วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2018, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกความหมายศัพท์ที่กล่าวถึงข้างบน

นิยาม แปลว่า กำหนดอันแน่นอน ทำนองหรือแนวทางที่แน่นอน หรือความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอน เพราะปรากฏให้เห็นว่า เมื่อมีเหตุปัจจัยอย่างนั่นๆแล้ว ก็มีความเป็นไปอย่างนั้นๆ แน่นอน

กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือกระบวนการก่อการกระทำและการให้ผลของการกระทำ หรือพูดให้จำเพาะลงไปอีกว่า กระบวนการแห่งเจตจำนง หรือความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ต่างๆพร้อมทั้งผลที่สืบเนื่องออกไปอันสอดคล้องสมกัน เช่น ทำกรรมดี มีผลดี ทำกรรมชั่ว มีผลชั่วเป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2018, 11:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2018, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



ดังนั้น ที่ว่า ธรรม กับ วินัย เป็น ๒ ระบบนั้น แท้จริง ก็แยกเพื่อความสะดวกในการพิจารณาเรื่องราวให้เป็นขั้นเป็นตอน พอมองกว้างออกไปให้คลุมทั้งหมดทั้งสิ้น ระบบของวินัยก็เชื่อมกลืนเข้าไปในธรรมที่เป็นระบบใหญ่อันเดียว

ถึงตอนนี้ ก็ต้องถามว่า แยกที่ไหนอย่างไร และเชื่อมที่ไหนอย่างไร

ขอให้ดูง่ายๆ คนมีการเคลื่อนไหวชนิดที่ไม่เป็นไปเพียงเรื่อยๆลอยๆ ไม่เหมือนอย่างกิ่งไม้ใบไม้ที่ถูกลมพัด ก็สั่นไหวแกว่งไกวไปมา ตามลมตามแรงอื่นข้างนอก ไม่ใช่อยู่ๆ ก็แกว่งขึ้นมาเอง
แต่คนสั่นขา แกว่งแขนเองได้ หรืออย่างว่า เมื่อชายคนหนึ่งเดินมา พอดีจังหวะกิ่งไม้ผุร่วงหล่นลงมาถูกหัวแตกบาดเจ็บ นี่ไม่เหมือนกับมีคนอีกคนหนึ่งหยิบกิ่งไม้ขึ้นมาแล้วตีหัวของชายคนนั้น หรือแม้แต่ว่าคนผู้นั้นตกต้นไม้ลงมาทับหัวชายคนนั้นพอดี

อะไรเป็นความแตกต่างระหว่างใบไม้ร่วง หรือกิ่งไม้หล่นโดนหัวคนแตก กับ คนที่แกว่งแขน ไกวขา หรือ หยิบกิ่งไม้ขึ้นมาตีหัวคนอื่น ก็ตอบง่ายๆ ว่า กิ่งไม้ใบไม้ไม่มีการกระทำ แต่คนมีการกระทำ

เจตนา คือ เจตจำนง ความจำนงจงใจ ความตั้งใจ การเจาะจงเลือกว่าจะเอา หรือไม่เอา จะเอาอันไหน จะเอา จะทำอย่างไร เป็นตัวหัวหน้านำแสดง ที่พาแรงจูงใจ ความดีความชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ หรือตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือที่ตรงข้าม เช่น เมตตา และปัญญา ออกโรงมาแสดงตัวทำการต่างๆ ทั้งหลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2018, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของคน ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ ตั้งแต่การตั้งสมมติ การวางกฎกติกา การบัญญัติ การจัดสรรการแต่งเรื่องราว กิจการงานอาชีพ การบ้านการเมือง เทคโนโลยี วัฒนธรรม อารยธรรม เกิดจาการกระทำของคน มีเจตนาเป็นตัวกำหนดจัดสรรบันดาลให้เป็นไป

คนเป็นธรรมชาติส่วนหนึ่ง และ เป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งในระบบแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เจตนาในตัวคนนั้น ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในระบบเหตุปัจจัยของธรรมชาตินั้น
แต่ในบรรดาองค์ประกอบอะไรๆ มากมาย ในตัวคนนั้น เจตนาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เท่ากับเป็นตัวแทนของคนทั้งหมด เป็นที่หรือเป็นช่องทางแสดงตัวของคน โดยออกมาเป็นการกระทำ เริ่มแต่คิด แล้วก็พูด หรือลงมือลงเท้าทำ

ทีนี้ ในฐานะที่เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาตินั้น เจตนาเป็นตัวแปรเจ้าใหญ่ ที่พลิกผันเปลี่ยนแปรความเป็นไปให้ปรากฏเป็นไปได้ในลักษณะ และอาการต่างๆ หลากหลายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกลายเป็นแดนใหญ่ในระบบเหตุปัจจัยนั้น อันควรใส่ใจพิจารณาศึกษาหรือจับตามองเป็นพิเศษ จึงจัดแยกออกมาเป็นกฎธรรมชาติส่วนย่อยอันหนึ่ง ดังที่เรียกว่ากรรมนิยาม หรือกฎแห่งกรรม ที่ได้แสดงหลักให้ดูแล้วข้างต้น

เป็นอันว่า โลกมนุษย์หรือสังคมนี้ เป็นแดนของกรรมนิยาม และเจตนานั่นแหละเป็นตัวทำกรรม หรือพูดสั้นๆว่า เจตนาเป็นกรรม หรือ กรรมก็คือเจตนา อยู่ที่เจตนา

เมื่อวินัยจัดการในระบบแห่งสมมติของสังคมนั้น ก็จัดไปตามเจตนา หรือจัดด้วยเจตนานั่นเอง และไม่ว่าจะปฏิบัติจัดทำอะไร ทุกอย่างนั้น ก็เกิดจากเจตนา และถึงแม้จะเป็นเรื่องของสังคม แต่ในที่สุด ก็เป็นอันเข้าไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของ ธรรมชาติ ไม่หายไปไหน

ที่นี้ มนุษย์ที่ดีมีปัญญา เมื่อใช้วินัยจัดการสมมติในสังคมนั้น ก็ต้องการให้สังคมดี คือให้มนุษย์ที่อยู่รวมกันนั้นอยู่ดีทำดี มีความเรียบร้อยสงบสุข คือให้เป็นสังคมที่ดำเนินไปถูกต้องตามธรรม พูดสั้นๆว่า ให้เป็นสังคมที่มีธรรม

ถึงตอนนี้ มนุษย์ที่ดีมีปัญญาดังว่านั้น ก็เอาวินัยมาจัดระบบสมมติของตัว ให้ประสานบรรจบกับระบบแห่งธรรมของธรรมชาติ ในทางที่จะเกิดเป็นผลที่ต้องการแก่คน หรือแก่สังคมมนุษย์นั้น

พูดง่ายๆ นี่ก็คือรู้จักจัดการเหตุปัจจัยให้ดีได้อย่างฉลาดนั่นเอง พูดอีกนัยว่า เข้าถึงเหตุปัจจัยซ้อน ๒ ชั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2018, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ตอนนี้ พูดสั้นๆ ก็คือ คนมีเจตนาที่ดี หรือเจตนาเป็นกุศลแล้ว นี่ก็คือเขาทำกรรมดีอย่างหนึ่งนั่นเอง แต่ทำอย่างไร จึงจะเกิดผลสำเร็จตามเจตนาที่ดีนั้นได้ คือจะทำอะไรให้เหตุปัจจัยในกระบวนการของธรรมชาติ ในระบบของธรรมนั้น ดำเนินไปจนให้เกิดผลดีที่ตนต้องการ ก็ตอบง่ายๆว่า ต้องรู้เหตุปัจจัยที่จะให้เกิดผลอย่างนั้นแล้วก็ทำเหตุปัจจัยนั้นๆ


ตรงนี้ก็มาถึงเจ้าบทบาทสำคัญอีกตัวหนึ่ง คือปัญญา และปัญญานี้ก็อยู่ในตัวคนนี่เอง เป็นคุณสมบัติเป็นองค์ประเกอบอย่างหนึ่งของคน ปัญญาก็จึงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง และเมื่อมันออกโรง มันก็เข้าไปเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งร่วมด้วยในกระบวนการของธรรมชาติ


ปัญญา นี้ สำคัญยิ่งนัก เพราะเป็นตัวที่รู้ธรรมชาติได้ ถ้าพัฒนาขึ้นไปๆ ก็ยิ่งรู้กว้างลึกเต็มรอบทั่วตลอดจนครบถ้วนบริบูรณ์ทั้งหมด เรียกว่าเข้าถึงธรรมเลยทีเดียว


เมื่อเจตนาดีอยู่แล้ว มามีปัญญารู้เหตุปัจจัยทั่วรอบถึงตลอด ปัญญาก็บอกให้ว่าจะต้องทำอะไรๆ แล้วเจตนาก็ทำเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดผลดีอย่างนั้น ก็ใช้สมมติในระบบของวินัยนั่นแหละปฏิบัติการให้การทำเหตุปัจจัยดำเนินไป จนเกิดผลที่ว่าจะให้สังคมดีมีธรรม


ยิ่งกว่านั้น อย่างที่ว่า เมื่อมีเจตนาที่ดีบริสุทธิ์แล้ว ทีนี้ ปัญญาที่ทั่วชัด ก็บอกปัจจัยต่างๆ ให้เห็นชัดไปทั่วแล้วเจตนาในทางวินัย ก็จัดตั้งวางลำดับการทำเหตุปัจจัยเหล่านั้นๆไว้ เป็นแบบแผน เป็นกฎระเบียบ ให้ทำกันไปได้เรื่อยๆ แม้แต่คนที่ไม่ค่อยจะดีไม่ค่อยจะมีปัญญา ก็ใช้ระบบสมมติของวินัยเอาไปปฏิบัติ ให้เกิดผลอย่างที่ผู้มีปัญญาจัดตั้งวางไว้ ตอนนี้ กระบวนเหตุปัจจัยของธรรม ก็มาเป็นบัญญัติในระบบของวินัย ให้ทำเหตุปัจจัย (ที่ดีๆ) เหล่านั้นกันไปได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืนนาน


ถึงตอนนี้ ก็มาบรรจบคำบอกข้างต้นที่ว่า คนทำกรรมชั่ว ฝ่ายธรรมว่ามีกฎธรรมชาติเป็นกฎแห่งกรรม เขาจะได้รับผลตามกรรมของเขา แต่วินัยไม่รอ วินัยที่เป็นกฎมนุษย์ จึงตั้งกรรมสมมติขึ้นมา และนำผู้กระทำความผิดเข้ามาในกลางที่ประชุม และลงโทษ วินัยไม่รอธรรม จึงไม่รอกรรมตามธรรมชาติ วินัยจัดการทันที ด้วยกรรมสมมติ โดยใช้กฎมนุษย์ คำที่ว่านี้ ถึงตอนนี้ก็ไม่ต้องสงสัยแล้ว


ดังเช่นว่า ถ้าพระเกิดทะเลาะกันขึ้น ก็มีวิธีระงับอธิกรณ์ คือ ดำเนินดี เพื่อตัดสินความผิด และลงโทษกัน โดยที่ประชุมสงฆ์ทำกรรมที่บัญญัติจัดวางไว้ เอามาทำให้เสร็จสิ้นไป ไม่ให้ต้องรออยู่อย่างนั้น


ถ้ามีคดีเกิดขึ้น แต่ไม่ดำเนินการ ก็เอาผิดกับพระที่ไม่ดำเนินการอีก จะไปอ้างว่ารอให้กรรมจัดการ พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต วินัยไม่ให้รอ เพราะวินัยก็มีกรรม ที่จะนำมาใช้จัดการได้ทันที (ดูเรื่องสังฆกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงนิคคหกรรมจำนวนมาก ในพระวินัยปิฎก)


เป็นอันว่า มีหลักที่เป็นระบบใหญ่ ๒ อย่าง คือ ธรรม กับ วินัย ในเรื่องของสังคม ถ้าผิด วินัยจัดการทันที หมายความว่า วินัยมีวิธีจัดตั้งสมมติ และดำเนินการตามสมมติ เพื่อให้ธรรมสำเร็จเป็นผลในสังคม มิฉะนั้น ในที่สุด ถ้าเราไม่เอาใจใส่ การปฏิบัติตามธรรมก็จะคลาดเคลื่อนไป และสังคมก็จะคลาดจากธรรม


อย่างไรก็ตาม จะต้องทำความเข้าใจลึกลงไปอีกขั้นหนึ่ง กล่าวคือ แท้จริงนั้น ที่พูดว่า "วินัยไม่รอธรรม" เช่น เมื่อมีภิกษุทำความผิด วินัยและสงฆ์จะไม่รอให้กรรมแท้ตามกฎธรรมชาติแสดงผล แต่สงฆ์จะนำเอากรรมสมมติตามวินัยมาใช้จัดการกับภิกษุนั้นทันที การที่พูดอย่างนี้ นับว่าเป็นสำนวนพูดในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้ จะต้องไม่เข้าใจผิดไปว่ามนุษย์แยกตัวเองพ้นเหนือกฎธรรมชาติได้

ความจริงมีเพียงว่า การจัดตั้งต่างๆ โดยสมมติ และปฏิบัติการต่างๆ ในทางวินัยทุกอย่างนั้น ที่แท้ก็คือความสามารถพิเศษของมนุษย์ ที่นำเอาปัจจัยอันเป็นธรรมชาติในฝ่ายของตนเอง เข้าไปเป็นส่วนร่วมในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่มนุษย์ในทางที่ดีงามพึงปรารถนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2018, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า วินัย หรือระบบสมมติทั้งหมด ก็คือการที่มนุษย์นำเอาปัญญาและเจตจำนง ซึ่งเป็นคุณสมบัติธรรมชาติอันวิเศษที่ตนมีอยู่ มาเพิ่มเข้าไปเป็นปัจจัยพิเศษในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เพื่อให้กระบวนการของเหตุปัจจัยนั้น ดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมของตน โดยสอดคล้องกับปัญญา และเจตจำนงของมนุษย์นั่นเอง

ปัญญา และ เจตนา หรือเจตจำนง ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆนั้น ก็เป็นธรรมชาตินั่นเอง แต่เป็นธรรมชาติด้านนามธรรม และเป็น
ธรรมชาติส่วนพิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการฝึกศึกษาพัฒนาที่เป็นศักยภาพของมนุษย์

พูดสั้นๆว่า วินัย คือ การนำเอาปัญญาและเจตนา ที่เป็นธรรมชาติพิเศษของมนุษย์ เข้าไปร่วมเป็นปัจจัยที่จะผันแปรกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ให้เป็นไปในทางที่จะเกิดผลดีแก่ตนในเชิงสังคม

ความพิเศษและความประเสริฐของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้นมา อยู่ที่นี่ ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักใช้คุณสมบัติเหล่านี้ให้เป็นปัจจัย ความเป็นมนุษย์จะมีประโยชน์อะไร

การที่กิจกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากปัญญา และเจตจำนง/เจตนาของ มนุษย์ จะเป็นปัจจัยที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งจะชักนำให้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยทั้งหลายดำเนินไปในทางที่จะก่อให้ เกิดผลดีแก่มนุษย์ตามความต้องการของปัญญา และเจตจำนงได้จริงนั้น ย่อมเป็นข้อเรียกร้องหรือบังคับอยู่ในตัวว่า มนุษย์จะต้องพัฒนาปัญญาและเจตจำนงในจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาปัจจัยต่างๆ ให้นำไปสู่ผลที่ต้องการได้จริง

ทั้งนี้ สังคมหรือสังฆะนั้นก็จะต้องมีสามัคคี ที่จะยอมรับถือตามสมมติและปฏิบัติตามบัญญัติ ที่ได้ตกลงไว้ โดยพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบของวินัยนั้น จึงจะสำเร็จผลที่จะให้เป็นไปตามธรรมดังที่ประสงค์ด้วยดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2018, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า วินัย หรือระบบสมมติทั้งหมด ก็คือการที่มนุษย์นำเอาปัญญาและเจตจำนง ซึ่งเป็นคุณสมบัติธรรมชาติอันวิเศษที่ตนมีอยู่ มาเพิ่มเข้าไปเป็นปัจจัยพิเศษในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เพื่อให้กระบวนการของเหตุปัจจัยนั้น ดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมของตน โดยสอดคล้องกับปัญญา และเจตจำนงของมนุษย์นั่นเอง

ปัญญา และ เจตนา หรือเจตจำนง ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆนั้น ก็เป็นธรรมชาตินั่นเอง แต่เป็นธรรมชาติด้านนามธรรม และเป็น
ธรรมชาติส่วนพิเศษ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการฝึกศึกษาพัฒนาที่เป็นศักยภาพของมนุษย์

พูดสั้นๆว่า วินัย คือ การนำเอาปัญญาและเจตนา ที่เป็นธรรมชาติพิเศษของมนุษย์ เข้าไปร่วมเป็นปัจจัยที่จะผันแปรกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ให้เป็นไปในทางที่จะเกิดผลดีแก่ตนในเชิงสังคม

ความพิเศษและความประเสริฐของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมขึ้นมา อยู่ที่นี่ ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักใช้คุณสมบัติเหล่านี้ให้เป็นปัจจัย ความเป็นมนุษย์จะมีประโยชน์อะไร

การที่กิจกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากปัญญา และเจตจำนง/เจตนาของมนุษย์ จะเป็นปัจจัยที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งจะชักนำให้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยทั้งหลายดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่มนุษย์ตามความต้องการของปัญญา และเจตจำนงได้จริงนั้น ย่อมเป็นข้อเรียกร้องหรือบังคับอยู่ในตัวว่า มนุษย์จะต้องพัฒนาปัญญาและเจตจำนงในจิตใจของตนอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาปัจจัยต่างๆ ให้นำไปสู่ผลที่ต้องการได้จริง

ทั้งนี้ สังคมหรือสังฆะนั้นก็จะต้องมีสามัคคี ที่จะยอมรับถือตามสมมติและปฏิบัติตามบัญญัติ ที่ได้ตกลงไว้ โดยพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบของวินัยนั้น จึงจะสำเร็จผลที่จะให้เป็นไปตามธรรมดังที่ประสงค์ด้วยดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2018, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทบทวนอีกทีว่า กรรม มี ๒ แบบ คือ

๑. กรรมในธรรม ที่เป็นกฏธรรมชาติ

๒. กรรมในวินัย ที่มนุษย์ตั้งขึ้นโดยสมมติ

ในทางวินัย ถ้าพระทำผิด ชุมชนคือสงฆ์ ก็มีกรรมสมมติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นสิกขาบท ที่จะนำมาใช้จัดการได้ทันที และต้องจัดการโดยไม่รอกรรมในกฏธรรมชาติ

ทั้งนี้เพราะว่า ถึงตอนนี้ เราได้นำเอากรรมสมมติ ที่เกิดจากปัญญา และเจตนาของมนุษย์ มาเป็นปัจจัยร่วมที่เพิ่มเข้าไปเป็นกรรมในกฏธรรมชาติด้วยแล้ว

อนึ่ง พึงเข้าใจด้วยว่า กรรมสมมติ หรือกรรมทางวินัยนี้ มิใช่มีเฉพาะกรรมในการลงโทษ หรือในการแก้ไขระงับปัญหาเท่านั้น แต่กรรมในทางก่อเกิดเกื้อหนุนก็สุดแต่จัดตั้งขึ้นมา ดังในสังฆกรรมทั้งหลาย มีอุปสัมปทากรรม อุโบสถกรรม ปวารณากรรม และบรรดาสมมติกรรม ในการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ หรือผู้รับผิดชอบกิจกรรมของส่วนรวม เป็นต้น รวมอยู่ด้วย

ทิ้งท้ายว่า ท่านผู้มีปัญญาเยี่ยมยอด ประจักษ์แจ้งธรรม ถึงสัจจะสูงสุด ตรัสรู้แล้ว แต่หยุดแค่นั้น ก็เป็นพระพุทธเจ้า แต่คือแค่ปัจเจกพุทธะ

หากอาศัยมหากรุณา ก้าวไปใช้วินัย บัญญัติจัดตั้งและดำเนินกิจการในระบบสมมติ ให้ชุมชน ให้สังคม ให้มวลประชาชาวโลก ได้รับประโยชน์จากธรรมด้วย จึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จะรู้จักและได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนาคุ้ม จึงมิใช่แค่ถึงธรรม - ธรรมชาติ แต่จัดวินัย - สังคมได้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2018, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน "กรรม ตามสมมตินิยม หรือ กรรม ในกฎมนุษย์" จากพุทธธรรม หน้า ๓๐๓

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2022, 11:02 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร