วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 16:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์ เป็นต้น" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

อายุ สภาวธรรมที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่หรือเป็นไป, พลังที่หล่อเลี้ยงดำรงรักษาชีวิต, พลังชีวิต, ความสามารถของชีวิตที่จะดำรงอยู่และดำเนินต่อไป,

ตามปกติท่านอธิบายว่า อายุ ก็คือ ชีวิตินทรีย์ นั่นเอง, ช่วงเวลาที่ชีวิตของมนุษย์สัตว์ประเภทนั้นๆ หรือของบุคคลนั้นๆ จะดำรงอยู่ได้, ช่วงเวลาที่ชีวิตจะเป็นอยู่ได้ หรือได้เป็นอยู่,

ในภาษาไทย อายุ มีความหมายเพี้ยนไปในทางที่ไม่น่าพอใจ เช่น กลายเป็นความผ่านล่วงไปหรือความลดถอยของชีวิต

ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาติธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่าย คือ

๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทายรูป อย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์

๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสพพจิตตสารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียกอรูปชีวิตินทรีย์ หรือนามชีวิตินทรีย์

ชีพ (ชีวะ) ชีวิต, ความเป็นอยู่

ชีวิต ความเป็นอยู่

ชีโว ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับอาตมันหรืออัตตา ของลัทธิพราหมณ์

ชีวิตักษัย การสิ้นชีวิต, ตาย

ชีวิตสมสีสี ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค. 2016, 17:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิภัตติ ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆกัน เพื่อบอกการกและกาล เป็นต้น เช่น คำนาม โลโก ว่า โลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเก ในโลก

คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น

ไวยากรณ์ ๑ ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา ๒. พุทธพจน์ที่เป็นข้อความร้อยแก้ว คือเป็นจุณณิยบทล้วน ไม่มีคาถาเลย (ข้อ ๓ ในนวังคสัตถุศาสน์)
เทียบ ๒ ดู จุณณิยบท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค. 2016, 17:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool
ขอคำว่า วสี หน่อยค่ะ
ยังโอเคไหมว.หายไปไหน
บอกแล้วว่าให้คลิกเปิดอ่านได้
:b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วสี ความชำนาญ มี ๕ อย่าง คือ

๑. อาวัชชนสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว

๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที

๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตนั้นตกภวังค์

๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ

๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน


วิภัชชวาที "ผู้กล่าวจำแนก" "ผู้แยกแยะพูด" เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไปให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลาย มีด้านที่เป็นคุณ และด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอย่างไร การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดี และแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุม หรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าใจถึงความจริงแท้ตามสภาวะ


วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มัน เป็น (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือ ภาวนา ๒)

ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกัน แต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ

คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ นิพพาน ดังนี้เป็นต้น

.....

เห็นไวพจน์ แล้วถึงโฮฮับว่าเป็นไวพจน์วันละกั๊กวันละแบน :b32:

https://www.youtube.com/watch?v=YHOJXzYx6Vs

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2016, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย วิภัชชวาที ดูพุทธประสงค์ชัดๆ

วิภัชชวาที "ผู้กล่าวจำแนก" "ผู้แยกแยะพูด" เป็นคุณบท คือ คำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะ แจกแจง ออกไปให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น

สิ่งทั้งหลาย มีด้านที่เป็นคุณ และด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอย่างไร การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดี และแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น

ไม่มองอย่างตีคลุม หรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าใจถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

นามรูป (นามกับรูป = ชีวิตนี่) ที่พระพุทธเจ้าแยกแยะกระจายออกไปเป็นขันธ์เป็นกอง ได้ ๕ เป็นอายตนะ ได้ ๑๒ เป็นธาตุ ได้ ๑๘ เป็นอินทรีย์ ได้ ๒๒ เช่น

ขันธ์ ๕ ได้แก่

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓.สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕ วิญญาณขันธ์

(ขันธ์ - กอง, หมวด)

อายตนะ ๑๒ ได้แก่

๑.จักขวายตนะ ๒. รูปายตนะ ๓.โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ ๕.ฆานายตนะ ๖.คันธายตนะ ๗. ชิวหายตนะ ๘.รสายตนะ ๙.กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ ๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

(อายตนะ ที่ต่อ, แดน,)

ธาตุ ๑๘ ได้แก่

จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ

โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ

ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ

กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

(ธาตุ - สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย)

อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท)

๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท)

๓. ฆานิทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท)

๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท)

๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท)

๖.มนิทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ)

๗. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ)

๘. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ)

๙. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต)

๑๐ สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา)

๑๑. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา)

๑๒. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา)

๑๓. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา)

๑๔. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา)

๑๕. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา)

๑๖. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ)

๑๗. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ)

๑๘. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ)

๑๙. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา)

๒๐ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่ยังมิได้รูป ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ)

๒๑ อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง โสตาปัตติมัคคญาณ ถึง อรหัตมัคคญาณ)

๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตผลญาณ)

(อินทรีย์ - สภาวะที่เป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการรับรู้ด้านนั้นๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ก.พ. 2017, 21:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2016, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b27: :b8:
ปล. ขออนุโมทนาในกุศลธรรมค่ะ
ส่วนอันข้างล่างที่ไม่อยู่ในความหมายของธรรม
ไม่ร่วมอนุโมทนานะคะ เพราะเป็นอารมณ์สุนทรีย์ไปละ
:b32:
อ้างคำพูด:
เห็นไวพจน์ แล้วถึงโฮฮับว่าเป็นไวพจน์วันละกั๊กวันละแบน

https://www.youtube.com/watch?v=YHOJXzYx6Vs


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 04 ก.ค. 2016, 09:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2016, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ของเขาชัดลงตัวหมดแล้ว แต่พวกเราโดยเฉพาะโฮฮับ ตะแบงออกไปนอกคอก คิกๆ คือ ไปคิดเอาเอง เดาสุ่มความหมายศัพท์เค้า (อัตตโนมติ) แล้วนอนยิ้มแก้มตุ่ยเหมือนคนเมากัญชานอนวาดภาพก้อนเมฆเป็นรูปภาพต่างๆ เช่น เมฆก้อนนั้นเหมือนนกเค้าแมว ก้อนโน้นเหมือนเกาะช้าง ก้อนต่ำลงมาหน่อยเหมือนป่าหิมพานต์ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐาน คือ วิปัสสนา, งานเจริญปัญญา

วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือ ญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง

วิปัสสนาธุระ ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการสอนการฝึกเจริญกรรมฐาน ซึ่งจบครบที่วิปัสสนา, เป็นคำที่ใช้ในชั้นอรรถกถาลงมา (ไม่มีในพระไตรปิฎก)

วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง

วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา

วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือ ผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

วิปัสสนาภูมิ ภูมิแห่งวิปัสสนา, ฐานที่ตั้งอันเป็นพื้นที่ซึ่งวิปัสสนาเป็นไป, พื้นฐานที่ดำเนินไปของวิปัสสนา, ๑. การปฏิบัติอันเป็นพื้นฐานที่วิปัสสนาดำเนินไป คือ การมองดูรู้เข้าใจ (สัมมสนะ, มักแปลกันว่าพิจารณา) หรือรู้เท่าทันสังขารทั้งหลายตามที่มันเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตา อันดำเนินไปโดยลำดับ จนเกิดตรุณวิปัสสนา ซึ่งเป็นพื้นของการก้าวสู่วิปัสสนาที่สูงขึ้นไป ๒. ธรรมที่เป็นภูมิของวิปัสสนา คือธรรมทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานที่จะมองดูรู้เข้าใจ ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง ตรงกับคำว่า "ปัญญาภูมิ" ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท และ ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย, เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเน้น ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นที่รวมในการทำความเข้าใจธรรมทั้งหมดนั้น, ว่าโดยสาระ ก็คือ ธรรมชาติทั้งปวงที่มีในภูมิ ๓

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วาสนา อาการกายวาจาที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็วหรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น

ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย กับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ
ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้พร้อมทั้งวาสนา,

ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิตก ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕) การคิด, ความดำริ, ไทยใช้ว่า เป็นห่วงกังวล

วิจาร ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การตามฟั้นอารมณ์ (ข้อ ๒ ในองค์ฌาน ๕)

วิจารณ์ ๑. พิจารณา, ไตร่ตรอง . สอบสวน, ตรวจตรา ๓. คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ ๔. ในภาษาไทย มักหมายถึงติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่าชี้ข้อดี ข้อด้อย

วิจารณาญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้น เมื่ออายตนะภายใน และอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่นรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากกระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ วิญญาณ ๖ คือ

๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา

๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู

๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก

๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น

๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย

๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้ (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)

วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ วิญญาณเป็นอาหาร คือ เป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิบาก ผลแห่งกรรม, ผลโดยตรงของกรรม, ผลดีผลร้ายที่เกิดแก่ตน คือเกิดขึ้นในกระแสสืบต่อแห่งชีวิตของตน (ชีวิตสันตติ) อันเป็นไปตามกรรมดี กรรมชั่ว ที่ตนได้ทำไว้, "วิบาก" มีความหมายต่างจากผลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเป็นผลพ่วง ผลพลอยได้ ผลข้างเคียง หรือผลสืบเนื่อง เช่น "นิสสันท์" และ "อานิสงส์"


วิปากวัฏฏ์ วนคือวิบาก, วงจรส่วนวิบาก, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, ชาติ ชรามรณะ


วิปากทุกข์ ทุกข์ทีเป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือ เกิดวิปฏิสาร คือ เดือดร้อนใจ


วัฏฏะ การวนเวียน, การเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิด, ความเวียนเกิด หรือวนเวียน ด้วยอำนาจกิเลส กรรม และวิบาก เช่น กิเลส เกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม เมือทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับผลของกรรม เมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสก็เกิดอีก แล้วทำกรรม แล้วเสวยผลกรรม หมุนเวียนต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วจีกรรม การกระทำทางวาจา, การกระทำด้วยวาจา, ทำกรรมด้วยคำพูด, ที่ดี เช่น พูดจริง พูดคำสุภาพ ที่ชั่ว เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ

วจีทวาร ทวารคือวาจา, ทางวาจา, ทางคำพูด (ข้อ ๒ ในทวาร ๓)

วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหยายด้วยวาจา ได้แก่ การพูด การกล่าวถ้อยคำ เทียบ กายวิญญัติ

วจีสมาจาร ความประพฤติทางวาจา

วจีสังขาร ๑ ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร ่(ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม


วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงได้, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย, ความลังเลเป็นเหตุให้ไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน (ข้อ ๕ ในนิวรณ์ ๕ ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๔ ในอนุสัย ๗)


วิตกจริต พื้นนิสัยหนักในทางตรึก, มีวิตกเป็นปรกติ, มีปรกตินึกพล่านหรือคิดจับจดฟุ้งซ่าน, ผู้มีจริตชนิดนี้พึงแก้ด้วย เพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน (ข้อ ๖ ในจริต ๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขันธ์ ๕ ได้แก่

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓.สังขารขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕ วิญญาณขันธ์

(ขันธ์ - กอง, หมวด)

onion
พิมพ์ซ้ำแก้ไขด้วยขันธ์5ตรงสังขารขันธ์2ครั้งสัญญาหายค่ะใต้วิภัชชวาที
:b20:
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
อ้างคำพูด:
ขันธ์ ๕ ได้แก่

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓.สังขารขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕ วิญญาณขันธ์

(ขันธ์ - กอง, หมวด)

onion
พิมพ์ซ้ำแก้ไขด้วยขันธ์5ตรงสังขารขันธ์2ครั้งสัญญาหายค่ะใต้วิภัชชวาที


ขอบคุณครับ ที่ช่วยตรวจทานให้ :b13:

เห็นแววแระ คือ คุณโรสเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สาธุๆๆ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2016, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถุ เรื่อง, สิ่งของ, ที่ดิน, ที่ตั้งเรื่อง หมายถึงบุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์ เช่น ในการอุปสมบทคนที่จะบวชเป็นวัตถุแห่งการให้อุปสมบท


วิปริณาม ความแปรปรวน, ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป

วิปลาส, วิปัลลาส กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้

ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ

๑. วิปลาสด้วยอำนาจความสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส

๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส

๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส


ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ

๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

๓. วิปลาสในของทีไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน

๔. วิปลาสในของทีไม่งาม ว่างาม

(เขียนว่า พิปลาส ก็มี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร