ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เมยอยากบอก.. http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56589 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 30 ก.ย. 2018, 13:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | เมยอยากบอก.. |
กระทู้เดิมมันหาย..เริ่มไหม่คะ..เมยอยากพูดอะไร เมยจะมาพูดในนี้ เพราะปกติไม่ค่อยอ่านกระทู้อื่นๆอยู่แล้ว..ที่ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับตนเอง.. ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 30 ก.ย. 2018, 13:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
อายุเราก็เท่านี้....กี่ปีผ่านมาแล้ว สอนตัวเองไปได้เท่าไหร่... . . . ถ้าอายุเราผ่านมาเท่านี้ สอนตัวเองให้ดียังไม่ได้ในเส้นทางอริยมรรค ก็อย่าเพิ่งไปสอนใคร..เจียมตัวเอง เจียมตัวตนไว้ . . . พึ่งบอกตัวเองว่า สอนตนให้รอดได้ก่อน รอดแล้วเราค่อยเผื่อแผ่ออกไป . . . เหมือนดั่งพระสัมมาฯ ![]() ![]() แล้วจึงออกเผยแผ่พระศาสนา เพื่อพาคนออกจากวัฏฏะ.. ![]() หรือ อยากแบ่งปัน.. ก็แบ่งปันในฐานะ เพื่อนร่วมทาง ที่กำลังเดินอยู่ ไม่ชี้ใครๆ ชี้ตัวเอง และหาข้อพร่องของตัวเองเป็นหลัก . . . บอกตนไว้...เรายังสอนตนเองให้ได้ดียังไม่ได้...อย่าเพิ่งไปสอนคนอื่น ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 01 ต.ค. 2018, 13:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
เมื่อเราแผ่เมตตาออกไป..แผ่ไปให้ทุกรูปทุกนามแล้ว อย่าลืม..แผ่ให้ธาตุขันธ์ตัวเอง ด้วยนะ ![]() การแผ่เมตตา เราแผ่เมตตาให้ธาตุให้ขันธ์ของตัวเราเอง ไม่ใช่ แผ่ให้ตัวเราเอง..มันคนละเรื่อง คนละเหตุปัจจัย แผ่เมตตาให้ธาตุให้ขันธ์เราเอง ให้มันเย็น..ให้มันอยู่สบาย ตามครรลองของมัน ตามเหตุปัจจัยของมัน โดยเรา ไม่ได้เอาลมหายใจของเรา ไปแทรกแซงในธาตุขันธ์นั้น ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติตามครรลอง อันควร ตามที่มันจะเป็นไป ตามเหตุปัจจัยที่มี . . . มันถึงว่าได้ว่า...ทุกอย่าง เป็น...ธรรมชาติ... ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 03 ต.ค. 2018, 11:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
...ความสงบ... เมื่อเราสงบ หรือ ถึงความสงบแล้ว... ก็ให้อยู่กับความสงบนั้น เมื่ออยู่ถึงความสงบ เราสงบ มันจะมีคำถามว่า แล้วไงต่อ... ไม่แล้วไงต่อนะ.. อยู่กับความสงบไป จนจิตมันอิ่ม จนมันถอนของมันเอง . . . การอยู่ในความสงบ เมืื่ออยู่สักพัก สติเราจะบอกว่า แล้วทำอะไรต่อไป.. ให้รู้ตัว และบอกตัวเองไว้เลยว่า เราจะไม่ไปต่อ หรือ ทำอะไรต่อไป..เราจะอยู่กับความสงบนั้น..ไปเรื่อยๆ ...และเรื่อยๆไป... ..จน.. . . . จนมันถอนของมันเอง..ถึงตอนนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องฝืนอะไร ปล่อยให้มันถอยออกมา ตามครรลอง เพราะจิตอิ่มจากความสงบแล้ว . . . และเมื่อ..เมื่อเราสงบแล้ว และอยู่ในความสงบแล้ว และมันมีคำพูดในจิตว่า แล้วไงต่อ.. ถ้าสติบอกตนเองว่า ให้อยู่กับความสงบนั้นต่อไป..แต่จิตมันดิ้น อยากไปต่อ.. เราลองดัดมันนิดหน่อย ว่าเราคุมมันให้อยู่กับความสงบนั้นต่อได้ไหม ถ้าได้ ก็อยู่กับความสงบต่อไป...ถ้าไม่ ก็ไม่ต้องฝืน ถอยออกมา ตามที่จิตมันอยากดิ้น . . . เพราะเมื่อเราอยู่กับความสงบของจิตไม่ได้ เราก็สามารถมาดูจิตตามความเป็นจริงได้ จะดูว่า อ่อ มันดิ้นไปแบบไหน ยังไง เราก็สามารถหยิบ หมวดกายเวทนาจิตธรรม มาดูต่อ ไปต่อไปได้.. . . . การที่จิตอยู่ในความสงบ สมถะ หรือ ในฌาน มันเป็นการเพาะกำลังจิต เพื่อให้จิตมีกำลัง ในการออกมาดู กายเวทนาจิตธรรมนี่แหละ..ดูตามความเป็นจริงของจิต..ว่า.. จิตเราตอนนี้ ปัจจุบันขณะเป็นอย่างไร..โกรธก็รุ้ตัวอยู่ว่าขณะนี้เราโกรธอยู่ ใจหมองอยู่ก็รู้ตัวว่า ตอนนี้ใจเราหมองอยู่ การรู้ตัว รู้ตัวตนของเราว่า ตอนนี้เราใจหมองอยู่นะ..นี่เป็นการสำเหนียง เป็นการฝึกสัมปชัญญะ การกำหนดรู้ตัว ว่าตอนนี้ เรารู้อะไรในจิตในกาย ตรงนี้เป็นสติ..ฝึกสติเพื่อไปถึงสัมปชัญญะ . . . ดังนั้น เมื่อเราอยู่กับสงบไม่ได้ เราก็ออกมาดูจิตตามความเป็นจริงของจิตที่มันเป็น เพื่อให้จิตเรายอมรับตัวเองว่า จิตเรามีกิเลสตัวนี้ตอนนี้ จิตเรามีอารมณ์อย่างนี้ตอนนี้ การรู้ตามความเป็นจริงในขณะปัจจุบัน มันเป็นการเดินตามกรรมฐานของพระสัมมาฯ เพื่อสอนเข้าไปในจิตของตัวเอง..ให้จิตมันเกิดความรู้สึกตัว แล้วค่อยๆตื่นและฉลาดขึ้น . . ..ทุกอย่างมันต้องใช้เวลา.. . . สงบได้สงบ แต่เราจะไม่จมแช่หรือยึดกับความสงบนั้น เพราะการสงบของจิตนานๆ จะทำให้จิตมีกำลัง มีแรง ที่จะไปดู กายเวทนาจิตธรรม ได้นานและมีสายตาที่คม และมีกำลังที่จะจับธรรมตัวๆนั้นให้อยู่มือ เพื่อให้เห็นได้ชัดๆทุกแง่ทุกมุม เพื่อให้ปัญญาเกิด . . . จะเห็นได้ว่า ธรรมทุกธรรมเชื่อมถึงกันได้หมด..ฌานทำให้จิตมีกำลังไปดูสติปัฎฐานสี่ สติปัฎฐานสี่จะมีกำลังปัญญาญานคมกล้า ต้องใช้กำลังจิตที่มีกำลัง ซึ่งก็ได้จากฌานนี่แหละ . . . ธรรมทุกๆตัวที่เราฝึกเราทำ จึงไม่เสียเปล่า มันสามารถเอื้อนำมา่ใช้ได้หมด เพียงแค่เราไม่ยึดถือยึดมั่น..ใช้ทุกตัวเป็นเครื่องมือเท่านั้น... เพื่อให้ไปถึง ในคำว่า..อสังขารธรรม ![]() ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 03 ต.ค. 2018, 13:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
...อรูปฌาน... เมื่อเราเดินอรูปฌานไปเรื่อยๆ จนสุด..เมื่อสุดกำลังอรูปณานจะทะลุ..ทะลุไปเจอสมมุติ ![]() เมื่อเจอสมมุติ จะอยู่ในสภาวะเอ๋อ..เอ๋อเพราะสภาวะสมมุติ ให้ตั้งสติ ให้รู้ตัวให้มากในช่วงนี้..อย่าไหลไปกับสภาวะสมมุติ บอกตนเองให้รู้ระลึกเสมอว่า..ที่เราเจอสภาวะแบบนี้ เพราะเกิดจากสภาวะที่เห็นอรูปเต็มอัตรา . . . แจ้งในอรูปแล้ว ![]() . . . เมื่อชัดในอรูป จนไปชัดที่สมมุติ..มันจะวนอยู่อย่างนี้ไม่มีกำลังไปต่อได้ . . . ให้ถอนกำลังอรูปลง เพราะกำลังอรูปไม่มีกำลังผลักดันให้เราเดินไปต่อได้ เมื่อเริ่มวนในสมมุติและหาทางออกไม่ได้ ให้ถอนกำลังลงมารูป ในรูปฌาน ให้วนอยู่ในขันธ์ห้า ยึดรูปเป็นหลักใหญ่ เพื่อเพาะกำลัง และพิจารณาให้เกิดปัญญา ปัญญาที่เราพิจารณาในรูป ในขันธ์ห้านี่แหละ จะเป็นตัวส่ง กำลังของปัญญาญานของเรา ให้มีกำลังให้คมขึ้น ![]() . . . อย่าสนใจอรูปฌาน..ให้ยึดรูปฌาน ให้วนอยู่ในกายเป็นหลัก จะพิจารณาในหมวดสติปัฎฐานสี่ก็ได้ แต่ให้อยู่ในหมวดกาย เพราะหมวดกายมี 6 บรรพให้พิจารณา ที่บอกว่า อย่าสนใจอรูปฌาน เพราะเมืื่อจิตเราเผลอ มันจะไปอรูปฌานได้เอง แต่พอรู้สึกตัว ให้ถอนอรูปฌานนะ..ลงมาอยู่ที่รูปฌานเสมอ เพื่อฝึกจิตให้ชินกับรูปฌาน ชินกับการพิจารณาขันธ์ห้า เพราะในอรูปฌาน ไม่มีรูปขันธ์ให้พิจารณา..และไม่มีกายเวทนาจิตธรรมให้พิจารณา ให้เกาะรูปขันธ์เข้าไว้..เพื่อพิจารณา กาย เวทนาจิตธรรม ที่มีอยู่ในขันธ์ทั้งห้า . . . เมื่อเผลอมันจะไปอรูปฌาน พอรู้สึกตัว เราจะถอนลงมารูปฌาน พอเราทำจนจิตชิน พอนึก มันจะลดกำลังลงมาที่รูปฌานได้เอง เมื่อนึกบ่อยๆ จนจิตชิน ต่อไปมันจะเพิกรูปฌานได้ เป็นอัตโนมัติ ![]() เพืยงครั้งแรกๆที่เราต้องฝึกให้จิตเกิดความเคยชิน ให้ลงมาที่รูปฌานเสมอๆแค่นั้นเอง . . . กลับมาที่อรูปฌาน..เมือจิตเราเผลอ มันจะไปตามความเคยชินไปที่อรูปฌาน มันจะไต่ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่รูปฌานหนึ่งจนไปถึง อรูปฌานหนึ่ง จนไปถึง อรูปฌานสี่ จนทะลุอรูปฌานสี่ ไปเจอ สภาวะสมมุติ ถึงตอนนี้กำลังเราจะเพิ่มขึ้น ![]() สามารถพิจารณาธรรมในสภาวะสมมุติได้มากขึ้น เทียบรูปกับอรูปในจิต ได้มากขึ้น เห็นได้รอบขึ้น...กว้างขึ้น...เมื่อตันในสมมติอีก ให้เพิก หรือถอนกำลังลง ลงมาอยู่ที่รูปฌานหรือในขันธ์ห้าในกายอีก...ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนกำลังพอ.. . . . ่จนท้ายสุด เมื่อเราถึงสภาวะสมมติ เราสามารถพิจารณาธรรมในสมมุติได้ เห็นรูปและอรูปได้ชัด เทียบกันชัดเจน ปัญญาเราเกิด ในกาย เห็นชัดว่า อ่อ ขันธ์ห้าเราก็สมมุติ เขาและเราเหมือนกัน.. เหตุใดเราจึงโง่ มีการเปรียบเทียบเกิดขึ้น ว่าเขาดีกว่าเรา เขาเสมอเรา เขาโง่กว่าเรา.. . . . แท้จริงเราโง่เอง.. ![]() ทั้งๆที่ขันธ์ทั้งห้าทั้งเขาและเราเหมือนกันแท้ๆ แต่เราก็ยังมีการเปรียบเทียบอยู่นั่นแล้ว เทียบสิ่งสองสิ่ง เทียบเธอและฉันอยู่เสมอ... พิจารณา ให้รอบให้แจ้งอย่างนี้ ในที่สุดก็จะหลุดภาวะการเอ๋อ ของสภาวะของสมมุติได้ . . . กำลังที่ทำให้หลุดสภาวะสมมุติ หรือการเอ๋อได้ เกิดจากการพิจารณาในกาย กายในกาย ในขันธ์ทั้งห้า เท่านั้น...มันจึงมีกำลังผลักดันให้เราไปแจ้งในอรูปได้มากขึ้น ไม่ใช่ อรูปฌานมีกำลัง แล้วจะผลักดันให้หลุดสภาวะสมมุติได้ . . . อรูปฌานสุดแค่ อรูปสี่ แล้วก็นิ่ง นิ่งแล้วก็ถอนกำลัง.. มันไม่ต่างกับ เมื่อเราถึง รูปฌานสี่ และจมแช่อยู่ในสภาวะนั้นจนอิ่ม แล้วถอนกำลังลงมาหรอก จิตอิ่มแล้วมันก็ถอนของมันเอง อรูปฌานก็เช่นกัน...มันจึงเกิดอาการ..วน..เกิดขึ้น.. . . . วนแล้ววนเล่า ใน รูปฌานหนึ่ง ถึงอรูปฌานสี่..วนอยู่อย่างนี้ตลอดปีตลอดชาติ ไม่ต่างกับพระอาจารย์ทั้งสองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ![]() กำลังที่ผลักให้ออกจากสมมุติได้ มีทางเดียว คือ ลงมาพิจารณาขันธ์ทั้งห้า มาอยู่ในรูป...มันเป็นทางเดียวที่ถึงจะทำให้เราเดินต่อ ทะลุทางตัน ของเราให้เดินไปต่อได้ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 04 ต.ค. 2018, 14:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
ในพุทธศาสนาคำว่า สัมมาและมิจจา สามารถแยกได้จาก.. ทางสัมมาจะมุ่งเข้าตรงละสังโยชน์เพื่อเข้าถึงพระนิพพานเพียงอย่างเดียว ![]() ส่วนมิจฉา คือ ทุกทางที่ทำ แล้วไม่มุ่งตรงสู่ การละสังโยชน์ .. ![]() ใจความหลักๆของสัมมาและมิจฉา มีแค่นี้เอง . . . อรูปก็เช่นกัน..อรูปมีสองทางคือ ทางมิจฉา และทางสัมมา . . . ทางมิจฉาของอรูปคือ อรูปฌาน จริงๆ อรูปฌาน เป็นเพียงสภาวะๆหนึ่งเท่านั้นนเอง แต่เราไปยึดมั่นถือมั่น มันจึงกลายเป็นสังโยชน์ไป.. ถ้าเราใช้อรูปฌานเป็นเพียงเครื่องมือ.. อรูปฌานจะ เป็นสภาวะธรรมหนึ่งเท่านั้น เพื่อผ่านไปหาสภาวะธรรมตัวอื่นๆต่อไป.. ![]() ![]() . . . ส่วนทางสัมมาของอรูป คือ..อรูปที่อยู่ในขันธ์ห้าทั้งหมด คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาน จะเห็นได้ว่า ทุกตัวของอรูปจะอยู่ในกายของเราทั้งสิ้น และเราใช้ อรูปพวกนี้ พิจารณาตามหมวดกรรมฐาน เพืื่อให้จิตแจ้งในไตรลักษณ์และอริยสัจจ์สี่ . . . เมื่อเห็นแจ้งได้ในทั้งรูปและอรูป..ที่มีในขันธ์ทั้งห้าได้แล้ว... กิเลส ตัณหา อุปาทานมันจะละออก.. มันถึงจะเห็นแจ้งใน อสังขารธรรมได้ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | โลกสวย [ 04 ต.ค. 2018, 18:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
ขอบพระคุณค่ะ เมื่อไร อยากลงมือปฎิบัติ นะคะ มาบอกเมได้ |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 04 ต.ค. 2018, 18:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
โลกสวย เขียน: ขอบพระคุณค่ะ เมื่อไร อยากลงมือปฎิบัติ นะคะ มาบอกเมได้ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 05 ต.ค. 2018, 15:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
...ความเท่าทัน... เราควรให้ความสำคัญกับการเท่าทัน.. เท่าทันความคิดตัวเองในตอนนี้ ว่าคิดนึกอะไรอยู่.. เท่าทันการพูดการโพสของเรา ว่า ตอนนี้ มันเป็นยังไง.. คิดนึก พูดออกไป เบียดเบียนเขาไหม..พูดแล้วจะเกิดผลอะไรตามมา.. ขณะที่นึกคิดในการเบียดเบียนเขานั้น..กิเลสตัวไหนเกิดในจิตเราบ้าง.. มีตัวไหนบ้างทำงานอยู่ 1234..ว่ากันไป.. การเท่าทันความคิดตัวเอง ทำให้เราได้นึกคิดให้รอบก่อน ก่อนลงมือทำสิ่งใด.. ทำให้เราเห็นตัวเอง ว่า สิ่งที่เกิดในจิต ขณะที่เราคิดนึก มีอะไรบ้าง.. มันทำให้เกิดการทบทวนตัวเอง เกิดการยับยั้งช่างใจ และสามารถหาหนทางแก้ไขจิตตัวเองได้ทัน ก่อนที่เราจะลงมือสร้างกรรมลงไป.. ![]() ปัญญาจะค่อยๆเกิดขึ้นมา เมื่อเราเท่าทันความคิดของตัวเอง ![]() หรือ เมื่อเราลงมือกระทำกิจใดๆแล้ว การรู้เท่าทันกิจที่เราได้ลงมือกระทำลงไป จะทำให้เราเกิดความไม่ยึดถือมั่นในกิจนั้นๆ ด้วยปัญญาที่เกิดขึ้นทุกขณะๆที่เราลงมือทำกิจ . . . การเท่าทันความคิดตัวเอง หรือเท่าทันการกระทำของตัวเองที่ขณะทำอยู่นั้น มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้ ![]() เมื่อฝึกจนมีสติมีกำลัง ผลจึงเกิดขึ้น ความเท่าทัันเกิดขึ้น . . . เราจึงสามารถนำมันมาใช้ได้ ![]() |
เจ้าของ: | โลกสวย [ 05 ต.ค. 2018, 19:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
สายน้ำเมย เขียน: ...ความเท่าทัน... เราควรให้ความสำคัญกับการเท่าทัน.. เท่าทันความคิดตัวเองในตอนนี้ ว่าคิดนึกอะไรอยู่.. เท่าทันการพูดการโพสของเรา ว่า ตอนนี้ มันเป็นยังไง.. คิดนึก พูดออกไป เบียดเบียนเขาไหม..พูดแล้วจะเกิดผลอะไรตามมา.. ขณะที่นึกคิดในการเบียดเบียนเขานั้น..กิเลสตัวไหนเกิดในจิตเราบ้าง.. มีตัวไหนบ้างทำงานอยู่ 1234..ว่ากันไป.. การเท่าทันความคิดตัวเอง ทำให้เราได้นึกคิดให้รอบก่อน ก่อนลงมือทำสิ่งใด.. ทำให้เราเห็นตัวเอง ว่า สิ่งที่เกิดในจิต ขณะที่เราคิดนึก มีอะไรบ้าง.. มันทำให้เกิดการทบทวนตัวเอง เกิดการยับยั้งช่างใจ และสามารถหาหนทางแก้ไขจิตตัวเองได้ทัน ก่อนที่เราจะลงมือสร้างกรรมลงไป.. ![]() ปัญญาจะค่อยๆเกิดขึ้นมา เมื่อเราเท่าทันความคิดของตัวเอง ![]() หรือ เมื่อเราลงมือกระทำกิจใดๆแล้ว การรู้เท่าทันกิจที่เราได้ลงมือกระทำลงไป จะทำให้เราเกิดความไม่ยึดถือมั่นในกิจนั้นๆ ด้วยปัญญาที่เกิดขึ้นทุกขณะๆที่เราลงมือทำกิจ . . . การเท่าทันความคิดตัวเอง หรือเท่าทันการกระทำของตัวเองที่ขณะทำอยู่นั้น มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้ ![]() เมื่อฝึกจนมีสติมีกำลัง ผลจึงเกิดขึ้น ความเท่าทัันเกิดขึ้น . . . เราจึงสามารถนำมันมาใช้ได้ ![]() การเท่าทันความคิดตัวเอง หรือเท่าทันการกระทำของตัวเองที่ขณะทำอยู่นั้น มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้ ![]() เมื่อฝึกจนมีสติมีกำลัง ผลจึงเกิดขึ้น ความเท่าทัันเกิดขึ้น พี่สายน้ำเมยคะ อันนี้เม งง มากเรยค่ะ ว่าความเท่าทัน ที่พี่สายน้ำเมยได้พูดมานั้น นั้น คืออะไรกันแน่ เป็นสติ ที่ความคิดออกมาเท่าไร มากเท่าไร นานเท่าไร ก็มีกำลัง ที่จะติดตามไปกะความคิดไป จนเท่ากัน ทันกัน กะความคิด หรือเปล่าคะ ? |
เจ้าของ: | โลกสวย [ 05 ต.ค. 2018, 19:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
สายน้ำเมย เขียน: ...อรูปฌาน... เมื่อเราเดินอรูปฌานไปเรื่อยๆ จนสุด..เมื่อสุดกำลังอรูปณานจะทะลุ..ทะลุไปเจอสมมุติ ![]() เมื่อเจอสมมุติ จะอยู่ในสภาวะเอ๋อ..เอ๋อเพราะสภาวะสมมุติ ให้ตั้งสติ ให้รู้ตัวให้มากในช่วงนี้..อย่าไหลไปกับสภาวะสมมุติ บอกตนเองให้รู้ระลึกเสมอว่า..ที่เราเจอสภาวะแบบนี้ เพราะเกิดจากสภาวะที่เห็นอรูปเต็มอัตรา . . . แจ้งในอรูปแล้ว ![]() . . . เมื่อชัดในอรูป จนไปชัดที่สมมุติ..มันจะวนอยู่อย่างนี้ไม่มีกำลังไปต่อได้ . . . ให้ถอนกำลังอรูปลง เพราะกำลังอรูปไม่มีกำลังผลักดันให้เราเดินไปต่อได้ เมื่อเริ่มวนในสมมุติและหาทางออกไม่ได้ ให้ถอนกำลังลงมารูป ในรูปฌาน ให้วนอยู่ในขันธ์ห้า ยึดรูปเป็นหลักใหญ่ เพื่อเพาะกำลัง และพิจารณาให้เกิดปัญญา ปัญญาที่เราพิจารณาในรูป ในขันธ์ห้านี่แหละ จะเป็นตัวส่ง กำลังของปัญญาญานของเรา ให้มีกำลังให้คมขึ้น ![]() . . . อย่าสนใจอรูปฌาน..ให้ยึดรูปฌาน ให้วนอยู่ในกายเป็นหลัก จะพิจารณาในหมวดสติปัฎฐานสี่ก็ได้ แต่ให้อยู่ในหมวดกาย เพราะหมวดกายมี 6 บรรพให้พิจารณา ที่บอกว่า อย่าสนใจอรูปฌาน เพราะเมืื่อจิตเราเผลอ มันจะไปอรูปฌานได้เอง แต่พอรู้สึกตัว ให้ถอนอรูปฌานนะ..ลงมาอยู่ที่รูปฌานเสมอ เพื่อฝึกจิตให้ชินกับรูปฌาน ชินกับการพิจารณาขันธ์ห้า เพราะในอรูปฌาน ไม่มีรูปขันธ์ให้พิจารณา..และไม่มีกายเวทนาจิตธรรมให้พิจารณา ให้เกาะรูปขันธ์เข้าไว้..เพื่อพิจารณา กาย เวทนาจิตธรรม ที่มีอยู่ในขันธ์ทั้งห้า . . . เมื่อเผลอมันจะไปอรูปฌาน พอรู้สึกตัว เราจะถอนลงมารูปฌาน พอเราทำจนจิตชิน พอนึก มันจะลดกำลังลงมาที่รูปฌานได้เอง เมื่อนึกบ่อยๆ จนจิตชิน ต่อไปมันจะเพิกรูปฌานได้ เป็นอัตโนมัติ ![]() เพืยงครั้งแรกๆที่เราต้องฝึกให้จิตเกิดความเคยชิน ให้ลงมาที่รูปฌานเสมอๆแค่นั้นเอง . . . กลับมาที่อรูปฌาน..เมือจิตเราเผลอ มันจะไปตามความเคยชินไปที่อรูปฌาน มันจะไต่ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่รูปฌานหนึ่งจนไปถึง อรูปฌานหนึ่ง จนไปถึง อรูปฌานสี่ จนทะลุอรูปฌานสี่ ไปเจอ สภาวะสมมุติ ถึงตอนนี้กำลังเราจะเพิ่มขึ้น ![]() สามารถพิจารณาธรรมในสภาวะสมมุติได้มากขึ้น เทียบรูปกับอรูปในจิต ได้มากขึ้น เห็นได้รอบขึ้น...กว้างขึ้น...เมื่อตันในสมมติอีก ให้เพิก หรือถอนกำลังลง ลงมาอยู่ที่รูปฌานหรือในขันธ์ห้าในกายอีก...ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนกำลังพอ.. . . . ่จนท้ายสุด เมื่อเราถึงสภาวะสมมติ เราสามารถพิจารณาธรรมในสมมุติได้ เห็นรูปและอรูปได้ชัด เทียบกันชัดเจน ปัญญาเราเกิด ในกาย เห็นชัดว่า อ่อ ขันธ์ห้าเราก็สมมุติ เขาและเราเหมือนกัน.. เหตุใดเราจึงโง่ มีการเปรียบเทียบเกิดขึ้น ว่าเขาดีกว่าเรา เขาเสมอเรา เขาโง่กว่าเรา.. . . . แท้จริงเราโง่เอง.. ![]() ทั้งๆที่ขันธ์ทั้งห้าทั้งเขาและเราเหมือนกันแท้ๆ แต่เราก็ยังมีการเปรียบเทียบอยู่นั่นแล้ว เทียบสิ่งสองสิ่ง เทียบเธอและฉันอยู่เสมอ... พิจารณา ให้รอบให้แจ้งอย่างนี้ ในที่สุดก็จะหลุดภาวะการเอ๋อ ของสภาวะของสมมุติได้ . . . กำลังที่ทำให้หลุดสภาวะสมมุติ หรือการเอ๋อได้ เกิดจากการพิจารณาในกาย กายในกาย ในขันธ์ทั้งห้า เท่านั้น...มันจึงมีกำลังผลักดันให้เราไปแจ้งในอรูปได้มากขึ้น ไม่ใช่ อรูปฌานมีกำลัง แล้วจะผลักดันให้หลุดสภาวะสมมุติได้ . . . อรูปฌานสุดแค่ อรูปสี่ แล้วก็นิ่ง นิ่งแล้วก็ถอนกำลัง.. มันไม่ต่างกับ เมื่อเราถึง รูปฌานสี่ และจมแช่อยู่ในสภาวะนั้นจนอิ่ม แล้วถอนกำลังลงมาหรอก จิตอิ่มแล้วมันก็ถอนของมันเอง อรูปฌานก็เช่นกัน...มันจึงเกิดอาการ..วน..เกิดขึ้น.. . . . วนแล้ววนเล่า ใน รูปฌานหนึ่ง ถึงอรูปฌานสี่..วนอยู่อย่างนี้ตลอดปีตลอดชาติ ไม่ต่างกับพระอาจารย์ทั้งสองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ![]() กำลังที่ผลักให้ออกจากสมมุติได้ มีทางเดียว คือ ลงมาพิจารณาขันธ์ทั้งห้า มาอยู่ในรูป...มันเป็นทางเดียวที่ถึงจะทำให้เราเดินต่อ ทะลุทางตัน ของเราให้เดินไปต่อได้ ![]() ![]() ![]() "อรูปฌานสุดแค่ อรูปสี่ แล้วก็นิ่ง นิ่งแล้วก็ถอนกำลัง.. มันไม่ต่างกับ เมื่อเราถึง รูปฌานสี่ และจมแช่อยู่ในสภาวะนั้นจนอิ่ม แล้วถอนกำลังลงมาหรอก จิตอิ่มแล้วมันก็ถอนของมันเอง อรูปฌานก็เช่นกัน...มันจึงเกิดอาการ..วน..เกิดขึ้น.." แบบ อันนี้ เมก็ งง มากเรยค่ะ พี่สายน้ำเมย จิตนั่นอิ่ม หรือกลับยิ่ง หิวโหย โรยแรง จนต้องออกไป แสวงหาอาหารจากที่อื่นมาเพิ่มเติมอีก หรือเปล่าคะ ? |
เจ้าของ: | โลกสวย [ 05 ต.ค. 2018, 19:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
"มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้" อันนี้เม ก็ งง มากเรยค่ะ ว่า "ฐานกายเวทนาจิตธรรม " คำว่าฐานนี้ อยู่ที่ไหน ลักษณะ ยังไงคะ ? |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 05 ต.ค. 2018, 20:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
โลกสวย เขียน: สายน้ำเมย เขียน: ...ความเท่าทัน... เราควรให้ความสำคัญกับการเท่าทัน.. เท่าทันความคิดตัวเองในตอนนี้ ว่าคิดนึกอะไรอยู่.. เท่าทันการพูดการโพสของเรา ว่า ตอนนี้ มันเป็นยังไง.. คิดนึก พูดออกไป เบียดเบียนเขาไหม..พูดแล้วจะเกิดผลอะไรตามมา.. ขณะที่นึกคิดในการเบียดเบียนเขานั้น..กิเลสตัวไหนเกิดในจิตเราบ้าง.. มีตัวไหนบ้างทำงานอยู่ 1234..ว่ากันไป.. การเท่าทันความคิดตัวเอง ทำให้เราได้นึกคิดให้รอบก่อน ก่อนลงมือทำสิ่งใด.. ทำให้เราเห็นตัวเอง ว่า สิ่งที่เกิดในจิต ขณะที่เราคิดนึก มีอะไรบ้าง.. มันทำให้เกิดการทบทวนตัวเอง เกิดการยับยั้งช่างใจ และสามารถหาหนทางแก้ไขจิตตัวเองได้ทัน ก่อนที่เราจะลงมือสร้างกรรมลงไป.. ![]() ปัญญาจะค่อยๆเกิดขึ้นมา เมื่อเราเท่าทันความคิดของตัวเอง ![]() หรือ เมื่อเราลงมือกระทำกิจใดๆแล้ว การรู้เท่าทันกิจที่เราได้ลงมือกระทำลงไป จะทำให้เราเกิดความไม่ยึดถือมั่นในกิจนั้นๆ ด้วยปัญญาที่เกิดขึ้นทุกขณะๆที่เราลงมือทำกิจ . . . การเท่าทันความคิดตัวเอง หรือเท่าทันการกระทำของตัวเองที่ขณะทำอยู่นั้น มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้ ![]() เมื่อฝึกจนมีสติมีกำลัง ผลจึงเกิดขึ้น ความเท่าทัันเกิดขึ้น . . . เราจึงสามารถนำมันมาใช้ได้ ![]() การเท่าทันความคิดตัวเอง หรือเท่าทันการกระทำของตัวเองที่ขณะทำอยู่นั้น มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้ ![]() เมื่อฝึกจนมีสติมีกำลัง ผลจึงเกิดขึ้น ความเท่าทัันเกิดขึ้น พี่สายน้ำเมยคะ อันนี้เม งง มากเรยค่ะ ว่าความเท่าทัน ที่พี่สายน้ำเมยได้พูดมานั้น นั้น คืออะไรกันแน่ เป็นสติ ที่ความคิดออกมาเท่าไร มากเท่าไร นานเท่าไร ก็มีกำลัง ที่จะติดตามไปกะความคิดไป จนเท่ากัน ทันกัน กะความคิด หรือเปล่าคะ ? ในเวลาปฎิบัติ...กำลังทำอยู่...เราจะนึกบัญญัติไม่ออกหรอกคะ เพราะเราจะใช้จิต ความรู้สึกในใจเราเป็นใหญ่ตอนพิจารณาธรรม.. เวลาเรานึกออก มันจะเป็นคำบ้านๆเท่านั้น . . เท่าทันกิเลสในจิตเราตอนนั้น เท่าทันสังขารเราที่กำลังทำงานอยู่ตอนนั้น เท่าทันเวทนา สัญญา เราในตอนนั้น... ความเท่าทัน มันเกิดจากการรู้รอบแล้ว หรือรู้รอบในขันธ์ทั้งห้าเพียงบางส่วน . . . การรู้เท่าทัน หรือรู้รอบ...เมื่อเรามาทบทวนเข้ากับบัญญัติ จะตรงกับคำว่า...สัมปชัญญะ...พอดีคะ ลักษณะของการเท่าทันของเรา เมื่อเทียบเข้า บัญญัติที่ได้บรรยายไว้ จะตรงกับ..คำว่า สัมปชัญญะ..เป๊ะ...ไม่ขาดไม่เกิน . . . เวลากำลังปฎิบัติจะใช้อีกคำหนึ่ง แต่เมื่อเทียบบัญญัติ จะตรงกับอีกอักษรหนึ่งเท่านั้นเอง ต่างกันแค่อักษรและพยัญชนะ เท่านั้นเองนะคะ ![]() ![]() . . . ไม่แน่ใจว่าตอบตรงกับคำถามไหมนะคะ.. ![]() สติคือการระลึกรู้ กำหนดรู้ เจาะจงที่จะไปรู้(สมถะ) ตัวรู้ตัวทั่วพร้อม พร้อมไปทั้งกายใจว่า..อะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้.. ตัวนี้ สัมปชัญญะ(ปัญญา หรืออีกชื่อหนึ่งว่า..ปัญญาญาน) ![]() |
เจ้าของ: | สายน้ำเมย [ 05 ต.ค. 2018, 20:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
โลกสวย เขียน: "มันเป็นผลของการฝึกสติ ตามฐานกายเวทนาจิตธรรม ที่พระสัมมาฯได้บอกสอนไว้" อันนี้เม ก็ งง มากเรยค่ะ ว่า "ฐานกายเวทนาจิตธรรม " คำว่าฐานนี้ อยู่ที่ไหน ลักษณะ ยังไงคะ ? สติที่อยู่ในฐานกายเวทนาจิตธรรม คือ การฝึกสติในหมวดต่างๆ ของสติปัฎฐานสี่คะ คือ หมวดกายา มี หกบรรพย่อย หมวดเวทนา หมวดจิตตา และหมวดธรรมมา . . . สติปัฎฐานสี่ เมื่อสติเกิดตามฐานต่างๆได้เป็นอัตโนมัติ แรกๆจะเป็นสมถะอยู่ เมื่อจิตเราตั้งมั่นในฐานทั้งสี่ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดนานๆ ปัญญาเราจะค่อยๆเกิดขึ้นมาคะ.. มันจะค่อยๆเท่าทัน การทำงานของขันธ์ห้า มันจะค่อยๆเท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทาน ที่เจือมาพร้อมกับการทำงานของขันธ์ห้า หรือพูดง่ายๆ เราจะพูดว่า เราจะค่อยๆเห็นกิเลสที่มันเจือมากับอารมณ์ของเรา ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน . . เมื่อมันเห็นชัด ด้วย สติ(ปัฏฐาน)... สติที่ตั้งมั่นในฐานทั้งสี่นานๆ(สมาธิเกิด)... มันก็ค่อยๆรู้เท่าทันการทำงานของขันธ์ห้าและเท่าทันกิเลส ที่เจือมากับขันธ์ห้าจึงเกิดขึ้น(ปัญญา).. ซึ่งมันจะเป็นไปตามลำดับ ของ อินทรีย์ห้าและพละห้าคะ |
เจ้าของ: | โลกสวย [ 05 ต.ค. 2018, 21:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เมยอยากบอก.. |
ขอบพระคุณค่ะ พี่สายน้ำเมย ขออนุโมทนาด้วยนะคะ ไม่เป็นไรค่ะ ตอบไม่ตรงที่เมถามหรอกค่ะ แต่เมว่าอย่างนี้ ค่ะ ฐานของสติ ในสติปัฎฐาน จะเป็นตัวทำให้รู้ ว่าทำอยู่อย่างมีสติ หรือสติขาดหลุดลอยไปนอกฐาน สติ ที่มีกำลัง คือ สติ ที่มั่น ไม่เอนเอียง ไม่ได้ตามความคิดไป สติไม่ขาด ไม่หลุดลอยไปกับความคิด อาหารของสติ คือเวลาที่สติรู้ตัว ทั่วพร้อมอยุ่ ว่า ไม่ไหลเข้าใป และขนะหลุดออกจากพันธนาการค่ะ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |