วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-5401.jpg
Image-5401.jpg [ 86.74 KiB | เปิดดู 4144 ครั้ง ]
เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

สมถะ เจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
หรือนิวรณ์ ๕ อันเป็นธรรมที่ปิดกั้นความดีมี ฌาน มรรค ผล

วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

เจโตวิมุตติ - ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลส
ด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ (แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้อง
เกิดปัญญาวิมุตติ จึงจักทำให้เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับ
กลายได้อีกต่อ) เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต
(สันตเจโตวิมุตติ)

ปัญญาวิมุตติ - ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วย
การกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล และทำให้เจโตวิมุตติ
เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าสมถะ คือความสงบ ของสมาธิ (อธ.เอกัคตาเจตสิก)
คือความสงบ ที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน(อธ.สติเจตสิก) เป็นเพียงขั้นอบรมจิต
ให้สงบจาก โลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็มีกำลังมั่นคงขึ้น
คือมีความสงบเพิ่ม มีกำลังขึ้น เป็นสมถภาวนา

ส่วนสติปัฏฐาน นั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความสงบเลย เพราะเหตุว่า
ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
นอกจากปัญญาจะเจริญ ขึ้นแล้ว ในขณะนั้น ก็มีความสงบ ด้วย
เพราะเหตุว่าขณะนั้น เป็นกุศล ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ

เพราะฉะนั้น ความสงบ สมถะ นี่จึงมี ๒ อย่าง คือ ความสงบของ
สมถภาวนา การอบรมเจริญความสงบที่เป็นกุศลในขณะนั้น
ระงับ อกุศล ทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้น

และสมถะที่เกิดกับการเจริญสติปัฏฐาน เพราะในมรรคมีองค์ ๘ นั้น
มี ทั้งสมถะ และวิปัสสนา สำหรับ วิปัสสนาในมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปป ๒ องค์ ส่วนองค์ที่เหลืออีก ๖ นั้น
เป็น สมถะ ทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3074.jpg
Image-3074.jpg [ 30.14 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]
ขอมีส่วนขยายคำว่านิวรณ์ ๕ บ้าง นิวรณ์ ๖ บ้าง เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นิวรณ์ คือ อกุศลที่เป็นเครื่องกั้นความดี นิวรณ์ ๖ คือ เครื่องกั้นฌาน และวิปัสสนา
โดยนิวรณ์ ๕ เป็นเครื่องกั้นของฌาน เพราะเป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์
(ตรงข้าม) กับองค์ฌาน ๕ ในปฐมฌาน ดังนี้

๑. กามฉันทะ ๒. พยาปาทะ ๓. ถีนมิทธะ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ๕. วิจิกิจฉา

นิวรณ์ที่ ๖ คือ อวิชชานิวรณ์ ได้แก่ โมหเจตสิก
อวิชชานิวรณ์นี้ เป็นอกุศลที่กั้นการเจริญวิปัสสนา คือ
การเจริญปัญญาเพื่อรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง
คือการเข้าไปเห็นพระไตรลักษณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุต หมายถึงการหลุดด้วยใจ คือการทำสมถะจนถึงปฐมฌาน
เป็นการกำจัดนิวรณ์ ทั้ง ๕ ให้หลุดพ้น แต่การหลุดพ้นด้วยสมถะนั้น
เป็นการหลุดพ้นเพียงแค่อยู่ในฌานเท่านั้น มิได้ประหารโดยสิ้นเชิง

เมื่อฌานเสื่อมหรือถอยออกจากฌานเมื่อใด นิวรณก็เข้ามาเกิดกับจิตได้อีก
เพราะยังมีตัวนืวรณ์ตัวที่ ๖ คือตัวอวิชชานิวรณ์ที่เป็นรากเง้าที่เป็นปัจจัย
ให้นิวรณ์ทั้ง ๕ เกิดขึ้นได้อีก เจโตวิมุตจึงเป็นพ้นได้แค่ชั่วคราวไม่ถาวร
เหมือนปัญญาวิมุตที่ประหารกิเลสอวิชชานิวรณ์โดยสิ้นเชิง
จะให้เป็นวิมุตติบริสุทธิอิสระโดยสิ้นเชิง มีทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2018, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออธิบายความหลุดพ้น นั้นมี ๒ อย่าง
๒. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต,
ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ)
๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา,
ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง)

ขอยกพระสูตรมาแสดงดังนี้
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ

ถึงตรงนี้อธิบายได้ว่า
เจโตวิมุติ เป็น โลกียวิมุตติ
ปัญญาวิมุติ เป็น โลกุตตรวิมุตติ
"เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ" ประโยคนี้อธิบายได้ว่า
สำรอกราคะในที่นี้เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ราคะจะกลับมาอีก
"เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ" ประโยคนี้อธิบายได้ว่า
อวิชชาตัวนี้เป็นสังโยชน์ตัวสุดท้าย การสำรอกครั้งนี้ อวิชชาจะหลุดออกไปอย่างถาวร
ไม่กลับมาอีก หมายถึง บรรลุอรหันตผลนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2018, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิมุตติ

วิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแล้วโดยความเป็นอิสระซึ่งเป็นภาวะจิต
ภาวะความหลุดพ้นเป็นอิสระนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญญา
คือ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง

รู้เท่าทันสังขารแล้ว จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส
(ความโลภ ความโกรธ ความหลง) ลักษณะด้านหนึ่งของความเป็นอิสระ
ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือ การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้า
ยวนหรือยั่วยุ อย่างที่ท่านเรียกว่าอารมณ์เป็นที่ตั้งของราคะ หรือ โลภะ โทสะและโมหะ

เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้ไม่หวั่นไหวกับสิ่งเหล่านี้
ยังเป็นหลักประกันให้ประกอบการงานอย่างสุจริตด้วย สามารถเป็น
นายเหนืออารมณ์ วิมุตติ วิมุตติมี ๕ ประการคือ

๑. ตทังควิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นชั่วคราว หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว
เช่น เกิดความเจ็บปวด หายจากความโลภ เกิดเมตตา หายโกรธ เป็นต้น
แต่ความโลภ ความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว อาจจะกลับมาอีก เป็นต้น

๒. วิกขัมภนวิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นด้วยการข่มไว้ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ด้วย
กำลังฌาน คือ ข่มไว้ได้ด้วยกำลังฌาน เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสเกิดขึ้น
ได้อีก เช่น เมื่อนั่งสมาธิสามารถสะกดข่มกิเลสไว้ เมื่อออกจากสมาธิ
กิเลสก็กลับมาอีกครั้ง เป็นต้น

๓. สมุจเฉทวิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นเด็ดขาด หมายถึง ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค (มรรคมีองค์ ๘)
ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป

๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นด้วยความสงบ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส
เนื่องมาจากอริยมรรคอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอีก

๕. นิสสรณวิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้น
ได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2018, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปหาน มี ๕ อย่าง

๑. ตทังคปหาน คือ เป็นการละชั่วคราว ได้แก่ละด้วย ศีล
๒. วิกขัมภนปหาน คือ เป็นละที่ข่มไว้ ได้แก่ การละด้วยอำนาจของ สมาธิ (ฌาน)
๓. สมุจเฉทปหาน คือ เป็นการที่เด็ดขาด ได้แก่ มรรค (ตามกำลังแห่งมรรค)
๔. ปฏิปัสสัมภนปหาน คือ เป็นการด้วยความสงบจากกิเลสนิวรณ์ ได้แก่ ผลของมรรค
๕. นิสสรณปหาน คือ เป็นการละออกไป ได้แก่ พระนิพพาน (สังขารุเปกขาญาณ)

ในความหมายบางที่ก็จะแตกต่างกันโดยพยัญชนะ ส่วนความหมายเหมือนกัน ต้องโปรดเทียบเคียงเอา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยะบุคคลทั้งหลาย นับตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์
เป็นผู้ที่เจริญฌานก่อน หรือได้ฌานมาก่อน แล้วเอาฌานมาเป็นบาทฐาน ในการเจริญวิปัสสนา ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยงของฌาน ชื่อว่าเจโตวิมุตติ

แต่พระอริยะบุคคลที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยตรงจะไม่เกี่ยวกับฌาน เมื่อสำเร็จ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ

เจโตวิมุตติจึงเป็นฌานที่เป็นโลกียะ ตั้งแต่ ปฐมฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน
แต่ที่เรียกว่าพระอริยะผู้สำเร็จเจโตวิมุตตินั่นก็เพิ่อให้ทราบว่าท่านสำเร็จมาโดยเอาฌานมาเป็นบาทฐาน

ผู้ที่ได้ฌานตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงเนวสัญญา ที่ยังเป็นปุถุชนนั้นจะเรียกว่าเจโตวิมุตติ
ก็ได้เพราะท่านก็พ้นแล้วจากกิเลสที่กามราคะ แต่พ้นในลักษณะเหมือนหินทับหญ้า เมื่อฌานเสื่อมก็เกิดได้อีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2018, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า วิมุตติ นั่นแปลว่าหลุดพ้น ซึ่งจะเป็นคำไวพจน์กับคำว่า นิพพาน
เมื่อสังเกตุในบางคำที่ใช้นั้นมีความหมายต่างกันไป เช่น ปฐมฌาน ก็ใช้คำว่าวิมุตติเหมือนกัน
เช่นว่าหลุดพ้นจากกามราคะ แต่ทว่าเป็นการหลุดพ้นได้แค่ชั่วคราว
หลุดพ้นจากจากกามภูมิ ๑๑ ได้ชั่วคราวหมายถึงขณะบุคคลนั้นฌานยังไม่เสื่อมไป

เมื่อบุคคลได้ฌานสูงขึ้นไปก็หลุดพ้นจากฌานขั้น หรือบุคคลผู้ได้ฌานในอรูปภูมิ
ก็หลุดพ้นจากรูปภูมิเป็นต้น แต่ทั้งนี้ฌานนั้นเป็นการหลุดพ้นทางใจจึงชื่อว่า เจโตวิมุตติ
แต่การหลุดพ้น ของฌาน ชื่อว่าเจโตวิมุตติ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหลุดไปจากสังสารวัฏฏ์ได้เลย
จึงชื่อว่า เจโตวิมุตติเป็นโลกียะ ซึ่งเป็นอำนาจของสมถะเพียงอย่างเดียว

สำหรับผู้ปฏิบัติจนฌานแล้วเอาฌานมาพิจารณาให้เห็นเป็นไตรลักษณ์
เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ก็ได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติ ก็ได้ชื่อวาาหลุดพ้น
จากอบายภูมิ ๔ ได้อย่างสิ้นเชิงไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป
แต่ก็ยังไม่หลุดไปจากสังสารวัฏฏ์ ส่วนผู้ที่ได้ฌานแล้วเอาฌานที่ตนได้ไปเจริญวิปัสสนาจนบรรลุ
เป็นพระอรหันต์ ชื่อว่าพระอรหันต์เจโตวิมุตติ หลุดพ้นด้วยฌานเป็นบาทฐาน

ส่วนพระอรหันต์ที่เจริญวิปัสสนาโดยตรงโดยเอกายมรรค มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์
พระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ปัญญาวิมุตติ ฉะนั้นการหลุดพ้นของพระอรหันต์จึงแตกต่างกันตรงนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2018, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเอาเรื่องพระโคธิกะมาต่อกระทู้


๓. โคธิกสูตร
ว่าด้วยพระโคธิกะ
[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระโคธิกะอยู่ที่วิหารกาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ
[๔๘๙] ครั้งนั้น ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว A ภายหลังท่านพระโคธิกะเสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ครั้งที่ ๒ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ในครั้งที่ ๓ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๔ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว
แม้ในครั้งที่ ๔ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๕ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว
แม้ในครั้งที่ ๕ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๖ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ในครั้งที่ ๖ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๗ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ก็ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้นอีก
ครั้งนั้น ท่านพระโคธิกะได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราว
๖ ครั้งแล้ว ทางที่ดีเราพึงนำศัสตรามา B ”
[๔๙๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปทราบความคิดคำนึงของท่านพระโคธิกะด้วยใจแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีปัญญามาก
ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ
ผู้ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ผู้มีพระจักษุ
ข้าพระองค์ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง
สาวกของพระองค์ถูกมรณะครอบงำแล้ว
มุ่งหวังความตายอยู่
ขอพระองค์จงทรงห้ามสาวกของพระองค์นั้นเถิด
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ปรากฏในหมู่ชน
สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา
มีใจยังไม่ได้บรรลุ C ยังเป็นพระเสขะอยู่
จะพึงมรณะได้อย่างไร
ขณะนั้น ท่านพระโคธิกะได้นำศัสตรามา
[๔๙๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า
“นี้คือมารผู้มีบาป” จึงได้ตรัสกับมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายทำอย่างนี้แล
ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต
พระโคธิกะถอนตัณหาพร้อมทั้งราก
ปรินิพพานแล้ว
[๔๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักไปยังวิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่โคธิกกุลบุตร
นำศัสตรามา” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังวิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อม
ด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระโคธิกะนอนคอบิดอยู่บนเตียง
แต่ไกลเทียว ก็สมัยนั้น กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง
[๔๙๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเห็นกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียงหรือไม่” เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณ D
ของโคธิกกุลบุตรด้วยคิดว่า ‘วิญญาณของโคธิกกุลบุตรสถิตอยู่ ณ ที่ไหน’ ภิกษุ
ทั้งหลาย โคธิกกุลบุตรไม่มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว”
[๔๙๔] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปถือพิณสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ค้นหาทั้งทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวาง
คือทั้งทิศใหญ่และทิศเฉียง ก็ไม่พบ
ท่านพระโคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหนเล่า
[๔๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยปัญญา
มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌานทุกเมื่อ
พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่เสียดายชีวิต
ชนะกองทัพมัจจุแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่
นักปราชญ์นั้น คือโคธิกกุลบุตร
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว
พิณได้พลัดตกจากรักแร้
ของมารผู้มีความเศร้าโศก
ในลำดับนั้น มารผู้เป็นยักษ์นั้นเสียใจ
จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
โคธิกสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A เจโตวิมุตติชั่วคราว หมายถึงโลกิยสมาบัติ (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๙/๑๗๔)
B นำศัสตรามา หมายถึงนำศัสตรามาฆ่าตัวตาย คือตัดก้านคอ (สํ.ข.อ. ๒/๘๗/๓๔๓,สํ.สฬา.อ. ๓/๘๗/๒๒)
C มีใจยังไม่ได้บรรลุ ในที่นี้หมายถึงยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๙/๑๗๕)
D วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิจิต (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๙/๑๗๖)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุตติ ย่อมเข้าถึงเสื่อมได้ จึงเป็นโลกียะ
กระทู้ข้างบนก๊อปมาจากพระไตรปิฏก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2018, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2021, 09:35 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร