วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 23:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2017, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
พระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยเห็น ไยเชื่อว่าจริง

รูปนาม เบื้องหน้า จริงหรือไม่จริง

นิพพานล่ะอยู่ไหน ใครเคยไปจริง ..... :b23:

พระพุทธเจ้า ไม่เคยเห็น ไยเชื่อว่าจริง....
เชื่อว่าจริง เพราะมีเมล็ดพันธ์ุแห่งโพธิให้คอยเก็บเกี่ยวอยู่

อุปมาว่า บรรพบุรุษของคุณขณะจิต คุณขณะจิตก็คงไม่เคยเห็น แต่ก็มีเมล็ดพันธ์เป็นคุณขณะจิตทุกวันนี้
คุณขณะจิต ย่อมเชื่อว่ามีเชื้อสายเผ่าพันธ์ุเหล่ากอสืบมาจากผู้นั้นผู้นี้

รูปนามเบื้องหน้า จริงโดย สภาวะ จริงโดยความจริงตามสัจจะลักษณะ
รูปนามเบื้องหน้า ไม่จริงโดยความยึดถือเอาตามทิฏฐิ ตามมานะของตน

นิพพาน ไม่ใช่สถานที่
นิพพานเป็นความดับแห่ง โลภะ โทสะ โมหะ
ผู้สัมผัสนิพพานครั้งแรก คือผู้ที่ละ สักกายทิฏฐิ ละวิจิกิจฉาได้ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2017, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Amanta เขียน:
Re: สิ่งที่เห็นอยู่ เป็นอยู่นี้ ไมมีจริง

Re: สิ่งที่เห็นอยู่ ก็เห็นอยู่ว่ามีอยู่
Re: เป็นอยู่นี้ ก็เป็นอยู่นี่
Re: ไม่มีจริง. เป็นอุบายเพื่อความหน่าย

ถ้าปักใจยึดมั่นว่า ไม่มีจริง ย่อมเห็นผิด เฉดเช่น พ่อแม่ พระฯท่านสอนย่อมว่า มี
ผู้โง่เขลาเฝ้าคร่ำครวญ ปล่อยอัตตายึดมั่นในอนัตตา
ธรรมทั้งปวง พุทธองค์ทรงตรัสสอน เพื่อเห็น 2 สิ่งลวง ล้วนยอดทรามอย่าได้มั่น
แม้บุคคลในโลกว่า สิ่งนี้มีตถาคตก็ทรงตรัสว่า มี
แม้บุคคลในโลกว่า สิ่งนี้ไม่มีตถาคตก็ทรงตรัสว่า ไม่มี
เพราะทั้ง มีและไม่มี อยู่คู่โลก


มันเป็นคำพูด..จากอารมณ์..นะครับ...

หากคุณอมันตาหยิบมาพูดในโลกสมมุติ....มันก็จะวุ่น..งี้แหละคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2017, 22:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
พระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยเห็น ไยเชื่อว่าจริง


ก็เห็นแล้ว....ใยต้องอาศัยความเชื่อ..ละท่าน
:b12:

อ้างคำพูด:
รูปนาม เบื้องหน้า จริงหรือไม่จริง

จริงซิ..ก็ผัสสะได้นี้..จะไม่จริงได้อย่างไร..

แต่...มันไม่ได้เป็นอย่างที่ผัสสะแบบนั้น..ตลอดไป...

อ้างคำพูด:
นิพพานล่ะอยู่ไหน ใครเคยไปจริง ..... :b23:


จะไปน่าย...

จะต้องไปน่าย...หรือ..
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2017, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 17:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2017, 20:21
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Amanta เขียน:
Re: สิ่งที่เห็นอยู่ เป็นอยู่นี้ ไมมีจริง

Re: สิ่งที่เห็นอยู่ ก็เห็นอยู่ว่ามีอยู่
Re: เป็นอยู่นี้ ก็เป็นอยู่นี่
Re: ไม่มีจริง. เป็นอุบายเพื่อความหน่าย

ถ้าปักใจยึดมั่นว่า ไม่มีจริง ย่อมเห็นผิด เฉดเช่น พ่อแม่ พระฯท่านสอนย่อมว่า มี
ผู้โง่เขลาเฝ้าคร่ำครวญ ปล่อยอัตตายึดมั่นในอนัตตา
ธรรมทั้งปวง พุทธองค์ทรงตรัสสอน เพื่อเห็น 2 สิ่งลวง ล้วนยอดทรามอย่าได้มั่น
แม้บุคคลในโลกว่า สิ่งนี้มีตถาคตก็ทรงตรัสว่า มี
แม้บุคคลในโลกว่า สิ่งนี้ไม่มีตถาคตก็ทรงตรัสว่า ไม่มี
เพราะทั้ง มีและไม่มี อยู่คู่โลก


มันเป็นคำพูด..จากอารมณ์..นะครับ...

หากคุณอมันตาหยิบมาพูดในโลกสมมุติ....มันก็จะวุ่น..งี้แหละคับ

ให้ไว้สำหรับคนมีอารมณ์ อนัตตา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๕. กัจจานโคตตสูตร
[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า
สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า
สัมมาทิฐิ ฯ
[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัย
ส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑- ๑ ความไม่มี ๒- ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น
ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่
เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย
อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ
จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ
[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุด
ข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้
ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดและการดับเหตุปัจจัยของการเกิด


อริยสัจ ๔ กับ ปฏิจจสมุปบาท


๕. กัจจานโคตตสูตร

[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ


[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง
คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑

ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส
แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น
อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้

ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ

พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ


[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี

ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๕









กรรม
การให้ผลของกรรม
กรรมเก่า
กรรมใหม่
โลกธรรม ๘
และความดับแห่งกรรม



อริยสัจ ๔ กับ ผัสสะ



๔. โลกนิโรธสูตร

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก
เธอทั้งหลายจงฟัง ...


ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน
เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก



เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯลฯ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ



[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน
เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก


เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลืออุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 13 ส.ค. 2017, 19:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะและวิปัสสนา


ปฏิทา ๔
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑


๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
(สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง)

๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง)

๓. เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป




๔.
การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ
เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้

ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง

เป็นผู้ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง
เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจ ไม่น่าพอใจ อาจปลงชีวิตเสียได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน ฯ





ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ





ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ... ฟังเสียงด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ...
ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ ฯ






ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้วให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก... วิหิงสาวิตก ...
ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป
กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 19:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Amanta เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
Amanta เขียน:
Re: สิ่งที่เห็นอยู่ เป็นอยู่นี้ ไมมีจริง

Re: สิ่งที่เห็นอยู่ ก็เห็นอยู่ว่ามีอยู่
Re: เป็นอยู่นี้ ก็เป็นอยู่นี่
Re: ไม่มีจริง. เป็นอุบายเพื่อความหน่าย

ถ้าปักใจยึดมั่นว่า ไม่มีจริง ย่อมเห็นผิด เฉดเช่น พ่อแม่ พระฯท่านสอนย่อมว่า มี
ผู้โง่เขลาเฝ้าคร่ำครวญ ปล่อยอัตตายึดมั่นในอนัตตา
ธรรมทั้งปวง พุทธองค์ทรงตรัสสอน เพื่อเห็น 2 สิ่งลวง ล้วนยอดทรามอย่าได้มั่น
แม้บุคคลในโลกว่า สิ่งนี้มีตถาคตก็ทรงตรัสว่า มี
แม้บุคคลในโลกว่า สิ่งนี้ไม่มีตถาคตก็ทรงตรัสว่า ไม่มี
เพราะทั้ง มีและไม่มี อยู่คู่โลก


มันเป็นคำพูด..จากอารมณ์..นะครับ...

หากคุณอมันตาหยิบมาพูดในโลกสมมุติ....มันก็จะวุ่น..งี้แหละคับ

ให้ไว้สำหรับคนมีอารมณ์ อนัตตา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๕. กัจจานโคตตสูตร
[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า
สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า
สัมมาทิฐิ ฯ
[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัย
ส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑- ๑ ความไม่มี ๒- ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น
ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่
เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย
อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ
จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ
[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุด
ข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้
ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร
ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕


เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองยกมามั้ยละคับ?

ไหนลองบอกหน่อยนะครับว่า..คนที่เห็นดังว่านี้..
อ้างคำพูด:
เมื่อบุคคลเห็น
ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี


มีอารมณ์ยังงัย?

:b32: :b32: :b32:

แล้วคนที่อยู่ในญาณ..ที่ชื่อว่า..อุทยัพพยญาณ..หรือ..ภังคาญาณ.นี้..เขามีอารมณ์ยังงัยหรือ?

:b16: ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2017, 20:21
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ยังไง อยากรู้ไปทำเองนะจะได้เข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 22:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Amanta เขียน:
อารมณ์ยังไง อยากรู้ไปทำเองนะจะได้เข้าใจ


ก็เห็นว่ายกพระสูตรมา...

ดูดูไปแล้วเหมือนคนยกมาจะไม่เข้าใจ..กระผมเลยถามเพื่อให้คนยกมามีสติ...มาพิจารณาพระสูตรที่ตัวเองยกมานั้นนะ..

หาใช่ถามเพราะกระผมอยากจะรู้ไม่ ..

เอ๋..เหมือนใครหว่า...ที่มักไม่ค่อยเข้าใจประเด็นของการสนทนา..

อิอิ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2017, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ



walaiporn เขียน:


๕. กัจจานโคตตสูตร

[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ


[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง
คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑

ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส
แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น
อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้

ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ

พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ






ขยายใจความ
"ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี" และ "ความมีในโลก ย่อมไม่มี"


พรหมชาลสูตร


[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๕ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ
บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
บัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.





[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตมีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ
ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานที่จะมีได้.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ

พวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ...
พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
ถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา
เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖
กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น

เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด





กล่าวโดยย่อ




walaiporn เขียน:


กรรม
การให้ผลของกรรม
กรรมเก่า
กรรมใหม่
โลกธรรม ๘
และความดับแห่งกรรม



อริยสัจ ๔ กับ ผัสสะ



๔. โลกนิโรธสูตร

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก
เธอทั้งหลายจงฟัง ...


ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน
เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก



เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯลฯ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ



[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน
เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก


เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลืออุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 14 ส.ค. 2017, 09:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 00:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
น่าอัศจรรย์ใจ ในข้อที่ว่าสิ่งที่เราเห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ชิมรส สัมผัส นึกคิดอยู่นี้ไม่มีความเป็นอยู่ที่แท้จริง เป็นสภาวะแห่งความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ความทุกข์ที่ประสบ ความสุขที่พานพบก็เช่นเดียวกัน พระพุทธองค์ยืนยันคำนี้มานานแสนนาน แต่มวลมนุษย์รวมถึงตัวเรากลับยึดติดดิ้นรน สมแล้วกับการถูกทุกข์กัดกิน ถมทับมานานแสนนานเช่นกัน...ขณะจิตเอ๋ย ทุกข์เพราะโง่ โง่จึงทุกข์สาสม :b23: :b23: :b2: :b34:


เป็นอารมณ์ของความสำนึกผิดในทางธรรมะ
ทั้งๆที่ได้ยินได้ฟัง อำนาจของความต่อเนื่องเป็นกลุ่มก้อน มันบดบังอยู่อย่างนั้นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ผัสสะ



walaiporn เขียน:


๕. กัจจานโคตตสูตร

[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ


[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง
คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑

ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี

เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส
แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น
อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้

ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ

พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ






ขยายใจความ
"ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี" และ "ความมีในโลก ย่อมไม่มี"


พรหมชาลสูตร


[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๕ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ
บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
บัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.





[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตมีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ
ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานที่จะมีได้.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด
กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่าเที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ

พวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ...
พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
ถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา
เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖
กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น

เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด





กล่าวโดยย่อ




walaiporn เขียน:


กรรม
การให้ผลของกรรม
กรรมเก่า
กรรมใหม่
โลกธรรม ๘
และความดับแห่งกรรม



อริยสัจ ๔ กับ ผัสสะ



๔. โลกนิโรธสูตร

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก
เธอทั้งหลายจงฟัง ...


ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน
เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก



เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯลฯ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ



[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน
เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก


เพราะอาศัยหูและเสียง ...
เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
เพราะอาศัยลิ้นและรส ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ
ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลืออุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ







ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของ "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ซึ่งมีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิตและขณะจิตเป็นสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2017, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.........คำตอบคือทรรศนะ คือทิฏฐิของผู้ตอบ

ที่ว่าไม่มีอยู่ หมายความว่า ความเคยยึดมั่นว่ามีมันหายไป เพราะได้เห็น

ที่ว่าไม่จริง คือในความเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลง ขณะใดเรียกว่าจริง

Kiss Kiss Kiss

ถามว่าพระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยเห็น ไยเชื่อว่าจริง...
.... เชื่อเพราะอะไร เพราะเขาสอน เพราะคิดว่าใช่ หรือพิสูจน์แล้วว่าดับทุกข์ได้จริง

รูปนาม เบื้องหน้า จริงหรือไม่จริง.....
....รูปนามที่เห็นอยู่ สัมผัสอยู่นี้ จริงแท้อย่างไร เปลี่ยนแปรอย่างไร เป็นตัวตนของใคร

นิพพานล่ะอยู่ไหน ใครเคยไปจริง.....
.....เมื่อไม่เคยไป ศรัทธามั่นแค่ไหน คิดว่านิพพานเป็นอย่างไร เมืองแก้วเมืองสวรรค์หรือรรมสภาวะ นิพพานในความคิด หรือนิพพานที่แท้จริง

:b12: :b12: :b12:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2017, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:

ถามว่าพระพุทธเจ้า ก็ไม่เคยเห็น ไยเชื่อว่าจริง...
.... เชื่อเพราะอะไร เพราะเขาสอน เพราะคิดว่าใช่ หรือพิสูจน์แล้วว่าดับทุกข์ได้จริง

..... เชื่อเพราะ มีธรรมบท ซึ่งพระพุทธองค์ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งโพธิที่บ่มเพาะให้เจริญขึ้นได้แก่ สรรพสัตว์ผู้สะดุ้งต่อความทุกข์
ขณะจิต เขียน:

รูปนาม เบื้องหน้า จริงหรือไม่จริง.....
....รูปนามที่เห็นอยู่ สัมผัสอยู่นี้ จริงแท้อย่างไร เปลี่ยนแปรอย่างไร เป็นตัวตนของใคร

รูป นาม ที่เห็นอยู่ที่สัมผัส อยู่นี้ จริงแท้ โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนิจจัง
ไม่จริงแท้ โดยความเป็นตัวตน

ขณะจิต เขียน:
นิพพานล่ะอยู่ไหน ใครเคยไปจริง.....
.....เมื่อไม่เคยไป ศรัทธามั่นแค่ไหน คิดว่านิพพานเป็นอย่างไร เมืองแก้วเมืองสวรรค์หรือรรมสภาวะ นิพพานในความคิด หรือนิพพานที่แท้จริง

เพราะ อาศัย ศรัทธาปสาทะ จึงสัมผัสนิพพาน ด้วยความสิ้นไปของ วิจิกิจฉา
เพราะ อาศัย พระธรรมคำสอน จึงสัมผัสนิพพาน ด้วยความสิ้นไป แห่งสักกายทิฏฐิ
ดังนั้นการสัมผัสนิพพานครั้งแรกได้ จึงไม่ใช่ความคิด เพราะสัมผัสนิพพานอันแท้จริง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร