศล อะไรคือ อกุศล ด้วย
โดยมากคนทั่วไปก็ยังแยกไม่ออก จึงไม่ยอมขจัดความรู้สึกที่ไม่ดีออกไปจากใจได้ง่าย หรือกลับยอมรับความรู้สึกนั้นเข้ามา แล้วกระทำอกุศลกรรมต่อ

การรู้ว่าอะไรเป็นกุศล เป็นอกุศล นั้น ก็ต้องรู้จักลักษณะ กิจ ผลปรากฏและเหตุใกล้ให้เกิดด้วย
เมื่อเราพบอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในจิต ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ กิจ ผลปรากฏ และเหตุใกล้
เมื่อเราพบและรู้เท่าทันว่ามีความรุ้สึกใดปรากฏขึ้น เราก็จะมีสติระงับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตได้ และไม่กระทำอกุศลกรรมให้เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจาต่อ

ดังนั้น จึงขอฝากด้วยว่าให้เห็นถึงความสำคัญของการฝึกสติ และการศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่สำคัญไว้

การให้ทานนั้น เป็นการฝึกให้สิ่งของภายนอก ฝึกให้ภายนอกให้ได้ก่อน ให้ของหยาบให้ได้แล้ว ก็อย่าลืมฝึกการให้ของละเอียดด้วย ก็คือ การให้น้ำใจต่อกัน ให้ความยินดีต่อผู้อื่นที่ได้ดี อย่างจริงใจ การให้ผู้อื่นได้นั้น ก็คือการให้ตนเองในอนาคตด้วย ไม่ว่าจะให้สิ่งของ หรือให้น้ำใจค่ะ

เวลาเจอใครทำเรื่องที่น่ายินดี ฝึกค่ะ รีบเข้าไปยินดีกับเขาทันที เพราะคนที่กำลังได้ดี เขากำลังดีใจกับสิ่งที่ได้รับอยู่ เมื่อเราไปยินดี เขาก็จะรู้สึกดีและขอบคุณที่เรามีน้ำใจไปยินดีกับเขา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2016, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 41.37 KiB | เปิดดู 2691 ครั้ง ]
ขอบคุณ คุณโสมมาก ที่อธิบายตามหลักวิชาการของพระอภิธรรมเป๊ะเลย
ลุงไม่กล้าอธิบายตามหลักวิชาการมากกลัวคนที่ไม่ได้เรียนอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง
เช่นลักขณาทิจจตุกะ เหตุใกล้เหตุไกลงี้ เป็นต้น
เรามาลองดูซิว่า มุฑิตาเจตสิกเกิดขึ้นกับจิตประเภทใดบ้าง ตามภาพที่แสดงไว้
แล้วเราก็จะเห็นว่าเกิดขึ้นกับบุคคลใดบ้าง อธิบายจะไม่ผิดเพี้ยนมันจะได้ไม่เกิดโทษ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2016, 10:38 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2018, 02:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร