วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 16:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 07:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


https://sites.google.com/site/watluangp ... it-to-monk

อ้างคำพูด:


จำพวกคนถูกห้ามไม่ให้รับบรรพชา (บวชเณร) จัดเป็น ๘ พวก ดังนี้ :-

๑. คนมีโรคอันจะติดต่อกัน โรคไม่รู้จักหาย โรคเรื้อรัง ได้แก่โรคเรื้อน มาว่าโรคฝี เช่นฝีดาษและสุกใส หัด โรคกลาก โรคพยาธิ โรคหืด โรคลมบ้าหมู โรคเป็นผลแห่งบาป โรคเรื้อรังเช่นริดสีดวงและกามโรค โรคอัมพาต โรคเอดส์ คนเป็นโรคเหล่านี้ที่รักษาหายเป็นปกติแล้ว รับให้บรรพชาได้.

๒. คนมีอวัยวะบกพร่อง คือ มือขาด เท้าขาด ทั้งมือและเท้าขาด หูขาด จมูกขาด ที่ทั้งหูทั้งจมูกขาด นิ้วมือนิ้วเท้าขาด.

๓. คนมีอวัยวะไม่สมประกอบ คนมีมือเป็นแผ่น คือนิ้วมือไม่ได้เป็นง่าม มีหนังติดกันในระหว่าง คนค่อมคือมีหลังโกง คนเตี้ยคือเตี้ยกว่าคนปกติ คนคอพอก คนตีนปุก คนแปลกประหลาดเพื่อน (ในทางเสีย) คือ สูงเกินบ้าง ต่ำเกินบ้าง ดำเกินบ้าง ขาวเกินบ้าง ผอมเกินบ้าง อ้วนเกินบ้าง มีศีรษะใหญ่เกินบ้าง มีศีรษะหลิมเกิน คนที่แก้หายเช่นคนมีมือเป็นแผ่น เมื่อตัดหนังตกแต่งให้เป็นปกติ ไม่ห้ามบรรพชา.

๔. คนพิการ คนตาบอดตาใส คนง่อย คือมีมือหงิกบ้าง มีเท้าหงิกบ้าง มีนิ้วหงิกบ้าง คือมีเท้าหรือขาพิการ เดินไม่ปกติ คนตาบอดมืด คนใบ้ คนหูหนวก คนทั้งบอดทั้งใบ้ คนทั้งบอดทั้งหนวก คนทั้งใบ้ทั้งหนวก คนทั้งบอดทั้งใบ้ทั้งหนวก.

๕. คนทุรพล คือคนแก่ง่อนแง่น (ทำงานไม่ไหว) คนเปลี้ย คนมีอิริยาบถขาด หรือที่เรียกว่าเส้นประสาทพิการ.

๖. คนมีเกี่ยวข้อง คือคนที่พ่อแม่ไม่ได้อนุญาต เป็นราชภัฏ คือข้าราชการอันพระราชาเลี้ยง ตรงกับข้าราชการอยู่ในตำแหน่งได้รับพระราชทานเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยง คนมีหนี้สิน คนเป็นทาส คนจำพวกนี้หากทำภาระให้สิ้นสุดหรือสะสางแล้วก็สามารถบวชได้ เช่นบุตรได้รับอนุญาตจากมารดาบิดา ราชภัฏได้รับอนุญาตจากพระราชาหรือเจ้าหน้าที่เหนือตน คนมีหนี้สินใช้หนี้เสร็จแล้ว คนเป็นทาสได้รับปลดเป็นไทแล้ว รับบวชได้.

๗. คนเคยถูกอาชญาหลวง มีหมายปรากฏอยู่ คือคนถูกเฆี่ยนหลังลาย คือมีรอยแผลเป็นที่หลัง คนถูกสักหมายโทษ.

๘. คนประทุษร้ายความสงบ คือโจรผู้ร้ายที่ขึ้นชื่อโด่งดัง คนโทษหนีเรือนจำ คนทำผิดมีหมายไว้

คนเหล่านี้ถูกห้ามบรรพชาแล้ว ก็เป็นอันถูกห้ามอุปสมบทด้วย (เพราะก่อนอุปสมบทจะต้องบรรพชาก่อน)


ห้ามบางคนในคนเหล่านี้..ก็พอเข้าใจได้นะ..แต่บางคนในคนเหล่านี้..เขาห้ามทำไม..เช่น..คนมีอวัยวะบ่กพร่อง...ไม่สมประกอบ...คนพิการ..เป็นต้นนี้...

ห้ามเพราะอะไรรึคับ?....แล้วใครเป็นคนออกกฎห้ามเหล่านี้?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2016, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=04&i=133

พระวินัยบัญญัติ


ความเห็นส่วนตัวครับ ..

อาจเป็นไปได้ว่า ท่านเหล่านั้นยังต้องชดใช้กรรมหรือเศษของกรรมก่อนและชาวบ้านทั่ว ๆ ไป ก็ยังมีรังเกียจเดียดฉันท์อยู่ ไม่ยอมสมาคมด้วย การให้บรรพชาหรือบวชแก่ท่านเหล่านั้น เหมือนพุทธศาสนาเป็นที่รองรับของผู้หนีคดีหรือผู้พิกลพิการทั้งหลาย ซึ่งดูแล้วก็ไม่เจริญหู เจริญตา

การบวชในพระพุทธศาสนา มีทั้งลาภสรรเสริญ การเคารพกราบไหว้ คนที่บกพร่องหากินลำบากย่อมแห่แหนกันเข้ามาบวช เพื่ออาศัยลาภสรรเสริญการเคารพกราบไหว้เหล่านั้น

ศาสนาพุทธอาจถูกตำหนิว่า ไม่มีการคัดกรองผู้ที่เหมาะสมเข้ามาบรรพชาหรือบวช ทำให้ขาดความเลื่อมใสศรัทธา ศาสนาก็ไม่ยั้งยืน ไม่กว้างขวาง ไม่เป็นที่เคารพ ..


:b8: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2016, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ห้ามคนพิกลพิการบวช
๑. ทำให้เป็นแหล่งของคนพิการไร้ที่ทำกินเข้ามาบวชอาศัย
๒. เป็นที่ดูถูกดูแคลนเหยียดหยาม จากศาสนาอื่น
๓. จะเป็นภาระดูแล แก่ภิษุผู้บวชอยู่
๔. จะประกอบทำศาสนากิจอะไรไม่ได้ในศาสนา
๕. ขาดความเชื่อถือ ไม่เป็นที่เจริญตาของผู้พบเห็นของคนทั่วไป
๖. จะเหตุทำให้คนทั่วไปเสื่อม ไม่สามารถทำศรัทธาเกิดได้

และอะไรอีกจำไม่ได้
ผู้ที่ห้ามคือพระพุทธเจ้าเองเป็นผู้ออกกฏห้าม เพื่อป้องกันภัยอันจะเกิดแก่พระพุทธศาสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2016, 05:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ..ที่แสดงความเห็นครับ.. :b8: :b8: :b8:

สรุป..ที่ห้าม...

..เพื่อกั้นคนที่จะมาใช้ศาสนาหาเลี้ยงชีพ(กันไม่ให้คนตกนรกหนัก..นี้ก็ยังเป็นความหวังดีกับคนไม่ดี)

..ไม่มาเป็นภาระของนักบวชอื่นในการดูแล..(หวังดีกับนักบวช)

..ยังความศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้าน..ตกทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน (หวังดี..กับปุถุชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต)

แต่ไม่ได้..ตัดหนทาง..จำกัดมรรคผล..ของคนพิการเหล่านั้น...คนพิการยังสามารถปฏิบัติในไตรสิกขา..คือ..ศีล..สมาธิ..ปัญญา...มีมรรคมีผลได้..ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีตัวอย่างปรากฏคือ...ขอทานเป็นโรคเรื้อนนานว่า..สุปปพุทธกุฏฐิ...ยังบรรลุโสดาบันได้..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2016, 05:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำถามเพิ่ม..

อาการทางร่างกาย..ที่เรียกว่า..อาการ 32 ..มีผลต่อการภาวนา...หรือไม่?...

คนวิกลจริต..นี้คงไม่ต้องพูดถึง...คือทำไม่ได้อยู่แล้ว

แต่อาการ32ไม่ครบ..แค่ไหน..ถึงภาวนายังงัยก็ไม่ได้ผล?..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2016, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



การภาวนา คือการฝึกจิตฝึกใจ

ผู้บกพร่องทางกาย กับผู้มีกายปกติ ถ้าไม่เจ็บป่วยเป็นไข้ก็ไม่เป็นปัญหา
สามารถฝึกจิตภาวนาได้เท่าเทียมกัน ใครละนิวรณ์ห้าได้ จิตผู้นั้นก็สงบเป็นสมาธิ

แต่กายกับจิตนั้นย่อมสัมพันธ์กัน หากกายเจ็บไข้ได้ป่วย ย่อมเป็นปัญหาทั้งคู่
เพราะจิตต้องอาศัยกาย เว้นแต่ท่านผู้แยกกายแยกจิตได้ กายจึงไม่เป็นอุปสรรคกับจิต ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2016, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2016, 05:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

การภาวนา คือการฝึกจิตฝึกใจ

ผู้บกพร่องทางกาย กับผู้มีกายปกติ ถ้าไม่เจ็บป่วยเป็นไข้ก็ไม่เป็นปัญหา
สามารถฝึกจิตภาวนาได้เท่าเทียมกัน ใครละนิวรณ์ห้าได้ จิตผู้นั้นก็สงบเป็นสมาธิ

แต่กายกับจิตนั้นย่อมสัมพันธ์กัน หากกายเจ็บไข้ได้ป่วย ย่อมเป็นปัญหาทั้งคู่
เพราะจิตต้องอาศัยกาย เว้นแต่ท่านผู้แยกกายแยกจิตได้ กายจึงไม่เป็นอุปสรรคกับจิต ..

:b1:


สงสัยต่อ??

พิการแต่กำเนิด...กับ...ผู้มาพิการภายหลัง..นี้...เท่าเทียมกันในการภาวนามั้ยหนอ? s002 s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2016, 15:21 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2016, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

สงสัยต่อ??

พิการแต่กำเนิด...กับ...ผู้มาพิการภายหลัง..นี้...เท่าเทียมกันในการภาวนามั้ยหนอ? s002 s002

.. "ภาวนา" เหมาะสำหรับทุกคน ไม่ว่าบกพร่องมาก่อนหรือภายหลัง
ขึ้นอยู่กับว่า "ใครเจริญอธิบาทสี่ได้ครบถ้วนมากกว่ากัน" ..

ท่านอื่นอาจจะเห็นแตกต่างกันไปครับ ..


:b1: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 05:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็น...นะครับ..

สภาพร่างกาย..มีผลต่อการภาวนา....แต่ไม่มีผลต่อการพิจารณา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ความเห็น...นะครับ..

สภาพร่างกาย..มีผลต่อการภาวนา....แต่ไม่มีผลต่อการพิจารณา


ความรู้สึกช้า คิดที่เป็นสองสามเดือนถึงมาตอบ ปรึกษาหมอก็ดีนะครับ
ผมว่าใกล้อัลไซเมอร์แล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2016, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
https://sites.google.com/site/watluangpreechakul/prohibit-to-monk

อ้างคำพูด:


จำพวกคนถูกห้ามไม่ให้รับบรรพชา (บวชเณร) จัดเป็น ๘ พวก ดังนี้ :-

๑. คนมีโรคอันจะติดต่อกัน โรคไม่รู้จักหาย โรคเรื้อรัง ได้แก่โรคเรื้อน มาว่าโรคฝี เช่นฝีดาษและสุกใส หัด โรคกลาก โรคพยาธิ โรคหืด โรคลมบ้าหมู โรคเป็นผลแห่งบาป โรคเรื้อรังเช่นริดสีดวงและกามโรค โรคอัมพาต โรคเอดส์ คนเป็นโรคเหล่านี้ที่รักษาหายเป็นปกติแล้ว รับให้บรรพชาได้.

๒. คนมีอวัยวะบกพร่อง คือ มือขาด เท้าขาด ทั้งมือและเท้าขาด หูขาด จมูกขาด ที่ทั้งหูทั้งจมูกขาด นิ้วมือนิ้วเท้าขาด.

๓. คนมีอวัยวะไม่สมประกอบ คนมีมือเป็นแผ่น คือนิ้วมือไม่ได้เป็นง่าม มีหนังติดกันในระหว่าง คนค่อมคือมีหลังโกง คนเตี้ยคือเตี้ยกว่าคนปกติ คนคอพอก คนตีนปุก คนแปลกประหลาดเพื่อน (ในทางเสีย) คือ สูงเกินบ้าง ต่ำเกินบ้าง ดำเกินบ้าง ขาวเกินบ้าง ผอมเกินบ้าง อ้วนเกินบ้าง มีศีรษะใหญ่เกินบ้าง มีศีรษะหลิมเกิน คนที่แก้หายเช่นคนมีมือเป็นแผ่น เมื่อตัดหนังตกแต่งให้เป็นปกติ ไม่ห้ามบรรพชา.

๔. คนพิการ คนตาบอดตาใส คนง่อย คือมีมือหงิกบ้าง มีเท้าหงิกบ้าง มีนิ้วหงิกบ้าง คือมีเท้าหรือขาพิการ เดินไม่ปกติ คนตาบอดมืด คนใบ้ คนหูหนวก คนทั้งบอดทั้งใบ้ คนทั้งบอดทั้งหนวก คนทั้งใบ้ทั้งหนวก คนทั้งบอดทั้งใบ้ทั้งหนวก.

๕. คนทุรพล คือคนแก่ง่อนแง่น (ทำงานไม่ไหว) คนเปลี้ย คนมีอิริยาบถขาด หรือที่เรียกว่าเส้นประสาทพิการ.

๖. คนมีเกี่ยวข้อง คือคนที่พ่อแม่ไม่ได้อนุญาต เป็นราชภัฏ คือข้าราชการอันพระราชาเลี้ยง ตรงกับข้าราชการอยู่ในตำแหน่งได้รับพระราชทานเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยง คนมีหนี้สิน คนเป็นทาส คนจำพวกนี้หากทำภาระให้สิ้นสุดหรือสะสางแล้วก็สามารถบวชได้ เช่นบุตรได้รับอนุญาตจากมารดาบิดา ราชภัฏได้รับอนุญาตจากพระราชาหรือเจ้าหน้าที่เหนือตน คนมีหนี้สินใช้หนี้เสร็จแล้ว คนเป็นทาสได้รับปลดเป็นไทแล้ว รับบวชได้.

๗. คนเคยถูกอาชญาหลวง มีหมายปรากฏอยู่ คือคนถูกเฆี่ยนหลังลาย คือมีรอยแผลเป็นที่หลัง คนถูกสักหมายโทษ.

๘. คนประทุษร้ายความสงบ คือโจรผู้ร้ายที่ขึ้นชื่อโด่งดัง คนโทษหนีเรือนจำ คนทำผิดมีหมายไว้

คนเหล่านี้ถูกห้ามบรรพชาแล้ว ก็เป็นอันถูกห้ามอุปสมบทด้วย (เพราะก่อนอุปสมบทจะต้องบรรพชาก่อน)


ห้ามบางคนในคนเหล่านี้..ก็พอเข้าใจได้นะ..แต่บางคนในคนเหล่านี้..เขาห้ามทำไม..เช่น..คนมีอวัยวะบ่กพร่อง...ไม่สมประกอบ...คนพิการ..เป็นต้นนี้...

ห้ามเพราะอะไรรึคับ?....แล้วใครเป็นคนออกกฎห้ามเหล่านี้?

Kiss
เป็นความปกติตามภพภูมิที่สามารถอยู่ผู้เดียวได้โดยมิเป็นภาระแก่หมู่คณะ
การเป็นผู้มีปกติสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกายและจิตแข็งแรงไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
ธรรมดาของการประกาศพระศาสนามีการเดินทางไปต้องไม่แพร่กระจายเชื้อโรค
ไม่พิการทุพพลภาพอันเป็นภาพที่น่ารังเกียจเดียดฉันท์แก่ผู้ที่พบเห็นของชาวโลกค่ะ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2016, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาวินัยบัญญัติบ้างก็ดี คือ พระพุทธศาสนาประกอบด้วยธรรมกับวินัย (ธรรมวินัย)

ธรรม คือ ส่วนที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

วินัย คือ กฎระเบียบข้อบังคับ (ทำนองกฎหมาย) ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นเพื่อบริหารหมู่สงฆ์ที่พระองค์ตั้งขึ้น

แม้แต่การรับกุลบุตรเข้ามาบวชก็มีทั้งข้อห้าม ข้ออนุญาตไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร