ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

สมถะ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53480
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  walaiporn [ 18 ธ.ค. 2016, 01:32 ]
หัวข้อกระทู้:  สมถะ

สมถะ


ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ






สมถะ มี ๓ ชนิด


๑. มิจฉาสมาธิ


๒. สัมมาสมาธิ


๓. สัมมาวิมุติ (สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)










๑. มิจฉาสมาธิ /รูปฌานและอรูปฌาน

สมาธิที่ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)
เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง
กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ช่วยกดข่มกิเลสไว้ หรือที่เรียกว่า "สมาธิหัวตอ"
(สมาธิบดบังกิเลส)










๒. สัมมาสมาธิ/รูปฌานและอรูปฌาน

๑. สมถะ(สัมมาสมาธิ)

สมาธิที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เกิดขึ้น
ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่(รูปฌาน-อรูปฌาน)

เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้
หรือคำที่เรียกว่า ธรรมเอกผุด มีเกิดขึ้น


กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้
สามารถรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิตธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง(ญาณ 16)


รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

ฌานสมาบัติ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)
มีเกิดขึ้น และดับไป

นิโรธสมาบัติ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)
มีเกิดขึ้น กำลังเกิดขึ้น และดับไปในที่สุด




หากเป็นมิจฉาสมาธิ
วิญญาณ/ธาตุรู้ จะมีเกิดขึ้นไม่ได้เลย
จนกว่าสมาธิจะคลายตัวหรืออ่อนกำลังลง







ข้อปฏิบัติทำให้มิจฉาสมาธิ ให้กลายเป็น สัมมาสมาธิ


วิธีที่ ๑ ปรับอินทรีย์

ให้สังเกตุเวลาจิตเป็นสมาธิว่า มีลักษณะอาการเหล่านี้มีเกิดขึ้นหรือไม่

เมื่อสติกับสมาธิที่มีเกิดขึ้น ไม่ล้าหน้ามากกว่ากันเกินไป
เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว) มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ(ธาตุรู้) มีเกิดขึ้น

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)



หากลองปรับอินทรีย์ดูแล้ว
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ยังคงมีอาการดิ่ง ขาดความรู้สึกตัวเหมือนเดิม

เมื่อจิตเริ่มคลายตัวจากสมาธิ ให้ใช้วิธีที่ 2 ต่อ





วิธีที่ ๒. โยนิโสมนสิการ (การกำหนดรู้)

ขณะจิตเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัว

เมื่อกำหนดสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีเกิดขึ้นเองตามเหตุและปัจจัย

เป็นเหตุปัจจัยให้ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว) มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ(ธาตุรู้) มีเกิดขึ้น

รูปฌาน รูปยังมีอยู่ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)

อรูปฌาน รูปไม่ปรากฏ ใจที่รู้อยู่(วิญญาณ/ธาตุรู้)



วิธีการตรวจสอบความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


๓. ญาณ ๑๖ (ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ ในสัมมาสมาธิ)

มีไว้ใช้สำหรับสอบอารมณ์กรรมฐานของผู้ปฏิบัติ
เพื่อดูความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิว่า
มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นแล้วหรือยัง

ไว้ใช้ดูตรงนี้ ดูผัสสะต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ เช่น
รูปที่ปรากฏ
ลิ้นที่ลิ้มรส
จมูกที่ได้กลิ่น
เสียงที่ได้ยิน
กายที่สัมผัส
วิญญาณ(ธาตุรู้) ที่มีเกิดขึ้น(ใจที่รู้)


เช่น เวทนาทางกายที่มีเกิดขึ้น(อาการปวด)
รู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้น

ตั้งแต่เริ่มเกิด

ขณะกำลังเกิด

ขณะกำลังคลายตัว

ขณะที่ดับหายไปในที่สุด









๓. สัมมาวิมมุติ

ผัสสะ

สิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) มีผลกระทบทางใจ
ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)
ไม่สร้างเหตุออกไป(กาย วาจา)
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

จิตเป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง(สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ)
แต่นามกาย ไม่ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง ๘
คือ เป็นผู้ไม่ได้ฌาน


======================

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุติ
แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ"

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 442&Z=2464



" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ แต่หาได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายไม่

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก อย่างนี้แล ฯ"


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
และทำราคะ โทสะโมหะให้เบาบาง จะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น
และจะกระทำที่สุดทุกข์ได้

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ"

ปุตตสูตร
http://etipitaka.com/compare/thai/pali/21/90/









"[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน


ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี

เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น
ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้วและกุศลธรรมเป็นอเนก

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ

ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...

ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...

ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...

ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...

ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...

ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...

ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...

ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น
ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย"


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 493&Z=6294


================================




เป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน นิพพาน ตามความเป็นจริง


๑. เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
การดับเหตุปัจจัยของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน
และวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน

๒. เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
และวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิดภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

เจ้าของ:  walaiporn [ 19 ธ.ค. 2016, 08:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมถะ

สอบอารมณ์ ดูความรู้สึกตัวในสัมมาสมาธิ(ฌานทั้ง ๘)


ญาณที่ตัวบ่งบอกว่า จิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ
ไม่ใช่แค่ รูปฌานและอรูปฌาน แต่รวมไปถึง วิโมกข์ ๘ (สมาบัติ ๘ และนิโรธสมาบัติ)


นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ
เป็นเพียงสภาวะแรกเริ่มของผู้ที่เริ่มทำความเพียรใหม่ๆ ต้องเจอเหมือนๆกันทุกคน
คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เป็นที่มาของ
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

===================================

[๕๓๖] ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น


ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญ วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ



[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

================================


อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้
ไม่ว่าจะเป็นนิมิตต่างๆ โอภาส สัญญาหรือที่คิดว่าเป็นความรู้ต่างๆที่มีเกิดขึ้น
สรุปคือ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ให้กำหนดรู้
เพราะยังไม่ใช่สภาวะสัมมาสมาธิที่แท้จริง
เป็นเพียงกับดักหลุมพรางกิเลส ที่มีเกิดขึ้น

เมื่อเกิดความยินดี พอใจกับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น
อุปกิเลส จึงมีเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้






จุดเริ่มต้นของจิตเป็นสมาธิ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
นับตั้งแต่ ภังคญาณ

เพราะผู้ที่มีสัมมาสมาธิเกิดขึ้นแล้ว
สมาธิจะไม่ตกต่ำไปหาอารมณ์บัญญัติอีก





สภาวะที่เป็นสัมมาสมาธิ

เป็นผู้มีความรู้สึกตัว ขณะจิตเป็นสมาธิ
รูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ ๘ นิโรธสมาบัติ
อุปปาทะ ฐีติ ภังคะ

๑. ภังคานุปัสสนาญาณ จิตทิ้งคำบริกรรม ที่เป็นบัญญัติ มีรูปนามเป็นอารมณ์

๒.ภยตูปัฏฐานญาณ

๓.อาทีนวานุปัสสนาญาณ

๔. นิพพทานุปัสสนาญาณ

๕. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ

๖. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ

๒-๖ เป็นเรื่องของ ไตรลักษณ์ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา

นิพพทาญาณตรงนี้ เป็นแค่ความเบื่อหน่ายจากสภาวะที่ต้องเจอเดิมๆซ้ำๆ
บางครั้งรู้สึกเบื่อ เบื่อจนไม่มีที่จะอยู่ แต่ตอบตัวเองไม่ได้ว่าเบื่อเพราะอะไร
ยังไม่ใช่ความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด


๗. สังขารุเปกขาญาณ(อุเบกขา)
เมื่ออนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา มีเกิดขึ้นเนืองๆ
ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
จิตจึงเกิดการปล่องวางตามความเป็นจริง


๘. วิโมกข์ ๓

สุญญตวิโมกขมุข

อนิมิตตวิโมกขมุข

อัปปณิหิตวิโมกขมุข

แม้ครั้งที่ ๒

สุญญตานุปัสสนา
อนิมิตตานุปัสสนา
อัปปณิหิตานุปัสสนา


เป็นที่มาของ การเจริญสมถะและวิปัสสนา ควบคู่กัน

================================

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ
ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความ
เป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความ
เป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่าง
เปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและ
กัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ



ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ



[๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน
ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็น
โคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย
อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน
และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ

[๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ



ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
อย่างไร ฯ


เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ



ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความหลุดพ้น ฯ


[๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ

===================================




๑๐. ปัจจเวกขณญาณ
เป็นผลของการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน
วิชชาเกิด ความรู้ชัดในผัสสะ
และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของคำที่เรียกว่า ผัสสะ
ที่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ให้เห็นเป็นรูปธรรมได้

เมื่อรู้ชัดในผัสสะ
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดในเรื่องของกรรม ผลของกรรม กรรมเก่า กรรมใหม่

========================

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่
ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้น
ได้ด้วยไม่ถือมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง
ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


==================================





นี่คือ สภาพธรรมที่มีชื่อเรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง



ปัจจเวกขณญาณ ให้ดูเรื่อง ความรู้ชัดในผัสสะ
ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น



คำว่า หลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ที่มีเกิดขึ้นจากผัสสะเป็นปัจจัย
ไม่ใช่ไปน้อมเอาคิดเอาเองให้ความสำคัญมั่นหมายว่า ได้อะไร เป็นอะไร

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/