ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

วิโมกฺขมุข
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53358
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  walaiporn [ 07 พ.ย. 2016, 09:08 ]
หัวข้อกระทู้:  วิโมกฺขมุข

สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนมิตฺตวิโมกฺขมุข

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข





ทั้ง ๓ คำเรียกนี้
เป็นเรื่องของ จิตดวงสุดท้าย
ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย)

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
จะปรากฏขึ้นในลักษณะของนิมิต
แต่เสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้

เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

มีหลายๆคน ที่วลัยพรเคยอ่านพบเจอมาหรือเคยพูดคุยด้วย
เมื่อเขาเหล่านั้น เจอภาพที่ทำให้รู้สึกกลัวตาย

ความไม่รู้ที่มีอยู่
บางคน ระลึกถึงสิ่งที่ตนพึ่งพาอยู่
เช่น ระลึกถึงครูอาจารย์ของตน ให้มาช่วยตน

เมื่อเป็นดังนี้
จิตจะหลุดจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
กลับมารู้ที่กายแทน

บางคน เจอผู้แนะนำที่ไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้
เมื่อมีการบอกเล่าสภาวะ ผู้แนะนำจะบอกว่า
ให้กำหนดรู้หนอๆๆๆๆ(ใช้คำบริกรรม)
จนกลับมามีสติ กลับมารู้ที่กาย

นี่คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้แนะนำท่านนี้
เพราะไม่เคยพบประสพเจอด้วยตนเอง
จึงไม่อาจแนะแนวทางที่ควรปฏิบัติ

มีบางคนเคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านี้
เมื่อพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่ง

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
เวลาใครพูดใครถามอะไร ก็จะบอกว่า เจอครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เลย

หลังจากพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่งมาแล้ว
กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังไม่ให้รู้ชัดในกิเลสที่ยังมีอยู่
หรือรู้ว่ามีอยู่ แต่สักว่ามีเกิดขึ้น เหมือนจางๆ
เหมือนเกิดแล้วดับหายไปอย่างรวดเร็ว

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ตัณหาจึงนำหน้า น้อมเอาคิดเอาเองว่า
สภาพธรมที่มีเกิดขึ้นนี้ เข้าถึงความมี
ความเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ ที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

เมื่อน้อมใจเชื่อดังนี้แล้ว
การที่จะรู้ชัดชัดในสภาพธรรมอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

แต่อย่างน้อย ด้วยความศรัทธา
บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีศิล
เมื่อกายแตก ย่อมสู่สุคติอย่างแน่นอน



ทั้ง ๓ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของ ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ปราศจาก การน้อมเอาคิดเอาเอง
หรือปราศจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

หากยังมีห่วง มีอาลัย ที่เกิดจากจิตใต้สำนึก
สภาพธรรมนี้ จะหายไปและกลับมารู้ที่กายทันที

จงจำไว้ว่า
เมื่อสภาพธรรมทั้ง ๓ ตัวใดตัวหนึ่ง มีเกิดขึ้นในใจตน
หลังจากผ่านสภาพธรรมนั้นๆมาแล้ว
อุเบกขา หรือ กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังหรือกดข่มกิเลส
ให้รู้สึกเหมือนกิเลสที่มีเกิดขึ้นนั้น เบาบางลงมาก

ให้กำหนดรู้ ตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น
อย่าน้อมเข้าสู่ความเป็นนั่น เป็นนี่

เพราะจะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
สภาวะการปฏิบัติทางจิต จึงจมแช่อยู่แค่นั้น

จะใช้เวลามากหรือน้อยแค่ไหน ที่จะหลุดจากกับดักหลุมพรางกิเลสนี้ได้
ขึ้นอยู่ จิตที่เกิดการปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ ตามคำเรียกต่างๆ
หรือตามตำราที่มีเขียนขึ้นมา ตามความรู้ที่มีอยู่ของผู้เขียนนั้นๆ

เจ้าของ:  walaiporn [ 08 พ.ย. 2016, 17:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิโมกฺขมุข

ยูสเซอร์ ลุงหมาน



ต้องหมั่นฝึกตนให้มากๆ

เมื่อยังไม่แน่ใจอะไรที่แน่ชัด



จงมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ เป็นที่พึ่งที่อาศัย

จงมีตนเป็นประทีป เป็นที่พึ่งที่เกาะ
โดยการรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ


เวลาคิดทำสิ่งใด จะได้มีสติระลึกถึงคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรสไว้
จะได้มีเวลาคิดพิจรณาว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

ไม่ใช่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
โดยการประมาณในบุคคลอื่น ทำนองว่า ต้องเป็นอย่างงั้น อย่างงี้
ตามสิ่งที่ตนคิดว่าเป็น คิดว่าใช่ ในความเห็นของๆตน

เท่านั้นยังไม่พอ ยังคิดเที่ยวทำนายทายทัก
ว่าบุคคลนั้นๆ กระทำเช่นนั้นๆ จะต้องมีนรกเป็นเบื้องหน้า

ขนาด เวทนา ตัณหา อุปทาน ที่มีเกิดขึ้นในใจตน ยังไม่รู้เท่าทัน
นับประสาอะไรกับการทำนายทายทักผู้อื่นว่า จะต้องเป็นอย่างงั้น อย่างงี้


แทนที่จะเพียรละ โดยการกำหนดรู้ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา อุปทาน
กลับปล่อยใจ ปล่อยกาย ให้กระทำตามความทะยานอยาก
จึงกลายเป็น การสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก



คำที่ควรกล่าว

เมื่อเห็นผู้ใด โพสสิ่งใดก็ตาม
หากมีข้อสงสัยว่า มีอยู่ในพระธรรมคำสอนไหม

ควรจะใช้คำพูดในการถามว่า
บทความที่โพสนี้ มีอยู่ในพระธรรมคำสอนมั๊ย
หากมี ช่วยนำมาลงให้อ่านหน่อย




ผู้ฝึกตน ฝึกเพื่อละ สละออก
ไม่ใช่ฝึกเพื่อเอาเข้าหาตัว


ความมี ความเป็นอะไรๆในสิ่งที่คนกันเอาเองว่า ตนมี หรือตนเป็น
มันเป็นเพียงแค่สัญญา ไม่สามารถนำไปกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้หรอก

หากนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้
คงไม่มาใช้คำพูดเที่ยวประมาณในบุคคลอื่น

สัญญา ที่เกิดขึ้น หากอโยนิโสมนสิการ
ย่อมไม่สามารถนำสัญญาหรือความรู้ต่างๆ ที่คิดเอาเองว่าเป็นปัญญา
เมื่อนำมาเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ย่อมไม่สามารถทำได้

เพราะอะไรน่ะรึ
เหตุปัจจัยจาก ความสำคัญมั่นหมาย ในสิ่งที่ตนคิดว่ารู้
ความสำคัญมั่นหมาย ว่าตนเข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ในสมุมมติ

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ความไม่รู้ชัดใน "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ย่อมหลงกระทำตาม เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(ความรู้สึกนึกคิด) ที่มีเกิดขึ้น

เจ้าของ:  walaiporn [ 08 พ.ย. 2016, 17:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิโมกฺขมุข

ทำตัวให้เหมือนความเคี้ยวเอื้อง



เมื่อมีสิ่งเกิดขึ้น(ผัสสะ)

สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จงทำตัวให้เหมือนควายเคี้ยวเอื้อง เคี้ยวอย่างช้าๆ

การจะนึกคิดกระทำสิ่งใดก็ตาม คิดให้นานๆ
โดยมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้
เป็นตัวอย่าง ของการกระทำทุกๆการกระทำ

เหมือนการโพสบทความธรรมะ
ต้องมีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่า มีปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอน
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนไว้จริงๆ

จึงเป็นการดำรงพระสัทธรรมไว้ได้นานเท่านาน
แสนนาน จนกว่า มีการสัทธรรมปฏิรูปบังเกิดขึ้น
พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนไว้
จึงเริ่มเลือนลาง จางหายไป มีสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นแทน



การทำความเพียร

หากสิ่งที่พบประสพเจอมาตัวเอง จากการทำความเพียร
สิ่งที่ถูกรู้นั้นๆ ต้องตรงกับพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ทุกประการ

เจ้าของ:  walaiporn [ 08 พ.ย. 2016, 18:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิโมกฺขมุข

walaiporn เขียน:
สุญฺญตวิโมกฺขมุข

อนมิตฺตวิโมกฺขมุข

อปฺปฌิหิตวิโมกฺมุข





[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ









การคิดพิจรณา จากประสพการณ์ที่เคยพบเจอ ขณะทำความเพียร



walaiporn เขียน:


ทั้ง ๓ คำเรียกนี้
เป็นเรื่องของ จิตดวงสุดท้าย
ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย)

สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
จะปรากฏขึ้นในลักษณะของนิมิต
แต่เสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ
เป็นสภาพธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาใดๆได้

เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก
ที่เกี่ยวกับ ความกลัวตาย ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง

มีหลายๆคน ที่วลัยพรเคยอ่านพบเจอมาหรือเคยพูดคุยด้วย
เมื่อเขาเหล่านั้น เจอภาพที่ทำให้รู้สึกกลัวตาย

ความไม่รู้ที่มีอยู่
บางคน ระลึกถึงสิ่งที่ตนพึ่งพาอยู่
เช่น ระลึกถึงครูอาจารย์ของตน ให้มาช่วยตน

เมื่อเป็นดังนี้
จิตจะหลุดจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
กลับมารู้ที่กายแทน

บางคน เจอผู้แนะนำที่ไม่รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้
เมื่อมีการบอกเล่าสภาวะ ผู้แนะนำจะบอกว่า
ให้กำหนดรู้หนอๆๆๆๆ(ใช้คำบริกรรม)
จนกลับมามีสติ กลับมารู้ที่กาย

นี่คือ ความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้แนะนำท่านนี้
เพราะไม่เคยพบประสพเจอด้วยตนเอง
จึงไม่อาจแนะแนวทางที่ควรปฏิบัติ

มีบางคนเคยพบเจอสภาพธรรมเหล่านี้
เมื่อพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่ง

เหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่
เวลาใครพูดใครถามอะไร ก็จะบอกว่า เจอครั้งเดียวแล้วจบ
ซึ่งสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เลย

หลังจากพบเจอสภาพธรรมตัวใดตัวหนึ่งมาแล้ว
กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังไม่ให้รู้ชัดในกิเลสที่ยังมีอยู่
หรือรู้ว่ามีอยู่ แต่สักว่ามีเกิดขึ้น เหมือนจางๆ
เหมือนเกิดแล้วดับหายไปอย่างรวดเร็ว

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
ตัณหาจึงนำหน้า น้อมเอาคิดเอาเองว่า
สภาพธรมที่มีเกิดขึ้นนี้ เข้าถึงความมี
ความเป็นอะไรๆ ในคำเรียกต่างๆ ที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

เมื่อน้อมใจเชื่อดังนี้แล้ว
การที่จะรู้ชัดชัดในสภาพธรรมอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย

แต่อย่างน้อย ด้วยความศรัทธา
บุคคลเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีศิล
เมื่อกายแตก ย่อมสู่สุคติอย่างแน่นอน



ทั้ง ๓ สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้
เป็นสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นของ ไตรลักษณ์ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ปราศจาก การน้อมเอาคิดเอาเอง
หรือปราศจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

หากยังมีห่วง มีอาลัย ที่เกิดจากจิตใต้สำนึก
สภาพธรรมนี้ จะหายไปและกลับมารู้ที่กายทันที

จงจำไว้ว่า
เมื่อสภาพธรรมทั้ง ๓ ตัวใดตัวหนึ่ง มีเกิดขึ้นในใจตน
หลังจากผ่านสภาพธรรมนั้นๆมาแล้ว
อุเบกขา หรือ กำลังสมาธิที่มีอยู่ จะบดบังหรือกดข่มกิเลส
ให้รู้สึกเหมือนกิเลสที่มีเกิดขึ้นนั้น เบาบางลงมาก

ให้กำหนดรู้ ตามความเป็นจริงของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้น
อย่าน้อมเข้าสู่ความเป็นนั่น เป็นนี่

เพราะจะติดกับดักหลุมพรางกิเลส
สภาวะการปฏิบัติทางจิต จึงจมแช่อยู่แค่นั้น

จะใช้เวลามากหรือน้อยแค่ไหน ที่จะหลุดจากกับดักหลุมพรางกิเลสนี้ได้
ขึ้นอยู่ จิตที่เกิดการปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งที่คิดเอาเองว่า เข้าถึงความเป็นนั่น เป็นนี่ ตามคำเรียกต่างๆ
หรือตามตำราที่มีเขียนขึ้นมา ตามความรู้ที่มีอยู่ของผู้เขียนนั้นๆ








คำอธิบายลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑
ด้วยความเป็นโคจร ๑
ด้วยความละ ๑
ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑
ด้วยความหลีกไป ๑
ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑
ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑
ด้วยความหลุดพ้น ๑
ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑
ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑
ด้วยความไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑
ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑
ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ






เรื่องตรงนี้ รอไปก่อน เพราะเป็นเรื่องของ การเจริญสมถะ(สัมมาสมาธิ)และวิปัสสนาตวบคู่กัน

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ จิตภาวนา โดยนับจาก ความดับ(คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติ)
มามีรูปนาม เป็นอารมณ์(ภังคญาณ)

จึงเป็นที่มาของ คำที่เรียกว่า ญาณ ๑๔ ในปฏิสัมภิทามัคค วิปัสสนาญาณ ๙
วิปัสสนาญาณ ๑๐ อภิธัม วิปัสสนาญาณ ๑๖

ทั้งหมด เป็นเรื่องเดียวกันและเกี่ยวข้องกัน

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/