วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สั้นๆ "หนอ" :b1:

จาก คคห.ท่านอโศก

อ้างคำพูด:
asoka
เหอะๆๆๆๆๆ......

แนะนำมาดีแล้วแต่กรัชกายจับจุดจับประเด็นสำคัญไม่ได้เอง

"นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

คำแนะนี้มันยิ่งกว่าหนอให้ทันทุกอารมณ์เสียอีก

เพราะตราบใดยังพึ่งหนอ มันก็จะเป็นได้แค่
"วิปัสสนาขั้นฝึกหัด"

ทิ้งหรือวางหนอเสียได้ เหลือแต่สติปัญญาโดยธรรมชาติแท้
ทำงานรู้และสังเกตทันปัจจุบันอารมณ์ได้เมื่อไหร่ วิปัสสนาภาวนาจึงจะเดินเครื่องได้เต็มร้อย


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
หนอที่ท่านอโศกว่า มันคืออะไร



อ้างคำพูด:

asoka

ยังไม่รู้อีกหรือ คำบริกรรมว่า "หนอ" ที่ใช้กันในเมืองไทยนี้นะ

เขาประยุกต์เอาวิธีการของท่านอาจารย์มหาสีสะยาดอในพม่ามาใช้สอนในเมืองไทย

ทางพม่าเขาใช้คำว่า "แหล๋ หรือแหด๋ "

ทางเมืองไทยใหญ่ใช้คำว่า "เย้า" แปลว่าแล้ว หรือ เสร็จแล้ว

เช่น ย่างเย้าๆๆๆๆ=เดินหนอๆๆๆๆๆ
ตัมเย้าๆๆๆๆ=วางหนอๆๆๆหรือ ถูกหนอๆๆๆๆๆ

หนอนี่เป็นตัวช่วยตัดกระแสของสันตติ ความสืบต่อของเรื่องต่างๆ

ถ้าหนอได้ทันปัจจุบันอารมณ์ดี จะได้สมาธิเป็นผล ตัดกระแสความนึกคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านได้ดี


เคยรู้เรื่องพวกนี้บ้างบ๋อล่ะ กรัชกาย?



อ้างคำพูด:
กรัชกาย
แล้วที่ว่าทิ้งหนอวางหนอล่ะ วางได้ยังไงยังงั้นน่า



อ้างคำพูด:
asoka
ฉลาดน้อยจัง (ง) การทิ้งหนอ วางหนอ ก็แค่ตั้งใจ (มนสิการ)
แล้วใช้แต่สติปัญญาเพียวๆ ไร้บัญญัติไร้บริกรรมมาทำงานแทนการกำหนดหนอ


จาก

viewtopic.php?f=1&t=53484&p=402993#p402993



กท.นี้ จะถกเถียงกับท่านอโศกคำพูด หนอ กับ สมมติบัญญัติเป็นหลัก คงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้คำตรึงอารมณ์ คือกำหนดแบบต่างๆบ้างไม่มากก็น้อย

คำพูด-คำตอบท่านอโศกจะขัดแย้งในตัวเองตลอด

เอาแค่ "บัญญัติ" ที่ชอบพูดชอบอ้างบ่อยๆก็หาเข้าใจความหมายเขาไม่ สมมติอีกตัวก็ทำนองเดียวกัล :b32:

รวมถึงไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ แบบใช้อาการท้องพองขึ้น กับ อาการท้องยุบลง (ลมเข้า- ลมออก) ท้องพอง ให้ว่าพองหนอ ท้องยุบให้ว่า ยุบหนอ แต่ท่านอโศก ก็ยกแต่ "หนอ"มา อิอิ นี่แสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องกรรมฐานแม้เท่าตาเล็น :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ชอบข้อความยาวๆก็ตัดเอาเนื้อๆมาพอให้เห็นแนวทางของเรื่องที่จะสนทนา (ถ้าเข้าใจหลักแล้ว ผู้ปฏิบัติสามารถยักเยื้องได้หมด)

............

- ปราชญ์บางท่านชี้ให้สังเกตความแตกต่าง ระหว่างอานาปานสติ กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับควบคุมลมหายใจของโยคะ ที่เรียกว่า ปราณยาม เป็นต้น ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว โดยเฉพาะว่า อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ
ส่วนการฝึกบังคับลมหายใจนั้น บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยา ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบำเพ็ญ และละเลิกมาแล้ว

ขั้นปฏิบัติ คือ ลงมือกำหนดลมหายใจ

พระอรรถกถาจารย์ได้เสนอวิธีการเพิ่มเติม เช่น การนับ เข้ามาเสริมการปฏิบัติตามพุทธพจน์ (อานาปานสติ ตัวอย่าง เมื่อลมหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เป็นต้น )


การนับ

เริ่มแรก ในการกำหนดลมหายใจออก-เข้า ยาว-สั้นนั้น ท่านว่าให้นับไปด้วย เพราะการนับจะช่วยตรึงจิตได้ดี


“การนับ” ผู้ปฏิบัติจะยักเยื้องไปอย่างอื่นอีกก็ได้ เช่น ที่สอนให้ว่าพุทโธบ้าง อย่างอื่นอีกบ้าง กำกับลมหายใจเข้า - ลมหายใจออก แทนการนับ เป็นต้น

สาระอยู่ที่เป็นอุบายตรึงจิตไว้เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกว่าเคยทำเคยปฏิบัติ 9 แบบนี้ รวมหนอให้ทัน...ด้วย นี่วางใกล้ๆอีกเลย คิกๆๆ



อ้างคำพูด:
สนใจอยากรู้ว่าอโศกะเคยทำภาวนาแบบไหน แล้วไปเกิดญาณ 16 จากการภาวนาแบบไหน เชนนั้นหรือ?

ถ้าสนใจก็จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเป็นวิทยาทาน

ภาวนาที่อโศกะเคยทำมา

1.พองหนอยุบหนอ....หรือหนอให้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ท่องคาถาปลุกพระ ท่องคาถาหัวใจต่างๆเป็นคาบๆ

3.กำหนดต้นธรรม ตามแบบเจ้ามาวหลวง อ.อริยวังโส(ไทยใหญ่)

4.พิจารณาอนิจจัง ตามแบบหลวงพ่อพุทธวาที (พม่า)

5.สมาธิหมุน (พระอาจารย์รัตน์ รัตนยาโน)

6.พุทโธ (สายหนองป่าพง)

7.อนัตตา (หลวงพ่อธี)

8.กำหนดกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย(ท่านโกเอ็นก้า)

9.เจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์(ตามภัทเทกรัตคาถา)
ใช้อยู่ประจำในปัจจุบัน

ตอนที่จะรู้ชัดญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการเจริญภาวนาตามแบบที่ 9 โดยธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งท่า ไม่ได้เข้ากรรมฐาน มันเกิดขึ้น เจริญไปและไหลไปเองตามธรรมตอน
วันแรม 14 ค่ำหลังวิสาขะบูชาปี 2542 เริ่มประมาณตีสามกว่า
จบปัจจเวกตอนเกือบหกโมงเช้า

แค่นี้ก็พอละมั้งครับกรัชกาย


viewtopic.php?f=1&t=53339&p=402763#p402763

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปิดประเด็นให้ท่านอโศกเข้ามาแย้ง :b1:


อ้างคำพูด:
asoka
ยังไม่รู้อีกหรือ คำบริกรรมว่า "หนอ" ที่ใช้กันในเมืองไทยนี้นะ

เขาประยุกต์เอาวิธีการของท่านอาจารย์มหาสีสะยาดอในพม่ามาใช้สอนในเมืองไทย

ทางพม่าเขาใช้คำว่า "แหล๋ หรือแหด๋ "

ทางเมืองไทยใหญ่ใช้คำว่า "เย้า" แปลว่าแล้ว หรือ เสร็จแล้ว

เช่น ย่างเย้าๆๆๆๆ=เดินหนอๆๆๆๆๆ ตัมเย้าๆๆๆๆ=วางหนอๆๆๆหรือ ถูกหนอๆๆๆๆๆ

หนอนี่เป็นตัวช่วยตัดกระแสของสันตติ ความสืบต่อของเรื่องต่างๆ

ถ้าหนอได้ทันปัจจุบันอารมณ์ดี จะได้สมาธิเป็นผล ตัดกระแสความนึกคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านได้ดี

เคยรู้เรื่องพวกนี้บ้างบ๋อล่ะ กรัชกาย?




กำเนิด “หนอ” ท่านอโศกผู้ทำคลอด (พรรณนา) ว่ามาจากพม่า "แหล๋ หรือแหด๋ " ไทยใหญ่ว่า “เย้า”

กรัชกายว่า “หนอ” เป็นคำนิบาต นิบาตสักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม วต แปลว่า หนอ
ใช้เป็นคำประกอบภาคปฏิบัติทางจิต (ใช้คำอื่นๆนอกจากนี้ก็ได้) ตัวอย่าง ขณะใดลมหายใจเข้ายาว - ออกยาว อย่างนี้ใช้หนอเสริม เป็นว่า “พองหนอ ยุบหนอ”

แต่เมื่อปฏิบัติไปๆลมหายใจมันละเอียดประณีตขึ้นว่า พองหนอ ยุบหนอ ว่าสั้นไปอีกแล้ว ก็ให้เสริมอีกเป็น “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ (รูปนั่ง)” เพื่อให้จิตแนบกับสิ่งที่ถูกรู้ ณ ขณะนั้นดีขึ้น
..... เมื่อปฏิบัติไปๆๆลมหายใจละเอียดประณีตขึ้นอีกอีก ชักรู้สึกว่าลมหายใจเข้า-ออกเหมือนยาวเป็นไมล์ (หรือจิตกำหนดรู้เร็วทัน) ว่า “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ” ไม่พอ ก็ให้เสริมจุดกระทบอีกจุดหนึ่ง “ถูก” เป็นว่า “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ”

แต่ขณะใดลมหายใจเข้า-ออกเร็ว ว่าพองหนอ ยุบหนอ ยาวไป ว่าแค่ พอง ยุบ, พอง ยุบ, พอง ยุบ, พอง - ยุบ, ทิ้งหนอก่อน

แต่ถ้าขณะใดลมหายใจสับสน (จับไม่ได้ว่ามันเข้าหรือออก -จับไม่ได้รู้ว่ามันพองหรือยุบ) ว่า “รู้หนอๆๆ” นึกรู้อาการนั่ง รู้หนอๆๆ จนกว่าพอง-ยุบ (ลมเข้าออก) คืน
ฯลฯ
เท่าที่กล่าวมา จะเห็นว่า หนอตัดทิ้งได้ เสริมได้ ยักเยื้องตามสภาวธรรมในขณะนั้นๆ แต่องค์กรรมฐาน คือ พองกับยุบ (ลมเข้า-ออก) ตามดูรู้ทันเกาะไว้


แต่ก็อีก เมื่อภาวนาไปๆๆ รู้สึกว่า ร่างกายหาย คำภาวนาหาย ฯลฯ ก็เกาะจับอารมณ์ที่ชัด (เช่นเสียงเป็นต้น) ในขณะนั้น ภาวนาไป

เมื่อพอง-ยุบ (ลมเข้า-ออก) คืนแล้วก็เกาะจับอารมณ์นั้นภาวนาต่อไป
สรุปก็คือเรายักเยื้องได้

ตัวอย่างประกอบการศึกษา (รู้สึกมือเป็นต้นหายไป)

คือการนั่งครั้งหลังๆมานี้ เกิดสภาวะคล้ายๆเดิม ตลอดเกือบทุกครั้ง คือ มือหายไปจากความรู้สึก ไม่รู้สึกว่ามีมืออยู่ (รู้ว่ามี แต่รู้สึกว่าไม่มี ผมอธิบายไม่ถูก เชื่อว่าท่านผู้รู้คงเข้าใจผม) ก้น และต้นขาที่นั่งทับพื้นยังรู้สึกว่ามีอยู่ หลังที่นั่งพิงเก้าอี้ก็รู้สึกว่ายังมีอยู่ คือสรุปว่า มือหายทั้งสองข้าง อย่างอื่นที่เหลือยังรู้สึกถึงได้ อยู่ครบยังไม่หาย มีอาการตัวพองๆยุบๆบ้าง แต่ก็ไม่บ่อย มีอาการหายเกือบทั้งตัวบ้าง แต่น้อยมาก แต่ที่แน่ๆคือ มือทั้งสองข้างหายทุกครั้ง, ทุกครั้งจริงๆครับ นั่งแป๊บเดียวก็หายแล้ว และหายไปจากความรู้สึกตลอดเวลาที่ยังนั่งอยู่

ลมหายใจเริ่มแผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเหมือนลมหายไป เหมือนไม่ได้หายใจ ในครั้งแรกๆที่เจอสภาวะนี้ ผมตกใจทำอะไรไม่ถูก ตะลีตะลานรีบควานหาลม แล้วก็กลับมาหายใจแบบปกติ, แต่ในครั้งหลังๆ ผมจะพยายามทนอยู่กับสภาวะนี้ ซึ่งผมจะอึดอัดมาก และในที่สุดผมก็ทนไม่ไหว จนต้องบังคับให้ตัวเองหายใจด้วยการสูดยาว จึงจะกลับมารู้สึกว่าผมหายใจแล้ว ผมจึงเริ่มรู้ลมใหม่ .. แล้วลมก็แผ่ว .. แล้วลมก็หาย .. แล้วผมก็ทน .. แล้วผมก็ทนไม่ไหว .. แล้วผมก็สูดลม .. แล้วผมก็รู้ลม .. แล้วลมก็แผ่ว .. ฯลฯ วนรอบอยู่อย่างนี้ ซ้ำรอบอยู่อย่างนี้



ท่านอโศกขอรับ การเรียนรู้รูป-นาม ต้องเรียนจากของจริงขอรับ มิใช่มโนเอาแบบนั้น :b32: บอกไม่เชื่อ

จะคลายการยึดมั่นถือมั่นมันหรือไม่ ก็รู้เอาตอนนี้แหละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ธ.ค. 2016, 20:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกว่า ทำสมาธิหมุนจนจิตหลุด คือ หลุดไปจากความยึดติดถือมั่น แล้วกลายเป็นคนใหม่ไปเลยว่า

อ้างคำพูด:
asoka
หมุนจนจิตหลุดแหละครับ กลายเป็นคนใหม่ไปเลย


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
จิตมันหลุดไปไหนขอรับ


อ้างคำพูด:
asoka
หลุดไปจากความยึดมั่นถือมั่น


ยังสงสัยอยู่ติ๊ดนึง กลายเป็นคนใหม่นี่หมายถึงยังไง :b10:

คนหน้าเดิม

https://www.youtube.com/watch?v=0wpsTIwPCpE

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2016, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ลมหายใจเริ่มแผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเหมือนลมหายไป เหมือนไม่ได้หายใจ ในครั้งแรกๆที่เจอสภาวะนี้ ผมตกใจทำอะไรไม่ถูก ตะลีตะลานรีบควานหาลม แล้วก็กลับมาหายใจแบบปกติ, แต่ในครั้งหลังๆ ผมจะพยายามทนอยู่กับสภาวะนี้ ซึ่งผมจะอึดอัดมาก และในที่สุดผมก็ทนไม่ไหว จนต้องบังคับให้ตัวเองหายใจด้วยการสูดยาว จึงจะกลับมารู้สึกว่าผมหายใจแล้ว ผมจึงเริ่มรู้ลมใหม่ .. แล้วลมก็แผ่ว .. แล้วลมก็หาย .. แล้วผมก็ทน .. แล้วผมก็ทนไม่ไหว .. แล้วผมก็สูดลม .. แล้วผมก็รู้ลม .. แล้วลมก็แผ่ว .. ฯลฯ วนรอบอยู่อย่างนี้ ซ้ำรอบอยู่อย่างนี้



สภาวะ, สภาพ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง,ธรรมดา

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

การประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน กลับทำให้เกิดทุกข์ (สํ.ข.17/4/4; 32/21; 87/53)


ใช้ตัวอย่างนี้ อธิบายไตรลักษณ์ก็ได้ อธิบายปฏิจจสมุปบาทก็ได้ อธิบายอริยสัจก็ได้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

คำว่าหนอ

ไม่ใช่การปฎิบัติ

แต่เป็นความเห็น

เห็นในที่นี้คือเห็นธรรมตามสภาวะของมัน

ยุบ พอง ยาว สั้น ปวด เบา อื่นๆ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 07:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
ฟุ้งปรุงกันไปใหญ่เลยนะ กรัชกาย

ไปหาอ่านประวัติการเข้ามาสู่เมืองไทยของกรรมฐานสายหนอ ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อพระพิมลธรรมท่านนำมาเผยแพร่ใหม่ๆที่วัดมหาธาตุดูนะครับ

แล้วการภาวนาหนอนี่ไม่เฉพาะแค่ท้องพองยุบ เขาใช้บริกรรมตามทุกอารมณ์ความรู้สึก

ในพม่าเขาเรียกวิธีนี้ว่า สติปัฏฐาน 4 ตามแบบอาจารย์มหาสีสะยาดอ
onion
กรรมฐานหนอกำลังเจริญและดังแพร่หลายไปทั่วโลก แล้วก็ดีด้วยเป็นการฝึกสติให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ทุกอย่าง

ผมก็ได้พื้นฐานดีๆมาจากกรรมฐานหนอนี่แหละครับ แต่ผมเป็นศิษย์ดื้อหน่อย คือชอบทิ้งหนอเร็วเกินไป ไม่เกิน15 นาทีก็วางหนอเหลือแต่ นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เริ่มภาวนาหนอใหม่ๆแล้วครับ แต่ไม่รู้ความหมายและความสำคัญของการนิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์มาแต่ต้น แต่พอได้รับผลจากการนิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ ในช่วงหลังๆนี้ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจนเข้าใจซาบซึ้งญาณ 16 ทำให้ผมรู้ว่า

"นิ่งรู้นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"
นี่เป็นเคล็ดลับและสูตรสำเร็จในการเจริญวิปัสสนาภาวนายิ่งนักเลยครับ

มีพุทธพจน์รับรองไว้ด้วยในภัทเทกรัตคาถา

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
ฟุ้งปรุงกันไปใหญ่เลยนะ กรัชกาย

ไปหาอ่านประวัติการเข้ามาสู่เมืองไทยของกรรมฐานสายหนอ ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อพระพิมลธรรมท่านนำมาเผยแพร่ใหม่ๆที่วัดมหาธาตุดูนะครับ

แล้วการภาวนาหนอนี่ไม่เฉพาะแค่ท้องพองยุบ เขาใช้บริกรรมตามทุกอารมณ์ความรู้สึก

ในพม่าเขาเรียกวิธีนี้ว่า สติปัฏฐาน 4 ตามแบบอาจารย์มหาสีสะยาดอ

กรรมฐานหนอกำลังเจริญและดังแพร่หลายไปทั่วโลก แล้วก็ดีด้วยเป็นการฝึกสติให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ทุกอย่าง

ผมก็ได้พื้นฐานดีๆมาจากกรรมฐานหนอนี่แหละครับ แต่ผมเป็นศิษย์ดื้อหน่อย คือชอบทิ้งหนอเร็วเกินไป ไม่เกิน15 นาทีก็วางหนอเหลือแต่ นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เริ่มภาวนาหนอใหม่ๆแล้วครับ แต่ไม่รู้ความหมายและความสำคัญของการนิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์มาแต่ต้น แต่พอได้รับผลจากการนิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ ในช่วงหลังๆนี้ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจนเข้าใจซาบซึ้งญาณ 16 ทำให้ผมรู้ว่า

"นิ่งรู้นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"
นี่เป็นเคล็ดลับและสูตรสำเร็จในการเจริญวิปัสสนาภาวนายิ่งนักเลยครับ

มีพุทธพจน์รับรองไว้ด้วยในภัทเทกรัตคาถา


อ้างคำพูด:
กรรมฐานสายหนอ ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อพระพิมลธรรมท่านนำมาเผยแพร่ใหม่ๆที่วัดมหาธาตุดูนะครับ


ความหมาย "กรรมฐาน" บอกไว้แล้ว กท. กรรมฐาน, กัมมัฏฐาน ท่านอโศกว่ามาจากเมียนม่า เมียนมา เอามาจากไหน ตอบก็รับเอามาจากพระพุทธศาสนา อิอิ จริงไม่จริง

การมองเรื่องศาสนาควรมองให้ถึงเป้าหลักคือพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มองว่า สายหลวงพ่อนั่น หลวงปู่นี่ หลวงตานั่น ฯลฯ ไม่ใช่ๆ ถ้ามองแค่นั้น จะติดอาจารย์ติดหลวงปู่หลวงพ่อซ้ำไปอีก คิกๆๆ

บอกแล้วว่าหนอ เปลี่ยนคำอื่นได้ เอาล่ะนะ ฉันไม่เอาหนอไม่ชอบหนอว่าเป็นเมียนมา ฉันจะบัญญัติคำใช้แทนหนอ เป็น "แหน่" เป็น พองแหน่ ยุบแหน่ อิอิ ไม่พอใจใช้ไหม ถ้างั้นเอาใหม่ เป็นพองแล ยุบแล :b32: ก็บอกแล้วยักเยื้องได้ บอกไม่เชื่อ


อ้างคำพูด:
ภาวนาหนอนี่ไม่เฉพาะแค่ท้องพองยุบเขาใช้บริกรรมตามทุกอารมณ์ความรู้สึก


บอกนับครั้งไม่ถ้วนว่า ท่านอโศกหารู้เรื่องกรรมฐานไม่

ที่เขาว่า "พอง" หมายถึงอาการที่ท้องพองขึ้น (ลมเข้าในท้อง ท้องจึงพอง ฯลฯ นั่นแหละเขานำเอาท้องพอง ท้องยุบนั่นแหละเป็นกรรมฐาน คือเป็นที่ทำงานของจิต เออ)

ท้องพอง ให้ภาวนาในใจว่า พองหนอ พองแหน่ พองแล พองแล้ว ยุบแล้ว อิอิ


อ้างคำพูด:
พม่าเขาเรียกวิธีนี้ว่า สติปัฏฐาน 4 ตามแบบอาจารย์มหาสีสะยาดอ


สติปัฏฐาน 4 (ข้อ) เป็นของพระพุทธศาสนา ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ของ อ. นั่น อ. นี่ หลวงพ่อนั่นนี่ เออ บอกไม่จำ

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง, การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่ บ้าง (จำไว้นะขอรับ) แล้วจะเป็นสติปัฏฐาน 4 ได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดให้ได้ 4 ฐาน เช่น พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ฯลฯ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เจ็บหนอ ปวดหนอ ฯลฯ เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

คิดหนอ ฯลฯ เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ฟุ้งซ่านหนอ ฯลฯ เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ขณะที่นั่งกำหนดอารมณ์ สภาวะใดเกิด กำหนดตามนั้น ตามที่มันเป็น มันไม่เกิดก็ไม่ต้องไปทำให้มันเกิด มีนะบางสำนักเวทนาไม่เกิดก็ทำให้มันเกิด เช่น เอาไฟลนตามแขนตามขาให้เกิดเวทนาแล้วดู คิดว่าดูเวทนา ปฏิบัติผิดแล้ว

เอาแค่นี้ก่อนนะ คิดว่ายังไม่ตายวันนี้หรอก คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 14:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b7:
กรัชกาย มั่วและฟุ้งซ่านไปใหญ่แล้วด้วยความไม่รู้จริงในประวัติการภาวนา แบบ หนอ

แล้วที่ว่าเอามาจากพระพุทธเจ้านั้น ช่วยค้นมาให้อ่านดูหน่อย
ว่า การภาวนาพองหนอ ยุบหนอ นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในสูตรไหน ธรรมขันธ์ใดครับ

s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
........

"นิ่งรู้นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"
นี่เป็นเคล็ดลับและสูตรสำเร็จในการเจริญวิปัสสนาภาวนายิ่งนักเลยครับ

มีพุทธพจน์รับรองไว้ด้วยในภัทเทกรัตคาถา[/size][/color]
onion


อ้างคำสอนอาจารย์อีกเรื่องหนึ่ง
อ้างพุทธพจน์รับรอง อโศกะ คงต้องใคร่ครวญให้รอบด้าน

Quote Tipitaka:
๑. ภัทเทกรัตตสูตร (๑๓๑)
[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคล
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่
มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่
ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึง
เจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียใน
วันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ
ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญ ฯ
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มี
สังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร
คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่
ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขาร
อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
[๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร
คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขาร
อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง
นี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
[๕๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูป
บ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็น
วิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
[๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
อย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็น
อัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่า
มีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อม
ไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็ง
เห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตา
ในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
[๕๓๔] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่
ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป
แล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล
ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน
ในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยน
กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความ
เพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b7:
กรัชกาย มั่วและฟุ้งซ่านไปใหญ่แล้วด้วยความไม่รู้จริงในประวัติการภาวนา แบบ หนอ

แล้วที่ว่าเอามาจากพระพุทธเจ้านั้น ช่วยค้นมาให้อ่านดูหน่อย
ว่า การภาวนาพองหนอ ยุบหนอ นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในสูตรไหน ธรรมขันธ์ใดครับ[/size]


กรรมฐาน มีกี่อย่างอะไรบ้าง หมายถึงอะไร บอกแล้ว กท.นี้

viewtopic.php?f=1&t=53474


ท่านอโศกดูให้เข้าใจนะ :b1:

และท่านอโศกก็ยังติดยังยึดหนออยู่นั่น อิอิ ก็บอกว่า ยักเยื้องได้ ใช้บัญญัติคำอื่นได้ (บอกแล้ว) แต่ข้อสำคัญ คือ กรรมฐาน คือ พองกับยุบ หรือลมหายใจเข้า-ออก ต้องใช้เป็นฐานฝึกจิตฝึกสติ เออ

เทียบ อานาปานสติ :b1:

พอเข้าใจไหมที่พูดเนี่ยะหือ :b13:

แล้วสมาธิหมุนที่ท่านอโศกทำแล้วว่าจิตหลุดเอามาแต่ไหนหือ :b32:

ปอลิง. ย้ำอีกครั้งว่า ผู้ที่คิดเห็นแบบท่านอโศกนี่แหละไปฝึกไปสอนคนทำกรรมฐาน เพี้ยนชั่วร์บ้าชั่วร์ คิกๆๆ บอกไม่เชื่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ถามท่านอโศกล่ะ แต่จะบอกวิธีแก้อารมณ์ (พูดตามที่เข้าใจกันในหมู่ผู้ปฏิบัติทางจิตแบบนี้ หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่นก็ไม่ว่ากัน) ตัวอย่าง


ขอสอบถามอาการของสมาธิค่ะ

รบกวนผู้รู้ชี้แนะด้วย

1. มีความรู้สึกมีอีกร่างอยู่ในตัวเรา แต่เราจะควบคุมอีกร่างไม่ได้ อีกร่างเหมือนกับจะพยายามออกมา จากร่างเรา รู้สึกว่าเค้าจะยืดออกทางหน้าซ้ายบ้าง สักพักก็มาทางขวา แต่ไม่เคยออกได้ ปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจะพยายามไม่สนใจค่ะ ถูกต้องรึเปล่าค่ะ หรือควรจะทำอย่างไรกรุณาชี้แนะด้วยค่ะ

2. นั่งไปสักพัก จะไม่รู้สึกตัว เหมือนเราหายไป แต่รู้ว่าไม่ได้หลับ สักพักก็กลับมาเหมือนเดิม เหมือนหายไปแปล๊บเดียว แต่ค่อนข้างจะนานค่ะ ควรจะทำอย่างไรหรือปล่อยไปแบบนี้ค่ะรบกวนชี้แนะ ด้วย

ทั้งสองเหตุการณ์ จะไม่เกิดพร้อมกัน ถ้าวันนี้เกิดเหตุการณ์ที่ 1 วันต่อมาก็จะเกิด เหตุการณ์ที่ 2 สลับกันค่ะ หรือบางวันก็ไม่เกิดอาการทั้ง 2 เลยค่ะ

3. เคยนอนหลับตอนกลางวันที่บ้าน แล้วมีความรู้สึกว่าไม่ง่วงไม่นอนละ แล้วก็ลุกขึ้นมาทำอะไรตามปกติ เช่น กวาด บ้าน เดินอยู่ในบ้าน สักพักสะดุ้งตื่นเพราะเสียงโทรศัพท์แล้วก็งงว่า เมื่อกี้เราไม่ได้หลับนี่ ยังทำอะไรตามปกติอยู่เลย แล้วทำไมมาสะดุ้งตื่นนอนบนที่นอนอย่างนี้

รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะแนวทางที่ควรจะปฏิบัติต่อไปด้วย
ปกตินั่งสมาธิแบบอานาปานสติอย่างเดียวเลยค่ะ
ก่อนนอนก็จะนอนภาวนาตลอดเลยค่ะ


กำหนดอารมณ์ต้องกำหนดทุกๆสภาวะที่เกิด ที่รู้สึก เป็นยังไง รู้สึกยังไง กำหนดยังงั้น ทุกๆขณะ สุข ทุกข์ ชอบใจ ไม่ชอบใจยังไง ก็ยังงั้น ไม่เลี่ยงหนีความจริง ไม่หลอกตนเอง ตรงตัวสภาวะ สุข ก็สุขหนอๆๆ ทุกข์ ก็ทุกข์หนอๆ ชอบใจ ก็ชอบใจหนอๆๆ ไม่ชอบใจ ก็ไม่ชอบใจหนอๆๆ สภาวธรรม ไม่ชัดไม่รู้จะกำหนดยังไง ก็ว่า รู้หนอๆๆๆ รู้สึกสงสัย ก็สงสัยหนอๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาคำถามมาจาก

http://www.jarun.org/webboard/boardmain ... c=NzM0MQ==

ดิฉันไปปฏิบัติที่วัด มา 6 ครั้งแล้ว แต่ละครั้ง 3 วันบ้าง 7 วันบ้าง แล้วแต่โอกาศ แต่ก็กลับมาปฏิบัติต่อที่บ้านทุกวัน ยกเว้นติดภาระกิจไม่อยู่บ้านก็กำหนดรู้แทนตลอดทั้งวันเมื่อนึกออกค่ะ แต่มีข้อสงสัย แค่สอบถามพระอาจารย์ที่วัด ท่านก็เมตตาให้อดทนกำหนดต่อ ท่านบอกว่าบางคนเกิดขึ้นเป็นเดือนๆ ดิฉันเกิดขึ้นจะสามเดือนแล้วยังไม่หายค่ะคือว่า หลังจากสวดมนต์เสร็จก็จะเดินจงกรมแล้วนั่งต่อขณะที่นั่ง [color=#FF0000]พอรู้สึกจิตนิ่ง ในความรู้สึก แต่ก็กำหนดลมเข้าออกสักไม่ถึง 5 ลมหายใจเข้าออกก็จะหาว ๆๆๆ ก็กำหนด น้ำตาจะมากยิ่งกำหนดยิ่งมาค่ะ ตลอดจนหมดเวลาไม่ได้ภาวนาเลยเป็นอย่างนี้ตลอดค่ะ ทั้งรอบเช้าและเย็น ทำไมไม่หายสักทีค่ะพระอาจารย์ก็ให้กำหนดตามอาการค่ะ [/color]



อ้างคำพูด:
....จนหมดเวลาไม่ได้ภาวนาเลย เป็นอย่างนี้ตลอดค่ะ ทั้งรอบเช้าและเย็น


นี่เข้าใจผิด ก็ที่เรากำหนดตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึกนั่นแหละเราได้ภาวนาแล้ว แต่เมื่อเรากำหนดน้ำตาไหลหนอๆๆๆแล้ว ก็ดึงสติไปกำหนดอาการพอง-ยุบต่อ

ต่อเมื่อจิตแว้บคิดถึงน้ำตาอีก ก็กำหนดอีก (สภาวะอื่นก็ทำนองเดียวกันนี้) น้ำตาไหลหนอๆๆ (นี่ภาวนา) จำเป็นหลักไว้ว่า ขณะนั้นๆ รู้สึกยังไง เป็นยังไง ทั้งทางกาย ทางความคิด กำหนดดูรู้ทันตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็น ทุกๆขณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย มั่วและฟุ้งซ่านไปใหญ่แล้วด้วยความไม่รู้จริงในประวัติการภาวนา แบบ หนอ

แล้วที่ว่าเอามาจากพระพุทธเจ้านั้น ช่วยค้นมาให้อ่านดูหน่อย
ว่า การภาวนาพองหนอ ยุบหนอ นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในสูตรไหน ธรรมขันธ์ใดครับ



ท่านอโศกขอรับ สองตัวอย่าง (ความจริงก็ให้ดูตัวอย่างจนนับไม่ถ้วนแล้ว) กับ วิธีปฏิบัติคือตามดูรู้ทัน (กำหนดรู้) อารมณ์นั่นแหละ คือ การกำหนดรู้รูปนาม,ร่างกายกับจิตใจ ซึ่งตรงต่อสภาวะของมัน ซึ่งไม่ใช่นั่งมโนวาดภาพไป เข้าใจไหมขอรับโผม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร