ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ตามหาหัวใจ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52386
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 พ.ค. 2016, 07:45 ]
หัวข้อกระทู้:  ตามหาหัวใจ

ตามหาหัวใจ :b41: :b41: :b41:

รูปภาพ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 พ.ค. 2016, 07:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

หนังสือจาริกธรรม จารึกบุญ หน้า 131 (ตัดแต่สาระมา)

หัวใจเดียว แต่มีสี่ห้อง

ส่วนที่ชาวพุทธรู้จักกันดี คือ คาถาสั้นๆว่า

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


แปลว่า การไม่ทำชั่วทั้งปวง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลหรือความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อันนี้เรามักเรียกกันว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าก็มิได้บอกไว้ เรามาเรียกกันเองในยุคหลัง

ทีนี้ ต่อมาชาวพุทธก็ชักเถียงกันว่า เอ อันไหนจะเป็นหัวใจพระพุทธศาสนากันแน่

- บางท่านก็บอกว่า อริยสัจ ๔

- บางท่านก็บอกว่า ต้องพุทธพจน์ที่ตรัสว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย (ธรรมทั้งปวงไม่ควรแก่การยึดมั่น หรือสิ่งทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้)

- บางท่านก็อ้างพุทธพจน์แห่งหนึ่งที่ตรัสว่า ทั้งในการก่อนและบัดนี้ เราสอนเพียงอย่างเดียว คือ ทุกข์ และความดับทุกข์ ว่านี่แหละหัวใจพระพุทธศาสนา

อย่าเถียงกันเลย เพราะคำว่า หัวใจพระพุทธศาสนานั้น เรามากำหนดกันขึ้นเอง

แต่ให้สังเกตว่า ในพุทธพจน์แห่งโอวาทปาฏิโมกข์นี้ มีคำสรุปท้ายว่า เอตํ พุทฺธาน สาสนํ “นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” คล้ายๆว่า เป็นคำสรุปของพระพุทธเจ้าเองว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งพระองค์เองและพุทธเจ้าอื่นด้วย

ฉะนั้น การที่จะบอกว่าอันนี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็ไม่ได้ผิดอะไรหรอก แต่เราอย่าไปยึดมั่นว่า ต้องคาถานี้เท่านั้น จึงจะเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เดี๋ยวจะยุ่ง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 พ.ค. 2016, 08:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

ถ้าวิเคราะห์ออกไปแล้ว คาถานี้ ที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็เป็นการสรุปคำสอนภาคปฏิบัติ เป็นหัวใจได้ แต่เป็นหัวใจภาคปฏิบัติ คือ เป็นเรื่องของการลงมือกระทำ

คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าจะมองให้ครบจริงๆ มีทั้งภาคที่เป็นตัวหลักความรู้ และภาคปฏิบัติ
ถ้าเรียกตามภาษาสมัยใหม่นี้ ก็เรียกว่า ภาคทฤษฎีด้วย ภาคปฏิบัติด้วย จึงจะครบ แต่ก็ไม่อยากใช้คำว่า ทฤษฎี เพราะทฤษฎีเป็นศัพท์สมัยใหม่ มีความหมายของเขาอีกแบบหนึ่ง เราอย่าไปยุ่งเลย

เป็นอันว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มิได้มีเฉพาะภาคปฏิบัติลงมือทำอย่างเดียว ถ้าไปดูคำสอนที่กว้างออกไป ก็จะเห็นหลักที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ ก็ไม่ใช่ข้อปฏิบัติ ท่านบอกว่า ทุกข์ นั้น เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ หรือรู้จัก

สมุทัย เป็นสิ่งที่ต้องละ ก็ไม่ใช่ข้อปฏิบัติอีก

นิโรธ เป็นสิ่งที่ต้องเข้าถึง ก็ไม่ใช่ตัวการปฏิบัติ สุดท้าย

มรรค จึงเป็นข้อปฏิบัติ เป็นอันว่า ข้อปฏิบัติมาอยู่ในอริยสัจข้อสุดท้าย คือ ข้อที่สี่

พอไปถึงอรรถกถา ท่านจะโยงให้เสร็จเลยว่า การไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสนั้น ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ที่ไหน เอามรรค มีองค์ ๘ มาสรุป ก็เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ตกลงว่า คาถานี้ ที่ว่าไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ ก็อยู่ในอริยสัจข้อ ๔ คือ มรรค นั่นเอง

ฉะนั้น หลักโอวาทปาฏิโมกข์นี้ จึงเล็กกว่าหลักอริยสัจ เพราะไปอยู่แค่ในข้อที่ ๔ ของอริยสัจ อริยสัจนั้นคลุมหมด มีข้อปฏิบัติพร้อมอยู่ด้วย ได้แก่ ข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งมีองค์ ๘ ประการ

สรุป มรรคมีองค์ ๘ เหลือ ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา พูดภาษาชาวบ้านให้ง่าย ก็บอกว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจ ให้ผ่องใส นี่แหละคือ การแปล ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างง่าย

ฉะนั้น วันมาฆบูชา พูดในแง่หนึ่งก็คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักคำสอนให้ง่าย โดยทรงยกเอา ศีล สมาธิ ปัญญา มาตรัสในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

เจ้าของ:  student [ 12 พ.ค. 2016, 08:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

พระพุทธเจ้าวางหลักธรรมสำหรับคนทุกคน

จะอยู่เรือนก็มีขั้นศีล

จะออกบวชก็มีขั้นวินัย

จะแสวงหาความหลุดพ้นก็มีขั้นปัญญา(ทั้งผู้ครองเรือนและออกบวช)

หัวใจของพุทธศาสนาจึงหมายถึง เส้นทาง แนวทาง ที่เหมาะสม ไม่สุดโต่ง แต่เป็นสายกลาง
และแสดงความจริงทั้งหลายด้วยเหตุและการดับลงเพราะเหตุนั่นเอง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 พ.ค. 2016, 08:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

student เขียน:
พระพุทธเจ้าวางหลักธรรมสำหรับคนทุกคน

จะอยู่เรือนก็มีขั้นศีล

จะออกบวชก็มีขั้นวินัย

จะแสวงหาความหลุดพ้นก็มีขั้นปัญญา(ทั้งผู้ครองเรือนและออกบวช)

หัวใจของพุทธศาสนาจึงหมายถึง เส้นทาง แนวทาง ที่เหมาะสม ไม่สุดโต่ง แต่เป็นสายกลาง
และแสดงความจริงทั้งหลายด้วยเหตุและการดับลงเพราะเหตุนั่นเอง


ทางสายกลาง ใช้อะไรวัด ว่าแค่นี้ แค่นั้น ตรงกลาง สายกลางแล้ว :b10:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 พ.ค. 2016, 19:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

ต่อ

ในพระสูตรหลายสูตร พระพุทธเจ้าตรัสเล่าลำดับการตรัสรู้ของพระองค์ว่า พอได้ฌาน ๔ แล้ว จิตเป็นสมาธิ เป็นกัมมนียัง พร้อมที่จะทำงาน พระองค์ก็โน้มจิตไป เพื่อรู้อริยสัจ ก็ตรัสรู้อริยสัจ

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ก็แสดงว่า อริยสัจ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ใช่ไหม เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็มาโยงกันเข้ากับเรื่องการไม่ทำชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใส ซึ่งเป็นหลักการ ที่อยู่ในข้อมรรค เพราะฉะนั้น อริยสัจ ๔ จึงคลุมหมด

ว่าต่อไปถึงพุทธพจน์ที่ว่า “ทั้งในกาลก่อน และบัดนี้ เราสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับทุกข์

ลองดูว่า ทุกข์ และความดับทุกข์ อยู่ที่ไหนล่ะ ก็อยู่ในอริยสัจ นั่นแหละ


ทุกข์และกำเนิดแห่งทุกข์ หรือทุกข์และเหตุเกิดแห่งทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ และทุกขสมุทัย นั้น ในเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสสั้นๆ พระองค์ตรัสรวมไว้ในข้อเดียวกัน คือ ข้อว่า ด้วยทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ และเหตุแห่งทุกข์ จัดเข้าเป็นข้อหนึ่ง

ส่วนการดับทุกข์ ก็หมายถึง นิโรธและมรรค เอาทั้งความดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์นั้นรวมไว้ด้วยกันเสร็จ

เพราะฉะนั้น อริยสัจ ๔ ก็เลยจัดรวมเป็น ๒ หัวข้อใหญ่ นี่ก็เป็นวิธีพูดย่อ

ต่อไป สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย อันนี้ เป็นการตรัสแสดงความจริงของสิ่งทั้งหลายในแง่ว่า เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ เพราะมันเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน ถ้าเป็นสังขารมันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นต้น มันไม่เป็นไปตามความอยากความปรารถนาของใคร ถ้าใครไปยึดมัน จะให้เป็นตามใจของตัว โดยไม่ใช้ปัญญาที่จะทำตามเหตุปัจจัย ก็จะถูกบีบคั้นฝืนใจกลายเป็นความทุกข์


แล้วก็โยงมาสู่การปฏิบัติว่า เมื่อสิ่งทั้งหลาย ไม่อาจจะถือมั่นได้ เราก็อย่าเอาตัณหาอุปาทานไปถือมั่นมัน แต่ต้องปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา ก็เลยโยงระหว่างตัวสภาวะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ กับ ข้อปฏิบัติ อันจะไม่ให้เกิดทุกข์ ที่เรียกว่า มรรค เข้าด้วยกัน


ฉะนั้น ไม่ว่าพูดแง่ไหน คำสอนในพระพุทธศาสนา ก็โยงกันหมด ไม่ต้องเป็นห่วง ใครจะมาบอกว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็ไม่ต้องไปเถียงกัน เถียงกันก็เสียเวลา เราก็ว่า ถูกๆ ไม่ผิด ถ้าเขาบอกว่า อริยสัจ ๔ ก็ถูกอีกแหละ เพราะว่า เรารู้ในใจ เราโยงได้หมดแล้ว

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ก่อนจะเสด็จไปสั่งสอน ทรงปรารภว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ยาก คนที่จะรู้ตามได้ จะมีน้อย สิ่งที่พระองค์ได้ตรัสรู้ซึ่งคนอื่นจะรู้ตามได้ยากนี้ ได้แก่ อะไร ตอนนั้น พระองค์ก็ตรัสไว้เลยเหมือนกัน พระองค์ตรัสว่า ได้แก่ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ก็สองอย่างเหมือนกัน

อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท ก็คือ ทุกข์ และทุกขสมุทัย

นิพพาน ก็คือ นิโรธ แล้วก็รวมเอา หรือ เล็งเอามรรคเข้าไปด้วย เพราะเป็นข้อปฏิบัติ ที่จะให้ถึงนิพพาน แต่ในที่นี้ ตรัสเฉพาะสภาวธรรม

เป็นอันว่า เวลาตรัสแสดงคำสอนของพระพุทธศาสนา ในส่วนสาระสำคัญอย่างที่เรียกว่า เอาเฉพาะหลักการแท้ๆ ตามสภาวะ ก็ทรงระบุอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน นี่แหละคือหัวใจตัวจริงแท้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง พระพุทธเจ้าตรัสปรารภกับพระองค์เอง ไม่ต้องกลัวว่าใครจะเข้าใจหรือไม่

แต่ในเวลานำมาแสดงแก่ประชาชน ต้องแสดงในรูปอริยสัจ ก็คือเอา อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท และนิพพานนั่นแหละ มาแสดงในรูปที่จะสื่อกับประชาชนได้ เรียกว่า เป็นอริยสัจ ๔ ประการ จึงถือว่า อริยสัจนั้น คือ สัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงในรูปลักษณะที่จะให้คนทั้งหลายรู้เข้าใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติได้

เพราะฉะนั้น อริยสัจ จึงเป็นวิธีสอนของพระพุทธเจ้าไปด้วย วิธีสอนต่างๆ ที่จะได้ผลดี จะเห็นว่าแม้แต่ยุคปัจจุบันก็ต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ แม้แต่พวกที่เป็นนักปลุกระดม ก็ต้องใช้วิธีตามแนวอริยสัจ ๔

เจ้าของ:  student [ 12 พ.ค. 2016, 20:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
พระพุทธเจ้าวางหลักธรรมสำหรับคนทุกคน

จะอยู่เรือนก็มีขั้นศีล

จะออกบวชก็มีขั้นวินัย

จะแสวงหาความหลุดพ้นก็มีขั้นปัญญา(ทั้งผู้ครองเรือนและออกบวช)

หัวใจของพุทธศาสนาจึงหมายถึง เส้นทาง แนวทาง ที่เหมาะสม ไม่สุดโต่ง แต่เป็นสายกลาง
และแสดงความจริงทั้งหลายด้วยเหตุและการดับลงเพราะเหตุนั่นเอง


ทางสายกลาง ใช้อะไรวัด ว่าแค่นี้ แค่นั้น ตรงกลาง สายกลางแล้ว :b10:


ก็คุณกรัชยกตัวอย่างแล้วนี่ครับ

ว่า การไม่ปรักใจเชื่อโดยการต้องไตร่ตรองดูก่อน คือทางสายกลางอย่างหนึ่ง

เจ้าของ:  Rosarin [ 16 พ.ค. 2016, 10:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

กรัชกาย เขียน:
ถ้าวิเคราะห์ออกไปแล้ว คาถานี้ ที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็เป็นการสรุปคำสอนภาคปฏิบัติ เป็นหัวใจได้ แต่เป็นหัวใจภาคปฏิบัติ คือ เป็นเรื่องของการลงมือกระทำ

คำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าจะมองให้ครบจริงๆ มีทั้งภาคที่เป็นตัวหลักความรู้ และภาคปฏิบัติ
ถ้าเรียกตามภาษาสมัยใหม่นี้ ก็เรียกว่า ภาคทฤษฎีด้วย ภาคปฏิบัติด้วย จึงจะครบ แต่ก็ไม่อยากใช้คำว่า ทฤษฎี เพราะทฤษฎีเป็นศัพท์สมัยใหม่ มีความหมายของเขาอีกแบบหนึ่ง เราอย่าไปยุ่งเลย

เป็นอันว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มิได้มีเฉพาะภาคปฏิบัติลงมือทำอย่างเดียว ถ้าไปดูคำสอนที่กว้างออกไป ก็จะเห็นหลักที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ ก็ไม่ใช่ข้อปฏิบัติ ท่านบอกว่า ทุกข์ นั้น เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ หรือรู้จัก

สมุทัย เป็นสิ่งที่ต้องละ ก็ไม่ใช่ข้อปฏิบัติอีก

นิโรธ เป็นสิ่งที่ต้องเข้าถึง ก็ไม่ใช่ตัวการปฏิบัติ สุดท้าย

มรรค จึงเป็นข้อปฏิบัติ เป็นอันว่า ข้อปฏิบัติมาอยู่ในอริยสัจข้อสุดท้าย คือ ข้อที่สี่

พอไปถึงอรรถกถา ท่านจะโยงให้เสร็จเลยว่า การไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสนั้น ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ที่ไหน เอามรรค มีองค์ ๘ มาสรุป ก็เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ตกลงว่า คาถานี้ ที่ว่าไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ ก็อยู่ในอริยสัจข้อ ๔ คือ มรรค นั่นเอง

ฉะนั้น หลักโอวาทปาฏิโมกข์นี้ จึงเล็กกว่าหลักอริยสัจ เพราะไปอยู่แค่ในข้อที่ ๔ ของอริยสัจ อริยสัจนั้นคลุมหมด มีข้อปฏิบัติพร้อมอยู่ด้วย ได้แก่ ข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งมีองค์ ๘ ประการ

สรุป มรรคมีองค์ ๘ เหลือ ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา พูดภาษาชาวบ้านให้ง่าย ก็บอกว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจ ให้ผ่องใส นี่แหละคือ การแปล ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างง่าย

ฉะนั้น วันมาฆบูชา พูดในแง่หนึ่งก็คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักคำสอนให้ง่าย โดยทรงยกเอา ศีล สมาธิ ปัญญา มาตรัสในรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

rolleyes
มีปัญญาแค่ไหน
ทุกอย่างเป็นธัมมะ
คือเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีจริง
เป็นจิตเจตสิกรูปในนิมิต
ตามเหตุตามปัจจัยมีจริงๆ
ไม่มีตัวเราของเราของใคร
มีแต่ผลกรรมให้จิตท่องเที่ยว
ปัญญาละชั่วทำดีทำจิตให้บริสุทธิ์
ถ้าเป็นเราคิดเอาเองแล้วพูดและทำ
ไม่เข้าใจคำสอนเพราะปัญญารู้เมื่อฟัง
พระพุทธเจ้าสอนเพื่อให้ทุกคนสาวกบารมีฟัง
:b1: :b16: :b12:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 16 พ.ค. 2016, 13:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

กรัชกาย เขียน:

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


แปลว่า การไม่ทำชั่วทั้งปวง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลหรือความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อันนี้เรามักเรียกกันว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าก็มิได้บอกไว้ เรามาเรียกกันเองในยุคหลัง


ศาสนาพุทธหรือองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า......ไม่ได้กล่าวและไม่ได้สอนแบบนี้
สิ่งจขกทเอามาโพสล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ พระพุทธองค์ทรงให้ละเสีย

ดีชั่วเกิดจากความปรุงแต่งของกิเลส ความดีความชั่วนับเป็นกิเลสทั้งสิ้น

ส่วนหัวใจพระพุทธศาสนาที่แท้จริงก็คือ.....โพธิปักขิยธรรม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 18:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


แปลว่า การไม่ทำชั่วทั้งปวง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลหรือความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อันนี้เรามักเรียกกันว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าก็มิได้บอกไว้ เรามาเรียกกันเองในยุคหลัง


ศาสนาพุทธหรือองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า......ไม่ได้กล่าวและไม่ได้สอนแบบนี้
สิ่งจขกทเอามาโพสล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ พระพุทธองค์ทรงให้ละเสีย

ดีชั่วเกิดจากความปรุงแต่งของกิเลส ความดีความชั่วนับเป็นกิเลสทั้งสิ้น

ส่วนหัวใจพระพุทธศาสนาที่แท้จริงก็คือ.....โพธิปักขิยธรรม



โพธิปักขิยธรรมเป็นหัวใจยังไงอ่ะ :b1:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 18:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

ค่อนไปข้างเห็นด้วย :b1:

รูปภาพ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 16 พ.ค. 2016, 19:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

เหตุที่พุทธศาสนาไม่มีความเจริญงอกงามในไทย
เป็นเพราะหลงเชื่อคำสอนของนักบวชที่ยังติดในอัตตา
เชื่อพัดยศหลงในตัวบุคคลมากกว่าเชื่อพระธรรม(พุทธพจน์)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 19:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

โฮฮับ เขียน:
เหตุที่พุทธศาสนาไม่มีความเจริญงอกงามในไทย
เป็นเพราะหลงเชื่อคำสอนของนักบวชที่ยังติดในอัตตา
เชื่อพัดยศหลงในตัวบุคคลมากกว่าเชื่อพระธรรม(พุทธพจน์)


ถามอย่างตอบอย่าง :b32:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 16 พ.ค. 2016, 19:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น"

ไฟล์แนป:
13178028_604642856378857_8930655180224930989_n.jpg
13178028_604642856378857_8930655180224930989_n.jpg [ 34.2 KiB | เปิดดู 4300 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 20:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตามหาหัวใจ

กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


แปลว่า การไม่ทำชั่วทั้งปวง หรือการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลหรือความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อันนี้เรามักเรียกกันว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าก็มิได้บอกไว้ เรามาเรียกกันเองในยุคหลัง


ศาสนาพุทธหรือองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า......ไม่ได้กล่าวและไม่ได้สอนแบบนี้
สิ่งจขกทเอามาโพสล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ พระพุทธองค์ทรงให้ละเสีย

ดีชั่วเกิดจากความปรุงแต่งของกิเลส ความดีความชั่วนับเป็นกิเลสทั้งสิ้น

ส่วนหัวใจพระพุทธศาสนาที่แท้จริงก็คือ.....โพธิปักขิยธรรม



โพธิปักขิยธรรมเป็นหัวใจยังไงอ่ะ :b1:



พูดไว้นี่ ถามนี่ เคาะระฆังหนีไปเรื่อย

นี่แหละต้นเหตุศาสนาเสื่อม ตัวเองพูดพร่ำไป แต่ไม่รู้ว่าอะไร :b32:

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/