วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 11:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ที่อื่น
เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วางจึงใช้ได้
ไม่ใช่ไปจำเอาคำพูดในคัมภีร์มาพูด ใช้ไม่ได้
มันต้องน้อมเข้ามาหากาย หาใจของเรานี้
กำหนดการละ กำหนดการวางลงในกาย วาจา
ใจ ของเรานี้ ..รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช่ที่อื่น

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ..





เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
กรรมฐานทั้ง 5 นี้ มีหนังเป็นที่สุด เพราะเหตุว่า หนัง มีนเป็นอาการใหญ่ คนเราทุกคนต้องมีหนังหุ้มห่อถ้าไม่มีหนัง ผม ขน เล็บ ฟัน ก็อยู่ไม่ได่ ต้องหลุดหล่นทำลายไป เนื้อ กระดูก เอ็น และอาการทั้งหมดในร่างกายนี้ ก็จะอยู่มิได้ต้องแตกทำลายไป
คนเราจะหลงรูปก็มาหลงหนัง หมายความสวยๆงามๆ เกิดความรักไคร่แล้วก็ปารถนาเพราะมาหมายอยู่ที่หนัง เมื่อเห็นแล้วก็สำคัญเอาผิวพรรณของมัน ผิวอะไรต่ออะไร ก็เพราะหมายสีหนัง ถ้ามิมีหนังแล้ว
ใครเล่าจะหมายว่าสวยงาม ?
ใครเล่าจะรักจะชอบจะปรารถนา ?
ปรารภพระธรรมคำสอน ของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลส อันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน " แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้ นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที..
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี..




คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีผู้นำมาใช้โดยศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใส ด้วยความตั้งใจ ความเสียสละใน สิ่งที่ควรเสียสละ ตัดในสิ่งที่ควรตัด เมื่อตัดบางสิ่งบางอย่างแล้ว บางสิ่งบางอย่างมันเกิดขึ้นได้ มันมีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ตัดบางอย่างที่เราต้องการ ความสงบก็ไม่บังเกิด
เพราะฉะนั้น พอตัดอันหนึ่ง ทิ้งอันหนึ่งไปแล้ว ความสงบเกิดขึ้นแทน ความสุขเกิดขึ้นแทน เราควรเอาความสุข ควรเอาความสงบ ควรเอาการงานภาระของเราให้น้อยลง ให้เบาบางลง..เพราะฉะนั้น คำว่า..ละ.. ไม่ใช่ว่าละแล้วไม่ได้อะไร ถ้าละแล้วสูญเปล่า พระพุทธเจ้าก็ไม่สอนให้ละ แต่เราละอันหนึ่งแล้ว อันหนึ่งงอกงาม..
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ..




ให้ตัดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้ปล่อยวาง อย่ายึดถือ
โดยเฉพาะศัตรูสำคัญคือ ขันธ์ ๕
ให้พิจารณาแยกออกเป็นธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ให้เห็นแจ้งชัด ละอุปาทานที่มีอยู่
เมื่อพิจารณาเห็นจริงดังกล่าวแล้ว
ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ จะเบาบางไป
สัจจะคือความจริง ได้แก่ อนิจจัง ความไม่เที่ยง
ทุกขัง ความเป็นทุกข์ และอนัตตา ความไม่มีตัวตน ก็จะปรากฏขึ้น
หลวงพ่อโอภาสี ( พระมหาชวน )
วัดหลวงพ่อโอภาสี บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพ







“วิธีดับตัณหา”

การดับตัณหาก็มีอยู่ ๒ วิธีด้วยกันคือ ๑. สมาธิ ซึ่งดับได้ในช่วงระยะสั้นๆ พอเบรกให้หยุดได้ชั่วคราว เวลาอยากได้สิ่งนั้นอยากได้สิ่งนี้ ก็จะรู้ว่าเกิดความอยากขึ้นมา เพราะเกิดความรุ่มร้อนขึ้นมา โดยปกติจิตที่มีสมาธิจะมีความเยือกเย็นเป็นพื้น พอเกิดความอยากขึ้นมา ก็จะร้อนวูบขึ้นมา เหมือนกับจุดไม้ขีดขึ้นมา ก็จะร้อนขึ้นมาทันที สมาธิจะดับได้เพียงชั่วคราว เดี๋ยวความอยากก็โผล่ขึ้นมาอีก จึงต้องใช้วิธีที่ ๒. คือปัญญา ที่จะดับได้อย่างถาวร เช่นอยากมีคู่ครอง ถ้าบวชเป็นพระ สิ่งแรกที่พระอุปัชฌาย์จะสอนให้พระผู้บวชใหม่ทุกๆรูปศึกษาหรือพิจารณาก็คือกรรมฐาน ๕ ได้แก่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยอนุโลมและปฏิโลม คือทั้งลงและขึ้น พิจารณาผมขนเล็บฟันหนัง แล้วก็พิจารณาหนังฟันเล็บขนผมย้อนกลับมา ให้พิจารณาอย่างต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญ ไม่ให้อยู่ห่างจากใจ

เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นความไม่สวยไม่งามของร่างกาย ที่กิเลสตัณหา มักจะเห็นว่าเป็นของสวยของงาม ท่านสอนให้พิจารณาถึงความไม่สวยไม่งามของสิ่งต่างๆเหล่านี้ เวลาผมกลายเป็นสีขาว ก็เป็นที่รังเกียจ หนังก็เช่นเดียวกัน หนังที่เต่งตึงในวันนี้ ในวันข้างหน้าก็ต้องเหี่ยวย่น ให้พิจารณาไปเรื่อยๆ จนถึงอาการส่วนอื่นๆของร่างกายที่ซ่อนอยู่ใต้ผิวหนัง ก็จะเห็นความไม่สวยไม่งามของร่างกายมากขึ้นไปๆ เมื่อได้พิจารณาอย่างต่อเนื่อง ก็จะรู้ว่าสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราว่าสวยงามนั้น ความจริงแล้วก็มีสิ่งที่ไม่สวยงามซ่อนอยู่ภายใต้ผิวหนัง เพียงแต่เราไม่ได้ใช้ปัญญาพินิจพิจารณา จึงมองไม่เห็น ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เรื่อยๆแล้ว ต่อไปความรู้นี้ก็จะติดอยู่กับใจ พอเกิดความอยากขึ้นมา ความรู้ที่ได้พิจารณาก็จะผุดขึ้นมาทันที ว่าไม่สวยอย่างที่เราคิดหรอก ความอยากก็จะดับไป ทุกครั้งที่คิดอยาก ความรู้ที่ได้พิจารณาก็จะผุดขึ้นมาๆในที่สุด ความอยากก็จะไม่มีกำลังโผล่ขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าปัญญาหรือวิปัสสนา

การพิจารณาอสุภกรรมฐาน ก็เพื่อแก้กามตัณหา แก้กามราคะ ความยินดีในรูปที่สวยที่งาม ที่เราหลงว่าสวยว่างาม แต่ความจริงแล้วร่างกายไม่ได้สวยงามเลย เราไปหลงเขาเอง ว่าสวยว่างาม พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้มองในส่วนที่ไม่สวยไม่งามด้วย เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง เรามักจะมองด้านเดียวเท่านั้น คือด้านที่เราชอบ แต่ด้านที่เราไม่ชอบ เราจะไม่มองกัน ทั้งๆที่ก็มีอยู่ในคนๆเดียวกัน ทีนี้ปัญหาของพวกเราเวลาพิจารณาความไม่สวยไม่งามนี้ โดยมากจะพิจารณาได้ไม่นาน เพราะกิเลสชอบมาขัดมาขวางอยู่เสมอ เราจึงต้องฝืน ต้องบังคับให้พิจารณา ถ้าไม่ฝืนไม่บังคับแล้ว จะไม่ค่อยได้พิจารณากันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าได้ฝืน ได้บังคับไปเรื่อยๆ พิจารณาไปเรื่อยๆ ต่อไปจะกลายเป็นนิสัยขึ้นมา เหมือนกับหัดใช้มือซ้าย ถ้าถนัดขวา จะไม่ชอบใช้มือซ้าย เพราะอึดอัด ไม่สะดวก ไม่คล่องแคล่วว่องไว เพราะไม่ถนัด แต่ถ้าพยายามฝืนใช้ไปเรื่อยๆ หัดใช้ไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะเกิดความชำนาญ เกิดความถนัด จนกลายเป็นนิสัยไป การเจริญปัญญาก็เป็นอย่างนี้

จิตของพวกเราส่วนใหญ่ มักจะชอบมองสิ่งต่างๆว่าสวยว่างาม ว่าจีรังถาวร เห็นอะไรก็คิดว่าเป็นอย่างนั้นเสมอ เห็นรูปร่างหน้าตาที่ถูกใจ ก็คิดว่าจะเป็นอย่างนั้นไปตลอด ไม่เคยคิดว่าสักวันหนึ่งจะต้องแก่ต้องตายไป ผมจะกลายเป็นสีขาว หนังจะเหี่ยว แล้วก็ตายไป แตกสลายไป จิตที่มีกิเลสครอบงำอยู่ จะไม่ชอบคิดอย่างนี้กัน แต่ถ้าต้องการแก้ปัญหาคือความทุกข์ใจ ก็ต้องบังคับใจให้พยายามพิจารณาอยู่เรื่อยๆ การที่จะเจริญปัญญาได้อย่างต่อเนื่องจนได้ผล จิตต้องตั้งมั่น ถ้ายังลอยไปลอยมาอยู่ จะพิจารณาอสุภะได้ไม่นาน พอมีอารมณ์อื่นมากระทบ ก็จะฉุดลากจิตให้ไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้แทน

ถ้าจิตมีสมาธิตั้งมั่นอยู่แล้ว จะไม่ไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ จะไม่มีอารมณ์ต่างๆมารบกวน กำหนดให้พิจารณาอะไร ก็จะอยู่กับเรื่องที่ได้กำหนดไว้ การปฏิบัติจึงไม่ควรมองข้ามสมาธิไป บางคนคิดว่าสามารถปฏิบัติโดยไม่ต้องมีสมาธิเลย คือให้เข้าสู่วิปัสสนา ให้เข้าสู่ปัญญาเลย ส่วนใหญ่เวลาเข้าไปแล้วจะไม่ได้ผลเท่านั้นเอง จะกลายเป็นความฟุ้งซ่านไปเสียมากกว่า กลายเป็นจินตนาการไป ไม่ได้เป็นความจริง เวลาเกิดกิเลสขึ้นมา ก็จะสู้ไม่ได้ แต่ถ้ามีสมาธิอยู่แล้ว เวลาพิจารณาอะไร จิตก็จะเกาะติดอยู่กับสิ่งที่ให้พิจารณา จนเข้าใจ จนอยู่ติดกับใจ ทีนี้ไม่ต้องพิจารณาอีกแล้ว พอกิเลสโผล่ขึ้นมา ความรู้ที่ได้พิจารณาแล้วอย่างช่ำชอง ก็จะผุดขึ้นมารับทันทีโดยอัตโนมัติเลย เป็นธรรมชาติของจิตไป แล้วก็จะรู้ว่า กิเลสแบบนี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะไม่หลงแล้ว รู้เท่าทันแล้ว

เวลากิเลสบอกว่าสวย ปัญญาจะบอกว่าไม่สวย ก็จะทำลายล้างกันไปจนหมดสิ้นไปจากใจ กิเลสก็จะไม่สามารถมาหลอกใจได้อีกต่อไป เพราะมีปัญญา รู้ทันกิเลสแล้วนั่นเอง นี่คือการปฏิบัติที่เรียกว่ามรรค ต้องเจริญให้มาก พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า มรรคต้องเจริญให้มาก ทุกข์ต้องกำหนดรู้ สมุทัยต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง วิธีที่จะทำให้นิโรธแจ้ง ที่จะละสมุทัย ที่จะกำหนดรู้ทุกข์ ก็อยู่ที่การเจริญมรรคนั่นเอง การเจริญมรรคจะทำให้เห็นความแก่ ความเจ็บ ความตายอยู่ตลอดเวลา เป็นอริยสัจข้อที่ ๑ คือทุกขสัจจะ พวกเราส่วนใหญ่มักจะมองข้ามทุกขสัจจะไป เมื่อลืมทุกขสัจจะก็จะเกิดตัณหา เกิดความอยากจะสร้างโน่น สร้างนี่ ทำโน่นทำนี่ เป็นโน่นเป็นนี่ แล้วก็ต้องไปทุกข์กับเรื่องโน้นทุกข์กับเรื่องนี้

แต่ถ้าได้เจริญมรรค คือสัมมาทิฏฐิก็จะรู้ว่า คนเราเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดา ต้องพลัดพรากจากของรักทั้งหลายไปเป็นธรรมดา ต้องประสบกับสิ่งทั้งหลายที่ไม่ปรารถนาเป็นธรรมดา เมื่อพิจารณาอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ ก็จะไม่ถูกอำนาจของตัณหามาหลอกให้ไปสร้างโน่น สร้างนี่ สร้างครอบครัว สร้างสวรรค์วิมานในโลกนี้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะในที่สุดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไป เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็จะถอยออกจากการสร้างการหาความสุขกับสิ่งต่างๆในโลกนี้ เกิดปัญญาขึ้นมา เมื่อเกิดปัญญาขึ้นมา ก็จะระงับดับตัณหาต่างๆ ที่หลอกให้ไปสร้างโน่นสร้างนี่ เป็นโน่นเป็นนี่ได้ เมื่อไม่มีตัณหาอยู่เฉยๆก็มีความสุขแล้ว เป็นความสุขที่แท้จริง คือการอยู่เป็นสุขนั่นเอง

เมื่ออยู่เฉยๆได้แล้ว มีเพียงร่างกายกับใจเป็นสมบัติก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องมีสมบัติอื่นอีก ก็มีความสุขอย่างมากมายก่ายกอง ยิ่งกว่าคนที่มีเงินทองกองเท่าภูเขาเสียอีก เพราะเป็นความสุขที่ไม่ได้เกิดจากตัณหาความอยาก ที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ ถ้ามีตัณหาแล้วต่อให้มีเงินทองกองเท่าภูเขา ก็ยังจะอยากอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่มีความพอนั่นเอง มีร้อยก็อยากจะได้เป็นพัน มีพันก็อยากจะได้เป็นหมื่น ก็อยากไปเรื่อยๆ นี่คือธรรมชาติของตัณหา แต่ถ้าไม่มีตัณหาแล้ว ความอิ่มก็จะเกิดขึ้นมาทันที ตัณหากับความอิ่มจึงเป็นเหมือนด้านทั้ง ๒ ด้านของเหรียญอันเดียวกัน ด้านหนึ่งเป็นตัณหา อีกด้านเป็นความอิ่ม ถ้าด้านตัณหาหงายขึ้นมา ก็จะมีแต่ความหิว ถ้าพลิกกลับมาอีกด้านหนึ่งก็จะมีแต่ความอิ่ม

จิตของเราก็เหมือนกัน มีอยู่ ๒ ด้าน หิวกับอิ่ม ถ้าปล่อยให้ความหิวคือตัณหาทำงาน ก็จะหิวไปตลอด ถ้าทำให้อิ่ม ก็จะไม่หิวกับอะไร ไม่อยากกับอะไร มีความพอก็มีความสุข ไม่ต้องมีอะไรก็อยู่ได้ เพราะไม่มีอะไรทำให้จิตอิ่มหรือพอได้ นอกจากตัวจิตเองจะต้องพอ จะต้องพลิกจิตให้เข้าสู่ด้านอิ่มให้ได้ ส่วนใหญ่มักจะถูกกิเลสตัณหาหลอกให้ไปในด้านหิว เมื่อหิวแล้วได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ แต่ถ้าใช้ธรรมะมาดับตัณหาความอยาก ก็จะทำให้จิตอิ่มได้ เราจึงต้องต่อสู้กับตัณหาความหิว ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยมรรค ๘ บำเพ็ญไปเรื่อยๆ ศีลก็รักษาไป สมาธิก็พยายามทำไป ปัญญาก็พยายามพิจารณาไปเรื่อยๆ พิจารณาเรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องอสุภะ อสุภัง ความไม่สวยไม่งาม ไม่ช้าก็เร็วก็จะค่อยๆซึมซาบเข้าไปในจิตในใจ จนกลายเป็นเครื่องมือต่อสู้กับตัณหาความอยากได้

เวลาเกิดความอยากขึ้นมา ก็จะถามตัวเองว่า จะอยากไปถึงไหน เดี๋ยวก็ตายแล้ว มีเงินเท่าไหร่ก็เอาไปไม่ได้ ตอนนี้อายุเท่าไหร่แล้ว จะอยากไปหาอะไร ความสุขต่างๆในโลกนี้ก็ได้ผ่านมามากต่อมากแล้ว ถ้าเป็นความสุขที่แท้จริง ก็น่าจะให้ความอิ่มความพอกับเราแล้ว ถ้ายังไม่ให้ เวลากลับไปหาความสุขเหล่านี้อีก ก็จะเป็นเหมือนเดิม ยังอยากไปเรื่อยๆ อีก ๑๐ ปี ๒๐ ปีข้างหน้าก็ยังจะเป็นอย่างนี้ ยังหิวแบบนี้ไปเรื่อยๆ ลองหันมาหาความสุขแบบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ จะไม่ดีกว่าหรือ ความสุขที่เกิดจากความดับของความทุกข์ ดับของตัณหา ดับของสมุทัย นี่แหละคือวิธีสร้างความสุขที่แท้จริง วิธีที่จะทำให้จิตใจอยู่เหนือความทุกข์ทั้งหลายได้ ก็คือการเจริญมรรคนี่เอง

จึงเป็นเหตุให้ชาวพุทธต้องไปที่โน่นที่นี่ ไปวัดนั้นวัดนี้ เพื่อไปทำบุญทำทาน ไปรักษาศีล ไปปฏิบัติธรรมกัน เพื่อสร้างมรรคซึ่งเป็นเหมือนกับยามารักษาโรคใจ มาทำลายเชื้อโรค คือความอยากที่มีอยู่ภายในจิตใจ เมื่อได้เจริญมรรคไปเรื่อยๆแล้ว ยาก็จะมีกำลังมากขึ้นไปๆ ก็จะทำลายเชื้อโรคคือตัณหาความอยากต่างๆ ที่มีอยู่ในจิตในใจให้เบาบางลงไป จนหมดสิ้นไป ผู้บรรลุธรรมจึงบรรลุเป็นขั้นๆไป ตั้งแต่ขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี จนถึงขั้นพระอรหันต์ ก็อาศัยการเจริญมรรคเป็นขั้นๆไป ขั้นแรกก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน ขั้นต่อไปเมื่อมรรคมีกำลังมากขึ้นก็บรรลุขั้นสกิทาคามี แล้วก็ขั้นอนาคามี จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไปในที่สุด ก็เกิดจากการบำเพ็ญอย่างต่อเนื่อง เจริญมรรคอย่างต่อเนื่อง ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ว่า มรรคต้องเจริญให้มาก

หน้าที่ของชาวพุทธจึงต้องปฏิบัติกิจในพระอริยสัจ ๔ เป็นหลัก ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า ทุกข์ต้องกำหนดรู้ ต้องศึกษาอยู่เรื่อยๆ สอนใจอยู่เรื่อยๆว่า เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่คือการศึกษา เป็นการสอนใจ ต้องศึกษาพระอริยสัจ ทุกข์ต้องกำหนดรู้ สมุทัยต้องละ สมุทัยคือตัณหาทั้ง ๓ มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ต้องละ แล้วก็นิโรธต้องทำให้แจ้ง นิโรธก็คือการดับของทุกข์ ต้องทำให้ปรากฏขึ้นมา การที่จะทำให้นิโรธปรากฏขึ้นมาได้ ละตัณหาได้ ก็ต้องเจริญมรรคให้มาก ด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ พิจารณาความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พิจารณาอสุภะอสุภัง ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา สนับสนุนด้วยสมาธิและศีล เราจึงต้องรักษาศีล เมื่อมีศีลแล้ว เวลาบำเพ็ญสมาธิภาวนาจิตก็จะสงบง่าย เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว เวลาเราพิจารณาทางด้านปัญญาก็จะเห็นชัด จะมีกำลังระงับดับตัณหาได้ เมื่อระงับดับตัณหาได้แล้ว นิโรธการดับทุกข์หรือวิมุตติการหลุดพ้นจากความทุกข์ก็จะปรากฏขึ้นมา

นี่คือเป้าหมายของชาวพุทธเรา การปฏิบัติมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ สามารถทำได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตายไปแล้ว ถึงจะหลุดพ้นจากความทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอริยสัจ ๔ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๓๖ พรรษา ยังไม่ได้เสด็จสวรรคต ก็บรรลุแล้ว หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหมดแล้ว เพราะได้ทรงทำกิจในพระอริยสัจ ๔ อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ดังที่ทรงตรัสไว้ว่า ทุกข์ที่ควรกำหนดรู้ ตถาคตได้กำหนดรู้แล้ว ตัณหาหรือสมุทัยที่ควรละ ตถาคตได้ละแล้ว นิโรธที่ควรทำให้แจ้ง ตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรคที่ควรเจริญให้มากตถาคตได้เจริญแล้วจนสมบูรณ์แล้ว เมื่อได้ทำกิจทั้ง ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว วิมุตติคือการหลุดพ้นจากทุกข์ก็เป็นผลที่จะตามมาต่อไป เมื่อได้เห็นผลนี้แล้ว กิจทั้งหลายในโลกนี้ก็หมดสิ้นไป กิจอื่นที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว เพราะจิตใจสะอาดหมดจดแล้ว ไม่สร้างปัญหาให้กับเราอีกแล้ว เหมือนกับคนที่หายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วไม่มีความจำเป็นจะต้องรักษาอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องมีหมอ ไม่จำเป็นต้องมียาอีกต่อไป เพราะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนอีกต่อไปนั่นเอง

นี่คือผลที่ชาวพุทธจะได้รับ จากการที่พยายามประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานขึ้นมา จนถึงขั้นสูงสุด จากการทำบุญทำทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนา จนหลุดพ้นไปในที่สุด พวกเราจึงควรมีความแน่วแน่มั่นคง มีความมั่นใจ ว่าสิ่งต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมานั้น ล้วนเป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล เป็นความจริงทั้งสิ้น และอยู่ในวิสัยของมนุษย์อย่างเราอย่างท่านทุกคน ที่จะสามารถบำเพ็ญได้ ข้อสำคัญขอให้อย่าท้อแท้เวลาที่เกิดความทุกข์ หรือรู้สึกว่ายังปฏิบัติไปไม่ถึงไหนเลย ก็ขอให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระอริยสงฆ์ทั้งหลายว่า ท่านก็เป็นเหมือนเรามาก่อน ท่านก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ล้มลุกคลุกคลานมาเหมือนกัน

ตอนที่เราเป็นเด็กเล็ก ไม่ใช่ว่าจะลุกขึ้นมายืนเดินได้เลย ก็ต้องค่อยคลานไปก่อน พยายามทำไปเรื่อยๆ หัดไปเรื่อยๆ หัดคลาน หัดยืน หัดเดินไปเรื่อยๆ ไม่ช้าก็เร็วก็เดินได้วิ่งได้ จนทำอะไรต่างๆได้ในวันนี้ ซึ่งตอนที่เป็นเด็กเรายังทำไม่ได้ แต่เนื่องจากมีความพยายาม มีความอดทน ไม่ท้อแท้ พยายามฝึกไปเรียนไปเรื่อยๆ จนสามารถทำสิ่งต่างๆได้ในวันนี้ เช่นเดียวกันกับการปฏิบัติธรรม วันนี้เรายังอยู่ในขั้นล้มลุกคลุกคลาน ทำบุญให้ทาน รักษาศีล นั่งสมาธิได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็ขอให้ทำไป เพราะไปในทางที่ถูกแล้ว มีทางนี้ทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่นที่จะพาให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายได้ ให้ยึดทางนี้ไว้ให้ดี พยายามปฏิบัติไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ รับรองได้ว่าสิ่งที่ดีที่งามต่างๆ ก็จะเป็นผลตามมาต่อไป มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถในการปฏิบัติเท่านั้นเอง จึงขอให้ท่านทั้งหลายนำไปพินิจพิจารณา แล้วปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขต่อไป.

กัณฑ์ที่ ๒๒๗ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๘ (จุลธรรมนำใจ ๑)

“หัวใจของคำสอน”

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





ขอเชิญร่วมกันบูรณะพระธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช



ขอเชิญร่วมสร้าง "พระพุทธมงคลชนะไพรี" สูง 4.19 เมตร
ประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ศรีมหามงคล วัดถ้ำวัฒนมงคล




ขอเชิญร่วมบุญซื้อที่ดินถวายวัด เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนวัดให้ถูกต้องตามกฏมหาเถรสมาคม จำนวน ๖ ไร่
ทอด ณ วัดป่าอัมพวโนทยาราม (ตลาดสีดา) ต.โพนทอง อ.สีดา จ.นครราชสีมา
ในวันอาทิตย์ ที่ ๒๓ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙




วัดใหม่ยายแป้น บางขุนนนท์ เชิญร่วมปิดทองไหว้พระสามสมัย อู่ทอง เชียงแสน สุโขทัย หล่อเทียนพรรษา ซื้อกระเบื้อง เติมน้ำมันตะเกียง บริจาคโลงศพสงเคราะห์ รายได้ร่วมบูรณะโบสถ์ สอบถาม 062 393 1425




ขอแรงจิตอาสาผู้ใจบุญทุกท่าน ไปช่วยกันยกปูนเทสร้างสะพาน และสร้างโบสถ์
ที่วัด จำปา ถ.พุทธมณฑลสาย1. เขตตลิ่งชัน กทม. เวลา 14.00 น. ครับ
ในวันอาทิตย์ที่ 24 ก.ค. 2559. นี้




ขอเชิญร่วมบุญจัดสร้างผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานบนยอดพระเกศพระประธาน
หมายเหตุเมื่อท่านร่วมบุญแล้วขอความกรุณาแจ้งที่
โทรศัพท์ 099-6474597




เรียนเชิญ ญาติธรรมผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญสร้างตู้กระจกขนาดความกว้าง 1 เมตร ความสูง 1.20 เซนติมตร เพื่อครอบพระประธานภายในศาลาหอฉันท์ วัดศรีสว่างมงคล ต.ลิ้นฟ้า อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด เพื่อป้องกันฝุ่นมาเกาะองค์พระ งบประมาณ 6,500 บาท




เชิญร่วมถวายผ้าจำนำพรรษา ถวายพระสงฆ์และสามเณรชาวเขา ๙ ไตร
ติดต่อได้ที่
พระครูศรีรัตนโสภณ เจ้าคณะตำบลดงเจน เจ้าอาวาสวัดม่อนป่าสัก
โทร. 0869146548 , 0979941691




ขอเชิญชวนท่านพุทธบริษัทผู้มีศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
“ งานทอดกฐินสามัคคี เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ วัดประตูด่าน”
ณ วัดประตูด่าน ต.บ้านเก่า อ.เมืองฯ จ.กาญจนบุรี ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ น





ร่วมสร้างกองกฐินมหาสามัคคี
สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลวิถีธรรม
ในวันที่ 12--13 พฤศจิกายน 2559
ท่านใดมีศรัทธา ร่วมรับซองกฐินไปแจก
ติดต่อมาได้ทางมาที่เบอร์ 0999789551และ0987891561
คุณหลวง 099-515-9551 สอบถามในไลน์ ID: vasukrit
หมอคีน 096-559-6526
คุณหนุง 096-296-1491
หรือ ส่งรายละเอียดมาที่เมล์ watpasirisombon@gmail.com
หรือโทรแจ้งได้ที่เบอร์ 098-789-1561 099-978-9551






เนื่องในวันอาทิตย์ 10 กรกฎาคม 2559 ทางวัดป่าสว่างบุญ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี นำโดยหลวงพ่อสมชาย บุญญมโน จะจัดทอดผ้าป่า 65 วัด
ขอเชิญสาธุชน ไปร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน
มีอาหาร เครื่องดื่ม บริการ ฟรี
สอบถามประชาสัมพันธ์วัด 080-076-4488


ขอเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพ อุปสมบทพระภิกษุ กัมมัฏฐาน จำนวน๘รูป (เข้มงวดเพื่อเป็นพระในพรรษา)
ร่วมบุญ ได้ที่ พระครูสมุห์บัญชา มหาวายาโม
สอบถามการร่วมบุญได้ที่ ๐๘๔-๗๐๒๐๑๙๔ ใลน์ ไอดี WATSONGPEI




ขอเชิญร่วมสร้างห้องน้ำ-ห้องสุขา จำนวน 3 ห้อง วัดบ้านนาดง จ.อุบลราชธานี



ขอเชิญร่วมบุญถายเทียนพรรษา วัดหัวสะแกตก ในวันพุธที่ ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๕๙





ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญรับเป็นเจ้าภาพ
ถวายผ้าอาบน้ำฝน จำนวน ๕ ชุดๆละ ๒ ผืน เพื่อน้อมถวายพระภิกษุสงฆ์
ณ วัดหาดนาค อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
เนื่องในฤดูกาลเข้าพรรษา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๕๙




ขอเรียนเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพซื้อหญ้านวลน้อยคลุมดินกันน้ำเซาะถวายวัดป่าซับวารินทร์ ต.บัววัฒนา อ.หนองไผ่ เพชรบูรณ์



ขอเชิญเพื่อนๆได้ร่วมบุญถวายดอกบัว พร้อมธูปและเทียน
งาน วันอาสาฬหบูชา วันที่ 19 กรกฎาคม 2559
ถวายดอกบัว จำนวน 18,000 ดอก
ถวายวัดทั้งหมด 28 วัด
* 1 ปี เรา ถวาย 3 ครั้งครับ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สนใจงานบุญนี้ร่วมบุญกันได้ครับ
ที่บัญชี นายสนธยา ห้วยใหญ่
แบงค์กสิกรไทย
503-2-3666-9-6
ติดต่อนะครับ 091-7959959
063-8689689
สาธุครับ
*ขอปิดรับงานบุญนี้ วันที่ 17 กรกฎาคม 2559
เวลา 19.59 น.






โครงการ บุญต่อบุญถวายสายไฟฟ้า เพื่อถวาย/มอบ ให้แก่ วัด/สำนักสงฆ์ ที่ขาดแคลนหรือทุรกันดาร จึงขอเปิดรับบริจาคโดยเปิดเป็นกองบุญ กองบุญละ 500 บาท หรือเป็นเจ้าภาพม้วนละ 1199 บาท โดยกำหนดไว้ที่ 10 ม้วน (10วัด)
โดยร่วมต่อบุญร่วมกันที่ บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซี น่าน เลขที่ 953-2-00274-2 นัฐพงษ์ วังนันไชย สอบถามเพิ่มเติมที่ 0841768765

ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมฝึกกรรมฐานและไถ่ชีวิตสัตว์ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวันแม่แห่งชาติ และทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสฉลองตราตั้งเจ้าคณะตำบลโนนสุวรรณ แด่หลวงพ่อพระปลัดวิศวาธาร ปภสฺสโร พร้อมทั้งวันครบรอบ 11 ปี กลุ่มแพทย์ธัมมารักษ์มาลาขาว
ตั้งแต่วันที่ 12-14 สิงหาคม 2559
ณ วัดป่าศิริสมบูรณ์
234 หมู่ 10 ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ 31110





ขอเชิญร่วมบุญ "หล่อพระประธาน"
เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมงคล ต. โคกสี อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
วันอาทิตย์ ที่ 10 กรกฎาคม 2559
เวลา 10.39 น.
ณ โรงหล่อประติมากรรมประทานพร ( อ.สุรินทร์)
อ. นครชัยศรี จ. นครปฐม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร